วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กลยุทธ์ธุรกิจ 3 ประเภทของ …บัฟเฟตต์

กลยุทธ์ธุรกิจ 3 ประเภทของ …บัฟเฟตต์ ตอนที่ 1




ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นปี 2007 นั้น
บัฟเฟตต์ได้สรุป.. ภาพรวมของการจัดสรรเงินลงทุนของเขา
เขาแบ่งประเภทของกิจการที่ เขาอยากไปลงทุนเป็น 3 กลุ่ม
โดยขึ้นกับอัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจนั้นๆ




การแบ่งธุรกิจเป็น 3 กลุ่มนั้น เขาแบ่งเป็น
1) ดีเยี่ยม (Great) 2) ดี (Good) 3) ควรหลีกเลี่ยง (Gruesome)
การแบ่งประเภทในลักษณะนี้
บัฟเฟตต์ต้องการที่จะให้ตัวเอง..
เห็นภาพในการจัดอันดับการให้ความสำคัญกับธุรกิจ..ที่แตกต่างกัน
ในขณะที่คนอื่น….มองไม่เห็น




ข้อที่ 1 ธุรกิจที่ดีเยี่ยม (GREAT)
บัฟเฟตต์จัด “ซีส์ แคนดี้” ไว้ในธุรกิจประเภท “ดีเยี่ยม”
ซึ่ง CEO ทั่วไปจะไม่ทำแบบนี้
ในปี 2007 ซีส์ ขายช็อคโกแลต ได้เพิ่มขึ้นเพียงแค่ 2 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
แล้วทำไม บัฟเฟตต์จึงเห็นศักยภาพของ “ซีส์”
ในขณะที่คนอื่น… มองไม่เห็น




เป็นเพราะว่า คุณสมบัติของ “ซีส์” ตรงตาม…..
มาตรฐานทั้ง 3 ข้อของเขาทุกประการ กล่าวคือ
ข้อที่หนึ่ง ราคาซื้อธุรกิจนี้ไม่แพงสมเหตุสมผล
ข้อที่สอง บริษัทยังทำกำไรได้ดีบนพื้นฐานของความได้เปรียบในการแข่งขัน
โดยพิสูจน์ได้จากจำนวนลูกค้าที่จงรักภักดีในรสชาติของช็อคโกแลตของ “ซีส์”
ข้อที่สาม ธุรกิจนี้เข้าใจได้ง่ายๆ




นอกจากนั้น “ซีส์” ยังมีข้อดีที่นอกเหนือจากนั้อีกคือ
“ซีส์” มีผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม
“ซีส์” ยังใช้เงินน้อยมากในการทำให้บริษัทเจริญเติบโต
ทำให้บัฟเฟตต์ไม่ต้องหาเงินมา…. ลงทุนเพิ่ม




และต่อไปนี้คือ สิ่งที่บัฟเฟตต์พยายามอธิบายไว้ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นปี 2007
เราซื้อ “ซีส์” มาในปี 1972 ด้วยเงิน 25 ล้านดอลลาร์
เมื่อยอดขายของ “ซีส์” แตะระดับ 30 ล้านดอลลาร์
และกำไรก่อนหักภาษีน้อยกว่า 5 ล้านดอลลาร์




นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอยู่อีก 2 ข้อที่จะช่วยลดขนาดของการลงทุนลงได้
ข้อที่หนึ่ง สินค้าขายเป็นเงินสด จึงไม่จำเป็นต้องมีลูกหนี้
ข้อที่สอง วงจรการผลิตและการกระจายสินค้านั้นสั้นมาก
จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายทางด้านสินค้าคงคลังลงไปได้




ในปีที่แล้วยอดขายของ “ซีส์” อยู่ที่ 383 ล้านดอลลาร์
และกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 82 ล้านดอลลาร์
ทุกวันนี้ “ซีส์” ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนประมาณ 50 ล้านดอลลาร์
ดังนั้นจึงมีเงินเหลืออยู่ที่ 82 – 50 = 32 ล้านดอลลาร์




ซึ่งนั่นเป็นตัวเลขทั้งหมด
เงินจำนวน 32 ล้านดอลลาร์ ที่เป็นเงินกำไรที่เหลือ…
เงินจำนวนนี้…จะถูกโอนมาที่เบิร์กไชร์
แล้วบัฟเฟตต์ก็จะใช้เงินที่ได้จาก”ซีส์” นี้….
ไปลงทุนซื้อกิจการที่น่าสนใจ ต่อไป




แต่ บริษัทในสหรัฐอเมริกาที่ดูเหมือนจะเติบโตช้าอย่าง”ซีส์”มีน้อยมาก
เพื่อที่จะทำให้บริษัทของตนเติบโตได้เหมือน”ซีส์”
CEO ทั่วไปอาจต้องใช้เงินลงทุนเพิ่ม…ในการดำเนินงานสูงถึง 400 ล้านดอลลาร์
แทนที่จะเป็นเงิน (ของบริษัทเอง) 50 ล้านดอลลาร์ อย่างที่”ซีส์”ต้องการ




ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
เพราะว่าธุรกิจส่วนใหญ่จะเติบโตได้นั้น
ก็ต้องมีเงินทุนที่ใช้ในการดำเนินงานเป็นสัดส่วนกับการเจริญเติบโตของยอดขาย
และยังต้องการเงินทุนที่มากสำหรับซื้อสินทรัพย์ถาวรอีกด้วย
ซึ่ง”ซีส์”ไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น




และนั่นคือ ตัวอย่างของธุรกิจที่บัฟเฟตต์เรียกว่า “ดีเยี่ยม”
เพื่อนๆ จำได้ไหมว่า…ทำไม ซีส์ แคนดี้ จึงเป็นธุรกิจที่ “ดีเยี่ยม”
ใช่แล้วครับ
ข้อที่หนึ่ง ราคาซื้อธุรกิจนี้ไม่แพงสมเหตุสมผล




ข้อที่สอง บริษัทยังทำกำไรได้ดีบนพื้นฐานของความได้เปรียบในการแข่งขัน (DCA)
โดยพิสูจน์ได้จากจำนวนลูกค้าที่จงรักภักดีในรสชาดของช็อคโกแลตของ”ซีส์”
(อ่านเพิ่มเติม “DCA หัวใจในการเลือกหุ้นของ…. วอร์เรน บัฟเฟตต์”)
http://www.doctorwe.com/variety/20120508/928




ข้อที่สาม ธุรกิจนี้เข้าใจได้ง่ายๆ
หากเพื่อนๆ อยากจะรวยแบบ “บัฟเฟตต์”
อาจจะต้องเริ่ม….จำ คุณสมบัติทั้ง 3 ข้อนี้ให้ได้เสียก่อน
ที่จะเริ่มคิดจะลงทุนต่อใน…… “วันพรุ่งนี้” นะคร้าบ : )



กลยุทธ์ธุรกิจ 3 ประเภทของ…บัฟเฟตต์ ตอนจบ




ก่อนอื่น.. ผมขอทบทวน ตอนที่ 1
ให้เพื่อนๆบางคน ที่ยังไม่ได้อ่าน…ได้เข้าใจบ้าง
บัฟเฟตต์ได้สรุป.. ภาพรวมของการจัดสรรเงินลงทุนของเขา
โดยเขาแบ่งประเภทของกิจการที่ เขาอยากไปลงทุนเป็น 3 กลุ่มคือ
1) ดีเยี่ยม (Great) 2) ดี (Good) 3) ควรหลีกเลี่ยง (Gruesome)
เพื่อให้ตัวเขาเอง เห็นภาพในการจัดอันดับการให้ความสำคัญกับธุรกิจ..ที่แตกต่างกัน




บัฟเฟตต์จัด “ซีส์ แคนดี้” ไว้ในข้อที่ 1 คือเป็นธุรกิจประเภท “ดีเยี่ยม”
โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะ คุณสมบัติของ “ซีส์” ตรงตาม…..
มาตรฐานทั้ง 3 ข้อของเขาทุกประการ กล่าวคือ
ข้อที่หนึ่ง ราคาซื้อธุรกิจนี้ไม่แพง ราคาสมเหตุสมผล
ข้อที่สอง บริษัทยังทำกำไรได้ดีบนพื้นฐานของความได้เปรียบในการแข่งขัน (DCA)
ข้อที่สาม ธุรกิจนี้เข้าใจได้ง่ายๆ




นอกจากนั้น “ซีส์” ยังมีข้อดีที่นอกเหนือจากนี้ อีกคือ
“ซีส์” มีผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม
“ซีส์” ยังใช้เงินน้อยมากในการทำให้ …บริษัทเจริญเติบโต
“ซีส์” สินค้าขายเป็นเงินสด จึงไม่มีลูกหนี้ …และก็ไม่มีหนี้เสีย
“ซีส์” วงจรการผลิตและการกระจายสินค้านั้นสั้นมาก จึงลดค่าใช้จ่ายทางด้านสินค้าคงคลังลงไปได้
ผมจะขอเล่าต่อ อีก 2 ข้อที่เหลือเลยนะคร้าบ….




ข้อที่ 2 ธุรกิจประเภทดี (GOOD)
ไฟลท์เซฟตี้: ธุรกิจที่ “ดี”…. ไม่ใช่ “ดีเยี่ยม”
ธุรกิจไฟล์เซฟตี้ (FlightSafety) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เบิร์กไชร์ซื้อมาตั้งแต่ปี 1996
เหมือนกับ “ซีส์” ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
โดยเป็นผู้นำในการ… ฝึกอบรมนักบินในสายการบินต่างๆ




ธุรกิจนี้เหมือนการเดินทางเข้าห้องผ่าตัด
ภาพความน่ากลัวที่คุณจะต้องเข้าไปอยู่ในที่นั่งแคบๆซึ่งสูง 35,000 ฟุตจากพื้นโลก
ไฟลท์เซฟตี้ จัดการเงินทุนที่จะใช้ในการ… สร้างความเจริญเติบโตได้อย่างไร?
บริษัทนี้สามารถจัดการเงินทุนได้ จนอยู่ในระดับ “ดี” ที่ไม่ใช่ “ดีเยี่ยม”




