สมการความรวย
เงินในปีที่n = เงินต้นx(100+ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี)ยกกำลังn
100
ยกตัวอย่าง:ลงทุนด้วยเงินต้น1,000,000บาท ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย3ปีเท่ากับ10%
เงินในปีที่3 = 1,000,000x(100+10) ยกกำลัง3
100
= 1,000,000x(1.1)ยกกำลัง3
= 1,331,000 บาท
จากสมการความรวย จะเห็นว่ามีตัวแปร 3ตัว คือ
1.เงินต้น
2.ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี
3.จำนวนปี
ตัวแปรทั้ง3ตัวมีความสำคัญทุกตัว ถ้าคุณอยากจะรวยคุณต้องลงทุนด้วยเงินต้นที่มากพอ ลงทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่สูง และลงทุนต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผมจะแสดงตัวอย่างให้เห็นว่าถ้าตัวแปรแต่ละตัวเปลี่ยนไปจะให้ ความรวยของคุณเปลี่ยนไป
เงินต้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเก็บหอมรอมริบเงินของคุณ เงินต้นที่มากกว่าจะทำให้คุณรวยมากกว่า
ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี ขึ้นอยู่กับว่าคุณลงทุนในสินทรัพย์ชนิดไหน? และได้ผลตอบแทนเท่าไหร่?
จำนวนปี ขึ้นอยู่กับความอดทนของคุณ
ตัวแปรที่1และ3 ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนเกินความเข้าใจ แต่ตัวแปรที่2ค่อนข้างจะซับซ้อนและมีรายละเอียดค่อนมากจึงจะอธิบายวิธีการลงทุนให้ได้ผลตอบแทนสูง ในบทความต่อไป
เขียนโดย เอกพงษ์ บุญจร
วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สรุปเนื้อหาหนังสือ กุญแจ 5 ดอก ดร.ชาคริต
กุญแจ 5 ดอกของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า แปลโดยคุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข(ต้นฉบับมาจาก The 5 Keys to Value Investing เขียนโดย J. DennisJean-Jacques)
J. Dennis Jean-Jacques เคยทำงานเป็นนักวิเคราะห์ของ Fidelity Investments สำนักการลงทุนแห่งเดียวกับเซียนหุ้นบรรลือโลก ปีเตอร์ ลินซ์ (Peter Lynch) ก่อนที่จะย้ายมาทำงานร่วมกับ ไมเคิล ไพรซ์ (Michael Price) ที่กองทุน Mutual Series Fund ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสุดยอดกองทุนแบบเน้นคุณค่าแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนเริ่มต้นทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์ของกองทุนแห่งนี้ จากนั้นก็ได้เลื่อนมาเป็นผู้จัดการกองทุน หลังจากที่ ไมเคิล ไพรซ์ ได้เกษียณตัวเองจากการบริหาร
การดำเนินงานของ Mutual Series Fund จะเน้นไปที่การหาหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินมากๆ หลักการลงทุนของ กองทุนแห่งนี้จะเน้นไปที่การตรวจสอบงบการเงิน โดยเฉพาะตรวจสอบ ‘งบดุล’ เป็นหลัก คล้ายๆกับการลงทุนของต้นตำรับอย่าง เบนจามิน เกรแฮม
ดังที่ ไมเคิล ไพรซ์ กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า
อย่างแรก ราคาหุ้นของบริษัทจะต้องอยู่ในระดับที่มีส่วนลดจากมูลค่าทรัพย์สิน
อย่างที่สอง ผู้บริหารต้องถือหุ้นของบริษัท ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
อย่างสุดท้าย งบดุลของบริษัทต้องสะอาดหมดจด มีหนี้สินน้อย ซึ่งนั่นจะชี้ว่า ความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ หากคุณดูทั้งสามสิ่งนี้ คุณจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ
นอกเหนือจากนั้น ไมเคิล ไพรซ์ ยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการลงทุนของเขา กับการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ อีกว่า วิธีการไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือแนวคิด ”บัฟเฟตต์จะเด่นในเรื่องการเสาะหาธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน เราไม่เก่งในเรื่องนั้น เราจะมองหาคุณค่า”
การลงทุนของ Mutual Series Fund ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ ไมเคิล ไพรซ์ อย่างมาก โดยเฉพาะที่ผ่านมา การตัดสินใจการลงทุนทั้งหมดจะมาจาก ไมเคิล ไพรซ์ เพียงคนเดียว และกองทุนแห่งนี้ก็ได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจในระยะยาว
ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงคำถาม 5 ข้อ ที่นักลงทุนควรจะพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุนของตน กฎเกณท์เหล่านี้ เรียกว่า กุญแจ 5 ดอก ซึ่งนักลงทุนสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การลงทุนของตนเองได้เป็นอย่างดี
กุญแจ 5 ดอกของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า สามารถสรุปคร่าวๆได้ดังต่อไปนี้
นับว่าเป็นแนวคิดที่ผมเชื่อว่าเป็นต้นแบบหนึ่งที่ดีที่สุดของการลงทุนแนวพื้นฐานหรือที่หลายๆท่านเรียกว่าValue Investment (VI) แนวคิดที่ว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 5อย่าง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางที่เรายึดถือปฏิบัติได้จริงก่อนพิจารณาลงทุนในบริษัทหนึ่งๆกุญแจ 5 ดอกกับการประยุกต์ใช้ที่ว่า ได้แก่
กุญแจดอกที่หนึ่ง : บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ดีหรือไม่
ธุรกิจการพิจารณาตัวธุรกิจที่เราจะลงทุนควรจะเริ่มจากการที่เราเข้าใจในธุรกิจนั้นๆอย่างถี่ถ้วน ว่าธุรกิจนั้นๆมีการเข้าออกของเงินอย่างไรปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรายจ่ายและรายได้ของตัวบริษัทคืออะไรความเสี่ยงของตัวธุรกิจคืออะไรรวมไปถึงธรรมาภิบาลของผู้บริหารในบริษัทนั้นๆ เป็นอย่างไรข้อมูลส่วนนี้เราอาจจะหาเบื้องต้นได้จาก แบบ 56-1 ซึ่ง download ได้จากset.or.th หรือ sec.or.th อย่างน้อยๆ สิ่งที่เราควรจะต้องผ่านตาคือ บทของBusiness, Product, Risk, Financial ใน แบบ 56-1 นอกจากนั้นข้อมูลอื่นๆอาจจะหาได้จากบทสัมภาษผู้บริหาร, Oppday, AGM, หรือเว็บไซท์ของบริษัท
กุญแจดอกที่สอง : มูลค่าที่เหมาะสมของบริษัทนี้อยู่ที่เท่าไหร่
มูลค่าที่เหมาะสมมูลค่าที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่บอกด้วยตัวเลขที่แน่นอนค่อนข้างยากมูลค่าที่เหมาะสมของตัวเราอาจจะไม่เท่ากับของคนอื่นเนื่องจากแต่ละคนมีสมมุติฐานในการคำนวณมูลค่าแตกต่างกันปกติแล้ววิธีการคำนวณมูลค่ามีหลายวิธี ที่นิยมใช้กันมากคือใช้ค่า P/Eไปจนถึงวิธีที่ต้องใช้สมมติฐานค่อนข้างเยอะคือ DCF ผมมองว่าการใช้ P/Eในการบอกมูลค่าที่เหมาะสม จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เนื่องจากค่าP/E ที่เราให้กับบริษัทหนึ่งๆ ค่อนข้าง subjectiveเรามักจะต้องสั่งสมประสบการณ์ในตลาดพอสมควรจึงจะบอกได้ว่า P/Eที่เหมาะสมของบริษัทนั้นนี้ น่าจะมีค่าเท่าไหร่ ซึ่งการอยู่ในตลาดนานๆและการมองค่า P/E ของบริษัทในอดีตประกอบ จะทำให้เราเข้าใจและให้ค่า P/Eกับบริษัทในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมได้ดีขึ้น สำหรับ DCFนั้นต้องใช้องค์ประกอบหลายตัวในการคำนวณโอกาสในการผิดพลาดก็ยิ่งจะมากขี้นไปอีกสำหรับหนังสือเล่มนี้ใช้วิธีการหามูลค่าที่เหมาะสมหลายๆวิธีแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกทีซึ่งผมก็คิดว่าทำให้เราได้ค่าที่ออกมาไม่โอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป
กุญแจดอกที่สาม : ราคาหุ้นของบริษัทอยู่ในระดับที่น่าสนใจหรือไม่
ราคาหุ้นสำหรับปัจจัยนี้ ผมคิดว่าเป็นแค่ตัวที่ใช้อ้างอิงให้เรารู้ว่า ณ เวลานี้เราควรลงทุนกับบริษัทนี้หรือไม่ ซึ่งเราอาจจะมีกฏการลงทุนของเราเอง เช่นในกรณีที่ค่า P/E ของทั้งตลาด < 10เราอาจต้องการลงทุนในบริษัทที่ราคาหุ้นในปัจจุบันมีส่วนลดจากมูลค่าที่เหมาะสมที่เราคำนวณได้ในข้อ 2 มากกว่า 50% หรือในกรณีที่ P/E ของทั้งตลาด >10เราอาจจะหาบริษัทที่มีส่วนลดดังกล่าวยากเราอาจจะกำหนดให้ส่วนลดที่ว่าเป็น มากกว่า 30% ในหนังสือการลงทุนเล่มนี้กล่าวไว้ว่า เราควรรู้ที่มาที่ไปของราคาด้วย หมายถึงสาเหตุอะไรที่ทำให้ราคาหุ้นขณะนั้นอยู่ที่เท่านั้น เราสามารถดูค่า P/Eที่ตลาดมอบให้กับหุ้นตัวนั้นในเวลานั้นๆพร้อมกับเวลาในอดีตมาประกอบในการคิดพิจารณา บางครั้งตลาดอาจจะให้ค่า P/Eของบริษัทต่ำประมาณ 5-6 ซึ่งเราอาจจะหาข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่าบริษัทให้ปันผลในอัตราต่ำมาโดยตลอด หรือกำไรของบริษัททำนายได้ยากปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ทำให้ตลาดมองข้ามบริษัทนี้ไปส่วนตัวผมกลับมาว่าจริงๆแล้วบริษัทที่ว่าอาจสร้างโอกาสทองให้เราได้ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หรือตัวเร่งขึ้น ไม่ภายในก็ภายนอกจนทำให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนไปในทางที่มีแนวโน้มให้ตลาด ปรับ P/Eของบริษัทให้สูงขึ้น
กุญแจดอกที่สี่ : ตัวเร่ง (Catalyst) ที่มีประสิทธิภาพมีโอกาสเกิดขี้นแค่ไหน
ตัวเร่งการลงทุนแบบ VI ไม่ใช่การลงทุนแบบถือยาวแต่เป็นการลงทุนในบริษัทที่มีราคาซื้อขายในตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงที่เราคำนวณได้และเชื่อว่าราคาหุ้นดังกล่าวจะ รับตัวขึ้นไปยังมูลค่านั้นๆในระยะเวลาที่เหมาะสม จริงๆแล้วการถือหุ้นเป็นระยะเวลานานเกินไปกว่าราคาจะปรับขึ้นไปยังเป้าหมายที่เราคาดไว้อาจทำให้ผลตอบแทนต่อปีที่เราได้ลดลงเนื่องจากเรามีต้นทุนอีกตัวที่คอยลดหลั่นผลตอบแทนที่เราจะทำได้เรียกว่าต้นทุนเวลาซึ่งตัวเร่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราลดต้นทุนดังกล่าวเราอาจจะพบตัวเร่งได้จากข้อมูลที่ประกาศใน set.or.thก่อนตลาดเปิดช่วงเช้า ช่วงบ่าย หรือแม้แต่หลังตลาดปิด หรือจากบทสัมภาษผู้บริหารและการถามตอบใน Oppday หรือ AGM รวมทั้ง CompanyVisit ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากเราอาจจะได้ข่าวสารมาจากหลายแหล่งทุกทั่วสารทิศเราจึงควรประเมินตัวเร่งดังกล่าวอีกครั้งว่ามีโอกาสเกิดมากน้อยเพียงไรการพิจารณาเป็นกรณีๆไปถึงโอกาสเกิดของตัวเร่งแต่ละตัวอันจะส่งผลให้ราคาในตลาดวิ่งไปหามูลค่าที่เหมาะสมที่เราคาดไว้จะช่วยให้เราประเมินคร่าวๆ ได้ถึงผลตอบแทนที่คาดหวังได้ใน ช่วงเวลาหนึ่งๆ
กุญแจดอกที่ห้า : ราคาที่ซื้อให้ส่วนเผื่อความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
ส่วนเผื่อความปลอดภัยปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกลงทุนในบริษัทหนึ่งๆส่วนเผื่อความปลอดภัยในความหมายของผมไม่ใช่ Upsideหรือความแตกต่างระหว่างราคาปัจจุบันกับราคาเป้าหมายแต่เป็นความแตกต่างระหว่างราคาในปัจจุบัน กับราคาที่อาจจะเป็นไปได้ในกรณีที่เกิดอะไรแบบผิดคาด พูดง่ายๆ คือการที่เรามอง Downside risk ทางด้านราคาเป็นหลักไว้ก่อนนั่นเองการบอกถึงค่าที่แน่นอนของส่วนเผื่อความปลอดภัยนั้น ยากไม่แพ้การประเมินUpside ส่วนตัวผมคิดว่ายากกว่าการหา Upside ซะด้วยซ้ำเนื่องจากผมมองว่ามีหลายๆปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดสำหรับตัวผมเอง ผมมักจะดู อัตราเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับจากผลประกอบการที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่ตลาดชอบอัตราเงินปันผล > 10% และไม่ค่อยให้ราคาต่ำกว่านั้นยกเว้นในกรณีที่เกิดวิกฤติ นอกจากดูอัตราเงินปันผลแล้วผมมักจะดูถึงกระแสการลงทุนในขณะนั้น ว่าผมอยู่ในกลุ่มในของการลงทุน เช่นกลุ่มแรกที่พบบริษัทนี้ กลุ่มที่สองที่ซื้อตามกลุ่มแรกหรือกลุ่มที่สามที่พบหลังสุดที่ลงทุนเมื่อทุกคนต่างก็พูดถึงหุ้นตัวนั้นๆแล้ว การดู technical และ กราฟประกอบจะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดขึ้นส่วนตัวไม่ชอบที่จะลงทุนในกลุ่มที่สามเนื่องจากส่วนใหญ่กลุ่มที่สามนี้มักจะได้ซื้อหุ้นในราคาที่มีส่วนลดน้อยกว่ากลุ่มอื่นและมีความเสี่ยงของการตกของราคาหุ้นในกรณีที่เกิดเหตุการที่ไม่คาดฝันในทางลบแม้เพียงนิดเดียว ตามการที่เราประมาณการได้ว่าเรามีโอกาสที่จะขาดทุนได้เท่าไหร่เมื่อเราลงทุนในบริษัทนั้นๆ เวลานั้นๆทำให้เรามองเห็นส่วนเผื่อความปลอดภัยที่เรามีและช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาเงินต้นของเราได้
ท้ายที่สุดแล้ว การลงทุนไม่มีรูปแบบที่แน่นอนแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยยีดหลักแนวทางพื้นฐานที่เหมาะสมจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่เหมาะสมเช่นเดียวกันในระยะยาวขอให้ทุกๆท่านโชคดีในการลงทุนครับ
การดำเนินงานของ Mutual Series Fund จะเน้นไปที่การหาหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินมากๆ หลักการลงทุนของ กองทุนแห่งนี้จะเน้นไปที่การตรวจสอบงบการเงิน โดยเฉพาะตรวจสอบ ‘งบดุล’ เป็นหลัก คล้ายๆกับการลงทุนของต้นตำรับอย่าง เบนจามิน เกรแฮม
ดังที่ ไมเคิล ไพรซ์ กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า
อย่างแรก ราคาหุ้นของบริษัทจะต้องอยู่ในระดับที่มีส่วนลดจากมูลค่าทรัพย์สิน
อย่างที่สอง ผู้บริหารต้องถือหุ้นของบริษัท ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
อย่างสุดท้าย งบดุลของบริษัทต้องสะอาดหมดจด มีหนี้สินน้อย ซึ่งนั่นจะชี้ว่า ความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ หากคุณดูทั้งสามสิ่งนี้ คุณจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ
นอกเหนือจากนั้น ไมเคิล ไพรซ์ ยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการลงทุนของเขา กับการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ อีกว่า วิธีการไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือแนวคิด ”บัฟเฟตต์จะเด่นในเรื่องการเสาะหาธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน เราไม่เก่งในเรื่องนั้น เราจะมองหาคุณค่า”
การลงทุนของ Mutual Series Fund ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ ไมเคิล ไพรซ์ อย่างมาก โดยเฉพาะที่ผ่านมา การตัดสินใจการลงทุนทั้งหมดจะมาจาก ไมเคิล ไพรซ์ เพียงคนเดียว และกองทุนแห่งนี้ก็ได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจในระยะยาว
ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงคำถาม 5 ข้อ ที่นักลงทุนควรจะพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุนของตน กฎเกณท์เหล่านี้ เรียกว่า กุญแจ 5 ดอก ซึ่งนักลงทุนสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การลงทุนของตนเองได้เป็นอย่างดี
กุญแจ 5 ดอกของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า สามารถสรุปคร่าวๆได้ดังต่อไปนี้
นับว่าเป็นแนวคิดที่ผมเชื่อว่าเป็นต้นแบบหนึ่งที่ดีที่สุดของการลงทุนแนวพื้นฐานหรือที่หลายๆท่านเรียกว่าValue Investment (VI) แนวคิดที่ว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 5อย่าง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางที่เรายึดถือปฏิบัติได้จริงก่อนพิจารณาลงทุนในบริษัทหนึ่งๆกุญแจ 5 ดอกกับการประยุกต์ใช้ที่ว่า ได้แก่
กุญแจดอกที่หนึ่ง : บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ดีหรือไม่
ธุรกิจการพิจารณาตัวธุรกิจที่เราจะลงทุนควรจะเริ่มจากการที่เราเข้าใจในธุรกิจนั้นๆอย่างถี่ถ้วน ว่าธุรกิจนั้นๆมีการเข้าออกของเงินอย่างไรปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรายจ่ายและรายได้ของตัวบริษัทคืออะไรความเสี่ยงของตัวธุรกิจคืออะไรรวมไปถึงธรรมาภิบาลของผู้บริหารในบริษัทนั้นๆ เป็นอย่างไรข้อมูลส่วนนี้เราอาจจะหาเบื้องต้นได้จาก แบบ 56-1 ซึ่ง download ได้จากset.or.th หรือ sec.or.th อย่างน้อยๆ สิ่งที่เราควรจะต้องผ่านตาคือ บทของBusiness, Product, Risk, Financial ใน แบบ 56-1 นอกจากนั้นข้อมูลอื่นๆอาจจะหาได้จากบทสัมภาษผู้บริหาร, Oppday, AGM, หรือเว็บไซท์ของบริษัท
กุญแจดอกที่สอง : มูลค่าที่เหมาะสมของบริษัทนี้อยู่ที่เท่าไหร่
มูลค่าที่เหมาะสมมูลค่าที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่บอกด้วยตัวเลขที่แน่นอนค่อนข้างยากมูลค่าที่เหมาะสมของตัวเราอาจจะไม่เท่ากับของคนอื่นเนื่องจากแต่ละคนมีสมมุติฐานในการคำนวณมูลค่าแตกต่างกันปกติแล้ววิธีการคำนวณมูลค่ามีหลายวิธี ที่นิยมใช้กันมากคือใช้ค่า P/Eไปจนถึงวิธีที่ต้องใช้สมมติฐานค่อนข้างเยอะคือ DCF ผมมองว่าการใช้ P/Eในการบอกมูลค่าที่เหมาะสม จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เนื่องจากค่าP/E ที่เราให้กับบริษัทหนึ่งๆ ค่อนข้าง subjectiveเรามักจะต้องสั่งสมประสบการณ์ในตลาดพอสมควรจึงจะบอกได้ว่า P/Eที่เหมาะสมของบริษัทนั้นนี้ น่าจะมีค่าเท่าไหร่ ซึ่งการอยู่ในตลาดนานๆและการมองค่า P/E ของบริษัทในอดีตประกอบ จะทำให้เราเข้าใจและให้ค่า P/Eกับบริษัทในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมได้ดีขึ้น สำหรับ DCFนั้นต้องใช้องค์ประกอบหลายตัวในการคำนวณโอกาสในการผิดพลาดก็ยิ่งจะมากขี้นไปอีกสำหรับหนังสือเล่มนี้ใช้วิธีการหามูลค่าที่เหมาะสมหลายๆวิธีแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกทีซึ่งผมก็คิดว่าทำให้เราได้ค่าที่ออกมาไม่โอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป
กุญแจดอกที่สาม : ราคาหุ้นของบริษัทอยู่ในระดับที่น่าสนใจหรือไม่
ราคาหุ้นสำหรับปัจจัยนี้ ผมคิดว่าเป็นแค่ตัวที่ใช้อ้างอิงให้เรารู้ว่า ณ เวลานี้เราควรลงทุนกับบริษัทนี้หรือไม่ ซึ่งเราอาจจะมีกฏการลงทุนของเราเอง เช่นในกรณีที่ค่า P/E ของทั้งตลาด < 10เราอาจต้องการลงทุนในบริษัทที่ราคาหุ้นในปัจจุบันมีส่วนลดจากมูลค่าที่เหมาะสมที่เราคำนวณได้ในข้อ 2 มากกว่า 50% หรือในกรณีที่ P/E ของทั้งตลาด >10เราอาจจะหาบริษัทที่มีส่วนลดดังกล่าวยากเราอาจจะกำหนดให้ส่วนลดที่ว่าเป็น มากกว่า 30% ในหนังสือการลงทุนเล่มนี้กล่าวไว้ว่า เราควรรู้ที่มาที่ไปของราคาด้วย หมายถึงสาเหตุอะไรที่ทำให้ราคาหุ้นขณะนั้นอยู่ที่เท่านั้น เราสามารถดูค่า P/Eที่ตลาดมอบให้กับหุ้นตัวนั้นในเวลานั้นๆพร้อมกับเวลาในอดีตมาประกอบในการคิดพิจารณา บางครั้งตลาดอาจจะให้ค่า P/Eของบริษัทต่ำประมาณ 5-6 ซึ่งเราอาจจะหาข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่าบริษัทให้ปันผลในอัตราต่ำมาโดยตลอด หรือกำไรของบริษัททำนายได้ยากปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ทำให้ตลาดมองข้ามบริษัทนี้ไปส่วนตัวผมกลับมาว่าจริงๆแล้วบริษัทที่ว่าอาจสร้างโอกาสทองให้เราได้ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หรือตัวเร่งขึ้น ไม่ภายในก็ภายนอกจนทำให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนไปในทางที่มีแนวโน้มให้ตลาด ปรับ P/Eของบริษัทให้สูงขึ้น
กุญแจดอกที่สี่ : ตัวเร่ง (Catalyst) ที่มีประสิทธิภาพมีโอกาสเกิดขี้นแค่ไหน
ตัวเร่งการลงทุนแบบ VI ไม่ใช่การลงทุนแบบถือยาวแต่เป็นการลงทุนในบริษัทที่มีราคาซื้อขายในตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงที่เราคำนวณได้และเชื่อว่าราคาหุ้นดังกล่าวจะ รับตัวขึ้นไปยังมูลค่านั้นๆในระยะเวลาที่เหมาะสม จริงๆแล้วการถือหุ้นเป็นระยะเวลานานเกินไปกว่าราคาจะปรับขึ้นไปยังเป้าหมายที่เราคาดไว้อาจทำให้ผลตอบแทนต่อปีที่เราได้ลดลงเนื่องจากเรามีต้นทุนอีกตัวที่คอยลดหลั่นผลตอบแทนที่เราจะทำได้เรียกว่าต้นทุนเวลาซึ่งตัวเร่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราลดต้นทุนดังกล่าวเราอาจจะพบตัวเร่งได้จากข้อมูลที่ประกาศใน set.or.thก่อนตลาดเปิดช่วงเช้า ช่วงบ่าย หรือแม้แต่หลังตลาดปิด หรือจากบทสัมภาษผู้บริหารและการถามตอบใน Oppday หรือ AGM รวมทั้ง CompanyVisit ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากเราอาจจะได้ข่าวสารมาจากหลายแหล่งทุกทั่วสารทิศเราจึงควรประเมินตัวเร่งดังกล่าวอีกครั้งว่ามีโอกาสเกิดมากน้อยเพียงไรการพิจารณาเป็นกรณีๆไปถึงโอกาสเกิดของตัวเร่งแต่ละตัวอันจะส่งผลให้ราคาในตลาดวิ่งไปหามูลค่าที่เหมาะสมที่เราคาดไว้จะช่วยให้เราประเมินคร่าวๆ ได้ถึงผลตอบแทนที่คาดหวังได้ใน ช่วงเวลาหนึ่งๆ
กุญแจดอกที่ห้า : ราคาที่ซื้อให้ส่วนเผื่อความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
ส่วนเผื่อความปลอดภัยปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกลงทุนในบริษัทหนึ่งๆส่วนเผื่อความปลอดภัยในความหมายของผมไม่ใช่ Upsideหรือความแตกต่างระหว่างราคาปัจจุบันกับราคาเป้าหมายแต่เป็นความแตกต่างระหว่างราคาในปัจจุบัน กับราคาที่อาจจะเป็นไปได้ในกรณีที่เกิดอะไรแบบผิดคาด พูดง่ายๆ คือการที่เรามอง Downside risk ทางด้านราคาเป็นหลักไว้ก่อนนั่นเองการบอกถึงค่าที่แน่นอนของส่วนเผื่อความปลอดภัยนั้น ยากไม่แพ้การประเมินUpside ส่วนตัวผมคิดว่ายากกว่าการหา Upside ซะด้วยซ้ำเนื่องจากผมมองว่ามีหลายๆปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดสำหรับตัวผมเอง ผมมักจะดู อัตราเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับจากผลประกอบการที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่ตลาดชอบอัตราเงินปันผล > 10% และไม่ค่อยให้ราคาต่ำกว่านั้นยกเว้นในกรณีที่เกิดวิกฤติ นอกจากดูอัตราเงินปันผลแล้วผมมักจะดูถึงกระแสการลงทุนในขณะนั้น ว่าผมอยู่ในกลุ่มในของการลงทุน เช่นกลุ่มแรกที่พบบริษัทนี้ กลุ่มที่สองที่ซื้อตามกลุ่มแรกหรือกลุ่มที่สามที่พบหลังสุดที่ลงทุนเมื่อทุกคนต่างก็พูดถึงหุ้นตัวนั้นๆแล้ว การดู technical และ กราฟประกอบจะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดขึ้นส่วนตัวไม่ชอบที่จะลงทุนในกลุ่มที่สามเนื่องจากส่วนใหญ่กลุ่มที่สามนี้มักจะได้ซื้อหุ้นในราคาที่มีส่วนลดน้อยกว่ากลุ่มอื่นและมีความเสี่ยงของการตกของราคาหุ้นในกรณีที่เกิดเหตุการที่ไม่คาดฝันในทางลบแม้เพียงนิดเดียว ตามการที่เราประมาณการได้ว่าเรามีโอกาสที่จะขาดทุนได้เท่าไหร่เมื่อเราลงทุนในบริษัทนั้นๆ เวลานั้นๆทำให้เรามองเห็นส่วนเผื่อความปลอดภัยที่เรามีและช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาเงินต้นของเราได้
ท้ายที่สุดแล้ว การลงทุนไม่มีรูปแบบที่แน่นอนแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยยีดหลักแนวทางพื้นฐานที่เหมาะสมจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่เหมาะสมเช่นเดียวกันในระยะยาวขอให้ทุกๆท่านโชคดีในการลงทุนครับ
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สรุปเนื้อหาหนังสือ ‘บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ’
‘บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ’
ที่มา:http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=33808&page=1
หลังจากมีโอกาสได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับ อุปนิสัยการลงทุนของ บัฟเฟตต์-โซรอส ก็เลยอยากเอาความรู้มาแบ่งปันเพื่อนๆสักหน่อย แหะๆ เอาเป็นว่าสรุปย่อๆละกัน
หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงความแตกต่างของนักลงทุนชั้นเซียน (คุณปู่บัฟเฟตต์กับโซรอส)กับ นักลงทุนขี้แพ้ ว่ามีอุปนิสัยในการลงทุนแตกต่างกันอย่างไร
ในที่นี้ ขอพูดถึงอุปนิสัยของเซียนละกัน เพราะว่าคงไม่มีใครในที่นี้ที่กำลังอ่าน blog นี้อยู่ อยากเป็นนักลงทุนขี้แพ้ แล้วอีกเหตุผลหนึ่งคือ จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้เราปรับนิสัยการลงทุนของเราให้ทำตามแบบอย่างเซียนกันด้วยย
เรามาดูกันเลยยว่า อุปนิสัยทั้ง 23 ข้อมีอะไรบ้าง Let’s go )
1.) จงรักษาเงินต้นไว้ให้ได้เสมอ ข้อนี้สำคัญที่สุด สำหรับโซรอสเขากล่าวว่า ‘การขาดทุนไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด ทำให้เขารู้สึกเหมือนเดินถอยหลังกลับไปสู่จุดต่ำสุดของชีวิตอีกครั้ง’
2) มุ่งมั่นที่จะลดความเสี่ยง เป้าหมายของพวกเขา คือ ต้องให้แน่ใจเท่านั้นจึงจะลงทุน เค้าจะไม่ลงทุนในสิ่งที่เขาไม่รู้ ดังคำกล่าวของคุณปู่ที่ว่า “Risk comes from not knowing what you’re doing”
3) สร้างปรัชญาการลงทุนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง ปรัชญาในการลงทุนของบัฟเฟตต์ คือ ประเมินคุณค่าให้ได้ และมองให้ออกว่า กิจการไหนมีลักษณะที่น่าลงทุน รู้ว่าจะซื้อจะขายตอนไหน
4) พัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมเข้ากับนิสัยของตัวเอง ในการเลือกหุ้น หาจังหวะเข้าซื้อและขาย
ตัวอย่างเกณฑ์ในการลงทุนของบัฟเฟตต์
- ผมเข้าใจธุรกิจนี้หรือไม่
- ธุรกิจนี้มีสถานะทางเศรษฐกิจที่น่าดึงดูดใจหรือไม่
- สถานะทางเศรษฐกิจที่น่าดึงดูดใจนั้นมีความยั่งยืนหรือไม่
- ผู้บริหารจัดสรรเงินทุนอย่างเป็นเหตุผลหรือไม่
- ผมอยากเป็นเจ้าของธุรกิจนี้หรือไม่ หากมีทีมผู้บริหารชุดนี้
- บริษัทให้ผลตอบแทนต่อผู้เป็นเจ้าของสูงกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่
- ผมชอบราคานี้หรือไม่ :วัดจากกำไรที่คาดว่าบริษัทจะสามารถทำได้ในอนาคต
5) การกระจายการลงทุนเป็นเรื่องของพวกกระจิบกระจอกเท่านั้น ยิ่งคุณมีหุ้นกระจัดกระจายมากเท่าไร เราก็ยิ่งทุ่มเทกับหุ้นที่เรามีได้น้อยลงเท่านั้น
6) ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนหลังหักภาษี วิธีที่จะทำให้เงินทวีคูณขึ้น คือ ขจัดภาระเรื่องภาษีและค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมออกไปให้ได้
7) จงลงทุนในสิ่งที่คุณเข้าใจเท่านั้น บัฟเฟตต์พูดไว้ว่า “สิ่งสำคัญที่สุดของขอบข่ายแห่งความชำนาญไม่ได้อยู่ที่ว่ากว้างขวางขนาดไหน แต่อยู่ที่ว่าคุณขีดวงล้อมของมันได้ชัดเจนเพียงใดต่างหาก”
คนบางคนมักจะลงทุนตามที่โบรกเกอร์เชียร์ ตัวนี้ดี ตัวนั้นดี โดยที่ตัวเองก็ไม่ได้รู้เลยว่าหุ้นตัวนั้นทำอะไร แต่จริงๆแล้วเราต่างหากที่ควรจะลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจอย่างถ่องแท้
มันก็เหมือนกับการที่คุณเข้าใจและสร้างผลตอบแทนได้ดีจากอสังหาริมทรัพย์ แต่พอเห็นว่าสินค้าโภคภัณฑ์บูม ก็เอาเงินไปลงทุนตามคนอื่นแล้วขาดทุนนั่นแหละ
จงปฏิเสธที่จะลงทุนในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ในการลงทุนของคุณ บัฟเฟตต์และโซรอสสร้างขอบข่ายแห่งความชำนาญของตัวเอง ด้วยการตอบคำถามเหล่านี้ คือ ฉันสนใจอะไร, ฉันรู้อะไรในตอนนี้, และ อะไรที่ฉันอยากรู้แต่ยังไม่รู้
คุณต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ก่อน จึงจะหาเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการลงทุนของตัวเองได้
9) จงทำวิจัยด้วยตัวเอง มองหาโอกาสในการลงทุนใหม่ๆให้สอดคล้องกับเกณฑ์ในการลงทุนของตัวเองอยู่เสมอ และเอาจริงเอาจังกับการวิจัยหาข้อมูลด้วยตัวเอง แล้วชอบที่จะฟังเฉพาะนักลงทุนหรือนักวิเคราะห์ผู้มีเหตุผลอันลึกซึ้งควรค่าแก่การนับถือ
บัฟเฟตต์ บอกว่า เคยใช้เวลามากกว่าครึ่งเดือนเพื่อนับจำนวนรถจักรที่วิ่งไปมาบนทางรถไฟในแคนซัส O_o แต่เขากลับไม่ได้ซื้อหุ้นบริษัทรถไฟ กลายเป็นว่าไปสนใจหุ้นของบริษัทที่ผลิตแก๊สโซลีนเพื่อใช้กับหัวรถจักรแทน และซื้อหุ้นของบริษัทแก๊สแทนรถไฟ ในกรณีนี้บัฟเฟตต์ลงทุนลงแรงทำภาคสนามด้วยตัวเองเลย เขาจึงลงทุนได้ด้วยความมั่นใจ และรู้ข้อมูลที่นักลงทุนคนอื่นๆนอกบริษัทไม่รู้อีกด้วยยย
10) จงอดทนอย่างไม่สิ้นสุด เมื่อเขายังไมเจอการลงทุนที่สอดคล้องกับเกณฑ์ของตัวเอง เขาก็มีความอดทนพอที่จะรอไปอย่างไม่มีกำหนดจนกว่าจะเจอ
“คุณไม่ได้เงินจากการทำโน่นทำนี่หรอกครับ คุณได้เงินจากการทำสิ่งที่ถูกต้องต่างหาก” บัฟเฟตต์กล่าวในการประชุมประจำปีกับผู้ถือหุ้น
11) จงทำทันที ลงมือทันที เมื่อตัดสินใจดีแล้ว
12) อยู่กับการลงทุนที่ทำให้ได้รับชัยชนะ จนกว่าเหตุผลสมควรให้ขายที่คิดไว้ล่วงหน้าจะอุบัติขึ้น
กลยุทธ์ในการออก :
1) ออก เมื่อโดนแหกกฎ
2) ออก เมื่อเหตุการณ์ที่คาดไว้ได้เกิดขึ้นแล้ว
3) ออก เมื่อบรรลุเป้าหมายตามระบบแล้วหรือราคาไปถึงเป้าหมายแล้ว
4) ออก เมื่อระบบส่งสัญญาณมา นิยมในหมู่นักเทคนิค
5) ออก ตามกฎที่ตั้งไว้ เช่น พอราคาถึงจุดหนึ่งก็จะขาย หรือขายทันทีเมื่อขาดทุน 10 เปอร์เซ็นต์ หรือจุดที่เราตั้งไว้
6) ออก เมื่อรู้ตัวว่าได้ทำผิดพลาดไปแล้ว
13) จงทำตามระบบของคุณด้วยความศรัทธา ไม่มีการเปลี่ยนเกณฑ์การลงทุน หรือลดเป้า เพื่อปลอบใจตัวเองว่าฉันทำถูกแล้ว
14) ยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขทันที เมื่อความผิดพลาดนั้นปรากฏชัด ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็แค่ขาดทุนเล็กน้อย
15) เปลี่ยนความผิดพลาดเป็นประสบการณ์ ฟิชเชอร์ กล่าวว่า “การทบทวนความผิดพลาด อาจให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการระลึกถึงแต่ความสำเร็จซะอีก”
16) ลงทุนลงแรง เมื่อประสบการณ์เพิ่มขึ้น ผลตอบแทนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้ใช้เวลาน้อยลงเพื่อทำเงินได้มากขึ้น เพราะได้ลงทุนลงแรงไปแล้ว
17) ไม่เคยพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำ แทบจะไม่บอกใครเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ไม่สนใจว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับการลงทุนของเขา จะบอกทำไม ในเมื่อบัฟเฟตต์รู้ตัวดีว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาช่วยยืนยันการตัดสินใจแต่อย่างใด
เช่นเดียวกับ โซรอส ที่ไ่ม่เคยเปิดเผยความเคลื่อนไหวของตัวเองให้ใครรู้ เพราะถ้าคนอื่นรู้ว่าเขาทำอะไรอยู่ก็จะแห่กันเข้าไปซื้อหุ้นตัวนั้น และราคาก็จะสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนของเขาสูงขึ้นไปน่ะสิ
18) รู้วิธีเป็นผู้นำ นักลงทุนชั้นเซียนจะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบบางส่วนหรือทั้งหมดให้กับคนอื่น สำหรับบัฟเฟตต์แล้ว ทุกๆการลงทุน คือ การกระจายงาน เขาจะระลึกเสมอว่า เขากำลังเอาอนาคตของเงินของตัวเองไปให้คนอื่นดูแล และเขาจะมอบหมายหน้าที่นี้ให้กับคนที่เขาไว้ใจและนับถือเท่านั้น
19) จงใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะของคุณ ถ้าคุณไม่รู้คุณค่าของเงิน คุณย่อมไม่รู้จักเก็บออมเงินทองที่หามาได้
การใช้เงินนั้นง่ายมากๆ ใครก็ทำได้ แต่หาเงินสิยากกว่า นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมการใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะของตัวเองจึงเป็นทัศนคติที่เป็นรากฐานของความสำเร็จของบัฟเฟตต์และโซรอส
20) ก้าวให้พ้นเรื่องเงิน นักลงทุนชั้นเซียนทำงานที่ทำอยู่ เพราะงานนั้นทำให้กระชุ่มกระชวยและเติมเต็มชีวิตของเขา ไม่ใช่ทำงานเพื่อเงิน ถ้าคุณมีแรงบันดาลใจในการทำสิ่งนั้น เงินทองที่คุณทำได้ในระหว่างไล่ล่าเป้าหมาย จะเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้นเอง
21) กระบวนการ นักลงทุนชั้นเซียน จะผูกพันกับกระบวนการในการลงทุน สามารถปฏิเสธหรือล้มเลิกการลงทุนใดๆได้ง่ายๆ
// สิ่งที่เหมือนกันในบรรดาที่เป็นคนสุดยอดในแนวทางของตัวเองก็คือ พวกเขาถูกผลักดันจาก กระบวนการกระทำ // การลงทุนสำหรับนักลงทุนชั้นเซียนก็เหมือนการวาดภาพของจิตรกร ซึ่งบางคนอาจชอบวาดภาพด้วยสีน้ำมัน สิ่งที่เขารักคือ การ ‘วาดภาพด้วยสีน้ำมัน’ แต่เข้าไม่ได้รัก ‘สีน้ำมัน’
22) หายใจเข้า-ออก เป็นการลงทุนตลอดเวลา
เรื่องเล่าของบัฟเฟตต์ : เย็นวันหนึ่ง บัฟเฟตต์และซูซาน ไปกินอาหารเย็นที่บ้านเพื่อน ที่เพิ่งจะกลับมาจากอียิปต์ หลังจากทานข้าวเสร็จ เพื่อนก็เตรียมสไลด์รูปภาพไว้ให้ดู แต่บัฟเฟตต์กลับบอกว่า “เอางี้ไหม คุณเปิดสไลด์ให้ซูซานดู ส่วนผมขอเข้าไปในห้องนอนของคุณ เพื่ออ่านรายงานประจำปีแล้วกัน” O_o
23) เอาเงินของคุณใส่ลงไปด้วย ทั้งบัฟเฟตต์และโซรอส ต่างก็เอาเงินใส่ลงไปในการลงทุนที่ตัวเองบริหารจัดการอยู่ ด้วยเหตุผลเดียวกับที่นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกคน ต่างก็มีสินทรัพย์ผูกติดอยู่ในธุรกิจที่ตัวเองทำ การลงทุนของพวกเขา คือ ลงทุนในสิ่งที่ตัวเองรู้ว่าจะทำเงินได้ และนั่นคือ สิ่งที่เขารักนั่นเอง
จบแล้วสำหรับอุปนิสัยการลงทุน หวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ ไม่มากก็น้อยน๊าาา
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555
สรุปเนื้อหาหนังสือ The Essays of Warren Buffett
The Essays of Warren Buffett ลำนำผู้ทำเงิน โดย ดร.ไสว บุญมา
เป็นเวลาหลายปีที่ชื่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ปรากฏใกล้กับของบิลล์ เกตส์ เมื่อนิตยสาร Forbes เสนอรายชื่ออภิมหาเศรษฐีประจำปีของนิตยสาร แต่บัฟเฟตต์ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์เป็นหัวจักรขับเคลื่อนการสร้างความร่ำรวยในยุคโลกไร้พรมแดนเช่นบิลล์ เกตส์ หากเป็นนักลงทุนและถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท Berkshire Hathaway (BH) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมา 170 ปีแล้วเพื่อทำธุรกิจ
ด้านสิ่งทอ บัฟเฟตต์ใช้ BH ซึ่งเขากับหุ้นส่วนร่วมกันซื้อและเป็นประธานผู้บริหารเมื่อปี 2508 เป็นทางผ่านของการลงทุนจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มจาก 4 ดอลลาร์เมื่อปี 2508 เป็น 75,000 ดอลลาร์เมื่อปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นปีละ 28%
แม้การลงทุนโดยการซื้อหุ้นในบริษัทอื่นจะมีกำไรดี แต่ BH จ่ายเงินปันผลเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2510 ในจำนวนหุ้นละ 10 เซนต์
บัฟเฟต์ตั้งค่าตอบแทนให้ตัวเองต่ำมากหากเทียบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ที่มีค่าตอบแทนปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ ข้อมูลบ่งว่าค่าตอบแทนของเขาเมื่อปี 2549 เท่ากับ 100,000 ดอลลาร์ ฉะนั้นความเป็นอภิมหาเศรษฐีของเขาส่วนใหญ่จึงวัดจากค่าหุ้นที่เขาถืออยู่ใน BH ซึ่งเมื่อต้นปี 2551 มีค่าเกินกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ส่งผลให้เขาเข้าไปแทนที่บิลล์ เกตส์ ในฐานะอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลกหลังจากเกตส์ครองติดต่อกันมาเป็นเวลา 13 ปี
จากปี 2513 บัฟเฟตต์เขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นใน BH เป็นประจำ จดหมายเหล่านั้นพูดถึงปรัชญาและแนวคิดด้านการทำธุรกิจของเขา เมื่อปี 2539 Lawrence A. Cunningham ได้นำจดหมายเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อ The Essays of Warren Buffett: Lessons for Corporate America ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 เป็นหนังสือขนาด 291 โดยแยกนำเสนอเป็น 7 ภาคเสริมด้วยบทส่งท้าย
####
ภาคแรก พูดถึงหลักธรรมาภิบาลของการทำธุรกิจ (Corporate Governance) บัฟเฟตต์ มองว่าผู้บริหารคือผู้พิทักษ์เงินทุนของผู้ถือหุ้นและผู้บริหารที่ดีที่สุดต้องทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของบริษัทไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร แต่บางครั้งผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของเจ้าของบริษัทก็อาจขัดกันได้ บัฟเฟตต์จึงเน้นการมองหาทางเพื่อลดการขัดกันพร้อมกับทางที่จะเอื้อให้ผู้บริหารทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยแรกได้แก่ความตรงไปตรงมาของผู้บริหารในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น ตามหลักข้อนี้รายงานประจำปีของเขาจึงไม่ใช่จำพวกใช้กระดาษเงาวับพิมพ์ออกมาอย่างงดงาม หากเน้นข้อมูลและคำอธิบายง่าย ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องราวที่เขาต้องการสื่อได้ทันที นอกจากนั้นบัฟเฟตต์ยังเลี่ยงการคาดการณ์ในอนาคตซึ่งเขาเชื่อว่ามักนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข
อีกปัจจัยหนึ่ง บัฟเฟตต์ไม่เน้นเรื่องโครงสร้างของการบริหารตามตำราซึ่งเขามองว่าไม่ค่อยมีประโยชน์ สำหรับเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดได้แก่การเลือกคนที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์และทุ่มเทโดยเฉพาะตัวประธานผู้บริหาร หรือ CEO เนื่องจากเขามองว่าประธานผู้บริหารต่างจากพนักงานทั่วไป 3 ข้อคือ ข้อแรก ผลงานของประธานผู้บริหารวัดยากเนื่องจากมาตรฐานที่ใช้กันขาดประสิทธิภาพและง่ายต่อการปรุงแต่ง ข้อสอง ไม่มีใครอยู่เหนือประธานผู้บริหาร ฉะนั้นผลงานของผู้อยู่เหนือนั้นก็วัดไม่ได้ และข้อสาม คณะกรรมการบริษัทก็ไม่มีบทบาทของผู้อยู่เหนือผู้บริหารอย่างแท้จริงเนื่องจากตามปกติความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายจะเป็นแบบกันเอง
โดยทั่วไปการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารและของผู้ถือหุ้นเป็นไปในแนวเดียวกันมักอาศัยมาตรการเช่นการให้สิทธิซื้อหุ้น การแยกหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการบริษัทและประธานผู้บริหาร และการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน เช่น ด้านตรวจบัญชีและด้านค่าตอบแทน นอกจากนั้นสิ่งที่มักนิยมทำกันมากได้แก่การเชิญคนนอกมาเป็นกรรมการบริษัท แต่บัฟเฟตต์มองว่า วิธีเหล่านั้นแก้ปัญหาไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงเสียอีก ทางออกของเขาคือ การเลือกเฟ้นประธานผู้บริหารที่สามารถทำงานได้ดีแม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างที่อ่อนแอ และต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อประเมินการทำงานของประธานผู้บริหารบ่อย ๆ โดยที่ไม่มีเขาร่วมประชุมด้วย
สำหรับการบริหารบรรดาบริษัทลูก หรือบริษัทที่ BH เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ประธานผู้บริหารของบริษัทลูกเหล่านั้นได้รับคำสั่งให้ยึดหลักการ 3 อย่างคือ ทำตัวเสมือนเขาเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว บริษัทนั้นเป็นทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวที่เขามีอยู่ และเขาไม่สามารถขาย หรือควบรวมกับใครได้ภายในเวลา 100 ปี บัฟเฟตต์มองว่า หลักการเหล่านี้แก้ปัญหาอันเกิดจากผู้บริหารยึดเฉพาะตัวเลขผลกำไรในระยะสั้นเป็นเกณฑ์โดยปราศจากการพิจารณาปัจจัยในระยะยาว ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการหาความสมดุลระหว่างผลกำไรในระยะสั้นกับผลที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะยาว บัฟเฟตต์เองก็เคยประสบเหตุการณ์ที่ต้องเลือกตัดสินใจในสภาพที่ผลกำไรในระยะสั้นขัดกับวิวัฒนาการในระยะยาวเมื่อเขาต้องปิดกิจการด้านสิ่งทอเมื่อปี 2525 เนื่องจากเขามองว่ากิจการด้านสิ่งทอในอเมริกาหมดอนาคตแล้ว เขาเน้นย้ำเรื่องการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจที่ไม่มีความสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
บางครั้งการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของผู้ถือหุ้นยากแก่การมองเห็น เช่น เรื่องการกุศล โดยทั่วไปผู้บริหารจะจัดผลกำไรส่วนหนึ่งไว้เพื่อการกุศลและเลือกองค์กรที่จะได้รับผลนั้น แต่การเลือกองค์กรของผู้บริหารมักไม่ตรงกับผลประโยชน์ของกิจการและของผู้ถือหุ้น BH เองไม่ทำเช่นนั้น หากจะให้บริษัทลูกทำตามที่เคยทำมาก่อนที่ BH จะเข้าไปซื้อกิจการ นอกจากนั้นจะให้ผู้ถือหุ้นของ BH บอกว่าจะให้บริษัททำการกุศลกับองค์ใดและในจำนวนเท่าไร
สำหรับเรื่องการให้สิทธิซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร บัฟเฟตต์มองว่า นอกจากมันจะไม่มีผลในด้านการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของผู้ถือหุ้นเป็นไปในแนวเดียวกันแล้ว มันยังจะปกปิดความแตกต่างระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายนี้อีกด้วย เช่น บางบริษัทวัดผลงานและให้รางวัลสิทธิการซื้อหุ้นแก่ผู้บริหารซึ่งค่าของหุ้นนั้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเก็บผลกำไรเอาไว้ในบริษัท ไม่ใช่เพราะการนำเงินไปใช้ให้เกิดผลกำไรสูงขึ้นเป็นพิเศษ นั่นหมายความว่า การให้สิทธิซื้อหุ้นมักทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ในขณะที่ผู้บริหารได้ประโยชน์โดยไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนั้น การให้สิทธิซื้อหุ้นมักไม่มีเงื่อนไข ยกเลิกไม่ได้และไม่วางอยู่บนผลของการปฏิบัติงานของผู้บริหารเลย ฉะนั้น เขาแนะนำให้ผู้ถือหุ้นตรวจตราเรื่องการให้สิทธิซื้อหุ้นอย่างถี่ถ้วน
บัฟเฟตต์เน้นเรื่องผลปฏิบัติงานควรเป็นฐานของการคำนวณค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารซึ่งวัดโดยผลกำไรสุทธิ หากจะใช้สิทธิซื้อหุ้น ต้องคำนวณจากการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ไม่ใช่ผลงานของบริษัท ทางที่ดีที่สุดคือไม่ใช้สิทธิซื้อหุ้นเลยเช่นเดียวกับ BH เพราะผู้บริหารที่เก่งกาจสามารถซื้อหุ้นได้จากเงินโบนัสซึ่งจะทำให้เขาทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของจริงๆ
สำหรับกรรมการซึ่งมีหน้าที่ด้านการตรวจบัญชีต้องทำให้ผู้ตรวจบัญชีภายนอกตระหนักว่าเขาทำงานเพื่อกรรมการ ไม่ใช่ทำเพื่อผู้บริหารและต้องตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้เป็นที่ประจักษ์คือ
(1) หากผู้ตรวจบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบรายงานโดยลำพัง เขาจะรายงานอะไรแตกต่างออกไปหรือไม่
(2) หากเขาเป็นผู้ลงทุน รายงานนั้นให้ข้อมูลสำคัญ ๆ เพื่อการเข้าใจในผลงานของบริษัทหรือไม่
(3) หากเขาเป็นประธานผู้บริหาร เขาจะเปลี่ยนกระบวนการตรวจบัญชีภายในหรือไม่ และ
(4) เขารู้ไหมว่ามีการโยกย้ายรายได้ หรือรายจ่ายจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วงเวลาหนึ่งหรือไม่ การกระทำเช่นนี้จะทำให้ความใกล้ชิดระหว่างประธานผู้บริหารและผู้ตรวจบัญชีซึ่งไม่มีผลดีต่อผู้ถือหุ้นยุติลง
####
ภาคสองพูดถึงการเงินและการลงทุนของบริษัท (Corporate Finance and Investing) แนวคิดของบัฟเฟตต์ในด้านนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากอาจารย์ของเขาตั้งแต่ครั้งที่เขายังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและอยู่คนละขั้วกับแนวคิดกระแสหลักซึ่งนักลงทุนโดยทั่วไปมักใช้เป็นฐานของการลงทุน แนวคิดกระแสหลักมักอ้างถึงทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ซึ่งเสนอว่า อย่าเสียเวลาศึกษาหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมองหาโอกาสการลงทุนเลย การทำเช่นนั้นสู้กระทั่งการสุ่มเลือกซื้อหุ้นก็ไม่ได้ แนวคิดนี้นำไปสู่ทฤษฎีการจัดกลุ่มหลักทรัพย์สมัยใหม่ซึ่งวางอยู่บนฐานของความเชื่อที่ว่า ตลาดมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ถูกถ่ายทอดและนำไปสู่การปรับราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นราคาหุ้นสะท้อนค่ามูลฐานของหุ้นนั้นอย่างแม่นยำและการแยกถือหุ้นในหลายบริษัทเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกิดจากการขึ้น ๆ ลง ๆ ของราคาได้เป็นอย่างดี
บัฟเฟตต์มองว่า ตลาดไม่มีประสิทธิภาพมากตามที่ทฤษฎีนั้นเชื่อและการคิดว่าความเสี่ยงหลักมาจากการขึ้น ๆ ลง ๆ ของราคานั้นผิดถนัด ในช่วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา ทฤษฎีนั้นไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ได้ ส่งผลให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง การถกเถียงกันนั้นนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตเรื่องความสำเร็จของบัฟเฟตต์ซึ่งสามารถทำกำไรได้ในอัตราสูงถึงสองเท่าของตลาดติดต่อกันมาเป็นเวลาถึง 40 ปีทั้งที่ยึดหลักการลงทุนและการทำธุรกิจแบบเก่าที่เขาร่ำเรียนมาตั้งแต่สมัยอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และหากย้อนกลับไปดูผู้ใช้หลักเก่าแก่นั้นก็จะพบว่า เขาประสบความสำเร็จมาก่อนบัฟเฟตต์แล้วถึง 20 ปีด้วย แต่นักลงทุนรุ่นใหม่ยังพากันเชื่อว่าบัฟเฟตต์เพียงโชคดี หรือไม่ก็มีข้อมูลภายในซึ่งไม่มีใครรู้
ส่วนบัฟเฟตต์เพียงแต่หัวเราะและเสนอให้นักลงทุนพิจารณาลงทุนเป็น 2 แนวคือ ลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวมซึ่งแยกซื้อหุ้นของบริษัทที่เป็นฐานของการสร้างดัชนีชี้วัดภาวะของตลาด (index funds) และซื้อหุ้นของบริษัทที่ตนเองสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วนว่าน่าซื้อ นั่นคือ วิเคราะห์ทั้งการบริหารจัดการ ผลิตภัณฑ์ คู่แข่ง ระดับของหนี้สิน ผลประกอบการและระดับของภาษีทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ตามหลักและการปฏิบัติของเขา แทนที่จะใช้วิธีกระจายการถือหุ้น บัฟเฟตต์เสนอให้พิจารณากระจุกเงินทุนส่วนใหญ่ไว้ในหุ้นของสองถึงสามบริษัทซึ่งผู้ลงทุนมีความรู้อยู่บ้างและแน่ใจว่ามีการบริหารจัดการชั้นเยี่ยม
บัฟเฟตต์เรียนการลงทุนจากอาจารย์ชื่อ เบน แกรม และจากการทำงานกับบริษัทที่อาจารย์ผู้นั้นเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีแนวคิดหลัก ๆ อยู่ 3 ข้อคือ ข้อแรก ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ราคา” กับ “มูลค่า” ของหุ้น ราคาเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในตลาด ส่วนค่าเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อได้ไป แต่คนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นและคิดว่าสองสิ่งนั้นเท่ากัน ข้อสอง ซื้อเฉพาะหุ้นที่มี “ส่วนเผื่อความปลอดภัย” (margin of safety) สูงมากๆ เท่านั้น ส่วนเผื่อความปลอดภัยหมายถึงมูลค่าหุ้นที่สูงกว่าราคาหุ้นซึ่งซื้อขายกันอยู่ในตลาด บัฟเฟตต์ชี้ว่าการลงทุนที่ไม่ยึดความแตกต่างของสองอย่างนี้มีค่าเท่ากับการเก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุน เขาหลีกเลี่ยงการเก็งกำไร แต่อาจใช้เงินสดที่มีอยู่ในมือซื้อขายในต่างตลาดเมื่อพบว่าราคาของสิ่งนั้นต่างกัน (arbitrage) หลักของการตัดสินใจว่าจะใช้เงินสดแบบนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 อย่างซึ่งวางอยู่บนฐานของข้อมูล ไม่ใช่ข่าวลือ นั่นคือ ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ ระยะเวลาที่จะใช้เงินนั้นทำอย่างอื่นไม่ได้ ค่าเสียโอกาสของเงิน และความเสียหายในกรณีที่เหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ข้อสาม ลงทุนเฉพาะในกิจการที่ผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเท่านั้น อย่าลงทุนตามกระแสในตลาด
####
ภาคสามพูดถึงการลงทุนทางเลือกนอกเหนือจากหุ้นสามัญ (Alternatives to Common Stock) บัฟเฟตต์นำหลักของเขาไปประยุกต์ใช้ในด้านนี้ใน 4 ทางเลือกคือ หุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือพันธบัตรขยะ (junk bonds) หุ้นกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (zero-coupon bonds) อนุพันธ์และเงินตราต่างประเทศ
นักลงทุนที่เชื่อในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงมักอ้างถึงภาวะพื้นฐานเรื่องการมีกริชจี้อกอยู่ นั่นคือ ผู้ขับรถจะใช้ความระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษในภาวะที่มีกริชผูกอยู่กับพวงมาลัยโดยให้ปลายชี้ไปที่หน้าอกของเขา ฉะนั้นการมีหนี้สินมากจะทำให้ผู้บริหารมีความระมัดระวังมากขึ้น นักลงทุนเหล่านี้อ้างถึงผลการวิจัยที่ยืนยันว่า ดอกเบี้ยสูงที่ได้จากหุ้นกู้จำพวกนี้ให้ผลตอบแทนเกินกว่าอัตราการเบี้ยวหนี้ที่ทำให้นักลงทุนสูญเงิน แต่บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นความผิดพลาดของพวกเขาทั้งจากทางปฏิบัติและทางทฤษฎีโดยอ้างถึงการล้มละลายในอัตราสูงมากของบริษัทที่มีหนี้สินสูงในช่วงเศรษฐกิจถดถอยเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับในด้านทฤษฎีที่นักลงทุนอ้างถึงซึ่งวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าภาวะรอบด้านที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นอีกนั้น บัฟเฟตตย์แย้งว่ามันเป็นไปไม่ได้
สำหรับด้านหุ้นกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นว่า ในประวัติศาสตร์ของหุ้นกู้ชนิดนี้ ผู้ซื้อสามารถกำหนดอัตราค่าตอบแทนได้ในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยของหุ้นกู้ปกติ ในขณะเดียวกันมันก็เอื้อให้ผู้ออกหุ้นกู้สามารถกู้เงินได้มากกว่าในกรณีที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยเงินสดเป็นระยะ ๆ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อกิจการที่ออกหุ้นกู้เป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางการเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ถึงผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งชำระหนี้ไม่ได้
อนุพันธ์เป็นตราสารใหม่ที่สร้างขึ้นจากความเคลื่อนไหวของดัชนีต่าง ๆ และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเนื่องจากนักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่ามันเป็นวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ทั้งที่ BH ซื้ออนุพันธ์บ้างเป็นครั้งคราวในจำนวนไม่มากนักเมื่อเห็นว่าการตั้งราคาต่างไปจากมูลค่าที่แท้จริงของมันอย่างแจ้งชัด แต่บัฟเฟตต์ต่อต้านเพราะโดยพื้นฐานแล้วเขาเชื่อว่าไม่มีใครสามารถประเมินความเสี่ยงของมันได้ และซ้ำร้ายมันอาจก่อให้เกิดการเพิ่มความเสี่ยงเนื่องจากมันโยงไปถึงหลายสิ่งหลายอย่างและสถาบันการเงินจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนเดียวอาจแพร่ขยายไปสู่ภาคส่วนอื่นอย่างรวดเร็วยังผลให้ทั้งระบบประสบปัญหาร้ายแรงถึงขั้นวิกฤติ จริงอยู่บัฟเฟตต์ยอมรับว่า ทัศนคติของเขาเกี่ยวกับความเสี่ยงของอนุพันธ์อาจเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงแบบขนานใหญ่ที่จะทำให้บริษัทของเขาสูญสถานะของผู้มีประวัติแห่งความมั่นคงสูง แต่เขามีประสบการณ์ตรงจากการซื้อบริษัทประกันภัยมาแล้ว บริษัทนั้นขายยากเนื่องจากมีหนี้สินระยะยาวที่สลับซับซ้อนจำนวนมากที่ใช้เวลานานกว่าจะสะสางสำเร็จ
ในด้านเงินตราต่างประเทศ ต้นตอของปัญหามาจากการขาดดุลชำระเงินจำนวนมากอย่างต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกาจนทำให้ค่าของเงินดอลลาร์ตกต่ำเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น บัฟเฟตต์มองว่า การขาดดุลเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการโยกย้ายความมั่งคั่งของสหรัฐฯ ไปให้ชาวต่างประเทศ ร้ายยิ่งกว่านั้น นักลงทุนจากต่างประเทศที่ลงทุนในสหรัฐฯ เริ่มได้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าการลงทุนในต่างประเทศของชาวอเมริกันแล้ว และที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือ การขาดดุลนี้เกิดจากการบริโภคเกินพอดีของชาวอเมริกันซึ่งรังแต่จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจจนนำไปสู่วิกฤติการเมืองในสหรัฐฯ ได้ สภาพเช่นนี้มีผลต่อการลงทุนของ BH ซึ่งมีทรัพย์สินที่ถือไว้หลายหมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการตกต่ำของค่าเงินสกุลดอลลาร์ บัฟเฟตต์เริ่มเข้าไปทำธุรกรรมในตลาดเงินตราเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2545 นอกจากนั้น BH ยังซื้อหุ้นที่ตีค่าเป็นเงินตราสกุลอื่นนอกจากดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
####
ภาคสี่ พูดถึงหุ้นสามัญ (Common Stock) ซึ่งเริ่มด้วยคำพูดที่บัฟเฟตต์ใช้กระเซ้านายหน้าค้าหุ้นผู้ติดตามเรื่องราวของ BH เมื่อวันที่หุ้นของ BH เปิดขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรกในปี 2531 ว่า เขาจะคิดว่านายหน้าประสบความสำเร็จใหญ่หลวงถ้าเขาสามารถขายหุ้นของ BH ครั้งต่อไปได้ในเวลาอีกสองปี คำพูดนั้นสะท้อนปรัชญาพื้นฐานในการซื้อขายหุ้นของบัฟเฟตต์ นั่นคือ ซื้อเพื่อเก็บไว้ มิใช่ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งก่อให้เกิด
ความสูญเปล่าสูงมากในรูปของค่านายหน้า ค่าบริหาร และค่าคำแนะนำของนักวางแผนการเงินและที่ปรึกษาทางธุรกิจ ในระยะหลังๆ นี้ยังมีค่าบริหารจัดการของอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มเข้าไปในรูปของกองทุนเพื่อซื้อหุ้นเอกชนและกองทุนเพื่อเก็งกำไรซึ่งรวมกันแล้วเท่ากับราว 20% ของผลกำไรทั้งหมดที่บริษัทในสหรัฐฯ ทำได้ปีละประมาณ 7 แสนล้านดอลลาร์
ในขณะที่ประธานผู้บริหารคนอื่น ๆ มักต้องการให้หุ้นในบริษัทของตนซื้อขายในราคาที่สูงกว่ามูลค่าจริงของหุ้นมากที่สุด บัฟเฟตต์ต้องการเห็นหุ้นของ BH ซื้อขายกันในราคาเท่าๆ กับมูลค่าจริงของมัน การซื้อขายกันในราคาที่เท่าๆ กับมูลค่าหุ้นจริงแบบนั้นหมายถึงผลประกอบการในช่วงหนึ่งตกกับผู้ถือหุ้นในช่วงนั้นซึ่งสะท้อนปรัชญาที่ว่า ผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่เพื่อมองหากำไรในระยะสั้น บัฟเฟตต์เชื่อว่า การซื้อขายเพื่อหวังผลในระยะสั้นสร้างปัญหาต่อผลประกอบการในระยะยาว ฉะนั้นเขาจะหลีกเลี่ยง
Warren Buffett
ดังที่กล่าวถึงในตอนต้น ราคาหุ้นของ BH ขึ้นจาก 4 ดอลลาร์เป็น 75,000 ดอลลาร์ แต่ BH จ่ายเงินปันผลครั้งเดียวเพียง 10 เซนต์ต่อหุ้นและไม่เคยแตกหุ้นเลย นั่นเป็นการสะท้อนแนวคิดด้านการใช้ผลกำไรของบัฟเฟตต์ กฎเกณฑ์ในการตัดสินใจของเขาว่าจะจ่ายเงินปันผล หรือจะเก็บผลกำไรไว้เพื่อนำไปลงทุนต่อมีอยู่ข้อเดียวคือ เงินทุนที่เก็บไว้จะต้องทำผลกำไรได้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่นักลงทุนทั่วไปสามารถทำได้ ผู้บริหารส่วนใหญ่มักไม่ทำตามกฎข้อนี้และเก็บผลกำไรไว้เพื่อจุดมุ่งหมายอื่นที่ไม่สะท้อนผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เช่น การสร้างอาณาจักรของตัวเองและเพื่อความสะดวกสบายในการหยิบมาใช้
สำหรับในด้านการซื้อหุ้นคืน เขาเห็นด้วยถ้าราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต่ำกว่ามูลค่าจริงของหุ้นมากๆ ในอดีตการซื้อหุ้นคืนไม่เกิดขึ้นบ่อยนักนอกจากโดยผู้บริหารบางคนซึ่งมองเห็นว่า ถ้ามูลค่าหุ้นสูงกว่าราคาหุ้นในราวสองเท่าจริงๆ ไม่ว่าจะใช้เงินทำอะไรจะไม่ได้ค่าตอบแทนสูงกว่าการซื้อหุ้นคืน แต่ในระยะหลังนี้ ผู้บริหารมักซื้อหุ้นคืนด้วยราคาที่สูงกว่ามูลค่าหุ้นจริงเสียอีกเพื่อหวังจะอุ้มราคาหุ้นที่ซบเซา หรือไม่ก็เพื่อให้ได้หุ้นมาแทนหุ้นที่ออกไปในการออกตราสารสิทธิซื้อหุ้นซึ่งผู้บริหารใช้ซื้อหุ้นด้วยราคาต่ำกว่าตลาดมาก
ในด้านการแตกหุ้น บัฟเฟตต์เสนอให้ผู้ถือหุ้นติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะการแตกหุ้นมีผล 3 อย่างคือ มันทำให้เกิดความสูญเปล่ามากขึ้นเนื่องจากมันกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายบ่อยขึ้น มันดึงดูดนักซื้อหุ้นเพื่อหวังผลกำไรในระยะสั้นซึ่งเน้นเรื่องราคาหุ้นเกินความจำเป็น และสองปัจจัยที่กล่าวมานำไปสู่ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่าราคาและมูลค่าจริงของหุ้น หากไม่มีผลประโยชน์อย่างอื่นเข้ามาแทนอย่างคุ้มค่า การแตกหุ้นเป็นการกระทำที่สะท้อนความเขลา สำหรับ BH การกระทำเช่นนั้นจะเป็นการรื้อฐานของปรัชญาที่บริษัทใช้มาตลอดเพื่อดึงดูดนักลงทุนที่ซื้อหุ้นเก็บไว้ในระยะยาว
นโยบายเกี่ยวกับการปันผลและราคาหุ้นที่สูงมากของ BH มีผลพวง 2 อย่างได้แก่ ผู้ถือหุ้นยกหุ้นให้ผู้อื่นได้ยากมาก และมีนักธุรกิจหัวใสใช้ผลประกอบการของ BH ออกหลักทรัพย์เทียมออกมาขายในตลาด เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อตอนกลางปี 2539 BH ปรับโครงสร้างทุนด้วยการขายหุ้นชั้น B ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ใน 30 หุ้นชั้น A ที่บริษัทมีอยู่แล้ว แต่ในด้านการออกเสียงมีค่าเพียง 1 ใน 200 ของชั้น A เนื่องจากหุ้นชั้น A สามารถเปลี่ยนเป็นชั้น B ได้ ผู้ที่ต้องการแยกยกหุ้นให้ผู้อื่นสามารถแตกหุ้นด้วยตัวเองจากชั้น A เป็นชั้น B เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนั้นได้ และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ มันทำให้นักสร้างหลักทรัพย์เทียมหัวใสหมดโอกาสทำเงินได้จากผู้ไม่ค่อยรู้เรื่องราวของ BH อย่างลึกซึ้งและก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างราคาและมูลค่าจริงของหุ้น
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตลาดและเพื่อแสดงว่า การออกหุ้นชั้น B นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ต้องการถือหุ้นไว้ในระยะยาวเป็นผู้ซื้อ บัฟเฟตต์เองประกาศว่า เขาจะไม่ซื้อทั้งหุ้นชั้น A ตามราคาในตลาดและหุ้นชั้น B ตามราคาที่เสนอขายอย่างเด็ดขาด การประกาศเช่นนั้นมีผลตามที่เขาต้องการเนื่องจากต่อมาการซื้อขายหุ้นของ BH ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก
นักวิจารณ์พากันสงสัยว่าเพราะอะไรบัฟเฟตต์จึงทำเช่นนั้นเพราะโดยทั่วไปผู้บริหารจะประกาศว่าบริษัทขายหุ้นใหม่ในราคาน่าซื้อมาก แต่เนื่องจากการประกาศเช่นนั้นส่งสัญญาณว่าหุ้นออกใหม่ขายในราคาต่ำกว่ามูลค่าจริงของมันและการขายหุ้นเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการปล้นผู้ที่มีหุ้นอยู่แล้ว บัฟเฟตต์จึงถือว่ามันเป็นอาชญากรรม
####
ภาคห้า พูดถึงการควบรวม (Mergers and Acquisitions) นโยบายในด้านนี้ของ BH มีชื่อว่าวิธี “ลูกซองแฝด” นั่นคือ จะซื้อบริษัทส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดเมื่อบริษัทนั้นมีทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจที่ดีและมีผู้บริหารที่บัฟเฟตต์ชอบ เชื่อใจและเลื่อมใส บัฟเฟตต์เชื่อว่าการซื้อบริษัทไม่จำเป็นต้องซื้อด้วยราคาสูงเป็นพิเศษยกเว้นในสองกรณีซึ่งไม่มีโอกาสให้ซื้อบ่อยนัก นั่นคือ กรณีที่บริษัทมีธุรกิจชนิดผูกขาดซึ่งสามารถขึ้นราคาได้โดยไม่กระทบต่อการขายสินค้า และกรณีที่มีผู้จัดการซึ่งมีความสามารถเป็นพิเศษที่จะทำกำไรได้อย่างงดงามเกินธรรมดา แต่เนื่องจากโอกาสเช่นนี้มีเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก การซื้อกิจการมาควบรวมด้วยราคาแพง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจึงมักเกิดจากปัจจัยที่อยู่ในหัวของผู้บริหาร 3 ด้านด้วยกันคือ ความตื่นเต้นจากการได้ควบรวม ความตื่นเต้นจากการมีขนาดใหญ่ขึ้น และการสร้างวิมานในอากาศ
ในการซื้อบริษัทอื่น BH จะออกหุ้นใหม่ในกรณีเดียวคือ เมื่อแน่ใจว่าสิ่งที่ได้รับกับสิ่งที่ให้มีมูลค่าเท่ากัน แต่เรื่องนี้นับวันจะทำยากขึ้นเนื่องจาก BH ซื้อบริษัทไว้มากมาย การจะให้กิจการใหม่เพิ่มมูลค่าให้แก่สิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นยากมาก นอกจากนั้นการออกหุ้นใหม่ก็เปรียบเสมือนการตัดส่วนหนึ่งของสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ผู้อื่นไป โดยทั่วไปแล้ว บัฟเฟตต์มองว่าการควบรวมแบบออกหุ้นใหม่ทำได้ยากเนื่องจากการตีค่าหุ้นให้ตรงกับมูลค่าจริงของกิจการของฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายทำได้ยาก
บัฟเฟตต์ต่อต้านพฤติกรรมสำคัญในวงการธุรกิจที่มีค่าเท่ากับการกรรโชกทรัพย์ (green-mail) นั่นคือ ผู้บริหารถูกกดดันให้ซื้อคืนหุ้นของบริษัทที่อยู่ในมือของผู้ถือหุ้นบางคนด้วยราคาแพงเป็นพิเศษและถูกขู่ว่าถ้าไม่ซื้อ ผู้ถือหุ้นนั้นจะซื้อบริษัททั้งหมดแล้วตะเพิดผู้บริหารออกไป จริงอยู่พฤติกรรมชนิดนี้มีผลทำให้ราคาหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพิ่มขึ้น แต่บัฟเฟตต์ถือว่ามันเป็นการปล้นกันชัด ๆ ในทำนองเดียวกันเขาต่อต้านการเข้ายึดครองบริษัทด้วยการใช้เงินกู้ที่มีชื่อเรียกว่า leveraged buy-out ซึ่งมีผลทำให้บริษัทอ่อนแอลง ต้องดิ้นรนเป็นพิเศษเพื่อหาเงินสดมาชำระหนี้ และทำให้การควบรวมมีต้นทุนสูงเกินความจำเป็น
บัฟเฟตต์มองว่า การหากิจการมาควบรวมเพื่อให้บริษัทของตนมูลค่าสูงขึ้นนั้นทำยากมากและส่วนใหญ่การควบรวมทำให้มูลค่าจริงของบริษัทลดลง ในการพิจารณาซื้อกิจการมาควบรวม ผู้ซื้อจะต้องคำนวณเปรียบเทียบด้วยว่า ถ้าจะใช้เงินทุนนั้นทำอย่างอื่นจะได้ผลสูงกว่าหรือไม่โดยเฉพาะการแยกทุนไปซื้อหุ้นของบริษัทดีๆ ที่มีขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หลาย ๆ บริษัท ในการแสวงหากิจการมาควบรวม BH มักได้เปรียบผู้อื่นเนื่องจากมีหุ้นที่มีค่าสูงและมีประวัติในการให้อิสระสูงแก่ผู้บริหารจัดการของบริษัทที่ BH ซื้อมาควบรวม
####
ภาคหก พูดถึงการบัญชีและการประเมินมูลค่า (Accounting and Valuation) ซึ่งบัฟเฟตต์ต้องการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและข้อจำกัดของหลักการบัญชีที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในการสร้างความเข้าใจและการประเมินมูลค่าของกิจการและการลงทุน เขาให้ความกระจ่างด้านความแตกต่างระหว่างมูลค่าทางบัญชีกับมูลค่าทางเศรษฐกิจและแนวคิดต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่สุดซึ่งทุกคนควรเข้าใจเกี่ยวกับบัญชี นั่นคือ มันเป็นเพียงรูปแบบ ฉะนั้นมันอาจถูกตกแต่งได้ เขานำข้อเขียนของอาจารย์
ของเขาที่เขียนเมื่อราว 70 ปีก่อนมาเสนอเพื่อชี้ให้เห็นว่า การตกแต่งบัญชีแบบร้ายแรงนั้นทำกันมานานแล้วและในสมัยนี้ก็ยังมีบริษัทต่างๆ ทำกันอยู่ บัฟเฟตต์ย้ำว่า รายงานทางการเงินที่ดีจะต้องให้ความกระจ่างใน 3 เรื่องคือ มูลค่าของบริษัท ความสามารถในการรักษาพันธสัญญาในอนาคตของบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร บัฟเฟตต์เสนอแนวคิดหลายย่างเพื่อทำให้รายงานทางการเงินมีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อนักลงทุนและผู้บริหารโดยเฉพาะการให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับผลกำไรที่เก็บไว้ในบริษัทที่ถูกซื้อ
บัฟเฟตต์พูดถึงความแตกต่างระหว่างค่าความนิยมทางบัญชี (accounting goodwill) และค่าความนิยมทางเศรษฐกิจ (economic goodwill) อย่างละเอียดทั้งที่เรื่องนี้มักเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้ว ค่าความนิยมทางบัญชีหมายถึงส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกิจการกับสินทรัพย์สุทธิของกิจการนั้น ส่วนต่างนี้ถูกลงบัญชีงบดุลไว้เป็นสินทรัพย์ซึ่งจะค่อยๆ ทยอยตัดค่าเสื่อมสิ้นออกตามช่วงเวลาที่กำหนด ฉะนั้นค่าความนิยมทางบัญชีจะค่อยๆ ลดลงตามสัดส่วนที่ถูตัดออก ส่วนค่าความนิยมทางเศรษฐกิจหมายถึงสินทรัพย์ที่เป็นนามธรรม เช่น เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าบ่งบอกถึงคุณภาพสูง สินทรัพย์ชนิดนี้มีบทบาททำให้บริษัทสร้างกำไรได้เกินอัตราเฉลี่ย ปริมาณของค่าความนิยมได้มาจากการประเมินส่วนเกินนั้นซึ่งมักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ กิจการที่มีค่าความนิยมทางเศรษฐกิจสูงจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อน้อยกว่ากิจการที่มีค่าความนิยมทางเศรษฐกิจต่ำ
การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าความนิยมสองชนิดนี้นำไปสู่ข้อเสนอเรื่องการปรับเปลี่ยนการทำบัญชีที่มีการโต้เถียงกันมาเวลานาน นั่นคือ การควบรวมของบริษัทอาจทำบัญชีได้ในสองรูปแบบ จะทำแบบไหนขึ้นอยู่กับการมองว่าบริษัทหนึ่งซื้ออีกบริษัทหนึ่ง หรือมองว่าทั้งสองเข้ามารวมตัวกัน หากมองว่าเป็นการซื้อ ผลประกอบการจะต้องถูกหักออกด้วยค่าเสื่อมสิ้นเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงนิยมมองว่ามันเป็นการรวมตัวกันซึ่งจะไม่ทำให้ผลประกอบการถูกลด แต่นักการบัญชีที่แท้จริงเห็นว่าไม่น่าให้ทำได้ บัฟเฟตต์เสนอทางออกว่า ให้บันทึกค่าความนิยมไว้ในบัญชี แต่ไม่ต้องบังคับให้หักค่าเสื่อมสิ้นออกจากผลประกอบการในอนาคตโดยอัตโนมัติ ข้อเสนอนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้สองฝ่ายพอใจ มันยังจะทำให้เกิดบัญชีที่ตรงกับความเป็นจริงอีกด้วย ข้อเสนอนี้ในที่สุดได้รับการยอมรับในวงการบัญชี
บัฟเฟตต์ให้ความสำคัญต่อมูลค่าในตัว (intrinsic value) ซึ่งต่างกับมูลค่าตามบัญชีและราคาซื้อขายในตลาด ความแตกต่างนี้ยากแก่การคำนวณ ทั้งนี้เพราะการคำนวณหาค่าในตัวนั้นยากมากทั้งที่มันมีคำจำกัดความแน่นอนว่า “ค่าปัจจุบันของเงินสดที่จะนำออกไปจากกิจการได้ในช่วงเวลาที่กิจการนั้นยังดำรงอยู่” ความยากเกิดจากการประเมินเงินสดที่จะได้มาในอนาคตและความเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย ในการประเมินค่า บัฟเฟตต์ยึดหลักที่อีสปสอนไว้ตั้งแต่สมัยโบราณกาลที่ว่า “นกหนึ่งตัวในมือมีค่าเท่ากับนกสองตัวในป่า” นั่นคือ การประเมินเป็นการนับเงินสด ไม่ใช่นับความหวังหรือความฝันซึ่งคนในยุคนี้มักนิยมทำกันจนนำไปสู่การเกิดฟองสบู่เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามดูจะยังไม่มีใครได้บทเรียนในเรื่องนี้
####
ภาคเจ็ด พูดถึงนโยบายทางการบัญชีและเรื่องภาษี (Accounting Policy and Tax Matters) ตามธรรมดาหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปก็มีปัญหามากพออยู่แล้ว แต่ยังมีคนจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งการตั้งใจโกงด้วย ฉะนั้นข้อเสนอที่จะปรับเปลี่ยนวิธีทำบัญชีที่จะนำไปสู่ความซื่อตรงจึงเกิดขึ้นตลอดเวลา ล่าสุดมีข้อเสนอที่ชื่อว่า “การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง” ซึ่งรวมหลายสิ่งหลายอย่างไว้โดยเฉพาะการทำสิ่งที่มีค่าเท่ากับการตกแต่งบัญชี ด้วยเหตุนี้บางทีผู้ที่มีความซื่อตรงต้องให้ข้อมูลนอกเหนือจากส่วนที่ถูกบังคับซึ่งบัฟเฟตต์เองทำเป็นประจำ เช่น การแยกแยะข้อมูลอย่างละเอียดซึ่งตามหลักการไม่จำเป็นต้องทำ แต่เขาทำเพราะถ้าเขาเป็นผู้ดูบัญชีของผู้อื่น เขาต้องการเห็นข้อมูลเหล่านั้น บัญชีที่แนบไปกับการจ่ายภาษีของเขาเมื่อ 2546 จึงมีเกือบ 9,000 หน้า
การปฏิบัติเกินเช่นนี้บางทีก็นำไปสู่การยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น การบันทึกพันธสัญญาที่จะให้ผลประโยชน์แก่พนักงานเกษียณซึ่งไม่เคยต้องทำมาก่อน เกี่ยวกับประเด็นนี้ บัฟเฟตต์เล่าว่าเขาพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีพันธสัญญามาก ๆ แม้พันธสัญญานั้นจะไม่ปรากฏในบัญชีก็ตาม ครั้งหนึ่งเขาเกือบจะซื้อบริษัทหนึ่งซึ่งมีพันธสัญญาที่จะต้องจ่ายในอนาคตจำนวนมาก เขาโชคดีที่การซื้อบริษัทนั้นประสบอุปสรรคเสียก่อน ต่อมามีบริษัทอื่นยื่นมือเข้ามาซื้อและเพียงไม่นานก็พบว่าสิ่งที่ซื้อไปไม่มีค่าเพราะต้องล้มละลาย ด้วยเหตุผลเดียวกัน เขาต่อต้านการประกันตัวเองเนื่องจากผลประกอบการในบัญชีวันนี้อาจดูดี หากเมื่อถึงวันต้องจ่าย ความเสียหายอาจใหญ่หลวงเกินคาด ทั้งที่บัญชีมีข้อจำกัด แต่บัฟเฟตต์เชื่อว่ามันมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและข้อมูลทางการเงินมีประโยชน์ต่อนักลงทุนสูง
ในตอนสุดท้าย บัฟเฟตต์พูดถึงประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากการลงทุนระยะยาวเนื่องจากภาษีกำไรส่วนทุนจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อเขาขายกิจการที่ซื้อมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกิจการของเขามักทำกำไรได้อย่างงดงาม ในปี 2546 บริษัทของเขาต้องจ่ายภาษีถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์ซึ่งคิดเป็นราว 2.5% ของภาษีเงินได้ที่บริษัทในสหรัฐฯ ทั้งหมดจ่าย นั่นเป็นการจ่ายในอัตราสูงกว่าบริษัทอื่น ๆ แต่เขาเต็มใจเพราะเขามองว่าเขามีโอกาสทำเงินได้มากกว่าผู้อื่นทั้งที่ใช้ความพยายามพอๆ กัน
ในบทส่งท้าย บัฟเฟตต์บอกว่าเขาจะทำสิ่งที่เขาทำมาแล้วต่อไป นั่นคือ ถือครองทุกอย่างไว้เพื่อผลในระยะยาว แต่เขาบอกผู้ถือหุ้นใน BH ว่า ในอนาคตโอกาสที่จะเติบโตต่อไปในอัตราของอดีตย่อมเป็นไปไม่ได้เนื่องจากมันผิดธรรมชาติที่บริษัทเดียวจะขยายตัวสูงกว่าผู้อื่นตลอดกาล เขายกตัวอย่างว่า ตามอัตราการขยายตัวของแบคทีเรีย หากมันไม่ตาย ภายในสองวันน้ำหนักของพวกมันรวมกันจะเท่ากับน้ำหนักดวงอาทิตย์ ฉะนั้น หากมันไม่ตายด้วยตัวเอง จะต้องมีเหตุการณ์ที่ทำให้พวกมันตาย เขาจะรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ไว้ในรูปของหุ้นใน BH ต่อไปและได้ระบุไว้ในพินัยกรรมของเขาว่า หลังเขาตายให้นำทรัพย์สินของเขาทั้งหมดไปใช้ในการกุศลภายใน 10 ปี
ข้อสังเกต: จดหมายที่นำมารวมไว้ในหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นก่อนวันที่บัฟเฟตต์จะตกลงให้มูลนิธิของบิลล์ เกตส์ เป็นผู้นำทรัพย์สินของเขาไปใช้เพื่อการกุศล บิลล์ เกตส์เคยพูดว่า การใช้เงินให้เกิดประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายนั้นยากกว่าการทำเงิน ต้องคอยดูต่อไปว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังบัฟเฟตต์จากโลกนี้ไป เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มาจากคำพูดของบัฟเฟตต์เอง ผู้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและแนวคิดของเขาเพิ่มขึ้นอาจไปอ่านเรื่อง The Snowball: Warren Buffett and the Business of Life โดย Alice Schroeder ซึ่งพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2551 และมีความยาวสมกับความร่ำรวยของเขาคือ เกือบ 1,000 หน้า นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมข้อคิดของเขาออกมาในรูป “บัญญัติ 10 ประการ” โดย Michael Brush เผยแพร่ไปตามสื่อต่าง ๆ เมื่อต้นเดือนมกราคา 2552 แม้บริบทของเนื้อหาจะเป็นวงการธุรกิจในสหรัฐอเมริกา แต่แนวคิดของบัฟเฟตต์ส่วนใหญ่น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสังคม
ความโดดเด่นเป็นพิเศษของบัฟเฟตต์ที่สื่อมักพูดถึงบ่อย ๆ คือ ความมัธยัสถ์ของเขา แม้จะร่ำรวยจนถึงขั้นเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่เขายังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมซึ่งเขาซื้อไว้ตั้งแต่สมัยเพิ่งก่อร่างสร้างตัว บ้านได้รับการต่อเติมบ้างเป็นบางส่วน แต่ก็ไม่ถึงกับใหญ่โตหรือโอ่อ่าเฉกเช่นของมหาเศรษฐีส่วนใหญ่ การดำเนินชีวิตแบบนี้ค่อนข้างย้อนยุค แต่จากข่าวที่พอหาอ่านได้ เขาก็ดูจะมีความสุขไม่น้อยกว่าผู้อื่น แน่ละ สิ่งที่น่าชื่นชมเป็นพิเศษของบุคคลผู้นี้ก็คือ ความมีน้ำใจที่จะอุทิศทรัพย์สมบัติเกือบทั้งหมดให้แก่การแก้ปัญหาของมนุษยชาติ.
บ้านแบบของวอร์เรน บัฟเฟตต์ซึ่งเป็นบ้านแบบของคนอเมริกันชั้นกลางซึ่งไม่มีกระทั่งรั้วหน้าบ้าน
Credit : http://sawaiboonma.com/
เป็นเวลาหลายปีที่ชื่อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) ปรากฏใกล้กับของบิลล์ เกตส์ เมื่อนิตยสาร Forbes เสนอรายชื่ออภิมหาเศรษฐีประจำปีของนิตยสาร แต่บัฟเฟตต์ไม่มีบริษัทเทคโนโลยีขนาดยักษ์เป็นหัวจักรขับเคลื่อนการสร้างความร่ำรวยในยุคโลกไร้พรมแดนเช่นบิลล์ เกตส์ หากเป็นนักลงทุนและถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท Berkshire Hathaway (BH) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมา 170 ปีแล้วเพื่อทำธุรกิจ
ด้านสิ่งทอ บัฟเฟตต์ใช้ BH ซึ่งเขากับหุ้นส่วนร่วมกันซื้อและเป็นประธานผู้บริหารเมื่อปี 2508 เป็นทางผ่านของการลงทุนจนทำให้ราคาหุ้นเพิ่มจาก 4 ดอลลาร์เมื่อปี 2508 เป็น 75,000 ดอลลาร์เมื่อปี 2548 หรือเพิ่มขึ้นปีละ 28%
แม้การลงทุนโดยการซื้อหุ้นในบริษัทอื่นจะมีกำไรดี แต่ BH จ่ายเงินปันผลเพียงครั้งเดียวเมื่อปี 2510 ในจำนวนหุ้นละ 10 เซนต์
บัฟเฟต์ตั้งค่าตอบแทนให้ตัวเองต่ำมากหากเทียบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ที่มีค่าตอบแทนปีละหลายสิบล้านดอลลาร์ ข้อมูลบ่งว่าค่าตอบแทนของเขาเมื่อปี 2549 เท่ากับ 100,000 ดอลลาร์ ฉะนั้นความเป็นอภิมหาเศรษฐีของเขาส่วนใหญ่จึงวัดจากค่าหุ้นที่เขาถืออยู่ใน BH ซึ่งเมื่อต้นปี 2551 มีค่าเกินกว่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ส่งผลให้เขาเข้าไปแทนที่บิลล์ เกตส์ ในฐานะอภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลกหลังจากเกตส์ครองติดต่อกันมาเป็นเวลา 13 ปี
จากปี 2513 บัฟเฟตต์เขียนจดหมายถึงผู้ถือหุ้นใน BH เป็นประจำ จดหมายเหล่านั้นพูดถึงปรัชญาและแนวคิดด้านการทำธุรกิจของเขา เมื่อปี 2539 Lawrence A. Cunningham ได้นำจดหมายเหล่านั้นมาเรียบเรียงเป็นหนังสือชื่อ The Essays of Warren Buffett: Lessons for Corporate America ซึ่งได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี 2551 เป็นหนังสือขนาด 291 โดยแยกนำเสนอเป็น 7 ภาคเสริมด้วยบทส่งท้าย
####
ภาคแรก พูดถึงหลักธรรมาภิบาลของการทำธุรกิจ (Corporate Governance) บัฟเฟตต์ มองว่าผู้บริหารคือผู้พิทักษ์เงินทุนของผู้ถือหุ้นและผู้บริหารที่ดีที่สุดต้องทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของบริษัทไม่ว่าจะตัดสินใจทำอะไร แต่บางครั้งผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของเจ้าของบริษัทก็อาจขัดกันได้ บัฟเฟตต์จึงเน้นการมองหาทางเพื่อลดการขัดกันพร้อมกับทางที่จะเอื้อให้ผู้บริหารทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยแรกได้แก่ความตรงไปตรงมาของผู้บริหารในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น ตามหลักข้อนี้รายงานประจำปีของเขาจึงไม่ใช่จำพวกใช้กระดาษเงาวับพิมพ์ออกมาอย่างงดงาม หากเน้นข้อมูลและคำอธิบายง่าย ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องราวที่เขาต้องการสื่อได้ทันที นอกจากนั้นบัฟเฟตต์ยังเลี่ยงการคาดการณ์ในอนาคตซึ่งเขาเชื่อว่ามักนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข
อีกปัจจัยหนึ่ง บัฟเฟตต์ไม่เน้นเรื่องโครงสร้างของการบริหารตามตำราซึ่งเขามองว่าไม่ค่อยมีประโยชน์ สำหรับเขา สิ่งที่สำคัญที่สุดได้แก่การเลือกคนที่มีความสามารถ ซื่อสัตย์และทุ่มเทโดยเฉพาะตัวประธานผู้บริหาร หรือ CEO เนื่องจากเขามองว่าประธานผู้บริหารต่างจากพนักงานทั่วไป 3 ข้อคือ ข้อแรก ผลงานของประธานผู้บริหารวัดยากเนื่องจากมาตรฐานที่ใช้กันขาดประสิทธิภาพและง่ายต่อการปรุงแต่ง ข้อสอง ไม่มีใครอยู่เหนือประธานผู้บริหาร ฉะนั้นผลงานของผู้อยู่เหนือนั้นก็วัดไม่ได้ และข้อสาม คณะกรรมการบริษัทก็ไม่มีบทบาทของผู้อยู่เหนือผู้บริหารอย่างแท้จริงเนื่องจากตามปกติความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายจะเป็นแบบกันเอง
โดยทั่วไปการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารและของผู้ถือหุ้นเป็นไปในแนวเดียวกันมักอาศัยมาตรการเช่นการให้สิทธิซื้อหุ้น การแยกหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการบริษัทและประธานผู้บริหาร และการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้าน เช่น ด้านตรวจบัญชีและด้านค่าตอบแทน นอกจากนั้นสิ่งที่มักนิยมทำกันมากได้แก่การเชิญคนนอกมาเป็นกรรมการบริษัท แต่บัฟเฟตต์มองว่า วิธีเหล่านั้นแก้ปัญหาไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจทำให้สถานการณ์แย่ลงเสียอีก ทางออกของเขาคือ การเลือกเฟ้นประธานผู้บริหารที่สามารถทำงานได้ดีแม้จะอยู่ท่ามกลางโครงสร้างที่อ่อนแอ และต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อประเมินการทำงานของประธานผู้บริหารบ่อย ๆ โดยที่ไม่มีเขาร่วมประชุมด้วย
สำหรับการบริหารบรรดาบริษัทลูก หรือบริษัทที่ BH เป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ ประธานผู้บริหารของบริษัทลูกเหล่านั้นได้รับคำสั่งให้ยึดหลักการ 3 อย่างคือ ทำตัวเสมือนเขาเป็นเจ้าของเพียงคนเดียว บริษัทนั้นเป็นทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวที่เขามีอยู่ และเขาไม่สามารถขาย หรือควบรวมกับใครได้ภายในเวลา 100 ปี บัฟเฟตต์มองว่า หลักการเหล่านี้แก้ปัญหาอันเกิดจากผู้บริหารยึดเฉพาะตัวเลขผลกำไรในระยะสั้นเป็นเกณฑ์โดยปราศจากการพิจารณาปัจจัยในระยะยาว ผู้บริหารที่ดีจะต้องมีความสามารถในการหาความสมดุลระหว่างผลกำไรในระยะสั้นกับผลที่จะเกิดขึ้นได้ในระยะยาว บัฟเฟตต์เองก็เคยประสบเหตุการณ์ที่ต้องเลือกตัดสินใจในสภาพที่ผลกำไรในระยะสั้นขัดกับวิวัฒนาการในระยะยาวเมื่อเขาต้องปิดกิจการด้านสิ่งทอเมื่อปี 2525 เนื่องจากเขามองว่ากิจการด้านสิ่งทอในอเมริกาหมดอนาคตแล้ว เขาเน้นย้ำเรื่องการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจที่ไม่มีความสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
บางครั้งการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของผู้ถือหุ้นยากแก่การมองเห็น เช่น เรื่องการกุศล โดยทั่วไปผู้บริหารจะจัดผลกำไรส่วนหนึ่งไว้เพื่อการกุศลและเลือกองค์กรที่จะได้รับผลนั้น แต่การเลือกองค์กรของผู้บริหารมักไม่ตรงกับผลประโยชน์ของกิจการและของผู้ถือหุ้น BH เองไม่ทำเช่นนั้น หากจะให้บริษัทลูกทำตามที่เคยทำมาก่อนที่ BH จะเข้าไปซื้อกิจการ นอกจากนั้นจะให้ผู้ถือหุ้นของ BH บอกว่าจะให้บริษัททำการกุศลกับองค์ใดและในจำนวนเท่าไร
สำหรับเรื่องการให้สิทธิซื้อหุ้นแก่ผู้บริหาร บัฟเฟตต์มองว่า นอกจากมันจะไม่มีผลในด้านการทำให้ผลประโยชน์ของผู้บริหารกับของผู้ถือหุ้นเป็นไปในแนวเดียวกันแล้ว มันยังจะปกปิดความแตกต่างระหว่างประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายนี้อีกด้วย เช่น บางบริษัทวัดผลงานและให้รางวัลสิทธิการซื้อหุ้นแก่ผู้บริหารซึ่งค่าของหุ้นนั้นเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเก็บผลกำไรเอาไว้ในบริษัท ไม่ใช่เพราะการนำเงินไปใช้ให้เกิดผลกำไรสูงขึ้นเป็นพิเศษ นั่นหมายความว่า การให้สิทธิซื้อหุ้นมักทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ในขณะที่ผู้บริหารได้ประโยชน์โดยไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนั้น การให้สิทธิซื้อหุ้นมักไม่มีเงื่อนไข ยกเลิกไม่ได้และไม่วางอยู่บนผลของการปฏิบัติงานของผู้บริหารเลย ฉะนั้น เขาแนะนำให้ผู้ถือหุ้นตรวจตราเรื่องการให้สิทธิซื้อหุ้นอย่างถี่ถ้วน
บัฟเฟตต์เน้นเรื่องผลปฏิบัติงานควรเป็นฐานของการคำนวณค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารซึ่งวัดโดยผลกำไรสุทธิ หากจะใช้สิทธิซื้อหุ้น ต้องคำนวณจากการปฏิบัติงานของผู้บริหาร ไม่ใช่ผลงานของบริษัท ทางที่ดีที่สุดคือไม่ใช้สิทธิซื้อหุ้นเลยเช่นเดียวกับ BH เพราะผู้บริหารที่เก่งกาจสามารถซื้อหุ้นได้จากเงินโบนัสซึ่งจะทำให้เขาทำตัวเสมือนเป็นเจ้าของจริงๆ
สำหรับกรรมการซึ่งมีหน้าที่ด้านการตรวจบัญชีต้องทำให้ผู้ตรวจบัญชีภายนอกตระหนักว่าเขาทำงานเพื่อกรรมการ ไม่ใช่ทำเพื่อผู้บริหารและต้องตอบคำถาม 4 ข้อนี้ให้เป็นที่ประจักษ์คือ
(1) หากผู้ตรวจบัญชีเป็นผู้รับผิดชอบรายงานโดยลำพัง เขาจะรายงานอะไรแตกต่างออกไปหรือไม่
(2) หากเขาเป็นผู้ลงทุน รายงานนั้นให้ข้อมูลสำคัญ ๆ เพื่อการเข้าใจในผลงานของบริษัทหรือไม่
(3) หากเขาเป็นประธานผู้บริหาร เขาจะเปลี่ยนกระบวนการตรวจบัญชีภายในหรือไม่ และ
(4) เขารู้ไหมว่ามีการโยกย้ายรายได้ หรือรายจ่ายจากช่วงเวลาหนึ่งไปยังอีกช่วงเวลาหนึ่งหรือไม่ การกระทำเช่นนี้จะทำให้ความใกล้ชิดระหว่างประธานผู้บริหารและผู้ตรวจบัญชีซึ่งไม่มีผลดีต่อผู้ถือหุ้นยุติลง
####
ภาคสองพูดถึงการเงินและการลงทุนของบริษัท (Corporate Finance and Investing) แนวคิดของบัฟเฟตต์ในด้านนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากอาจารย์ของเขาตั้งแต่ครั้งที่เขายังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและอยู่คนละขั้วกับแนวคิดกระแสหลักซึ่งนักลงทุนโดยทั่วไปมักใช้เป็นฐานของการลงทุน แนวคิดกระแสหลักมักอ้างถึงทฤษฎีการเงินสมัยใหม่ซึ่งเสนอว่า อย่าเสียเวลาศึกษาหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์เพื่อมองหาโอกาสการลงทุนเลย การทำเช่นนั้นสู้กระทั่งการสุ่มเลือกซื้อหุ้นก็ไม่ได้ แนวคิดนี้นำไปสู่ทฤษฎีการจัดกลุ่มหลักทรัพย์สมัยใหม่ซึ่งวางอยู่บนฐานของความเชื่อที่ว่า ตลาดมีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ถูกถ่ายทอดและนำไปสู่การปรับราคาหุ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นราคาหุ้นสะท้อนค่ามูลฐานของหุ้นนั้นอย่างแม่นยำและการแยกถือหุ้นในหลายบริษัทเป็นการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เกิดจากการขึ้น ๆ ลง ๆ ของราคาได้เป็นอย่างดี
บัฟเฟตต์มองว่า ตลาดไม่มีประสิทธิภาพมากตามที่ทฤษฎีนั้นเชื่อและการคิดว่าความเสี่ยงหลักมาจากการขึ้น ๆ ลง ๆ ของราคานั้นผิดถนัด ในช่วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา ทฤษฎีนั้นไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ในตลาดหลักทรัพย์ได้ ส่งผลให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง การถกเถียงกันนั้นนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตเรื่องความสำเร็จของบัฟเฟตต์ซึ่งสามารถทำกำไรได้ในอัตราสูงถึงสองเท่าของตลาดติดต่อกันมาเป็นเวลาถึง 40 ปีทั้งที่ยึดหลักการลงทุนและการทำธุรกิจแบบเก่าที่เขาร่ำเรียนมาตั้งแต่สมัยอยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และหากย้อนกลับไปดูผู้ใช้หลักเก่าแก่นั้นก็จะพบว่า เขาประสบความสำเร็จมาก่อนบัฟเฟตต์แล้วถึง 20 ปีด้วย แต่นักลงทุนรุ่นใหม่ยังพากันเชื่อว่าบัฟเฟตต์เพียงโชคดี หรือไม่ก็มีข้อมูลภายในซึ่งไม่มีใครรู้
ส่วนบัฟเฟตต์เพียงแต่หัวเราะและเสนอให้นักลงทุนพิจารณาลงทุนเป็น 2 แนวคือ ลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวมซึ่งแยกซื้อหุ้นของบริษัทที่เป็นฐานของการสร้างดัชนีชี้วัดภาวะของตลาด (index funds) และซื้อหุ้นของบริษัทที่ตนเองสามารถวิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วนว่าน่าซื้อ นั่นคือ วิเคราะห์ทั้งการบริหารจัดการ ผลิตภัณฑ์ คู่แข่ง ระดับของหนี้สิน ผลประกอบการและระดับของภาษีทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ตามหลักและการปฏิบัติของเขา แทนที่จะใช้วิธีกระจายการถือหุ้น บัฟเฟตต์เสนอให้พิจารณากระจุกเงินทุนส่วนใหญ่ไว้ในหุ้นของสองถึงสามบริษัทซึ่งผู้ลงทุนมีความรู้อยู่บ้างและแน่ใจว่ามีการบริหารจัดการชั้นเยี่ยม
บัฟเฟตต์เรียนการลงทุนจากอาจารย์ชื่อ เบน แกรม และจากการทำงานกับบริษัทที่อาจารย์ผู้นั้นเป็นหุ้นส่วนซึ่งมีแนวคิดหลัก ๆ อยู่ 3 ข้อคือ ข้อแรก ต้องแยกให้ออกระหว่าง “ราคา” กับ “มูลค่า” ของหุ้น ราคาเป็นสิ่งที่ซื้อขายกันในตลาด ส่วนค่าเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อได้ไป แต่คนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นและคิดว่าสองสิ่งนั้นเท่ากัน ข้อสอง ซื้อเฉพาะหุ้นที่มี “ส่วนเผื่อความปลอดภัย” (margin of safety) สูงมากๆ เท่านั้น ส่วนเผื่อความปลอดภัยหมายถึงมูลค่าหุ้นที่สูงกว่าราคาหุ้นซึ่งซื้อขายกันอยู่ในตลาด บัฟเฟตต์ชี้ว่าการลงทุนที่ไม่ยึดความแตกต่างของสองอย่างนี้มีค่าเท่ากับการเก็งกำไร ไม่ใช่การลงทุน เขาหลีกเลี่ยงการเก็งกำไร แต่อาจใช้เงินสดที่มีอยู่ในมือซื้อขายในต่างตลาดเมื่อพบว่าราคาของสิ่งนั้นต่างกัน (arbitrage) หลักของการตัดสินใจว่าจะใช้เงินสดแบบนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 อย่างซึ่งวางอยู่บนฐานของข้อมูล ไม่ใช่ข่าวลือ นั่นคือ ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ ระยะเวลาที่จะใช้เงินนั้นทำอย่างอื่นไม่ได้ ค่าเสียโอกาสของเงิน และความเสียหายในกรณีที่เหตุการณ์นั้นไม่เกิดขึ้น ข้อสาม ลงทุนเฉพาะในกิจการที่ผู้ลงทุนมีความรู้ความเข้าใจเท่านั้น อย่าลงทุนตามกระแสในตลาด
####
ภาคสามพูดถึงการลงทุนทางเลือกนอกเหนือจากหุ้นสามัญ (Alternatives to Common Stock) บัฟเฟตต์นำหลักของเขาไปประยุกต์ใช้ในด้านนี้ใน 4 ทางเลือกคือ หุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูง หรือพันธบัตรขยะ (junk bonds) หุ้นกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (zero-coupon bonds) อนุพันธ์และเงินตราต่างประเทศ
นักลงทุนที่เชื่อในหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงสูงมักอ้างถึงภาวะพื้นฐานเรื่องการมีกริชจี้อกอยู่ นั่นคือ ผู้ขับรถจะใช้ความระมัดระวังมากขึ้นเป็นพิเศษในภาวะที่มีกริชผูกอยู่กับพวงมาลัยโดยให้ปลายชี้ไปที่หน้าอกของเขา ฉะนั้นการมีหนี้สินมากจะทำให้ผู้บริหารมีความระมัดระวังมากขึ้น นักลงทุนเหล่านี้อ้างถึงผลการวิจัยที่ยืนยันว่า ดอกเบี้ยสูงที่ได้จากหุ้นกู้จำพวกนี้ให้ผลตอบแทนเกินกว่าอัตราการเบี้ยวหนี้ที่ทำให้นักลงทุนสูญเงิน แต่บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นความผิดพลาดของพวกเขาทั้งจากทางปฏิบัติและทางทฤษฎีโดยอ้างถึงการล้มละลายในอัตราสูงมากของบริษัทที่มีหนี้สินสูงในช่วงเศรษฐกิจถดถอยเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับในด้านทฤษฎีที่นักลงทุนอ้างถึงซึ่งวางอยู่บนสมมติฐานที่ว่าภาวะรอบด้านที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นอีกนั้น บัฟเฟตตย์แย้งว่ามันเป็นไปไม่ได้
สำหรับด้านหุ้นกู้ที่ไม่มีดอกเบี้ย บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นว่า ในประวัติศาสตร์ของหุ้นกู้ชนิดนี้ ผู้ซื้อสามารถกำหนดอัตราค่าตอบแทนได้ในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยของหุ้นกู้ปกติ ในขณะเดียวกันมันก็เอื้อให้ผู้ออกหุ้นกู้สามารถกู้เงินได้มากกว่าในกรณีที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยเงินสดเป็นระยะ ๆ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อกิจการที่ออกหุ้นกู้เป็นผู้ที่มีความอ่อนแอทางการเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็ถึงผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งชำระหนี้ไม่ได้
อนุพันธ์เป็นตราสารใหม่ที่สร้างขึ้นจากความเคลื่อนไหวของดัชนีต่าง ๆ และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเนื่องจากนักลงทุนจำนวนมากเชื่อว่ามันเป็นวิธีบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ทั้งที่ BH ซื้ออนุพันธ์บ้างเป็นครั้งคราวในจำนวนไม่มากนักเมื่อเห็นว่าการตั้งราคาต่างไปจากมูลค่าที่แท้จริงของมันอย่างแจ้งชัด แต่บัฟเฟตต์ต่อต้านเพราะโดยพื้นฐานแล้วเขาเชื่อว่าไม่มีใครสามารถประเมินความเสี่ยงของมันได้ และซ้ำร้ายมันอาจก่อให้เกิดการเพิ่มความเสี่ยงเนื่องจากมันโยงไปถึงหลายสิ่งหลายอย่างและสถาบันการเงินจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนเดียวอาจแพร่ขยายไปสู่ภาคส่วนอื่นอย่างรวดเร็วยังผลให้ทั้งระบบประสบปัญหาร้ายแรงถึงขั้นวิกฤติ จริงอยู่บัฟเฟตต์ยอมรับว่า ทัศนคติของเขาเกี่ยวกับความเสี่ยงของอนุพันธ์อาจเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงแบบขนานใหญ่ที่จะทำให้บริษัทของเขาสูญสถานะของผู้มีประวัติแห่งความมั่นคงสูง แต่เขามีประสบการณ์ตรงจากการซื้อบริษัทประกันภัยมาแล้ว บริษัทนั้นขายยากเนื่องจากมีหนี้สินระยะยาวที่สลับซับซ้อนจำนวนมากที่ใช้เวลานานกว่าจะสะสางสำเร็จ
ในด้านเงินตราต่างประเทศ ต้นตอของปัญหามาจากการขาดดุลชำระเงินจำนวนมากอย่างต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกาจนทำให้ค่าของเงินดอลลาร์ตกต่ำเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น บัฟเฟตต์มองว่า การขาดดุลเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการโยกย้ายความมั่งคั่งของสหรัฐฯ ไปให้ชาวต่างประเทศ ร้ายยิ่งกว่านั้น นักลงทุนจากต่างประเทศที่ลงทุนในสหรัฐฯ เริ่มได้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงกว่าการลงทุนในต่างประเทศของชาวอเมริกันแล้ว และที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือ การขาดดุลนี้เกิดจากการบริโภคเกินพอดีของชาวอเมริกันซึ่งรังแต่จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจจนนำไปสู่วิกฤติการเมืองในสหรัฐฯ ได้ สภาพเช่นนี้มีผลต่อการลงทุนของ BH ซึ่งมีทรัพย์สินที่ถือไว้หลายหมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการตกต่ำของค่าเงินสกุลดอลลาร์ บัฟเฟตต์เริ่มเข้าไปทำธุรกรรมในตลาดเงินตราเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2545 นอกจากนั้น BH ยังซื้อหุ้นที่ตีค่าเป็นเงินตราสกุลอื่นนอกจากดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย
####
ภาคสี่ พูดถึงหุ้นสามัญ (Common Stock) ซึ่งเริ่มด้วยคำพูดที่บัฟเฟตต์ใช้กระเซ้านายหน้าค้าหุ้นผู้ติดตามเรื่องราวของ BH เมื่อวันที่หุ้นของ BH เปิดขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรกในปี 2531 ว่า เขาจะคิดว่านายหน้าประสบความสำเร็จใหญ่หลวงถ้าเขาสามารถขายหุ้นของ BH ครั้งต่อไปได้ในเวลาอีกสองปี คำพูดนั้นสะท้อนปรัชญาพื้นฐานในการซื้อขายหุ้นของบัฟเฟตต์ นั่นคือ ซื้อเพื่อเก็บไว้ มิใช่ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งก่อให้เกิด
ความสูญเปล่าสูงมากในรูปของค่านายหน้า ค่าบริหาร และค่าคำแนะนำของนักวางแผนการเงินและที่ปรึกษาทางธุรกิจ ในระยะหลังๆ นี้ยังมีค่าบริหารจัดการของอุตสาหกรรมใหม่เพิ่มเข้าไปในรูปของกองทุนเพื่อซื้อหุ้นเอกชนและกองทุนเพื่อเก็งกำไรซึ่งรวมกันแล้วเท่ากับราว 20% ของผลกำไรทั้งหมดที่บริษัทในสหรัฐฯ ทำได้ปีละประมาณ 7 แสนล้านดอลลาร์
ในขณะที่ประธานผู้บริหารคนอื่น ๆ มักต้องการให้หุ้นในบริษัทของตนซื้อขายในราคาที่สูงกว่ามูลค่าจริงของหุ้นมากที่สุด บัฟเฟตต์ต้องการเห็นหุ้นของ BH ซื้อขายกันในราคาเท่าๆ กับมูลค่าจริงของมัน การซื้อขายกันในราคาที่เท่าๆ กับมูลค่าหุ้นจริงแบบนั้นหมายถึงผลประกอบการในช่วงหนึ่งตกกับผู้ถือหุ้นในช่วงนั้นซึ่งสะท้อนปรัชญาที่ว่า ผู้ถือหุ้นซื้อหุ้นเพื่อการลงทุนระยะยาว ไม่ใช่เพื่อมองหากำไรในระยะสั้น บัฟเฟตต์เชื่อว่า การซื้อขายเพื่อหวังผลในระยะสั้นสร้างปัญหาต่อผลประกอบการในระยะยาว ฉะนั้นเขาจะหลีกเลี่ยง
Warren Buffett
ดังที่กล่าวถึงในตอนต้น ราคาหุ้นของ BH ขึ้นจาก 4 ดอลลาร์เป็น 75,000 ดอลลาร์ แต่ BH จ่ายเงินปันผลครั้งเดียวเพียง 10 เซนต์ต่อหุ้นและไม่เคยแตกหุ้นเลย นั่นเป็นการสะท้อนแนวคิดด้านการใช้ผลกำไรของบัฟเฟตต์ กฎเกณฑ์ในการตัดสินใจของเขาว่าจะจ่ายเงินปันผล หรือจะเก็บผลกำไรไว้เพื่อนำไปลงทุนต่อมีอยู่ข้อเดียวคือ เงินทุนที่เก็บไว้จะต้องทำผลกำไรได้ไม่ต่ำกว่าอัตราที่นักลงทุนทั่วไปสามารถทำได้ ผู้บริหารส่วนใหญ่มักไม่ทำตามกฎข้อนี้และเก็บผลกำไรไว้เพื่อจุดมุ่งหมายอื่นที่ไม่สะท้อนผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เช่น การสร้างอาณาจักรของตัวเองและเพื่อความสะดวกสบายในการหยิบมาใช้
สำหรับในด้านการซื้อหุ้นคืน เขาเห็นด้วยถ้าราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ต่ำกว่ามูลค่าจริงของหุ้นมากๆ ในอดีตการซื้อหุ้นคืนไม่เกิดขึ้นบ่อยนักนอกจากโดยผู้บริหารบางคนซึ่งมองเห็นว่า ถ้ามูลค่าหุ้นสูงกว่าราคาหุ้นในราวสองเท่าจริงๆ ไม่ว่าจะใช้เงินทำอะไรจะไม่ได้ค่าตอบแทนสูงกว่าการซื้อหุ้นคืน แต่ในระยะหลังนี้ ผู้บริหารมักซื้อหุ้นคืนด้วยราคาที่สูงกว่ามูลค่าหุ้นจริงเสียอีกเพื่อหวังจะอุ้มราคาหุ้นที่ซบเซา หรือไม่ก็เพื่อให้ได้หุ้นมาแทนหุ้นที่ออกไปในการออกตราสารสิทธิซื้อหุ้นซึ่งผู้บริหารใช้ซื้อหุ้นด้วยราคาต่ำกว่าตลาดมาก
ในด้านการแตกหุ้น บัฟเฟตต์เสนอให้ผู้ถือหุ้นติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะการแตกหุ้นมีผล 3 อย่างคือ มันทำให้เกิดความสูญเปล่ามากขึ้นเนื่องจากมันกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายบ่อยขึ้น มันดึงดูดนักซื้อหุ้นเพื่อหวังผลกำไรในระยะสั้นซึ่งเน้นเรื่องราคาหุ้นเกินความจำเป็น และสองปัจจัยที่กล่าวมานำไปสู่ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่าราคาและมูลค่าจริงของหุ้น หากไม่มีผลประโยชน์อย่างอื่นเข้ามาแทนอย่างคุ้มค่า การแตกหุ้นเป็นการกระทำที่สะท้อนความเขลา สำหรับ BH การกระทำเช่นนั้นจะเป็นการรื้อฐานของปรัชญาที่บริษัทใช้มาตลอดเพื่อดึงดูดนักลงทุนที่ซื้อหุ้นเก็บไว้ในระยะยาว
นโยบายเกี่ยวกับการปันผลและราคาหุ้นที่สูงมากของ BH มีผลพวง 2 อย่างได้แก่ ผู้ถือหุ้นยกหุ้นให้ผู้อื่นได้ยากมาก และมีนักธุรกิจหัวใสใช้ผลประกอบการของ BH ออกหลักทรัพย์เทียมออกมาขายในตลาด เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อตอนกลางปี 2539 BH ปรับโครงสร้างทุนด้วยการขายหุ้นชั้น B ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ใน 30 หุ้นชั้น A ที่บริษัทมีอยู่แล้ว แต่ในด้านการออกเสียงมีค่าเพียง 1 ใน 200 ของชั้น A เนื่องจากหุ้นชั้น A สามารถเปลี่ยนเป็นชั้น B ได้ ผู้ที่ต้องการแยกยกหุ้นให้ผู้อื่นสามารถแตกหุ้นด้วยตัวเองจากชั้น A เป็นชั้น B เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนั้นได้ และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ มันทำให้นักสร้างหลักทรัพย์เทียมหัวใสหมดโอกาสทำเงินได้จากผู้ไม่ค่อยรู้เรื่องราวของ BH อย่างลึกซึ้งและก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างราคาและมูลค่าจริงของหุ้น
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตลาดและเพื่อแสดงว่า การออกหุ้นชั้น B นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ต้องการถือหุ้นไว้ในระยะยาวเป็นผู้ซื้อ บัฟเฟตต์เองประกาศว่า เขาจะไม่ซื้อทั้งหุ้นชั้น A ตามราคาในตลาดและหุ้นชั้น B ตามราคาที่เสนอขายอย่างเด็ดขาด การประกาศเช่นนั้นมีผลตามที่เขาต้องการเนื่องจากต่อมาการซื้อขายหุ้นของ BH ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก
นักวิจารณ์พากันสงสัยว่าเพราะอะไรบัฟเฟตต์จึงทำเช่นนั้นเพราะโดยทั่วไปผู้บริหารจะประกาศว่าบริษัทขายหุ้นใหม่ในราคาน่าซื้อมาก แต่เนื่องจากการประกาศเช่นนั้นส่งสัญญาณว่าหุ้นออกใหม่ขายในราคาต่ำกว่ามูลค่าจริงของมันและการขายหุ้นเช่นนั้นมีค่าเท่ากับการปล้นผู้ที่มีหุ้นอยู่แล้ว บัฟเฟตต์จึงถือว่ามันเป็นอาชญากรรม
####
ภาคห้า พูดถึงการควบรวม (Mergers and Acquisitions) นโยบายในด้านนี้ของ BH มีชื่อว่าวิธี “ลูกซองแฝด” นั่นคือ จะซื้อบริษัทส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดเมื่อบริษัทนั้นมีทั้งลักษณะทางเศรษฐกิจที่ดีและมีผู้บริหารที่บัฟเฟตต์ชอบ เชื่อใจและเลื่อมใส บัฟเฟตต์เชื่อว่าการซื้อบริษัทไม่จำเป็นต้องซื้อด้วยราคาสูงเป็นพิเศษยกเว้นในสองกรณีซึ่งไม่มีโอกาสให้ซื้อบ่อยนัก นั่นคือ กรณีที่บริษัทมีธุรกิจชนิดผูกขาดซึ่งสามารถขึ้นราคาได้โดยไม่กระทบต่อการขายสินค้า และกรณีที่มีผู้จัดการซึ่งมีความสามารถเป็นพิเศษที่จะทำกำไรได้อย่างงดงามเกินธรรมดา แต่เนื่องจากโอกาสเช่นนี้มีเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก การซื้อกิจการมาควบรวมด้วยราคาแพง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจึงมักเกิดจากปัจจัยที่อยู่ในหัวของผู้บริหาร 3 ด้านด้วยกันคือ ความตื่นเต้นจากการได้ควบรวม ความตื่นเต้นจากการมีขนาดใหญ่ขึ้น และการสร้างวิมานในอากาศ
ในการซื้อบริษัทอื่น BH จะออกหุ้นใหม่ในกรณีเดียวคือ เมื่อแน่ใจว่าสิ่งที่ได้รับกับสิ่งที่ให้มีมูลค่าเท่ากัน แต่เรื่องนี้นับวันจะทำยากขึ้นเนื่องจาก BH ซื้อบริษัทไว้มากมาย การจะให้กิจการใหม่เพิ่มมูลค่าให้แก่สิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นยากมาก นอกจากนั้นการออกหุ้นใหม่ก็เปรียบเสมือนการตัดส่วนหนึ่งของสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ผู้อื่นไป โดยทั่วไปแล้ว บัฟเฟตต์มองว่าการควบรวมแบบออกหุ้นใหม่ทำได้ยากเนื่องจากการตีค่าหุ้นให้ตรงกับมูลค่าจริงของกิจการของฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายทำได้ยาก
บัฟเฟตต์ต่อต้านพฤติกรรมสำคัญในวงการธุรกิจที่มีค่าเท่ากับการกรรโชกทรัพย์ (green-mail) นั่นคือ ผู้บริหารถูกกดดันให้ซื้อคืนหุ้นของบริษัทที่อยู่ในมือของผู้ถือหุ้นบางคนด้วยราคาแพงเป็นพิเศษและถูกขู่ว่าถ้าไม่ซื้อ ผู้ถือหุ้นนั้นจะซื้อบริษัททั้งหมดแล้วตะเพิดผู้บริหารออกไป จริงอยู่พฤติกรรมชนิดนี้มีผลทำให้ราคาหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพิ่มขึ้น แต่บัฟเฟตต์ถือว่ามันเป็นการปล้นกันชัด ๆ ในทำนองเดียวกันเขาต่อต้านการเข้ายึดครองบริษัทด้วยการใช้เงินกู้ที่มีชื่อเรียกว่า leveraged buy-out ซึ่งมีผลทำให้บริษัทอ่อนแอลง ต้องดิ้นรนเป็นพิเศษเพื่อหาเงินสดมาชำระหนี้ และทำให้การควบรวมมีต้นทุนสูงเกินความจำเป็น
บัฟเฟตต์มองว่า การหากิจการมาควบรวมเพื่อให้บริษัทของตนมูลค่าสูงขึ้นนั้นทำยากมากและส่วนใหญ่การควบรวมทำให้มูลค่าจริงของบริษัทลดลง ในการพิจารณาซื้อกิจการมาควบรวม ผู้ซื้อจะต้องคำนวณเปรียบเทียบด้วยว่า ถ้าจะใช้เงินทุนนั้นทำอย่างอื่นจะได้ผลสูงกว่าหรือไม่โดยเฉพาะการแยกทุนไปซื้อหุ้นของบริษัทดีๆ ที่มีขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หลาย ๆ บริษัท ในการแสวงหากิจการมาควบรวม BH มักได้เปรียบผู้อื่นเนื่องจากมีหุ้นที่มีค่าสูงและมีประวัติในการให้อิสระสูงแก่ผู้บริหารจัดการของบริษัทที่ BH ซื้อมาควบรวม
####
ภาคหก พูดถึงการบัญชีและการประเมินมูลค่า (Accounting and Valuation) ซึ่งบัฟเฟตต์ต้องการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและข้อจำกัดของหลักการบัญชีที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในการสร้างความเข้าใจและการประเมินมูลค่าของกิจการและการลงทุน เขาให้ความกระจ่างด้านความแตกต่างระหว่างมูลค่าทางบัญชีกับมูลค่าทางเศรษฐกิจและแนวคิดต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาโดยเน้นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่สุดซึ่งทุกคนควรเข้าใจเกี่ยวกับบัญชี นั่นคือ มันเป็นเพียงรูปแบบ ฉะนั้นมันอาจถูกตกแต่งได้ เขานำข้อเขียนของอาจารย์
ของเขาที่เขียนเมื่อราว 70 ปีก่อนมาเสนอเพื่อชี้ให้เห็นว่า การตกแต่งบัญชีแบบร้ายแรงนั้นทำกันมานานแล้วและในสมัยนี้ก็ยังมีบริษัทต่างๆ ทำกันอยู่ บัฟเฟตต์ย้ำว่า รายงานทางการเงินที่ดีจะต้องให้ความกระจ่างใน 3 เรื่องคือ มูลค่าของบริษัท ความสามารถในการรักษาพันธสัญญาในอนาคตของบริษัท และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร บัฟเฟตต์เสนอแนวคิดหลายย่างเพื่อทำให้รายงานทางการเงินมีประโยชน์อย่างแท้จริงต่อนักลงทุนและผู้บริหารโดยเฉพาะการให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับผลกำไรที่เก็บไว้ในบริษัทที่ถูกซื้อ
บัฟเฟตต์พูดถึงความแตกต่างระหว่างค่าความนิยมทางบัญชี (accounting goodwill) และค่าความนิยมทางเศรษฐกิจ (economic goodwill) อย่างละเอียดทั้งที่เรื่องนี้มักเป็นที่รู้กันทั่วไปแล้ว ค่าความนิยมทางบัญชีหมายถึงส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกิจการกับสินทรัพย์สุทธิของกิจการนั้น ส่วนต่างนี้ถูกลงบัญชีงบดุลไว้เป็นสินทรัพย์ซึ่งจะค่อยๆ ทยอยตัดค่าเสื่อมสิ้นออกตามช่วงเวลาที่กำหนด ฉะนั้นค่าความนิยมทางบัญชีจะค่อยๆ ลดลงตามสัดส่วนที่ถูตัดออก ส่วนค่าความนิยมทางเศรษฐกิจหมายถึงสินทรัพย์ที่เป็นนามธรรม เช่น เครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางว่าบ่งบอกถึงคุณภาพสูง สินทรัพย์ชนิดนี้มีบทบาททำให้บริษัทสร้างกำไรได้เกินอัตราเฉลี่ย ปริมาณของค่าความนิยมได้มาจากการประเมินส่วนเกินนั้นซึ่งมักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปในอัตราไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ กิจการที่มีค่าความนิยมทางเศรษฐกิจสูงจะได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อน้อยกว่ากิจการที่มีค่าความนิยมทางเศรษฐกิจต่ำ
การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าความนิยมสองชนิดนี้นำไปสู่ข้อเสนอเรื่องการปรับเปลี่ยนการทำบัญชีที่มีการโต้เถียงกันมาเวลานาน นั่นคือ การควบรวมของบริษัทอาจทำบัญชีได้ในสองรูปแบบ จะทำแบบไหนขึ้นอยู่กับการมองว่าบริษัทหนึ่งซื้ออีกบริษัทหนึ่ง หรือมองว่าทั้งสองเข้ามารวมตัวกัน หากมองว่าเป็นการซื้อ ผลประกอบการจะต้องถูกหักออกด้วยค่าเสื่อมสิ้นเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงนิยมมองว่ามันเป็นการรวมตัวกันซึ่งจะไม่ทำให้ผลประกอบการถูกลด แต่นักการบัญชีที่แท้จริงเห็นว่าไม่น่าให้ทำได้ บัฟเฟตต์เสนอทางออกว่า ให้บันทึกค่าความนิยมไว้ในบัญชี แต่ไม่ต้องบังคับให้หักค่าเสื่อมสิ้นออกจากผลประกอบการในอนาคตโดยอัตโนมัติ ข้อเสนอนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้สองฝ่ายพอใจ มันยังจะทำให้เกิดบัญชีที่ตรงกับความเป็นจริงอีกด้วย ข้อเสนอนี้ในที่สุดได้รับการยอมรับในวงการบัญชี
บัฟเฟตต์ให้ความสำคัญต่อมูลค่าในตัว (intrinsic value) ซึ่งต่างกับมูลค่าตามบัญชีและราคาซื้อขายในตลาด ความแตกต่างนี้ยากแก่การคำนวณ ทั้งนี้เพราะการคำนวณหาค่าในตัวนั้นยากมากทั้งที่มันมีคำจำกัดความแน่นอนว่า “ค่าปัจจุบันของเงินสดที่จะนำออกไปจากกิจการได้ในช่วงเวลาที่กิจการนั้นยังดำรงอยู่” ความยากเกิดจากการประเมินเงินสดที่จะได้มาในอนาคตและความเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย ในการประเมินค่า บัฟเฟตต์ยึดหลักที่อีสปสอนไว้ตั้งแต่สมัยโบราณกาลที่ว่า “นกหนึ่งตัวในมือมีค่าเท่ากับนกสองตัวในป่า” นั่นคือ การประเมินเป็นการนับเงินสด ไม่ใช่นับความหวังหรือความฝันซึ่งคนในยุคนี้มักนิยมทำกันจนนำไปสู่การเกิดฟองสบู่เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามดูจะยังไม่มีใครได้บทเรียนในเรื่องนี้
####
ภาคเจ็ด พูดถึงนโยบายทางการบัญชีและเรื่องภาษี (Accounting Policy and Tax Matters) ตามธรรมดาหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปก็มีปัญหามากพออยู่แล้ว แต่ยังมีคนจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งการตั้งใจโกงด้วย ฉะนั้นข้อเสนอที่จะปรับเปลี่ยนวิธีทำบัญชีที่จะนำไปสู่ความซื่อตรงจึงเกิดขึ้นตลอดเวลา ล่าสุดมีข้อเสนอที่ชื่อว่า “การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง” ซึ่งรวมหลายสิ่งหลายอย่างไว้โดยเฉพาะการทำสิ่งที่มีค่าเท่ากับการตกแต่งบัญชี ด้วยเหตุนี้บางทีผู้ที่มีความซื่อตรงต้องให้ข้อมูลนอกเหนือจากส่วนที่ถูกบังคับซึ่งบัฟเฟตต์เองทำเป็นประจำ เช่น การแยกแยะข้อมูลอย่างละเอียดซึ่งตามหลักการไม่จำเป็นต้องทำ แต่เขาทำเพราะถ้าเขาเป็นผู้ดูบัญชีของผู้อื่น เขาต้องการเห็นข้อมูลเหล่านั้น บัญชีที่แนบไปกับการจ่ายภาษีของเขาเมื่อ 2546 จึงมีเกือบ 9,000 หน้า
การปฏิบัติเกินเช่นนี้บางทีก็นำไปสู่การยอมรับกันโดยทั่วไป เช่น การบันทึกพันธสัญญาที่จะให้ผลประโยชน์แก่พนักงานเกษียณซึ่งไม่เคยต้องทำมาก่อน เกี่ยวกับประเด็นนี้ บัฟเฟตต์เล่าว่าเขาพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีพันธสัญญามาก ๆ แม้พันธสัญญานั้นจะไม่ปรากฏในบัญชีก็ตาม ครั้งหนึ่งเขาเกือบจะซื้อบริษัทหนึ่งซึ่งมีพันธสัญญาที่จะต้องจ่ายในอนาคตจำนวนมาก เขาโชคดีที่การซื้อบริษัทนั้นประสบอุปสรรคเสียก่อน ต่อมามีบริษัทอื่นยื่นมือเข้ามาซื้อและเพียงไม่นานก็พบว่าสิ่งที่ซื้อไปไม่มีค่าเพราะต้องล้มละลาย ด้วยเหตุผลเดียวกัน เขาต่อต้านการประกันตัวเองเนื่องจากผลประกอบการในบัญชีวันนี้อาจดูดี หากเมื่อถึงวันต้องจ่าย ความเสียหายอาจใหญ่หลวงเกินคาด ทั้งที่บัญชีมีข้อจำกัด แต่บัฟเฟตต์เชื่อว่ามันมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดและข้อมูลทางการเงินมีประโยชน์ต่อนักลงทุนสูง
ในตอนสุดท้าย บัฟเฟตต์พูดถึงประโยชน์ทางภาษีที่เกิดจากการลงทุนระยะยาวเนื่องจากภาษีกำไรส่วนทุนจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อเขาขายกิจการที่ซื้อมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกิจการของเขามักทำกำไรได้อย่างงดงาม ในปี 2546 บริษัทของเขาต้องจ่ายภาษีถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์ซึ่งคิดเป็นราว 2.5% ของภาษีเงินได้ที่บริษัทในสหรัฐฯ ทั้งหมดจ่าย นั่นเป็นการจ่ายในอัตราสูงกว่าบริษัทอื่น ๆ แต่เขาเต็มใจเพราะเขามองว่าเขามีโอกาสทำเงินได้มากกว่าผู้อื่นทั้งที่ใช้ความพยายามพอๆ กัน
ในบทส่งท้าย บัฟเฟตต์บอกว่าเขาจะทำสิ่งที่เขาทำมาแล้วต่อไป นั่นคือ ถือครองทุกอย่างไว้เพื่อผลในระยะยาว แต่เขาบอกผู้ถือหุ้นใน BH ว่า ในอนาคตโอกาสที่จะเติบโตต่อไปในอัตราของอดีตย่อมเป็นไปไม่ได้เนื่องจากมันผิดธรรมชาติที่บริษัทเดียวจะขยายตัวสูงกว่าผู้อื่นตลอดกาล เขายกตัวอย่างว่า ตามอัตราการขยายตัวของแบคทีเรีย หากมันไม่ตาย ภายในสองวันน้ำหนักของพวกมันรวมกันจะเท่ากับน้ำหนักดวงอาทิตย์ ฉะนั้น หากมันไม่ตายด้วยตัวเอง จะต้องมีเหตุการณ์ที่ทำให้พวกมันตาย เขาจะรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ไว้ในรูปของหุ้นใน BH ต่อไปและได้ระบุไว้ในพินัยกรรมของเขาว่า หลังเขาตายให้นำทรัพย์สินของเขาทั้งหมดไปใช้ในการกุศลภายใน 10 ปี
ข้อสังเกต: จดหมายที่นำมารวมไว้ในหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นก่อนวันที่บัฟเฟตต์จะตกลงให้มูลนิธิของบิลล์ เกตส์ เป็นผู้นำทรัพย์สินของเขาไปใช้เพื่อการกุศล บิลล์ เกตส์เคยพูดว่า การใช้เงินให้เกิดประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายนั้นยากกว่าการทำเงิน ต้องคอยดูต่อไปว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังบัฟเฟตต์จากโลกนี้ไป เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มาจากคำพูดของบัฟเฟตต์เอง ผู้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตและแนวคิดของเขาเพิ่มขึ้นอาจไปอ่านเรื่อง The Snowball: Warren Buffett and the Business of Life โดย Alice Schroeder ซึ่งพิมพ์เมื่อเดือนกันยายน 2551 และมีความยาวสมกับความร่ำรวยของเขาคือ เกือบ 1,000 หน้า นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมข้อคิดของเขาออกมาในรูป “บัญญัติ 10 ประการ” โดย Michael Brush เผยแพร่ไปตามสื่อต่าง ๆ เมื่อต้นเดือนมกราคา 2552 แม้บริบทของเนื้อหาจะเป็นวงการธุรกิจในสหรัฐอเมริกา แต่แนวคิดของบัฟเฟตต์ส่วนใหญ่น่าจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกสังคม
ความโดดเด่นเป็นพิเศษของบัฟเฟตต์ที่สื่อมักพูดถึงบ่อย ๆ คือ ความมัธยัสถ์ของเขา แม้จะร่ำรวยจนถึงขั้นเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่เขายังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมซึ่งเขาซื้อไว้ตั้งแต่สมัยเพิ่งก่อร่างสร้างตัว บ้านได้รับการต่อเติมบ้างเป็นบางส่วน แต่ก็ไม่ถึงกับใหญ่โตหรือโอ่อ่าเฉกเช่นของมหาเศรษฐีส่วนใหญ่ การดำเนินชีวิตแบบนี้ค่อนข้างย้อนยุค แต่จากข่าวที่พอหาอ่านได้ เขาก็ดูจะมีความสุขไม่น้อยกว่าผู้อื่น แน่ละ สิ่งที่น่าชื่นชมเป็นพิเศษของบุคคลผู้นี้ก็คือ ความมีน้ำใจที่จะอุทิศทรัพย์สมบัติเกือบทั้งหมดให้แก่การแก้ปัญหาของมนุษยชาติ.
บ้านแบบของวอร์เรน บัฟเฟตต์ซึ่งเป็นบ้านแบบของคนอเมริกันชั้นกลางซึ่งไม่มีกระทั่งรั้วหน้าบ้าน
Credit : http://sawaiboonma.com/
ค้นพบงานที่รัก(การลงทุน)ด้วยความบังเอิญ
ย้อนกลับไปสมัยเริ่มทำงานใหม่ๆ ผมได้ค้นพบว่าผมไม่เหมาะกับการเป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่ชอบการถูกสั่งงานโดยหัวหน้า ไม่ชอบการตอกบัตรเข้าออกตามเวลา และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ผมพยายามค้นหาอิสรภาพทางการเงินอยู่ตลอดเวลา ทั้งทำงานเครือข่าย ทำGoogle adsense(ขายโฆษณาในเว็ป) และอื่นๆอีกมากมายที่คิดจะทำแต่ยังไม่ได้ลองทำ
จนกระทั่งปลายปี2549 ผมบังเอิญได้รู้จักเพื่อนคนนึงซึ่งทำงานเป็นพนักงานธนาคาร เพื่อนผมคนนี้แนะนำให้ผมซื้อกองทุนรวม ตอนนั้นผมมีเงินเก็บอยู่ประมาณ 50,000 บาท ผมเดินเข้าไปในธนาคารไทยพาณิชณ์แล้วบอกเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า
ผม : "ผมมาซื้อกองทุนรวมครับ"
เจ้าหน้าที่ธนาคาร : "จะซื้อตัวไหนละ"
ผม(คิดในใจ) : กองทุนรวมมันมีหลายตัวเหรอ? นึกว่ามีแค่ตัวเดียว
เจ้าหน้าที่ธนาคาร : "สงสัยLTF มั่ง"
ผม(คิดในใจ) : แล้วLTF มันคืออะไรอะ?????
ผม : "งั้นซื้อLTFก็แล้วกัน" ซื้อหมดเลย50,000บาท
หลังจากนั้นผมก็เดินกลับบ้านแบบงงๆ พร้อมกับได้กองทุนLTFมา50,000บาท เวลาอยู่ที่ทำงานผมก็จะเข้าเวปไปดูราคากองทุนLTF อยู่บ่อยๆ ดูไป2-3เดือนก็เริ่มเบื่อเนื่องจาก จะขายก็ขายไม่ได้เพราะว่าปีนึงขายได้แค่2ครั้ง คือต้นปีกับกลางปี พอครบกำหนดที่จะขายกองทุนLTFผมก็รีบขายทันที ได้กำไร 10,000บาท เงิน50,000บาทกลายเป็นเงิน60,000บาทภายในเวลาแค่6เดือน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่เลวสำหรับการลงทุนครั้งแรก หลังจากขายกองทุนLTF ผมก็เข้าไปซื้อกองทุนSCBSET เป็นกองทุนที่อิงกับดัชนีหุ้นและซื้อขายได้ทุกวัน ซื้อขายกองทุนSCBSETได้ประมาณ5เดือนก็เริ่มเบื่อเนื่องจากอยากเล่นหุ้นรายตัวมากกว่า จึงหาข้อมูลในGoogle เกี่ยวกับวิธีการลงทุนในหุ้น หลังจากนั้นก็ได้เปิดพอร์ทกับโบรกเกอร์กิมเอ็ง และเริ่มต้นฝากเงินเข้าไปครั้งแรก 10,000บาท นี่เป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุนของผม
ผมรู้สึกสนุกกับการลงทุนและการหาความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับการลงทุนจนหายใจเข้าออกเป็นการลงทุน และรู้ได้ทันทีว่าการลงทุนนี่แหละคืองานที่ผมรักและจะนำพาผมและครอบครัวไปสู่อิสรภาพทางการเงิน
เขียนโดย เอกพงษ์ บุญจร
จนกระทั่งปลายปี2549 ผมบังเอิญได้รู้จักเพื่อนคนนึงซึ่งทำงานเป็นพนักงานธนาคาร เพื่อนผมคนนี้แนะนำให้ผมซื้อกองทุนรวม ตอนนั้นผมมีเงินเก็บอยู่ประมาณ 50,000 บาท ผมเดินเข้าไปในธนาคารไทยพาณิชณ์แล้วบอกเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า
ผม : "ผมมาซื้อกองทุนรวมครับ"
เจ้าหน้าที่ธนาคาร : "จะซื้อตัวไหนละ"
ผม(คิดในใจ) : กองทุนรวมมันมีหลายตัวเหรอ? นึกว่ามีแค่ตัวเดียว
เจ้าหน้าที่ธนาคาร : "สงสัยLTF มั่ง"
ผม(คิดในใจ) : แล้วLTF มันคืออะไรอะ?????
ผม : "งั้นซื้อLTFก็แล้วกัน" ซื้อหมดเลย50,000บาท
หลังจากนั้นผมก็เดินกลับบ้านแบบงงๆ พร้อมกับได้กองทุนLTFมา50,000บาท เวลาอยู่ที่ทำงานผมก็จะเข้าเวปไปดูราคากองทุนLTF อยู่บ่อยๆ ดูไป2-3เดือนก็เริ่มเบื่อเนื่องจาก จะขายก็ขายไม่ได้เพราะว่าปีนึงขายได้แค่2ครั้ง คือต้นปีกับกลางปี พอครบกำหนดที่จะขายกองทุนLTFผมก็รีบขายทันที ได้กำไร 10,000บาท เงิน50,000บาทกลายเป็นเงิน60,000บาทภายในเวลาแค่6เดือน ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่เลวสำหรับการลงทุนครั้งแรก หลังจากขายกองทุนLTF ผมก็เข้าไปซื้อกองทุนSCBSET เป็นกองทุนที่อิงกับดัชนีหุ้นและซื้อขายได้ทุกวัน ซื้อขายกองทุนSCBSETได้ประมาณ5เดือนก็เริ่มเบื่อเนื่องจากอยากเล่นหุ้นรายตัวมากกว่า จึงหาข้อมูลในGoogle เกี่ยวกับวิธีการลงทุนในหุ้น หลังจากนั้นก็ได้เปิดพอร์ทกับโบรกเกอร์กิมเอ็ง และเริ่มต้นฝากเงินเข้าไปครั้งแรก 10,000บาท นี่เป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุนของผม
ผมรู้สึกสนุกกับการลงทุนและการหาความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับการลงทุนจนหายใจเข้าออกเป็นการลงทุน และรู้ได้ทันทีว่าการลงทุนนี่แหละคืองานที่ผมรักและจะนำพาผมและครอบครัวไปสู่อิสรภาพทางการเงิน
เขียนโดย เอกพงษ์ บุญจร
จุดประสงค์ในการสร้างบล็อก
ปกติผมไม่ค่อยถนัดในเรื่องการเขียน ไม่ว่าจะเป็นเขียนจดหมาย เขียนบทความ เขียนเรียงความ มักจะเขียนวกไปวนมา แต่หลังจากที่ได้ลงทุนในตลาดหุ้นมาสักพัก ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนมาก็มาก ประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุนก็พอมีบ้าง จึงมีความคิดอยากเก็บรวมรวมความรู้ที่กับการลงทุนไว้ในบล็อกนี้ เพื่อเก็บเป็นองค์ความรู้( Knowledge Management) เผื่อวันไหนอยากกลับมาอ่านทบทวนก็สามารถทำได้ โดยตั้งใจไว้ว่าจะรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก ได้แก่
1. ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
2. สรุปเนื้อหาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุน
3. สรุปเนื้อหาจากการอบรม สัมนา
4. ข้อคิด คำคม เกี่ยวกับการลงทุน
5. ประสบการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นของผม
1. ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
2. สรุปเนื้อหาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุน
3. สรุปเนื้อหาจากการอบรม สัมนา
4. ข้อคิด คำคม เกี่ยวกับการลงทุน
5. ประสบการณ์การลงทุนในตลาดหุ้นของผม
เขียนโดย เอกพงษ์ บุญจร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)