งบกระแสเงินสด
คือ รายงานการเงินที่แสดงให้เห็นว่าในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมากิจการได้รับเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดมาจากทางใด และใช้เงินสดไปในการบริหารงานอย่างไร แบ่งเป็น 3 ส่วน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Activities)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา (Financing Activities)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Activities)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา (Financing Activities)
——— แทรก ———
สำหรับท่านที่ยังไม่มีพื้นฐากในการอ่านงบการเิงิน แนะนำให้อ่านบทความนี้ก่อน ครับ
—————————
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities)
หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการผลิต การขาย สินค้าหรือบริการ รวมถึงการเก็บเงินจากลูกค้า สะท้อนถึงเงินสดที่แท้จริงในกิจกรรมดำเนินงาน
ซึ่งงบกำไรขาดทุน จะจัดทำตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual basis)แต่งบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน เป็นการแปลงรายได้และค่าใชจ่ายทางบัญชี ให้เป็นเกณฑ์เงินสด (Cash basis)
ซึ่งงบกำไรขาดทุน จะจัดทำตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual basis)แต่งบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน เป็นการแปลงรายได้และค่าใชจ่ายทางบัญชี ให้เป็นเกณฑ์เงินสด (Cash basis)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานจะทำได้ 2 วิธี คือ
1. วิธีทางตรง
2. วิธีทางอ้อม (ในบทความนี้จะแสดงวิธี เพราะ งบการเงินบริษัทจดทะเบียนมักใช้วิธีนี้)
1. วิธีทางตรง
2. วิธีทางอ้อม (ในบทความนี้จะแสดงวิธี เพราะ งบการเงินบริษัทจดทะเบียนมักใช้วิธีนี้)
วิธีการจัดทำกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานทางอ้อม ดังในแผนภาพนี้
(ภาพที่ 1)
การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ดำเนินงาน
- กรณี สินทรัพย์เพิ่มขึ้น จะเป็น ค่าลบ
- กรณี สินทรัพย์ลดลง จะเป็น ค่าบวก
อธิบาย การที่บริษัทมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นแสดงว่าได้มีเงินสดจ่ายออกไปเพื่อได้มาของสินทรัพย์ ทำให้เงินสดลดลง จึงนำไปลบออก ทำนองเดียวกัน สินทรัพย์ที่มีอยู่ลดลงแสดงว่าสินทรัพย์นั้นได้ถูกเปลี่ยนเป็นเงินสด ทำให้เงินสดเพิ่มขึ้นจึงนำมาบวกเข้าไป
ตัวอย่าง แต่เดิมบริษัทมีสินค้าคงเหลือต้นงวด 1,000 บาท เมื่อสิ้นงวดมีสินค้าคงเหลือ 1,500 บาท (สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น = 500 บาท) แสดงว่า บริษัทได้จ่ายเงินสดออกไป 500 บาท เพื่อทำให้สินทรัพย์มากขึ้น ดังนั้นเงินสดที่จ่ายออกไปทำให้กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานลดลง (ไปหักออก)
- กรณี ลูกหนี้เพิ่มขึ้น จะเป็น ค่าลบ คือขายสินค้าออกไป แต่เป็นการขายเชื่อ เงินสดหายไปกับการจมอยู่กับลูกหนี้ กรณีของธุรกิจที่มีการปล่อยสินเชื่อหรือขายเงินผ่อนเช่น SINGER สินทรัพย์ดำเนินการการมีค่าเป็นลบ แต่ต้องไปดูเรื่องการเก็บหนี้ของบริษัท ว่ามีหนี้เสียเยอะหรือไม่
- กรณี ลูกหนี้ลดลง จะเป็น ค่าบวก คือลูกหนี้เอาเงินมาจ่าย ทำให้บริษัทได้รับเงินสดเพิ่ม
การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินดำเนินงาน
- กรณี หนี้สินเพิ่มขึ้น จะเป็น ค่าบวก
- กรณี หนี้สินลดลง จะเป็น ค่าลบ
อธิบาย การที่บริษัทมีหนี้สินเพิ่มขึ้นแสดงว่าได้มีเงินสดเข้ามา ทำให้เงินสดเพิ่มขึ้น จึงนำไปบวกเข้าไป ทำนองเดียวกัน หนี้สินที่มีอยู่ลดลงแสดงว่าบริษัทได้ชำระหนี้ด้วยเงินสด ทำให้เงินสดลดลง จึงนำไปลบออก
ตัวอย่าง แต่เดิมบริษัทมีเจ้าหนี้การค้าต้นงวด 1,300 บาท เมื่อสิ้นงวดมีเจ้าหนี้การค้า 700 บาท (เจ้าหนี้การค้าลดลง = 600 บาท) แสดงว่า บริษัทได้จ่ายเงินสดออกไป 600 บาท เพื่อชำระเจ้าหนี้การค้า ทำให้หนี้สินลดลง ดังนั้นเงินสดที่จ่ายออกไปทำให้กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานลดลง (ไปหักออก)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Activities)
หมายถึง กระแสเงินสดจากการซื้อและขาย สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ไม่กระทบการดำเนินงาน เช่น
รายการรับเงิน (มีผลทำให้ เงินสดเพิ่มขึ้น)
- ขายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
- ขายสินทรัพย์ถาวร
- เงินลงทุนชั่วคราวลดลง
- ขายเงินลงทุนระยะยาว
รายการจ่ายเงิน (มีผลทำให้ เงินสดลดลง)
- ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
- ซื้อสินทรัพย์ถาวร
- เงินลงทุนชั่วคราวเพิ่มขึ้น
- ซื้อเงินลงทุนระยะยาว
- เงินสดจ่ายเพื่อซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
- เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อยเพิ่มขึ้น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities)
หมายถึง กระแสเงินสดจากการก่อหนี้หรือชำระหนี้ การเปลี่ยนแปลงรายการในส่วนของหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ไม่กระทบการดำเนินงาน เช่น
รายการรับเงิน (มีผลทำให้ เงินสดเพิ่มขึ้น)
- การกู้ยืมเงินระยะสั้น
- เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารเพิ่มขึ้น
- การกู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงิน
- การออกหุ้นสามัญ
- การออกจำหน่ายหุ้นกู้
รายการจ่ายเงิน (มีผลทำให้ เงินสดลดลง)
- ชำระเงินกู้ยืมระยะสั้น
- เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารลดลง
- ชำระเงินกู้ยืมระยะยาว
- จ่ายเงินปันผล
ตัวอย่างจริง
จากนี้จะแสดงที่มาของงบกระแสเงินสด (ตามทฤษฏี) โดยใช้ตัวอย่าง งบการเงินของ PYLON - บริษัท ไพลอน จำกัด (มหาชน) ปี 2556 ไตรมาส 1 งบการเงินรวม
(สาเหตุที่ใช้ บ.นี้เพราะ งบการเงินเข้าใจง่าย ตามทฤษฏี และหมายเหตุที่ให้มาค่อนข้างละเอียด)
(สาเหตุที่ใช้ บ.นี้เพราะ งบการเงินเข้าใจง่าย ตามทฤษฏี และหมายเหตุที่ให้มาค่อนข้างละเอียด)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
(ภาพที่ 2)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน และ กิจกรรมการจัดหา
(ภาพที่ 3)
อธิบาย
หมายเลข 1. ตั้งต้นจาก กำไรก่อนภาษีเงินได้ ในงบกำไรขาดทุน
(ภาพที่ 4)
หมายเลข 2. ค่าเสื่อมราคา จากในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 9.
(ภาพที่ 5)
หมายเลข 3. ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน จากในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 13.
(ภาพที่ 6)
หมายเลข 4. กลับรายการสำรองขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการก่อสร้าง เนื่องจาก ค่าเผื่อผลขาดทุนจากงานโครงการ มีค่าลดลงจะไปเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุน แต่ไม่ได้เป็นการดำเนินงาน จึงนำมาลบออก
(ภาพที่ 7)
หมายเลข 5. ดอกเบี้ยจ่าย เป็นค่าใช้จ่ายทางการเงิน ไม่ได้เป็นการดำเนินงาน จึงนำมาลบออก (ดูภาพที่ 4)
หมายเลข 6. สินทรัพย์ดำเนินงานลดลง (เพิ่มขึ้น) / สรุปจาก งบแสดงฐานะส่วนสินทรัพย์ (เฉพาะที่ไฮไลท์สีเขียว)
(ภาพที่ 8)
- กรณี สินทรัพย์เพิ่มขึ้น จะเป็น ค่าลบ
- กรณี สินทรัพย์ลดลง จะเป็น ค่าบวก
ตัวอย่าง ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ ผลต่าง = - 1,497,135 บาท สินทรัพย์ลดลง จะนำมาบวกใน งบกระแสเงินสดจากการดำเินินงาน
สิ่งที่ควรสังเกตุ ควรสังเกตุว่า ลูกหนี้การค้า และ สินค้าคงเหลือ มีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่ เช่น มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก กว่าปกติ ถ้ามีต้องไปอ่านในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อหาคำตอบว่าสมเหตุสมผล หรือไม่
หมายเลข 7. หนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) / สรุปจาก งบแสดงฐานะส่วนหนี้สิน (เฉพาะที่ไฮไลท์สีชมพู)
(ภาพที่ 9)
- กรณี หนี้สินเพิ่มขึ้น จะเป็น ค่าบวก
- กรณี หนี้สินลดลง จะเป็น ค่าลบ
ตัวอย่าง เจ้าหนี้การค้า ผลต่าง = 37,075,555 บาท หนี้สินเพิ่มขึ้น จะนำมาบวกใน งบกระแสเงินสดจากการดำเินินงาน
สิ่งที่ควรสังเกตุ ควรสังเกตุว่า เจ้าหนี้การค้า มีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่ ถ้ามีต้องไปอ่านในหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อหาคำตอบว่าสมเหตุสมผล หรือไม่
หมายเลข 8. จ่ายดอกเบี้ย คือ ค่าดอกเบี้่ยที่จ่ายเป็นเงินสดจริง
หมายเลข 9. จ่ายภาษีเงินได้ คือ ค่าภาษีเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินสดจริง
สรุป กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (ตัวอักษร C) = จะเท่ากับ ตัวอักษร B + หมายเลข 8. + หมายเลข 9.
(ตามในภาพที่ 2)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Activities)
หมายเลข 10. เงินฝากธนาคารที่ติดภาระผูกพันลดลง (เพิ่มขึ้น) / (ตามในภาพที่ 8)
หมายเลข 11. เงินลงทุนชั่วคราวลดลง / (ตามในภาพที่ 8)
หมายเลข 12. ซื้อสินทรัพย์ถาวร / (ตามในภาพที่ 5)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา (Financing Activities)
หมายเลข 13. เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น (ลดลง) / (ตามในภาพที่ 9)
หมายเลข 14. จ่ายชำระเงินกู้ยืมระยะยาว จากในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 11.
(ภาพที่ 10)
หมายเลข 15. จ่ายชำระหนี้สินตามสัญญาเช่าซื้อ จากในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 12.
(ภาพที่ 11)
สรุป
(ภาพที่ 12) ตัดมาจากภาพที่ 3
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลงสุทธิ (F) = กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (C) + กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (D) + กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา (E)
และ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลงสุทธิ (F) จะไปเท่ากับ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (F) เปลี่ยนแปลง ในภาพที่ 8
* สุดท้าย เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันสิ้นงวด (G) จะไปเท่ากับ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (G) ในงบดุล
(ภาพที่ 13)
——— จบ ———
หนังสือ และบทความแนะนำ
ผู้เขียน รศ. พรชนก รัตนไพจิตร
รายละเอียดหนังสือ
ISBN | : 9789747560909 (ปกอ่อน) 188 หน้า |
ขนาดรูปเล่ม | : 184 x 259 x 9 มม. |
น้ำหนัก | : 732 กรัม |
เนื้อในพิมพ์ | : ขาวดำ |
ชนิดกระดาษ | : กระดาษปอนด์ |
เดือนปีที่พิมพ์ | : 1/2012 |
— ขอขอบคุณผู้เขียนทั้ง 3 ท่าน ด้วยครับ —
สามารถดาวโหลดงบการเงินจริงได้จากเวปไซต์
ข้อจำกัด
- งบกระแสเงินสดในบางบริษัท อาจจะใช้วิธีที่แตกต่างจากนี้ แต่รายละเอียดใกล้เคียงกัน ดังนั้นวิธีที่กล่าวมาอาจจะใช้ไม่ได้บ้างในบางส่วน
ข้อควรระวัง
- การดูงบการเงินควรต้องทำความเข้าใจธุรกิจอย่างถ่องแท้ก่อน เพราะไม่มีสูตรสำเร็จในการอ่านงบการเงิน / ถ้าไม่เข้าใจธุรกิจอ่านงบการเงินไป อาจทำให้เข้าใจผิดได้
- ในบทความนี้ผู้เขียนไม่สามารถรับรองความถูกต้องได้หมด แต่พยามตรวจสอบความถูกต้องอย่างสูงที่สุด
- หากมีส่วนไหนผิดพลาด รบกวนชี้แจงด้วยครับ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่านท่านต่อๆ ไป
ขอบคุณที่ติดตามครับ
likestock
likestock