วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กฎการลงทุน 15 ข้อของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ (PHILIP A. FISHER)

1. บริษัทนี้สินค้า หรือบริการที่มีศักยภาพทางการตลาด ที่สามารถทำยอดขายให้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในอีกหลายๆปีข้างหน้าได้หรือไม่
2. ผู้บริหารของบริษัทมีแนวทางในการพัฒนาสินค้าใหม่ หรือกระบวนการใหม่ๆที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการขายสินค้า/บริการ ในขณะที่สินค้าชนิดเดิมก็ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง
3. การวิจัยและพัฒนาของบริษัทมีประสิทธิภาพมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัท (โดยเฉพาะหากอยู่ในอุตสาหกรรมที่เน้นการเติบโตด้วยนวัตกรรม)
4. บริษัทนี้มีหน่วยงานขายที่อยู่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ดูจากการเติบโตที่ต่อเนื่องมั่นคง
5. บริษัทนี้มีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงหรือไม่ อัตรากำไรสุทธิที่สูงหรือไม่ มาจากการดำเนินงานปกติหรือไม่
6. บริษัทมีกลยุทธ์อะไรในการรักษาหรือเพิ่มกำไรขั้นต้นให้สูงขึ้น เพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นกว่าการเติบโตของอุตสาหกรรม
7. บริษัทมีหน่วยงานแรงงานสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ (ถ้ามี) สหพันธ์แรงงานดูว่ามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือมักมีการเรียกร้องบ่อยๆ
8. ผู้บริหารภายในบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันหรือไม่ แตกแยกเป็นกลุ่มๆ ไหม
9. การจัดการของบริษัทมีความซับซ้อนหรือไม่
10. บริษัทมีการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุน และบัญชีดีเพียงใด
11. บริษัทมีแนวทางในการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันอย่างไร
12. บริษัทมีมุมมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อการทำกำไรของบริษัทอย่างไร
13. ในอนาคตที่ไม่มีอะไรแน่นอนนั้น หากบริษัทต้องการเงินทุนด้วยการระดมทุนเพิ่มเพื่อสร้างการเติบโตให้สูงขึ้น บริษัทได้พิจารณาถึงผลกระทบราคาจากการที่มีหุ้นเพิ่มสูงขึ้น ว่าจะกระทบผลประโยชน์ผู้ถือหุ้นมากน้อยอย่างไร
14. ให้สังเกตดูว่า ในเวลาที่กิจการไปได้ดี ผู้บริหารของบริษัทยินดีที่จะพูดคุยตรงไปตรง มากับนักลงทุน แต่ในยามที่มีเหตุการณ์เลวร้าย ผู้บริหารจะหายตัวไป ไม่พูดคุยหรือไม่
15. มีผู้บริหารของบริษัทซื่อสัตย์หรือมีธรรมาภิบาลหรือไม่
check list ว่าหุ้นที่ถืออยู่มีซักกี่ข้อ ได้ 80% ไหม หลายข้อบอกได้งบการเงิน การวิเคาห์อัตราส่วนหลายๆปี เช่น บริษัทมีการวิเคราะห์และควบคุมต้นทุน และบัญชีดีเพียงใด กิจการที่มีการควบคุมต้นทุนและมีระบบบัญชีทีดี ถ้าวิเคราะ์เป็นอ่านอัตราส่วนเป็น ตัวเลขบอกได้ เรื่องเหล่านี่รู้สึกเอาหรือฟังจากผู้บริหารไม่ได้ ไม่เคยมีใครบอกว่าระบบบัญชีตัวเองแย่ครับ

Cr.Sanpong Limthamrongkul

วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วาทะเซียนหุ้น : ว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงในการเล่นหุ้น

วาทะเซียนหุ้น : ว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงในการเล่นหุ้น
พอดีวันนี้กะจะอัพเดทหน้าต่าง Trading Wisdom ในเวบเสียหน่อย ผมนำเอาวาทะคำคมจากเซียนหุ้นหลายๆคนมาฝากกัน เรามาดูกันว่าบรรดาเซียนหุ้นระดับโลกอย่างนี้ เขามีทัศนะต่อการเล่นหุ้นและการควบคุมความเสี่ยงของพวกเขาอย่างไรกันบ้างดีกว่าครับ
Paul Tudor Jones
ในการที่จะทำกำไรสะสมก้อนใหญ่ขึ้นมาได้นั้น คุณต้องเรียนรู้ที่จะขาดทุนสะสมทีละน้อยกว่านั้นมากๆ เมื่อคุณเล่นผิดทางให้ได้เสียก่อน
ผลจากการซื้อขายสัญญาฝ้ายในครั้งนั้นคือจุดเปลี่ยนของชีวิตผม เพราะผมได้มาถึงในจุดที่ผมพูดกับตัวเองว่า “ไอ้โง่เอ๋ย ทำไมแกต้องเสี่ยงทุกอย่างที่แกมีในการซื้อขายเพียงแค่ครั้งเดียววะ? ทำไมแกไม่แสวงหาความสุขให้กับชีวิตแทนที่จะเป็นความเจ็บปวดเล่า
ผมมักจะคิดถึงแต่เรื่องที่จะขาดทุนเท่าไหร่ มากกว่าจะได้กำไรเท่าไหร่อยู่เสมอ จงอย่าคิดแต่จะทำกำไร แต่จงคิดว่าทำอย่างไรจึงจะปกป้องเงินทุนที่มีอยู่ให้ได้เสียก่อน
ผมพูดอยู่เสมอว่าปรัชญาการลงทุนของผม คือการแบกรับความเสี่ยงอย่างบางเบา ผมจะมองหาโอกาสที่มีอัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงเป็นอย่างสูงเท่านั้น คุณไม่ควรจะต้องเจ็บตัวจนเข้าเนื้อในการลงทุน นั่นหมายความว่ามันไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องเดิมพันอย่างมากมาย มันไม่มีเหตุผลที่คุณจะต้องแบกรับความเสี่ยงจนมากเกินไปเลยสักครั้ง เพราะคุณควรจะสามารถมองหาโอกาศที่มีอัตราส่วนระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ต่างกันอย่างมากได้ ซึ่งนั่นจะทำให้คุณสามารถที่จะกระจายการลงทุนไปยังโอกาศเหล่านี้ โดยแบกรับความเจ็บปวดเพียงน้อยนิดพร้อมกับผลตอบแทนที่สูงที่สุดนั่นเอง
คุณต้องรู้จักปรับสภาพ, วิวัฒนาการ, ต่อสู้ หรือไม่ก็ตายไปจากตลาดหุ้น
Larry Hite
หากว่าคุณไม่จัดการกับความเสี่ยงอย่างจริงจัง มันจะจัดการคุณแทน
พูดตามตรง ผมมองไม่เห็นตลาด ผมมองเห็นแต่ความเสี่ยง ผลตอบแทนและเงินของผม
เราเล่นกับตลาดในมุมกลับ สิ่งแรกที่เราถามไม่ใช่ว่าเราจะสามารถทำกำไรได้เท่าไหร่ แต่เราจะเสียมากเท่าไหร่ต่างหาก เราเล่นเกมรับเสมอ
ข้อดีที่สุดอย่างหนึ่งของตลาดหุ้นก็คือ … มันไม่สนใจว่าคุณเป็นใคร ตลาดไม่สนใจว่าคุณจะผิวสีอะไร ตลาดไม่สนใจว่าคุณจะเตี้ยหรือสูง มันไม่เคยสนใจอะไรสักอย่างเดียว และไม่เคยสนใจว่าคุณจะอยู่หรือไปอีกด้วย
ลักษณะของการเดิมพันนั้นมีอยู่สี่ประเภท นั่นก็คือ การเดิมพันที่ดี, การเดิมพันที่แย่, การเดิมพันที่คุณชนะ และการเดิมพันที่คุณแพ้ อย่างไรก็ตาม การชนะและได้กำไรจากการเดิมพันที่แย่ของคุณคือสิ่งที่อันตรายที่สุด เพราะความสำเร็จจากการเดิมพันลักษณะนี้จะผลักดันให้คุณกล้าเล่นในเดิมพันลักษณะนี้มากยิ่งขึ้นในอนาคต แน่นอนว่าคุณอาจขาดทุนจากการเดิมพันที่ดีไปก็ได้ แต่หากว่าคุณยังคงเลือกที่จะเล่นในการเดิมพันที่ดีต่อไป เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆนั้น กฏของค่าเฉลี่ยจะคอยรับใช้เงินของคุณเอง
Marty Schwartz
เมื่อไหร่ที่ผมเล่นชนะตลาด ผมจะพูดกับตัวเองว่า “ฝีมือตรูเอง แต่ถ้าผมแพ้ผมจะหนีออกมา เพราะผมต้องการที่จะปกป้องเงินของผมไว้ เพื่อที่จะเอาไว้ซื้อหุ้นในครั้งต่อไป
คุณต้องเรียนรู้ที่จะตัดขาดทุน สิ่งที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำกำไรได้นั้น คือการไม่ปล่อยให้การขาดทุนของคุณมันบานเบอะออกไป

Bruce Kovner
ไมเคิล มาร์คัส (สุดยอดเซียนหุ้นคนหนึ่ง) ได้สอนให้ผมรู้จักกับสิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ : คุณต้องรู้จักยินดีที่จะทำผิดพลาดอยู่เป็นประจำ เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่ผิด ไมเคิลสอนผมเกี่ยวกับการตัดสินใจให้ดีที่สุด และผิดพลาด, ตัดสินใจให้ดีที่สุดอีกครั้ง และผิดพลาด และตัดสินใจให้ดีที่สุดเป็นครั้งที่สาม และทำกำไรของคุณสักหนึ่งเด้ง!
Randy Mckay
เมื่อไหร่ที่ผมเจ็บตัวจากตลาด ผมจะหนีออกมา มันไม่สำคัญหรอกว่ามันจะซื้อขายกันอยู่ที่เท่าไหร่ ยังไงเสียผมก็จะหนีออกมา เพราะผมเชื่อว่าเมื่อไหร่ที่คุณเจ็บตัวในตลาด การตัดสินใจของคุณจะย่ำแย่กว่าตอนที่คุณสบายดีเป็นอย่างมาก และหากว่าคุณยังคงติดหนึบอยู่กับตลาดในขณะที่มันวิ่งสวนทางกับคุณ ไม่ช้าไม่นานมันก็จะพาคุณออกจากตลาดไปเอง
Tom Basso
ผมคิดว่าจิตวิทยาการลงทุนคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ตามมาด้วยการควบคุมความเสี่ยง และสิ่งที่สำคัญน้อยที่สุดก็คือคำถามที่ว่า คุณจะซื้อหรือขายตอนไหนเท่าไหร่ดี
Victor Sperandeo
กุญแจสำคัญของความสำเร็จในการเก็งกำไรคือ “วินัยการลงทุน” เพราะหากว่าความฉลาดของคุณคือกุญแจสำคัญจริงๆ มันก็คงจะมีคนจำนวนมากที่สามารถจะทำกำไรจากการเล่นหุ้นได้อีกเยอะ ผมเข้าใจว่ามันฟังดูน่าเบื่อ แต่สิ่งเดียวที่เป็นเหตุผลสำคัญที่สุดซึ่งทำให้หลายๆคนหมดตัวจากการเล่นหุ้นก็คือ พวกเขาไม่ยอมตัดขาดทุนอย่างรวดเร็ว
William O’Neil
ปรัชญาของผมก็คือ หุ้นทุกตัวนั้นแย่ มันไม่ใช่หุ้นที่ดีจนกว่ามันจะทำกำไรให้กับคุณ และหากว่ามันดันร่วงลงไปแทน คุณก็ควรที่จะตัดขาดทุนอย่างรวดเร็วเสีย
Monroe Trout
จงมั่นใจก่อนว่าคุณมีความได้เปรียบ และจงรู้ให้ดีก่อนว่าความได้เปรียบของคุณคืออะไร
Tony Saliba
ผมรู้ถึงความเสี่ยงของผมอยู่เป็นประจำ และผมก็ไม่จำเป็นต้องวิตกกับมันอีกต่อไป
Anonymous
คำว่า TIPS หรือหุ้นเด็ด เป็นการย่อคำจากคำว่า “Trading Is Position Sizing” หรือการเก็งกำไรคือการบริหารเงินทุนต่างหาก
ใครที่สนใจอยากอ่านเพิ่มเติมมากกว่านี้ ลองไปอ่านซีรี่ส์หนังสือหุ้นชื่อ The Market Wizard ของ Jack Schwager ดูนะครับ อาจจะได้ไอเดียอะไรดีๆเพิ่มเติมอีกมายมาย เป็นหนังสือขึ้นหิ้งของผมเช่นกัน :D


วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ดียังไง ได้ปันผลเป็นหุ้น


ดียังไง ได้ปันผลเป็นหุ้น


420shares-420x0
ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Shareholders’ Equity เป็นองค์ประกอบทางการเงินที่สำคัญยิ่งของบริษัททุกแห่ง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจทั้งหมด โดยการเป็นแหล่งทุนเริ่มแรกเพื่อนำไปผลิตสินค้าหรือบริการที่จะกลายเป็นยอดขายให้กับบริษัท เพื่อสร้างผลกำไรให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้จบ
ตามหลักบัญชีขั้นพื้นฐาน โครงสร้างทางการเงินของบริษัทจะเป็นไปตามสมการที่ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ถ้าไม่ได้มาด้วยเงินของเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น) เอง ก็เกิดจากการก่อหนี้สินเพื่อไปซื้อมา screenshot.354
โดยทั่วไป ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจมาแล้วมีผลกำไรตามที่ต้องการ จะประกอบด้วย 2ส่วนหลักๆ คือ
1) ทุนชำระแล้ว (เงินทุนที่ผู้ถือหุ้นนำเข้ามาในบริษัทจริงๆ) และ
2) กำไรสะสม (ผลรวมของกำไรสุทธิที่ได้จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา)
screenshot.355
สำหรับการลงทุนในหุ้นซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี แท้จริงแล้ว ก็คือการซื้อมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เท่าๆ กัน (หรือที่เรียกว่า หุ้น) เพื่อให้คนจำนวนมากสามารถร่วมกันเป็นเจ้าของบริษัทได้ตามสัดส่วนเงินที่เราร่วมลงทุนไป นั่นเอง
และเมื่อบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจจนมีผลกำไร บริษัทมีทางเลือกในการจัดสรรผลกำไร  2 แนวทางคือ (1) เก็บไว้เป็นทุนหมุนเวียนภายในบริษัท ในรูปของกำไรสะสม หรือ (2) ส่งผลกำไรกลับไปยังผู้ถือหุ้น ในรูปของการจ่ายปันผล
ซึ่งทั่วไป เรามักพูดกันถึงวิธีการจัดการสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือการบริหารหนี้สินให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามสัญญาที่มีต่อเจ้าหนี้ได้อย่างครบถ้วน แต่ในโอกาสนี้ จะขอนำเรื่องการจ่ายปันผล ที่กระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับนักลงทุนอย่างเราๆ ท่านๆ มาเล่าให้ฟังครับ
1. ข้อกฎหมายและประเด็นภาษีเงินได้
1.1 คุณสมบัติของบริษัทที่จะจ่ายปันผลได้
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 115 กำหนดไว้ว่า “การจ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไรจะกระทำมิได้ ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล”
ดังนั้น บริษัทจะจ่ายเงินปันผลได้ ส่วนทุนจะต้องมีกำไรสะสมเป็นบวกอยู่เท่านั้น หากบริษัทไหนมีผลขาดทุนสะสมค้างอยู่ ถึงแม้บางปีจะมีกำไรสุทธิ แล้วอยากจะจ่ายปันผล ก็ไม่สามารถทำได้ (แต่กรณีนี้ก็สามารถใช้กลยุทธ์ลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมก่อนแล้วค่อยจ่ายปันผลก็ได้)
1.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการเครดิตภาษี
บริษัทที่เป็นผู้จ่ายปันผล มีหน้าที่หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย (“Withholding Tax) ในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าปันผลที่จ่าย (ไม่ว่าจะจ่ายปันผลเป็นเงินสด หรือ เป็นหุ้น ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป) เช่น บริษัท ABC จำกัด (มหาชน) ประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 10 บาท หากเราถือหุ้น ABC อยู่จนมีสิทธิได้รับเงินปันผล จำนวน 100 หุ้น เราก็จะได้เงินสดสุทธิ 10 x 100 x 90% หรือ 900 บาท โดยบริษัทจะหักเงินไว้ 100 บาทเพื่อนำส่งกรมสรรพากรต่อไป
นอกจากนั้น ผู้ที่ได้รับเงินปันผล ยังสามารถพิจารณาขอคืนภาษี หรือที่เรียกว่า การเครดิตภาษี ได้ด้วย ซึ่งมีการคำนวณดังนี้ [อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่จ่ายปันผล] หารด้วย [1 – อัตราภาษีฯ] เช่น ABC ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของกำไร อัตราการได้รับเครดิตภาษีของผู้ถือหุ้นจะเท่ากับ 20% / (100% – 20%) หรือ 1/4 แล้วนำไปคูณกับจำนวนปันผลที่ได้รับ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องเครดิตภาษีได้ที่นี่  http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata47_2)
2. รูปแบบการจ่ายเงินปันผล
นอกจากการจ่ายปันผลเป็นเงินสด ซึ่งทำกันโดยทั่วไป บริษัทอาจเลือกตอบแทนผู้ถือหุ้นด้วยการจ่ายเป็นหุ้นปันผลแทนก็ได้ (หุ้นก็สามารถตีมูลค่าเป็นเงินได้เช่นกัน)
2.1 กรณีจ่ายปันผลเป็นเงินสดล้วน ๆ
สมมติบริษัท ABC จ่ายปันผลเป็นเงินสด หุ้นละ 1.15 บาท และมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านบาท คิดเป็นเงินสดที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 11.50 ล้านบาท
• ก่อนจ่ายปันผล
screenshot.355
• หลังจ่ายปันผลเป็นเงินสด จำนวนรวมทั้งสิ้น 11.50 ล้านบาท
screenshot.356
ซึ่งเงินปันผล 11.50 ล้านบาทนั้น จะไปถึงผู้ถือหุ้นจริง ๆ เพียง 10.35 ล้านบาท ส่วนอีก 1.15 ล้านบาท จะถูกหักไว้เป็น Withholding Tax
จุดสังเกต #1: ส่วนของผู้ถือหุ้นตอนนี้จะเหลือ 138.50 ล้านบาท
2.2 กรณีจ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสด
สมมติให้บริษัท ABC
  • จ่ายหุ้นปันผล อัตรา 10 หุ้นเดิม ได้หุ้นใหม่เป็นหุ้นปันผล 1 หุ้น (10:1) ซึ่งเดิมมีหุ้นอยู่ 10 ล้านหุ้น เมื่อจ่ายหุ้นปันผลแล้วก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านหุ้น (ราคาพาร์ 10 บาทเท่าเดิม) รวมเป็นหุ้นทั้งหมด (เดิม + ปันผล) 11 ล้านหุ้น โดยบริษัทจะลดกำไรสะสมลงไป 10 ล้านบาท และไปเพิ่มทุนจดทะเบียนขึ้นมาอีก 10 ล้านบาท
  • จ่ายเงินสดปันผล 0.15 บาท/หุ้นเดิม มีมูลค่าเท่ากับ 0.15 x 10 ล้านหุ้น หรือ 1.50 ล้านบาท
รวมมูลค่าของการจ่ายปันผลทั้งสิ้น 10 (หุ้นปันผล 1 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท) + 1.50 (เงินสดปันผล) = 11.50 ล้านบาท (ตั้งใจให้เท่ากับกรณีจ่ายปันผลเป็นเงินสดล้วนๆ เพื่อให้เทียบกับได้ชัดเจน) ทำให้มี Withholding Tax เกิดขึ้น 11.50 x 10% หรือ 1.15 ล้านบาท
• ก่อนจ่ายเงินปันผล
screenshot.357
• หลังจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นและเงินสดผสมกัน
screenshot.358
จุดสังเกต #2: ส่วนของผู้ถือหุ้นตอนนี้จะเหลือ 148.50 ล้านบาท มากกว่าวิธีแรก 10 ล้านบาท
ถึงจุดนี้ อาจจะสงสัยว่า บริษัทจะจ่ายแต่หุ้นปันผลล้วน ๆ ไม่จ่ายเป็นเงินสดได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะหากไม่มีการจ่ายเงินสดออกมาด้วย บริษัทก็ไม่รู้จะนำเงินของบริษัทเองส่วนไหนไปจ่ายเป็น Withholding Tax ให้ราชการ (จึงต้องหักเอาจากเงินได้ของผู้ถือหุ้นเอง) กล่าวอีกอย่าง การที่บริษัทจำเป็นต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดควบคู่กันไปด้วย ก็เพื่อรองรับการหัก Withholding Tax นั่นเอง จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่า เมื่อบริษัทจะจ่ายปันผลเป็นหุ้น ก็จะต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดตามมาด้วยอีกเล็กน้อย เสมอ
ตัวอย่างจริง:
  • บริษัทเอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (AP) จ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 5:1 และเป็เิงินสด  0.18 บาทต่อหุ้น http://www.set.or.th/dat/news/201103/11011391.pdf
  • บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (HMPRO) จ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 6:1 (หุ้น HMPRO มีราคาพาร์ 1 บาท การจ่ายหุ้นปันผล 6:1 จึงเท่ากับจ่าย 0.16667 บาทต่อหุ้น) และเป็นเงินสด 0.0193 บาทต่อหุ้น http://www.set.or.th/dat/news/201102/11004826.pdf

3. เปรียบเทียบการจ่ายปันผลวิธีต่างๆ


ประเด็นจ่ายปันผลเป็นเงินสดอย่างเดียวจ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสด
(ใช้ตัวอย่างจากข้อ 2.2)
 
1. มูลค่ารวมของสิ่งผลตอบแทน
ที่ผู้ถือหุ้นได้รับ
ไม่ต่างกันไม่ต่างกัน
2. Withholding Tax
ที่นำส่งกรมสรรพากร
ไม่ต่างกันไม่ต่างกัน
3. มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
หลังจ่ายปันผล
ลดลงมากกว่า
เนื่องจากจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
ลดลงน้อยกว่า เพราะจ่ายเป็นเงินสดเพียงเพื่อรองรับ Withholding Tax เท่านั้น
4. มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
หลังจ่ายปันผล
จะลดลงเท่ากับจำนวนเงินปันผลจ่ายต่อหุ้นจะลดลงตามสัดส่วนการได้หุ้นปันผล เช่น เดิม บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้น 150 ล้านบาท มีจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 10 ล้านหุ้น มูลค่าต่อหุ้นจึงเท่ากับ 15 บาทใหม่ ส่วนผู้ของถือหุ้น 148.50 ล้านบาท (หักเงินปันผลที่เป็นเงินสด) และมีจำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 11 ล้านหุ้น มูลค่าต่อหุ้นจึงลดลงเหลือ 13.50 บาท (ลดลง 10%) ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นแต่ละรายจะไม่ขาดทุน เพราะจะได้จำนวนหุ้นเพิ่มมาอีก 10% (อัตรา 10:1)
5. ราคาหุ้นในตลาด
หลังบริษัทแจ้งข่าวการจ่ายปันผล
มักจะเพิ่มสูงขึ้นมักเพิ่มสูงขึ้นกว่าการจ่ายปันผลเป็นเงินสดล้วน ๆ เนื่องจากมูลค่ากิจการจะไม่ลดลงมากเท่ากรณีจ่ายเป็นเงินสดล้วน ๆ ในขณะที่ผู้ถือหุ้นจะได้สิ่งตอบแทนที่มีมูลค่าไม่ต่างกัน
6. ราคาหุ้นในตลาด ณ วันขึ้นเครื่องหมาย X.Dมักจะลดลงเท่ากับเงินปันผลจ่ายต่อหุ้นมักจะลดลงตามสัดส่วนการได้หุ้นปันผล +  เงินปันผลส่วนที่จ่ายเป็นเงินส
ซึ่งเท่าที่ดูจากตารางข้างต้น การที่บริษัทเลือกจ่ายปันผลเป็นหุ้น (+ เงินสดเล็กน้อย) เหมือนจะเป็นทางเลือกที่ Win-Win ทั้งกับฝ่ายบริษัทและฝ่ายผู้ถือหุ้น เพราะฝ่ายบริษัทไม่ต้องจ่ายเงินสดออกไปนอกกิจการมากนัก แค่โอนตัวเลขรายการในส่วนของผู้ถือหุ้นไปมา ซึ่งเป็นผลดีต่อมูลค่ากิจการ ส่วนฝ่ายผู้ถือหุ้นก็ได้มูลค่าสิ่งตอบแทนเท่ากัน เมื่อเทียบกับการได้รับเงินปันผลเป็นเงินสดล้วน ๆ
ดังนั้น หากเราถือหุ้น แล้วไม่ได้ปันผลเป็นเงิน แต่ได้เป็นหุ้น จงดีใจ 
CR:http://thailandinvestmentforum.com/2014/10/26/dividendpayment/

“Rule of 72” กฎของเลข 72 ประยุกต์ยังไง ในการลงทุน ?




Albert Einstein ผู้ค้นพบกฎของเลข 72 ได้อ้างหลักการจากการคิดอัตราดอกเบี้ยทบต้น และได้กล่าวไว้ว่า “นี่คือการค้นพบระบบคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด…” Albert Einstein is quoted as saying: “It is the greatest mathematical discovery of all time” ดังนั้นTerraBKK Research จึงนำเสนอความน่าสนใจ “กฎของเลข 72″ นี้ ว่าสามารถประยุกต์ในการลงทุนได้ยังไง ? TerraBKK Research อธิบายว่า กฎของ 72 คือ สูตรการคำนวณเบื้องต้นอย่างง่าย “เป็นการคาดการณ์โดยประมาณว่า จะใช้ “ระยะเวลา” หรือ “อัตราดอกเบี้ย” เท่าไหร่ จึงจะทำให้ เงินลงทุนก้อนแรก นั้นโตเป็น 2 เท่าได้” สามารถคำนวณได้ตามสูตร ดังนี้


สำหรับการประยุกต์ใช้ในการลงทุน TerraBKK Research ให้ข้อสังเกตว่า ยิ่งอัตราผลตอบแทน (%ต่อปี)มากขึ้น ยิ่งใช้เวลาสั้นลง ซึ่งการเพิ่มอัตราผลตอบแทน จะสามารถประหยัดเวลาได้อย่างมากในช่วงอัตราผลตอบแทนน้อย และจะประหยัดเวลาลดลงในระดับอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น ตารางดังนี้



เห็นได้ว่า การลงทุนที่อัตราผลตอบแทน 1% และ 2% สามารถประหยัดเวลาที่เงินลงทุนเพิ่มค่าเป็น 2 เท่า ได้สูงสุดถึง 36 ปี และการประหยัดเวลาที่มีหน่วยเป็น “จำนวนปี”นั้นจะลดลงไปเรื่อย จนถึงอัตราผลตอบแทนที่ 10% การประหยัดเวลาจะมีหน่วยเป็น”จำนวนเดือน” และลดลงไปเรื่อยเช่นกัน ดังนั้น TerraBKK Research แนะนำว่า อย่ามองข้าม การลงทุนที่อาจมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงไม่น่าจูงใจ เพราะอย่างน้อย ก็สามารถย่นระยะการเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนเป็น 2 เท่าได้ไม่น้อย เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นการลงทุน ระหว่างนั้นก็ทำการศึกษาข้อมูลเพิ่ม พัฒนาตัวเอง และสะสมประสบการณ์ เพื่อก้าวต่อไปในการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นนั้นเอง ตัวอย่างการลงทุน “กฎของ 72” สามารถประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้

นอกจากการลงทุนแล้ว กฎของ 72 ยังสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในเรื่องรอบตัว ได้ด้วย ดังนี้





ท้ายนี้ TerraBKK Research ฝากไว้ว่า “Rule of 72″ หรือ “กฎของเลข 72″ เป็น สูตรการคำนวณอย่างง่ายโดยค่าประมาณ เพื่อใช้คิดว่า “อัตราผลตอบแทน” หรือ “ระยะเวลา” เบื้องต้น ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจเลือกการลงทุนใด ควรศึกษาถึงรายละเอียด, ส่วนประกอบ หรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบทุกครั้ง

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com - http://terrabkk.com/?p=30204

มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) : เงินมีมูลค่าเปลี่ยนไป เพราะอะไร ?


เมื่อเวลาเปลี่ยน ค่าของเงินก็เปลี่ยน การอุปโภคบริโภคบางสินค้า แม้ไม่ได้รับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใดๆ แต่ทำไมมีราคาขายแพงขึ้น อย่างที่ทุกคนทราบดีว่า ปัจจัยคงไม่ได้อยู่ แค่ผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่เป็นพราะมูลค่าของเงินที่ลดลงไปเรื่อยตามกาลเวลา และสิ่งที่ช่วยอธิบายคำตอบได้ดีที่สุด นั้นคือ มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) พื้นฐานความรู้ด้านการเงินที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน TerraBKK ขออธิบายภาพรวมความเป็นมา เรื่องมูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) ด้วยความเข้าใจง่ายๆ อย่างที่เคยได้ยินมาว่า เงิน 100 บาทในวันนี้ จะมีมูลค่าไม่ถึง 100 บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า และถ้าปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ มูลค่าของเงินจะลดลงไปเรื่อยในปีถัดไป สังเกตได้จากค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกปี จากอัตราเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน หากนำเงิน 100 บาทนั้น ไปลงทุน ฝากแบงค์ก็จะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากที่ธนาคารกำหนด เมื่อฝากเงินนานขึ้น มูลค่าของเงินก็จะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ เป็นกลไกพื้นฐานด้านการเงินง่ายๆ ที่เราพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) จึงประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้ 


  • มูลค่าปัจจุบัน ( Present value :PV ) หมายถึง มูลค่าของเงิน ณ ปัจจุบัน เช่น เงิน 100 บาทในวันนี้ เป็นต้น 
  • มูลค่าอนาคต ( Future value : FV ) หมายถึง มูลค่าของเงินในอนาคต เช่น เงินที่มีมูลค่าไม่ถึง 100 บาทในอนาคต เป็นต้น 
  • จำนวนครั้งการทบต้น ( Compounding Periods : n ) หมายถึง ระยะเวลาในการคำนวณหามูลค่าเงินก้อนนั้นๆ เช่น ระยะเวลาการลงทุน , ระยะเวลาเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 
  • อัตราคิดลด ( Discount rate : I ) หมายถึง อัตราที่ใช้คำนวณหามูลค่าเงินก้อนนั้นๆ ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราเงินเฟ้อ , อัตราเงินฝาก , อัตราผลตอบแทนการลงทุน เป็นต้น ทั้งหมดนี้ จะมีความสัมพันธ์ตามสูตรการคำนวณ ดังนี้ 


TerraBKK ขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ “มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money)” ในชีวิตประจำวันอย่างง่าย ดังนี้ “สมมติ มีเงินเก็บอยู่ 400,000 บาท ไม่ค่อยมีความรู้ด้านทางลงทุนมากนัก ตลอด 3 ปี ได้กระทำการ 4 อย่าง ดังนี้ (กำหนด อัตราเงินเฟ้อ 2.18% ต่อปี) เพื่อนขอยืมเงินเพื่อรักษาแม่ จำนวน 100,000 บาท ถือเป็นน้ำใจมิตรภาพ ไม่คิดดอกเบี้ย และได้รับเงินคืนเต็มจำนวนในปีที่ 3 ฝากธนาคารแบบประจำ จำนวน 100,000 บาท ได้ดอกเบี้ย 1.75% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ลงทุนพันธบัตร จำนวน 100,000 บาท ได้อัตราผลตอบแทน 3% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ลงทุนซื้อกองทุนรวมอสังหาฯ จำนวน 100,000 บาท ได้อัตราผลตอบแทน 6% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี” TerraBKK ขออธิบายว่า อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี เงินจำนวน 100,000 บาทแต่ละก้อน จะมีมูลค่าเงินคงเหลือ 93,602 บาท ตามอัตราเงินเฟ้อ 2.18% ต่อปี นั้นคือ มีมูลค่าลดลง 6,398 บาท ( = 100,000 – 93,602 ) ตารางดังนี้ 


 จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี เงินจำนวน 100,000 บาท ในแต่ละก้อน ย่อมมีมูลค่าเงินเปลี่ยนไปตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถคำนวณการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินได้ ตารางดังนี้ 


จากตาราง TerraBKK ขออธิบายว่า 1. การได้รับเงินคืนในปีที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ตามจำนวนเงินเต็มที่ให้ยืม ให้ผลขาดทุน 6,398 บาท ดูเหมือนว่า เป็นการกระทำไม่ได้ไม่เสีย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อัตราเงินเฟ้อจะทำให้มูลค่าเงินลดลง คงเหลือ 93,602 บาท จึงให้ผลขาดทุน 6,398 บาท ตามอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ยังเป็นการเสียโอกาสนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นด้วย 2. เงินฝากธนาคารแบบประจำ จำนวน 100,000 บาท ตลอด 3 ปี ให้ผลขาดทุน 1,056 บาท การฝากเงินธนาคาร สามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 5,342 บาท ( = 105,342 – 100,000 ) แต่ยังน้อยกว่า เงินเฟ้อ (6,398 บาท) เพราะ การฝากเงินธนาคารที่ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ( 1.75 % ต่อปี ) ต่ำกว่า อัตราเงินเฟ้อ (2.18% ต่อปี ) ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าเงินได้มากเพียงพอต่อการลดมูลค่าของเงินเฟ้อได้ จึงทำให้เกิดผลขาดทุน 3. ลงทุนพันธบัตร จำนวน 100,000 บาท ได้อัตราผลตอบแทน 3% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ให้ผลกำไร 2,874 บาท การลงทุนพันธบัตรให้อัตราผลตอบแทน (3% ต่อปี ) สูงกว่า อัตราเงินเฟ้อ (2.18% ต่อปี ) จึงทำให้เกิดผลกำไร เพราะการลงทุนใดก็ตาม ที่ให้อัตราผลตอบแทน สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ย่อมเป็นผลดี และได้ผลกำไรอย่างแน่นอน 4. ลงทุนซื้อกองทุนรวมอสังหาฯ จำนวน 100,000 บาท ได้อัตราผลตอบแทน 6% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ให้ผลกำไร 12,703 บาท การลงทุนซื้อกองทุนรวมอสังหา ฯ ให้อัตราผลตอบแทน (6% ต่อปี ) สูงกว่า อัตราเงินเฟ้อ (2.18% ต่อปี ) จึงทำให้เกิดผลกำไรที่มากกว่า เหตุใดการลงทุนจึงก่อให้เกิดผลกำไร เพราะการลงทุนใดๆก็ตามย่อมมีความเสี่ยง ยิ่งเสี่ยงสูง ผลตอบแทนก็ยิ่งสูง เพื่อเย้ายวนให้ทำการลงทุนเพื่อคาดหวังผลกำไร ท้ายนี้ TerraBKK ขอสรุปว่า เงินจะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่มากระทบ อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยพื้นฐานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั้นแปลว่า หากปล่อยเงินทิ้งไว้เฉยๆ มูลค่าของเงินจะลดลงตามอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น หากต้องการคงมูลค่าเงินไว้ จึงต้องบริหารเงินหรือทำการลงทุน ที่ให้ผลตอบแทน อย่างต่ำ เท่ากับอัตราเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการบริหารเงินหรือทำการการลงทุน จะมีผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆมาเกี่ยวข้อง เช่น อัตราดอกเบี้ยรับ อัตรากำไรเฉลี่ย อัตราเงินปันผล ฯลฯ ทำให้มูลค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) คือสิ่งสำคัญ ที่เตือนทุกท่านว่า เงินสดที่เราถืออยู่วันนี้ จะด้อยค่าลงตามกาลเวลา หากเราไม่ทำอะไรเลย หรือเก็บใส่ตุ่มไว้เฉยๆ นั้นเอง 

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com - http://terrabkk.com/?p=18962

