เพื่อให้ศึกษาวิชาการบัญชีได้เข้าใจและง่ายขึ้น เราจะมาเริ่มต้นกันที่การรู้จักสมการบัญชี ซึ่งสมการบัญชีคือ
|
จะเห็นได้ว่าในสมการบัญชีมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ทั้งหมด 3 คำ คือคำว่า สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ เราจะมาทำความเข้าใจกับคำทั้งสามคำนี้ก่อน
สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าที่วัดได้เป็นตัวเงินที่กิจการเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้ เช่น เงินสด รถยนต์ สัมปทาน เป็นต้น เราสามารถจำแนกสินทรัพย์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ 4 ประเภท ดังนี้
สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่เป็นเงินสด หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 รอบระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจหรือ 1 ปี ได้แก่
1.1 เงินสด (Cash) หมายถึง ธนบัตร และเหรียญกษาปณ์ที่กิจการมีอยู่ในมือ และรวมถึงเช็คที่ถึงกำหนดได้รับเงินแล้วแต่กิจการยังไม่ได้นำไปขึ้นเงินหรือนำฝากธนาคาร ดราฟท์ธนานัติ แคชเชียร์เช็ค เป็นต้น
1.2 เงินฝากธนาคาร (Cash in Bank or Deposit) หมายถึง บัญชีเงินฝากธนาคารที่กิจการมีอยู่ไม่ว่าจะเป็นบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ
1.3 เงินลงทุนระยะสั้น (Short-term Investment) หมายถึง การที่กิจการได้นำเงินที่มีอยู่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ หรือสินทรัพย์อื่น เช่น ทองคำ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเก็งกำไรในระยะสั้น ๆ แล้วขายคืนภายใน 1 ปี
1.4 ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) หมายถึง จำนวนเงินที่ลูกค้ามีภาระผูกพันที่จะต้องชดใช้ให้กับกิจการในอนาคตข้างหน้าอันเนื่องมาจากธุรกิจการค้า
1.5 ตั๋วเงินรับ (Notes Receivable) หมายถึง เอกสารหรือสัญญาที่ลูกค้าหรือลูกหนี้ได้ออกให้แก่กิจการเพื่อใช้เป็นเอกสารในการเรียกเก็บเงินภายหลัง เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เช็คลงวันที่ล่วงหน้า เป็นต้น
1.6 สินค้าคงเหลือ (Inventories) หมายถึง สินค้าสำเร็จรูป งานระหว่างผลิต วัตถุดิบ ที่มีไว้เพื่อจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อใช้ในการผลิต แต่ยังไม่ได้จำหน่ายออกไปจากกิจการ ยังคงเหลืออยู่ในกิจการ
1.7 ลูกหนี้อื่น ๆ (Other Receivables) หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากเหตุการณ์อื่นที่ไม่ใช่เกิดจากการดำเนินธุรกิจตามปกติของกิจการ เช่น เกิดจากการกู้ยืม เป็นต้น
1.8 รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) หมายถึง รายได้อื่น ๆ ที่ไม่เป็นรายได้จากการดำเนินธุรกิจตามปกติของกิจการที่กิจการควรจะได้รับ แต่ยังไม่ได้รับ เช่น ดอกเบี้ยค้างรับ เป็นต้น
1.9 ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินไปก่อน โดยที่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากเงินที่จ่ายไปนั้น เช่น ค่าเบี้ยประกันภัยจ่ายล่วงหน้า ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า เป็นต้น
1.10 วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจการที่มีลักษณะที่ใช้แล้วหมดไปภายใน 1 ปี เช่น น้ำมันหล่อลื่น ด้าย ผงซักฟอก เป็นต้น และถ้าหากวัสดุสิ้นเปลืองนั้นใช้ในสำนักงาน ก็จะถูกเรียกว่า วัสดุสำนักงาน (Office Supplies) เช่น ปากกา ดินสอ ลวดเย็บกระดาษ เป็นต้น
เงินลงทุนระยะยาว (Long-term Investment) หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อที่จะได้รับผลตอบแทนในอนาคตข้างหน้า โดยตั้งใจจะลงทุนเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 1 ปี
สินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีตัวตนและมีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี ที่กิจการมีไว้เพื่อที่จะใช้ผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อที่จะก่อให้เกิดรายได้กับกิจการ ตัวอย่างของสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ที่ดิน อาคาร รถยนต์ เครื่องจักร เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากสินทรัพย์ที่มีตัวตนและมีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี แต่ไม่ได้มีไว้ในเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการของกิจการ ก็ไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ถาวร เช่น หากกิจการเป็นกิจการขายรถยนต์ รถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายก็ไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ถาวร แต่จะถือว่าเป็นสินค้าคงเหลือ หรือหากกิจการซื้อที่ดินไว้เพื่อการเก็งกำไร โดยหากราคาของที่ดินสูงขึ้นจะขายที่ดินแปลงนี้ออกไป ที่ดินแปลงนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ถาวร แต่จะถือว่าเป็นเงินลงทุนระยะยาว เป็นต้น
สินทรัพย์อื่น (Other Assets) หมายถึงสินทรัพย์อื่นที่นอกเหนือจากสินทรัพย์ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้ง 3 ประเภท ในทางบัญชีสินทรัพย์อื่นนี้จะหมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น สัมปทาน สิทธิบัตร เป็นต้น ซึ่งสินทรัพย์อื่นนี้จะมีอายุการใช้ประโยชน์เกิน 1 ปี
หนี้สิน (Liabilities) หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการเป็นหนี้บุคคลหรือกิจการอื่น ซึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนให้กับบุคคลหรือกิจการเหล่านั้นในอนาคตข้างหน้า หนี้สินสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินที่กิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ได้แก่
1.1 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร (Bank Overdraft) หมายถึง เงินที่กิจการเบิกเกินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งธนาคารยอมให้เบิกเกินบัญชีไปก่อนในระยะสั้น ๆ ซึ่งกิจการจะต้องชำระคืนธนาคารในอนาคต
1.2 เงินกู้ยืมธนาคารระยะสั้น (Short-term Bank Loan) หมายถึง การที่กิจการได้ทำสัญญาตกลงกับธนาคารในการกู้ยืมเงินจำนวนหนึ่ง โดยที่มีกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี
1.3 เจ้าหนี้การค้า (Account Payable) หมายถึงจำนวนเงินที่กิจการมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระให้กับบุคคลหรือกิจการอื่นเป็นค่าสินค้าหรือบริการที่กิจการซื้อมาเป็นเงินเชื่อ
1.4 ตั๋วเงินจ่าย (Notes Payable) หมายถึง เอกสารที่กิจการออกให้กับบุคคลหรือกิจการ เพื่อเป็นสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดตามเอกสารนั้น กิจการจะจ่ายเงินให้กับผู้ที่ถือเอกสาร ในจำนวนเงินตามเอกสารนั้น
1.5 รายได้รับล่วงหน้า (Deferred Revenue) หมายถึง รายได้ที่กิจการได้รับเงินมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ซึ่งจะมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าในอนาคตเนื่องจากได้รับเงินมาแล้ว
1.6 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ครบกำหนดที่จะต้องจ่ายแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงิน และกิจการยังไม่เคยรับรู้และมีการบันทึกบัญชีมาก่อน จนถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ เช่น ค่าเช่าค้างจ่าย ค่าสาธารณูปโภคค้างจ่าย เป็นต้น
1.7 เจ้าหนี้อื่น (Other Payable) หมายถึง ภาระผู้พันที่กิจการจะต้องชำระหนี้ให้กับบุคคลหรือกิจการอื่น ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า เช่น เจ้าหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมระยะสั้นที่ไม่ไช่ธนาคาร เป็นต้น
หนี้สินระยะยาว (Long-term Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการจะต้องชำระคืนบุคคลหรือกิจการอื่น ที่มีระยะเวลาการชำระคืนเกิน 1 ปี แต่ถ้าหากหนี้สินระยะยาวใดที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปีข้างหน้า หนี้สินระยะยาวจำนวนนั้น จะถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน ตัวอย่างเช่น กิจการกู้เงินกู้ระยะยาวจากธนาคารจำนวน 1,000,000 บาท มีกำหนดชำระคืนเงินต้น 10 ปี ปีละ 100,000 บาท เริ่มชำระคืนเงินต้นปีหน้านี้เป็นปีแรก ดังนั้น เงินจำนวน 100,000บาท ที่จะต้องชำระคืนในปีหน้า จะถือว่าเป็นหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินระยะยาวจะเป็นจำนวนเงินเพียงแค่ 900,000 บาท หนี้สินระยะยาวแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
2.1 หุ้นกู้ (Bonds Payable) หมายถึง การที่กิจการกู้เงินจากบุคคลภายนอก โดยออกหุ้นกู้ไว้ให้เป็นหลักฐาน ซึ่งกิจการจะจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นกู้ในรูปของดอกเบี้ย ซึ่งหุ้นกู้นี้มักจะมีกำหนดการไถ่ถอนมากกว่า 1 ปีและเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนแล้ว กิจการก็จะต้องนำเงินไปชำระคืนให้กับผู้ถือหุ้นกู้ ซึ่งเราเรียกว่าการไถ่ถอนหุ้นกู้นั้นเอง
2.2 เงินกู้ระยะยาวโดยมีการจำนอง หรือเงินกู้จำนอง (Mortgage Loan) หมายถึง การที่กิจการได้ทำการกู้ยืมเงินจากบุคคลหรือกิจการหรือสถาบันการเงิน โดยการนำสินทรัพย์ถาวรของกิจการไปจำนองกับผู้ให้กู้ไว้เพื่อเป็นหลักประกันเงินกู้ และเงินกู้นั้นมีกำหนดชำระคืนเงินต้นเกิน 1 ปีขึ้นไป
2.3 เงินกู้ระยะยาวโดยไม่มีการจำนอง หรือเงินกู้ระยะยาว (Long-term Loan)หมายถึง การที่กิจการได้ทำการกู้ยืมเงินกู้ระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการหรือสถาบันการเงิน โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ไปค้ำประกัน และเงินกู้นั้นมีกำหนดชำระคืนเงินต้นเกิน 1 ปีขึ้นไป
ส่วนของผู้ถือหุ้น
(Shareholders'
equity)
1.
ทุนเรือนหุ้น
(Share
capital)
1.1 ทุนจดทะเบียน
(Authorized
share capital)
หมายถึง
ทุนของบริษัทที่จดทะเบียนตามกฎหมาย
ให้แสดงชนิดของหุ้น
จำนวนหุ้นและมูลค่า
ที่ตราไว้ตามที่จดทะเบียนแต่ละชนิด
1.2 ทุนที่ออกและชำระแล้ว
(Issued
and paid-up share capital)
หมายถึง
จำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นที่ได้นำออกจำหน่ายและเรียกให้ชำระมูลค่าหุ้นแล้ว
ให้แสดง
เป็นหุ้นแต่ละชนิด
2. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
(Stock
rights and warrants)
หมายถึง
มูลค่าของสิทธิที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือในการซื้อหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ
รวมถึงใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม
โดยให้เปิดเผยจำนวนสิทธิทั้งหมด
และจำนวน
คงเหลือ
ตลอดจนเงื่อนไขของการใช้สิทธิและภาระผูกพันต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. ส่วนเกิน
(ต่ำกว่า)
มูลค่าหุ้น
(Additional
paid-in capital (Discount on capital stock))
หมายถึง
เงินที่ได้จากการขายหุ้นทุนจดทะเบียนตามกฎหมายในส่วนที่สูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้
หากมีทั้งส่วนเกินและส่วนต่ำกว่ามูลค่าที่ตราไว้
ให้แสดงรายการแยกต่างหากโดยไม่ต้องนำมาหักกลบกัน
และกรณีหุ้นทุนประกอบด้วยส่วนที่เป็นหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ
ก็ให้แสดงส่วนเกินหรือส่วนต่ำกว่า
มูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นทุนแต่ละประเภทข้างต้นแยกจากกัน
4. ส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน
(Appraisal
surplus)
หมายถึง
ส่วนเกินจากราคาทุนหรือราคาตามบัญชีของทรัพย์สิน
5. ส่วนเกินทุน
(ต่ำกว่าทุน)
จากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินลงทุน
(Revaluation
surplus (deficit) in investments)
หมายถึง
ส่วนต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับราคายุติธรรมของเงินลงทุน
ตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้รายงานไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้น6. กำไรสะสม (ขาดทุน ) ที่เกิดจากเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่รับรู้โดยตรงไปยังส่วนของเจ้าของ
หมายถึง กำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการในส่วนของผู้ถือหุ้นตามที่กำหนดในหลักการบัญชี
7. กำไรสะสม
(Retained
earnings (deficits) )
7.1 จัดสรรแล้ว
(Appropriated)
7.1.1 สำรองตามกฎหมาย
(Legal
reserve)
หมายถึง
สำรองที่กันไว้จากกำไรสุทธิประจำปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
พ.ศ.
