วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์หลักทรัพย์หมวดธุรกิจประกัน

ธุรกิจประกัยภัย คือ
- ธุรกิจที่มี Gross margin 40-50% แต่บางปีโดนหนัก อาจติดลบได้เท่าที่ทำมา 10 ปี รวมกัน
- มี cash cycle ติดลบ รับเงินมาก่อน จ่าย claim ทีหลัง -> cash machine
- ความสามารถในการแข่งขัน คือ ใครมีโครงสร้างต้นทุนต่ำกว่ากัน และ หาลูกค้าได้มากกว่า
- ความเสี่ยงหลักของธุรกิจ ก็คือ การบริหารความเสี่ยง

ธุรกิจประกันชีวิต คือ
- แบงค์ ที่ ปล่อยกู้ไม่ได้ (กฎหมาย ไม่ให้เรียก เบี้ยประกันว่า เงินฝาก แต่จริงๆ ก็เงินฝาก กลายๆ)
- อัตราการเติบโตดีมาก ตามสภาพสังคม ที่คนสูงอายุมากขึ้น, รายได้และการศึกษา ดีขึ้น เข้าใจความสำคัญของประกันชีวิต
- ตลาดในไทย ยังพัฒนาแบบประกันได้อีกเยอะ
- เสียอย่างเดียว ตัวเลือกในตลาดหุ้นไทยน้อยไปนิดนึง เลือกมากไม่ได้ มีแค่ 2-3 บริษัท


ธุรกิจประกันภัย

 บริษัทประกันภัยจะรับรู้รายได้ทีละ ครึ่งเดือน รับเบี้ยมา 12000 บาท ประกันหนึ่งปี ก็จะทยอยรับรู้ครึ่งเดือนละ 600 บาท ส่วนที่ยังไม่รับรู้ก็ตั้งเป็นเบี้ยที่ยังไม่รับรู้รายได้

 ส่วนใหญ่เป็นแบบสัญญาที่มีความคุ้มครองแบบปีเดียวจบ ซึ่ง Key Factor ก็คือ ระยะเวลาการจ่ายเบี้ยต้องเท่ากับระยะเวลาคุ้มครอง (สินค้าแบบนี้เรียกว่า Non-Active Life Reserve) ตั้งสำรองแบบปีต่อปี และรับรู้กำไรขาดทุนได้แบบปีชนปี (เมื่อหมดสัญญาประกันนั้น)

 แต่ต้องระวังในการดูเหมือนกัน เพราะหลังๆนี้ บริษัทประกันภัยเริ่มออกแบบประกันแบบระยะจ่ายเบี้ยสั้นกว่าระยะเวลาคุ้มครองเหมือนกัน เช่น ประกันมะเร็ง เก็บเบี้ย 2 ปี คุ้มครอง 3 ปี เป็นต้น ถ้าบริษัทไหนมีสินค้าแบบนี้มาก ต้องเจาะลึกไปว่า ตั้งสำรองไว้แบบไหน เผื่อปีที่สามที่จะไม่มีเบี้ยเข้ามาหรือยัง ไม่งั้นงบสวยสองปีแรก ส่วนปีสามขาดทุนเละ สินค้าแบบนี้ต้องดูคล้ายๆ ประกันชีวิตมากกว่า (สินค้าแบบนี้เรียกว่า Active Life Reserve)

 บริษัทที่มีสินค้า Non-Active Life Reserve เป็นส่วนใหญ่ นักลงทุนสามารถใช้ Loss Ratio ในแต่ละปีมาดูคุณภาพของบริษัทนั้นๆ ได้เลย เพราะปกติ Loss ratio จะไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะถ้าปีไหนถูก Claim มาก ปีหน้าบริษัทก็จะเพิ่มเบี้ยเพื่อทำให้ Loss Ratio กลับมาเท่าเดิม (Loss Ratio จึงเหมือนกับ Cost of Goods Service หรือ ต้นทุนขายในบริษัททั่วไปนั่นเอง)

 บริษัทแบบ Non-Active Life Reserve มักจะเหมือน Cash Cow หรือ Cash Machine ผลิตเงินสดให้ทุกๆ ปี แต่แปลกตรงที่บริษัทประกันภัยในไทยชอบทำให้ธุรกิจประกันขาดทุน แล้วไปทำกำไรในการลงทุนแทน

 Micro Insurance เป็นสินค้าที่รัฐพยายามผลักดันให้เกิด เพราะเบี้ยถูก ทุนประกันต่ำ ไว้ใช้ในการบรรเทาความเสียหายมากกว่า

 นอกจากนั้น รัฐยังมีแนวคิดที่จะให้นักท่องเที่ยวต่างชาติทุกคนทำ Travel insurance เพราะ เกิดปัญหาคือมาเที่ยวแล้วเจ็บเข้าโรงพยาบาล ไม่มีเงินจ่ายค่าหมอ พอเค้ากลับบ้านไปแล้ว ก็เก็บหนี้ไม่ได้ (แต่ยังเป็นแค่แนวคิดนะครับ แต่ถ้าเกิดขึ้นจริงเมื่อไร น่าจะดีมาก)

 CAR ratio ที่บริษัทประกันภัยเปิดเผยส่วนใหญ่ เป็นค่าที่ได้รับการผ่อนผันแล้ว ดังนั้น ควรถามบริษัทว่า ถ้าไม่มีการผ่อนผัน CAR จะอยู่ที่เท่าไร ถ้าบริษัทมีค่าที่ดี เค้าจะรีบคุยให้ฟังแน่นอน


ธุรกิจประกันชีวิต

 เปรียบเทียบธุรกิจเหมือนเขื่อนเก็บน้ำ แล้วน้ำที่ปล่อยออกจากเขื่อนคือเงินกำไรให้ผู้ถือหุ้น ถ้าบริษัทเลือกเก็บน้ำไว้ในปีแรกๆ ไม่ปล่อยน้ำออก น้ำในเขื่อนก็จะเต็ม แต่ผู้ถือหุ้นก็จะไม่ได้อะไร แต่ปีต่อๆ มาเมื่อน้ำเต็มก็ต้องปล่อยออกมา เพราะ ไม่มีจำเป็นต้องสำรองแล้ว ซึ่งบริษัทประกันชีวิตในไทยส่วนใหญ่จะเป็นแบบนื้ 

 แต่ก็มีบางบริษัท ที่เลือกจะสำรองน้ำแต่พอควร เพื่อให้น้ำที่ปล่อยออกในแต่ละปีมีความสม่ำเสมอ ซึ่งแบบนี้ผู้ถือหุ้นบริษัทจะชอบ เพราะสามารถประมาณการกำไรได้ง่าย

 ดังนั้น รูปแบบการตั้งสำรองของแต่ละบริษัทจะมีผลต่อรูปแบบของกำไรมาก

 ปัจจุบัน ประเทศไทยยังขาย Product แบบ Traditional อยู่มาก ในขณะที่ Singapore และ Malaysia ขาย Unit Link อยู่ประมาณ 40% และอเมริกาแทบไม่มีการขายแบบ Traditional แล้ว Product แบบ Unit Link ดีต่อบริษัทประกันคือ บริษัทไม่ต้องมีความเสี่ยงในการลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนสอดคล้องกับแบบกรมธรรม์ เนื่องจากได้ Shift ไปที่ลูกค้าเป็นผู้รับความเสี่ยงเอง ซึ่งถ้าขายกรมธรรม์แบบนี้มาก จะทำให้ ค่า RBC ของบริษัทปรับตัวดีขึ้น

 กำไรของบริษัทประกันชีวิต ห้ามดูแค่ปีเดียวต้องดูเป็นแบบ Present Value ดูกระแสเงินสดที่จะเข้ามาเป็นสำคัญ เพราะ แต่ละบริษัทมี Reserve Pattern ไม่เหมือนกัน 

 ตัวอย่างการวิเคราะห์หุ้นประกันชีวิต ให้ไปดูวิธีตัวอย่างที่ฮ่องกง เช่น AIA Prudential Manulife เป็นต้น

 บริษัทประกันชีวิตมีสินค้าเป็น Active Life Reserve ซึ่งระยะจ่ายเบี้ยสั้นกว่าระยะเวลาคุ้มครอง ดังนั้น การตั้งสำรองจะมีการคิดเผื่อไว้สำหรับปีที่จะไม่มีเบี้ยจ่ายเข้ามา ดังนั้น นักลงทุนจะนำ Loss Ratio มาคำนวณความสามารถของบริษัทไม่ได้เลย ต้องเข้าใจ Reserve Pattern ของบริษัทเสียก่อน

 เบี้ยรับในแต่ละปีก็มีความสำคัญไม่มากต่อกำไรของบริษัท เพราะ สามารถเร่งเบี้ยได้ไม่ยาก แค่ออกสินค้าที่มี Margin บางขายง่ายๆ ขายได้เยอะกำไรน้อย แค่นี้เบี้ยก็พุ่งแล้ว เป็นการทำในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าว่า Market share ได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงต้องดูคุณภาพของเบี้ยว่าสินค้านั้นๆ มี Profit Margin เท่าไร

 สิ่งที่สำคัญที่นักลงทุนต้องหาให้ได้ ก็คือ Cash Flow Projection ของบริษัทว่าเมื่อครบอายุของกรมธรรม์แต่ละชนิด บริษัทจะได้กำไรหรือไม่ เช่น บริษัทสำรองน้อยปีแรกๆ เบี้ยเข้ามากำไรบวม ปีท้ายๆ สำรองเท่าเดิม แต่ไม่มีเบี้ยเข้ามา ค่าใช้จ่ายเท่าเดิม ก็ขาดทุนไป

 การประเมินมูลค่าของบริษัทชีวิตจึงต้องใช้ค่า Embedded Value + Value of New Business (ซึ่งค่าต่างๆ นี้คงต้องถามจากบริษัทอย่างเดียวเลยครับ คำนวณจากงบไม่ได้เลย)

Embedded Value ประกอบด้วยสองส่วน คือ 1. Value of In-force Business (เงินสดหรือเบี้ยปีต่อที่บริษัทจะรับเข้ามาในอนาคต โดยไม่รวมกับเบี้ยที่ขายใหม่ แล้วคิดเป็น Present Value) บวกกับ 2. Adjusted net worth (ส่วนต่างระหว่างมูลค่าตลาดของทรัพย์สินของบริษัท ลบกับ ภาระผูกพันต่างๆ ของบริษัททั้งหมด)

Value of New Business คือ กำไรของสินค้าใหม่ที่ขายในปีนั้นแล้วคิดแบบ Cash Flow projection แล้วคิดย้อนกลับมากเป็น Present Value

 นักวิเคราะห์ในต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริษัทประกันชีวิต โดยใช้ EV + VONB แบบที่บอกไว้ข้างต้นกันมากขึ้นเยอะ โดยใช้กันมากในยุโรป แต่ใน US ใช้แบบ PE ratio เพราะ US ใช้วิธีตั้งสำรองแบบ US GAAP ซึ่ง Reserved Pattern จะทำให้กำไร Smooth ไม่มีความผันผวนมาก

 ธนาคารขายประกันชีวิตได้ดีกว่าตัวแทน เพราะรู้ว่าลูกค้ามีเงินเท่าไร สินค้าแบบไหนถึงเหมาะ

 ประกันชีวิตแบบพวก Credit Life คือ ประกันที่เกี่ยวกับเงินกู้ เช่น บ้าน รถยนต์ พวกนี้กำไรดี แต่จ่ายเบี้ยครั้งเดียว ไม่มี Recurring Income สินค้าแบบนี้ใครมีธนาคารเป็นช่องทางขายจะได้เปรียบเพราะปล่อยกู้แล้วขาย Credit Life ไปด้วย

Insurance Business ธุรกิจประกันภัย
1. ในไทยแบ่ง License เป็น ประกันชีวิต, และประกันวินาศภัย เพื่อนบ้าน ขายรวมกัน
2. รับเงินก่อน จ่าย Claim ทีหลัง
3. เป็นธุรกิจกระดาษ -> ดู Probability -> ต้องใช้คณิตศาสตร์ประกันภัย คำนวณ
4. ดูอัตราดอกเบี้ย, สถิติ ต่างๆ
5. เน้นเรื่อง เงินสำรอง -> เพียงพอจ่ายผู้เอาประกัน
6. แบบประกัน คปภ. ควบคุม ออกใหม่ ยาก ใช้เวลา
7. แบบประกันให้ดูว่า ขายได้มั๊ย, ทำได้จริงมั๊ย,มีกำไรมั๊ย
8. Adverse Selection -> การ Screen ลูกค้า
9. Moral Hazard -> ลูกค้าถลุงเงินบริษัทเก่งมั๊ย เช่น ป่วยนิดเดียว แต่อยากนอนโรงพยาบาลนานๆ ให้หมอเขียนบิลให้
10. ประกันที่ดี มีการแบ่ง ซอยย่อย คัดเลือกลุ่มลูกค้า
11. ประกัน 2 แบบ ALR, non-ALR
12. non-ALR คือ non-Active Life Reserve 
-> จ่ายเบี้ยคุ้มครองสั้นๆ ใน 1 ปีสามารถ Control Loss Ratio ได้ 
*Loss Ratio คือ Claimed หารด้วย Net Earned Premium
-> คือ Claimed เพิ่ม ก็เพิ่มเบี้ย 
-> Cash Cow / Cash Generation

13. ALR คือ Active Life Reserve 
-> พวกจ่ายเบี้ย แล้วคุ้มครองนานเกิน 1 ปี
-> การตั้งสำรอง ซับซ้อน
-> ดู Long Term (พวกประกันชีวิต)

14. เงินสำรอง มี 2 แบบ
14.1 Claimed Reserve คือ มี Claimed ก็บันทึกไว้-> ประกันวินาศภัย
14.2 Policy Reserve เอาเงินฝากประกันไว้ก่อน -> ประกันชีวิต

15. แบบประกันชีวิตแบบต่างๆ เยอะแยะมากมาย
16. วิธีการคิดกำไร/Valuation ของบริษัทประกันชีวิต 4 แบบ (จริงๆ มีมากกว่านี้)
16.1 หลักการเงินสำรอง -> ดูงบดุล -> คุ้มครองผู้บริโภค (แบ่งย่อยได้เป็น Thai GAAP-คปภ. และ RBC)
16.2 ตั้งสำรองเฉลี่ยๆ เฉลี่ย Earning แล้วหา PE -> US GAAP
16.3 สรรพากร (เกณฑ์ภาษี)
16.4 Appraisal Value (EV), Economic Value Added
-> AV = EV + VoNB
-> EV = ANW+VIF
*EV (Embedded Value) คิดเหมือนธุรกิจมหาวิทยาลัย
*ANW (Adjusted Net Worth) = Asset (ราคาตลาด) - Liability (คปภ.)
*VIF (Value in Force) = มูลค่าเบี้ยปีต่ออายุ
*VoNB (Value of New Business) -> คำนวณค่อนข้างซับซ้อน ถามตัวเลขจากบริษัทเอา แล้ว Monitor อัตราการเติบโตของตัวเลขนี้เอา
*ทุกอย่างคิดเป็น Present Value
สงสัยไปถามนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เอาดีกว่าครับ ไปอบรมมาแล้ว ก็ยังงงอยู่ Assumption เยอะเกิน

17.คุณทอมมี่ บอกว่า Top Line บริษัทประกันชีวิต อย่าไปดูมาก ดูเป็น AV, EV
18. ดูจาก GDP Penetration Rate ของประกันในไทยยังโตได้อีก โดยเฉพาะ ประกันชีวิต
19. แต่ประกันในไทย ยังมีไว้เพื่อขาย คือ ต้องไปง้อลูกค้าซื้อ ไม่เหมือน Developed Country ที่ทุกคนรู้ถึงความสำคัญของประกัน เป็นตลาดของปู้ซื้อ

นโยบายสำคัญที่ คปภ. กำลัง Promote
1. Micro Insurance
2. เบี้ยประกัน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มาเที่ยวเมืองไทย

ประกันชีวิต ดูอะไรบ้าง
1. Earning Smooth มั๊ย (ดูวิธีการตั้งสำรอง)
2. Growth of VoNB
3. SWOT
4. Distribution Channel
5. Asset Liability Management

ผมแถมสรุปให้ว่า ประกันวินาศภัย ดูอะไรบ้าง
1. ผู้บริหาร, คนที่คุมการลงทุน
2. โครงสร้างต้นทุน + EoS (Economy of Scale) 
3. อัตราเติบโตเบี้ยรับ (Direct Premium Written)
4. บริษัทเก่งประกันอะไร
5. ช่องทางการจำหน่าย, การเติบโตในอนาคต