ทุกๆปี บริษัทจะต้องลงทุนใหม่ๆ….
เพื่อซื้อเครื่องจำลองการบิน (Flight Simulator) ใหม่ๆ
เพื่อฝึกอบรมให้นักบินสามารถขับเครื่องบินใหม่ได้
และเครื่องจำลองการบินแต่ละเครื่องก็มีมูลค่าสูงถึง 12 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมันไม่ถูกเลย
และนั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้บัฟเฟตต์จัดให้ไฟลท์เซฟตี้เป็นธุรกิจที่ดี




บัฟเฟตต์อธิบายไว้ว่า
“ไม่เหมือนกับผลตอบแทนจากซีส์ ที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม..แม้แต่ดอลลาร์เดียว”
“ผลตอบแทนของไฟลท์เซฟตี้จะเกิดขึ้น ก็ต้องลงทุนเพิ่มอีก 509 ล้านดอลลาร์”
ถ้าวัดผลจากผลตอบแทนของบริษัท
ธุรกิจอย่างไฟลท์เซฟตี้ถือว่าอยู่ในระดับที่ “ดี” แต่ไม่ใช่ “ดีเยี่ยม”




ธุรกิจนี้ก็เหมือนธุรกิจทั่วไปที่ยิ่งใส่เงินลงทุนเข้าไปมาก
…….ก็จะยิ่งได้ผลตอบแทนมาก
ตัวอย่างเช่น เบิร์กไชร์ได้ลงทุนเม็ดเงินไปเป็นจำนวนมาก
…..ในบริษัทสาธารณูปโภค เช่น โรงผลิตไฟฟ้า
ซึ่งก็จัดอยู่ในประเภท “ดี” ที่ไม่ใช่ “ดีเยี่ยม” เช่นกัน




เราจะได้รับผลตอบแทนก้อนใหญ่จากธุรกิจก็อีก 10 ปีข้างหน้า
แต่เราต้องลงทุนเป็นพันๆล้านดอลลาร์ …ตั้งแต่วันนี้
บัฟเฟตต์ไม่เคยลืมว่าอัตราการเจริญเติบโตเป็นสิ่งที่ดี
แต่จะต้องได้มาในราคาที่เหมาะสมเท่านั้น




ข้อที่ 3 ธุรกิจประเภท “ควรหลีกเลี่ยง”
ธุรกิจที่จัดได้ว่าเป็นประเภท “ควรหลีกเลี่ยง” คือ
เป็นธุรกิจที่เติบโตเร็ว ต้องการเงินลงทุนสูง
แต่ได้กำไรไม่มากนัก
ตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ก็คือ บริษัทสายการบินต่างๆ
ที่ซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ..หาได้ยาก




ธุรกิจสายการบินเป็นธุรกิจที่ต้องการเงินทุนเป็นจำนวนมาก
นับตั้งแต่เที่ยวบินแรกที่เกิดขึ้น
นักลงทุนจะถูกดึงดูดด้วยอัตราการเจริญเติบโตของ… ยอดขายที่น่าประทับใจ
และจบลงด้วยการใส่เม็ดเงินลงทุนไปในธุรกิจนี้อย่าง …ไม่มีที่สิ้นสุด




บัฟเฟตต์เคยพูดไว้ว่า “ผมก็เคยทำสิ่งที่น่าอาย…..”
“ผมได้ซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของยูเอสแอร์ (U.S. Air) ในปี 1989”
“จากนั้นบริษัทก็ประสบปัญหาอย่างมากมาย”
“และมันก็เป็นเวลานานมาก …กว่าที่หุ้นบุริมสิทธิ์ของเราจะได้รับ… เงินปันผล”




“แต่ในที่สุด..เราก็โชคดี”
“เราสามารถขายหุ้นบุริมสิทธิ์ดังกล่าวได้ในปี 1998”
“พร้อมกับผลกำไรจำนวนมหาศาล”
“หลังจากเราขายหุ้นดังกล่าวไปเป็น …สิบปี”
“ยูเอสแอร์ก็ประสบปัญหาล้มละลาย..ถึงสองครั้ง”




และทั้งหมดนี้คือ กลยุทธ์ธุรกิจ 3 ประเภท ของบัฟเฟตต์
หากเพื่อนๆ คิดกันให้ดี ก็จะรู้ว่าในบ้านเรา..
มีธุรกิจที่ “ควรหลีกเลี่ยง” เป็นจำนวนมาก
ผมจึงไม่ห่วง เพื่อนๆ ที่จะเริ่มใช้หลักการนี้ในการลงทุน
แต่ที่ยังห่วง ก็คือ….
เพื่อนๆ ที่ได้ซื้อหุ้นประเภท “ควรหลีกเลี่ยง” ไปแล้ว….