วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

EBITDA ความหมายและการใช้งาน


เพื่อนๆหลายคนเองได้ยิน Warren Buffets กล่าวว่า "EBITDA เป็นตัวเลขที่นักวิเคราห์กล่าวอ้างไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย" ทำให้หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับ EBITDA เพราะตีความคำพูดของ Warren Buffets ผิดไป จริงๆแล้วตัวเลขตัวนี้มีความสำคัญมากครับ

ความหมายของ EBITDA


EBITDA = Earning Before Interest Tax Depreciation and Amortization
แปลเป็นไทยก็คือ กำไรก่อน ดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย EBITDA นิยมใช้วัด Performance ของบริษัทที่เป็นพวกโรงงานมีค่าเสื่อมสูงๆ เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ

สมมุติ สมชาย เป็นเจ้าของ Apartment แห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีหนี้สินอะไร สมชายต้องการยก Apartment ให้ลูกชายไปบริหารต่อ โดย Apartment มีกำไรขาดทุนดังนี้ แต่สมชายขอร้องลูกชายว่าห้ามขาย Apartment แห่งนี้ซึ่งเป็นสมบัติของตระกูล

กำไรขั้นต้น(Gross Profit) 50,000 บาท
ค่าบริหารจัดการ(Admin) 30,000 บาท
ค่าเสื่อมราคา(Depreciation) 30,000 บาท
กำไรก่อนภาษี  -10,000 บาท

ตัว ลูกชายพอเห็นงบการเงินแล้วก็ได้ปฎิเสธพ่อ ไปอย่างสุภาพว่า ไม่เอาครับ พ่อ Apartment พ่อบริหารขาดทุนนี่ ผมเอามาแล้วนอกจากไม่มีกำไรยังต้องควักเงินส่วนตัวไปสนับสนุนอีก

  • ถามว่าลูกชายสมชายถูกหรือผิดอย่างไรครับ?

ถ้า ใครตอบว่าลูกสมชายถูกแสดงว่ายังไม่เข้าใจเรื่องบการเงิน กับเรื่องกระแสเงินสด จริงอยู่ที่ Net Income ของ Apartment แห่งนี้ติดลบแต่ หากดู EBITDA จะเป็นบวกนะครับ EBITDA = + 20,000 THB หมายความว่า Apartment แห่งนี้ยัง Generate เงินสดให้สมชายอยู่ถึงเดือนละ 20,000 บาทเลยทีเดียว
ตัว Depreciation นั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า Sunk Cost ครับ คือ Cash ส่วนนี้ได้ออกจากบริษัทไปนานแล้วแต่ที่ยังโชว์ในงบการเงินเป็นไปตามหลักการ Cost-Revenue Matching ครับ

ดังนั้นหากบริษัทที่เราสนใจมี Net Income ติดลบ แต่ EBITDA เป็นบวก ก็เป็นหลักประกันระดับหนึ่งว่าธุรกิจอาจจะไม่แย่อย่างที่คิด เราคงต้องมาวิเคราะห์กันก่อนว่าสาเหตุมาจากอะไร
  • ติดลบจากค่าเสื่อมราคา( Depreciation): ต้องมองลึกไปดูนโยบายตัดค่าเสื่อมว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ บางบริษัทใช้นโยบายตัดค่าเสื่อมเร็วเพื่อโชว์ Net Income น้อยๆเพื่อประหยัดภาษี ปีแรกๆจะค่าเสื่อมเยอะ แต่พอตัดค่าเสื่อมสินทรัพย์หมด ก็กำไรเต็มๆ
  • ติดลบจากบรรทัดค่าใช้จ่ายทางการเงิน( Interest): อาจจะเป็นไปได้ว่าโครงสร้างทางการเงินของบริษัทไม่ดี เช่นมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนมากเกินไป ถ้ามีการปรับโครงสร้างหนี้( restructure) บริษัทก็จะเป็นสัญญานของการ turnaround ได้ 
นี่เป็นสาเหตุที่นักวิเคราะห์หุ้น Turnaround มักจับจ้องตัวเลข EBITDA  โดยถ้าบริษัทขาดทุนเป็นเวลานานๆแล้วปีไหน EBITDA พลิกกลับมาเป็นบวก ก็เป็นสัญญานว่าอาจจะพลิกฟื้นกลับมาได้

