การดำเนินงานของ Mutual Series Fund จะเน้นไปที่การหาหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินมากๆ หลักการลงทุนของ กองทุนแห่งนี้จะเน้นไปที่การตรวจสอบงบการเงิน โดยเฉพาะตรวจสอบ ‘งบดุล’ เป็นหลัก คล้ายๆกับการลงทุนของต้นตำรับอย่าง เบนจามิน เกรแฮม
ดังที่ ไมเคิล ไพรซ์ กล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า
อย่างแรก ราคาหุ้นของบริษัทจะต้องอยู่ในระดับที่มีส่วนลดจากมูลค่าทรัพย์สิน
อย่างที่สอง ผู้บริหารต้องถือหุ้นของบริษัท ยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
อย่างสุดท้าย งบดุลของบริษัทต้องสะอาดหมดจด มีหนี้สินน้อย ซึ่งนั่นจะชี้ว่า ความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทอยู่ในระดับต่ำ หากคุณดูทั้งสามสิ่งนี้ คุณจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ
นอกเหนือจากนั้น ไมเคิล ไพรซ์ ยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการลงทุนของเขา กับการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ อีกว่า วิธีการไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือแนวคิด ”บัฟเฟตต์จะเด่นในเรื่องการเสาะหาธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน เราไม่เก่งในเรื่องนั้น เราจะมองหาคุณค่า”
การลงทุนของ Mutual Series Fund ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ ไมเคิล ไพรซ์ อย่างมาก โดยเฉพาะที่ผ่านมา การตัดสินใจการลงทุนทั้งหมดจะมาจาก ไมเคิล ไพรซ์ เพียงคนเดียว และกองทุนแห่งนี้ก็ได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจในระยะยาว
ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้กล่าวถึงคำถาม 5 ข้อ ที่นักลงทุนควรจะพิจารณาเพื่อประเมินความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุนของตน กฎเกณท์เหล่านี้ เรียกว่า กุญแจ 5 ดอก ซึ่งนักลงทุนสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์การลงทุนของตนเองได้เป็นอย่างดี
กุญแจ 5 ดอกของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า สามารถสรุปคร่าวๆได้ดังต่อไปนี้
นับว่าเป็นแนวคิดที่ผมเชื่อว่าเป็นต้นแบบหนึ่งที่ดีที่สุดของการลงทุนแนวพื้นฐานหรือที่หลายๆท่านเรียกว่าValue Investment (VI) แนวคิดที่ว่าประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 5อย่าง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางที่เรายึดถือปฏิบัติได้จริงก่อนพิจารณาลงทุนในบริษัทหนึ่งๆกุญแจ 5 ดอกกับการประยุกต์ใช้ที่ว่า ได้แก่
กุญแจดอกที่หนึ่ง : บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ดีหรือไม่
ธุรกิจการพิจารณาตัวธุรกิจที่เราจะลงทุนควรจะเริ่มจากการที่เราเข้าใจในธุรกิจนั้นๆอย่างถี่ถ้วน ว่าธุรกิจนั้นๆมีการเข้าออกของเงินอย่างไรปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อรายจ่ายและรายได้ของตัวบริษัทคืออะไรความเสี่ยงของตัวธุรกิจคืออะไรรวมไปถึงธรรมาภิบาลของผู้บริหารในบริษัทนั้นๆ เป็นอย่างไรข้อมูลส่วนนี้เราอาจจะหาเบื้องต้นได้จาก แบบ 56-1 ซึ่ง download ได้จากset.or.th หรือ sec.or.th อย่างน้อยๆ สิ่งที่เราควรจะต้องผ่านตาคือ บทของBusiness, Product, Risk, Financial ใน แบบ 56-1 นอกจากนั้นข้อมูลอื่นๆอาจจะหาได้จากบทสัมภาษผู้บริหาร, Oppday, AGM, หรือเว็บไซท์ของบริษัท
กุญแจดอกที่สอง : มูลค่าที่เหมาะสมของบริษัทนี้อยู่ที่เท่าไหร่
มูลค่าที่เหมาะสมมูลค่าที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่บอกด้วยตัวเลขที่แน่นอนค่อนข้างยากมูลค่าที่เหมาะสมของตัวเราอาจจะไม่เท่ากับของคนอื่นเนื่องจากแต่ละคนมีสมมุติฐานในการคำนวณมูลค่าแตกต่างกันปกติแล้ววิธีการคำนวณมูลค่ามีหลายวิธี ที่นิยมใช้กันมากคือใช้ค่า P/Eไปจนถึงวิธีที่ต้องใช้สมมติฐานค่อนข้างเยอะคือ DCF ผมมองว่าการใช้ P/Eในการบอกมูลค่าที่เหมาะสม จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เนื่องจากค่าP/E ที่เราให้กับบริษัทหนึ่งๆ ค่อนข้าง subjectiveเรามักจะต้องสั่งสมประสบการณ์ในตลาดพอสมควรจึงจะบอกได้ว่า P/Eที่เหมาะสมของบริษัทนั้นนี้ น่าจะมีค่าเท่าไหร่ ซึ่งการอยู่ในตลาดนานๆและการมองค่า P/E ของบริษัทในอดีตประกอบ จะทำให้เราเข้าใจและให้ค่า P/Eกับบริษัทในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมได้ดีขึ้น สำหรับ DCFนั้นต้องใช้องค์ประกอบหลายตัวในการคำนวณโอกาสในการผิดพลาดก็ยิ่งจะมากขี้นไปอีกสำหรับหนังสือเล่มนี้ใช้วิธีการหามูลค่าที่เหมาะสมหลายๆวิธีแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกทีซึ่งผมก็คิดว่าทำให้เราได้ค่าที่ออกมาไม่โอนเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไป
กุญแจดอกที่สาม : ราคาหุ้นของบริษัทอยู่ในระดับที่น่าสนใจหรือไม่
ราคาหุ้นสำหรับปัจจัยนี้ ผมคิดว่าเป็นแค่ตัวที่ใช้อ้างอิงให้เรารู้ว่า ณ เวลานี้เราควรลงทุนกับบริษัทนี้หรือไม่ ซึ่งเราอาจจะมีกฏการลงทุนของเราเอง เช่นในกรณีที่ค่า P/E ของทั้งตลาด < 10เราอาจต้องการลงทุนในบริษัทที่ราคาหุ้นในปัจจุบันมีส่วนลดจากมูลค่าที่เหมาะสมที่เราคำนวณได้ในข้อ 2 มากกว่า 50% หรือในกรณีที่ P/E ของทั้งตลาด >10เราอาจจะหาบริษัทที่มีส่วนลดดังกล่าวยากเราอาจจะกำหนดให้ส่วนลดที่ว่าเป็น มากกว่า 30% ในหนังสือการลงทุนเล่มนี้กล่าวไว้ว่า เราควรรู้ที่มาที่ไปของราคาด้วย หมายถึงสาเหตุอะไรที่ทำให้ราคาหุ้นขณะนั้นอยู่ที่เท่านั้น เราสามารถดูค่า P/Eที่ตลาดมอบให้กับหุ้นตัวนั้นในเวลานั้นๆพร้อมกับเวลาในอดีตมาประกอบในการคิดพิจารณา บางครั้งตลาดอาจจะให้ค่า P/Eของบริษัทต่ำประมาณ 5-6 ซึ่งเราอาจจะหาข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่าบริษัทให้ปันผลในอัตราต่ำมาโดยตลอด หรือกำไรของบริษัททำนายได้ยากปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้ทำให้ตลาดมองข้ามบริษัทนี้ไปส่วนตัวผมกลับมาว่าจริงๆแล้วบริษัทที่ว่าอาจสร้างโอกาสทองให้เราได้ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หรือตัวเร่งขึ้น ไม่ภายในก็ภายนอกจนทำให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนไปในทางที่มีแนวโน้มให้ตลาด ปรับ P/Eของบริษัทให้สูงขึ้น
กุญแจดอกที่สี่ : ตัวเร่ง (Catalyst) ที่มีประสิทธิภาพมีโอกาสเกิดขี้นแค่ไหน
