วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

หุ้นน่ากลัว ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

    การที่ลงทุนในตลาดหุ้นมานานมากและได้เห็นเหตุการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ  ของผู้บริหารจำนวนมากในตลาดทำให้ผมพบความ “ไม่โปร่งใส”  ในการบริหารงานในบริษัทจำนวนมาก  บางเรื่องก็เป็น  “ความจำเป็น”  ทางธุรกิจ  บางเรื่องก็เป็นการกระทำของผู้บริหารที่เอาเปรียบหรือโกงบริษัท    บริษัทที่มีอาการหรือพฤติกรรมเหล่านี้มักจะมีลักษณะหรือโครงสร้างของการทำธุรกิจที่ “เอื้ออำนวย”  ให้เกิดการโกงได้ง่าย  การโกงนั้น  บางทีก็ทำให้บริษัทถึงกับล้มละลาย  แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ทำให้ผลประกอบการไม่ดีหรือลุ่ม ๆ  ดอน ๆ   ดังนั้น  สำหรับผมแล้ว  การลงทุนในหุ้นเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่  “น่ากลัว”  และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ   และถ้าหุ้นไม่ถูกจริงหรือมีประเด็นที่น่าสนใจจริง ๆ  แล้ว  ผมก็จะไม่ลงทุน  และต่อไปนี้คือบางส่วนของหุ้นที่ผมคิดว่า  “น่ากลัว”
   หุ้นกลุ่มแรกก็คือ   หุ้นของบริษัทที่รับงานจากหน่วยงานของรัฐเช่น  งานรับเหมาก่อสร้างโครงการต่าง ๆ   เหตุผลก็เพราะว่างานเหล่านี้มักจะต้องมี  “รายจ่ายพิเศษ”  ที่เราคาดการณ์ไม่ได้  รายจ่ายนี้คือรายจ่ายที่บริษัทต้องจ่ายเพื่อให้  “ได้งานและเพื่อที่จะสามารถส่งมอบงานอย่างไม่ติดขัด”   จริงอยู่  บริษัทมักจะรวมค่าใช้จ่ายนี้ไว้แล้วเวลาเสนอราคา   แต่การเปลี่ยนแปลงในระหว่างที่กำลังทำงานก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ซึ่งอาจทำให้บริษัทขาดทุนได้    นอกจากนั้น  การที่บริษัทมีรายจ่ายพิเศษที่ต้องจ่ายออกไปให้คนอื่นโดย  “ไม่มีใบเสร็จ”  อยู่แล้ว  การที่บริษัทจะจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อให้กับผู้บริหารหรือคนที่ทำเรื่องจ่ายจึงเป็นเรื่องง่ายและตรวจสอบไม่ได้   ผลก็คือ  กำไรของบริษัทอาจจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่ารายจ่ายพิเศษจะมีมากน้อยแค่ไหน  และนี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมหลาย ๆ  บริษัทที่มียอดขายมากมายแต่กลับไม่มีกำไรอยู่บ่อย ๆ 
   หุ้นกลุ่มที่สองที่ “น่ากลัว”  คือบริษัทที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านดีลเลอร์รายใหญ่ ๆ  หรือตัวแทนที่ผู้บริหารเป็นเจ้าของ   ประเด็นก็คือ  ผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้น  มักมียอดขายที่สูงมากแต่มีมาร์จินหรือกำไรต่อยอดขายต่ำ  หากผู้บริหารต้องการทำกำไรให้ตนเองสูงสุด   เขาก็สามารถลดราคาขายให้กับดีลเลอร์ที่เป็นบริษัทส่วนตัว  อาจจะเป็นเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อยแต่เขาก็จะได้เงินมาก   และนั่นก็ทำให้บริษัทเสียหายและกำไรน้อยลงหรือไม่ได้กำไรเลย  ดังนั้น    การลงทุนในหุ้นแบบนี้  นักลงทุนจึงคาดผลประกอบการได้ยากและมีโอกาสเสียหายหนักถ้าเจ้าของหรือผู้บริหารไม่โปร่งใส
   หุ้นกลุ่มที่สามที่ผมรู้สึกไม่สบายใจและกลัวว่าผู้บริหารอาจจะไม่โปร่งใสก็คือ  บริษัทที่ซื้อกิจการหรือทรัพย์สินขนาดใหญ่จากบริษัทหรือคนที่  “ตรวจสอบไม่ได้”  หรือเป็นคนที่ไม่มีความน่าเชื่อถือพอ  ประเด็นก็คือ  ราคาที่จ่ายไปนั้นอาจจะสูงเกินไปมาก  หรือกิจการมีคุณสมบัติที่แย่หรือกำลังจะย่ำแย่ลง   แต่เหตุผลที่ซื้อในราคาแพงนั้น   อาจจะเป็นเพราะซื้อแล้วมี  “เงินทอน”  ให้กับผู้บริหารจากคนที่ขายซึ่งตรวจสอบไม่ได้เนื่องจากเป็นบริษัทเอกชนหรือเป็นบุคคลธรรมดา   ในกรณีแบบนี้  ในที่สุดแล้ว  บริษัทก็จะเสียหายเนื่องจากกิจการหรือทรัพย์สินที่ซื้อมาไม่สร้างผลตอบแทนที่ดีคุ้มค่ากับเงินที่บริษัทจ่ายไป
   หุ้นกลุ่มที่สี่ที่ผมรู้สึกกลัวตลอดเวลาถ้าต้องถือหุ้นไว้ก็คือ  หุ้นของบริษัทที่มีลูกหนี้มากเมื่อเทียบกับยอดขายหรือขนาดทรัพย์สินหรือขนาดของเงินทุนของบริษัท  โดยเฉพาะถ้าลูกหนี้นั้นไม่ได้เป็นบริษัทหรือกิจการที่มีขนาดใหญ่ที่มีเรทติ้งที่ดีมาก  เหตุผลก็คือ  ลูกหนี้นั้นอาจจะเบี้ยวหนี้หรือกลายเป็นหนี้เสียและทำให้บริษัทเสียหายหนัก  บางครั้งอาจจะล้มละลายได้   การที่ลูกหนี้กลายเป็นหนี้เสียนั้นก็อาจจะมีได้หลายสาเหตุซึ่งรวมถึงภาวะทางเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมที่ตกต่ำลงอย่างหนัก  หรือเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้บางรายที่เป็นลูกค้ารายใหญ่มาก  หรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็คือ  เป็นลูกหนี้ที่เป็นกิจการของผู้บริหารที่ตั้งขึ้นเพื่อที่จะ  “โกงบริษัท”  ตั้งแต่แรกก็เป็นไปได้
   หุ้นกลุ่มที่ห้าที่ไม่ใช่เรื่องของการโกง  แต่เป็นบริษัทที่มีหนี้มากในขณะที่กิจการมีความไม่แน่นอนของผลประกอบการสูงเนื่องจากเป็นกิจการที่ขายสินค้าที่เป็นวัฏจักรหรือสินค้าที่มีความเป็นโภคภัณฑ์สูง  ประเด็นก็คือ  ในยามที่เกิดความยากลำบากขึ้น  บริษัทอาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ซึ่งทำให้บริษัทมีปัญหาทางการเงินหนัก  บางทีอาจจะถึงกับล้มละลายได้  หรือในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นมาก  ผลกำไรของบริษัทก็อาจจะถูกกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้
   หุ้นกลุ่มที่หกที่บ่อยครั้งคนในวงการนักเล่นหุ้นชอบมากเพราะเป็นหุ้นกลุ่มที่อาจจะให้ผลตอบแทนในระยะสั้นหวือหวา   แต่สำหรับผมที่เน้นการลงทุนในพื้นฐานและเป็นการลงทุนระยะยาวแล้ว  กลับเป็นหุ้นที่น่ากลัว  เนื่องจากผมไม่ใคร่เชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่ดี  หลายครั้งผมรู้สึกด้วยว่ามันเป็น  “เกมปั่นหุ้น”  ที่อาจจะไม่ผิดกฎหมาย  แต่ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวได้มาก  และทำให้คนที่รู้ขายทำกำไรไปก่อน  แล้วทิ้งให้คนที่มาทีหลังหรือคนไม่รู้รับความเสี่ยงไป   และนี่ก็คือหุ้นของบริษัทที่มี  “วิศวกรรมการเงิน”  หรือการ  “ปรับโครงสร้าง”  ใหญ่ ๆ  ของบริษัทตลอดเวลา  โดยที่ผลิตภัณฑ์หรือการดำเนินการหลักของบริษัทนั้นไม่ได้มีการเปลี่ยนอะไรที่สำคัญและก็ไม่ใช่ธุรกิจที่ดีเลิศอะไรนัก
   บริษัทที่น่ากลัวในกลุ่มที่หกก็เช่น  บริษัทที่เปลี่ยนแปลงหรือมีธุรกิจใหม่ ๆ  ที่มีนัยสำคัญสูงอยู่เรื่อย ๆ   บางทีนอกจากธุรกิจใหม่แล้ว  ชื่อของบริษัทก็ถูกเปลี่ยนไปตามแนวของธุรกิจใหม่จนเราจำไม่ได้ว่าเดิมบริษัทชื่ออะไร  ความน่ากลัวอยู่ที่ว่า  ธุรกิจใหม่นั้นอาจจะไม่ดีและทำให้ผลประกอบการเลวลงเนื่องจากบริษัทอาจจะไม่มีความสามารถหรือประสบการณ์พอในการทำงาน  เหนือสิ่งอื่นใด  ถ้าของเดิมบริษัทก็ทำไม่ได้ดีอยู่แล้ว  ของใหม่จะทำได้เหนือกว่าคู่แข่งได้อย่างไร!
   นอกจากเรื่องของการเปลี่ยนธุรกิจไปเรื่อย ๆ  แล้ว    บริษัทที่  “ใช้เครื่องมือทางการเงิน”  อย่างพร่ำเพรื่อ  โดยที่ไม่มีเหตุผลเพียงพอ  ก็เป็นสิ่งที่ผมมักจะกลัว  ตัวอย่างเช่น  การแตกพาร์จาก 1 บาทเหลือ 25 สตางค์ เพื่อ  “เพิ่มสภาพคล่อง”  ของหุ้น  ทั้งที่ราคาหุ้นก็ไม่ถึง 10 บาทอยู่แล้ว   หรือการออกวอแรนต์แจกให้ผู้ถือหุ้นมากมายหลาย ๆ  ชุดต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ  จนวอแรนต์นั้นมีสัดส่วนอาจจะเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งบริษัท  แบบนี้ผมก็ถือว่าไม่สมเหตุผล    ประเด็นก็คือ  ผมคิดว่าผู้บริหารไปเน้นการ “บริหารหุ้น”  มากกว่าการบริหารกิจการ  และดังนั้น  การเข้าไปซื้อหุ้นที่มีคนบริหารนั้น  จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัว  เพราะเราอาจจะเข้าไปซื้อที่ราคาแพงเกินไปมากได้
   หุ้นกลุ่มสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือหุ้นที่  “กินก่อน  จ่ายทีหลัง”  ตัวอย่างเช่น  สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้แก่กิจการธุรกิจ    สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้เพื่อซื้อสินค้าหรือบริการแบบเงินผ่อน  บริษัทประกันภัย  เป็นต้น  บริษัทเหล่านี้นั้น   เมื่อขายบริการหรือผลิตภัณฑ์ของตน  พวกเขาก็จะกำไรทันทีในระยะสั้น  แต่ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นยังไม่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับลูกค้าหรือเหตุการณ์ในอนาคตว่าบริษัทจะได้รับเงินคืนหรือไม่  แต่โดยธรรมชาติของคนก็คือ  เราอยาก  “กินก่อน”  อนาคตไม่แน่นอนอย่าไปคิดมาก   เหนือสิ่งอื่นใด  ถ้าลูกค้าเสีย  เจ้านายก็อาจลืมไปแล้วว่าใครเป็นคนทำ  ดังนั้น  สำหรับผมแล้ว  ธุรกิจแบบนี้ก็เป็นสิ่งที่น่ากลัว  เพราะเราอาจจะคิดว่าบริษัทกำลังโต  กำลังดีขึ้น  ทั้งที่อาจจะไม่จริงเพราะในที่สุด  บริษัทอาจจะต้อง  “จ่ายหนักทีหลัง” นั่นก็คือ  บริษัทเสียหายอย่างหนัก
   ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหุ้นที่น่ากลัวสำหรับผม  แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะลงทุนไม่ได้  เพียงแต่ว่าเราจะต้อง Discount หรือลดมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นลง  นั่นก็คือ  หุ้นจะต้องมีราคาต่ำพอที่จะคุ้มสำหรับการลงทุน

งานสังสรรค์ VI ไตรมาส 2

นพ. พงศกร เอื้อชวาลวงศ์
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.ศูนย์อุดรธานี

ผมได้สรุปเนื้อหาที่ผมได้บรรยายในงานสังสรรค์ VI ไตรมาส 2 ลงในบทความนี้นะครับ ต้องขอบคุณทางสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่าที่ให้เกียรติเชิญผมไปเป็นวิทยากรในงานนี้ ขอบคุณผู้ฟังทุกท่านที่ตั้งใจฟัง ไม่มีใครคุยกันเลย…หลายตั้งใจจดมากแม้ว่าผมบอกแล้วว่าจะแจกใน Blog หลายคนถึงขึ้นอัด VDO กันเลยทีเดียว

ขอบคุณภรรยาที่ช่วยตัด Slide ให้เพราะว่าผมงานประจำเยอะมากจนแทบไม่มีเวลาทำ แถมยังมาเป็นกำลังใจให้ถึงขอบเวทีด้วยครับ ขอบคุณครับ

ผมได้พยายามเต็มที่แล้วที่จะให้เนื้อหาเกี่ยวกับหุ้นเติบโตครบถ้วน เข้าใจง่ายที่สุดภายในเวลา 2 ชม. เริ่มตั้งแต่ง่ายไปยาก พยายามจะใส่จุดที่นักลงทุนหลายคนยังเข้าใจผิดและทำให้ภาพเหล่านี้ชัดเจนขึ้น และนำหลักการที่ผมให้ไปใช้จริงได้ครับ

ต่อไปนี้จะเป็นเนื้อหาใน Slide ที่จะไปบรรยายนะครับ และผมจะเขียนหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นเติบโต (Growth investing) แบบในรายละเอียดอีกครั้ง เพื่อนนักลงทุนที่สนใจสามารถติดตามได้ครับ

การลงทุนใน Growth stock และจิตวิทยาการลงทุน

Outline
- ทำไมต้องลงทุนในหุ้นเติบโต?
- ความเข้าใจเรื่องหุ้นเติบโต
- ความสำคัญของเวลา / ความเข้าใจเรื่องอนาคต / มองอนาคตโดยใช้จินตนาการและเหตุผล
- ภาพลวงตาของ PE / คุณภาพและอนาคตของกำไร
- พฤติกรรมผู้บริโภค
- การมอง Business model ที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจโดยรวม / Natural selection ในระบบทุนนิยม / Megatrend
- ความสามารถในการแข่งขัน (DCA) – สิ่งที่สำคัญต่อการอยู่รอดและเติบโต
- การเลือกหุ้นจากชีวิตประจำวัน / Systemic approaching
- ช่องทางการเติบโตของกำไร
- ที่มาของการขยายธุรกิจ / เอาเงินมาจากไหนมาขยายการเติบโต?
- การพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ธุรกิจ
- การพัฒนาจิตใจของนักลงทุนหุ้นเติบโต / จิตวิทยาการลงทุน

ทบทวนหลักการของ VI กันก่อน
- ซื้อหุ้นด้วยมุมมองของการซื้อธุรกิจ เพราะหุ้นคือส่วนหนึ่งของเจ้าของบริษัทสัดส่วนการถือหุ้น
- ซื้อหุ้นที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic value)

การลงทุนหุ้นเติบโต
- มองที่การเติบโตของบริษัทเป็นหลัก…แล้วจึงมาดูว่าราคาที่ตลาดให้น่าซื้อ – มีส่วนลดราคาหรือไม่?
- ไม่ใช่การมองที่ราคาถูกกว่ามูลค่าแล้วตัดสินใจซื้อเลย
- บ้านต้องมีเสา – การลงทุนต้องมีหลักการหรือโครงสร้างทางความคิด
- แต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ให้ฟังในสิ่งที่นำไปใช้ประโยชน์กับตนเองได้

การแบ่งหุ้นเป็น 6 ประเภทตามแบบฉบับของ Peter Lynch
- ประเภท 1 – 3 ( หุ้นโตช้า, หุ้นแข็งแกร่ง, หุ้นโตเร็ว ) ใช้การเติบโตเป็นตัวแบ่ง ดังนั้นความสามารถในการเติบโตของธุรกิจหรือการเติบโตของกำไรเป็นที่สิ่งสำคัญมาก
- ชนิดของการจำแนกหุ้นเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา
- หุ้นเติบโตอาจจะกลายเป็นหุ้นปันผล (ธุรกิจอิ่มตัว ไม่เติบโตแล้ว) ..หุ้นเติบโตอาจจะกลายเป็นหุ้นวัฎจักร (กำไรขึ้นลงตามรอบเศรษฐกิจ) ..หุ้นเติบโตอาจจะกลายเป็นหุ้น Asset play ได้ (สินทรัพย์ที่ซื้อมาในช่วงธุรกิจเติบโตมีมูลค่าสูงขึ้นมาก)
- ในขณะเดียวกันหุ้นชนิดอื่นอาจจะกลายเป็นหุ้นเติบโตได้เช่นกันถ้าปัจจัยพื้นฐานเอิ้ออำนวย หุ้น turn around บางตัวพอ turn จบกลายเป็นหุ้นเติบโตต่อเนื่อง หุ้นวัฎจักรบางตัวมีแผนการเติบโตที่ชัดเจนและ Demand สินค้าสูงอย่างต่อเนื่องระยะยาว…เราจะมองหุ้นเหล่านี้ด้วย Model ของหุ้นเติบโต หุ้น Asset play บางตัวมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำธุรกิจใหม่…แล้วปรากฎว่าเข้าได้กับ Model ของหุ้นเติบโต
- ดังนั้น…อย่ายึดติด “ชื่อหุ้น” กับชนิดของหุ้น เพราะชนิดของหุ้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถ้าเหตุของมันเปลี่ยน (พื้นฐานเปลี่ยน)

ความเข้าใจเรื่องหุ้นเติบโต

ลักษณะของหุ้นเติบโต
- หุ้นเติบโตเป็นหุ้นที่มองไปยังอนาคต (หุ้นบางชนิดจะมองปัจจุบันเป็นหลัก เช่น หุ้น Asset play, หุ้นปันผล)
- เวลาเป็นตัวแปรสำคัญของมูลค่าหุ้นเติบโต ทั้งด้านปัจจัยเชิงคุณภาพและปัจจัยเชิงปริมาณ
- ขอให้ “ลืม” ราคาหุ้น ลืม PE ratio ลืมตลาดหุ้นไปก่อน …แล้วมองดู Core business ว่าบริษัทมีการเจริญเติบโตหรือไม่? ถ้ามีบริษัทมีการเติบโตของธุรกิจ กระแสเงินสดและกำไร บริษัทนั้นคือบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโต หุ้นของบริษัทเติบโตที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์คือ “หุ้นเติบโต” ครับ
- หุ้นเติบโตต้องดูจากโครงสร้างธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโต (Growth potential) ไม่ใช่ดูจากค่า PE สูง…แม้ว่าหุ้นเติบโตส่วนใหญ่ค่า PE จะสูงก็ตาม หุ้น PE ต่ำบางตัวเป็นหุ้นเติบโตได้เช่นกัน ค่า PE คือการให้มูลค่าของตลาดหุ้น ไม่ได้บอกว่าหุ้นตัวนี้คือหุ้นเติบโต

ทำไมต้องลงทุนในหุ้นเติบโต?
- เป็นหุ้นที่เหมาะต่อการถือระยะยาว เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาเฝ้าจอหุ้น ไม่มีเวลาตามข่าวระยะสั้นทุกวัน แต่ต้องการผลตอบแทนที่ชนะตลาด (เช่น ผม เป็นต้น)
- เป็นหุ้นที่ไม่ต้องเชียร์เลย…ผมไม่เคยเชียร์หุ้น ชอบถือหุ้นเงียบๆ แต่หุ้นเติบโตราคาจะเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องไปนั่งเชียร์เพราะมีตัว Driver ราคาหุ้นตลอด นั่นคือการพัฒนาของกิจการในเชิงคุณภาพ รายได้และกำไรที่เติบโตขึ้นในเชิงปริมาณ รวมถึงปันผลที่เพิ่มขึ้นจากกำไรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยครับ
- ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุน VI สไตส์ไหนก็ตาม เช่น หุ้นปันผล หุ้น Turn around หุ้นคอมโม … ต้องเข้าใจเรื่องการเติบโตทั้งสิ้น
- นักลงทุนควรมีหุ้นเติบโตติดพอร์ตเอาไว้บ้างจะทำให้ผลตอบแทนดีขึ้น ไม่ว่าเราจะเป็นนักลงทุนสไตล์ไหนก็ตามครับ

ตลาดหุ้นในปัจจุบันควรสนใจหุ้นเติบโตหรือไม่?
- ตลาดหุ้นขึ้นมาสูงขึ้นส่วนใหญ่ราคาแพงแล้วแสดงว่าเราไม่ควรลงทุนในหุ้นเติบโตจริงหรือ?
- ช่วงนี้หุ้นราคาแพง หาหุ้นดีราคาถูกยาก หลังวิกฤติต้มยำกุ้งและวิกฤติซับไพรม์มีหุ้นดีราคาถูกมากมาย แค่นั่งขุดหุ้นแล้วเชียร์สร้าง story ก็ได้กำไรหลายรอบแล้ว (ไม่แนะนำให้ทำครับ ผมไม่ทำแน่นอน) แต่ปัจจุบันไม่ใช่แบบนั้นแล้ว ดังนั้นมี 2 วิธีคือ 1. รอให้เกิดวิกฤติซึ่งไม่รู้อีกนานแค่ไหนเพื่อที่จะได้ซื้อหุ้นถูกสุดๆ 2. หาธุรกิจที่เติบโตได้สูงกว่าตลาดแล้วซื้อในขณะที่ราคายังต่ำกว่ามูลค่าและถือหุ้นเติบโตไว้ตราบที่บริษัทยังเติบโตอยู่
- นักลงทุนแนว VI หลายคนเข้าใจว่า…ลงทุนแบบ VI คือซื้อหุ้นถูก PE ต่ำ, PBV ต่ำ ซึ่งอาจจะทำให้ไปซื้อหุ้นที่คุณภาพไม่ดีเพราะไม่ได้ประเมินลักษณะการทำธุรกิจ Business model และทำให้ผลตอบแทนไม่ดีในที่สุด
- อย่างน้อยถึงแม้ว่าเราจะหาหุ้นเติบโตที่มีมูลค่าต่ำกว่าราคาไม่ได้เลย ไม่มี MOS เราก็สามารถศึกษาข้อมูลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ได้ว่า…”บริษัท” ใดมีการเติบโตระยะยาว เพื่อว่าความ “เตรียมพร้อม” ที่เราศึกษาไว้ก่อนจะทำให้เรา “กล้าซื้อ” หุ้นเมื่อตลาดตกหนักในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานไม่เปลี่ยน บริษัทยังมีการเติบโตระยะยาวต่อเนื่อง
- สรุปว่า…ไม่ควรหยุดที่ศึกษาเรื่องธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตไม่ว่าจะอยู่ในภาวะตลาดใดก็ตาม (แต่การซื้อขายเป็นคนละเรื่องครับ ไม่สามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่สามารถทำได้ทุกวันครับ)

ความเข้าใจเรื่องอนาคต
- นักลงทุนต้องทำความเข้าใจกับเรื่องอนาคตเพราะการลงทุนในหุ้นเกี่ยวข้องกับอนาคตโดยตรง…เพราะหุ้นจะขึ้นเมื่อผู้คนส่วนใหญ่ “เชื่อ” ว่า หุ้นตัวนี้ผลกำไรจะดีขึ้นในอนาคต (เช่น ไตรมาสหน้า ปีหน้า สิบปีข้างหน้า แล้วแต่ความไกลของสายตาตลาดและความแรงของข่าว หรือการเติบโตของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว) และนักลงทุนส่วนใหญ่หวังผลที่ได้จากการเพิ่มของราคาหุ้น (Capital gain) เมื่อเวลาผ่านไปในอนาคต
- การลงทุนหุ้นหรือการเก็งกำไรหุ้น เกี่ยวข้องกับมองอนาคตโดยตรง
- เราจึงต้องมาเรียนรู้เรื่องอนาคตครับ

” เรามีความเข้าใจเรื่องอนาคตอย่างไรบ้าง? “
1. อนาคตเป็นภาพเดียวที่เกิดแน่นอน อนาคตเป็นความน่าจะเป็น
2. อนาคตถูกกำหนดมาแล้ว อนาคตเป็นไปตามเหตุและผล
3. ทำนายอนาคตได้ ทำนายอนาคตไม่ได้
- Einstein VS Quantum physics (เช่น ไฮเซนเบริก) พระเจ้าไม่โยนลูกเต๋ากับจักรวาล VS เราไม่สามารถระบุตำแหน่งของอนุภาคและโมเมนตัมได้อย่างแม่นยำพร้อมกัน

ความเห็นของผมในเรื่องอนาคต- เรารู้อนาคตได้จริงเหรอ? ทั้งที่สิ่งที่เรา perceive คือปัจจุบันล้วนๆ (ข้อมูลอดีตในสมองและประสาทสัมผัสในปัจจุบัน) หรือว่า…จริงๆแล้วอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้เลย (Unknowable)

- ลองทายสิ่งที่เกิดขึ้นอีก 1 นาทีข้างหน้าเราแทบไม่รู้เลยด้วยซ้ำ (เช่น ทายผู้ชนะของนักวิ่ง 100 เมตร, การแข่งม้า, ราคาหุ้นระยะสั้น, ไพ่ที่เราจะได้รับในการแข่ง Poker … เป็นต้น)
- ผมเคยลองซื้อหวย – เจ๊งครับ (คนส่วนใหญ่จะเจ๊งตามความน่าจะเป็น…และไม่มีใครทำนายอนาคตได้)
- ดังนั้นเวลาทำนายอนาคตถูกอย่ามั่นใจในตัวเองเกินไปเราอาจจะแค่โชคดี เพราะไม่มีใครรู้แน่นอนว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นครับ

Future prediction
- เราทุกคนอยากรู้อนาคต…มีศาสตร์มากมายที่อ้างว่าทำนายอนาคตได้ (โหราศาสตร์ ลายมือ ไพ่ยิปซี) มีกูรูมากมายที่เชื่อว่าผู้คนเชื่อว่าทำนายอนาคตได้ แต่ความจริงแล้ว…อนาคตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้
- เรามักจะชอบฟังความของผู้เชี่ยวชาญ…กูรูทั้งหลายเรื่องอนาคต เพราะเรากลัวและไม่มั่นใจกับอนาคต
- ดังนั้นไม่มีประโยชน์ในการทำนายอนาคต…โดยเฉพาะการทำนายเรื่อง Macroeconomic ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถล่วงรู้ได้ครับ
- แต่สำหรับพื้นฐานของกิจการและการเติบโตในอนาคตเราพอคาดการณ์ได้…โดยคิดแบบจำลองสถานการณ์หลายเหตุการณ์และเข้าใจถึงเหตุปัจจัยทั้งภายนอกและภายในที่ส่งผลต่อธุรกิจครับ

การพยายามคาดการณ์อนาคตนำมาซึ่ง…
- นักลงทุนหลายคนพยายามเก็งกำไรงบการเงินเพื่อหาว่าไตรมาสหน้าบริษัทใดจะมีกำไรเติบโตขึ้น…โดยไม่ได้ประเมินว่ากำไรที่เติบโตขึ้นจะเป็นอย่างไรในระยะยาว ต่อให้เดาถูก…ราคาตลาดอาจจะไม่ขึ้นหรือแม้กระทั่งลดลง (เนื่องจาก Sell on fact) นักลงทุนลักษณะนี้มีอยู่มากมายทำให้ซื้อรับความคาดหวังไปกันหมดแล้ว ยิ่งถ้าเดาผิด…ราคาตลาดจะลดลงอย่างมากเพราะตลาดผิดหวังรุนแรง
- ตัวอย่างการคาดเดาอนาคต ซื้อดักงบการเงิน ซื้อดัก Opportunity day ซื้อดัก Company visit เป็นต้น
- แล้วอย่างนั้นเราจะมีมุมมองอนาคตอย่างไรดี?

ผมคิดว่า…
- อนาคตไม่ได้มีแค่ภาพเดียว…เพราะมนุษย์เรามีสิทธิเลือกที่จะตัดสินใจกระทำในปัจจุบันได้ ขอให้มองอนาคตเป็นหลายเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยความน่าจะเป็นขึ้นกับเหตุปัจจัยที่ส่งผลลัพธ์ในอนาคต มองทั้งด้านดี…ด้านร้าย โอกาสและความเสี่ยง ถ้ามองแต่ด้านดีอย่างเดียวแล้วเหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่คิดเราจะเสียหลักรับมือไม่ถูกครับ
- ดังนั้นขอให้มองอนาคตตามภาพของความน่าจะเป็น…ด้วยการศึกษาข้อมูล…เหตุและปัจจัยในปัจจุบันที่มีผลต่ออนาคต

เราได้อะไรบ้างจากความเข้าใจเรื่องอนาคต
1. ไม่ปักใจเชื่อผู้เชี่ยญชาญหรือเซียนโดยไม่ไตร่ตรองด้วยตนเองเพราะเข้าใจว่าไม่มีใครรู้อนาคต
2. มองหาเหตุปัจจัยในปัจจุบันที่จะส่งผลต่อการเติบโตของบริษัทในอนาคต…ทั้งปัจจัยภายนอก Demand trend ปัจจัยภายในทั้งปัจจัยเชิงคุณภาพและปัจจัยเชิงปริมาณ
3. การรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น…ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้นที่ราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่า มี MOS การรู้จักกระจายความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม
4. เข้าใจการประเมินบริษัทว่าเป็น Dynamic ไม่ใช่ Static ปัจจัยที่ส่งผลต่ออนาคตของบริษัทไท่ได้อยู่นิ่งกับที่ เราต้องประเมินคุณภาพของกิจการเป็นระยะ (เช่น ปีละครั้ง)
5. ไม่ปักใจว่ามูลค่าของบริษัทว่ามีเพียงตัวเลขเดียว (เพราะหุ้นเป็น Dynamic) …ขอให้มองเป็น Range (ช่วงราคา) จะทำให้ดีต่อการตัดสินใจซื้อขายมากกว่าครับ

ความสำคัญของ “เวลา” กับหุ้นเติบโต
- “เวลา” คือ สิ่งที่มีพลังที่สุดในจักรวาลเพราะ…เวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกสิ่ง ความแน่นอนคือความไม่แน่นอน แต่ในความไม่แน่นอนคือ…ทุกอย่างต้องเกิดจากเหตุไปสู่ผล ผลเกิดจากเหตุและปัจจัย
- ถ้าเราไม่รู้เหตุและปัจจัยเราจะไม่สามารถคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ …แต่ถ้าเราทราบเหตุปัจจัยที่มีผลในทุกเหตุปัจจัย…เราจะทำนายผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำครับ เช่น การคาดการณ์การเคลื่อนที่ของดวงดาวบนท้องฟ้า เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างดาวต่างๆ (แรงโน้มถ่วง gravitation force)
- เมื่อเวลาผ่านไป…กิจการที่มีศักยภาพในการเติบโต (growth potential) จะแสดงพลังออกมา ทั้งที่ตอนแรกเราอาจจะมองไม่เห็น … เหมือนเด็กทารกที่เริ่มจากเซลเดียวแล้วเมื่อเวลาผ่านใน 9 เดือนในครรภ์…กลายเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เหมือนต้นไม้ที่เริ่มจากเมล็ดพันธ์เล็กๆที่เมื่อปลูกในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม…จะแสดงศักยภาพเป็นต้นไม้ใหญ่ในอนาคต ซึ่งการเติบโตต้องอาศัยเวลา…จะไปเร่ง”ไม่ได้” เราต้องอดทนรอคอย

