2. อย่างไรก็ดี สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ การใช้ PE ratio อาจจะกลายเป็นสิ่งที่ยาก เพราะการใช้ PE ratio นั้นต้องอาศัยทั้ง ”ศิลปะ” และ “ประสบการณ์” พอสมควร

3. สิ่งแรกที่ผมอยากจะแนะนำก็คือ PE ratio ที่เราใช้นั้นควรจะเป็น PE ratio ของ ”อนาคต” นั่นหมายความว่าเราต้องสามารถใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาประเมินผลกำไรในอนาคตให้ ได้เสียก่อน ( ผมมองว่าอย่างน้อยเราควรจะต้องประเมินผลกำไรอีก 2 ปี ข้างหน้าให้ได้ ) ก่อนที่จะให้อัตราส่วนทางการเงินตัวนี้

4. ไกด์ไลน์คร่าวๆ สำหรับการใช้ PE ratio… สิ่งแรกที่ผมจะพิจารณาก็คือคุณภาพของ E ( ซึ่งก็คือคุณภาพของกิจการ ) ถ้ากิจการเป็นกิจการที่ดีมากๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูง ( super stock ) มีรายได้ที่สม่ำเสมอ และมีกำไรที่มีสเถียรถาพซึ่งสามารถเติบโตได้ทุกปี ผมมักจะให้ pe 12 -15 สำหรับกิจการที่ดีพอสมควร มีการเติบโตติดกันหลายๆปี แต่อาจจะไม่ได้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันมากนัก รายได้อาจจะผันผวนในบางไตรมาส ผมก็มักจะลด pe ลงมาเหลือ 8 -12 ส่วนกิจการ”งั้นๆ” กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง ผมก็มักจะให้ที่น้อยกว่า 8

5. สิ่งที่ผมจะใช้ต่อไป ก็คือ PE ratio เฉลี่ยของอุตสาหกรรม อย่าลืมว่า E เกิดจากคุณภาพของกิจการ แต่ PE ratio เกิดจากความคาดหวังของนักลงทุน ดังนั้น PE ratio ของอุตสาหกรรมนั้นจะเป็น reference คร่าวๆ ให้กับเราได้เป็นอย่างดีว่านักลงทุนส่วนใหญ่มองอุตสาหกรรมนั้นๆอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น เราไปพบหุ้นอสังหาริมทรัพย์ตัวหนึ่งถูกเทรดที่ PE แค่ 5 แล้วเราดูงบการเงินย้อนหลังไป เราก็พบว่าบริษัทก็มีผลกำไรสม่ำเสมอ พอสมควร แบรนด์ของบริษัท ก็เป็นที่รู้จักในตลาด เราอาจจะคิดว่านี่คือหุ้นที่”ดี” และน่าจะเทรดที่ PE 7-8 แต่ถ้าเราไปดูข้อมูลของอุตสาหกรรม เราจะพบว่า มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดเล็กมากมายที่เทรดกันแค่ PE 4-5 ( หลายตัวอาจมีงบการเงินที่”แข็งแรง”กว่าบริษัทที่เราสนใจด้วยซ้ำ ) นั่นเป็นเพราะมุมมองของตลาดเราต่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ไม่เคยดีอีกเลย นับตั้งแต่วิกฤติ 40 เป็นต้นมา

6. PE / % Growth ( PEG ) เป็นอีกวิธีที่อาจจะใช้หา PE ratio ที่เหมาะสม โดยเฉพาะกับหุ้นโตเร็ว ที่บางครั้งการใช้ Forward PE ratio ไปแค่ 1-2 ปี อาจจะ”หลอกตา” ทำให้หุ้นดูแพงเกินจริง ปีเตอร ลินช์ ให้หลักการคร่าวๆว่า PEG ที่เหมาะสมของหุ้นโตเร็วคือ 1 ซึ่งก็แปลว่า PE ratio ที่เหมาะสมของหุ้นโตเร็วนั้นเท่ากับอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยนั่นเอง

7. หุ้นอีกประเภทที่การใช้ PE อย่างเดียวอาจจะหลอกตา นั่นก็คือหุ้นที่ต้องลงทุนกับ asset ขนาดใหญ่ และมีภาระค่าเสื่อมในแต่ละปีมากๆ เพราะบริษัทประเภทนี้ผลกำไร ( E ) จะดูน้อย เพราะผลจากค่าเสื่อม ทั้งที่จริงๆแล้ว กระแสเงินสดอิสระที่ไหลเข้าบริษัทนั้นมาก ( จนบางครั้งบริษัทแทบจะปันผลออกมาได้หมดทั้ง 100% ของ EPS ) การประเมิน FV ของหุ้นประเภทนี้ ดีที่สุดคือการใช้ DCF หรือถ้าจะทำให้ง่าย ก็อาจจะประเมินด้วย P / Cash flow or P / EBITDA แทน

8. แล้วถามว่า PE เท่าไรถึงจะเรียกว่า Undervalue? คำตอบของคำถามนี้ก็ง่ายๆ นั่นคือเมื่อเราเห็นว่าบริษัทนั้นๆ กำลังถูกเทรดกันที่ PE ratio ที่น้อยกว่า PE ratio ที่เหมาะสมที่เราประเมินไว้ ( ลำพังโดยตัวที่ PE เองนั้นไม่อาจบอกได้ว่าหุ้นถูกหรือแพง เช่น PE 8 สำหรับอุตสาหกรรมตะวันตกดิน อาจจะเรียกได้ว่าแพง แต่ PE 8 สำหรับหุ้น modern trade อาจจะเรียกได้ว่าถูก )

9. อย่างไรก็ดี PE ที่น้อยมากๆ เช่นต่ำกว่า 3 -4 ก็อาจจะจัดได้ว่า undervalue โดยไม่ต้องสนกับคุณภาพของกิจการมากนัก เพราะที่ PE ระดับนี้ ปันผลมักจะเกิน 10% ( ถ้า payout ไม่ต่ำกว่า 50% ของ EPS ) ซึ่งปันผลที่ขึ้นถึงสองหลักถือว่า undervalue มาก หากมองด้วย dividend approach ( หากมีโอกาสผมจะเขียนบทความเรื่อง dividend approach ให้เพื่อนนลท.ได้อ่านกัน )

10. สำหรับหุ้นวัฎจักร โดยเฉพาะในกลุ่ม commodity ส่วนตัวผมไม่ค่อยนิยมใช้ PE ratio ในการประเมิน FV เท่าไรนัก เพราะ E ของบริษัทเหล่านี้มักจะผันผวนได้มากๆ ผมมักจะใช้ PB ในการประเมินมูลค่ามากกว่า ( อาศัยหลักการที่ว่า นักลงทุนจะยินดีซื้อกิจการต่อจากเจ้าของในราคากี่เท่าของเงินลงทุนเริ่มแรก ในขณะที่ธุรกิจกำลังอยู่ใน up-cycle ) โดยอาศัยข้อมูลย้อนหลังว่า ตลาดมักจะให้ PB เท่าไรใน”ขาขึ้น” รอบก่อนๆ

อย่างไรก็ดีหลักการในข้อ 9 เรื่อง PE ratio ที่ต่ำมากๆ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับหุ้นวัฎจักรได้ นั่นคือ ถ้าเราเห็นแล้วว่า E ของขาขึ่นรอบนี้ จะทำให้ Forward PE ratio ต่ำกว่า 3 -4 ก็เป็นจุดที่เรามั่นใจได้พอสมควรว่าหุ้นยัง undervalue อยู่มาก



ขอบคุณ reiter จากเว็บ TVI