วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์บริษัทโดยใช้งบการเงินเป็นตัวเริ่มต้นจะช่วยให้สามารถ focus ไปที่ละส่วน โดยไม่หลุดประเด็นสำคัญ (2) สินค้าคงเหลือ-ต้นทุนขาย-การผลิต-suppliers

รายการหลักต่อมาในการวิเคราะห์งบและสามารถดูธุรกิจ ต่อจากลูกหนี้การค้า-ขาย-ลูกค้าคือ สินค้าคงเหลือ-ต้นทุนขาย-การผลิต-suppliers รายการเหล่านี้เชื่อมโยงกัน อาจมองไปถึงด้าน supply chain management ในด้านส่วนการจัดหาวัตถุดิบจนถึงการผลิตเพื่อได้มาซึ่งสินค้าเพื่อขาย
  1. สินค้าคงเหลือในงบแสดงฐานะทางการเงินประกอบด้วย วัตถุดิบ งานระว่างทำ สินค้าสำเร็จรูป และวัสดุในโรงงาน ในธุรกิจที่ดำเนินลักษณะธุรกิจต่างกันจะมีสัดส่วนต่างกัน ผลิตสินค้าทุนที่ต่างกันก็ต่างกัน เช่นผลิตปูน เหล็ก หรือเม็ดพลาสติก ก็จะต่างกัน แต่ธุรกิจแบบเดียวกัน การมีสัดส่วนต่างกันจะบ่งบอกนัยได้มากในความแตกต่างจุดอ่อนจุดแข็งภายในกิจการ
  2. ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะเรียกในชื่อต่างออกไปจากธุรกิจผลิต จะใช้ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ถ้ามองในแง่มุมหนึ่งก็คือสินค้าคงเหลือ-งานระหว่าทำ บางบริษัทอาจเรียกว่า ที่ดิน งานระหว่างก่อสร้างและงานสาธารณูปโภค (สินค้าคงเหลือ) ในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะเรียกว่า งานระหว่างก่อสร้างตามสัญญา
  3. อย่างไรก็ตามในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือรับเหมาก่อสร้างในแนวทางการปฏิบัติทางบัญชีต่างออกไป แต่ในการอ่านงบดุล (งบแสดงฐานะทางการเงิน) เพื่อเข้าใจธุรกิจและการวิเคราะห์ควรต้องมองให้เข้าใจอย่าอิงชื่อนักเพราะจะเข้าใจธุรกิจผิดพลาด
    I.  ธุรกิจซื้อมาขายไป ค้าปลีก จะเป็นสินค้าพร้อมขาย นั่นคือสินค้าสำเร็จรูป การแสดงมูลค่าในงบการเงินในหลักของมาตรฐานการบัญชีต้องแสดงด้วยราคาทุนหรือมูลค่าที่จะได้รับ ง่ายๆ คือราคาตลาดนั่นเอง หากราตาตลาดต่ำกว่าทุน บริษัทต้องแสดงราคาที่ต่ำลง จะเกิดขาดทุนจากการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ในธุรกิจที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่นค้าปลีก มักเกิดน้อย เพราะส่วนมากจะขายสินค้ามี margin แม้ไม่สูง มากแต่ก็เพียงพอต่อการปรับลดราคาลง สินค้าอุปโภคบริโภคนั้นการปรับราคาส่วนมากก็จะสัมพันธ์กับเงินเฟ้อซึ่งอัตราเงินเฟ้อต่อเดือนโดยปกติ จะราว 0.1-0.3% ต่อเดือน ในขณะที่ค้าปลีกจะขายสินค้าโดยเฉลี่ยราว 14-15% จึงแทบไม่มีผลกระทบ ในธุรกิจนี้เกิดขึ้นจะเป็นสินค่าเสื่อมสภาพส่วนใหญ่ แต่สินค้าเสื่อมสภาพ เสียหายมักจะส่งคืน supplier ได้จึงไม่ค่อยกระทบนัก หัวใจของธุรกิจกลุ่มนี้คือหารบริหารรอบการหมุนเวียนสินค้าให้เร็ว เพราะเงินหมุนเวียนจะจมในสินค้าเป็นหลัก การดูและการวิเคราะห์รอบการหมุนเวียนสินค้าคงเหลือจึงสำคัญ                                                    II. สินค้าซื้อมาขายไปอีกกลุ่มที่มีราคาผันผวน (ลดลงเร็ว) คือสินค้าไอมี เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ สินค้าเหล่านี้อัตรากำไรจะมากในช่วงออกแรกๆ และตกรุ่นเร็วมาก สินค้ามีราคาต่อหน่วยสูง จึงเป็นแหล่งจมเงินทุนสูง และเกิดขาดทุนจากการลดลงของมูลค่าได้ได้ง่ายแม้จะมี margin สูงแต่ราคาลดจะลงมากกว่าครึ่งเพราะรุ่นใหม่ที่ออกมาจะทำให้รุ่นเดิมราคาลงอย่างรวดเร็ว หุ้นกลุ่มนี้จึงต้องเน้นวิเคราะห์รอบการหมุนเวียนสินคงเหลือ ถ้ารอบยาวขึ้นแนวโน้มอัตรากำไรขั้นต้นจะลดลด
 III.  ธุรกิจผลิต สินค้าคงเหลือจะหมายถึง วัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสำเร็จรูป เป็นตัวหลัก วัสดุจะไม่ใช่สาระสำคัญ
          i.  ผลิตขายเองให้ end-users อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง สินค้าเฟอร์นิเจอร์ แฟชั่น สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจกลุ่มนี้มีอำนาจต่อรองน้อย พึ่งพาช่องทางจำหน่ายผ่านกลุ่มค้าปลีก Modern trade กลุ่มนี้จึงมีอำนาจต่อรองน้อย  หากราคาวัตถุดิบลดลง ผู้ซื้อ (ค้าปลีกmodern trade) มักกดดันราคาซื้อลดลง จึงยากที่กลุ่มนี้จะมีอัตรากำไรสูงๆได้ยาวนาน
         ii.  ผลิตขายให้ธุรกิจอื่น ( capital goods) เช่น ปูน เหล็ก กระดาษ บรรจุภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิค เป็นต้น การผลิตในกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการเกิดขาดทุนจากการลดลงของมูลค่าสินค้ามากที่สุด เพราะราคาวัตถุดิบอาจจะลดลงแม้จะทำให้ต้นทุนผลิตลดก็ตาม แต่หากราคาวัตถุดิบลดลง ผู้ซื้อก็จะต่อรองราคาซื้อลดลงเช่นกัน ส่วนมาก สินค้าในกลุ่มนี้จะจัดเป็น commodity product หรือบางอย่างก็เป็นสินค้าวัฏจักร(Cyclical Product) มักลงทุนในโรงงาน เครื่องจักรมาก ดังนั้นการผลิตจึงมากเพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) ผลกระทบต่อต้นทุนจึงมาจากสองทางคือวัตถุดิบถ้าปรับราคาสูงขึ้นต้นทุนสินค้าก็จะเพิ่มเร็ว กากราคาขายสินค่าขายปรับตัวช้ากว่าก็อาจเกิดการขาดทุนมูลค่าจากสินค้าสำเร็จรูปได้ ในทำนองตรงข้าม หากวัตถุดิบราคาลดลง ถ้าซื้อวัตถุดิบมาเก็บไว้มากก็อาจขาดทุนมาจากส่วนนี้ได้ และหากผลิตสินค้าสำเร็จรูปมาก ราคาขายก็อาจปรับลงทำให้ขาดทุนมูลค่าจากสินค้าสำเร็จรูปได้ ในขณะเดียวกันหากควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นในการผลิตไม่ดีก็อาจทำให้ต้นทุนสินค้าผลิตเสร็จสูง หรือกรณีที่ลงทุนสูงใน PPE มีค่าเสื่อมมาก การผลิตเต็มกำลังการผลิตจึงจะมีต้นทุนต่ำ หากลดกำลังผลิตลงต้นทุนผลิตสูงขึ้น ขณะที่ demand ลดลง ขายลดลง ผลิตมากก็ขายไม่ได้ ลดผลิตต้นทันกลับสูงขึ้น ดังนั้นสินค้าที่มี fixed cost มาก จะเสียเปรียบ ยิ่งราคามีวัฏจักรยิ่งทำให้กำไรผันผวนมาก หุ้นกลุ่มนี้จึงขึ้นกับวงจรเศรษฐกิจสูง เมื่อเศรษฐกิจฟื้น ความต้องการสินค้าทุนจะมีความต้องการสูงขึ้น เมื่อ demand เพิ่มขึ้น ผลิตมากขึ้น ต้นทุนก็จะลดลง แม้วัตถุดิบอาจราคาสูงขึ้น แต่ขายก็ราคาเพิ่มขั้น ส่วนต่างของราคาขายกับต้นทุนผันแปรจากวัตถุดิบอาจไม่เพิ่มมากหรือแทบไม่เปลี่ยนแปลง แต่การผลิตเพิ่มทำให้ต้นทุนส่วนคงที่ต่อหน่วยลดลง ส่วนนี้เองที่ทำให้ margin เพิ่มขึ้น ดังนั้นกลุ่มนี้จึงขึ้นกับการฟื้นตัวของวงจรเศรษฐกิจ และราคาสินค้า

4.   การวิเคราะห์ธุรกิจแต่ละอย่างจึงต้องจึงต้องเข้าใจรูปแบบธุรกิจ และลักษณะภาพรวมของสินค้าคงเหลือ ก็จะเห็นภาพของอัตรากำไรขั้นต้นว่าจะเพิ่มลดอย่างไร และสอดคล้องกับวงจรที่ควรเป็นหรืไม่ ถ้าการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามทิศทางที่ควรมักจะบอกว่าธุรกิจกำลังสูญเสียศักยภาพแข่งขันหรือกลับกัน อาจบอกว่าเกิดการได้เปรียบการแข่งขันขึ้นในธุรกิจที่ย่ำแย่อาจชี้ว่าสามารถฟื้นตัวหรือไม่

Credit:https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul