วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“การลงทุนแบบ…ดันโด”

การลงทุนแบบ…ดันโด




“การลงทุนแบบดันโด”
มาจากหนังสือเรื่อง The Dhandho Investor เขียนโดย โมนิช พาไบร
แปลและเรียบเรียง โดยเพื่อนของผมคนหนึ่งที่ชื่อ “พรชัย รัตนนนทชัยสุข”
หนังสือเล่มนี้….. จะเน้นแนวคิดที่ว่า
“กลยุทธ์การลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่ำ แต่…………….. ให้ผลตอบแทนสูง”




โดยทั่วไป การลงทุนจะมีลักษณะ……………………
“ถ้าความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ………… ก็จะต่ำด้วย”
หรือที่เรียกกันว่า Low Risk …………… Low Return
แต่ถ้ามีวิธีการลงทุนที่ทำให้ความเสี่ยงต่ำ แต่ให้…………… อัตราผลตอบแทนสูง ด้วย
วิธีการนี้ก็คงเป็น วิธีการ………………….. ที่บรรดานักลงทุน…ฝันหา




การลงทุนแบบดันโด
“ดันโด” (Dhandho) เป็นคำจากภาษากุจาราตี
แปลว่า “ความพยายามสร้างความมั่งคั่ง”
แนวคิดดันโด.. จะเกี่ยวข้องกับการพยายามขยายผลตอบแทนให้สูงสุด
ขณะที่จำกัดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำสุด
สรุปแบบง่ายๆ ว่า “ออกหัว… ผมได้เงิน ออกก้อย… ผมเสียเงิน….นิดหน่อย”




ลักษณะเด่นของวิถีแห่งดันโด สามารถดูได้จากชีวิตของ…คนๆหนึ่ง
ปาปา พาเทล ผู้อพยพเชื้อสายอินเดีย
ที่พาครอบครัวหนีตายมาจากยูกันดา ของจอมเผด็จการ อีดี้ อามิน ในช่วงทศวรรษ 1970
และต้องดิ้นรนทำงานอย่างหนักในการ
เป็นลูกจ้างร้านขายของชำเพื่อให้……………….. ครอบครัวอยู่รอด




ในต้นทศวรรษ 1970 ………………..
เกิดวิกฤตราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ที่เรียกว่า Oil Shock
ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำทั่วไปของโลกรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ด้วย
ผลดังกล่าวกระทบต่อธุรกิจโมเต็ล
ที่จัดอยู่ในกลุ่มการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น




แม้ผู้คนจะจำเป็นต้องเดินทาง
แต่ความต้องการที่จะเข้าพักก็ลดลงไปอย่างมาก
สิ่งที่ตามมาก็คือ ปัญหาหนี้เสียในธุรกิจโมเต็ลของธนาคารพาณิชย์เริ่มสูงขึ้น
ธนาคารบางแห่ง จึงต้องยึดโมเต็ลมา………………….
และก็ต้องประกาศขายทอดตลาด………………………. ในราคาถูก




ปาปา พาเทล เห็นโอกาสนี้ เขาจึงเข้าซื้อโมเต็ลเล็กๆ ขนาด 20 ห้อง
โดยรวบรวมเงินของตนและญาติมาได้เพียง 5,000 ดอลลาร์
และขอกู้โดยค้ำประกันส่วนตัว
ในอัตราสูงมากถึง………………………………… 90% ของราคาขาย




ซึ่งธนาคารก็ต้อง……………. ยอม
เพราะไม่เช่นนั้นก็ต้องแบกภาระหนี้เสียต่อไป
เขาและครอบครัวบริหารและพักอาศัยอยู่ในโมเต็ลนี้ด้วย
ทำให้ประหยัด………………………………………. ค่าใช้จ่ายไปได้




นอกจากนี้ จุดเด่นของการควบคุมต้นทุนให้ต่ำที่สุด
โดยทำงานเองทุกอย่าง
รวมทั้งลดราคาห้องพักให้ต่ำลงมาได้ให้มากที่สุด
ทำให้โมเต็ลของ ปาปา พาเทล
สามารถอยู่…………………… รอดมาได้ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ




ในตอนที่ ปาปา พาเทล ตัดสินใจว่าจะลงทุนในโมเต็ลนี้
สังเกตได้ว่าเขากำหนดหลักการสำคัญๆ ไว้ดังนี้
หนึ่ง ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่แล้ว ไม่ผันผวน
…. มีประวัติการสร้างกำไรและกระแสเงินสดมายาวนาน
…. ลักษณะธุรกิจไม่ซับซ้อน
…. ถ้าควบคุมต้นทุนต่ำได้………….. ก็ยิ่งจะได้เปรียบคู่แข่ง




สอง แม้ว่าในขณะนั้นภาวะเศรษฐกิจจะตกต่ำ
แต่ถ้าในอนาคตภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น
จะส่งผลดีต่อกำไรและผลตอบแทนสูงมาก
ถ้าภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปภายใต้การควบคุมต้นทุนให้ต่ำถึงขีดสุด
ธุรกิจนี้ก็จะยังคงให้กำไร




แต่ถ้าโชคร้าย……………………. เศรษฐกิจตกต่ำมากที่สุด
ผลประกอบการย่ำแย่……………………….. ชำระหนี้ไม่ได้
ธนาคารเข้ามายึดทรัพย์สิน…………………….. ก็ยึดได้แต่โรงแรม
ตัวเขาเองไม่มี…………………… ทรัพย์สินใด
อย่างมากเขาก็กลับไปทำงานเป็นลูกจ้างร้านขายของชำ
แล้วค่อยๆ ผ่อนหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป




หลักการในข้อ 2 นี้ เป็นแนวคิดที่ว่า
“ออกหัว…………ได้เงิน ออกก้อยผม……………… เสียเงินนิดหน่อย”
และรู้อยู่แล้วว่าโอกาสออกก้อย………………. มีน้อยกว่า
ทำให้ ปาปา พาเทล สามารถมีโอกาสขยายผลตอบแทนจากการลงทุนได้จาก
ในขณะที่ควบคุม………………… ความเสี่ยงจากการลงทุนได้
ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะ………………….. ผันผวนมากน้อยก็ตาม




นักการเงินมักมองว่าความผันผวนของเหตุการณ์ คือ ความเสี่ยง
จึงมักใช้คำพูดว่า High Risk High Return
แต่ในมุมมองของปาปา พาเทลแล้ว …..แม้ว่าสภาวะการณ์จะผันผวน
แต่ถ้าควบคุมความเสี่ยงในการจัดการให้อยู่ในระดับต่ำได้
โอกาสที่จะได้อัตราผลตอบแทนสูง …………ก็ย่อมมีความเป็นไปได้




บางคนอาจคิดว่า ปาปา พาเทล อาศัยเหตุการณ์ Oil Shock ในยุคทศวรรษ 1970
ซึ่งเป็นเหตุการณ์พิเศษและอาจไม่เหมือนยุคอื่น
และวิถีแห่งดันโด นี้จะประยุกต์ใช้ได้กับช่วงเวลาอื่นหรือไม่
ผู้เขียนจึงได้ยกตัวอย่างอื่นๆ ……….ในช่วงเวลาที่ไม่ใช่….ช่วงวิกฤต
เพื่อยืนยันกฎของดันโด ว่า……………… สามารถที่จะประยุกต์ใช้ได้กับเหตุการณ์ปกติ



กรณีศึกษาของ มณีลาล ชอธุรี
นักธุรกิจอเมริกันเชื้อสายอินเดียที่ลงทุนในธุรกิจโมเต็ลเช่นกัน
แต่มณีลาล อดีตนักบัญชีจากอินเดีย เข้ามาตั้งรกรากในสหรัฐฯ ในปี 1991
โดยเริ่มต้นการ………ทำงานหนักในปั๊มน้ำมัน และผันตัวเองมาเป็น………นักบัญชี
เขาเก็บออมเงินทุน แต่……………….ไม่มากพอที่จะลงทุนในธุรกิจโมเต็ล




ปี 2544 เกิดเหตุการณ์ 9/11 หรือ ผู้ก่อการร้ายขับเครื่องบิน..ชนตึกเวิร์ลเทรด
ทำให้การท่องเที่ยวเกิดภาวะชะงักงัน………… คล้ายกับในช่วงทศวรรษ 1970
มณีลาล จึงใช้โอกาสนี้เข้าซื้อธุรกิจโมเต็ลใน…………….. ราคาถูกทันที
เขาใช้แบบจำลองธุรกิจคล้ายกับ ปาปา พาเทล
วิถีแห่งดันโดจึงเริ่ม………………. ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ




จากแนวคิดที่มองธุรกิจที่ดำเนินงานอยู่แล้ว จะต้องเป็น……….. ธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน
“ออกหัวผม………. ได้เงิน ออกก้อยผม………เสียเงินนิดหน่อย”
และที่เพิ่มเติมทั้งจากกรณีของปาปา พาเทลและมณีลาล พบว่า ก็คือ
เดิมพัน…………………………………………. น้อยครั้ง
แต่เดิมพัน………………………………………………… หนักๆ
ไม่เดิมพัน………………………………………………………… บ่อยๆ




กรณีศึกษาของ ลักษมี มิตทาล
ลักษมี มิตทาล เจ้าพ่อธุรกิจเหล็กเชื้อสายอินเดียที่รวยอันดับ 3 ของโลก
รองจาก บิล เกตส์และ วอร์เรน บัพเฟตต์ เท่านั้น
มิตทาลเป็นเจ้าของธุรกิจเหล็ก…………………………. ที่เขาสร้าง
และเข้าไป……………………………………… ซื้อกิจการเหล็กมาเกือบทั่วโลกแล้ว




การเข้าเทคโอเวอร์บริษัทเหล็กในหลายๆ ประเทศ
เขาได้ซื้อโรงงานเหล็กหลายแห่ง…… ในราคาที่ถูก เนื่องจากกิจการ……. กำลังจะแย่
ซื้อแล้วเขาก็นำมา……………………………………. บริหารต่อ ให้เกิดประสิทธิภาพ
ในบางกรณีที่เข้าไปช่วยธุรกิจเหล็กของบางประเทศ
เช่น Karmet Steel Works ของคาซัคสถาน
เขาได้ช่วยรักษา…………………….. คนงานและธุรกิจของเมืองนี้เอาไว้ได้




แต่ ความมั่งคั่งของมิตทาล……………… ก็ยังถูกวิพากย์วิจารณ์จากนักวิเคราะห์ จนได้
คนเหล่านี้มองว่าธุรกิจเหล็ก………………………………. เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่น่าลงทุนเลย
เพราะ ……………………… ควบคุมราคาขายไม่ได้
และต้อง……………………………………… ใช้เงินลงทุนสูง
เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงมี……………………………. ธุรกิจเหล็กที่ล้มละลายจำนวนมาก




แต่มิตทาล…………………………………. มองไม่เหมือนคนอื่น
เขาคอยจังหวะในการ………………………….. เข้าซื้อในราคาถูก
และนำมา…………………………… บริหารต่อ เพื่อให้ได้……………………….. ต้นทุนที่ต่ำที่สุด
เพื่อทำให้เขา………………………………….. สามารถยืนหยัดต่อสู้กับคู่แข่งขันได้
และนี่คือ……………………………… การลงทุนตามแนวคิดแห่งวิถีดันโด
ซึ่งสามารถใช้ได้กับธุรกิจเหล็กซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้อง………………… ต่อสู้ดิ้นรนเป็นอย่างมาก




แม้ ลักษณะธุรกิจเหล็ก………………. เป็นธุรกิจที่ไม่ได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด
และยังถูกมองว่า…………………………………… เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง อีกด้วย
มิตทาลจึงต้องทำงานแบบ………………………………………….. ว่ายทวนน้ำ
แต่เขาก็สามารถดิ้นรนจนกลายเป็นผู้ที่……………….. ร่ำรวยเป็นอันดับ 3 ของโลก




กรณีศึกษาของ ริชาร์ด แบรนสัน
ริชาร์ด แบรนสัน ผู้ก่อตั้งสายการบิน Virgin Atlantic
ก็เริ่มต้นธุรกิจสายการบินโดยใช้เงินลงทุน…………………………… ที่น้อยมาก
และควบคุม……………………………………………………… ให้มีความเสี่ยงต่ำได้
ทั้งๆ ที่………………………….. ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านธุรกิจการบิน มาก่อนเลย
ก่อนหน้านี้ แบรนสันรู้จักแต่ธุรกิจ……..การแต่งเพลง และ……..ค่ายเพลง เท่านั้น




เขาเห็น…………………ช่องว่าง ในการทำสายการบินต้นทุนต่ำ
โดยเพียงแต่เช่าเครื่องบิน ซึ่งจะ……………………… เสียค่าใช้จ่ายภายหลังจากบินไปแล้ว
แต่รายรับ…………………………. จากการจำหน่ายตั๋ว จะเข้ามาก่อน
เขาจึงไม่จำเป็นต้อง……………………………………. ลงทุนซื้อเครื่องบิน
เพราะ สามารถ……………………………………. เช่าเครื่องบินในระยะสั้นได้
โดยไม่ต้อง………………………………………… ลงทุนเป็นเงินก้อนใหญ่




นี่คือ จุดเริ่มต้นจนที่ทำให้ธุรกิจของ Virgin…………….. ขยายตัวออกไปอย่างมาก
และอาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจนี้…………………………….. ก็เป็นการลงทุนแบบ…ดันโด เช่นกัน
บางครั้ง เราก็เข้าไปลงทุนในยามที่ตลาด………………………… มีความผันผวนมากๆ
ทำไม ? เรา………………………… ต้องทำอย่างนั้นด้วย ล่ะ……..
ก็เพราะว่า เราก็ต้องการ…………… ผลตอบแทนมากๆ
จึง……………………………………. ยอมเสี่ยงมากๆ นั่นเอง




แต่สิ่งที่เรามักจะเห็น ก็คือ………………………
เรามักจะพบว่าคนส่วนใหญ่มักจะขาดทุน………………… ภายใต้ตลาดที่มีความผันผวนสูง
และมักจะติดหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง หรือที่เราเรียกว่า………………… High Risk
แต่ผลที่ได้ มักจะไม่………………………….. High Return ตามที่….คาดหวังไว้




จาก กรณีศึกษา ทั้ง 3 กรณี เราจะพบว่า……………
ภายใต้ตลาดที่มี…………………… ความผันผวนสูง
ถ้าเราสามารถควบคุม…………………………………. ความเสี่ยงให้ต่ำไว้ได้
ผลตอบแทนก็ยังมีโอกาสที่จะได้รับ…………………. ในอัตราที่เราพึงพอใจ
ซึ่งก็ตรงกับ การลงทุนแบบ…ดันโด ที่ว่า
“ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่อาจมีผลตอบแทนสูง”




และนั่นคือ…. การลงทุนแบบดันโด
ที่คำนึงถึง “การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่…..ให้ผลตอบแทนสูง”
เพื่อนๆ ล่ะครับ…………………………
หลายคน อาจบอกว่า “เจ๊งไม่เป็นไร…………………….”
“ขอให้ ฟลุคๆแล้ว จะได้………………………….. หลายๆๆๆๆ เด้ง”
แต่บางครั้ง ผลที่ออกมา …………………… อาจไม่เหลือซัก “เด้ง” เลยก็ได้




วิถีดันโด…………………………. อาจจะไม่ใช่คำตอบเสมอไป
แต่ถ้า เราจะลงทุนแบบดันโดแล้ว…………………
เราก็พอนึกออกว่า “ถ้าเจ๊งแล้ว…………………………. ก็เสีย นิดหน่อย”
“แต่ถ้า ฟลุคๆ ก็ยังมีโอกาส………………………………….. ได้ หลายเด้ง”
แบบนี้ เพื่อนๆ…………………………………………………. “ชอบมากกว่า…” ไหมครับ ?