วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วิเคราะห์เชิงคุณภาพ(5force) โดยอ.สรรพงศ์


เขียนเรื่องการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (การวิเคราะห์อัตราส่วนต่างๆ การวิเคราะห์มูลค่า เป็นต้น) แต่การวิเคราะห์เชิงคุณภาพไม่ได้กล่าวถึงบ้างเลย ทั้งที่การวิเคราะห์ด้านคุณภาพนี้ก็นับเป็นหัวใจในการวิเคราะห์หุ้นเช่นกัน มีการเขียนหรือหนังสือการลงทุนมากมายที่ถือว่าเป็นแนวคิดที่ดีมากมาย ปีเตอร์ ลินช์ (Peter Lynch) ก็ให้แนวคิดแบ่งกลุ่มหุ้นว่าหุ้นมีหลากหลาย เช่นประเภทอุ้ยอ้าย (Slow growers) ประเภทแข็งแกร่ง(Stalwarts) ประเภทโตเร็ว (Fast growers) ประเภทขึ้นลงตามวัฎจักร (Cyclicals) ประเภทเริ่มฟื้นตัว (Turnarounds) หรือประเภท สินทรัพย์แฝง (Asset plays) เป็นต้นหรือวิธีการเลือกหุ้นของเทมเพิลตันในการเลือกซื้อซื้อคุณภาพดีราคาถูก หุ้นคุณภาพดีคือ
-      หุ้นที่เป็นผู้ นำตลาด ผู้นำเทคโนโลยี ผู้นำทางนวัตกรรม และกำลังเติบโต
-      ทีมผู้บริหารแข็งแกร่ง มีประวัติความสำเร็จมายาวนาน
-      มีต้นทุนผลิตต่ำในอุตสาหกรรม (มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงต่อเนื่องมั่นคง)
-      มีโครงสร้างทุนและการเงินที่แข็งแกร่ง
-      เป็นบริษัทแรกๆในตลาดใหม่ๆ
-      มีตราสินค้าได้รับการยอมรับในตลาดและสร้างผลกำไรในอัตราสูง
ในแนวคิดต่างมีมากมายจนหลายคนจำไม่หวาดไม่ไหว และบางครั้งก็อดคิดไม่ได้ว่าเวลาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้มองครบในประเด็นที่จำเป็นครบถ้วนหรือยัง

หลักการเบื้องต้นหนึ่งที่ผมใช้เป็นกรอบความคิดในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพคือ หลักการวิเคราะห์ 5 forces สำหรับอุตสาหกรรม คือ
  1. Rival Competition แรงผลักดันจากผู้ผลิตหรือคู่แข่งที่มีในอุตสาหกรรม การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ในเบื้องต้นให้พิจารณาว่าลักษณะของอุตสาหกรรมนั้นเป็นแบบใดใน 4 แบบ
1 Perfect Market ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดในลักษณะนี้จะแข่งขันด้านราคาสูง สินค้าจะเหมือนๆกัน กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือ Low Cost Leadership กลยุทธ์ขององค์กร (Corporate Strategies) คือ Productivity & Cost Control บ้างก็อาจลดต้นทันโดยการ เน้นการเติบโตในแนวดิ่ง (Vertical growth strategy)
2 Monopoly Market ตลาดผูกขาด ตลาดนี้มีผู้ผลิตรายเดียว ราคาจะสามารถกำหนดได้ด้วย วิธี cost plus โดยมีรัฐเข้ามาแทรกแซงระดับราคาไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภค สำหรับบางอุตสาหกรรมที่มีคู่แข่งหลายรายแต่อาจพยายามทำองค์กรให้เป็นการผูกขาด กลยุทธ์จะเน้นการเติบโตในแนวดิ่ง (Vertical growth strategy) ผูกขาดการผลิตตั้งแต่ upstream ถึง downstream
3 Oligopoly Market ตลาดผู้แข่งขันน้อยราย มีผู้แข่งขันไม่กี่ราย ราคาสินค้าผู้ผลิตกำหนดเองกำหนดได้ด้วยวิธี cost plus โดยมีรัฐเข้ามาแทรกแซงระดับราคาเช่นกัน องค์กรเหล่านี้สามารถใช้กลยุทธ์การเติบโตได้ทั้ง Vertical growth strategy และ Horizon growth strategy
4 Monopolistic Market ผู้แข่งขันมากราย สินค้าแข่งขันเพื่อสร้าง Market segment กลยุทธ์ที่ใช้ (Corporate Strategies) คือ Differentiation หรือกลยุทธ์สร้างความแตกต่าง และทำด้าน Focusing strategy คือการเน้นตลาด หรือสร้างจุดแข็งเฉพาะด้าน อาทิ โดดเด่นในตลาดผู้หญิง ช่องทางจำหน่าย หรือเน้นด้าน logistic เป็นต้น
สรุปคือทำให้สามารถมองและวิเคราะห์ได้ถึง
  - จำนวนคู่แข่งขัน ถ้าคู่แข่งขันมีจำวนมาก หรือมีขีดความสามารถพอๆกัน จะทำให้มีการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมนั้นๆ
       - อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโต การแข่งขันจะไม่รุนแรงมากนัก
       - ความแตกต่างของสินค้า ถ้าสินค้ามีความแตกต่างกันไป การแข่งขันก็จะน้อยลง
       - ความผูกพันในตรายี่ห้อ
       - กำลังการผลิตส่วนเกิน ถ้าอุตสาหกรรมมีกำลังผลิตส่วนเกิน การแข่งขันจะรุนแรง
       - ต้นทุนคงที่ของธุรกิจ และต้นทุนในการเก็บรักษา
     - อุปสรรคกีดขวางการออกจากอุตสาหกรรม เช่น ข้อตกลงกับสหภาพแรงงานในการจ่ายชดเชยที่สูงมาก

2. New Entrance การเข้าสู่อุตสาหกรรม อุปสรรคกีดขวางการเข้าสู่อุตสาหกรรม จะได้แก่
       - การประหยัดจากขนาด (Economies of scale) เนื่องจากผลิตสินค้าที่เป็นมาตรฐานจำนวนมาก ซึ่งทำให้ต้นทุนของสินค้าลดต่ำลง เพราะสามารถลดต้นทุนคงที่ต่อหน่วยลดลง
      - การผูกพันในตรายี่ห้อ (Brand Loyalty)
      - เงินลงทุน (Capital requirements) ถ้าต้องลงทุนสูง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อรายใหม่
      - การเข้าถึงช่องจัดจำหน่าย (Access to distribution)
      - นโยบายของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริม หรือมีข้อห้ามสัมปทาน
      - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้า (Switching cost) ถ้าลูกค้าต้องมีต้นทุน หรือค้าใช้จ่ายในส่วนนี้สูง ต้นทุนเหล่านี้ซึ่งอาจได้แก่ ต้นทุนของอุปกรณ์เครื่องจักรที่ต้องปรับเปลี่ยนเพิ่ม หรืออาจจะเป็นระบบงานที่ต้องจัดรูปแบบใหม่ ค่าฝึกอบรมแลสอนงานให้กับพนักงานเพื่อให้ทำงานตามระบบใหม่เป็นต้น
      - ข้อได้เปรียบต้นทุนในด้านอื่นๆ เช่น เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเฉพาะ มีวัตถุดิบราคาถูก มีทำเลที่ตั้งดีกว่า มีแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนถูก และทำมานานจนเกิดการเรียนรู้

 3. อำนาจต่อรองของผู้ขาย (Suppliers)
       - จำนวนผู้ขายหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ ถ้ามีผู้ขายน้อยราย อำนาจต่อรองของผู้ขายจะสูง
       - ระดับการรวมตัวกันของผู้ขายวัตถุดิบ ถ้าผู้ขายรวมตัวกันได้ อำนาจการต่อรองก็จะสูง
       - จำวนวัตถุดิบหรือแหล่งวัตถุดิบที่มี ถ้าวัตถุดิบมีน้อย อำนาจต่อรองจะสูง
       - ความแตกต่างและเหมือนกันของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบมีความแตกต่างกันมาก อำนาจต่อรองผู้ขายจะสูง

 4. อำนาจการต่อรองของกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้า (Buyers)
       - ปริมาณการซื้อ ถ้าซื้อมาก ก็มีอำนาจการต่อรองสูง
       - ข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าได้รับเกี่ยวกับสินค้าและผู้ขาย ถ้าลูกค้ามีข้อมูลมาก ก็ต่อรองได้มาก
       - ความจงรักภักดีต่อยี่ห้อ
       - ความยากง่ายในการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ซื้อ ถ้าลูกค้ารวมตัวกันง่ายก็มีอำนาจต่อรองสูง
       - ความสามารถของผู้ซื้อที่จะมีการรวมกิจการไปดานหลัง คือ ถ้าลูกค้าสามารถผลิตสินค้าได้ด้วยตนเอง อำนาจการต่อรองก็จะสูง
       - ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคนอื่นหรือใช้สินค้าของคู่แข่งแล้วลูกค้าต้องมีต้นทุนในการเปลี่ยนสูง อำนาจการต่อรองของลูกค้าก็จะต่ำ

5. แรงผลักดันซึ่งเกิดจากสินค้าอื่นๆซึ่งสามารถใช้ทดแทนได้
       - ระดับการทดแทน เป็นการทดแทนได้มาก หรือทดแทนได้น้อยแค่ไหน เช่น เครื่องปรับอากาศกับพัดลม
       - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าปัจจุบัน ไปสู่การใช้สินค้าทดแทน
       - ระดับราคาสินค้าทดแทนและคุณสมบัติใช้งานของสินค้าทดแท

นอกจากการพิจารณา 5 forces แล้วยังมีอีกหลักหนึ่งที่ใช้เป็นกรอบด้วยคือ Enterprise Risk Management การบริหารความเสี่ยงองค์กรมีหลักที่ใช้พิจารณาคือ LEPEST
-L Legal ความเสี่ยงทางกฎหมายที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม ถ้าค้าขายระหว่างประเทศ ก็ควรพิจารณาว่า มีผลกรทบจากการกีดกันการค้าหรือไม่ เช่นธุรกิจส่งออกกุ้งไปอเมริกา ก็ต้องพิจารณา GIS เป็นต้น
-E Economic ความเสี่ยงที่ได้รับจากภาวะทางเศรษฐกิจ ปกติจะดูหลักๆ คือ เงินเฟ้อ (Inflation) อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และ GDP
-P Politic ความเสี่ยงทางการเมือง นโยบายของรัฐ
-E Environment ความเสี่ยงสิ่งแวดล้อม เช่นผลกระทบต่อชุมชน Social Impact ผลกระทบอาจนำไปสู่การต่อต้านจากสังคม หรือกลุ่ม NGO เป็นต้น
-S Strategy ความเสี่ยงจากการเลือกกลยุทธ์ที่ผิดในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นด้าน Corporate strategy, Marketing Strategy หรือ Financial strategy เช่นการขยายการลงทุน การควบรวมกิจการ หรืแม้แต่การจัดหาเงินทำให้โตรงสร้างเงินเสี่ยงเกินไป
-T Technology ความสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

Credit: https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul