ผมขอแบ่ง งบการเงิน เป็น 2 ประเภท ชนิดแรกเป็นงบปี ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และต้องจัดทำและตรวจสอบตามมาตรฐานบัญชี อีกชนิดเป็นงบรายไตรมาส งบไตรมาสนี้ส่วนมากเป็นงบที่ผู้สอบบัญชีเพียงสอบทานความถูกต้อง ดังนั้นตามความเชื่อของผมงบปีจึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่างบไตรมาส
โดยทั่วไปงบการเงินจะประกอบไปด้วย
1 รายงานผู้สอบบัญชี
2 หมายเหตุประกอบงบการเงิน
3 งบกำไรขาดทุน
4 งบดุล
5 งบกระแสเงินสด
6 งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของผู้ถือหุ้น
เวลาผมอ่านงบจะอ่านเรียงรายการตามนี้
1. รายงานผู้สอบบัญชีเป็นรายการแรกที่จะพูดถึง การอ่านรายงานผู้สอบเปรียบเสมือนรับฟังความเห็นจากผู้สอบบัญชีว่าในเบื้องต้นบริษัทดังกล่าวมีรายการผิดปกติอะไรหรือไม่ โดยทั่วไปประเภทความเห็นของผู้สอบบัญชีจะแบ่งเป็น 4 อย่าง
1 ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข
2 ความเห็นอย่างมีเงื่อนไข
3 ความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง
4 ไม่แสดงความเห็น
การแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีขึ้นอยู่กับความมีสาระสำคัญของความผิดปกติของงบการเงิน ดังนั้นงบการเงินที่แสดงอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอะไรผิดปกติ แต่ความผิดปกติที่ว่านั้นมีเล็กน้อย หรือไม่มีสาระสำคัญต่อความเห็นของผู้สอบบัญชี
การแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข เนื่องจากอาจมีรายการที่มีสาระสำคัญบางอย่างที่ผู้สอบบัญชีไม่ได้เป็นผู้ตรวจสอบเอง หรือไม่สามารถตรวจสอบได้
ส่วนความเห็นว่างบการเงินไม่ถูกต้อง หรือไม่แสดงความเห็น เป็นความผิดปกติที่ร้ายแรงที่ผู้สอบเห็นว่ามีสาระสำคัญยิ่งกับการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชี
2. หมายเหตุประกอบงบการเงิน
หมายเหตุประกอบงบการเงินที่แนบมากับงบปี จะบอกรายละเอียดที่มากกว่ารายไตรมาส ดังนั้นหากอ่านงบบริษัทใดในครั้งแรกๆ ควรใช้หมายเหตุ รายปี ควบคุ่กับการอ่านงบไตรมาสด้วย จะทำให้เราได้ข้อมูลมากกว่า
อะไรบ้างที่เราจะได้จากหมายเหตุฯ
1 ลูกหนี้ค้างชำระ เวลาคำนวณหาระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย เราจะได้เพียงค่าเฉลี่ยโดยที่ไม่รู้ว่าความเสี่ยงที่ลูกหนี้จะเป็นหนี้สูญเป็นเท่าไร และลูกหนี้ที่แสดงในงบดุลยังถูกหักออกด้วย ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เรียบร้อยแล้วทำให้เราอาจไม่ได้ข้อมูลที่เราอยากรู้ แต่ในหมายเหตุฯจะแสดงระยะเวลาที่ลูกหนี้ค้างชำระ รวมถึงค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่นำไปหักออกจากลูกหนี้
2 รายได้ตามส่วนงานต่างๆ
3 ความเสี่ยงจากสัญญาต่างๆที่บริษัทได้ทำขึ้น รวมถึงคดีความที่บริษัทมี
4 รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงใน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รายการนี้หมายเหตุฯงบปีจะบอกรายละเอียดมากกว่าหมายเหตุฯงบไตรมาส
5 รายการส่งเสริมการลงทุน สิทธิ และวันที่หมดอายุ จะแสดงในหมายเหตุฯงบปี
ในหมายเหตุฯ จะบอกนโยบายทางบัญชีที่สำคัญ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชี การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางบัญชีนี่ค่อนข้างสำคัญ เพราะเพียงการเปลี่ยนนโยบายบัญชีบางอย่าง ก็อาจทำให้บริษัทมีผลกำไรหรือขาดทุน เพิ่มขึ้นได้ ปกติแล้วบริษัทจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนนโยบายทางบัญชีนอกจาก ผู้บริหารจะมีความเห็นสมควร หรือมาตรฐานบัญชีมีการเปลี่ยนแปลง
3 งบกำไรขาดทุน
งบกำไรขาดทุนจะประกอบไปด้วย ยอดขาย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายต่างๆ และกำไร-ขาดทุน
ขอถามทิ้งไว้ก่อนครับว่า เราอยากรู้อะไรจากงบกำไรขาดทุน
1.ดูว่าอัตรากำไรขั้นต้นป็นเท่าไร แนวโน้มเป็นอย่างไร
2.กำไรสุทธิมีการเติบโตหรือไม่
3.รายได้/ยอดขายมีการเติบโหรือไม่
4.อัตราส่วนต้นทุน/ยอดขาย
5.การควบคุมต้นทุนเป็นอย่างไร
งบกำไรขาดทุนจะประกอบไปด้วย รายได้ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายต่างๆ กำไร(ขาดทุน)
รายได้ ต้นทุนขาย = กำไรขั้นต้น
กำไรขั้นต้น + รายได้อื่นๆ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร = กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษี
กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีนิติบุคคล = กำไรสุทธิ
ซึ่งกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนเป็นกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้ปรับปรุง (เราต้องปรับก่อนวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบ)
ในงบกำไรขาดทุนจะเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความสามารถของผู้บริหาร โดยรายการที่ใช้วัดความสามารถของผู้บริหารไม่ใช่กำไรสุทธิ แต่เป็น กำไรขั้นต้น สาเหตุที่กำไรขั้นต้นเป็นตัววัดความสามารถของผู้บริหาร เนื่องจาก
(กำไรขั้นต้น = รายได้ปกติ ต้นทุนขาย) หากบริษัทที่สามารถสร้างรายได้ได้สูง และควบคุมต้นทุนขายได้ดี จะมีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูงกว่าบริษัทที่สร้างรายได้และคุมต้นทุนขายได้ไม่ดีนัก ซึ่งตัวกำไรขั้นต้นที่สูงทำให้บริษัทมีโอกาสมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานสูงตามไปด้วย
รายได้ปกติ จะต้องเป็นรายได้หลักของบริษัท โดยจะไม่รวมรายได้ที่เป็นรายการพิเศษ หรือขาดทุนจากรายการพิเศษเข้าไปด้วย
รายการพิเศษคืออะไร ?
รายการพิเศษมีทั่งในรูปของรายได้และค่าใช้จ่าย เป็นรายการที่เกิดขึ้นไม่บ่อย ส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการตามปกติ เช่น บริษัทไม่ได้ขายอสังหาฯ เป็นหลักแต่ได้กำไรจากการขายที่ดินที่บริษัทมีอยู่ อันนี้ถือเป็นรายการพิเศษที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ตามปกติแล้วรายการเหล่านี้จะถูกแยกไว้ให้เห็นในงบกำไรขาดทุนอยู่แล้ว
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร บางบริษัทจะแยกรายการดังกล่าวออกจากกัน บางแห่งจะรวมไว้ด้วยกัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารใช้คำนวณหาอัตราภาษีอย่างคร่าวๆ ได้ว่าบริษัทเสียภาษีในอัตราเฉลี่ยเท่าใดโดย
อัตราภาษีเฉลี่ย = ภาษีเงินได้นิติบุคคล/กำไรสุทธิก่อนภาษี
เมื่อหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีแล้ว จะได้กำไร(ขาดทุน) สุทธิ ซึ่งจะยกไปรวมหรือหักกับกำไรสะสมในงบดุล
ค่าเสื่อมราคาหายไปไหน ?
เมื่อดูจากงบกำไรขาดทุนจะไม่เห็นรายการค่าเสื่อมราคา ซึ่งความจริงแล้ว ค่าเสื่อมราคาถูกปันส่วนเข้ากับ ต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเรียบร้อยแล้ว จะหาค่าเสื่อมราคาได้จาก 1. ดูในงบกระแสเงินสดจะเป็นรายการค่าเสื่อมราคายอดรวม ในบางบริษัทจะจับค่าใช้จ่ายตัดจ่ายรวมเข้าไปด้วย 2. ดูในหมายเหตุฯ งบปี
ค่าเสื่อมราคากับค่าเสื่อมราคาสะสม?
ที่ดูมีสองที่สำหรับค่าเสื่อมราคา
1. ที่แรกดูว่าปีนั้นตัดค่าเสื่อมราคาไปเท่าไร โดยไปดูที่กระแสเงินสด กิจกรรมการดำเนินการ มีรายการปรับก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน จุดนี้มีพวกรายการกลับบัญชีจากงบกำไรขาดทุนอยู่หลายตัวเช่น ค่าเสื่อมราคาในปีนั้น การขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ตั้งค่าสงสัยจะสูญเป็นต้น
2. ที่สองดูว่ามียอดสะสมตั้งแต่ตั้งมาเท่าไร มันเป็นหมายเหตุประกอบงบการเงิน เฉพาะงบการเงินที่ปิดปีบัญชีเท่าันั้น ระหว่างกาลไม่มี เพราะนักทำลำบากคนทำเหนื่อย มียอดเลยว่า ปีนี้ตัดไปเท่าไร เหลือเท่าไร มีทรัพย์สินอะไรบ้างที่ยังมีต้องตัด อะไรบ้างที่ตัดหมดแล้ว มีซื้อเพิ่มเท่าไร
ผมเข้าใจว่าหลายท่านดูงบกำไรขาดทุนก็เพื่ออยากรู้ว่าบริษัท มีกำไรหรือขาดทุนเท่าใด
แต่...
กำไร(ขาดทุน)ที่เห็นในงบกำไรขาดทุนอาจหลอกตาได้ เพราะจะรวมกำไร(ขาดทุน) จากรายการพิเศษ
จริงๆแล้วสิ่งที่ควรรู้คือ กำไรปกติ ครับโดยต้องตัดรายการพิเศษออก เพราะถ้าเราคิดจะลงทุนระยะยาว กำไรปกติเป็นตัวที่เราจะใช้เพื่อคำนวณมูลค่าบริษัทต่อไป (วิธีปรับงบกำไรขาดทุนเพื่อให้ได้กำไรปกติจะพูดในครั้งหน้าครับ)
4 งบดุล
งบดุลประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน
เกณฑ์การแบ่งว่ารายการใดเป็น หมุนเวียน รายการใดเป็น ไม่หมุนเวียน คือระยะเวลา ซึ่งจะใช้หลักเดียวกันทั้งสินทรัพย์ และหนี้สิน โดยที่สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสด หรือตั้งใจจะถือไว้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หนี้สินที่มีระยะเวลาชำระภายใน 1 ปี จะถือว่าเป็นรายการ หมุนเวียน ส่วนรายการไหนเกินกว่า 1 ปี ถือเป็นรายการ ไม่หมุนเวียน
สินทรัพย์หมุนเวียนประกอบไปด้วย
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดในบริษัท ทุกสกุลเงิน เช็คที่ถึงกำหนดแต่ยังไม่ได้นำฝาก เงินฝากธนาคารทุกประเภท เงินทดรองจ่าย เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากประจำประเภท 3 เดือน
เงินลงทุนชั่วคราว หมายถึง เงินฝากประจำ เงินลงทุนที่ตั้งใจถือไม่เกิน 1 ปี ซื้อหน่วยลงทุนจำพวกตราสารแห่งทุนสารแห่งนี้ หรือ ถือหุ้นสามัญระยะสั้น เงินฝากประจำประเภท 3 เดือนขึ้นไป
ลูกหนี้การค้า หมายถึง ลูกหนี้จากการค้า หรือลูกหนี้ตามตั๋วเงินรับจากการค้าซึ่งจะแสดงด้วยมูลค่าหลังหัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ คือ ค่าประมาณว่าอาจเกิดหนี้สูญขึ้น เป็นการประมาณการโดยใช้ข้อมูลในอดีตหรือดุลพินิจของผู้บริหาร อันนี้ขึ้นกับว่า คณะผู้บริหารเห็นควรว่าตั้งสำรองหรือไม่ ถ้าผู้ตรวจสอบเห็นว่า เหมาะสมก็ไม่มีอะไร ถ้าผู้ตรวจสอบเห็นว่า มีนัยสำคัญ หรือเชื่อได้ว่า ลูกหนี้การค้ารายนั้นไม่จ่ายแน่นอน ก็ต้องตั้งสำรอง
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นเงินให้กู้ยืมแก่ กรรมการบริษัท ผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท บริษัทร่วม หรือบริษัทย่อย
สินค้าคงเหลือ ปกติจะบันทึกบัญชีในมูลค่า ราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า หมายความว่า ถ้าราคาทุนต่ำกว่าราคาตลาดก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าราคาตลาดขณะนั้นต่ำกว่าราคาทุน จะมีโอกาสขาดทุนขึ้น ซึ่งจะต้องบันทึกการขาดทุนไปยังงบกำไรขาดทุนโดยตรง รายการขาดทุนนี้แม้ว่าจะยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่ในแนวคิดทางบัญชีจะบันทึกเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินรู้ว่าสินค้าคงเหลือดังกล่าวมีโอกาสขาดทุนเมื่อขาย เทคนิคอันนี้ต้องขอบคุณพี่มนบอกมาว่า บ้างครั้งต้องดูว่า บริษัทนี้ ผลิตทั่วไปมันยอดการผลิตแล้วมีสินค้าคงเหลือเท่าไร ตัวนี้มันแยกออกเป็น
วัตถุดิบ ว่ามีจำนวนเท่าไร
สินค้าระหว่างทำ เท่าไร
สินค้าสำเร็จรูปแล้วเท่าไร (ที่อยู่ที่ตัวบริษัท)
สินค้าระหว่างทางเท่าไร (กำลังส่งให้ลูกค้า)
(ทั้งสี่รายการข้างต้นนี้ เห็นได้เฉพาะในหมายเหตุประกอบงบปิดงวดบัญชีประจำเท่านั้น)
มันบ่งบอกถึงว่า ตอนนี้บริษัทกำัลังทำอะไรอยู่ ตุนอะไรไว้หรือเปล่า
หรือมี ออเดอร์เพิ่มหรือไม่ หรือ เตรียมตั้งสำรองอะไรหรือไม่
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ และสินทรัพย์หมุนเวียนที่ไม่อยู่ในประเภทข้างต้น
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ประกอบด้วย
เงินลงทุนระยะยาว มีลักษณะคล้ายเงินลงทุนระยะสั้น ต่างกันที่บริษัทตั้งใจถือไว้นานกว่า 1 ปี โดยเงินลงทุนระยะยาวจะถูกหักด้วย ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน
ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุน หมายถึง การปรับมูลค่าของสินทรัพย์ให้เท่ากับมูลค่าตลาดเมื่อราคาตลาดต่ำกว่าราคาทุน
เงินให้กูยืมระยะยาว แก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้อง คล้ายกับเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแต่รายการนี้ คาดว่าจะได้รับคืนในระยะเวลาที่นานเกินกว่า 1 ปี หากเจอรายการนี้กรุณาไปอ่านหมายเหตุประกอบงบด้านหลังด้วยว่า ผู้ตรวจสอบบัญชี เขียนอะไรไว้บ้างหรือเปล่า ว่า ระยะเวลาการกู้ การส่งคืนเงินต้น ดอกเบี้ยที่คิด เท่าไรกันบ้าง บ้างครั้งเรานักลงทุนเห็นแล้วตะหงิดใจก็ลองไปถามในที่ประชุมสามัญหรือวิสามัญก็ได้ว่า เหมาะสมหรือไม่
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ หมายถึง ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร รถยนต์ อุปกรณ์โรงงาน อุปกรณ์สำนักงาน ที่บริษัทมีไว้ใช้ในกิจการ หรือมีไว้ให้เช่า โดยจะแสดงยอดสุทธิหลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม และค่าเผื่อการด้อยค่าแล้ว
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ค่าความนิยม หรือสัมปทาน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะมี ค่าตัดจำหน่าย ซึ่งเป็นรายการคล้าย ค่าเสื่อมราคา
ในรายการสินทรัพย์ที่ผมพูดถึงเป็นรายการสำหรับบริษัททั่วๆไป ซึ่งบางบริษัทจะมีรายการบัญชีชื่อแปลกๆ ผมจะไม่กล่าววถึงแต่ท่าน สามารถเข้าไปดูได้ในหมายเหตุฯ
หนี้สิน
หนี้สินหมุนเวียน ประกอบด้วย
เงินเบิกเกินบัญชี และเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ความหมายก็ตรงตัวอยู่แล้ว
เจ้าหนี้การค้า หมายถึง หนี้การค้าที่ยังไม่ครบกำหนดชำระ รวมถึงตั๋วเงินจ่ายที่บริษัทออกเพื่อชำระหนี้การค้า เช่น ค่าวัตถุดิบ สินค้าหรือบริการ
เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระใน 1 ปี คือ เงินกู้ยืมระยะยาวในส่วนที่จะต้องจ่ายคืนในปีหน้า
หนี้สินหมุนเวียนอื่น ส่วนใหญ่จะเป็นพวก ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า
หนี้สินไม่หมุนเวียน ส่วนมากจะเป็น เงินกู้ยืมระยะยาว คือเงินก็ที่ถึงกำหนดชำระคืนเกิน 1 ปี
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น แบ่งได้ 3 ส่วน
1. ทุนเรือนหุ้น
2. ส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น
3. กำไรสะสม
1. ทุนเรือนหุ้น
ทุนเรือนหุ้น คือ ทุนทั้งหมดที่หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นนำมาลงทุนในบริษัท ประกอบด้วย
ทุนจดทะเบียน เป็นทุนทั้งที่ออกจำหน่ายแล้ว และยังไม่ได้จำหน่าย
ทุนจดทะเบียน = จำนวนหุ้น x ราคา Par Value
ทุนส่วนที่ยังไม่ออกจำหน่าย บริษัท อาจกันไว้เพื่อการต่างๆ เช่น ไว้สำหรับจ่ายเป็นโบนัสให้ผู้บริหาร ไว้จ่ายเป็นหุ้นปันผล หรือไว้นำออกขายในอนาคต ในการคำนวณหากำไรต่อหุ้นนั้น เราจะใช้ทุนในส่วนที่ออกจำหน่ายและชำระแล้วในการคำนวณ
2. ส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น
เมื่อบริษัทขายหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ ในราคาที่สูงกว่าราคา Par จะเกิดส่วนเกินมูลค่าหุ้นขึ้น แต่หากขายได้ต่ำกว่าราคา Par จะเกิดส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น ส่วนเกิน หรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อนำหุ้นออกจำหน่ายในครั้งแรกเท่านั้น
3. กำไร(ขาดทุน) สะสม
กำไรสะสมจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กำไรสะสมจัดสรรแล้ว และ กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร
กำไรสะสมที่จัดสรรแล้ว ได้แก่ สำรองตามกฎหมาย สำรองเพื่อการขยายกิจการ
สำรองตามกฎหมาย คือ สำรองที่บริษัทต้องกันไว้ตามกฎหมาย โดยต้องหัก 5% จากกำไรสุทธิก่อนการจ่ายเงินปันผล จนกระทั่งเงินสำรองตามกฎหมายเท่ากับ 10% ของทุนจดทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกันในความมั่นคงของบริษัท
กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร
เป็นกำไรสุทธิที่เหลือจากการจัดสรร และเหลือจากการจ่ายเงินปันผลแล้ว สะสมเข้าทุกปี ตัวกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรนี้เป็นส่วนที่บริษัทสามารถนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลพิเศษให้กับผู้ถือหุ้นได้
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด --> มีในระดับนึงถือว่าดี เอาไว้กันกรณีใช้หนี้ลูกค้าไม่ทัน แต่มีมากเกินไปถือว่าไม่ดี ควรนำเงินบางส่วนไปลงทุนให้เงินต้นงอกเงย เช่น ฝากแบงค์ หรือซื้อพันธบัตร , ตราสารหนี้เป็นต้น
ลูกหนี้การค้า --> มีมากดีครับ แต่เราต้องดูเรื่อง "ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย"
สินค้าคงเหลือ --> มีมากไม่ดีครับ โดยเฉพาะถ้าเป็น stock ที่ตกรุ่น ซึ่งโอกาสที่จะเปลี่ยนเป็น "รายได้" ค่อนข้างยากครับ
เจ้าหนี้การค้า --> สำหรับธุรกิจทั่วไปอาจไม่ดีแต่มีข้อยกเว้นสำหรับธุรกิจค้าปลีก ยิ่งมีมากยิ่งดี ซึ่งแสดงถึงอำนาจต่อรองเหนือกว่าผู้ผลิตที่จะขอ ยืดเวลาชำระเงิน ทำให้ตัวเองมีเงินหมุนใช้ในธุรกิจเยอะ และยาวนานกว่าธุรกิจทั่วไป
เงินกู้ยืมระยะสั้น -->ไม่ดี แต่ก็ไม่ถึงกับไม่ดีมากเท่าไหร่
เงินกู้ยืมระยะยาว --> ไม่ดีอย่างยิ่งครับ และต้องดูในหมายเหตุงบการเงินด้วยว่า ไปกู้เงินมาจากที่ไหน เพราะต้องคำนึงถึงดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนทางค่าเงินด้วย
5. งบกระแสเงินสด
เงินสดในงบกระแสเงินสด จะเป็นความหมายเดียวกันกับ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ในงบดุล
งบกระแสเงินสด แบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ๆ
1 กระแสเงินสดจาการดำเนินงาน
2 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
3 กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน หมายถึง เงินสดที่บริษัทหาได้จากการดำเนินงานปกติของบริษัท ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการจัดหาเงินจากการทำธุรกิจ และเป็นรายการที่บอกสภาพคล่องของเงินทุนหมุนเวียนในบริษัท
รายการเปลี่ยนแปลงใน กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรก เป็นการปรับปรุงรายการที่ไม่ใช่เงินสดและค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
กลุ่มสอง เป็นการปรับปรุงการเพิ่มขึ้น หรือลดลงของสินทรัพย์และหนี้สินจากการดำเนินงาน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เป็นรายการที่จะบอกให้รู้ว่า บริษัทได้เงินสดหรือใช้เงินสดไปกับการลงทุนอย่างไร และได้ใช้เงินสดเพื่อการลงทุนเป็นจำนวนเท่าใด การลงทุนที่ว่าหมายถึง การลงทุนในการาผลิต เช่น การซื้อ-ขาย สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต พวกโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ รวมถึงการลงทุนในตราสารการเงินต่างๆ
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เป็นรายการที่จะบอกว่า บริษัทได้มีการกู้ยืมเงินหรือชำระเงินกู้ รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายและการจ่ายเงินปันผล ว่ามีจำนวนเท่าใด
เมื่อนำรายการ กำไร(ขาดทุน) มากระทบยอดกับรายการในงบกระแสเงินสดทั้ง 3 หมวดแล้ว บวกกับ เงินสดต้นงวด จะต้องเท่ากับ เงินสดคงเหลือปลายงวดในงบดุล
มาถึง การวิเคราะห์งบการเงิน แต่ละงบครับ
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนครับ ว่า เวลาผมอ่านงบการเงินนั้น ผมทำค่อนข้างหยาบ เหตุผลของผมคือ ผมคิดว่างบการเงินเป็นจิ๊กซอร์ เพียงหนึ่งในหลายตัวที่ใช้วิเคราะห์บริษัทว่าน่าสนใจลงทุนหรือไม่ นอกจากตัวเลขในงบการกเงินแล้ว ยังต้องใช้องค์ประกอบอื่นอีกหลายอย่างในการวิเคราะห์ เช่น Business model ดูความสามารถและคุณธรรมของผู้บริหาร วงจรวัฎจักรของแต่ละอุตสาหกรรม และยังใช้การสอบถามข้อมูลจากพี่ๆ เพือนๆที่มีความรู้ในบริษัทหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ดังนั้นการวิเคราะห์งบการเงินที่ผมจะเขียนนี้ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด หรืออาจจะไม่ครบถ้วนตามที่หลายท่านต้องการ แต่ผมคิดว่าอาจมีประโยชน์สำหรับผู้เริ่มศึกษา เพื่อให้ท่านๆ ได้ต่อยอดความรู้ในการวิเคราะห์งบต่อไป
วิเคราะห์งบกำไรขาดทุน
หลักในการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนคือ ปรับปรุง เปรียบเทียบ
ปรับปรุง
ตามที่ผมเคยบอกไว้ว่า สิ่งที่สนใจใคร่รู้ที่สุดในงบกำไรขาดทุนคือ กำไรปกติ
กำไรปกติคืออะไร
กำไรปกติคือ กำไรที่เกิดจากความสามารถในการทำกำไรที่แท้จริงของบริษัท
ผลการดำเนินงานของบริษัทจะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน
1. รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เป็นกิจกรรมปกติ
2. รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่กิจกรรมตามปกติ
กิจกรรมปกติคือ รายการที่เกิดจากการดำเนินงานหลัก เป็นรายการที่เกิดขึ้นประจำ เช่น บริษัทผลิตโต๊ะเหล็ก รายได้หลักเกิดจากการขายโต๊ะ แต่ขั้นตอนการผลิตจะมีเศษเหล็กเกิดขึ้น รายได้จากการขายเศษเหล็ก ถือได้ว่าเป็นรายได้ปกติ
หากบริษัทเดียวกันมีกำไรจากการขาย เครื่องจักรเก่า รายการนี้ถือว่าเป็นรายการที่ไม่ได้เกิดจากกิจกรรมปกติ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสาระสำคัญ คือมูลค่าเมื่อเทียบกับยอดขาย
หน้าที่ของเราคือต้องหาว่า รายการไหนไม่ปกติ ต้องเอามาปรับปรุง เพื่อจะได้กำไรปกติที่ต้องการ
การเปรียบเทียบ
การวิเคราะห์เปรียบเทียบในงบกำไรขาดทุน ผมจะใช้ 3 แบบ
1. เปรียบเทียบกับรายได้ปกติในงบเดียวกัน
2. เปรียบเทียบกับรายการเดียวกันของงบงวดปีก่อน
3. เปรียบเทียบกับบางรายการในงบดุล
1. การเปรียบเทียบรายการต่างๆ กับรายได้ปกติในงบเดียวกัน
เป็นการเปรียบเทียบรายการต่างๆ โดยทำเป็นรูป % ต่อรายได้ปกติ
A : รายได้ = A / รายได้ * 100
A คือรายการที่ต้องการเปรียบเทียบ
เปรียบเทียบแล้วรู้อะไร ?
รู้ว่ารายการแต่ละรายการเมื่อเทียบกับยอดขายเป็นเท่าใด การคำนวณให้อยู่ในรูปของ % เพื่อให้เปรียบเทียบกันกับงบระหว่างงวดนั้นทำได้ง่ายขึ้น เพราะอยู่ในฐานเดียวกัน เช่น อัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย
2. เปรียบเทียบรายการต่างๆ กับรายการเดียวกัน ของงบในอดีต คู่แข่ง หรือค่าเฉลี่ย
เมื่อได้อัตราต่างๆ ในรูปของ % แล้ว ทำให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ เพราะหลักในการเปรียบเทียบนั้นต้องเทียบในหน่วยเดียวกัน ในที่นี้คือต้องทำให้เป็น % เหมือนกัน
การเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างบริษัทเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้เรารู้ว่า ศักยภาพของบริษัทเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วใครมีศักยภาพดีกว่ากัน แต่การเปรียบเทียบตัวเลขในงบการเงินระหว่างบริษัทเป็นสิ่งที่ผมไม่นิยมทำ เพราะการเปรียบเทียบระหว่างบริษัทก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น บ่อยครั้งที่เราเข้าใจว่าบริษัทที่กำลังเปรียบเทียบนั้นเป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว รูปแบบของการดำเนินกิจการของทั้ง 2 บริษัทต่างกัน ทำให้ค่าที่เปรียบเทียบกันและเห็นว่าต่างกันนั้นอาจเปรียบเทียบกันไม่ได้
ผมจะลองยกตัวอย่างระหว่าง APRINT กับ SE_ED นะครับ เมื่อก่อนผมอ่านงบการเงินของทั้ง 2 บริษัทนี้แล้วคิดว่าทั้งคู่เป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันแน่เพราะยังไงก็มีร้านหนังสือเหมือนกัน ถึงแม้อมรินทร์จะมีโรงพิมพ์เอง แต่ความเป็นจริงแล้ว รูปแบบของการได้มาของรายได้ของทั้ง 2 บริษัทนี้ค่อนข้างต่างกัน รายได้ส่วนใหญ่ของ ซีเอ็ด มาจากการขายหนังสือ แต่อมรินทร์นั้นต่างไป คือ มีรายได้ส่วนหนึ่งมาจากค่าโฆษณาในหนังสือในเครืออมรินทร์ ดังนั้นทำให้การเปรียบเทียบระหว่าง 2 บริษัทอาจไม่ถูกต้องนัก
3. เปรียบเทียบกับรายการในงบดุล
รายการนี้ส่วนใหญ่จะเทียบในลักษณะของ Ratio Analysis ผมขอเอาไว้รวมยอดในเรื่องของ Ratio
วิเคราะห์งบดุล
สินทรัพย์
ผมเคยถามไว้ ว่าสินทรัพย์ในแต่ละรายการมีมากหรือน้อยดี บางคนบอกสินทรัพย์มีมากดี บางคนบอกว่าบางรายการมากเกินไปไม่ดี พอสรุปได้ว่า ในการถือสินทรัพย์นั้นควรยึดหลักการใช้งาน คือมีให้เพียงพอกับการใช้งาน ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป เพราะถ้าน้อยเกินไปการบริหารจัดการก็อาจไม่คล่องตัว หรือเกิดขาดสภาพคล่องในกรณีที่มีเงินสดน้อยเกินไป แต่หากมีมากเกินไป ก็จะมี สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ขึ้น
สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้นี้เป็นอย่างไร ก่อนอื่นต้องไม่ลืมว่า การได้มาของสินทรัพย์เกิดจากส่วนของผู้ถือหุ้น หรือไม่ก็มาจากการก่อหนี้ กิจการใดมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากก็แปลว่า หนี้เพิ่ม หรือใช้ส่วนของเจ้าของไปโดยไม่มีรายได้เพิ่ม ตัวอย่างเช่น ที่ดินที่ซื้อไว้โดยที่ยังไม่มีโครงการจะทำอะไร หรือเครื่องจักรเก่าหรือล้าสมัย ที่ไม่ได้ใช้และยังไม่ได้ขายทิ้ง รวมถึงสินค้าคงเหลือที่มีไว้มากจนเกินไป
จะรู้ได้อย่างไรว่าสินทรัพย์รายการไหนควรมีมากน้อยเท่าใด ข้อนี้บอกยากครับ ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ เช่น ธุรกิจซื้อมาขายไป ที่ขายสินค้าประเภทวัตถุดิบ อาจมีลูกหนี้การค้าในอัตราสูงกว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจซื้อมาขายไปที่เป็นพวกห้างค้าปลีก เนื่องจากธุรกิจแบบแรกต้องให้เครดิตลูกค้า ขณะที่แบบหลังขายเงินสด
การเปรียบเทียบแต่ละรายการกับงบการเงินในอดีตหรือเปรียบเทียบกับคู่แข่ง จะพอบอกได้คร่าวๆ ว่าตัวธุรกิจน่าจะมีสินทรัพย์แต่ละประเภทมากหรือน้อยเพียงใด บางครั้งการอ่านหมายเหตุฯพอจะบอกเราได้ว่าสินทรัพย์ใดมีมากเกินไป
ลูกหนี้การค้า
หากดูแต่ในงบดุลจะเห็นยอดลูกหนี้ที่เป็นปกติ หมายเหตุฯจะบอกได้ว่ากิจการมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารหนี้ หรืออาจเกิดปัญหาในอนาคตหากหนี้ที่มีโอกาสเกิดหนี้สูญมีจำนวนมาก แต่บางบริษัทก็ใช้การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในการสร้างค่าใช้จ่ายลวงที่ทำให้งวดบัญชีนั้นเกิดมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปก็เป็นได้
สินค้าคงเหลือ
สามารถเทียบได้ 2 ลักษณะ
1. เปรียบเทียบกับสินทรัพย์รวม ว่ามีอัตราเท่าใดแล้วเปรียบเทียบย้อนกับค่าในอดีต
2. เปรียบเทียบกับยอดขายแล้วเทียบกับค่าในอดีต
การเก็บสินค้าคงเหลือให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จะทำให้กิจการได้ประโยชน์หลายอย่าง
1. มีสินค้ามากพอที่จะขายให้ลูกค้าโดยที่ลูกค้าไม่ต้องรอนาน
2. ไม่มีปัญหาเงินทุนจมในสินค้าคงเหลือ
3. ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสินค้าเสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย
รายการสินค้าคงเหลือจะมีการคิดค่าเผื่อหลายลักษณะขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ เช่น ค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าของสินค้าคงเหลือ ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพ ล้าสมัย เสื่อมคุณภาพ เคลื่อนไหวช้า หรือสูญหาย ซึ่งธุรกิจใดจะตั้งค่าเผื่ออะไรเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหารเป็นหลัก
การเปรียบเทียบแต่ละรายการกับงบการเงินในอดีตหรือเปรียบเทียบกับคู่แข่ง จะพอบอกได้คร่าวๆ ว่าตัวธุรกิจน่าจะมีสินทรัพย์แต่ละประเภทมากหรือน้อยเพียงใด บางครั้งการอ่านหมายเหตุฯพอจะบอกเราได้ว่าสินทรัพย์ใดมีมากเกินไป
ลูกหนี้การค้า
หากดูแต่ในงบดุลจะเห็นยอดลูกหนี้ที่เป็นปกติ หมายเหตุฯจะบอกได้ว่ากิจการมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารหนี้ หรืออาจเกิดปัญหาในอนาคตหากหนี้ที่มีโอกาสเกิดหนี้สูญมีจำนวนมาก แต่บางบริษัทก็ใช้การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในการสร้างค่าใช้จ่ายลวงที่ทำให้งวดบัญชีนั้นเกิดมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปก็เป็นได้
สินค้าคงเหลือ
สามารถเทียบได้ 2 ลักษณะ
1. เปรียบเทียบกับสินทรัพย์รวม ว่ามีอัตราเท่าใดแล้วเปรียบเทียบย้อนกับค่าในอดีต
2. เปรียบเทียบกับยอดขายแล้วเทียบกับค่าในอดีต
การเก็บสินค้าคงเหลือให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จะทำให้กิจการได้ประโยชน์หลายอย่าง
1. มีสินค้ามากพอที่จะขายให้ลูกค้าโดยที่ลูกค้าไม่ต้องรอนาน
2. ไม่มีปัญหาเงินทุนจมในสินค้าคงเหลือ
3. ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสินค้าเสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย
รายการสินค้าคงเหลือจะมีการคิดค่าเผื่อหลายลักษณะขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ เช่น ค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าของสินค้าคงเหลือ ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพ ล้าสมัย เสื่อมคุณภาพ เคลื่อนไหวช้า หรือสูญหาย ซึ่งธุรกิจใดจะตั้งค่าเผื่ออะไรเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้บริหารเป็นหลัก
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
รายการที่ควรตรวจสอบในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร หรือเครื่องจักรที่บริษัทมีไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ (รายการดังกล่าวได้ถูกแยกออกจากที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ในงบดุลให้เห็นได้ชัด) เนื่องจากรายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ทุน ที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก การที่บริษัทซื้อไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์เท่ากับนำเงินของบริษัทไปจมกับสินทรัพย์ดังกล่าว รายการนี้นอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้วยังอาจเป็นภาระของบริษัทอีกด้วย
การเปรียบเทียบ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์สุทธิระหว่างปีปัจจุบันกับปีก่อน สามารถบอกเราได้ว่า บริษัทมีการ ซื้อหรืิอขาย ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์หรือไม่ หากมีเพิ่มขึ้นอาจบอกได้เป็นนัยๆว่า บริษัทอาจมีการลงทุนเพิ่มหรือกำลังจะขยายกิจการ หรือเพิ่มกำลังผลิต
การเพิ่มขึ้นของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ผมยกตัวอย่าง 2 ลักษณะ
1. การเพิ่มกำลังผลิต ขยายโรงงาน หรือเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ กรณีบริษัทเป็นผู้ผลิตสินค้า เป็นสิ่งดีในระยะยาว แต่ระยะสั้น ผมเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นภาระของบริษัท และเมื่อโรงงานหรือสายการผลิตใหม่เสร็จ จะต้องมีการฝึกอบรมพนักงาน ทดสอบเครื่องจักร กว่าสินค้าจะผลิตออกขายได้ค่าใช้จ่ายก็ได้รับรู้ไปแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคามักจะมาก่อนรายได้เสมอ
2. การขยายสาขาของร้านค้าปลีก กรณีนี้เป็นในทางตรงกันข้ามเนื่องจากเมื่อมีการก่อสร้างสาขาใหม่และจัดสินค้าเสร็จ สาขาใหม่สามารถเปิดขายได้ทันที และสินค้าที่นำมาวางขายส่วนใหญ่บริษัทก็ได้รับเครดิตจากผู้ผลิต ซึ่งเท่ากับว่า รายได้และค่าใช้จ่ายจากสาขาใหม่เกิดขึ้นเกือบพร้อมๆกันจึงเป็นประโยชน์มากกว่ากรณีแรก
รายการที่ควรตรวจสอบในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร หรือเครื่องจักรที่บริษัทมีไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ (รายการดังกล่าวได้ถูกแยกออกจากที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ในงบดุลให้เห็นได้ชัด) เนื่องจากรายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์ทุน ที่ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก การที่บริษัทซื้อไว้โดยไม่ได้ทำประโยชน์เท่ากับนำเงินของบริษัทไปจมกับสินทรัพย์ดังกล่าว รายการนี้นอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้วยังอาจเป็นภาระของบริษัทอีกด้วย
การเปรียบเทียบ ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์สุทธิระหว่างปีปัจจุบันกับปีก่อน สามารถบอกเราได้ว่า บริษัทมีการ ซื้อหรืิอขาย ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์หรือไม่ หากมีเพิ่มขึ้นอาจบอกได้เป็นนัยๆว่า บริษัทอาจมีการลงทุนเพิ่มหรือกำลังจะขยายกิจการ หรือเพิ่มกำลังผลิต
การเพิ่มขึ้นของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ผมยกตัวอย่าง 2 ลักษณะ
1. การเพิ่มกำลังผลิต ขยายโรงงาน หรือเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ กรณีบริษัทเป็นผู้ผลิตสินค้า เป็นสิ่งดีในระยะยาว แต่ระยะสั้น ผมเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นภาระของบริษัท และเมื่อโรงงานหรือสายการผลิตใหม่เสร็จ จะต้องมีการฝึกอบรมพนักงาน ทดสอบเครื่องจักร กว่าสินค้าจะผลิตออกขายได้ค่าใช้จ่ายก็ได้รับรู้ไปแล้ว เพราะค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคามักจะมาก่อนรายได้เสมอ
2. การขยายสาขาของร้านค้าปลีก กรณีนี้เป็นในทางตรงกันข้ามเนื่องจากเมื่อมีการก่อสร้างสาขาใหม่และจัดสินค้าเสร็จ สาขาใหม่สามารถเปิดขายได้ทันที และสินค้าที่นำมาวางขายส่วนใหญ่บริษัทก็ได้รับเครดิตจากผู้ผลิต ซึ่งเท่ากับว่า รายได้และค่าใช้จ่ายจากสาขาใหม่เกิดขึ้นเกือบพร้อมๆกันจึงเป็นประโยชน์มากกว่ากรณีแรก
หนี้สินหมุนเวียน
ส่วนตัวผมเองแบ่งหนี้สินอย่างหยาบเป็น 2 ชนิดคือ หนี้สินพวกที่เป็นภาระ คือมีดอกเบี้ย กับหนี้สินพวกที่ไม่มีดอกเบี้ย
หนี้สินที่มีดอกเบี้ยยิ่งมีมากยิ่งบั่นทอนกำไรไปจากผู้ถือหุ้น และอาจกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัท ทั้งนี้ต้องพิจารณาควบคู่กับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทด้วย
หนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย หนี้เหล่านี้ผมคิดว่าเป็นส่วนที่ดี ที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัท อย่างไรก็ตามหนี้ก็ยังเป็นภาระที่ต้องจ่าย
การพิจารณาหนี้สินแต่ละรายการผมเปรียบเทียบ 2 ลักษณะ
1. เปรียบเทียบรายการเจ้าหนี้การค้ากับ สินค้าคงเหลือ ต้นทุนขาย ยอดขาย ว่ามีการเติบโตในทิศทางเดียวกัน หรือไม่ การที่มียอดขายเพิ่มขึ้น เจ้าหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ มัก เพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็ไม่เสมอไป
2. เปรียบเทียบกับอัตราในอดีต
ส่วนการเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมหรือคู่แข่ง ผมไม่นำมาเปรียบเทียบเนื่องจากผมเห็นว่า ธรรมชาติของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ตาม ทำให้การเปรียบเทียบดังกล่าวไม่อาจบอกได้ว่าบริษัท ก. ที่มีหนี้น้อยกว่าจะดีกว่าบริษัท ข. เสมอไป
ส่วนตัวผมเองแบ่งหนี้สินอย่างหยาบเป็น 2 ชนิดคือ หนี้สินพวกที่เป็นภาระ คือมีดอกเบี้ย กับหนี้สินพวกที่ไม่มีดอกเบี้ย
หนี้สินที่มีดอกเบี้ยยิ่งมีมากยิ่งบั่นทอนกำไรไปจากผู้ถือหุ้น และอาจกระทบต่อสภาพคล่องของบริษัท ทั้งนี้ต้องพิจารณาควบคู่กับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัทด้วย
หนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย หนี้เหล่านี้ผมคิดว่าเป็นส่วนที่ดี ที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัท อย่างไรก็ตามหนี้ก็ยังเป็นภาระที่ต้องจ่าย
การพิจารณาหนี้สินแต่ละรายการผมเปรียบเทียบ 2 ลักษณะ
1. เปรียบเทียบรายการเจ้าหนี้การค้ากับ สินค้าคงเหลือ ต้นทุนขาย ยอดขาย ว่ามีการเติบโตในทิศทางเดียวกัน หรือไม่ การที่มียอดขายเพิ่มขึ้น เจ้าหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ มัก เพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็ไม่เสมอไป
2. เปรียบเทียบกับอัตราในอดีต
ส่วนการเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมหรือคู่แข่ง ผมไม่นำมาเปรียบเทียบเนื่องจากผมเห็นว่า ธรรมชาติของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันก็ตาม ทำให้การเปรียบเทียบดังกล่าวไม่อาจบอกได้ว่าบริษัท ก. ที่มีหนี้น้อยกว่าจะดีกว่าบริษัท ข. เสมอไป
หนี้สินระยะยาว
ผมแบ่งหนี้สินระยะยาวออกเป็น 2 ชนิดเหมือนกับหนี้สินระยะสั้น
Ratio ที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินที่น่าสนใจคือ D/E Ratio
D/E Ratio (เท่า) = หนี้สินรวม/ส่วนของผู้ถือหุ้น
D/E แสดงถึงสัดส่วนของหนี้สินต่อเงินทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ของบริษัท อัตราส่วนนี้มีความหมายว่าบริษัทมีหนี้เป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น ค่า D/E ยิ่งสูงหมายถึงบริษัทยิ่งมีความเสี่ยงสูง แต่บางบริษัทมีหนี้สินมากจริงแต่เป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย เช่น เจ้าหนี้การค้า บริษัทที่มีเจ้าหนี้การค้าสูงส่วนมากเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้สูง D/E เท่าไรถึงสูงนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม
ผมมักคำนวณ D/E เป็น 2 แบบ
1. D/E ปกติ
2. D/E ที่ debt ตัดหนี้สินที่ไม่มีดอกเบี้ยออก
เมื่อเปรียบเทียบ ค่า D/E ทั้ง 2 แล้ว
1. ถ้า D/E ต่างกันเล็กน้อยหมายความว่า บริษัทมีหนี้ส่วนที่มีดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง
2. ถ้า D/E ต่างกันมากหมายความว่า บริษัทมีหนี้ส่วนที่ไม่มีดอกเบี้ยค่อนข้างสูง
ผมแบ่งหนี้สินระยะยาวออกเป็น 2 ชนิดเหมือนกับหนี้สินระยะสั้น
Ratio ที่เกี่ยวข้องกับหนี้สินที่น่าสนใจคือ D/E Ratio
D/E Ratio (เท่า) = หนี้สินรวม/ส่วนของผู้ถือหุ้น
D/E แสดงถึงสัดส่วนของหนี้สินต่อเงินทุน(ส่วนของผู้ถือหุ้น) ของบริษัท อัตราส่วนนี้มีความหมายว่าบริษัทมีหนี้เป็นกี่เท่าของส่วนของผู้ถือหุ้น ค่า D/E ยิ่งสูงหมายถึงบริษัทยิ่งมีความเสี่ยงสูง แต่บางบริษัทมีหนี้สินมากจริงแต่เป็นหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย เช่น เจ้าหนี้การค้า บริษัทที่มีเจ้าหนี้การค้าสูงส่วนมากเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการต่อรองกับซัพพลายเออร์ได้สูง D/E เท่าไรถึงสูงนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรม
ผมมักคำนวณ D/E เป็น 2 แบบ
1. D/E ปกติ
2. D/E ที่ debt ตัดหนี้สินที่ไม่มีดอกเบี้ยออก
เมื่อเปรียบเทียบ ค่า D/E ทั้ง 2 แล้ว
1. ถ้า D/E ต่างกันเล็กน้อยหมายความว่า บริษัทมีหนี้ส่วนที่มีดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง
2. ถ้า D/E ต่างกันมากหมายความว่า บริษัทมีหนี้ส่วนที่ไม่มีดอกเบี้ยค่อนข้างสูง
D/E มันบอกว่า ใครได้ประโยชน์จากตัวบริษัทด้วย
ถ้า D/E สูงๆ บอกเราว่า บริษัทนั้นมีโครงสร้างของเงินทุนเป็นเ่ช่นไร
ใครได้ประโยชน์ เจ้าหนี้หรือเจ้าของ
ถ้าเป็นเจ้าหนี้ได้ประโยชน์ เป็นประเภทไหน ถ้าหากเป็นประเภทเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย จำพวกนี้ขอให้ปล่อยผ่าน(จุดนี้หลายคนงงว่าแล้วกิจการบ้างตัวมันไม่ีมีทำอย่างไง คุณต้องไปอ่านเพิ่มเติมว่า ตัวไหนที่เป็นตัว Core Biz)
แต่ถ้าเป็น เงินกู้ระยะสั้น หุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ์ จำพวกนี้ เงินที่ได้มานั้น จ่ายออกในรูปของดอกเบี้ย และมีการ Refinance หรือเปล่า อัตราดอกเบี้ยเท่าไรที่จ่าย (ตัวนี้ไม่ค่อยบอกกันแต่หาได้คร่าว ถ้าออกแรงก็มีบอกไว้อยู่ ไม่พ้น MRR จำพวกนี้หรอก หรือไปดูที่ BEX เอา)
ส่วนเจ้าของอันนี้หนีไม่พ้น เงินปันผล และ ส่วนต่างของราคาหุ้น
ตัวแรกนี้ได้จากการดำเนินงานปกติของกิจการมันจะดีมากๆ ถ้าได้จากรายการพิเศษ งานนี้เตรียมใจว่า ปีหน้ามันแฟ้บแน่นอน
ส่วนอีกตัวได้จาก การคำนวณหาอัตราปันผลล่วงหน้า
อีกวิธีคือทำงบล่วงหน้าแล้วหาราคาปัจจุบัน
ถ้า D/E สูงๆ บอกเราว่า บริษัทนั้นมีโครงสร้างของเงินทุนเป็นเ่ช่นไร
ใครได้ประโยชน์ เจ้าหนี้หรือเจ้าของ
ถ้าเป็นเจ้าหนี้ได้ประโยชน์ เป็นประเภทไหน ถ้าหากเป็นประเภทเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย จำพวกนี้ขอให้ปล่อยผ่าน(จุดนี้หลายคนงงว่าแล้วกิจการบ้างตัวมันไม่ีมีทำอย่างไง คุณต้องไปอ่านเพิ่มเติมว่า ตัวไหนที่เป็นตัว Core Biz)
แต่ถ้าเป็น เงินกู้ระยะสั้น หุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ์ จำพวกนี้ เงินที่ได้มานั้น จ่ายออกในรูปของดอกเบี้ย และมีการ Refinance หรือเปล่า อัตราดอกเบี้ยเท่าไรที่จ่าย (ตัวนี้ไม่ค่อยบอกกันแต่หาได้คร่าว ถ้าออกแรงก็มีบอกไว้อยู่ ไม่พ้น MRR จำพวกนี้หรอก หรือไปดูที่ BEX เอา)
ส่วนเจ้าของอันนี้หนีไม่พ้น เงินปันผล และ ส่วนต่างของราคาหุ้น
ตัวแรกนี้ได้จากการดำเนินงานปกติของกิจการมันจะดีมากๆ ถ้าได้จากรายการพิเศษ งานนี้เตรียมใจว่า ปีหน้ามันแฟ้บแน่นอน
ส่วนอีกตัวได้จาก การคำนวณหาอัตราปันผลล่วงหน้า
อีกวิธีคือทำงบล่วงหน้าแล้วหาราคาปัจจุบัน
อาจวิเคราะห์Common Size ด้วย ดูว่าโครงสร้างในงบดุลเป็นเช่นไรล่ะครับ
ตัวนี้บอกได้ว่า Asset 100% นั้นแบ่งเป็น สินทรัพย์หมุนเีวียนเท่าไร
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเท่าไร
หนี้สินคิดเป็น % เท่าไรของสินทรัพย์
ส่วนของผู้ถือหุ้นคิดเป็นกี่% ของสินทรัพย์ด้วย
ผมเอาหลายปีมาเทียบกับ มันบอกอะไรได้ล่ะครับ
ว่าบริษัทกำลังดำเนินการอะไรอยู่บ้างนอกจาก Trend
Common Size เป็นตัวบอกว่า เราควรเจาะลงไปดู Trend ของอะไร
หากรายการไม่สำคัญไม่ค่อยเสียเวลาไปทำ Trend Analysis นอกจากว่า
กระทบองค์รวมของบริษัทเท่านั้น
ปล หากทำ Common Size ในงบกระแสเงินสด มันบ่งบอกถึง
พฤติกรรมของบริษัทในการใช้เงินสดได้ด้วยล่ะ ว่าบริษัทชอบก่อหนี้
หรือชอบลงทุน หรือชอบอยู่นิ่งๆ แล้วขยายที่เดียว เป็นต้น
ตัวนี้บอกได้ว่า Asset 100% นั้นแบ่งเป็น สินทรัพย์หมุนเีวียนเท่าไร
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเท่าไร
หนี้สินคิดเป็น % เท่าไรของสินทรัพย์
ส่วนของผู้ถือหุ้นคิดเป็นกี่% ของสินทรัพย์ด้วย
ผมเอาหลายปีมาเทียบกับ มันบอกอะไรได้ล่ะครับ
ว่าบริษัทกำลังดำเนินการอะไรอยู่บ้างนอกจาก Trend
Common Size เป็นตัวบอกว่า เราควรเจาะลงไปดู Trend ของอะไร
หากรายการไม่สำคัญไม่ค่อยเสียเวลาไปทำ Trend Analysis นอกจากว่า
กระทบองค์รวมของบริษัทเท่านั้น
ปล หากทำ Common Size ในงบกระแสเงินสด มันบ่งบอกถึง
พฤติกรรมของบริษัทในการใช้เงินสดได้ด้วยล่ะ ว่าบริษัทชอบก่อหนี้
หรือชอบลงทุน หรือชอบอยู่นิ่งๆ แล้วขยายที่เดียว เป็นต้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้นประกอบด้วย
- ทุนจดทะเบียน
หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ จำนวนที่บริษัทได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์
- ทุนส่วนที่ออกและชำระแล้ว
ทั้ง 2 ส่วนนี้ต่างกันอย่างไร
ทุนจดทะเบียน(จะพูดถึงเพียงหุ้นสามัญ) เป็นส่วนที่บริษัทจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ อาจเท่ากับหรือมากกว่าส่วนที่ชำระแล้ว ซึ่งส่วนที่เกินจากส่วนที่ชำระแล้วนั้นบริษัทอาจมีไว้เพื่อ เพิ่มทุน แจกเป็นหุ้นปันผล มีไว้เพื่อให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิในวอแรนท์ แจกเป็น ESOP เป็นต้น สำหรับส่วนที่นำมาคำนวณหากำไรต่อหุ้น คือหุ้นสามัญส่วนที่ได้รับชำระแล้ว
- ส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ
- กำไร(ขาดทุน)สะสม แบ่งเป็นกำไรที่จัดสรรแล้วกับกำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร กำไรสะสมส่วนที่ยังไม่จัดสรรเป็นส่วนที่ผู้บริหารอาจนำมาจ่ายเป็นปันผลพิเศษให้กับผู้ถือหุ้นได้
- หุ้นทุนซื้อคืน (ถ้ามี)ส่วนนี้ต้องตรวจสอบ วัตถุประสงค์ในการซื้อหุ้นคืน และตรวจสอบระยะเวลาในการขายคืน (ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน)
รายการ(ขาดทุน)สะสม ในงบดุลอาจไม่ใช่รายการ ขาดทุนที่บริษัทนำไปหักกำไรสุทธิเพื่อลดภาษี การที่บริษัทจะนำรายการขาดทุนไปหักกำไรสุทธิเพื่อลดภาษีได้นั้น รายการขาดทุนนั้นจะต้องไม่เกินกว่า 5 รอบบัญชี(5 ปี) หากเกินกว่านั้นจะไม่สามารถนำไปใช้ได้
ส่วนของผู้ถือหุ้นประกอบด้วย
- ทุนจดทะเบียน
หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ จำนวนที่บริษัทได้จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์
- ทุนส่วนที่ออกและชำระแล้ว
ทั้ง 2 ส่วนนี้ต่างกันอย่างไร
ทุนจดทะเบียน(จะพูดถึงเพียงหุ้นสามัญ) เป็นส่วนที่บริษัทจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ อาจเท่ากับหรือมากกว่าส่วนที่ชำระแล้ว ซึ่งส่วนที่เกินจากส่วนที่ชำระแล้วนั้นบริษัทอาจมีไว้เพื่อ เพิ่มทุน แจกเป็นหุ้นปันผล มีไว้เพื่อให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิในวอแรนท์ แจกเป็น ESOP เป็นต้น สำหรับส่วนที่นำมาคำนวณหากำไรต่อหุ้น คือหุ้นสามัญส่วนที่ได้รับชำระแล้ว
- ส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ
- กำไร(ขาดทุน)สะสม แบ่งเป็นกำไรที่จัดสรรแล้วกับกำไรที่ยังไม่ได้จัดสรร กำไรสะสมส่วนที่ยังไม่จัดสรรเป็นส่วนที่ผู้บริหารอาจนำมาจ่ายเป็นปันผลพิเศษให้กับผู้ถือหุ้นได้
- หุ้นทุนซื้อคืน (ถ้ามี)ส่วนนี้ต้องตรวจสอบ วัตถุประสงค์ในการซื้อหุ้นคืน และตรวจสอบระยะเวลาในการขายคืน (ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน)
รายการ(ขาดทุน)สะสม ในงบดุลอาจไม่ใช่รายการ ขาดทุนที่บริษัทนำไปหักกำไรสุทธิเพื่อลดภาษี การที่บริษัทจะนำรายการขาดทุนไปหักกำไรสุทธิเพื่อลดภาษีได้นั้น รายการขาดทุนนั้นจะต้องไม่เกินกว่า 5 รอบบัญชี(5 ปี) หากเกินกว่านั้นจะไม่สามารถนำไปใช้ได้
งบดุลและงบกระแสเงินสด ผมจะใช้งบรายปีมาเรียง
งบกำไรขาดทุน ผมจะใช้งบแต่ละไตรมาสมาเรียงกัน ถ้าใครทำจะเห็นว่าไตรมาสที่ 4 จะเป็นงบปี ผมก็ปรับมันให้เป็นงบไตรมาสซะด้วยวิธีมักง่าย คือเอางบปีไปหักออกด้วยแต่ละรายการของแต่ละไตรมาส ด้วยความมักง่ายผมจึงไม่ได้ปรับปรุงงบแต่ละปีก่อนการเปรียบเทียบ :oops: ผมคิดว่า
1. เราต้องการรู้แนวโน้มอย่างคร่าวๆ หากมาตรฐานบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงปีไหนก็จะกระทบต่องบของปีนั้นและปีก่อนหน้า
2. ถ้าปรับปรุงจะกลายเป็นผิดพลาดกว่าเดิมเพราะความไม่รู้จริง
หลังจากจัดเรียงเสร็จผมจะทำแต่ละรายการเป็นกราฟเส้น ก็จะเห็นแนวโน้มของแต่ละรายการรวมถึงมองเห็นวัฎจักรของบริษัทนั้นๆ(หากวัฎจักรไม่ยาวเกินปีที่จัดทำ)
เขียนโดยคุณ sattaya เสริมโดยคุณ miracle ,ThaiVI