หุ้นเติบโตกับค่า PE
- ตลาดหุ้นไม่ให้ค่า PE ของหุ้นทุกตัวเท่ากันเพราะหุ้นแต่ละชนิดคุณภาพไม่เหมือนกัน หุ้นที่มีอนาคต…สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งเป็นระยะเวลานาน อนาคตสดใสย่อมได้รับค่า PE สูง หรือ หุ้นดีราคาแพงนั่นเอง
- ของดีมักจะมีราคาสูง ของที่เกรดต่ำกว่าราคาจะถูก แต่ก็ไม่เสมอไป การใช้ค่า PE แบ่งคุณภาพหุ้นจึงไม่สามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์
- สำหรับหุ้นเติบโตที่มีคุณภาพ PE ปัจจุบันอาจจะดูสูง…แต่เมื่อใช้ Earning ของอนาคต เช่น 1 ปีข้างหน้า หรือ 5 – 10 ปีข้างหน้าจะพบว่า Forward PE เมื่อใช้ราคาปัจจุบันหารด้วยกำไรของอนาคตจะมีค่าน้อยลงมากทีเดียวครับ
*** หุ้นเติบโตที่ราคาแพงเกินไปไม่เหมาะกับการเข้าซื้อเช่นกัน เช่น iphone แม้ว่าจะเป็นโทรศัพท์ที่ดีแต่การซื้อเครื่องละ 1 ล้านย่อมนับว่าไม่คุ้มค่าครับ ***

ยกตัวอย่าง – ความสัมพันธ์ของเวลาและหุ้นเติบโต

ลองเปรียบเทียบหุ้น 2 ตัว ดูนะครับ

หุ้น A เป็นหุ้นโตช้าเติบโตเฉลี่ยประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
หุ้น B เป็นหุ้นเติบโตที่มีศักยภาพเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เติบโตเฉลี่ย 20 เปอร์เซ็นต์เป็นระยะเวลา 10 ปี

สมมุติว่า…กำไรสุทธิ = 1 บาท ที่จุดเริ่มต้น

หุ้น A จะมีกำไรปีที่ 10 เท่ากับ 1 x (1+0.05)ยกกำลัง 10 = 1.63 บาท
หุ้น B จะมีกำไรปีที่ 10 เท่ากับ 1 x (1+0.20)ยกกำลัง 10 = 6.19 บาท

จะเห็นได้ว่าหุ้น B มีกำไรที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดมากเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปีครับ มากกว่าหุ้น B ถึง 3.8 เท่า

ถ้าการเติบโตยิ่งต่อเนื่องยาวนานขึ้นเท่าใด…หุ้นเติบโตยิ่งทิ้งห่างหุ้นปันผลมากขึ้นเท่านั้น

สมมุติถ้าหุ้น A ตลาดให้ PE แค่ 7 ราคาหุ้น A ปัจจุบันเท่ากับ 7 บาท ราคาหุ้น A ที่ 10 ปีให้หลังเท่ากับ 11.40 บาท (7 -> 11.40 กำไร 63 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี)

สมมุติหุ้น B เป็นกรณี

กรณีที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี หุ้น B เติบโตยังมีศักยภาพในการเติบโตต่อเนื่อง…สมมุติตลาดให้ค่า PE หุ้น B เท่ากับ 20 (เท่ากับการเจริญเติบโตเฉลี่ย) ราคาหุ้น B ปัจจุบันเท่ากับ 20 บาท ราคาหุ้นที่ 10 ปีให้หลังเท่ากับ 123 บาท (20 -> 123 กำไร 515 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี)

กรณีที่ 2 เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปีหุ้น B หมดศักยภาพในการเติบโตแล้วกลายเป็นหุ้นโตช้า…สมมุติตลาดให้ค่า PE หุ้น B เท่ากับ 20 (เท่ากับการเจริญเติบโตเฉลี่ย) ราคาหุ้น B ปัจจุบันเท่ากับ 20 บาท ราคาหุ้นที่ 10 ปีให้หลัง ตลาดลดค่า PE ลงเนื่องจากลายเป็นหุ้นโตช้าเท่ากับ PE 7 (เท่าหุ้น A) ราคาหุ้น B ในอีก 10 ปีให้หลังเท่ากับ 7 x 6.19 = 43.33 บาท (20 -> 43.33 กำไร 116 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี) แม้ว่าตลาดได้ลดค่า PE ลงแล้วยังได้กำไรมากกว่าการซื้อหุ้นโตช้าอยู่ดีครับ

กรณีที่ 3 เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี หุ้น B หมดศักยภาพในการเติบโตแล้วกลายเป็นหุ้นโตช้า…แต่ตลาดคาดหวังสูงให้ค่า PE หุ้น B เท่ากับ 30 (มากกว่าการเจริญเติบโตเฉลี่ย) ราคาหุ้น B ปัจจุบันเท่ากับ 30 บาท ราคาหุ้นที่ 10 ปีให้หลังเท่ากับ 43.33 บาท (30 -> 43.30 กำไร 44 เปอร์เซ็นต์ใน 10 ปี) แสดงว่าการซื้อหุ้นเติบโตที่ราคาแพงเกินไปจะทำให้ได้กำไรน้อยลงได้

(ตัวอย่างใช้การสมมุติตัวเลขเพียง 3 ชุดเพื่อแสดงให้เห็น “พลังของเวลา”…แต่การจำลองสถาณการณ์ของจริงทำได้มากกว่านี้ได้หลายรูปแบบครับ เช่น การเติบโตของกำไรที่มากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี, การที่ตลาดให้ค่า PE หุ้นเติบโตต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในการเติบโต, การให้ค่า PE ของหุ้นโตช้าสูงกว่านี้ เช่น ให้ PE = 10 เป็นต้น)

ดังนั้นจากตัวอย่างนี้…เราจะเห็นได้ว่า

1. การซื้อหุ้นเติบโตระยะยาวยิ่งถือนานกำไรยิ่งเพิ่มพูน เพราะ “เวลา” เป็นเพื่อนของกิจการที่ยอดเยี่ยม…ยิ่งถือหุ้นนานยิ่งเสี่ยงน้อยลงเพราะหุ้นเติบโตมีขนาดของ Upside ที่สูงพอที่จะกลบความผันผวนระยะสั้นได้อย่างสบายๆ

หุ้นประเภทอื่นยิ่งถือนานยิ่งเสี่ยง…เช่น
- หุ้น Turnaround ถ้า turn จบแล้วปัจจัยพื้นฐานไม่เติบโตต่อเนื่อง…อาจจะกลับไปฟุบซ้ำด้วยเหตุว่าพื้นฐานบริษัทไม่ดีมาตั้งแต่ต้น
- หุ้น Cycle กำไรขึ้นลงตามรอบเศรษฐกิจ…ถ้าถือยาวตอนขาลงจะขาดทุนมาก ถ้าถือขาขึ้นแล้วถือยาวไม่ยอมขาย อาจจบขาขึ้นโดยไม่ได้ขายทำให้ไม่ได้กำไรหรือถือจนขาดทุนได้ในที่สุด

2. การซื้อหุ้นเติบโตต้องประเมินราคาเทียบกับการเติบโตด้วย…ถ้าซื้อหุ้นเติบโตที่ราคาแพงมากๆ โดยที่หุ้นไม่ได้มีศักยภาพในการเติบโตขนาดนั้น อาจจะขาดทุนในระยะสั้น…แม้ในระยะยาวอาจจะได้กำไรน้อยหรือกระทั่งขาดทุนได้ครับ ควรซื้อหุ้นเติบโตเมื่อราคาถูกกว่าการเติบโต ถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริง ต้องมี Margin of safety ครับ

(ผมจะพูดถึงเรื่อง PE อีกครั้งว่าทำไมหุ้นแต่ละตัว PE สูงต่ำไม่เท่ากันเอาอะไรมาวัดครับ)

การเติบโตระยะยาว VS การเติบโตระยะสั้น
- นักลงทุนบางคนบอกว่า…ยิ่งถือหุ้นยาวยิ่งเสี่ยงเพราะมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมายที่คาดเดาไม่ได้ การถือหุ้นยาวยิ่งทำให้เสี่ยงมากขึ้น สิ่งคำกล่าวนี้จริงหรือไม่?
- บางคนบอกว่าเราคาดการณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดได้แม่นยำกว่า…สิ่งที่จะเกิดในอีกหลายปีข้างหน้า
- ผมคิดว่าการมองแบบนี้เป็นจริงบางส่วน ไม่จริงบางส่วน และเป็นการด่วนสรุปเกินไป การคาดการณ์อนาคตมีภาพกรอบของเวลาที่เหมาะสมกับสิ่งต่างๆที่ไม่เหมือนกัน
- การมองภาพ…ต้องมีระยะที่เหมาะสมกับการมอง การมองเชื้อโรคต้องใช้กล้องที่มีกำลังขยายสูง การมองไกลต้องใช้กล้องส่องทางไกล การมองภาพปกติในการขยายระดับละเอียดจะไม่เห็นภาพรวม เปรียบเหมือนมอง TV แบบขยายจะเห็นแต่จุดเล็กๆ ไม่เห็นไม่เข้าใจเนื้อหาใดๆที่แสดงใน TV เลย การคาดการณ์ลมฟ้าอากาศถ้ามองในระดับรายวันอาจจะคาดยาก…แต่ถ้ามองเป็นฤดูจะพอคาดเดาได้ว่าช่วงไหนน่าจะเป็นฤดูใด
- ดังนั้นการมองธุรกิจในรายวัน…หรือแม้แต่รายไตรมาส เราจะมองไม่เห็นการเติบโตของธุรกิจในภาพรวม การคาดการณ์การเติบโตจะมีกรอบเวลาที่มองเห็นภาพชัดของแต่ละธุรกิจ เห็นภาพชัดที่กรอบเวลาใดให้ลงทุนที่กรอบเวลานั้น

- ใครจะเก่งคาดการณ์ในกรอบระยะเวลาใด…ให้ลงทุนในกรอบระยะเวลาที่เราคาดการณ์ได้ ในกรอบเวลาที่เรามองเห็นความน่าจะเป็นของอนาคต

แต่ถ้าเป็นการคาดการณ์ในเรื่องการเติบโตของธุรกิจ…ผมคิดว่าต้องเป็นระดับหน่วย “ปี” ขึ้นไป

และที่สำคัญกว่านั้น…ถ้าบริษัทนั้นมีศักยภาพในการเติบโต เวลาจะเป็นเพื่อนของเราครับ

ดังนั้น…งานของนักลงทุนหุ้นเติบโตคือการค้นหาบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวครับ

การคาดการณ์การเติบโตในอนาคตของบริษัทจากการเติบโตในอดีต…???
- ไม่แน่เสมอไป…เพราะเราต้องเข้าใจเหตุปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของบริษัท แล้วประเมินว่าเหตุปัจจัยเหล่านั้นยังคงอยู่หรือไม่?
- บางคนรองบการเงินออก มานั่ง check กำไร ROA ROE นั่งแกะงบ ผมคิดว่าช้าเกินไป… เพราะส่วนใหญ่กว่างบการเงินจะออกราคาจะตอบรับแนวโน้มการเติบโตไปเรียบร้อยแล้วจากการประเมินปัจจัยเชิงคุณภาพ

ในมุมมองของผมจะวิเคราะห์ Business model แล้วลองตั้งสมมุติฐานเรื่องความก้าวหน้าของกิจการที่มีผลต่อกำไร และตรวจสอบตัวเลขในงบการเงินที่สำคัญเป็นระยะ

มองอนาคตโดยใช้จินตนาการและเหตุผล
การพัฒนาการคาดการณ์อนาคต
- ภาพยนต์ต่างประเทศ การอ่านหนังสือ การไปเที่ยวต่างประเทศ การมองวิถีชีวิตของผู้คน
- ลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจ เราทุกคนมีความเข้าใจอุตสาหกรรมบางอย่างมากกว่าคนอื่น ตามความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมา … ถ้าสนใจธุรกิจที่ยังไม่เข้าใจ…ให้เข้าไปศึกษาคลุกคลีจนเข้าใจธุรกิจ เพื่อเพิ่ม Circle of competence ในการลงทุนครับ

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหมกมุ่นกับอนาคตจนละเลยปัจจุบัน…เพียงแค่ให้รู้ว่าบริษัทที่เราลงทุนกับกำลังจะเดินไปในแนวทางไหน คอยเฝ้าดูว่า…ตอนนี้ถึงจุดไหนของเส้นทางของการเติบโต

การมองอนาคตในการเติบโตของหุ้นเติบโต
1. การเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมผู้บริโภค (เข้าใจการเติบโตของ Demand – Demand trend)
2. การเข้าใจการบริษัทที่เราลงทุน (เข้าใจการเติบโตของ Supply ที่มีต่อ Demand …รวมถึงเข้าใจการสร้าง Demand)

กรณีศึกษาเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ การใช้กล้องถ่ายรูปแบบฟิลม์ เพจเจอร์ อินเตอร์เนต โทรศัพท์มือถือ ชาเขียว การเดินห้าง

เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค (เราทุกคน)
- พฤติกรรมผู้บริโภคมีความสำคัญอย่างไร?
ยกตัวอย่าง…ความเชื่อมโยง
ความต้องการของมนุษย์บางคน -> Demand ของ End product -> Demand ของสายการผลิตที่เกี่ยวข้องกับ End product นั้น -> ความต้องการของมนุษย์ในสังคม (Critical mass) -> Demand trend -> Megatrend
- ความต้องการของมนุษย์คือตัวกำหนดราคาของสิ่งต่างๆ
- ความต้องการ = Demand
- ธุรกิจคือการพยายามตอบสนอง Demand ของมนุษย์โดยแลกกับเงินตรา

แล้วมนุษย์ต้องการอะไร?
- ความต้องการทางร่างกาย ปัจจัย 4 (อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม บ้าน คอนโด ยา โรงพยาบาล)
- ความต้องการเป็นที่ยอมรับ (ธุรกิจความงาม, เครื่องประดับ, สินค้า brand name, การสร้าง brand, Smart phone)
- ความต้องการค้นหาตนเอง (การสัมมนาพัฒนาตนเอง, หนังสือ)
- ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Social network, Communication)
- ความง่าย มนุษย์มีแนวโน้มเข้าหาความง่าย ไม่ชอบความยุ่งยาก
- ความเป็นหมู่คณะ มนุษย์ชอบทำตามกัน
- ราคาถูก (มูลค่าในใจเทียบราคาที่ขาย)
- ความสะดวกรวดเร็วทันใจ (การเสริมแรงทันทีเป็นกลไกของธรรมชาติ)
- หลีกหนีความทุกข์
- เข้าหาความสุข

เราสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในการมอง Demand trend, การทำการตลาด, การประเมินความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและบริการที่จะเอาชนะใจผู้บริโภคทั้งระดับ End product และกระบวนการผลิต

- เริ่มจากความเข้าใจตนเอง…สำรวจตนเอง สุดท้ายจะนำไปสู่ความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์โดยทั่วไปที่สุด
- เริ่มจากการศึกษาพฤติกรรมของคนใกล้ตัว คนในสังคม รวมถึงคนในต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว

การสร้าง Demand
- ธุรกิจจำเป็นต้องตอบสนอง Demand ของมนุษย์เสมอไปหรือไม่?
- มนุษย์หลายคนไม่รู้ว่าชีวิตต้องการอะไร…ส่วนใหญ่ต้องให้คนอื่นมาบอกให้…ว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ดี
- ประเมินว่าธุรกิจที่เราสนใจมีการสร้าง Demand หรือไม่? เช่น การโฆษณา การตลาดที่มีประสิทธิภาพ สินค้าที่โดนใจผู้บริโภค

Megatrend
(มาจาก Demand trend ที่เป็นภาพใหญ่และใช้ระยะเวลานาน)
- การมอง megatrend จะทำให้เราเข้าใจว่า..กลุ่มอุตสาหกรรมใดที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้น จากการเติบโตของความต้องการของผู้บริโภค และการเติบโตของ supply ที่มีต่อ demand ของผู้บริโภค
- ไม่สามารถรับประกันได้ว่า…หุ้นที่อยู่ใน Megatrend จะเป็นหุ้นที่ประสบความสำเร็จเสมอไป
เนื่องจาก
1. ถ้าบริษัทไม่ได้มีแรงจูงใจในการเติบโต…ทำพออยู่ไปวันๆ ก็ไม่มีทางเติบโตได้ เช่น ร้านมือถือ แม้ช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมจะเติบโตเพราะมือถือราคาถูกลง…แต่ถ้าเจ้าของเป็นคนที่ทำงานเช้าชามเย็นชามไม่หาความก้าวหน้า บริษัทไม่มีทางเติบโตได้
2. ถ้าบริษัทไม่ได้มีความสามารถในการแข่งขัน…เมื่อทรัพยากรไม่พอเพียงต่อการเจริญเติบโตของทุกองค์กร (สิ่งมีชีวิต) ไม่สามารถหาตลาดใหม่ๆ (หาพื้นที่แหล่งอาหารใหม่) ไม่สามารถป้องกันผู้เล่นรายใหม่ที่เข้าสู่อุตสาหกรรมได้ (มีสิ่งมีชีวิตอื่นมาแย่งชิงอาหารในพื้นที่) ไม่สามารถป้องกันการถูกแย่งชิงลูกค้าเดิมของบริษัท (มีสิ่งมีชีวิตมาแย่งอาหารของเผ่าพันธ์ตนเอง)

มี Megatrend ใดที่น่าสนใจบ้าง?
1. AEC การจัดตั้งประชาคมอาเซียน
- โอกาสของการขยายธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันสู่ตลาดใหม่ (ต่างประเทศเข้าไทย, ไทยไปต่างประเทศ)
- มีโอกาสการลงทุนที่ดีในหลายประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น พม่า ลาว กัมพูชา ในเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐาน
- การเติบโตของ Logistic ในเขตอาเซียน การค้าขายข้ามพรมแดนมากขึ้น
- การเข้ามาแข่งของแรงงานราคาถูกจากกประเทศที่กำลังพัฒนา
- การที่แต่ละประเทศสร้างจุดแข็งของตนเอง เช่น ไทยเด่นเรื่องท่องเที่ยว การแพทย์ ศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค
2. Aging economy สังคมผู้สูงอายุ
3. Female economy ผู้หญิงมีรายได้เพิ่มขึ้น มีบทบบาทในสังคมและครอบครัวมากขึ้น
4. Raising of China การเติบโตของประเทศจีนและประเทศในแถบเอเชีย
5. Urbanization การที่มนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น
6. คนแต่งงานลดลง มีลูกน้อยลงแต่เลี้ยงดีขึ้น ให้การศึกษาลูกอย่างดี
7. Energy and Green energy พลังงานและพลังงานทางเลือก
8. Modern trade พ่อค้าคนกลางยุคใหม่
9. Internet, Social network, E-commerce คนใช้เวลากับอินเตอร์เนตมากขึ้น
10. Logistic, Transport การขนส่ง เนื่องจากการเกิด FTA เขตการค้าเสรี ไม่มีการตั้งกำแพงภาษี การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการทำได้อย่างอิสระ ต้นทุนที่เกิดคือค่าขนส่ง
11. Food ประชาการโลกอยู่ดีกินดีขึ้น มีแนวโน้มบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น
12. การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง เมื่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาดีขึ้น ผู้คนอยู่ดีกินดี สินค้าและบริการเพื่อความบันเทิง ท่องเที่ยว สุขภาพ จะมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น
13. Investment ผู้คนหันมาสนใจการลงทุนมากขึ้น, การทำงานแบบเข้าออฟฟิตลดลง ทำงานที่บ้านแบบออนไลน์

การมองเป็นระบบ Systemic approaching
- ต่อยอดจากการมอง Megatrend
- มองเห็นโอกาสจากชีวิตประจำวันของเรา เราเห็นแนวโน้มอะไรบ้างจากชีวิตการทำงานและชีวิตประจำวันของเรา

ยกตัวอย่าง การเอา Demand trend จากพฤติกรรมมนุษย์เพียงอย่างเดียวมาแยกเป็นบริษัทที่เราจะประเมินเพื่อหาหุ้นเติบโตลงทุนได้มากมายครับ
- แนวโน้มคนใช้ Smart phone มากขึ้น

(บริษัทที่ผลิตมือถือ Smart phone – บริษัทที่ให้สัญญาณโทรศัพท์ – บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนมือถือ – บริษัทที่ขายมือถือ – บริษัทที่ให้บริการสัญญาณอินเตอร์เนต – บริษัทที่ให้บริการทางอินเตอร์เนต พวก Application – บริษัทที่ทำ E-commerce เป็นต้น)

- คนรุ่นใหม่ชอบอยู่คอนโดในเมืองมากขึ้น

(บริษัทที่ขายคอนโด – ธุรกิจรถไฟฟ้า – บริษัทที่ขายวัสดุก่อสร้างให้คอนโด – บริษัทที่รับเหมาก่อสร้างให้คอนโด – บริษัทที่ขายเฟอร์นิเจอร์ให้คอนโด – บริษัทที่ขายสาธารณูปโภคให้คอนโด เช่น สัญญาณอินเตอร์เนต ทีวี น้ำ ไฟฟ้า เป็นต้น)

- การคิดเชิงระบบทำให้เราคิดได้ไกลกว่าสิ่งที่เราเห็น…มองแนวโน้มเดียวเห็นได้หลายอุตสาหกรรมที่เติบโตได้
- แต่ทั้งนี้ขึ้นกับรายได้ของสินค้าจากแนวโน้มที่เราเห็นว่าเติบโตเป็นสัดส่วนเท่าใดของรายได้ของบริษัท ค่อยพิจารณาอีกครั้งว่าบริษัทใดเป็นบริษัทที่เติบโต

การประเมินผู้บริหารของหุ้นเติบโต
1. แรงจูงใจของผู้บริหารในการเติบโต / ผลประโยชน์เป็นไปในแนวทางเดียวกับผู้ถือหุ้น
2. ความซื่อสัตย์ / ตรวจสอบประวัติการทำงาน / การให้ข้อมูลกับผู้ถือหุ้นแล้วทำจริงได้หรือไม่?
3. ความสามารถในการบริหารธุรกิจ / แนวคิด-วิสัยทัศน์-ผลประกอบการณ์บริษัทระยะยาว

Natural selection ในระบบทุนนิยม
- ทุนนิยมในมุมมองระบบนิเวศวิทยา
- ผลกระทบจากระบบทุนนิยม … โลกเราจะวิ่งเข้าหาจุดสมดุลในที่สุด หลายบริษัทต้องดิ้นรนเติบโตเพื่อเข้าสู่ Safety zone ที่แข่งขันได้
- สภาพแวดล้อมมีผลต่อการเจริญเติบโตของหุ้น

ยกตัวอย่าง การประเมินสภาพแวดล้อม (ปัจจัยภายนอก)
- Demand trend ของสินค้าและบริการเติบโต
- การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อความต้องการสินค้า
- การพัฒนาสินค้าทดแทนที่คุณภาพดีกว่า…ราคาถูกกว่า
- ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท ความสามารถในการปรับตัวตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
- มาตราการ, นโยบายของรัฐบาล

การประเมินบริษัทที่เราสนใจจะลงทุน
- ปัจจัยภายนอก – สภาพแวดล้อม เช่น Demand trend เป็นต้น
- ปัจจัยภายใน – DCA, SWOT analysis, งบการเงิน เป็นต้น

การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการ
- ยิ่งมีการเพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือบริการมากขึ้นเท่าไร…Margin ยิ่งสูงขึ้น เพราะคุณค่าในสายตาผู้บริโภคสูงกว่าต้นทุนการผลิต เช่น การขายหนังสือ…เราไม่ได้ขายกระดาษแต่ขายเนื้อหาที่อยู่บนหนังสือ, การขายอาหาร…เราไม่ได้ขายวัตถุดิบ…แต่เราขายความอร่อย คุณภาพทางโภชนาการ เป็นต้น

มองการเติบโตจากปัจจัยเชิงปริมาณ
- รายได้
- รายจ่าย
- กำไร

กำไรมาจากไหน?
รายได้ – รายจ่าย = กำไร

การเติบโตของบริษัทเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมในมุมมองของ Pie chart
Pie chart
- ขนาดตลาดโดยรวม – การเติบโตของอุตสาหกรรมโดยรวม – เค้กชิ้นใหญ่ขึ้น
- ขนาดส่วนแบ่งการตลาด – การรักษาและเติบโตของส่วนแบ่งการตลาด – DCA

การเติบโตของรายได้มาจาก (Pie chart)
1. ตลาดโดยรวมเติบโต และ Market share เพิ่มขึ้น
2. ตลาดโดยรวมเติบโต และ Market share เท่าเดิม
3. ตลาดโดยรวมไม่เติบโต แต่ Market share เพิ่มขึ้น
(ตลาดโดยรวมเติบโตจากการมีจำนวนผู้บริโภคในอุตสาหกรรมมากขึ้น…รวมถึงจำนวนการใช้จ่ายต่อรายบุคคลเพิ่มขึ้น)

การมองหา Market share
- 1. ศึกษาข้อมูลจากรายงานประจำปี, เอกสาร 56-1 ของทั้งบริษัทที่เราสนใจและบริษัทคู่แข่ง
- 2. เก็บข้อมูลจาก sample size รอบตัวเรา … ถือว่าคนใกล้ตัวเป็นกลุ่มตัวอย่างแล้วดูว่า…มีใครบ้างเป็นกลุ่มเป็นกลุ่มเป้าหมายบ้าง ..ในกลุ่มคนที่เรารู้จักมีคนที่ใช้สินค้าในอุตสาหกรรมที่เราสนใจกี่คน ..ในคนที่ใช้สินค้ามีของบริษัทที่เราสนใจและบริษัทของคู่แข่งเป็นสัดส่วนเท่าไร

การเติบโตของรายได้ที่นอกเหนือจาก Pie chart
1. การออกสินค้าตัวใหม่
2. การขึ้นราคาสินค้า

การลดลงของต้นทุน
1. ต้นทุนลดลง เช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ใช้เป็นต้นทุนราคาตกลง
2. ต้นทุนต่อหน่วยลดลง (ต้นทุนเพิ่มในอัตราที่ช้ากว่ากำไร)

การเติบโตของกำไร
Model ของกำไร กำไร = รายได้ – ต้นทุน
ดังนั้น…กำไรจะเพิ่มขึ้นจาก
1. รายได้เติบโตขึ้นแต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่เท่าๆกัน – NPM เท่าเดิม
2. รายได้เติบโตขึ้นแต่ต้นทุนเพิ่มในอัตราที่น้อยกว่า – เกิด Economy of scale
3. รายได้เติบโตขึ้นแต่ต้นทุนลดลง
3. รายได้เท่าเดิมแต่ต้นทุนลดลง

Competitive advantage – ความสามารถในการแข่งขัน
- ถ้าบริษัทที่เราลงทุนอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตสูง…เมื่อผลตอบแทนนั้นหอมหวานก็ย่อมมีคนอยากมาขอส่วนแบ่งเป็นธรรมดา บริษัทที่เราลงทุนต้องมีความสามารถในการแข่งขันจึงจะอยู่รอดและเติบโตได้ในระยะยาวครับ
- พัฒนาจนเป็น Durable competitive advantage
- DCA ไม่ใช่ความยากในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (Entry) อุตสาหกรรมที่มีผู้เล่นน้อยรายเพราะมีผู้เล่นเข้ามายากจะถือเป็น Low competition ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี …แต่อุตสาหกรรมที่เข้ามาง่ายไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี DCA เพราะ DCA คือสิ่งที่บริษัทเหนือกว่าคู่แข่ง (ใช้เพื่อแข่งขัน) เมื่อเกิดการแข่งขันบริษัทที่มี DCA ย่อมเหนือกว่า ยกตัวอย่าง Search engine – Google (ความเร็วในการโหลด -> การสร้าง brand -> ครบวงจร เป็นต้น)

ลักษณะของบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขัน
1. Brand ที่ได้รับความนิยมสูง…เหนือกว่าคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัด ทำให้มีอำนาจการตั้งราคาได้สูงกว่า รวมถึงการตัดสินใจเลือกซื้อโดยไม่ดูที่ราคาเป็นหลัก เลือกที่ความพึงพอใจเป็นหลัก
2. ต้นทุนที่ต่ำกว่า…ทำให้ลดราคาสินค้าได้ถูกกว่าคู่แข่งโดยที่คุณภาพไม่แตกต่างกัน โดยมักจะเป็นอุตสาหกรรมที่ความนิยมของสินค้าและบริการไม่แตกต่างกัน เช่น ธุรกิจ OEM ที่ทำสินค้าวัตถุดิบให้กับบริษัท End product อีกที การบริหารจัดการที่ดีจะช่วยให้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าและแข่งขันได้
3. บริษัทมีทีม Marketing ที่มีความสามารถเหนือกว่า ขายสินค้าได้มากและรวดเร็ว
4. บริษัทมีการขายเร็ว Turnover rate สูง ซึ่งมาจากการบริหารจัดการที่ดี มีทีมขายที่มีประสิทธิภาพ สินค้าไม่ค้างนาน, เข้าสู่ลูกค้ารายใหม่ได้ก่อนและเอาชนะใจลูกค้าได้
5. บริษัทมีทีมวิจัยชั้นเลิศ (Research and development) ที่สามารถสร้างสินค้าและบริการที่นำคู่แข่งอยู่เสมอ (โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอ…เช่น บริษัทยา บริษัทเทคโนโลยี)
6. คุณภาพสินค้าและบริการที่เหนือกว่า…ซึ่งนำไปสู่ความนิยมใน Brand สินค้า
7. มี Connection ที่ดีกับลูกค้าและคู่ค้ามายาวนาน มี Switching cost

การประเมินงบการเงินหุ้นเติบโต
- งบการเงินคืออดีต…แต่การดูงบการเงินบอกเราได้หลายอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติของบริษัทครับ
เช่น
1. ธุรกิจเน้น Margin สูง แต่ขายได้น้อย (Turnover ต่ำ)
2. ธุรกิจ Margin ต่ำ เน้นขายได้มาก ผลิตมาก (Turnover ต่ำ)
3. ธุรกิจ Margin ต่ำ เน้นขายได้มาก Stock ของน้อย (Turnover สูง)
4. ธุรกิจ Margin สูงและขายได้มากด้วย (ดีเยี่ยม!!!)

- การประเมินให้ดูแบบ Timeline ไม่ดูเฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross sectional)

การประเมินงบการเงินขึ้นอยู่กับคำถาม / สมมุติฐานที่เราสนใจ?
1. การตรวจสอบการเติบโตของบริษัท
2. การตรวจสอบคุณภาพการเติบโตของบริษัท
3. การตรวจสอบกระแสเงินสด
4. การตรวจสอบความแข็งแกร่งงบการเงินเพื่อที่จะเป็นฐานให้การเติบโต
5. การตรวจสอบผลจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานบางอย่าง
หมายเหตุ
- อย่าลืมตรวจสอบความน่าเชื่อถือของงบการเงินจากรายงานผู้ตรวจสอบบัญชี
- ดูงบการเงินแล้วคิดย้อนกลับไปความจริงของธุรกิจ…โดยไม่หมกมุ่นแต่กับตัวเลข

1. การตรวจสอบการเติบโตของบริษัท
- รายได้เติบโตหรือไม่? เพิ่มขึ้นเพราะอะไร? ลดลงเพราะอะไร? -> รายได้ควรจะเพิ่มขึ้น
- ต้นทุนสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่ากับหรือน้อยกว่ารายได้หรือไม่? ต้นทุนเพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่ารายได้อะไร? ต้นทุนเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่ารายได้เพราะอะไร? ต้นทุนลดลงเพราะอะไร? -> ต้นทุนควรจะเพิ่มในอัตราที่น้อยกว่าหรือเท่ากับรายได้ ถ้าต้นทุนลดต้องประเมินว่าเกิดจากอะไร…จะยั่งยืนหรือไม่?
- กำไรสุทธิที่ได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นหรือไม่? -> กำไรสุทธิควรจะเพิ่มขึ้น ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น

2. การตรวจสอบคุณภาพการเติบโตของบริษัท
- GPM เพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิมหรือไม่? เพราะอะไร? -> บริษัทควรจะรักษา GPM ได้ … ถ้า GPM ลดลงต้องหาสาเหตุ เช่น ต้นทุนการขายสินค้าเพิ่มขึ้น ลดราคาสินค้าเพื่อรักษายอดขายที่ขายที่ราคาปกติไม่ออก หรือถ้า GPM เพิ่มต้องหาว่าเกิดจากอะไร…มีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มี Margin สูงมาเพิ่ม หรือว่ามีอำนาจต่อรองต้นทุนได้ถูกลง
- NPM เพิ่มขึ้นหรือไม่? เพราะอะไร? -> บางบริษัทมีเรื่องของ Economy of scale ทำให้มี NPM สูงขึ้น
- Inventory turnover = ต้นทุนสินค้าขาย / สินค้าคงคลังเฉลี่ย -> หมุนสินค้าได้เร็วจะทำให้ยอดขายสูงขึ้น…Dead stock ลดลง สินค้าไม่เน่าเสีย มีของใหม่หมุนเวียนตลอดเวลา
- ROE ***

ROE
- ROE มีค่าเท่าไร? เปรียบเทียบภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ถ้าค่า ROE สูงกว่าแสดงว่าทำผลตอบแทนต่อการลงทุนได้เหนือกว่า…มีประสิทธิภาพมากกว่า
- อย่ายึดติดกับค่า ROE ในอดีต … ให้ประเมิน Forward ROE
- การมีค่า ROE สูง ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการเติบโต … ถ้าบริษัทไม่มีการลงทุนเพิ่มเติบเพื่อสร้างรายได้ แล้วปันผลออกมาทุกปี ROE จะสูงเท่าๆเดิมเพราะส่วนของผู้ถือหุ้นไม่เพิ่ม (เพราะปันผลออกมา) และกำไรไม่เติบโตขึ้น
- แต่การมี ROE ที่ดีเป็นผลดีต่อการเติบโต…ทำให้บริษัทมีเงินไปลงทุนเพื่อขยายกิจการ ถ้าการลงทุนใหม่ทำได้ดีเหมือนที่ผ่านมา…ยอดขายจะเพิ่ม กำไรจะเพิ่ม เมื่อคิดออกมาเป็น ROE จะสูงเท่าเดิม…แต่กำไรเพิ่มขึ้นเพราะส่วนของทุนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
- อาจจะใช้ ROTC (Return of total capital) เปรียบเทียบความสามารถของธุรกิจ เพราะบางธุรกิจใช้เงินกู้ระยะยาวมาขยายกิจการเพื่อเพิ่ม ROE
- ผมชอบ ROE เกิน 15 %

3. การตรวจสอบกระแสเงินสด
- เงินสดของบริษัทเพิ่มขึ้นหรือลดลง? เพิ่มจากเงินสดส่วนใด? กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน…กระแสเงินสดจากการลงทุน…กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน -> กระแสเงินสดจากการดำเนินงานควรจะเป็นบวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกับกำไรสุทธิ เพื่อให้มีเงินสดไว้จ่ายหนี้และลงทุนต่อไป
- กระแสเงินสดควรจะเป็นบวกในช่วงที่การลงทุนใหญ่ได้ทำไปหมดและการลงทุนเริ่มส่งผลแล้ว ทำให้มีเงินสดเพิ่มเพื่อขยายกิจการ … กระแสเงินสดอาจจะติดลบบ้างในช่วงที่ต้องลงทุนขยายกิจการ ให้ดูว่ามีเงินพอหรือไม่? เช่น ดูเงินดในมือ ดูเพดานในการกู้หนี้ ดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน … ถ้าไม่เพียงพอให้ระวังเพิ่มทุน
- เงินสดในมือเมื่อเปรียบเทียบกับหนี้ระยะสั้นและดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่ายเพียงพอหรือไม่? -> บริษัทควรจะมีเงินสดพอจ่ายหนี้

4. การตรวจสอบความแข็งแกร่งงบการเงินเพื่อที่จะเป็นฐานให้การเติบโต
- หนี้มากน้อยแค่ไหน? – ผมชอบบริษัทที่มีหนี้ที่มีดอกเบี้ยน้อยหรือไม่มากเกินไป เช่น ไม่เกิน E (D ดอกเบี้ย /E < 1)
- มีเพดานในการกู้เพิ่มในการขยายกิจการหรือไม่?
- หนี้ที่มีดอกเบี้ยเมื่อเปรียบเทียบกับหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ย (เจ้าหนี้การค้า) -> หนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยดีกว่าเพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย เจ้าหนี้การค้ารับภาระต้นทุนทางการเงินแทน

5. การตรวจสอบผลจากการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานบางอย่าง
- บริษัทให้ข่าวว่ารายได้จะเพิ่ม … เพิ่มจริงหรือไม่?
- บริษัทให้ข่าวว่าลดต้นทุนได้ … ลดได้จริงหรือไม่?
- บริษัทให้ข่าวว่าจะขายสินค้าที่ Margin สูงขึ้น … GPM เพิ่มขึ้นหรือไม่?
เป็นต้น

ความเข้าใจเรื่องการประเมินมูลค่า
- ไม่แนะนำใช้ PBV ครับ เนื่องจากมูลค่าของหุ้นเติบโตขึ้นกับกระแสเงินสดที่บริษัททำได้มากกว่าที่จะขายทรัพย์สินห้ผู้ถือหุ้นไปแบ่งกัน แล้วทรัพย์สินบางอย่างตีมูลค่าเป็นเงินไม่ได้มากแต่สร้างรายได้และกำไรได้จริง

เปรียบเทียบมูลค่าบริษัทกับมูลค่าของต้นยาง
ต้นยาง Model (ผมมีประสบการณ์กับสวนยางของพ่อตา)
ราคาไม้ยาง = BV (ราคาต้องเติบโตขึ้นตามเวลาเพราะต้นไม่ใหญ่ขึ้น) แต่เราไม่ได้ปลูกต้นยางมาเพื่อตัดไม้ขายตั้งแต่แรก
ยาง = Earning (ต้นยางผลิตน้ำยางได้มากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป และให้เมล็ดไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้อีกด้วย)
การดู Earning ควรดูระยะเวลาทั้งหมดที่ช่วงชีวิตของต้นไม้ที่ผลิตได้
ดังนั้นนักลงทุนหุ้นเติบโตจะไม่ยึดติดกับ PBV แต่จะให้ความสำคัญกับความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งค่า Book value ซึ่งเป็นส่วนผู้ถือหุ้นต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ตามการเติบโตของบริษัทเหมือนกับต้นยาง

ทำไมตลาดถึงให้ค่า PE ของหุ้นแต่ละตัวแตกต่างกัน

มุมมองการให้ค่า PE จากความเข้าใจเรื่อง DCF Model

DCF เป็น Absolute valuation ส่วน PE ratio เป็น Relative valuation

ผมแนะนำใช้ค่า PE มากกว่าเพราะสายตาตลาดมองค่อนข้างสั้น และการใช้ค่า DCF มีตัวแปรที่มีเปลี่ยนแปลงได้มากมายการคิดในกรอบเวลาที่ยาวนานจะได้ค่าหลายค่า (รวมเป็น range) ครับ … แต่มือใหม่ควรฝึกคิดแบบ DCF ให้ชินเพื่อให้เข้าใจที่มาของมูลค่า

DCF model – มูลค่าของบริษัทเท่ากับผลรวมของกระแสเงินสดอิสระ (FCF) ที่บริษัททำได้ในอนาคต โดยคิดส่วนลดทางการเงินย้อนมายังปัจจุบัน

แล้วนำมูลค่าของบริษัท (Firm value) มาหักลบจากมูลค่าของหนี้ (Debt value) เพื่อให้ได้มูลค่าผู้ถือหุ้น (Equity value)

โดยที่ FCF = EBIT x (1 -T) + DA – CAPEX – CWC
FCF – กระแสเงินสดอิสระ
EBIT – กำไรปกติ (normalized EBIT)
DA – ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายต่างๆ

CAPEX – เงินลงทุนซื้อสินทรัพย์
CWC – เงินทุนหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้น
< CAPEX + CWC คือ Investing cash flow กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน >
T – อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

WACC – ต้นทุนทางการเงินของบริษัท

ดังนั้น…ถ้าคิดว่าการคำนวณมูลค่าตามแบบ DCF = Intrinsic value และการให้มูลค่าของตลาดสุดท้ายจะเข้าหา Intrinsic value เช่นกัน

ถ้าอนุมานว่า Intrinsic value จากวิธี DCF = (หรือใกล้เคียงกับ) Intrinsic value จากวิธี PE

ดังนั้นตลาดจะให้ค่า PE สูงเมื่อบริษัท

1. บริษัทมีแนวโน้มที่จะสร้างกระแสเงินสดอิสระได้มากขึ้นเติบโตขึ้น (หุ้นเติบโต PE จะสูงกว่าหุ้นทั่วไป) ถ้า “ปริมาณ” กระแสเงินสดอิสระมีการเติบโตสูงตลาดจะให้ PE สูง ถ้า “ความแน่นอน” ของการเติบโตของกระแสเงินสดสูงตลาดจะให้ PE สูง

- ในทางตรงข้าม…ตลาดจะให้ค่า PE ต่ำเมื่อหุ้นไม่มีการเติบโตของกระแสเงินสดอิสระ…หรือขาดทุนลงเรื่อยๆ

2. บริษัทใช้เงินลงทุนในสินทรัพย์น้อย เป็นกิจการทีไม่ต้องลงทุนมาก ไม่ต้องซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่ ไม่ต้องเอาเงินสดงเงินกู้ไปลงทุนจำนวนมากๆ …ใช้แต่ทรัพย์สินทางปัญญาก็สามารถทำกำไรได้ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ได้มาจะได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

- ในทางตรงข้าม…ตลาดจะให้ค่า PE ต่ำเมื่อกิจการต้องจ่ายเงินลงทุนหนักแล้วได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า เงินสดที่ได้มาไม่เคยถึงมือผู้ถือหุ้น

3. ช่วงที่ตลาดหุ้นมีการลดภาษีนิติบุคคล ตลาดจะให้ PE สูงขึ้น เพราะ FCF มากขึ้น

4. การลดดอกเบี้ยไม่ชัดเจน (ตามสมการควรจะค่า PE สูงขึ้นเมื่อลดดอกเบี้ย) … เพราะส่วนใหญ่เมื่อ กนง.ลดดอกเบี้ยจะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี ซึ่งจะไปชนกับเหตุผลข้อ 1 ที่มองว่า FCF ในอนาคตจะลดลง

การค้นหาหุ้นเติบโตที่ถูกมองข้าม
1. เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ใหม่มาก…เคยประสบความสำเร็จในต่างประเทศแต่ยังไม่มีในประเทศไทย เช่น Modern trade, Communication, IT ในช่วงแรกคนจะตั้งคำถามว่าจะทำได้เหมือนต่างประเทศหรือไม่? ไม่เห็นมีจุดที่แตกต่างในเรื่องความสามารถในการแข่งขันเลย เป็นต้น
2. เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เก่าแก่…คนคิดไปเองว่าอิ่มตัวแล้ว แต่จริงๆยังมีการเติบโตอยู่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น ธุรกิจขนมปัง, ธุรกิจเครื่องประดับ ธุรกิจเสื้อผ้า เป็นต้น
3. เป็นช่วงที่รายได้ของบริษัทเติบโตแต่ยังไม่ถึงขั้นเกิด Economy of scale ทำให้กำไรสุทธิน้อย…นักลงทุนที่ดูแต่กำไรสุทธิจะไม่สนใจ แต่พอรายได้เพิ่มเพราะการลงทุนที่ทำไว้ส่งผล ใช้ Fixed cost อย่างเต็มที่มากขึ้นจากยอดขายสูงขึ้น กำไรและกระแสเงินสดจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด
4. คนคิดว่ามันเป็น “หุ้นปั่น” หุ้นที่ก่อนหน้านี้ที่อาจจะมีปัจจัยพื้นฐานไม่ดีและเกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐานบางอย่างไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้ราคาพุ่งไปก่อน…แต่นักลงทุนจะไม่อยากเข้าไปวิคราะห์เพราะคิดเอาเองวั่นคือ “หุ้นปั่น” ครับ ทั้งที่จริงอาจจะกลายเป็นหุ้นเติบโตไปแล้วก็ได้

ค้นหา Super growth stock ที่ยังไม่มีใครเห็นให้เจอก่อนตลาด…นี่คือระดับขั้นสูงของการลงทุนหุ้นเติบโต

ความเสี่ยงของหุ้นเติบโต
1. การซื้อหุ้นเติบโตที่แพงเกินไป
- ให้เข้าซื้อหุ้นเติบโตเมื่อประเมินด้วยสมมุติฐาน Conservative or Fair โดยที่มี MOS 30 – 50%
- เล่นหุ้นเติบโตที่ไม่มี MOS อาจจะได้กำไรจากการเติบโตของบริษัท…แต่อาจจะเสียหายจากเหตุการไม่คาดฝันเพราะไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงครับ (กลายเป็น High risk High return ทั้งที่จริงควรจะเป็น Low risk High return มากกว่าครับ)
2. บริษัทเติบโตเร็วเกินไปจนไม่มีคุณภาพด้อยลง โตแบบไม่มีคุณภาพ
3. ตลาดหมี หุ้นเติบโตราคาจะตกลงมากกว่าหุ้นชนิดอื่นเนื่องจากราคาค่อนข้างสูงรวมทั้งนักลงทุนคาดหวังสูง (ตลาดลดค่า PE ลง)

การมองจุดซื้อขายหุ้นเติบโต
- กำหนดเป็นโซน เป็น range ไม่ใช่กำหนดราคาตัวเลขเดียว เพราะมีผลต่อการตัดสินใจของเรามาก ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจซื้อขายเมื่อไม่ใช่ตัวเลขที่เรากำหนดครับ เนื่องตัวเลขราคาในตลาดหุ้นเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วตามอารมณ์ตลาด
- จำลองสถาณการณ์ที่ไม่คาดฝันล่วงหน้า…เวลาเกิดเหตุการณ์จะไม่ได้ลนลาน

เมื่อไรที่ควรเข้าซื้อหุ้นเติบโต?
- เมื่อหุ้นเติบโตราคาถูกกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น

เมื่อไรที่ควรขายหุ้นเติบโต?
- เมื่อหุ้นเติบโตไม่เติบโตแล้ว…หมดศักยภาพในการเติบโตแล้ว
- เมื่อหุ้นเติบโตราคาแพงกว่ามูลค่า
- เมื่อเจอหุ้นเติบโตตัวอื่นที่ดีกว่า

แนวคิดเรื่อง Mr. Market
- อย่าประมาทนายตลาด
- ระวัง EMH อย่ามองข้ามเหตุผลว่าราคาทำไมถึงมีส่วนลดมากจากการประเมินของเรา / ราคาส่วนลดจะอยู่อีกนานแค่ไหนเพราะอะไร?
- พื้นฐานเหมือนเดิมแต่กำไรลดลงในระยะสั้น…หรือ…พื้นฐานแย่ลงจริงในระยะยาว
- ตลาดมีจุดบอด (Blind spot) ในหุ้นเติบโตบางตัวจะถูกมองข้าม เพราะตลาดมัวไปสนใจตัวที่เคลื่อนไหวอย่างรุนแรงอยู่

การพัฒนาจิตใจของนักลงทุนหุ้นเติบโต
- ลักษณะของมนุษย์
- Short circuit VS Long circuit
- Limbic system VS Forebrain
- System 1 VS System 2

คำถาม?
Bat and ball ราคารวมกัน 1.1 usd
Bat ราคามากกว่า ball 1 usd
Ball ราคาเท่าไร?

เราได้อะไรจากคำถามนี้?
- คนเรามีแนวโน้มที่จะใช้ความรู้สึกมากกว่าสมองคิดจริงๆ
- ลองหาข้อมูลจริง ข้อเท็จจริง ตัวเลขจริงและเริ่มจากจุดนั้น

อติที่ควรระวัง (Bias)
- Overconfidence
- Hindsight Bias
- Anchoring
- Herd Behavior
- Loss aversion

เราลงทุนเก่งจริงเหรอ…เพราะเราควบคุมปัจจัยภายนอกไม่ได้เลย เรามองไม่เห็นอนาคต
เหตุผลที่ลงทุนกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง – นำมาประเมินผล เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ อนุมาน คาดการณ์ของตนเอง

ตอบคำถามตนเอง?
- เราเป็นนักลงทุนแนวไหน?
- เป้าหมายของการลงทุนเราคืออะไร?
- ผลตอบแทนที่เราต้องการต่อปีคือเท่าไร?

สำหรับผม
- แนวทางการลงทุนที่ไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ
- แนวทางการลงทุนที่ไม่ต้องตามข่าวทุกวัน
- แนวทางการลงทุนที่ไม่ต้องเชียร์หุ้น
- แนวทางการลงทุนที่มีเงินสดเข้าพอร์ต
- แนวทางการลงทุนที่พัฒนาตนเอง…ยิ่งลงทุนยิ่งเก่งขึ้น
- แนวทางการลงทุนที่ใช้ได้ต่อเนื่องเมื่อพอร์ตใหญ่ขึ้น
- แนวทางการลงทุนที่ผมมีเวลาอยู่กับครอบครัว ได้ทำงานช่วยเหลือผู้คน
- แนวทางการลงทุนที่ปกป้องเงิน้นได้และชนะตลาดในระยะยาวครับ

ผมคิดว่าการลงทุนนหุ้นเติบโตตอบโจทย์นี้ได้

พัฒนาลักษณะนิสัยที่ดี
- เป็นนักฟังที่ดี
- เป็นนักอ่านที่มีวิจารณญาณ
- เป็นนักเขียน…นักพูดที่มีเหตุผล มีหลักฐาน
(ฟัง, อ่าน, หาข้อมูลจริง -> คิด, วิเคราะห์ -> เขียนสรุป, พูดให้ Mentor ฟัง)
- การเรียนรู้จากคนเก่ง…ให้คนเก่งเป็น Mentor
- ระวังเรื่องอารมณ์และอคติที่เราไม่รู้ตัว เช่น เมื่อมีคนวิจารณ์ข้อเสียหุ้นที่เราถือแล้วเราหงุดหงิดขึ้นมา
- ฝึกอ่านแรงจูงใจของผู้เล่นในตลาด เช่น ผู้บริหาร นักลงทุน ผู้ให้ข่าว ให้ดูการกระทำอย่าไปคำพูด
- รู้จักฟังความคิดตัวเอง
- เล่นหุ้นให้สนุกและมีความสุข…และต้องทำตามเป้าหมาย

การลอกเซียน
- ต่อให้เซียนมากระซิบบอกหุ้น…ก็ต้องคิดวิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน ต้องไม่เชื่ออะไรง่ายๆ อย่าลืมว่าไม่มีใครรู้อนาคต
- กาลามาสูตร

การสร้างวินัยในการลงทุน
- มีความชัดเจนในหลักการการลงทุนของเรา…ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ากำไรคาดหวัง (Expected profit) เป็นบวกในระยะยาว
- เข้าใจที่มาของหลักการลงทุนที่เราใช้…เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น เช่น เชื่อว่าราคาหุ้นจะเพิ่มเมื่อกำไรเพิ่มขึ้นในระยะยาว
- ประเมินและจดบันทึกการตัดสินใจของตนเองว่าทำได้ตามที่วางไว้หรือไม่? (Check list)
- การให้รางวัลเมื่อตนเองทำได้ตามแผนและลงโทษเมื่อตนเองไม่ทำตามแผนแล้วเกิดความเสียหาย
- หมั่นตรวจสอบว่าผลตอบแทนเป็นบวกหรือไม่? เมื่อทำตามแผนในระยะยาว