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

DCF -invisible hand-

หลายคนอาจจะสงสัยว่า VI จำเป็นต้องทำ model การหา valuation ด้วยวิธี DCF หรือไม่ หากถามผมๆ คิดว่าถ้าทำอาจจะทำให้สบายใจและมั่นใจขึ้นได้แต่คิดว่าไม่จำเป็น แต่ก่อนที่ผมจะสรุปว่าไม่จำเป็นผมจึงต้องอธิบายที่มาของการคิด DCF คร่าวๆ ก่อนครับ
DCF = กระแสเงินสดในอนาคตเป็นมูลค่าปัจจุบัน ( Present value ) + เงินสด ( หนี้สิน ) สุทธิ
การทำมูลค่าในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน คือ การ discount ด้วยอัตราดอกเบี้ย discount rate โดย discount rate
Discount rate
ถ้า discount rate เท่ากับ 10% เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่า 100 บาท ในปัจจุบัน เหตุผลที่เงิน 110 บาทใน 1 ปีข้างหน้ามีมูลค่า 100 บาทในปัจจุบันเนื่องจากหากนำเงิน 100 บาทไปลงทุนโดยได้ผลตอบแทนเท่ากับ 10% เงิน 100 บาทในปัจจุบันจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 110 บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า
ดังนั้นหากมีใครมาถามเราว่าให้เลือกระหว่างได้เงิน 100 บาทในปีนี้ หรือจะเลือกเงิน 110 บาทในปีหน้า ภายใต้สมมุติฐานว่าเราสามารถนำเงินลงทุนได้ผลตอบแทน 10% เราจะเลือกแบบไหน คำตอบที่หลายคนจะตอบก็คือ เลือก 100 บาทวันนี้ เพราะถ้าเป็นปีหน้าเดี๋ยวคนให้เงินจะเปลี่ยนใจไม่ให้แล้ว แต่คำตอบในเชิงการเงินก็คือ เลือกแบบไหนก็ได้ ค่าเท่ากันครับ
ดังนั้นเงิน 100 บาทในปัจจุบัน จะมีมูลค่ามากกว่า 100 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้ามาก หรืออาจจะมีมูลค่ามากกว่าเงิน 200 บาทในอีก 10 ปีข้างหน้าด้วยซ้ำไปครับหากอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุนสูงมากพอ
หลังจากทำความเข้าใจเกี่ยวกับการหามูลค่าปัจจุบันหรือ present value แล้ว ตัว discount rate หรือที่ศัพท์ทางการเงินเรียกว่า WACC โดยถ้าหุ้น 2 ตัวมีปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด หุ้นตัวที่ใช้ discount rate สูงจะมีมูลค่าแบบ DCF ต่ำกว่า
สำหรับ discount rate นั้นขึ้นกับตัวแปรต่างๆ ดังนี้ครับ
- อัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะใช้อัตราดอกเบี้ย ( yield ) ของพันธบัตรอายุ 10 ปีเป็นตัวอ้างอิง ถ้าดอกเบี้ยสูง discount rate ก็จะสูง
- Beta คือ ความผันผวนของราคาหุ้นตัวนั้นๆ เทียบกับความผันผวนของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง beta ในทางทฤษฎีการเงินคือเป็นตัววัดความเสี่ยงของหุ้นตัวนั้น โดยตั้งอยู่ในสมมุติฐานว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงจะมี beta สูง คือ จะมีความผันผวนของราคาสูง ซึ่งทฤษฎีนี้ใกล้เคียงความจริงหรือไม่ผมคิดว่าก็มีความใกล้เคียงอยู่บ้าง เช่น หุ้นที่มี beta สูงในตลาดไทย เช่น หุ้นไฟแนนซ์ หุ้นรับเหมาก่อสร้าง หุ้นอสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง ซึ่งล้วนแล้วมีความเสี่ยงทางธุรกิจสูง ส่วนหุ้นที่มี beta ต่ำก็มักจะเป็นหุ้นที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำกว่า
หุ้นที่มี beta สูง discount rate ก็จะสูงตามไปด้วยครับ
ดังนั้น ถึงตรงนี้เราได้ 2 ประเด็นแล้วครับว่า ถ้าช่วงไหนดอกเบี้ยในท้องตลาดสูงขึ้น discount rate ที่ใช้คำนวณ DCF ก็จะสูง ทำให้ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อดอกเบี้ยลดลงและมี แนวโน้มจะปรับตัวลดลงเมื่อมีข่าวว่าดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น หุ้นมักจะมี p/e ต่ำ แต่ในช่วงดอกเบี้ยขาลง หุ้นจะมี p/e สูง
ส่วนเรื่อง beta หรือความเสี่ยงนั้น ก็เช่นกันครับ หุ้นที่มีความเสี่ยงหรือ beta สูง ก็จะทำให้ discount rate สูง ราคาหุ้นตามวิธี DCF ก็จะต่ำลง ดังนั้นหุ้นที่มี beta หรือความเสี่ยงสูง ก็ควรจะมี p/e ต่ำกว่าหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ
การคิดกระแสเงินสดสุทธิ หรือ Free cash flow มีสูตรดังนี้ครับ
Free cash flow = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา + การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน + รายจ่ายลงทุนในสินทรัพย์
เงินทุนหมุนเวียน คือ เงินสด ที่ต้องใช้ในการซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการขายสินค้าและบริการ
รายการการเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น ลบ ก็ต่อเมื่อ
มีการ เพิ่มขึ้น ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ เพราะต้องใช้เงินในการซื้อวัตถุดิบ
มีการ เพิ่มขึ้น ของลูกหนี้การค้า แสดงว่ารายได้ 100 บาท เข้ามาเป็นเงินสดไม่ถึง 100 บาท
มีการ ลดลง ของเจ้าหนี้การค้า แสดงว่ารายจ่าย 100 บาท ยังไม่ต้องจ่ายทั้งหมด 100 บาทในทันที
การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะเป็น บวก ก็ต่อเมื่อ
มีการ ลดลง ของสินค้าคงคลังและวัตถุดิบ แสดงว่าสินค้าที่ขายออกไปมีมากกว่าที่ซื้อวัตถุดิบเข้ามา
มีการ ลดลง ของลูกหนี้การค้า
มีการ เพิ่มขึ้น ของเจ้าหนี้การค้า
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในธุรกิจทั่วๆ ไป เมื่อมีการขยายกิจการ คือ มีการผลิตสินค้ามากขึ้น ก็ย่อมจะต้องมีการสั่งวัตถุดิบและมีจำนวนสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นก็ย่อมทำให้ลูกหนี้การค้ามากขึ้น ดังนั้นธุรกิจทั่วๆ ไปเมื่อมีการขยายกิจการจะทำให้การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนจะติดลบ คือธุรกิจนั้นๆ จะต้องใช้เงินสดในกิจการมากขึ้น ดังนั้นธุรกิจส่วนใหญ่แม้ยอดขายเพิ่มขึ้นและกำไรเพิ่มขึ้น แต่เงินสดที่เข้ามาในบริษัทมักจะต่ำกว่ากำไร แต่ธุรกิจที่เมื่อขยายสาขาหรือมีรายได้เพิ่มขึ้นแต่กลับยิ่งมีเงินสดมากขึ้น คือธุรกิจค้าปลีก เพราะมีการขายเป็นเงินสด แต่จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ ดังนั้นวันที่เปิดสาขาใหม่ ก็จะได้เงินสดมาทันทีแต่เงินสดนั้นจะถูกจ่ายให้กับเจ้าหนี้ในอีก 45-60 วัน ดังนั้นหากมีการคิด DCF ธุรกิจค้าปลีกเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ถ้ากำไรสุทธิต่อปีเท่าๆ กัน ธุรกิจค้าปลีกจะมีกระแสเงินสดสุทธิ หรือ Free cash flow สูงกว่าธุรกิจอื่นๆ จึงเป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมหุ้นค้าปลีกจึงมี p/e สูงกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ ที่มีการเติบโตของกำไรเท่าๆ กัน
ยิ่งธุรกิจใดให้เครดิตลูกหนี้การค้ายิ่งนาน บริษัทนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียนติดลบมากกว่าบริษัทที่ให้ เครดิตลูกหนี้สั้นกว่า และบริษัทใดที่ขายสินค้าเป็นเงินสด ก็จะทำให้ใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่ามาก
บริษัทใดที่มีการขายสินค้าโดยใช้เวลานาน ก็จะใช้เงินทุนหมุนเวียนมากกว่าบริษัทที่ขายสินค้าในเวลาอันสั้นกว่า และอย่างที่ผมพูดไปในหน้าก่อนๆ คือ ยิ่งขายได้เร็วก็ทำให้ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง ดังนั้นสิ่งที่เถ้าแก่คนจีนนิยมทำนานมาแล้วคือ เน้นการขายเร็วๆ มากๆ เอา volume ก็เป็นความคิดที่ถูกต้องตามทฤษฎีการเงิน แม้ว่าอาเฮียเหล่านั้นจะไม่ได้เรียน MBA มาก็ตาม
รายจ่ายในการลงทุนในสินทรัพย์ เป็นรายการ ลบ ในการหา Free cash flow ยิ่งมีการลงทุนมากๆ Free cash flow ก็ยิ่งมีโอกาสติดลบมากขึ้น ดังนั้นหุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการขยายกิจการ ก็จะทำให้ Free cash flow ติดลบมากกว่าหุ้นที่สามารถขยายกิจการโดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก โดยทั่วไปหุ้นในภาคการผลิต อุตสาหกรรม มักจะต้องใช้เงินลงทุนในการขยายกิจการมากกว่าหุ้นประเภทธุรกิจบริการ เมื่อใช้เงินทุนน้อย กระแสเงินสดก็จะเป็นบวกได้มากกว่า หุ้นภาคบริการมักจะมีมูลค่าแบบ DCF สูงกว่าหุ้นในภาคการผลิตแม้ว่าจะมีกำไรสุทธิในแต่ละปีหรือปัจจัยอื่นๆ ใกล้กัน ดังนั้นหุ้นที่ทำธุรกิจบริการมักจะมี p/e สูงกว่าหุ้นในภาคอุตสาหกรรม
หุ้นที่ต้องใช้เงินลงทุนหมุนเวียน ( เงินสด ) จำนวนมากในการเพิ่มยอดขาย มักจะต้องมีการกู้เงินระยะสั้น หรือ Bank O/D จากธนาคารเพื่อมาเป็นเงินทุนหมุนเวียน และยังอยู่ในธุรกิจที่ต้องลงทุนจำนวนมากเพื่อขยายกำลังการผลิต และยิ่งหุ้นดังกล่าวมีหนี้ในสัดส่วนที่สูงด้วยนั้น หุ้นประเภทดังกล่าวมักจะมีโอกาสสูงที่จะต้องหาแหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การกู้เงินเพื่อชดเชยกระแสเงินสดที่ติดลบในอนาคต ดังนั้นหุ้นที่มีลักษณะเหล่านี้ร่วมกันจึงมีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนสูง เมื่อหุ้นมีการเพิ่มทุนก็ย่อมทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง ดังนั้นหุ้นที่มีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนมักจะมี p/e ที่ต่ำกว่าหุ้นที่สามารถเติบโตได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุน
การเติบโตทางธุรกิจ เนื่องจากการทำ DCF คือการประมาณกระแสเงินสดในอนาคต ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตในอนาคตสูง ก็จะมีกระแสเงินสดในอนาคตที่เพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบันมาก ดังนั้นหุ้นที่มีการเติบโตสูงจึงจะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีการเติบโตต่ำ
ปัจจัยสุดท้ายที่มีผลต่อการคำนวณ DCF ก็คือ มูลค่าเงินสด หรือหนี้สินสุทธิ ซึ่งก็คือ
เงินสดสุทธิ = เงินสดในบริษัท - หนี้สินระยะยาว - หนี้สินระยะสั้นที่มีดอกเบี้ย
ดังนั้น ถ้าปัจจัยทุกอย่างเหมือนกันหมด หุ้นที่มีเงินสดสุทธิเป็นบวกก็จะมี DCF สูงกว่าหุ้นที่มีหนี้สิน
สรุป มูลค่าหุ้นตามแบบ DCF จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญดังนี้ครับ
- อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง มูลค่า DCF จะสูงขึ้น
- ความเสี่ยงของธุรกิจ ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง DCF ก็จะต่ำ
- การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ DCF จะต่ำ
- การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ DCF จะสูง
- ขายสินค้าได้เร็ว มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ DCF จะสูง
- ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ ในการขยายกิจการ เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี DCF จะต่ำ
- มีการเติบโตสูง DCF จะสูง
- มีหนี้มากๆ DCF จะต่ำ
สำหรับ DCF กับ p/e จะมีความสัมพันธ์กัน หากหุ้น 2 ตัวที่ปัจจุบันมีกำไรสุทธิเท่ากัน หุ้นตัวที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF สูงกว่า จะมี p/e ที่เหมาะสมสูงกว่าหุ้นที่มีราคาเป้าหมายโดยวิธี DCF ต่ำกว่า ดังนั้น ด้วยย่อหน้าข้างบน เราสามารถเปลี่ยนคำว่า DCF เป็น p/e ได้เป็น
- อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยต่ำลง p/e ของหุ้น จะสูงขึ้น
- ความเสี่ยงของธุรกิจ ถ้าธุรกิจมีความเสี่ยงสูง p/e ก็จะต่ำ
- การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ p/e จะต่ำ
- การได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้การค้ายาวๆ p/e จะสูง
- ขายสินค้าได้เร็ว มีการเก็บสินค้าคงคลังต่ำ p/e จะสูง
- ต้องมีการลงทุนจำนวนมากๆ ในการขยายกิจการ เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี p/e จะต่ำ
- มีการเติบโตสูง p/e จะสูง
- มีหนี้มากๆ p/e จะต่ำ
ดังนั้นเมื่อเราเข้าใจหลักของ DCF แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องทำ model DCF ก็ได้ เพียงแต่เราต้องเข้าใจว่าธุรกิจที่เราต้องการวิเคราะห์นั้นเป็นอย่างไร มีการเติบโตสูงหรือต่ำ มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงหรือไม่ เมื่อต้องการขยายธุรกิจต้องใช้เงินทุนจำนวนมากหรือไม่ มีหนี้มากหรือน้อยเพียงใด
วันนี้ก็คงขอจบบทความลงเท่านี้ครับ ขอให้เพื่อนๆ ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงและประสบความสำเร็จกับการลงทุนในแนวทาง VI ครับ ขอบคุณมากครับ
cr.line

บัญญัติ 10 ประการของวอร์เรน บัฟเฟตต์

  บัฟเฟตต์เป็นประธานผู้บริหารของบริษัท Berkshire Hathaway ซึ่งก่อตั้งขึ้น 170 ปีแล้วและเคยทำกิจการด้านสิ่งทอเป็นหลักก่อนที่บัฟเฟตต์และหุ้นส่วนจะซื้อกิจการมาดำเนินงานเมื่อปี 2508 บัฟเฟตต์ใช้บริษัทนั้นเป็นทางผ่านการลงทุนในบริษัทอื่นซึ่งทำกิจการหลากหลายอย่างรวมทั้งการประกันภัย หนังสือพิมพ์ ร้านอาหาร ธนาคารและร้านสรรพสินค้า เขาซื้อหลายบริษัทมาควบรวมและซื้อหุ้นของอีกหลายบริษัทเป็นบางส่วน ก่อนที่เศรษฐกิจโลกจะประสบปัญหาและราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เริ่มทรุด Berkshire Hathaway มีทรัพย์สินรวมกันเกือบ 300,000 ล้านดอลลาร์ บัฟเฟตต์ประสบความสำเร็จสูงกว่านักลงทุนทั่วไปอย่างต่อเนื่องจนทำให้ราคาหุ้นของ Berkshire Hathaway เพิ่มขึ้นจาก 4 ดอลลาร์ต่อหุ้นเป็น 75,000 ดอลลาร์ในเวลา 40 ปี


  มีผู้พยายามค้นหาปัจจัยที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จสูงอย่างน่ามหัศจรรย์นั้น เมื่อหลายปีก่อนมีหนังสือเกี่ยวกับวอร์เรน บัฟเฟตต์ ชื่อ The Snowball: Warren Buffett and the Business of Life พิมพ์ออกมา แต่กว่าผู้อ่านจะค้นพบปัจจัยที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จก็ต้องอ่านกันนานเพราะหนังสือเล่มนั้นมีความหนาเกือบ 1,000 หน้า ก่อนหน้านั้นมีผู้นำเอาข้อคิดในจดหมายที่เขาเขียนถึงผู้ถือหุ้นในบริษัท Berkshire Hathaway มารวมเป็นหนังสือชื่อ The Essays of Warren Buffett: Lessons for Corporate America ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหนังสือทั่วไปและยาว 290 หน้า จึงต้องใช้เวลานานกว่าจะอ่านจบ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา Michael Brush สรุปแนวคิดของบัฟเฟตต์ออกมาเป็น 10 ข้อเผยแพร่ไปตามสื่อต่าง ๆ ขอนำมาเล่าสู่กันเพราะมันน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ หรือมีเวลาไปเสาะหาหนังสือและต้นฉบับมาอ่านเอง

ข้อ1 – จงเป็นผู้มัธยัสถ์ 

เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรง แต่มันมีความสำคัญพื้นฐานต่อการคิดของบัฟเฟตต์ ทั้งที่เป็นอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลก เขามีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย เช่น ยังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมซึ่งเขาซื้อเมื่อปี 2501 ที่เมืองโอมาฮาในรัฐเนแบรสกาซึ่งยังเป็นชนบทเสียเป็นส่วนใหญ่ หลังจากต่อเติมบ้าง บ้านหลังนั้นก็ยังเป็นแบบของคนอเมริกันชั้นกลางโดยทั่วไป นอกจากนั้นเวลาเขาไปไหนมาไหนก็ยังขับรถเอง
เกี่ยวกับเรื่องนี้ Michael Brush ไม่ได้เอ่ยถึงข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น บัฟเฟตต์ได้ค่าตอบแทนจากบริษัท Berkshire Hathaway เพียงปีละ 100,000 ดอลลาร์ หรือประมาณเดือนละ 290,000 บาทเท่านั้น ต่างกับประธานผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ ๆ ซึ่งมักได้ค่าตอบแทนหลายสิบล้านดอลลาร์ต่อปี บัฟเฟตต์ไม่มีรายได้จากเงินปันผลของบริษัท Berkshire Hathaway เพราะบริษัทนั้นจ่ายเงินปันผลครั้งเดียวหลังจากเขาซื้อมาและหยุดจ่ายมาหลายทศวรรษแล้ว ฉะนั้นบริษัท Berkshire Hathaway เก็บผลกำไรไว้สำหรับลงทุนต่อได้จำนวนมาก

ส่วนตัวบัฟเฟตต์เองก็มีเงินเหลือเพื่อนำไปลงทุนต่อเพราะค่าตอบแทนที่ไม่สูงนักก็มักใช้ไม่หมด การไม่ใช้ชีวิตแบบหรูหราฟุ้งเฟ้อไปตามกระแสสังคมยังผลให้เขาไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคอยจ้องหารายได้จากการขายหุ้นที่มีอยู่ในมือ หรือจากการปันผลกำไรที่บริษัททำได้อย่างต่อเนื่อง เขามีเวลาสำหรับใช้พิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ ยิ่งกว่านั้นเขายังกดดันให้ผู้บริหารของกิจการที่เขาเข้าไปลงทุนกำจัดค่าใช้จ่ายที่ไม่ค่อยเกิดประโยชน์และพยายามจำกัดค่าค่าตอบแทนของผู้บริหารส่งผลให้บริษัทเหล่านั้นทำกำไรได้สูงยิ่งขึ้น

ข้อ2 – จงยึดหลักช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม 

 หรือมีความอดทนเพื่อรอโอกาสทองที่จะเกิดขึ้นจากความผันผวนอย่างหนักของตลาดหลักทรัพย์ ในปัจจุบัน วิกฤติเศรษฐกิจและความผันผวนของราคาโภคภัณฑ์รวมทั้งน้ำมันปิโตรเลียมและแร่ธาตุอาจทำให้หุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งตกลงมาอย่างไม่น่าจะเกิดขึ้น ฉะนั้น ในช่วงนี้บัฟเฟตต์จะมีโอกาสดีเป็นพิเศษ มีรายงานข่าวออกมาว่าเขาได้เข้าไปซื้อหุ้นในหลายบริษัทที่ทำกิจการด้านน้ำมันปิโตรเลียม ด้านการบริการพลังงานไฟฟ้า ด้านธนาคารพาณิชย์และด้านการขนส่งทางรถไฟ 

ข้อ3 – จงเดินทวนกระแส 

 บัฟเฟตต์เฝ้ามองว่าฝูงนักลงทุนจะพากันเดินไปทางไหนแล้วเขาจะพยายามเดินไปทางตรงข้ามเนื่องจากทางที่นักลงทุนพากันไปนั้น โอกาสในการทำกำไรได้อย่างงดงามมีน้อยเพราะนักลงทุนพวกนั้นได้ผลักดันราคาของหุ้นให้สูงขึ้นแล้ว ฉะนั้น เมื่อตอนที่ราคาหุ้นพุ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเมื่อสองสามปีก่อน บัฟเฟตต์ไม่เข้าไปร่วมด้วย แต่ในตอนนี้ นักลงทุนจำนวนมากมองหาทางเทขายยังผลให้ราคาหุ้นโดยทั่วไปตกและหุ้นของบางบริษัทตกมากเป็นพิเศษ ตอนนี้บัฟเฟตต์ถือว่าเป็นโอกาสดีที่จะซื้อหุ้นได้ในราคาถูก จึงมีข่าวว่าเขาเข้าไปซื้อหุ้นของหลายบริษัท เกี่ยวกับเรื่องนี้ สิ่งที่ Michael Brush ไม่ได้กล่าวถึงแต่มีความสำคัญพื้นฐานก็คือ บัฟเฟตต์ทำการบ้านอย่างละเอียดและต่อเนื่อง นั่นคือ วิเคราะห์บริษัทต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจซื้อหุ้น

ข้อ4 – จงเลือกลงทุนในสิ่งที่ตนเองเข้าใจ 

บัฟเฟตต์จะไม่ซื้อหุ้นของบริษัทที่เขาไม่เข้าใจว่าผลิตอะไรออกมาและไม่รู้อย่างแจ้งชัดว่าบริษัทนั้นทำกำไรได้อย่างไร ทั้งที่ในยุคนี้ มหาเศรษฐีจำนวนมากใช้เทคโนโลยีเป็นหัวจักรขับเคลื่อนการสร้างความร่ำรวย รวมทั้งเพื่อนซี้ของเขาเอง เช่น บิล เกตส์ ด้วย แต่บัฟเฟตต์หลีกเลี่ยงการซื้อหุ้นในบริษัทเทคโนโลยี ฉะนั้นเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วอันเป็นตอนที่ราคาหุ้นของภาคเทคโนโลยีพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง บัฟเฟตต์จึงไม่เข้าไปซื้อเพราะเขาไม่เข้าใจเทคโนโลยีใหม่ ๆ และไม่รู้ว่าบริษัทเหล่านั้นจะทำกำไรได้อย่างไร อีกไม่กี่ปีต่อมา ผลปรากฏว่านักลงทุนพากันสูญเงินจำนวนมหาศาลเมื่อฟองสบู่ในภาคเทคโนโลยีแตก แต่บัฟเฟตต์ทำกำไรได้อย่างงดงามจากการลงทุนในภาคอื่น 

ข้อ5 – จงอย่าฟังนักวิจารณ์หรือการยืนยันของตลาด 

ยุคนี้มีนักวิจารณ์จำนวนมากออกมาวิจารณ์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ตามสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง คนกลุ่มนี้มีความเห็นสารพัดและมักจะให้การยืนยัน หรือไม่ก็แย้งการตัดสินใจในการลงทุนของนักลงทุนใหญ่ ๆ เช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์ นอกจากนั้นการเคลื่อนไหวรายวันของราคาหุ้นยังเป็นเสมือนการยืนยันในระยะสั้นด้วยว่าการตัดสินใจซื้อหุ้นนั้นถูกต้องหรือไม่ บัฟเฟตต์จะไม่ฟังคำวิจารณ์และไม่ต้องการดูราคาหุ้นว่าไปทางไหน เขาจะตัดสินใจบนฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลของเขาเอง

ข้อ6 – จงค้นหาของดีราคาถูกให้พบ 

ในกระบวนการค้นหาหุ้นราคาถูก บัฟเฟตต์เริ่มวิเคราะห์เพื่อค้นหา “มูลค่าภายใน” (intrinsic value) ของบริษัทเป็นขั้นแรก กระบวนการนี้อาจมองดูว่าราคาหุ้นของบริษัทคล้าย ๆ กันเป็นอย่างไร หรือไม่ก็คำนวณค่าปัจจุบันของเงินสดที่บริษัทนั้นน่าจะทำได้ในอนาคต รายละเอียดของวิธีคำนวณอาจหาได้ในหนังสือชื่อ The Warren Buffet Way ของ Robert Hagstrom หรือเรื่อง The Market Gurus ของ John Reese และ Todd Glassman หากราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดต่ำกว่ามูลค่าภายในมาก ๆ บริษัทนั้นน่าสนใจเพราะมี “ส่วนเผื่อความปลอดภัย” (margin of safety) สูงมาก

บัฟเฟตต์ไม่ค่อยสนใจเรื่องผลกำไรต่อหุ้น หากสนใจในผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (return on equity) ส่วนต่างระหว่างราคาขายของสินค้ากับต้นทุน และภาระหนี้สินของบริษัท นอกจากนั้นเขายังต้องการเห็นบริษัททำเงินสดได้มาก ๆ แล้วนำไปลงทุนอย่างชาญฉลาด หรือไม่ก็จ่ายเงินปันผลและซื้อหุ้นของตนคืน ในกระบวนการวิเคราะห์นี้ เขาจะมองย้อนไปในอดีตอย่างน้อย 5 ปีเพื่อดูว่าบริษัทมีประวัติการประกอบการอย่างไรในภาวะต่าง ๆ กัน ฉะนั้น เขาจะไม่เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีประวัติดีจนเป็นที่ประจักษ์

ข้อ7 – จงมองหาบริษัทที่มีรั้วรอบขอบชิด หรือล้อมรอบด้วยคูลึก 

บริษัทจำพวกนี้มักมีประวัติในการทำกำไรได้ดีและมีความได้เปรียบอย่างยั่งยืนเพราะคู่แข่งเกิดขึ้นได้ยากมากอาจเนื่องมาจากอำนาจในการปกป้องของสิทธิบัตรและของเครื่องหมายการค้าที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง บริษัทจำพวกนี้สามารถขึ้นราคาสินค้าและบริการได้โดยไม่กระทบยอดขายและมักไม่ได้รับผลกระทบมากนักในภาวะเศรษฐกิจถดถอย ฉะนั้นบัฟเฟตต์จึงถือหุ้นจำนวนมากในบริษัทประกอบการรถไฟเพราะยากที่จะมีใครสามารถสร้างรางขึ้นมาแข่งได้ในทวีปอเมริกาเหนือ และในบริษัทโคคา-โคลาเพราะมีเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางพร้อมกับมีระบบการจัดจำหน่ายที่ลื่นไหลเป็นอย่างดีทั่วโลก

ข้อ8 – จงทุ่มเงินลงไปในบริษัทที่น่าซื้อ 

เรื่องนี้เป็นลักษณะหนึ่งของการเดินย้อนกระแส นักลงทุนโดยทั่วไปมักใช้การกระจายการลงทุนออกไปในหลายบริษัทเพื่อหวังลดความเสี่ยง แต่บัฟเฟตต์กลับชอบลงทุนแบบกระจุกตัวมากกว่า เมื่อใดเขามองเห็นโอกาสดีเป็นพิเศษ เมื่อนั้นเขาจะทุ่มทุนซื้อหุ้นของบริษัทนั้นทันที เขามองว่าการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนและการมีความอดทนที่จะรอจนได้ “ส่วนเผื่อความปลอดภัย” สูงมาก ๆ เป็นมาตรการลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ฉะนั้น ประวัติการลงทุนของเขาบ่งว่า ความสำเร็จของเขาเกิดจากผลตอบแทนสูงมากที่เขาได้จากการทุ่มลงทุนในหุ้นของบริษัทเพียงราวหนึ่งโหลเท่านั้น

ข้อ9 – จงซื้อเพื่อถือไว้หาผลกำไรในระยะยาว 

บัฟเฟตต์มองว่าถ้าได้วิเคราะห์เป็นอย่างดีแล้วว่าควรลงทุนในบริษัทไหน บริษัทนั้นควรจะให้ผลกำไรดีเป็นเวลานาน ฉะนั้นผู้ที่ทนไม่ไหวที่จะดูราคาหุ้นของตนตกไป 50% อย่าคิดเข้าไปลงทุนซื้อหุ้นเด็ดขาด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เมื่อซื้อหุ้นมาแล้วก็เลิกติดตามความเป็นไป ตรงข้าม ผู้ถือหุ้นจะต้องติดตามและวิเคราะห์เหตุการณ์รอบด้านอย่างใกล้ชิด เมื่อใดเห็นว่าบริษัทนั้นหมดโอกาสที่จะทำกำไรดีต่อไป หรือกำลังเดินเข้าภาวะยากลำบากเป็นเวลานาน เมื่อนั้นจงรีบขายออกไปทันที ด้วยหลักข้อนี้ บัฟเฟตต์จึงขายหุ้นจำนวนมากในบริษัทรับจำนองบ้านขนาดยักษ์ที่รู้จักกันในนาม Fannie Mae กับ Freddie Mac ก่อนที่สองบริษัทนั้นจะประสบปัญหาจนถูกรัฐเข้าไปยึดเมื่อปีที่แล้ว สิ่งหนึ่งซึ่ง Michael Brush ไม่ได้กล่าวถึงคือ บัฟเฟตต์มองว่าการซื้อขายหุ้นบ่อย ๆ รังแต่จะเป็นเหยื่อให้แก่ผู้ที่ไม่ค่อยมีบทบาทพื้นฐานทางเศรษฐกิจนัก เช่น นายหน้าค้าหุ้น ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้บริหารกองทุน เขาประเมินว่าคนเหล่านั้นหักเอาผลกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไปราวปีละราว 140,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 20% ของผลกำไรทั้งหมดซึ่งมีผลกระทบทางลบต่อผลประกอบการของบริษัท

ข้อ10 – จงเชื่อมั่นในอเมริกา 

บัฟเฟตต์จะไม่มองว่าใครเข้ามาเป็นประธานาธิบดี หรือในขณะนี้วัฏจักรของเศรษฐกิจอยู่ตรงไหน หากมองว่าในระยะยาวบริษัทขนาดใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งจะกลับมาทำกำไรได้ดีอีกครั้งแม้ในขณะนี้ดูจะมีปัญหาบ้างก็ตาม ฉะนั้นในปัจจุบัน บัฟเฟตต์จึงนำเงินจากส่วนที่ซื้อพันธบัตรไว้ออกมาใส่ลงในหุ้นของบริษัทที่เขามองว่ามีโอกาสทำกำไรได้ดีในระยะยาว

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ichat.in.th/businesszaa/topic-readid20337-page1