ตัวเร่งการลงทุนแบบ VI ไม่ใช่การลงทุนแบบถือยาวแต่เป็นการลงทุนในบริษัทที่มีราคาซื้อขายในตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงที่เราคำนวณได้และเชื่อว่าราคาหุ้นดังกล่าวจะ รับตัวขึ้นไปยังมูลค่านั้นๆในระยะเวลาที่เหมาะสม จริงๆแล้วการถือหุ้นเป็นระยะเวลานานเกินไปกว่าราคาจะปรับขึ้นไปยังเป้าหมายที่เราคาดไว้อาจทำให้ผลตอบแทนต่อปีที่เราได้ลดลงเนื่องจากเรามีต้นทุนอีกตัวที่คอยลดหลั่นผลตอบแทนที่เราจะทำได้เรียกว่าต้นทุนเวลาซึ่งตัวเร่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราลดต้นทุนดังกล่าวเราอาจจะพบตัวเร่งได้จากข้อมูลที่ประกาศใน set.or.thก่อนตลาดเปิดช่วงเช้า ช่วงบ่าย หรือแม้แต่หลังตลาดปิด หรือจากบทสัมภาษผู้บริหารและการถามตอบใน Oppday หรือ AGM รวมทั้ง CompanyVisit ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากเราอาจจะได้ข่าวสารมาจากหลายแหล่งทุกทั่วสารทิศเราจึงควรประเมินตัวเร่งดังกล่าวอีกครั้งว่ามีโอกาสเกิดมากน้อยเพียงไรการพิจารณาเป็นกรณีๆไปถึงโอกาสเกิดของตัวเร่งแต่ละตัวอันจะส่งผลให้ราคาในตลาดวิ่งไปหามูลค่าที่เหมาะสมที่เราคาดไว้จะช่วยให้เราประเมินคร่าวๆ ได้ถึงผลตอบแทนที่คาดหวังได้ใน ช่วงเวลาหนึ่งๆ
กุญแจดอกที่ห้า : ราคาที่ซื้อให้ส่วนเผื่อความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน
ส่วนเผื่อความปลอดภัยปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ผมให้ความสำคัญมากที่สุดในการเลือกลงทุนในบริษัทหนึ่งๆส่วนเผื่อความปลอดภัยในความหมายของผมไม่ใช่ Upsideหรือความแตกต่างระหว่างราคาปัจจุบันกับราคาเป้าหมายแต่เป็นความแตกต่างระหว่างราคาในปัจจุบัน กับราคาที่อาจจะเป็นไปได้ในกรณีที่เกิดอะไรแบบผิดคาด พูดง่ายๆ คือการที่เรามอง Downside risk ทางด้านราคาเป็นหลักไว้ก่อนนั่นเองการบอกถึงค่าที่แน่นอนของส่วนเผื่อความปลอดภัยนั้น ยากไม่แพ้การประเมินUpside ส่วนตัวผมคิดว่ายากกว่าการหา Upside ซะด้วยซ้ำเนื่องจากผมมองว่ามีหลายๆปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดสำหรับตัวผมเอง ผมมักจะดู อัตราเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับจากผลประกอบการที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่ตลาดชอบอัตราเงินปันผล > 10% และไม่ค่อยให้ราคาต่ำกว่านั้นยกเว้นในกรณีที่เกิดวิกฤติ นอกจากดูอัตราเงินปันผลแล้วผมมักจะดูถึงกระแสการลงทุนในขณะนั้น ว่าผมอยู่ในกลุ่มในของการลงทุน เช่นกลุ่มแรกที่พบบริษัทนี้ กลุ่มที่สองที่ซื้อตามกลุ่มแรกหรือกลุ่มที่สามที่พบหลังสุดที่ลงทุนเมื่อทุกคนต่างก็พูดถึงหุ้นตัวนั้นๆแล้ว การดู technical และ กราฟประกอบจะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดขึ้นส่วนตัวไม่ชอบที่จะลงทุนในกลุ่มที่สามเนื่องจากส่วนใหญ่กลุ่มที่สามนี้มักจะได้ซื้อหุ้นในราคาที่มีส่วนลดน้อยกว่ากลุ่มอื่นและมีความเสี่ยงของการตกของราคาหุ้นในกรณีที่เกิดเหตุการที่ไม่คาดฝันในทางลบแม้เพียงนิดเดียว ตามการที่เราประมาณการได้ว่าเรามีโอกาสที่จะขาดทุนได้เท่าไหร่เมื่อเราลงทุนในบริษัทนั้นๆ เวลานั้นๆทำให้เรามองเห็นส่วนเผื่อความปลอดภัยที่เรามีและช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาเงินต้นของเราได้
ท้ายที่สุดแล้ว การลงทุนไม่มีรูปแบบที่แน่นอนแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยยีดหลักแนวทางพื้นฐานที่เหมาะสมจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่เหมาะสมเช่นเดียวกันในระยะยาวขอให้ทุกๆท่านโชคดีในการลงทุนครับ