วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ดียังไง ได้ปันผลเป็นหุ้น


ดียังไง ได้ปันผลเป็นหุ้น


420shares-420x0
ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ Shareholders’ Equity เป็นองค์ประกอบทางการเงินที่สำคัญยิ่งของบริษัททุกแห่ง เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจทั้งหมด โดยการเป็นแหล่งทุนเริ่มแรกเพื่อนำไปผลิตสินค้าหรือบริการที่จะกลายเป็นยอดขายให้กับบริษัท เพื่อสร้างผลกำไรให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเติบโตยิ่งๆ ขึ้นไปไม่รู้จบ
ตามหลักบัญชีขั้นพื้นฐาน โครงสร้างทางการเงินของบริษัทจะเป็นไปตามสมการที่ว่า สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของผู้ถือหุ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า สินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท ถ้าไม่ได้มาด้วยเงินของเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น) เอง ก็เกิดจากการก่อหนี้สินเพื่อไปซื้อมา screenshot.354
โดยทั่วไป ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ทำธุรกิจมาแล้วมีผลกำไรตามที่ต้องการ จะประกอบด้วย 2ส่วนหลักๆ คือ
1) ทุนชำระแล้ว (เงินทุนที่ผู้ถือหุ้นนำเข้ามาในบริษัทจริงๆ) และ
2) กำไรสะสม (ผลรวมของกำไรสุทธิที่ได้จากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา)
screenshot.355
สำหรับการลงทุนในหุ้นซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คุ้นเคยกันดี แท้จริงแล้ว ก็คือการซื้อมูลค่าของส่วนของผู้ถือหุ้นที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ เท่าๆ กัน (หรือที่เรียกว่า หุ้น) เพื่อให้คนจำนวนมากสามารถร่วมกันเป็นเจ้าของบริษัทได้ตามสัดส่วนเงินที่เราร่วมลงทุนไป นั่นเอง
และเมื่อบริษัทสามารถดำเนินธุรกิจจนมีผลกำไร บริษัทมีทางเลือกในการจัดสรรผลกำไร  2 แนวทางคือ (1) เก็บไว้เป็นทุนหมุนเวียนภายในบริษัท ในรูปของกำไรสะสม หรือ (2) ส่งผลกำไรกลับไปยังผู้ถือหุ้น ในรูปของการจ่ายปันผล
ซึ่งทั่วไป เรามักพูดกันถึงวิธีการจัดการสินทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หรือการบริหารหนี้สินให้บริษัทสามารถปฏิบัติตามสัญญาที่มีต่อเจ้าหนี้ได้อย่างครบถ้วน แต่ในโอกาสนี้ จะขอนำเรื่องการจ่ายปันผล ที่กระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับนักลงทุนอย่างเราๆ ท่านๆ มาเล่าให้ฟังครับ
1. ข้อกฎหมายและประเด็นภาษีเงินได้
1.1 คุณสมบัติของบริษัทที่จะจ่ายปันผลได้
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 115 กำหนดไว้ว่า “การจ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไรจะกระทำมิได้ ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล”
ดังนั้น บริษัทจะจ่ายเงินปันผลได้ ส่วนทุนจะต้องมีกำไรสะสมเป็นบวกอยู่เท่านั้น หากบริษัทไหนมีผลขาดทุนสะสมค้างอยู่ ถึงแม้บางปีจะมีกำไรสุทธิ แล้วอยากจะจ่ายปันผล ก็ไม่สามารถทำได้ (แต่กรณีนี้ก็สามารถใช้กลยุทธ์ลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมก่อนแล้วค่อยจ่ายปันผลก็ได้)
1.2 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และการเครดิตภาษี
บริษัทที่เป็นผู้จ่ายปันผล มีหน้าที่หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย (“Withholding Tax) ในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่าปันผลที่จ่าย (ไม่ว่าจะจ่ายปันผลเป็นเงินสด หรือ เป็นหุ้น ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป) เช่น บริษัท ABC จำกัด (มหาชน) ประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 10 บาท หากเราถือหุ้น ABC อยู่จนมีสิทธิได้รับเงินปันผล จำนวน 100 หุ้น เราก็จะได้เงินสดสุทธิ 10 x 100 x 90% หรือ 900 บาท โดยบริษัทจะหักเงินไว้ 100 บาทเพื่อนำส่งกรมสรรพากรต่อไป
นอกจากนั้น ผู้ที่ได้รับเงินปันผล ยังสามารถพิจารณาขอคืนภาษี หรือที่เรียกว่า การเครดิตภาษี ได้ด้วย ซึ่งมีการคำนวณดังนี้ [อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทที่จ่ายปันผล] หารด้วย [1 – อัตราภาษีฯ] เช่น ABC ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของกำไร อัตราการได้รับเครดิตภาษีของผู้ถือหุ้นจะเท่ากับ 20% / (100% – 20%) หรือ 1/4 แล้วนำไปคูณกับจำนวนปันผลที่ได้รับ (อ่านเพิ่มเติมเรื่องเครดิตภาษีได้ที่นี่  http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata47_2)
2. รูปแบบการจ่ายเงินปันผล
นอกจากการจ่ายปันผลเป็นเงินสด ซึ่งทำกันโดยทั่วไป บริษัทอาจเลือกตอบแทนผู้ถือหุ้นด้วยการจ่ายเป็นหุ้นปันผลแทนก็ได้ (หุ้นก็สามารถตีมูลค่าเป็นเงินได้เช่นกัน)
2.1 กรณีจ่ายปันผลเป็นเงินสดล้วน ๆ
สมมติบริษัท ABC จ่ายปันผลเป็นเงินสด หุ้นละ 1.15 บาท และมีหุ้นทั้งหมด 10 ล้านบาท คิดเป็นเงินสดที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 11.50 ล้านบาท
• ก่อนจ่ายปันผล
screenshot.355
• หลังจ่ายปันผลเป็นเงินสด จำนวนรวมทั้งสิ้น 11.50 ล้านบาท
screenshot.356
ซึ่งเงินปันผล 11.50 ล้านบาทนั้น จะไปถึงผู้ถือหุ้นจริง ๆ เพียง 10.35 ล้านบาท ส่วนอีก 1.15 ล้านบาท จะถูกหักไว้เป็น Withholding Tax
จุดสังเกต #1: ส่วนของผู้ถือหุ้นตอนนี้จะเหลือ 138.50 ล้านบาท
2.2 กรณีจ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสด
สมมติให้บริษัท ABC
  • จ่ายหุ้นปันผล อัตรา 10 หุ้นเดิม ได้หุ้นใหม่เป็นหุ้นปันผล 1 หุ้น (10:1) ซึ่งเดิมมีหุ้นอยู่ 10 ล้านหุ้น เมื่อจ่ายหุ้นปันผลแล้วก็จะมีหุ้นเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านหุ้น (ราคาพาร์ 10 บาทเท่าเดิม) รวมเป็นหุ้นทั้งหมด (เดิม + ปันผล) 11 ล้านหุ้น โดยบริษัทจะลดกำไรสะสมลงไป 10 ล้านบาท และไปเพิ่มทุนจดทะเบียนขึ้นมาอีก 10 ล้านบาท
  • จ่ายเงินสดปันผล 0.15 บาท/หุ้นเดิม มีมูลค่าเท่ากับ 0.15 x 10 ล้านหุ้น หรือ 1.50 ล้านบาท
รวมมูลค่าของการจ่ายปันผลทั้งสิ้น 10 (หุ้นปันผล 1 ล้านหุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 10 บาท) + 1.50 (เงินสดปันผล) = 11.50 ล้านบาท (ตั้งใจให้เท่ากับกรณีจ่ายปันผลเป็นเงินสดล้วนๆ เพื่อให้เทียบกับได้ชัดเจน) ทำให้มี Withholding Tax เกิดขึ้น 11.50 x 10% หรือ 1.15 ล้านบาท
• ก่อนจ่ายเงินปันผล
screenshot.357
• หลังจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้นและเงินสดผสมกัน
screenshot.358
จุดสังเกต #2: ส่วนของผู้ถือหุ้นตอนนี้จะเหลือ 148.50 ล้านบาท มากกว่าวิธีแรก 10 ล้านบาท
ถึงจุดนี้ อาจจะสงสัยว่า บริษัทจะจ่ายแต่หุ้นปันผลล้วน ๆ ไม่จ่ายเป็นเงินสดได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะหากไม่มีการจ่ายเงินสดออกมาด้วย บริษัทก็ไม่รู้จะนำเงินของบริษัทเองส่วนไหนไปจ่ายเป็น Withholding Tax ให้ราชการ (จึงต้องหักเอาจากเงินได้ของผู้ถือหุ้นเอง) กล่าวอีกอย่าง การที่บริษัทจำเป็นต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดควบคู่กันไปด้วย ก็เพื่อรองรับการหัก Withholding Tax นั่นเอง จึงเป็นข้อสังเกตได้ว่า เมื่อบริษัทจะจ่ายปันผลเป็นหุ้น ก็จะต้องจ่ายปันผลเป็นเงินสดตามมาด้วยอีกเล็กน้อย เสมอ
ตัวอย่างจริง:
  • บริษัทเอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (AP) จ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 5:1 และเป็เิงินสด  0.18 บาทต่อหุ้น http://www.set.or.th/dat/news/201103/11011391.pdf
  • บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) (HMPRO) จ่ายปันผลเป็นหุ้นในอัตรา 6:1 (หุ้น HMPRO มีราคาพาร์ 1 บาท การจ่ายหุ้นปันผล 6:1 จึงเท่ากับจ่าย 0.16667 บาทต่อหุ้น) และเป็นเงินสด 0.0193 บาทต่อหุ้น http://www.set.or.th/dat/news/201102/11004826.pdf

3. เปรียบเทียบการจ่ายปันผลวิธีต่างๆ


ประเด็นจ่ายปันผลเป็นเงินสดอย่างเดียวจ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสด
(ใช้ตัวอย่างจากข้อ 2.2)
 
1. มูลค่ารวมของสิ่งผลตอบแทน
ที่ผู้ถือหุ้นได้รับ
ไม่ต่างกันไม่ต่างกัน
2. Withholding Tax
ที่นำส่งกรมสรรพากร
ไม่ต่างกันไม่ต่างกัน
3. มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
หลังจ่ายปันผล
ลดลงมากกว่า
เนื่องจากจ่ายเป็นเงินสดทั้งหมด
ลดลงน้อยกว่า เพราะจ่ายเป็นเงินสดเพียงเพื่อรองรับ Withholding Tax เท่านั้น
4. มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น
หลังจ่ายปันผล
จะลดลงเท่ากับจำนวนเงินปันผลจ่ายต่อหุ้นจะลดลงตามสัดส่วนการได้หุ้นปันผล เช่น เดิม บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้น 150 ล้านบาท มีจำนวนหุ้นทั้งสิ้น 10 ล้านหุ้น มูลค่าต่อหุ้นจึงเท่ากับ 15 บาทใหม่ ส่วนผู้ของถือหุ้น 148.50 ล้านบาท (หักเงินปันผลที่เป็นเงินสด) และมีจำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 11 ล้านหุ้น มูลค่าต่อหุ้นจึงลดลงเหลือ 13.50 บาท (ลดลง 10%) ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นแต่ละรายจะไม่ขาดทุน เพราะจะได้จำนวนหุ้นเพิ่มมาอีก 10% (อัตรา 10:1)
5. ราคาหุ้นในตลาด
หลังบริษัทแจ้งข่าวการจ่ายปันผล
มักจะเพิ่มสูงขึ้นมักเพิ่มสูงขึ้นกว่าการจ่ายปันผลเป็นเงินสดล้วน ๆ เนื่องจากมูลค่ากิจการจะไม่ลดลงมากเท่ากรณีจ่ายเป็นเงินสดล้วน ๆ ในขณะที่ผู้ถือหุ้นจะได้สิ่งตอบแทนที่มีมูลค่าไม่ต่างกัน
6. ราคาหุ้นในตลาด ณ วันขึ้นเครื่องหมาย X.Dมักจะลดลงเท่ากับเงินปันผลจ่ายต่อหุ้นมักจะลดลงตามสัดส่วนการได้หุ้นปันผล +  เงินปันผลส่วนที่จ่ายเป็นเงินส
ซึ่งเท่าที่ดูจากตารางข้างต้น การที่บริษัทเลือกจ่ายปันผลเป็นหุ้น (+ เงินสดเล็กน้อย) เหมือนจะเป็นทางเลือกที่ Win-Win ทั้งกับฝ่ายบริษัทและฝ่ายผู้ถือหุ้น เพราะฝ่ายบริษัทไม่ต้องจ่ายเงินสดออกไปนอกกิจการมากนัก แค่โอนตัวเลขรายการในส่วนของผู้ถือหุ้นไปมา ซึ่งเป็นผลดีต่อมูลค่ากิจการ ส่วนฝ่ายผู้ถือหุ้นก็ได้มูลค่าสิ่งตอบแทนเท่ากัน เมื่อเทียบกับการได้รับเงินปันผลเป็นเงินสดล้วน ๆ
ดังนั้น หากเราถือหุ้น แล้วไม่ได้ปันผลเป็นเงิน แต่ได้เป็นหุ้น จงดีใจ 
CR:http://thailandinvestmentforum.com/2014/10/26/dividendpayment/

“Rule of 72” กฎของเลข 72 ประยุกต์ยังไง ในการลงทุน ?




Albert Einstein ผู้ค้นพบกฎของเลข 72 ได้อ้างหลักการจากการคิดอัตราดอกเบี้ยทบต้น และได้กล่าวไว้ว่า “นี่คือการค้นพบระบบคณิตศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด…” Albert Einstein is quoted as saying: “It is the greatest mathematical discovery of all time” ดังนั้นTerraBKK Research จึงนำเสนอความน่าสนใจ “กฎของเลข 72″ นี้ ว่าสามารถประยุกต์ในการลงทุนได้ยังไง ? TerraBKK Research อธิบายว่า กฎของ 72 คือ สูตรการคำนวณเบื้องต้นอย่างง่าย “เป็นการคาดการณ์โดยประมาณว่า จะใช้ “ระยะเวลา” หรือ “อัตราดอกเบี้ย” เท่าไหร่ จึงจะทำให้ เงินลงทุนก้อนแรก นั้นโตเป็น 2 เท่าได้” สามารถคำนวณได้ตามสูตร ดังนี้


สำหรับการประยุกต์ใช้ในการลงทุน TerraBKK Research ให้ข้อสังเกตว่า ยิ่งอัตราผลตอบแทน (%ต่อปี)มากขึ้น ยิ่งใช้เวลาสั้นลง ซึ่งการเพิ่มอัตราผลตอบแทน จะสามารถประหยัดเวลาได้อย่างมากในช่วงอัตราผลตอบแทนน้อย และจะประหยัดเวลาลดลงในระดับอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น ตารางดังนี้



เห็นได้ว่า การลงทุนที่อัตราผลตอบแทน 1% และ 2% สามารถประหยัดเวลาที่เงินลงทุนเพิ่มค่าเป็น 2 เท่า ได้สูงสุดถึง 36 ปี และการประหยัดเวลาที่มีหน่วยเป็น “จำนวนปี”นั้นจะลดลงไปเรื่อย จนถึงอัตราผลตอบแทนที่ 10% การประหยัดเวลาจะมีหน่วยเป็น”จำนวนเดือน” และลดลงไปเรื่อยเช่นกัน ดังนั้น TerraBKK Research แนะนำว่า อย่ามองข้าม การลงทุนที่อาจมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงไม่น่าจูงใจ เพราะอย่างน้อย ก็สามารถย่นระยะการเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนเป็น 2 เท่าได้ไม่น้อย เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นการลงทุน ระหว่างนั้นก็ทำการศึกษาข้อมูลเพิ่ม พัฒนาตัวเอง และสะสมประสบการณ์ เพื่อก้าวต่อไปในการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นนั้นเอง ตัวอย่างการลงทุน “กฎของ 72” สามารถประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้

นอกจากการลงทุนแล้ว กฎของ 72 ยังสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในเรื่องรอบตัว ได้ด้วย ดังนี้





ท้ายนี้ TerraBKK Research ฝากไว้ว่า “Rule of 72″ หรือ “กฎของเลข 72″ เป็น สูตรการคำนวณอย่างง่ายโดยค่าประมาณ เพื่อใช้คิดว่า “อัตราผลตอบแทน” หรือ “ระยะเวลา” เบื้องต้น ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจเลือกการลงทุนใด ควรศึกษาถึงรายละเอียด, ส่วนประกอบ หรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบทุกครั้ง

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com - http://terrabkk.com/?p=30204

มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) : เงินมีมูลค่าเปลี่ยนไป เพราะอะไร ?


เมื่อเวลาเปลี่ยน ค่าของเงินก็เปลี่ยน การอุปโภคบริโภคบางสินค้า แม้ไม่ได้รับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใดๆ แต่ทำไมมีราคาขายแพงขึ้น อย่างที่ทุกคนทราบดีว่า ปัจจัยคงไม่ได้อยู่ แค่ผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่เป็นพราะมูลค่าของเงินที่ลดลงไปเรื่อยตามกาลเวลา และสิ่งที่ช่วยอธิบายคำตอบได้ดีที่สุด นั้นคือ มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) พื้นฐานความรู้ด้านการเงินที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน TerraBKK ขออธิบายภาพรวมความเป็นมา เรื่องมูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) ด้วยความเข้าใจง่ายๆ อย่างที่เคยได้ยินมาว่า เงิน 100 บาทในวันนี้ จะมีมูลค่าไม่ถึง 100 บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า และถ้าปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ มูลค่าของเงินจะลดลงไปเรื่อยในปีถัดไป สังเกตได้จากค่าครองชีพที่สูงขึ้นทุกปี จากอัตราเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน หากนำเงิน 100 บาทนั้น ไปลงทุน ฝากแบงค์ก็จะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝากที่ธนาคารกำหนด เมื่อฝากเงินนานขึ้น มูลค่าของเงินก็จะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้ เป็นกลไกพื้นฐานด้านการเงินง่ายๆ ที่เราพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) จึงประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้ 


  • มูลค่าปัจจุบัน ( Present value :PV ) หมายถึง มูลค่าของเงิน ณ ปัจจุบัน เช่น เงิน 100 บาทในวันนี้ เป็นต้น 
  • มูลค่าอนาคต ( Future value : FV ) หมายถึง มูลค่าของเงินในอนาคต เช่น เงินที่มีมูลค่าไม่ถึง 100 บาทในอนาคต เป็นต้น 
  • จำนวนครั้งการทบต้น ( Compounding Periods : n ) หมายถึง ระยะเวลาในการคำนวณหามูลค่าเงินก้อนนั้นๆ เช่น ระยะเวลาการลงทุน , ระยะเวลาเงินฝากธนาคาร เป็นต้น 
  • อัตราคิดลด ( Discount rate : I ) หมายถึง อัตราที่ใช้คำนวณหามูลค่าเงินก้อนนั้นๆ ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราเงินเฟ้อ , อัตราเงินฝาก , อัตราผลตอบแทนการลงทุน เป็นต้น ทั้งหมดนี้ จะมีความสัมพันธ์ตามสูตรการคำนวณ ดังนี้ 


TerraBKK ขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ “มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money)” ในชีวิตประจำวันอย่างง่าย ดังนี้ “สมมติ มีเงินเก็บอยู่ 400,000 บาท ไม่ค่อยมีความรู้ด้านทางลงทุนมากนัก ตลอด 3 ปี ได้กระทำการ 4 อย่าง ดังนี้ (กำหนด อัตราเงินเฟ้อ 2.18% ต่อปี) เพื่อนขอยืมเงินเพื่อรักษาแม่ จำนวน 100,000 บาท ถือเป็นน้ำใจมิตรภาพ ไม่คิดดอกเบี้ย และได้รับเงินคืนเต็มจำนวนในปีที่ 3 ฝากธนาคารแบบประจำ จำนวน 100,000 บาท ได้ดอกเบี้ย 1.75% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ลงทุนพันธบัตร จำนวน 100,000 บาท ได้อัตราผลตอบแทน 3% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ลงทุนซื้อกองทุนรวมอสังหาฯ จำนวน 100,000 บาท ได้อัตราผลตอบแทน 6% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี” TerraBKK ขออธิบายว่า อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี เงินจำนวน 100,000 บาทแต่ละก้อน จะมีมูลค่าเงินคงเหลือ 93,602 บาท ตามอัตราเงินเฟ้อ 2.18% ต่อปี นั้นคือ มีมูลค่าลดลง 6,398 บาท ( = 100,000 – 93,602 ) ตารางดังนี้ 


 จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี เงินจำนวน 100,000 บาท ในแต่ละก้อน ย่อมมีมูลค่าเงินเปลี่ยนไปตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถคำนวณการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเงินได้ ตารางดังนี้ 


จากตาราง TerraBKK ขออธิบายว่า 1. การได้รับเงินคืนในปีที่ 3 จำนวน 100,000 บาท ตามจำนวนเงินเต็มที่ให้ยืม ให้ผลขาดทุน 6,398 บาท ดูเหมือนว่า เป็นการกระทำไม่ได้ไม่เสีย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อัตราเงินเฟ้อจะทำให้มูลค่าเงินลดลง คงเหลือ 93,602 บาท จึงให้ผลขาดทุน 6,398 บาท ตามอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ยังเป็นการเสียโอกาสนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นด้วย 2. เงินฝากธนาคารแบบประจำ จำนวน 100,000 บาท ตลอด 3 ปี ให้ผลขาดทุน 1,056 บาท การฝากเงินธนาคาร สามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 5,342 บาท ( = 105,342 – 100,000 ) แต่ยังน้อยกว่า เงินเฟ้อ (6,398 บาท) เพราะ การฝากเงินธนาคารที่ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ( 1.75 % ต่อปี ) ต่ำกว่า อัตราเงินเฟ้อ (2.18% ต่อปี ) ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าเงินได้มากเพียงพอต่อการลดมูลค่าของเงินเฟ้อได้ จึงทำให้เกิดผลขาดทุน 3. ลงทุนพันธบัตร จำนวน 100,000 บาท ได้อัตราผลตอบแทน 3% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ให้ผลกำไร 2,874 บาท การลงทุนพันธบัตรให้อัตราผลตอบแทน (3% ต่อปี ) สูงกว่า อัตราเงินเฟ้อ (2.18% ต่อปี ) จึงทำให้เกิดผลกำไร เพราะการลงทุนใดก็ตาม ที่ให้อัตราผลตอบแทน สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ย่อมเป็นผลดี และได้ผลกำไรอย่างแน่นอน 4. ลงทุนซื้อกองทุนรวมอสังหาฯ จำนวน 100,000 บาท ได้อัตราผลตอบแทน 6% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี ให้ผลกำไร 12,703 บาท การลงทุนซื้อกองทุนรวมอสังหา ฯ ให้อัตราผลตอบแทน (6% ต่อปี ) สูงกว่า อัตราเงินเฟ้อ (2.18% ต่อปี ) จึงทำให้เกิดผลกำไรที่มากกว่า เหตุใดการลงทุนจึงก่อให้เกิดผลกำไร เพราะการลงทุนใดๆก็ตามย่อมมีความเสี่ยง ยิ่งเสี่ยงสูง ผลตอบแทนก็ยิ่งสูง เพื่อเย้ายวนให้ทำการลงทุนเพื่อคาดหวังผลกำไร ท้ายนี้ TerraBKK ขอสรุปว่า เงินจะมีมูลค่าเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่มากระทบ อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยพื้นฐานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั้นแปลว่า หากปล่อยเงินทิ้งไว้เฉยๆ มูลค่าของเงินจะลดลงตามอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น หากต้องการคงมูลค่าเงินไว้ จึงต้องบริหารเงินหรือทำการลงทุน ที่ให้ผลตอบแทน อย่างต่ำ เท่ากับอัตราเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกัน เมื่อมีการบริหารเงินหรือทำการการลงทุน จะมีผลตอบแทนในรูปแบบต่างๆมาเกี่ยวข้อง เช่น อัตราดอกเบี้ยรับ อัตรากำไรเฉลี่ย อัตราเงินปันผล ฯลฯ ทำให้มูลค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น มูลค่าเงินตามเวลา (Time Value of Money) คือสิ่งสำคัญ ที่เตือนทุกท่านว่า เงินสดที่เราถืออยู่วันนี้ จะด้อยค่าลงตามกาลเวลา หากเราไม่ทำอะไรเลย หรือเก็บใส่ตุ่มไว้เฉยๆ นั้นเอง 

อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ : TerraBKK.com - http://terrabkk.com/?p=18962