หลักเกณฑ์การเลือกหุ้นลงทุนเบื้องต้น
1. ROE สูงๆ (> 15-20%)
บริษัทมีความรับผิดชอบต่อ (accountability) ต่อผู้ถือหุ้น
ดังนั้นในเบื้องต้นจึงพิจารณาบริษัทที่ทำ ROE ได้สูงๆ ต่อเนื่อง
ติดต่อกันหลายปี หากต่ำกว่าเกณฑ์ แนวโน้มสามสี่ปีควรสูงขึ้นต่อเนื่อง
ถ้าให้ลึกควรแยกองค์ประกอบ
ROE = NI/Sales x Sale/Total Asset x Total Asset/Total Liability
หรือแปลความง่ายๆคือ ความสามารถในการทำกำไร (อัตรากำไรสุทธิ NM) x
ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ (AT) x ความเสี่ยง (Leverage = TA/TL = 1+D/E)
เราควรเลือกบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรดีๆ
และมีประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์สูงๆ เพราะอาจมีบริษัทที่มี ROE สูงๆ
ย่อมเสี่ยงกว่าบริษัทที่มี ROE เท่ากันแต่หนี้ต่ำกว่า
2. ROA ( >
10%) หลักการคล้ายกัน แต่ ROA
บอกถึงความสามารถผู้บริหารว่าเก่งมากน้อยแค่ไหน
โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับธุรกิจเดียวกันหรือคล้ายกันยิ่งเห็นชัด และ
ROA =
EBIT/Sales x Sale/TA x TA/TL ตีความเหมือนกันแต่เปลี่ยนจาก NM (Net
Margin) ใน ROE เป็น Operating Margin (OM = EBIT/Sales) ใน ROA
ที่แยกสองข้อเพราะเมื่อกรองหุ้นบริษัทที่ NM สูงกว่า OM บอกว่ามีกำไรแปลกๆ
เกิดขึ้น EBIT ที่ถูกต้องจะไม่รวม กำไรจากการขายสินทรัพย์
กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนแบ่งกำไร หรือพวก
one-time gain/loss นั่นเอง และการวัดด้วย EBIT
หมายถึงการตัดเรื่องโครงสร้างทุนออกก่อน (โครงสร้างทุนวัดใน ROE แล้ว)
ผู้บริหารคนไหนเก่งการบริหารการจัดการ โดยเฉพาะการตลาดจะวัดเทียบกันได้
หากเอาดอกเบี้ยที่เกิดจากการจัดโครงสร้างทุนมาวัดจะไม่เห็นฝีมือชัดเจน
(ใครงงให้ไปอ่านรายละเอียดในหนังสือผมครับ) บางคนไม่เก่ง แต่ถ้าวัดแบบเก่า
(NI/TA) ได้สูงกว่า แต่พอดูด้วย EBIT/TA กลับด้อยกว่า การบริหารยุคใหม่ CEO
และ CFO แยกหน้าที่กันแล้ว แต่บ้านเรา CFO
ยังทำหน้าที่ผู้อำนวยการฝ้ายบัญชีและการเงินอยู่เลย
3. ดู GM (Gross Margin) OM (Operating Margin) NM (Net Margin) ว่า
1. คงที่ต่อเนื่องหรือไม่ค่าสูง ยังไม่ดีเท่ามั่นคงต่อเนื่อง
บางคนเลือกเอาที่ปีนี้สูงๆ บางที่ก็ดีแค่ปีนี้ปีเดียว พอมันตก ราคาหุ้นก็ลง
ขายกันไม่ทันเลยละ
2. ควรพิจารณา gap
ทั้งสามค่าว่ารักษาสัดส่วนที่คงที่
เพราะช่วงต่างแต่ละช่วงบอกค่าใช้จ่ายในกิจการโดยรวมได้ดี GM ไปยัง OM
คือสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร OM ไปยัง NM คือ
ต้นทุนการเงินหรือดอกเบี้ยจ่าย และภาษี
เราจะพอเห็นภาพได้ว่าบริษัทมีภาระค่าใช้จ่ายคงที่ตรงไหนมาก
4.
อัตราจ่ายปันผล มั่นคงต่อเนื่องไหม ถ้าบริษัทกำลังโต ไม่ควรจ่ายมาก
ควรเอากำไรบางส่วนไปสร้างการเติบธุรกิจ โดยทฤษฎี g (Sustainable Growth) =
ROE x ( 1 – Dividend Payout Ratio)
กิจการที่จ่ายมากแสดงว่าอุตสาหกรรมเริ่มอิ่มตัว
5. CFO++ วัดด้วย QE
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (ต้องหักเงินสดจ่ายดอกเบี้ยแล้ว)
ต้องแข็งแกร่งมากๆต่อเนื่องให้ดูคุณภาพกำไร (Quality of Earning) = NI/CFO
6. D/E ต้องไม่สูงเกินไป ปกติจะดูไปพร้อมกับ Debt/EBIT ควรน้อยกว่า 8 (น้อยกว่า 5 ยิ่งดี)
7. AT มักจะเลือกที่มากๆ คือเกิน 1 และไม่แกว่งในระยะยาว ( 5 ปี)
8. CFO+ CFI- CFF- มีรูปแบบกระแสเงินสดที่ดี คือ มีดำเนินงานเป็นบวก
มีการลงทุนใน PPE (ที่ดินอาคารและอุปกรณ์) จ่ายคืนหนี้ และจ่ายปันผล
เอาง่ายๆ 8 ข้อ
CR:https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul?fref=nf