ตัวอย่าง
HOTPOT
หุ้น HOTPOT ใครๆก็ว่าไม่ดีครึ่งปี 2556 ยอดขายตั้ง 1162 ล้านบาทแต่เหลือกำไรสุทธิแค่ 23.39 ล้านบาทเอง แต่ถ้าดูค่าเสื่อมราคาที่สูงถึง 75 ล้านบาท ทำให้บริษัทมี EBITDA ถึง 111 ล้านบาท ก็น่าสนใจว่าทำไมทำธุรกิจแล้วไม่คุ้มค่าเสื่อม จำนวนลูกค้าน้อยไปหรือเปล่า
AKR
หุ้น AKR ใครๆก็ว่าไม่ดี ปี 2554 ขาดทุน 105 ล้านบาท แต่ EBIT เป็นบวก 105 ล้านบาท ติดลบเยอะๆ มาจากดอกเบี้ยจ่ายที่สูงมาก เพราะต้องจ่ายในอัตราผิดนัดชำระหนี้


ข้อควรระวังของ EBITDA

EBITDA ละเลย ค่าใช้จ่ายงบลงทุน เพื่อให้กิจการยังคงสภาพเดิม หรือคงความสามารถในการแข่งขันได้ (reinvestment) ดังนั้น Warren Buffets จึงแนะนำให้ใช้ Free cash flow จะดีกว่าครับ
สมมติว่า ในแต่ละปี ลูกชายจะต้องใช้เงินสด เพื่อลงทุน ตกแต่ง ปรับสภาพให้ Apartment คงความสวยงาม ลูกค้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพนี้ ปีละ 10,000 บาท นอกจากนี้ทุกๆ 5 ปี จะต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ใช้งบลงทุน 50,000 บาท

นั่นคือ

  • ปีที่ 1 = 10000
  • ปีที่ 2 = 10000
  • ปีที่ 3 = 10000
  • ปีที่ 4 = 10000
  • ปีที่ 5 = 10000+50000 = 60000

รวมทุกๆ 5 ปี ต้องมีค่าใช้จ่ายลงทุนปรับปรุง Apartment 100,000 บาท
ในขณะที่ EBITDA ปีละ 20,000 บาท >>> 5 ปี = 100,000 บาท
เท่ากับว่าทำธุรกิจมา ก็ไม่ได้เงินสดคืนมาให้ตัวเองเลย

ตัวอย่างในตลาด
SAFARI
หุ้น SAFARI ทำสวนสัตว์ซาฟารีเวิล และภูเก้ตแฟนตาเซีย กระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้มาก็ต้องเอาไปลงทุนซ้ำเยอะมากซื้อสัตว์ชุดใหม่เข้าสวนสัตว์ ทำให้เงินสดสุทธิจากการกิจกรรมลงทุนติดลบ  แถมต้องเอาไปโป๊ะหนี้อีก(เงินสดสุทธิจากการกิจกรรมจัดหาเงินติดลบ) เงินแต่ละปีแทบไม่เหลือ

การประเมินมูลค่า


เป็นอัตราส่วนครับคืออัตรส่วน EV / EBITDA โดยที่ EV, enterprise value คือสิ่งที่คุณจ่ายคำนวณมากจาก มูลค่าตลาดของหุ้น + มูลค่าตลาดของหนี้ - เงินสด ตีความเหมือนเราซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดหนี้ เที่ยยบกับสิ่งที่ได้รับคือ EBITDA อัตราส่วนนี้ยิ่งต่ำยิ่งดี แต่การใช้การจะดูคู่กับ ค่าใช้จ่ายงบลงทุน เพื่อให้กิจการยังคงสภาพเดิม หรือคงความสามารถในการแข่งขันได้ (reinvestment) ถ้าบริษัทไหนมี EV / EBITDA ต่าๆ และ reinvestment ต่ำด้วยจะดีมากเหมือนว่าเงินสดของกิจการก็เอามาใช้ได้เกือบหมด


ที่มา:board.thaivi.org/viewtopic.php?f=20&t=50531