การลดทุนโดยการตัดขาดทุนสะสมกับหุ้นทุน ส่วนผู้ถือหุ้นรวมไม่กระทบ เพราะขาดทุนสะสมก็นำมาหักลดส่วนผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว ข้อเสียคือ หุ้นเราหายไปแน่นอน ข้อดีคือ ถ้าปีหน้ามีกำไรจะจ่ายปันผลได้ เพราะถ้ามีขาดทุนสะสมอยู่ต้องเอากำไรไปล้างให้หมดก่อน จึงจ่ายปันผลได้ หลายบริษัทที่ลดทุนเพราะเมื่อปรับโครงสร้างหนี้ นักลงทุนใหม่จะมาเขาไม่มาแบกขาดทุนสะสมหลายๆปีหรอก เขาเข้ามาแล้วถ้ามีกำไร เขาต้องได้ผลอบแทนคืน
การเพิ่มทุน บริษัทได้เม็ดเงินเข้าบริษัท แต่ก็จะเกิด dilution effect คือ กำไรต่อหุ้นจะปรับลดลงเพราะจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น (อ่านกำไรต่อหุ้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดประกอบด้วยก็จะดีครับ) ถ้าบริษัททำกำไรเพิ่มได้มากพอกับหุ้นที่เพิ่มก็จะไม่เกิด dilute มาก ดังนั้นถ้ารักษา ROE ได้ก็ไม่กระทบ ดังนั้นถ้าบริษัทประกาศเพิ่มทุน ไม่ว่า PO (public offering ขายให้คนทั่วไป แต่ไม่ใช่การขายครั้งแรก-IPO) PP (private placement-ขายนักลงทุนอื่นแบบเฉพาะเจาะจง) หรือ ขึ้น XR ขายกับผูถือหุ้นเดิม หลักวิเคราะห์ ได้เงินรวมไปเท่าไร กี่พันล้านบาท เอาไปใช้ทำอะไร ลงทุนขยายงานอะไร กำไรที่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าไรกับเงินที่เอาไป ใช้หลักคล้ายๆกับเรื่องตัดสินใจ capital expenditure ถ้า return on investment > ROE อันนี้ดี
การซื้อหุ้นคืน เป็นการสร้างผลตอบแทนให้กิจการแบบหนึ่งแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็เอามาซื้อหุ้นออกมาจากตลาดเข้าบริษัท วิธีนี้ไม่ใช่การลดทุน เพราะผู้ถือหุ้นไม่เสียหาย เพียงแต่บริษัทเอาหุ้นบางส่วนคืนจากนักลงทุนที่ไม่อยากลงทันในบริษัทต่อไป แทนที่จะขายทิ้ง (กดราคา) บริษัทรับซื้อกลับ ทำให้จำนวนหุ้นลดลง EPS จะสูงขึ้น (ถ้ากำไรไม่ลดลง) ถ้าระดับ P/E คงเดิม ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนก็เปลี่ยนจากหุ้นบางส่วนเป็นเงินได้ (วิธีนี้ช่วยบริหารภาษีให้ผู้ถือหุ้นด้วย) การซื้อหุ้นคืน ส่วนเจ้าของจะลดลงจากหุ้นซื้อคืน ROE จะเพิ่มขึ้น
การจ่ายหุ้นปันผล คล้ายๆกับ การซื้อหุ้นคืนคือแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ส่วนใหญ่บริษัทมีกำไรมากและอยากเก็บเงินสสดไว้ใช้ดำเนินงาน ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ให้ผู้ถือหุ้นไปเอาเงินสดจากตลาดแทน หรือใครจะถือต่อก็ได้ การจ่ายหุ้นปันผลไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ เพราะย้ายกำไรสะสมขึ้นไปเป็นเป็นหุ้นทุน แต่ผลกระทบคือ เม็ดหุ้นมากขึ้น อาจเกิด dilution effect ได้ แม้จะทำกำไรเท่าเดิม ROE เท่าเดิม แต่โดยรวมๆ wealth ของนักลงทุนคงที่ที่ระดับ P/E นั้น เพราะ EPS ลดลง Price ลดลง แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นชดเชยแทน
จะเห็นว่าแค่ทุน ยังมีวิธีการมากมายในการบริหาร ทุกการกระทำล้วนต้องมีหลักการและเหตุผลที่ดี หลายบริษัท เดี๋ยวซื้อหุ้นคืนกลับ นัยหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ การซื้อคืน แสดงว่า เหลือเงิน ไม่มี project ใหม่ขยายออกไปแล้ว หรือโคงการใหม่ๆ มีผลตอบแทนน้อยกว่า existing project เพราะถ้ามีทำไมไม่ลงทุนให้เราเพื่อเพิ่มกำไร ทางทฤษฎ๊การเงิน แสดงว่ากิจการเข้าสู่วงจรชะลอตัวถึงถดถอย คล้ายๆ กับบรฺทที่จ่ายอัตราปันผลมากๆ 60-70% หรือ อาจเกือบ 100% แสดงว่ากาเอาเงินไป reinvest หรือไม่ม๊โครงการที่สร้างผลกำไรเพิ่มได้ การซื้อหุ้นคืนกลับย่อมไม่ช่เรื่องดีนัก เพราะดานหนึ่ง กิจการแต่ง ROE ด้วย
ส่วนการจ่ายหุ้นปันผล มี 2 นัย คือ กิจการไม่มีเงินสดมกพอ ก่อหนี้ก็ไม่ไหว ในมุมหนึ่งคือมีเงินแต่กิจการเห็นโอกาสลงทุนในโครงการใหม่ว่าให้ประโยชน์มากกว่า (ROCI) หากเป็นเช่นนั้นไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้ เพราะการจ่ายหุ้นปันผลทำให้ EPS เกิด dilute ถ้ากำไรไม่มากพอกับหุ้นที่เพิ่มจะทำให้ราคาหุ้นลดลง
Credit: https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul?fref=nf