2535
7.1.2 อื่น ๆ (Others)
7.1.2 อื่น ๆ (Others)
หมายถึง
จำนวนที่จัดสรรจากกำไรสะสมเพื่อการใด
ๆ ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ทั้งนี้
ให้แสดงเป็นแต่ละประเภท
เช่น เพื่อรักษาระดับเงินปันผล
เพื่อขยายกิจการ
หรือตามเงื่อนไขของภาระผูกพัน
7.2 ยังไม่ได้จัดสรร (Unappropriated)
7.2 ยังไม่ได้จัดสรร (Unappropriated)
หมายถึง
กำไรสะสมและกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันที่คงเหลือหลังจากการจัดสรร
ในกรณีที่มียอดดุลสุทธิเป็นผลขาดทุนสะสม
ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บและเรียกเป็น
“ขาดทุนสะสม”
8. หุ้นทุนซื้อคืน
(Treasury
stock)
หมายถึง
หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ
และตราสารทุนอื่นที่มีลักษณะเทียบเท่าหุ้นสามัญของบริษัท
ซึ่งบริษัทหรือบริษัทย่อยของบริษัทซื้อกลับคืนมา
ซึ่งบริษัทหรือบริษัทย่อยของบริษัทซื้อกลับคืนมา
9. ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
(Minority
interest)
หมายถึง
สินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยเฉพาะส่วนที่ไม่ได้เป็นของบริษัทใหญ่ทั้งโดยทางตรงหรือ
ทางอ้อม
งบกำไรขาดทุน
1. รายได้
(Income)
- ค่านายหน้า (Brokerage fees)
- ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ (Brokerage fees from Securities business)
หมายถึง
ค่านายหน้าที่บริษัทได้รับจากการประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
ในกรณีที่บริษัทที่ต้องส่งคำสั่งซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์อื่น ให้รายงานเป็นค่านายหน้าสุทธิ
ในกรณีที่บริษัทที่ต้องส่งคำสั่งซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์อื่น ให้รายงานเป็นค่านายหน้าสุทธิ
- ค่านายหน้าจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Brokerage fees from Derivatives business)
หมายถึง
ค่านายหน้าที่บริษัทได้รับจากการประกอบกิจการนายหน้าซื้อขายสัญญาซื้อขาย
ล่วงหน้า
ล่วงหน้า
1.2 ค่าธรรมเนียมและบริการ
(Fees
and services income)
หมายถึง
ค่าธรรมเนียมและบริการที่บริษัทได้รับจากการให้บริการแก่ลูกค้า
เช่น ค่าธรรมเนียม
ในการให้คำปรึกษาการลงทุน ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมในการจัดการ
กองทุน ค่าธรรมเนียมการจัดการทรัพย์สินของลูกค้า และค่าธรรมเนียมจากการยืม/ให้ยืมหลักทรัพย์ เป็นต้น
ในการให้คำปรึกษาการลงทุน ค่าธรรมเนียมในการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ค่าธรรมเนียมในการจัดการ
กองทุน ค่าธรรมเนียมการจัดการทรัพย์สินของลูกค้า และค่าธรรมเนียมจากการยืม/ให้ยืมหลักทรัพย์ เป็นต้น
1.3 กำไร
(ขาดทุน)
จากการซื้อขายหลักทรัพย์
(Gain
(loss) on Securities trading)
หมายถึง
กำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายหลักทรัพย์
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจากการขายหลักทรัพย์หรือมีผลกำไรขาดทุนจากการตีราคาหลักทรัพย์
ให้นำมาปรับปรุงรายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ
หากมี
ยอดสุทธิเป็นผลขาดทุน ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
ยอดสุทธิเป็นผลขาดทุน ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
1.4
กำไร
(ขาดทุน)
จากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
(Gain
(loss) on Derivatives trading)
หมายถึง
กำไรหรือขาดทุนจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจากการ
ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีผลกำไรขาดทุนจากการตีราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้นำมาปรับปรุง
รายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ หากมียอดสุทธิเป็นผลขาดทุน ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
ขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือมีผลกำไรขาดทุนจากการตีราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ให้นำมาปรับปรุง
รายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ หากมียอดสุทธิเป็นผลขาดทุน ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
1.5 ดอกเบี้ยและเงินปันผล
(Interest
and dividend)
หมายถึง
ค่าตอบแทนที่ได้รับจากเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงิน
เงินให้กู้ยืมอื่นที่มิใช่เงิน
ให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
และส่วนแบ่งกำไรหรือประโยชน์อื่นใดที่ได้รับจากเงินลงทุน
1.6 ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
(Interest
on margin loans)
หมายถึง
ค่าตอบแทนที่ได้รับจากเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์
1.7 ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
(Share
of profit of subsidiaries and associates)
หมายถึง
ส่วนแบ่งผลกำไรในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่บริษัทรับรู้ตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว
1.8 รายได้อื่น
(Other
incomes)
หมายถึง
รายได้นอกจากที่แสดงไว้ในรายการข้างต้น
รวมถึงรายได้อื่นที่ไม่จัดเป็นรายการพิเศษ
เช่น
กำไรจากการขายที่ดิน อาคาร
อุปกรณ์ และทรัพย์สินอื่น
เป็นต้น ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายในการขายหรือ
ขาดทุนจากการขายทรัพย์สินดังกล่าว
ให้นำมาหักจากรายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ
กรณีที่ยอดสุทธิเป็น
ผลขาดทุน
ให้นำไปแสดงไว้ในรายการที่
2.5.5
ในกรณีที่รายได้อื่นรายการใดมีจำนวนตั้งแต่ร้อยละ
5
ของยอดรายได้รวม
ให้แสดงรายได้อื่นนั้น
เป็นรายการแยกต่างหาก
โดยแสดงไว้ในลำดับต่อจากรายการที่
1.6
2. ค่าใช้จ่าย
(Expenses)
2.1 ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงิน
(Expenses
on borrowing )
หมายถึง
ค่าตอบแทนที่คิดให้เนื่องจากการใช้ประโยชน์จากเงินทุน
ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยและส่วนลดจ่ายที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืม
ทั้งในลักษณะของการออกเอกสารการกู้ยืมเงิน
และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
ดอกเบี้ยเงินเบิกเกินบัญชี
ดอกเบี้ยจากหลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาซื้อคืน
ดอกเบี้ยจ่ายลูกค้าในระบบเครดิต
บาลานซ์
และค่าธรรมเนียมในการกู้ยืมเงิน
2.2 ค่าธรรมเนียมและบริการจ่าย
(Fee
and Service expenses)
หมายถึง
ค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
หลักทรัพย์
เช่น ค่าธรรมเนียมจ่ายตลาดหลักทรัพย์
ค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาตตัดบัญชี
ค่าธรรมเนียมจ่ายให้ตัวแทนขายและรับซื้อคืนหน่วย
ค่าธรรมเนียมที่ให้ตัวแทนนายหน้าต่างประเทศ
เป็นต้น
- หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ (Bad debt and doubtful accounts)
หมายถึง ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และดอกเบี้ยค้างรับที่ได้ติดตามทวงจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้
รับชำระหนี้ รวมทั้งจำนวนที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และดอกเบี้ยค้างรับส่วนที่คาดว่าจะ
เรียกเก็บไม่ได้ภายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
สำหรับลูกหนี้ที่เกิดจากการทุจริตของพนักงาน
และลูกหนี้ที่แสดงเป็นสินทรัพย์อื่นในงบดุล
ที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้
ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายอื่นแสดงไว้ในรายการที่
2.5.5
- ส่วนแบ่งขาดทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม (Share of loss of subsidiaries and associates)
หมายถึง
ส่วนแบ่งผลขาดทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่บริษัทรับรู้ตามสัดส่วนการถือหุ้น
ในบริษัทดังกล่าว
2.5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
(Operating
expenses) ประกอบด้วย
2.5.1 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน
(Personnel
expenses)
หมายถึง
ค่าตอบแทนที่จ่ายให้พนักงานและลูกจ้าง
เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง
ค่าล่วงเวลา โบนัสเงินบำเหน็จ
เงินเพิ่มค่าครองชีพ
ค่าสวัสดิการ
เงินสมทบของบริษัทที่ต้องจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ภาษีเงินได้ที่บริษัทออกให้
เป็นต้น
2.5.2 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร
สถานที่ และอุปกรณ์
(Premises
and equipment expenses)
หมายถึง
ค่าเสื่อมราคา ค่าเช่า
ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา
ค่าเบี้ยประกันภัย
ค่าภาษีที่ดินและโรงเรือน
ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า
ค่าโทรศัพท์ ค่าวัสดุของใช้
และค่าใช้จ่ายอื่นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับอาคาร
สถานที่ และอุปกรณ์
2.5.3 ค่าภาษีอากร
(Taxes
and duties)
หมายถึง
ค่าภาษีอากรต่าง ๆ เช่น
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีป้าย
อากรแสตมป์ เป็นต้น
แต่ไม่รวมถึงภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งกำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 4 ภาษีที่ดินและโรงเรือนสำหรับ
แต่ไม่รวมถึงภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งกำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่ 4 ภาษีที่ดินและโรงเรือนสำหรับ
ที่ทำการซึ่งกำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่
2.5.2
และภาษีเงินได้ที่บริษัทออกให้แก่กรรมการ
พนักงาน
และลูกจ้าง
ซึ่งกำหนดให้แสดงไว้ในรายการที่
2.5.1
และ
2.5.4
แล้ว
2.5.4 ค่าตอบแทนกรรมการ
(Directors'
remuneration)
หมายถึง
เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่จ่ายให้กรรมการตามมาตรา
90
ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
พ.ศ.
2535
2.5.5 ค่าใช้จ่ายอื่น
(Other
expenses)
หมายถึง
ค่าใช้จ่ายนอกจากที่กำหนดให้แสดงไว้ในรายการข้างต้น
เช่น ค่ารับรอง ค่าใช้จ่าย
ตัดบัญชีอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
เป็นต้น ทั้งนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นที่
ไม่จัดเป็นรายการพิเศษ
เช่น ผลเสียหายจากการทุจริตของพนักงาน
ผลขาดทุนจากการขายที่ดิน
อาคาร อุปกรณ์ และทรัพย์สิน
ในกรณีที่มีรายได้จากการขายทรัพย์สินดังกล่าว
ให้นำมาหักจากรายการนี้เพื่อแสดงยอดสุทธิ
หากยอดสุทธิเป็นผลกำไร
ให้นำไปแสดงไว้ในรายการที่
1.7
ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายอื่นรายการใดมีจำนวนตั้งแต่ร้อยละ
5
ของยอดค่าใช้จ่ายรวม
ให้แสดง
ค่าใช้จ่ายอื่นนั้นเป็นรายการแยกต่างหาก
โดยแสดงไว้ในลำดับต่อจากรายการที่
2.5.4
3. กำไร
(ขาดทุน)
ก่อนภาษีเงินได้
(Income
(Loss) before income tax )
หมายถึง
ยอดรวมรายได้หักด้วยยอดรวมค่าใช้จ่าย
แต่ก่อนหักภาษีเงินได้และก่อนรายการพิเศษ
หากมีผลขาดทุน
ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
4. ภาษีเงินได้
(Income
tax expenses)
หมายถึง
ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณขึ้นตามวิธีการบัญชีหรือตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
5.
กำไร
(ขาดทุน)
หลังภาษีเงินได้
(Income
(Loss) after income tax)
หมายถึง
กำไร (ขาดทุน)
หลังจากหักภาษีเงินได้
แต่ก่อนรายการพิเศษ
หากมีผลขาดทุนให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
6. กำไร
(ขาดทุน)
สุทธิ
ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
(Net
profit (loss) of minority interest)
หมายถึง
ผลการดำเนินงานสุทธิของบริษัทย่อยที่ไม่ใช่ส่วนของบริษัทใหญ่ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
หากมีผลขาดทุนให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
7. กำไร
(ขาดทุน)
จากกิจกรรมตามปกติ
(Profit
(Loss) from ordinary activities)
หมายถึง
กำไร(ขาดทุน)
จากกิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบธุรกิจของบริษัทหรือ
เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของบริษัท
รวมทั้งกิจกรรมอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจหรือ
การดำเนินงานดังกล่าว
หากมีผลขาดทุนให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
8. รายการพิเศษ
(Extraordinary
items)
หมายถึง
รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนจากการดำเนินงานตามปกติของบริษัท
และไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นประจำหรือเกิดขึ้นไม่บ่อย
รายการพิเศษนี้
ให้แสดงเป็นยอดสุทธิหลังจากหักภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องแล้ว
และให้แสดงจำนวนภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย
ในกรณีที่รายการพิเศษเป็นผลขาดทุน
ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
9. กำไร
(ขาดทุน)
สุทธิ
(Net
income (loss))
หมายถึง
กำไรหรือขาดทุนหลังจากหักหรือรวมรายการพิเศษแล้ว
หากมีผลขาดทุนสุทธิ ให้แสดง
จำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
10. กำไรต่อหุ้น
(Earnings
per share)
หมายถึง
ส่วนเฉลี่ยของกำไรต่อหุ้นสามัญหนึ่งหุ้น
โดยวิธีการคำนวณให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยเรื่องกำไรต่อหุ้น
หากมีขาดทุนต่อหุ้น
ให้แสดงจำนวนเงินไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
โดยแสดงแยกเป็น
10.1 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน
(Basic
earning per share)
10.1.1 กำไร
(ขาดทุน)
ก่อนรายการพิเศษ
10.1.2 รายการพิเศษ
10.1.3 กำไร
(ขาดทุน)
สุทธิ
10.2 กำไรต่อหุ้นปรับลด
(Diluted
earning per share)
10.2.1 กำไร
(ขาดทุน)
ก่อนรายการพิเศษ
10.2.2 รายการพิเศษ
10.2.3 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
10.2.3 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ
งบกระแสเงินสด
รายการในงบกระแสเงินสดของบริษัทหลักทรัพย์ให้ใช้ความหมายตามที่กำหนด
ดังนี้
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
หมายถึง เงินสดที่เกิดจากกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิด
รายได้ของกิจการหรือจากกิจกรรมอื่นที่มิใช่กิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมที่จัดหาเงิน
เช่น เงินสดรับ
หรือจ่าย
ค่าดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม
ค่านายหน้า
เงินสดที่รับจากเงินปันผลและรายได้อื่น
เงินสด
ที่จ่ายไปหรือรับชำระคืนเงินให้กู้ยืม
เงินสดจ่ายล่วงหน้าให้ลูกค้า
เงินสดรับหรือจ่ายที่เกิดจากการ
ซื้อขายเงินลงทุนชั่วคราว
เงินสดรับจากการขายทรัพย์สินรอการขาย
เป็นต้น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
หมายถึง เงินสดที่เกิดจากการซื้อและจำหน่ายทรัพย์สิน
และเงินลงทุนระยะยาว
เช่น เงินสดรับหรือจ่ายจากการขายหรือซื้อที่ดิน
อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์
ไม่มีตัวตนต่าง
ๆ
เงินสดรับหรือจ่ายจากการขายหรือซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
เป็นต้น
ทั้งนี้
ไม่รวมถึงกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับซึ่งจัดเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรม
ดำเนินงาน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
หมายถึง เงินสดที่เกิดจากหนี้สินและส่วนของเจ้าของ
หรือจากกิจกรรมอื่นใดซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและโครงสร้างของส่วนของเจ้าของและ
ส่วนของการกู้ยืมของกิจการ
เช่น เงินสดรับหรือจ่ายชำระคืนเงินกู้ยืม
เงินสดที่ได้รับจากการจำหน่าย
หุ้นทุน
หุ้นทุนซื้อคืน
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นทุน
หุ้นกู้ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้
ตราสารหนี้
ด้อยสิทธิ
หรือเงินสดจ่ายเพื่อการซื้อหุ้นทุนคืน
เงินสดจ่ายเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้
ตราสารแสดงสิทธิ
ในหนี้ที่มีลักษณะคล้ายทุน
ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ
และการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
เป็นต้น ทั้งนี้
ไม่รวมถึงกระแสเงินสดจากดอกเบี้ยจ่าย
ซึ่งจัดเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน