วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ผลทางธุรกรรมส่วนของผู้ถือหุ้น เพิ่มทุน ลดทุน ซ้ือหุ้นคืน


ในด้านการวิเคราะห์กี่ยวกับส่วนของผู้ถือหุ้น มีธุรกรรมเกิดได้หลากหลายรูปแบบ แต่ที่พบในงบการเงินมีธุรกรรมหลักๆ ที่เห็นกันมาก และควรเข้าใจผลกระทบทางด้านการเงินของธุรกิจ ไม่ใช่เพียงผลด้านที่มีต่อผู้ถือหุ้นเท่านั้น เพื่อให้มองภาพเหล่านี้ นักลงทุนควรตั้งต้นจากสมการบัญชีเป็นหลัก จะเห็นภาพและเข้าใจผลกระทบที่เกิดได้ดีกว่า เข้าใจว่าวิธีการทางบัญชีไปมาอย่างไร
  กปป.สินทรัพย์  = กปป. หนี้สิน +  กปป ทุน

1 การลดทุนโดยการตัดขาดทุนสะสมกับหุ้นทุน ส่วนผู้ถือหุ้นรวมไม่กระทบ เพราะขาดทุนสะสมก็นำมาหักลดส่วนผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว ข้อเสียคือ หุ้นเราหายไปแน่นอน ข้อดีคือ ถ้าปีหน้ามีกำไรจะจ่ายปันผลได้ เพราะถ้ามีขาดทุนสะสมอยู่ต้องเอากำไรไปล้างให้หมดก่อน จึงจ่ายปันผลได้ หลายบริษัทที่ลดทุนเพราะเมื่อปรับโครงสร้างหนี้ นักลงทุนใหม่จะมาเขาไม่มาแบกขาดทุนสะสมหลายๆปีหรอก เขาเข้ามาแล้วถ้ามีกำไร เขาต้องได้ผลอบแทนคืน
  กปป.สินทรัพย์  = 0   ไม่ต้องจ่ายเงินสดหรือได้รับเงินสด หรือการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ใดๆ
  กปป.หนี้สิน      = 0    ไม่มีการจ่ายชำระหนี้สินใดๆ หรือเพิ่ม/ลดหนี้สิน
  กปป ทุน           = 0      ส่วนของหุ้นทุนลดลง เท่ากับส่วนของขาดทุนสะสมที่ลดลงในจำนวนเท่าๆกัน
ดังนั้จากสมการบัญชีจึงสรุปได้ว่า ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าอย่างใดในงบการแสดงฐานะการเงิน เพียงแต่ผลภายในส่วนของทุนเท่านั้น ดังนั้น BV เท่าดิมแต่ทุนลดลงเท่ากับขาดทุนที่ลดลง นั่นคือหุ้นหายไป ข้อดีอย่างที่กล่าวคือจ่ายปันผลได้เร็วขึ้น การจ่ายปันผล ในทางกฎหมาย จ่ายได้เมื่อ 1.ปีนั้นต้องมีกำไร  2.บริษัทต้องไม่มีขาดทุนสะสม และทุกครั้งที่จ่ายปันผลต้องตั้งสำรองรองอย่างน้อย 5% จนกว่าสำรองตามกฎหมายและส่วนเกินทุน(ถ้ามี) รวมกันมากกว่า 10% ของทุนจดทะเบียนก็ให้หยุดสำรองได้หรือไม่ต้องสำรองต่อได้ ส่วนมากบริษัทท่มีปัญหาขาดทุนสะสมมาก จะตัดลดส่วนเกินทุนก่อน แล้วจึงมาลดหุ้นทุนเป็นลำดับต่อไป

2 การเพิ่มทุน บริษัทได้เม็ดเงินเข้าบริษัท แต่ก็จะเกิด dilution effect คือ กำไรต่อหุ้นจะปรับลดลงเพราะจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น (อ่านกำไรต่อหุ้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดประกอบด้วยก็จะดีครับ) ถ้าบริษัททำกำไรเพิ่มได้มากพอกับหุ้นที่เพิ่มก็จะไม่เกิด dilute มาก ดังนั้นถ้ารักษา ROE ได้ก็ไม่กระทบ ดังนั้นถ้าบริษัทประกาศเพิ่มทุน ไม่ว่า PO (public offering ขายให้คนทั่วไป แต่ไม่ใช่การขายครั้งแรก-IPO)  PP (private placement-ขายนักลงทุนอื่นแบบเฉพาะเจาะจง) หรือ ขึ้น XR ขายกับผู้ถือหุ้นเดิม หลักวิเคราะห์ ได้เงินรวมไปเท่าไร กี่พันล้านบาท เอาไปใช้ทำอะไร ลงทุนขยายงานอะไร กำไรที่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าไรกับเงินที่เอาไป ใช้หลักคล้ายๆกับเรื่องตัดสินใจ capital expenditure ถ้า return on investment > ROCE อันนี้ดี
ในด้านบัญชี งบการเงิน ณ วันที่เพิ่มทุนเป็นดังนี้
  กปป.สินทรัพย์  = x   ได้เงินสดเพิ่มขึ้นเท่าเม็ดเงินที่เพิ่มทุน เช่น เพิ่มทุน 1,000 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 3 บาท รวมได้เงินมา 3,000 ล้านบาท
  กปป.หนี้สิน      = 0    ไม่มีการจ่ายชำระหนี้สินใดๆ หรือเพิ่ม/ลดหนี้สิน
  กปป ทุน           = x     ส่วนของหุ้นทุนเพิ่มขึ้น โดยส่วนที่เพิ่มจะเพิ่มในสองส่วนคือ ทุนที่เรียกชำระแล้ว ส่วนนี่จะเพิ่มเท่ากับเม็ดหุ้นคูณกับราคาพาร์ และส่วนที่เหลือ (3,000-หุ้นทุนที่เพิ่มตามราคาพาร์) จะเพิ่มในส่วนเกินมูลค่าหุ้น สมมติราคารพาร์เท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น กปป ทุน  = 1,000 + 2,000    
   กปป.สินทรัพย์  =  กปป. หนี้สิน +  กปป ทุน
        3,000            =        0             +  1,000   +2,000 
แต่หลังจากนั้นเมื่อมีกำไร ตัวหารกำไรคือจำนวนหุ้นจะเพิ่มขึ้นดังนั้นกำไรที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่เพิ่มเท่าส่วนหุ้นที่เพิ่ม แต่เพื่มควรไม่น้อนกว่า % ของจำนวนหุ้นที่เพิ่ม จึงไม่เกิด dilution ของกำไรต่อหุ้น เช่นดังตัวอย่างเดิม ก่อนเพิ่มทุนมีหุ้นอยู่แล้ว 2,000 ล้านหุ้น ปีที่แล้วมีกำไร 3,600 ล้านบาท สมมติเพิ่มทุนต้นปีพอดี ปีถัดมาจะต้องใช้จำนวนหุ้น (2,000+1,000) หารกำไร ปีที่แล้ว EPS = 3,600/2,000 = 1.80 บาท จำวนหุ้นเพิ่มขึ้น 1,000 ล้านหุ้น เกิด dilution หรือ dilutive effect = 1,000/(2,000+1000) = 1/3 ถ้ากำไรเท่าเดิม EPS จะลดลงเหลือ 1.20 บาท แต่ถ้าจะให้มี EPS เท่าเดิม ต้องมีกำไรเท่ากับ 3,600 / (1-1/3) = 3,600*3/2 = 5,400  EPS จึงจะได้ 5,400/3,000 = 1.80 เท่าเดิม สามารถสรุปเป็นสูตรได้ดังนี้
Dilutive effect (Dilution) =  จำนวนหุ้นใหม่ (x) / (จำนวนหุ้นเดิม y +  จำนวนหุ้นใหม่ x ) = x /(y+x)
อัตราเพิ่มของกำไรที่จะไม่เกิด dilution = 1/(1-%dilute)

ตย. บริษัทประกาศเพิ่มทุน 5:3  ผู้ถือหุ้นเดิม 5 หุ้นจะสามารถซื้อหุ้นใหม่ได้ 3 หุ้นที่ราคาพาร์ 10 บาท
Dilutive effect (Dilution) =  3/(5=3) = 2/8 = 37.5%
ปีหน้าบริษัทต้องมีกำไรเพิ่ม = 1 /(1-37.5%) = 1/(1-.375) = 1/0.625 = 1.6 หรือเพิ่มขึ้น 60% ก็จะไม่เกิด dilution
ถ้าบริษัทมีกำไร 6,510 ลบ.  EPS =  1.24 (หุ้นเดิม 5,250 ล.หุ้น)
ปีหน้าต้องมีกำไร 6,510 x 1.6 = 10,416 ลบ. (หุ้นใหม่หลังเพิ่มทุน 8,400 ล.หุ้น) EPS (fully diluted)  จึงได้ 1.24
หมายความว่าถ้าเดิมราคาหุ้นอยู่ที่ 20 บาท   P/E = 16.13
หากราคาจะกลับมาที่เดิม 20 บาท ระดับ P/E เดิมที่ 16.13 ต้องมีกำไรเพิ่ม 60%

แต่เนื่องจาก การเพิ่มทุนมักเป็นการให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิม (XR Right Issue) ดังนั้นต้นทุนเฉลี่ยราคา trade ในกระดานจะปรับไปด้วย จากตัวอย่างเดิม ประกาศเพิ่มทุน 5:3  ผู้ถือหุ้นเดิม 5 หุ้นจะสามารถซื้อหุ้นใหม่ได้ 3 หุ้นที่ราคาพาร์ 10 บาท
ราคาหุ้นใหม่  =  (หุ้นเดิม x ราคาเดิมก่อนเพิ่มทุน + หุ้นใหม่ X ราคาเพิ่มทุน) / (หุ้นเดิม +หุ้นใหม่) 
                      =  (5x20+ 3x10) / (5+3) = 16.25
เท่ากับ P/E ใหม่เป็น 16.25/1.24 = 13.10 ดูคล้ายกับ P/E ลดลง ซึ่งไม่ใช่เราต้องคำนวณใหม่ ใช้หุ้นรวมใหม่จาก 5,250 ล.หุ้น เป็น 8,400 ล.หุ้น จะได้ EPS (fully dilute) เป็น 0.775 บาท P/E ใหม่หลังเพิ่มทุนจะเท่ากับ 16.25/0.775 =  20.96  เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ P/E = 16.13 หากตลาดเป็น EMH (Efficiency Market Hypothesis) แล้ว
ถ้าปีหน้ากำไรเพิ่ม 30.3% EPS (fully dilute) เป็น 1.007 ราคาหุ้นจะกลับมาที่ P/E = 16.13 ที่ราคา 16.25 และถ้าจะกลับไปที่ 20 บาทใหม่ที่ P/E = 16.13 ต้องมี EPS ที่ 1.24 กำไรยังคงต้องเพิ่มขึ้น 60% เช่นเดิม

จะเห็นว่าการเพิ่มทุนนั้นหากเราเป็นผู้ถือหุ้นเดิมควรต้องใช้สิทธิเพิ่มทุนเท่านั้นจึงกดดันน้อยกว่า หากจะซื้อหุ้นโดยไม่อยากเพิ่มทุนควรต้องรอ เพราะอัตราส่วนหุ้นเดิม  : หุ้นใหม่และราคาเพิ่มทุน มีผลต่อ การปรับลดราคาต้นทุนในกระดานและอัตรากำไรที่ต้องเพิ่มขึ้น เพราะกำไรต้องเพิ่มไม่น้อยกว่า EPSที่ ปรับขึ้นเพราะการเพิ่มทุน (จากตัวอย่างกำไรปีหน้าถ้าเพิ่ม 29.9% P/E จะลดลงจาก 20.96 เป็น 16.13 ราคาจึงเท่าทุน ถ้าจะมีกำไรพิ่มมากกว่านี้ราคาหุ้นจึงจะขึ้นด้วยระดับ P/E เดิม)

ถ้าจ่ายหุ้นปันผล ราคาหุ้นใหม่ คือ 0 บาท จ่ายหุ้นปันผลในอัตรา 8 หุ้นเดิมได้ 1 หุ้นปันผล ราคาปัจจุบัน 30 บาท
ราคาใหม่จะเท่ากับ  (8x30 + 0x1) / (8+1) = 240 / 9 = 26.67 บาท

หากคิดจะลงทุนหุ้นเหิ่มทุนต้องคำนวณเป็นจะได้เข้าใจว่าราคา ณ ตอนนี้ซื้อได้หรือไม่

3 การซื้อหุ้นคืน Treasury stock เป็นการสร้างผลตอบแทนให้กิจการแบบหนึ่งแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็เอามาซื้อหุ้นออกมาจากตลาดเข้าบริษัท วิธีนี้ไม่ใช่การลดทุน เพราะผู้ถือหุ้นไม่เสียหาย เพียงแต่บริษัทเอาหุ้นบางส่วนคืนจากนักลงทุนที่ไม่อยากลงทุนในบริษัทต่อไป แทนที่จะขายทิ้ง (กดราคา) บริษัทรับซื้อกลับ ทำให้จำนวนหุ้นลดลง EPS จะสูงขึ้น (ถ้ากำไรไม่ลดลง) ถ้าระดับ P/E คงเดิม ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนก็เปลี่ยนจากหุ้นบางส่วนเป็นเงินได้ (วิธีนี้ช่วยบริหารภาษีให้ผู้ถือหุ้นด้วย) การซื้อหุ้นคืน ส่วนเจ้าของจะลดลงจากหุ้นซื้อคืน ROE จะเพิ่มขึ้น
การที่บริษัทซื้อหุ้นคืนนั้น มองในภาพใหญ่ก็คือ หุ้นที่เหลืออยู่จะมีจำนวนน้อยลง ดังนั้นส่วนแบ่งกำไรของผู้ถือหุ้นแต่ละหุ้นก็จะมากขึ้น ซึ่งราคาหุ้นก็จะสูงขึ้นได้ ผู้ถือหุ้นอยู่ก็จะได้ประโยชน์จากการเพิ่มขึ้นของราคา มองอีกด้านหนึ่ง การซื้อหุ้นคืนนั้น อาจจะเหมือนกับว่าผู้ถือหุ้นบริษัทเห็นว่าหุ้นของบริษัทมีราคาถูกมากอยากจะซื้อหุ้นเพิ่มแต่ไม่มีเงินแล้วหรือคิดว่าไม่อยากจะเสี่ยงเพิ่มอีก แต่ว่าตัวบริษัทเองนั้นมีเงินอยู่ ผู้ถือหุ้นในฐานะที่เป็นเจ้าของบริษัทจึงคิดว่าเราน่าจะใช้เงินบริษัทเข้าไปซื้อหุ้นแทน และถ้าผู้บริหารบริษัทเองก็เห็นพ้องต้องกันว่าหุ้นของบริษัทนั้นมีราคาถูกเกินไปจริง ๆ เมื่อเทียบกับพื้นฐานของบริษัท การซื้อหุ้นบริษัทคืนก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีและความเสี่ยงน่าจะมีจำกัด และนี่ก็คือที่มาของการที่บริษัทจะซื้อหุ้นของตนเองคืนจากตลาดหุ้น
โดยการซื้อหุ้นคืนใน "บางครั้ง" จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ถือหุ้นบริษัทเห็นว่าหุ้นของบริษัทมีราคาถูกมาก หรือต่ำกว่าพื้นฐานที่ควรจะเป็นเลยอยากจะซื้อหุ้นเพิ่มแต่ไม่มีเงินแล้วหรือไม่อยากจะเสี่ยงเพิ่มอีก แต่ว่าตัวบริษัทเองนั้นมีเงินอยู่ ผู้ถือหุ้นในฐานะที่เป็นเจ้าของบริษัทจึงคิดว่าน่าจะใช้เงินบริษัทเข้าไปซื้อหุ้นแทน ในการประชุมผู้ถือหุ้นจึงมีมติให้มีการซ้อหุ้นคืน

บริษัทที่ทำการซื้อหุ้นคืนควรมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง ผลของการซื้อหุ้นคืน ทำให้จำนวนหุ้นลดลง และ EPS เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ในด้านบัญชีวิเคราะห์จากสมการบัญชีดั้งนี้
กปป.สินทรัพย์  = กปป. หนี้สิน +  กปป ทุน
กานซื้อหุ้นคืน เงินสดลดลง และส่วนทุนลดลง เท่าๆกันเช่น บริษัทมีสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ดังนี้
1,000        =      500   +  500
ซื้อหุ้นคืน 200 ลบ (งบการเงินจะแสดงหุ้นซื้อคืนเป็นลบในส่วนของผ้ถือหุ้น)
1,000 -200  =  500 + (500-200)
800  =  500 + 300
จะเห็นว่าส่วนของเจ้าของลดลง ถ้ากำไรเท่าเดิม ROE จะเพิ่มขึ้น EPS ก็จะเพิ่มขึ้นจากจำนวนหุ้นที่ลดลง

ในด้านตลาดทุนเหมือนดี เพราะ Investors ดูจะได้ประโยชน์ แต่ลองมาดูในด้านอื่นๆ และ Corporate financial management อีกมุมหนึ่งของตลาดทุนต้องพิจารณาว่าผู้บริหารกำลังส่งสัญญาณว่า
  1. ราคาหุ้นถูกเกินไป หรือ ราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน
  2. ไม่มีโครงการใหม่ที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนเงินทุนของบริษัท บริษัทจึงเอาเงินไปลงทุนในหุ้นตนเองแทน เพราะการลงทุนซื้อหุ้นตนเองได้ผลตอบแทนเท่ากับ ROE ปกติกิจการจะลงทุนเมื่อผลตอบแทนโครงการ IRR > WACC เพราะการลงทุนในโครงการที่ได้ผลตอบแทน > WACC จะทำให้เพิ่มมูลค่ากิจการ (Maximize shareholders’ value) ทางเลือกที่ถูกต้องคือเอาเงินไปลงในโคงการที่ได้ผลตอบแทน > WACC หากกิจการเอาเงินมาซื้อหุ้นตัวเองแสดงว่า ไม่มีโครงการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจและให้ผลตอบแทนดีกว่าเดิม
  3. และจากสมการบัญชีพบว่าการซื้อหุ้นคืนทำให้กิจการลดขนาดลง นั่นคือกำลังจะ down sizing ตนเองลงอุตสาหกรรมกำลังชะลอตัวหรือหดตัวลงใช่หรือไม่
  4. การซื้อหุ้นคืนทำให้ ROE สูงขึ้นก็จริง แต่ D/E ก็สูงขึ้นด้วย ค่า D/E ที่เพิ่มขึ้นหมายถึง ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น หมายความว่า ต้นทุนเงินทุนเพิ่มขึ้น และทำให้ expected return ของหุ้นทุนสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นการเพิ่มขึ้นของ ROE ไม่ได้สะท้อนว่าราคาหุ้นต้องขึ้น เพราะเมื่อต้นทุน Cost of Capital เพิ่ม Expected Return หรือ Discount rate ใน DCF Model สูงขึ้น มูลค่ารวมจะลดลง เพียงแต่จำนวนหุ้นลดลงมากกว่า ทำให้เมื่อหารให้เป็นราคาต่อหุ้นดูสูงขึ้นดังนั้นในทางทฤษฎีแล้ว การซื้อหุ้นคืนจึงไม่ใช่การ  Maximize shareholders’ value แต่เพียงผลทางจิตวิทยาตลาดทุนที่ทำให้หุ้นขึ้นเท่านั้นแต่ไม่เกิด value addedโดยรวมในด้าน corporate financial management
  5. บริษัททำด้วยเหตุผลที่อยากจะให้ราคาหุ้นของตนเองเพิ่มขึ้น เพราะคิดว่าแรงซื้อจากบริษัทจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น พูดง่ายๆ คือปั่นหุ้นตนเอง

ในทฤษฎีการเงินเรื่อง capital structure ต้นทุนหุ้นทุนจะผันแปรโดยตรงกับ D/E เมื่อ
rk   =  ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ มี  Leverage ที่ D/E
r0  =   ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ ไม่มี  Leverage หรือที่ D/E = 0
rd  =   ผลตอบแทนหุ้นกู้หรือต้นทุนเงินกู้
          rk   =   r0  +  (D/E) * (r0  - rd)

ถ้าพิจารณาที่เบต้า ซึ่งใช้วัดความเสี่ยงเมื่อ D/E เพิ่ม (ไม่ว่าจะจากการก่อหนี้เพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนก็ตาม) ต้นทุนหรือ Required rate of return of  Equity ย่อมเพิ่มขึ้นด้วยเสมอ ดังสมการ
     bE = bA(1 + D/E)

ดังนั้นเมื่อบรษัทซี้อหุ้นคืนผลระยะยาวทางการเงินที่ตามมาต้องไม่ลืมคือ Risk เพิ่ม Return ที่ต้องการเพิ่มขึ้นตาม

4 การจ่ายหุ้นปันผล คล้ายๆกับ การซื้อหุ้นคืนคือแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ส่วนใหญ่บริษัทมีกำไรมากและอยากเก็บเงินสสดไว้ใช้ดำเนินงาน ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ให้ผู้ถือหุ้นไปเอาเงินสดจากตลาดแทน หรือใครจะถือต่อก็ได้ การจ่ายหุ้นปันผลไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ เพราะย้ายกำไรสะสมขึ้นไปเป็นเป็นหุ้นทุน แต่ผลกระทบคือ เม็ดหุ้นมากขึ้น อาจเกิด dilution effect ได้ แม้จะทำกำไรเท่าเดิม ROE เท่าเดิม แต่โดยรวมๆ wealth ของนักลงทุนคงที่ที่ระดับ P/E นั้น เพราะ EPS ลดลง Price ลดลง แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นชดเชยแทน
จะเห็นว่าแค่ทุน ยังมีวิธีการมากมายในการบริหาร ทุกการกระทำล้วนต้องมีหลักการและเหตุผลที่ดี หลายบริษัท เดี๋ยวซื้อหุ้นคืนกลับ นัยหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ การซื้อคืน แสดงว่า เหลือเงิน ไม่มี project ใหม่ขยายออกไปแล้ว หรือโครงการใหม่ๆ มีผลตอบแทนน้อยกว่า existing project เพราะถ้ามีทำไมไม่ลงทุนให้เราเพื่อเพิ่มกำไร ทางทฤษฎีการเงิน แสดงว่ากิจการเข้าสู่วงจรชะลอตัวถึงถดถอย คล้ายๆ กับบริษัทที่จ่ายอัตราปันผลมากๆ 60-70% หรือ อาจเกือบ 100% แสดงว่าการเอาเงินไป reinvest หรือไม่มีโครงการที่สร้างผลกำไรเพิ่มได้ การซื้อหุ้นคืนกลับย่อมไม่ช่เรื่องดีนัก เพราะด้านหนึ่ง กิจการแต่ง ROE ด้วย

ส่วนการจ่ายหุ้นปันผล มี 2 นัย คือ กิจการไม่มีเงินสดมากพอ ก่อหนี้ก็ไม่ไหว ในมุมหนึ่งคือมีเงินแต่กิจการเห็นโอกาสลงทุนในโครงการใหม่ว่าให้ประโยชน์มากกว่า (ROCI) หากเป็นเช่นนั้นไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้ เพราะการจ่ายหุ้นปันผลทำให้ EPS เกิด dilute ถ้ากำไรไม่มากพอกับหุ้นที่เพิ่มจะทำให้ราคาหุ้นลดลง

การวิเคราะห์ทางบัญชี
กปป.สินทรัพย์   =    กปป. หนี้สิน  +  กปป ทุน
      0                  =          0      +  (RE ลดลง) + หุ้นทุนเพิ่ม  การจ่ายหุ้นปันผลจึงไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ
ถ้ากำไรไม่เพิ่ม ราคาหุ้นจะลดลงเพราะเกิด dilution ไม่เช่นนั้น P/E  จะสูงขึ้น
วิธีการคิด dilution ใช้หลักการเหมือนเรื่องเพิ่มทุน

Credit: https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul