วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

ดุลยภาพการเจริญเติบโต (Growth Balance)


การสร้างความเจริญเติบโตให้ธุรกิจเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต่างมุ่งหวังให้มีการเติบโตสูงๆ  แต่การเติบโตของบริษัทนั้นไม่ใช่เพียงกำไรที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น การสร้างความเติบโตเปรียบเหมือนกับการให้ยาคนไข้ หากแพทย์ให้ยามากเกินไป ก็อาจเป็นผลร้ายได้ เพราะความเติบโตนอกจากกำไรและสินทรัพย์ที่จะเพิ่มขึ้นแล้ว ความต้องการเงินสดจะเพิ่มขึ้นด้วย หากไม่รักษาสมดุลทั้งสามไปพร้อมกัน จะทำให้เกิดปัญหาการเงินในระยะยาว

ถ้าให้ความสมดุลของการเติบโตคือ E
                                                   E   =      R / (G x T)
   เมื่อ     R    กำไรสะสม / ขาย           RE/Sales : กำไรสะสม = NI - Dividend
             G   อัตราการเติบโตยอดขาย Sales Growth
             T   สินทรัพย์ทั้งหมด/ขาย บางกรณีถ้าดูในมุมที่แคบลง อาจให้ T คือ ทุนหมุนเวียน / ขาย   WC/Sales  :  ทุนหมุนเวียน = สท หมุนเวียน ลบ นส หมุนเวียน ก็ได้ หากไม่มีการลงทุนใน ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ (PPE) ซึ่งปกติแล้วการลงทุนใน PPE มักจะใช้หนี้สินระยะยาวที่ได้เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน D/E เช่นเดิมมี D/E = 1.2 เท่า มีหนี้สินรวม 1,200 MB ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 1,000 MB เมื่อมีกำไรเพิ่ม 200 MB จะสามารถเพิ่มหนี้ได้ 1,200*1.2 – 1,200 = 240 MB โดยสัดส่วน D/E เท่าเดิม ถ้าใช้ 100 MB สำหรับทุนหมุนเวียนก็จะลงทุนใน PPE ได้เพียง 140 MB

-จาก Model ถ้าพิจารณาในระยะสั้น เราอาจให้ T คือ ทุนหมุนเวียน / ขาย   WC/Sales  :  ทุนหมุนเวียน = สท หมุนเวียน ลบ นส หมุนเวียน และยังคงให้  E   =   R / (G x T)

การวิเคราะห์ดุลยภาพการเจริญเติบโต (Growth Balance analysis)
-อัตราส่วนที่เหมาะสมควรเข้าใกล้ 1
-ถ้าใกล้หรือเท่ากับ 1 แสดงว่ากระแสเงินสดปกติ   
-ถ้ามากกว่า 1(ยิ่งมาก) แสดงว่ากระแสเงินสดเป็นบวก (ยิ่งมาก)
-ถ้าน้อยกว่า 1 (ยิ่งต่ำ) แสดงว่ากระแสเงินสดเป็นลบ (ยิ่งน้อย)

-ถ้าบริษัทใดที่ยอดขายเติบโตสูงหรือคาดว่าจะเติบโตสูง นักลงทุนมักจะคิดหรือคาดว่า กำไรและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานจะเพิ่มสูงขึ้นด้วยนั้น บางครั้งอาจพบว่าไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์

-หลายบริษัทยอดขายเพิ่มขึ้นกำไรเพิ่มขึ้นแต่ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานกลับตรงข้าม หรือเพิ่มน้อยกว่าอัตราการเติบโตของรายได้หรือกำไร แสดงว่าเกิดความไม่สมดุลของการเติบโตในสินทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการก่อหนี้เพิ่มขึ้น D/E เพิ่มขึ้น และสุดท้ายหนีไม่พ้นต้องเพิ่มทุนเพื่อลดภาระหนี้

-การเพิ่มทุนเพื่อลดภาระหนี้ โดยทางหลักการทางการเงินไม่ถือว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าธุรกิจ เพราะต้นทุนของหน้สินเมื่อเทียบกับต้นทุนเสียโอกาส (Opportunity cost) ของผู้ถือหุ้นคือผลตอบแทนจากการลงทุน (Expectes return) ซึ่งสูงกว่าต้นทุนดอกเบี้ยมาก

-จึงเท่ากับว่าเม็ดเงินที่นำไปเพิ่มทุนสร้างผลตอบแทนได้เพียงอัตราดอกเบี้ยจากตลาดเงิน เพราะเพียงเอาเงินกู้ออกแทนด้วยเงินเจ้าของ ที่ลดไปคือดอกเบี้ยจ่ายเท่านั้นเงินที่เหลือจึงไปลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทน IRR ของโคงการที่เหลือ ดังนั้น เงินเพิ่มทุน 100 บาท แทนที่จะสร้างผลตอบแทนทั้งหมดที่ IRR (ซึ่งควรมากกว่า ROCI จึงสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจ) 

Credit: https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul