วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สัมมนารายการ Money Talk @ SET หัวข้อ ธรรมะ จิตวิทยา และกลยุทธ์การลงทุน

เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา กระผมได้มีโอกาสไปฟังสัมมนารายการ Money Talk @ SET ในหัวข้อ ธรรมะ จิตวิทยา และกลยุทธ์การลงทุน เนื่องจากผมเห็นว่าเป็นวันศุกร์ทำให้หลายๆท่านที่ทำงานประจำไม่มีโอกาสได้ร่วมฟังสัมมนาจึงได้สรุปเนื้อหาคร่าวๆดังนี้

ธรรมะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงทุนไหม ?
ดร.นิเวศน์ : 
>>> จิตวิทยามีผลกับการลงทุน ในสมัยก่อน คนจะเชื่อกันว่านักลงทุนนั้นมีเหตุผลจึงเกิดทฤษฎี Efficient-market hypothesis (คนเชื่อว่าตลาดมีประสิทธิภาพ)
>>> ในภายหลังมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น หุ้นตกแรงทำให้ attitude ของนักลงทุนเปลี่ยนไป
>>> หลังจากที่คนเปลี่ยนทัศนคติ นักวิชาการก็ศึกษาพฤติกรรมมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงเกิดวิชาต่างๆเช่น behavior finance หรือ psychology of investing เป็นต้น

>>> ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า ธรรมะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลงทุนไหม แต่มีนักลงทุนโลกท่านหนึ่งคือ John Templeton เป็นบุคคลที่เคร่งศาสนามาก และใช้ธรรมะช่วยในการลงทุน


คุณพีรยุทธ์
>>> ในตอนแรกเลยไม่ได้ศึกษาธรรมะ พอมีเงินแล้วรู้สึกว่าโลภ ใจไม่สงบ เอาจิตใจไปผูกกับหุ้น คิดเรื่องหุ้นตลอดเวลาแม้เวลาไปเที่ยว

>>> หัวใจของการลงทุนคือปัญญา
>>> หัวใจของปัญญาคือสมาธิ
>>> หัวใจของสมาธิคือสติ
>>> หัวใจของสติคือ วิริยะซึ่งก็คือความเพียรที่จะนำเอาสติไปจดจ่อ
>>> หัวใจของวิริยะคือศรัทธา เราจะเอาสติไปจดจ่อสิ่งหนึ่งๆได้ เราต้องมีศรัทธา มีความเชื่อในสิ่งๆนั้น
>>> หัวใจของศรัทธา คือ ปัญญา
>>> เราจะเห็นว่า เป็น cycle ไปเรื่อยๆ ซึ่งจริงๆแล้วมีหลายระดับ เราต้องพัฒนาครบทุกองค์ประกอบใน cycle แรกให้ได้ก่อน จึงจะสามารถพัฒนาขึ้นไปอีกหนึ่งระดับ

>>> เวลาที่หุ้นตก หลักจิตวิทยาจะศึกษาว่า ทำไมหุ้นจึงตก แต่ธรรมะจะลึกลงไปอีกขึ้นคือ ศึกษาว่าจะแก้ยังไง
>>> ให้เวลากับหลายๆอย่างให้สมดุลกัน --หุ้น, ครอบครัว, เพื่อน,.....
>>> ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา บางทีเราอาจจะให้เวลากับบางอย่างมากเกินไป แล้วเกิดความทุกข์
>>> ธรรมะสอดคล้องกับธรรมชาติ 
- เวลาที่สุนัขเดินผ่าน หรือ ใบไม้ตก หากหัวใจใฝ่ธรรมก็จะศึกษาธรรมะจากตรงนั้นได้
- ใช้ชีวิตโดยไม่ฝืนธรรมชาติ
- ถ้าอยู่ในสถานที่ที่สงบมากๆ จะสามารถศึกษาธรรมะแบบลงลึกไปในใจได้
- อิสรภาพ(ทางการเงิน)ช่วยให้มีเวลาศึกษาธรรมะ


จิตวิทยากับธรรมะเกี่ยวข้องกันไหม???
คุณพรชัย
>>> บางครั้งคนติดกับดัก ซึ่งเป็นกับดักแบบไม่รู้ตัว ทำให้ไม่เลือกสิ่งที่ดีที่สุดในกับตัวเอง
>>> เราต้องมีสติ ถ้าโลภแล้วรู้ตัวอาจจะแก้ได้ แต่ถ้าไม่รู้ตัว แย่แก้ไม่ได้

คุณพีรยุทธ์
>>> การกระจายการลงทุน ไม่ยึดติดกับหุ้นตัวเดียวมากเกินไป ทำให้ใจสงบ
>>> ไม่ใช้มาร์จิน ใช้แล้วใจไม่สงบ

ดร.นิเวศน์
>>> ธรรมะอยู่ในใจผมตลอด เคยใส่จีวรไปลงทะเบียนเรียน (ฮาๆๆ)
>>> ปฎิบัติตามหลักท่านพุทธทาส ซึ่งมีหัวใจอยู่ 3 อย่าง
- ตัวเราของเรา : ถ้าใครไปยึดติดกับหุ้นมากๆจะทุกข์ ไอ้โน้นก็ของเรา แบบรำพึงในบ่วงบาป ทุกข์มาก
- ทุกอย่างเกิดจากเหตุ ไม่มีใครทราบ : ถ้าบริษัทดีจริง เดี๋ยวผลจะตามมา อาจจะช้าหน่อย อย่าไปยึดติดกับราคารายวัน
- ทางสายกลาง : อย่าสุดโต่ง เอาแต่พอดี (อย่าใช้มาร์จิน อย่าแทงตัวเดียว)
>>> สุดท้ายแล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวง อย่าไปยึดมั่นถือมั่น

คุณพรชัย
>>> คนชอบคิดไปเองว่า ถ้าตลาดไปทางไหนสักพักนึงนานพอ มันจะเป็นแบบนั้นไปตลอด (ซึ่งไม่จริง)
>>> over confident : จากการสำรวจพบว่า คน 80% จะคิดว่าตัวเองเก่งกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นไปได้ยังไงที่คน 80% จะเก่งกว่าค่าเฉลี่ย นี่แค่ภาวะปกติ ยิ่งภาวะตลาดกระทิง คนจะมั่นใจในตัวเองมากขึ้นไปอีก
>>> การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น : ปกติเราได้ 40% จริงๆมันก็เยอะแล้วดีใจ แต่พอเห็นคนได้ 50-60% เริ่มรู้สึกว่าตัวเองได้น้อย เครียด
>>> ช่วงตลาดบูม คนจะคิดว่าตัวเองเป็นเซียน เซียนเยอะแยะเต็มไม่หมดเลย เช่น ตอนช่วงเวลาทองบูม กูรูมาจากไหนไม่รู้เต็มไปหมด พอทองตก หายหัวหมด (ผมใช้คำนี้เอง เพื่อให้ได้อารมณ์ในการอ่าน)
>>> วางแผนล่วงหน้า โดยใช้เหตุผลในยามที่จิตสงบ เช่น เวลาที่มีคนทำเงินตก คนที่ไม่ใช่คนเก็บได้ จะบอกว่าถ้าเก็บได้จะคืน แต่พอเก็บได้จริงๆจะเริ่มไขว้เขว

ธรรมะกับจิตวิทยาสัมพันธ์กันไหม???
คุณพีรยุทธ์
>>> ธรรมะจะกว้างกว่า และเน้นไปที่กระบวนการพัฒนาให้มีสติ รู้แจ้ง แทงตลอด


หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ หากท่านใดต้องการเพิ่มเติมก็เพิ่มได้เลยนะครับ
อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ : ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมได้สิ่งที่ประเสริฐกว่า


สรุปโดย 

อบรม ThaiVI รุ่นที่4 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม บริษัทและผู้บริหาร (อ.คเชนท์ เบญจกุล)

เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 4 ในวันที่ 5,6,12,13 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงอยากจะขอสรุปความรู้ที่ได้จากงานครั้งนี้บางส่วนเผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมงานอบรมในครั้งนี้ครับ

วันที่ 5 ตุลาคม 2556 
Part 2 : การวิเคราะห์อุตสาหกรรม บริษัทและผู้บริหาร (อ.คเชนท์ เบญจกุล)

1.Michael E Potter : 5 Force Model
1.1 Potential Entrants (การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ๆ) 
- หลักๆ ขึ้นอยู่กับ Barrier to entry หรือป้อมค่าย คูเมืองที่ใช้ในการป้องกันคู่แข่งขัน เช่นเงินทุน. Knowhow, Brandname, สัมปทาน หรือ Economy of scale
-ในบางธุรกิจทำแล้วมี owner value หรือทำแล้วมีความสุขใจ ก็จะทำให้มีคนสนใจมาทำเยอะ โดยอาจจะไม่ค่อยสนใจ return ของการลงทุน เช่น ร้านกาแฟ
-บางธุรกิจเป็นธุรกิจที่ทำแล้วปวดหัวหรือสภาพแวดล้อมไม่น่าอภิรมย์ก็จะทำให้ไม่ค่อยมีสนใจมาทำแม้ผลตอบแทนดี
-ธุรกิจที่ตลาดเติบโตสูงแต่ถ้า Barrier to entry ต่ำก็จะทำให้มีคู่แข่งเข้ามาเรื่อยๆ ทำให้ตลาดกลายเป็น red ocean
-บางธุรกิจ barrier to entry คือ economy of scale คือรายใหม่เข้ามาก็มีต้นทุนที่สู้ไม่ได้

1.2 Bargaining power of buyers (อำนาจการต่อรองของลูกค้า)
-ลูกค้ามีอำนาจต่อรองราคาได้แค่ไหน?
-ผู้ผลิตที่เป็น OEM มักจะมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าต่ำ
-ผู้ผลิตสินค้า Commodity แทบจะไม่มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าเลย เว้นแต่ธุรกิจ commodity บางอย่างที่เกี่ยวข้องกับของกิน อาจจะพอสามารถสร้าง brand ขึ้นมาได้เช่นกัน
-ธุรกิจที่ลูกค้าไม่มีอำนาจต่อรอง มักจะขายสินค้าจำพวก Brandname เช่นธุรกิจ louis Vuitton ที่ลูกค้าต้องต่อคิวเพื่อเข้าซื้อสินค้าเป็นต้น 
-ธุรกิจที่ลูกค้ามีอำนาจต่อรองราคามากๆ มักจะมีระยะเวลาของลูกหนี้การค้าค่อนข้างนาน เช่นการขายของเข้าห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าปลีกต่างๆ ทำให้การเติบโตของรายได้จำเป็นจะต้องใช้ working cap ที่สูง ในทางตรงกันข้ามสินค้าที่รับแต่เงินสดแสดงว่ามีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูงมาก
-บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับผู้ซื้อ จะมีความสามารถในการปรับราคาตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ดีกว่า ทำให้ Margin มีความสม่ำเสมอ

1.3 Bargaining power of supplier (อำนาจการต่อรองของ Supplier)
-บริษัทที่มีอำนาจการต่อรองกับ Supplier สูง จะทำให้มีระยะเวลาการจ่ายเงินหรือ credit term ยาว ทำให้การเติบโตของยอดขายไม่ต้องใช้ working cap มาก และเมื่อต้นทุนสูงขึ้น Supplier มักจะช่วยแบกภาระให้ด้วย
ในขณะที่บริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ Supplier ต่ำจะมี credit term ที่สั้น
-การดู bargaining power of supplier และ buyer บริษัทไหนมี A/R (Account Receivable)มากกว่า A/P (Account Payable) มากๆ แสดงว่า bargaining ไม่ดี แต่ถ้าบริษัทไหนมี A/R น้อยกว่า A/P มากๆแสดงว่า bargaining สูง

-Buy Commodity , Sell Brand (Warren Buffett) ในความหมายคือการซื้อหุ้นที่ซื้อวัตถุดิบที่เป็น Commodity แต่ขายสินค้าที่มี Brand เช่น Coca Cola

1.4 Substitutes (สินค้าทดแทน)
-เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หุ้นที่เราลงทุนจะมีสินค้าหรือบริการอะไรมาทดแทนได้ โดยบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Technology มักจะมีความเสี่ยงในเรื่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือมาทดแทนโทรศัพท์บ้าน, Tablet มาทดแทน Notebook , กล้องดิจิตอลมาทดแทนกล้องแบบฟิล์ม
-ในบางครั้งเป็นการทดแทนกันเนื่องจาก behavior หรือ lifestyle change เช่น การทานอาหารนอกบ้าน ทดแทนการทำอาหารทานเอง, เดินทางโดยรถไฟฟ้า ทดแทนรถยนต์หรือ taxi

1.5 Industry Rivalry 
-การแข่งขันมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนผู้เล่นซึ่งจำนวนผู้เล่นขึ้นอยู่กับ barrier to entry 
-การแข่งขันขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ลูกค้ามี price sensitivity มากน้อยเพียงใด โดยที่สินค้าที่มี price sensitivity สูงมักจะมีการแข่งขันด้านราคาที่มากซึ่งจะส่งผลต่อ Profit Margin อาจจะไม่สม่ำเสมอ

2.พึงระมัดระวังหุ้นวัฏจักรที่ Gross Profit หรือ Net Profit สูงกว่าปกติเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา ในหลายๆcase อาจจะเป็น Too good to be true 

3.การนำ 5 Force มาประยุกต์ใช้กับ DCF
-อำนาจการต่อรองกับ Supplier สูง ทำให้ credit term ยาว และเติบโตโดยใช้ working cap น้อย เวลาทำ DCF ค่าที่ได้จะสูง ซึ่งจะตรงกันข้ามกับบริษัทที่มีอำนาจต่อรองกับ Supplier ต่ำ ทำให้อายุลูกหนี้การค้ายาว การเติบโตต้องใช้ working cap สูง ซึ่งเวลาคิด DCF ค่าที่ได้จะต่ำ และอาจจะถูกต่อรองราคาทำให้ margin ไม่แน่นอนในอนาคต 
-การที่ธุรกิจมี barrier to entry ต่ำ และมีการแข่งขันสูง มีโอกาสที่จะมีการแข่งขันด้านราคา ทำให้ความแม่นยำในการทำนายอนาคตลดลง
-ใช้ DCF เป็น Guide แต่อย่าไปเชื่อมั่นมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความไม่แน่นอนในแง่ Gross margin, Net Margin
-ธุรกิจที่กำไรเป็น sine curve ไม่สามารถทำ forecast กำไร ทำให้ไม่สามารถทำ DCF ได้

4.ไม่มีหมอดูคนไหนทำนายชีวิตตัวเราได้ดีเท่าตัวเราเอง

5.หุ้นที่จะเติบโตได้มากกว่าค่าเฉลี่ย 

5.1 โตมากกว่า GDP โดยอยู่ในกลุ่มสินค้าที่หากรายได้เพิ่ม คนก็จะใช้สินค้าและบริการเพิ่มอันเนื่องมาจากการเพิ่มปริมาณการใช้ หรือคนที่ไม่เคยใช้ก็จะซื้อเพิ่ม

5.2. Market Share Gain
5.2.1 Gain from Traditional โดยเป็นการแย่ง Share จากรูปแบบการค้าแบบเดิม เช่น โชห่วย หรือตลาดสด
5.2.2 Gain from Competitor เช่นการที่รายใหญ่ใช้ประโยชน์จาก Economy of Scale ในการแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากรายย่อย โดยบางครั้งการที่แย่งส่วนแบ่งมาได้ วันหนึ่งก็อาจจะถูกแย่งกลับได้เช่นกัน

5.3 Increase Penetration
โดยหาหุ้นที่มี penetration rate ต่ำ (สัดส่วนการใช้ต่อจำนวนประชากรที่ต่ำ) เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร และมีโอกาสที่จะมีการเพิ่มปริมาณการใช้หรือเพิ่มสัดส่วนการใช้ต่อจำนวนประชากรในอนาคต

5.4 Megatrend
ยกตัวอย่างเช่นการดูแลสุขภาพ, Aging Society, การรับประทานอาหารนอกบ้าน, AEC, การเดินทางที่ถูกลง เป็นต้น

6.พึงระวังพฤติกรรมแบบฝูง ที่ตัดสินใจเลียนแบบกันจนเป็นกระแสเช่นกระแสตื่นทอง, Case หุ้น South Sea ในอังกฤษ, ดอกทิวลิปในฮอลแลนด์, จตุคามรามเทพ ซึ่งมีโอกาสที่คนที่มาลงทุนในตลาดหุ้นจะเป็นเช่นเดียวกันได้
(ปล.สามารถดูรายละเอียด Case บริษัท South Sea ได้จาก http://www.settrade.com/blog/nivate/2012/04/10/1110 )

7.ในชีวิตของการลงทุนนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จ หากอยู่ที่การที่เราเรียนรู้ ใฝ่รู้ รวมไปถึงประยุกต์ใข้ความรู้อยู่ตลอดเวลา

8.การวิเคราะห์ผู้บริหาร 
-โดยดูจากปริมาณ %การถือครองของเจ้าของ โดยถ้าเป็น Wealth หลักของเจ้าของ (%การถือครองของเจ้าของสูง รวมทั้งไม่ได้มีหุ้นกระจายในบริษัทอื่น) ก็จะทำให้มีแรงจูงใจในการทำให้บริษัทเติบโตมากกว่าบริษัทที่ไม่ได้เป็น wealth หลักของเจ้าของ
-เราสามารถที่จะตรวจสอบพฤติกรรมในอดีต รายการระหว่างกัน การเอาเปรียบผู้ถือหุ้นจากการ search ชื่อเจ้าของหรือผู้บริหารใน Google 

9.การวิเคราะห์ค่าเสื่อมราคา แบ่งเป็น 3 ประเภท
9.1 เมื่อตัดค่าเสื่อมหมดต้องซื้อใหม่ทดแทน เช่น Computer, แม่พิมพ์ที่ผลิตตามรุ่นของสินค้า ซึ่งมองว่าค่าเสื่อมแบบนี้นั้นไม่เป็น Free cash flow เพราะจำเป็นที่ต้องสำรองเงินเพื่อใช้ในการซื้อใหม่เพื่อทดแทนสินทรัพย์
9.2 ตัดค่าเสื่อมหมดแล้วยังใช้ได้อีกระยะหนึ่ง เช่น เครื่องจักรบางประเภท เรือ ส่วนตกแต่งร้านค้า แต่อาจที่จะต้องมีการใช้จ่ายซ่อมแซมปรับปรุงมากขึ้น
9.3 ตัดค่าเสื่อมหมดยังใช้งานได้อีกนาน เช่นอาคาร ซึ่งมีความเป็น Free cash flow ที่สูง เพราะตัดค่าเสื่อมหมดก็ยังใช้งานอาคารได้อยู่เพียงแต่อาจต้องมีบางส่วนที่ต้อง renovate ปรับปรุง

10.การวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์ (Capex)
Capital Expenditure มี 2 แบบ 1.)Capex for maintain competitiveness เช่นการเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อทดแทนที่หมดอายุ, การ renovate สถานที่ 2.)Capex for growth เช่นการซื้อเครื่องจักรใหม่, ขยายสาขา
โดยถ้าเป็นแบบ Capex for maintain competitiveness สูงๆเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิของบริษัทจะทำให้บริษัทมีการจ่ายปันผลต่ำและมักจะมีหนี้ตลอดเวลา
ในกรณีที่บริษัทมีการเติบโตโดยใช้ Capex ต่ำจะทำให้มีความเสี่ยงในการเพิ่มทุนต่ำและโตโดยยังสามารถที่จะจ่ายปันผลในระดับสูงได้

11.การวิเคราะห์หุ้นจากความรู้สึกของตัวเองและคนรอบข้าง
ควรที่จะต้องระวังให้มาก ถ้าเราเป็นคนที่ฐานรายได้ประจำสูงเพราะอาจจะทำให้ความรู้สึกของตัวเรามีโอกาสที่จะห่างไกลจากความรู้สึกของคนในประเทศส่วนใหญ่ ซึ่งจะทำให้เราพลาดหุ้นที่จับตลาด mass ไปได้

12.การวิเคราะห์หุ้นค้าปลีก
-Same Store Sale เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นตัวบอกกำไรของแต่ละสาขาในระยะยาว เพราะค่าแรง ค่าเช่า ขึนปีละ 3-5% ทุกปี
-สิ่งที่คล้ายกันคือขายเงินสด แต่ต่างกันที่ระยะเวลาสินค้าคงคลังขึ้นกับประเภทสินค้าที่ขาย และ credit term ซึ่งสะท้อนอำนาจการต่อรอง 

13.การวิเคราะห์หุ้นโรงพยาบาล 
-รพ.เป็นธุรกิจที่ไม่สามารถ capture ลูกค้าในบริเวณนั้นได้ทั้งหมดในปีแรกๆที่เปิด ดังนั้นการเปิดโรงพยาบาล แห่งใหม่จึงมักที่จะมีโอกาสขาดทุนในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีแรก
-Growth ของธุรกิจมาจาก 2 ทาง คือ 1.จำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น 2.รายได้ผู้ป่วยที่เพิ่มซึ่งมีโอกาสมาจากการปรับราคาและความซับซ้อนของโรค

14.การวิเคราะห์หุ้นอาหาร
-หากเป็นร้านอาหาร Cash flow cycle จะคล้ายๆหุ้นค้าปลีก
-กลุ่มที่ขายให้ end user จะมี pricing power สูงกว่า 
-หุ้นที่ขายอาหารเป็น Commodity จะมีกำไรที่ผันผวนตามราคาสินค้า

15.ปัจจัยฤดูกาล 
หุ้นหลายๆตัวมีรายได้ในแต่ละไตรมาสที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับผลของฤดูกาล เพราะฉะนั้นการนำรายได้หรือกำไรสุทธิที่ได้ ของ Q1 มาคูณ 4 หรือของครึ่งปีแรกมาคูณ 2 อาจจะก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้
โดยแม้ว่า Q4 ของหลายๆธุรกิจจะมีรายได้มากที่สุด แต่กำไรใน Q4 อาจจะไม่ได้ดีที่สุด เพราะในหลายๆบริษัทมักจะบันทึกรายจ่ายต่างๆใน Q4

16.หุ้นวัฏจักร
การใช้ P/E ในการหาราคาเป้าหมายของหุ้นวัฏจักรนั้นเป็นวิธีที่อันตรายมาก โดยที่คนติดหุ้นพวกนี้มักจะเป็นคนที่ซื้อหุ้นเพราะเหตุผลว่า P/E ต่ำ แต่บังเอิญเป็น EPS ในปีที่ peak


17.สร้างนิสัยการเป็น VI

17.1 ใช้เวลากับหน้าจอ(ราคาหุ้น)ให้น้อย 

17.2 อ่านให้มากไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับบริษัท, การเงิน, เศรษฐกิจ, สังคมศาสตร์, พฤติกรรมมนุษย์, ประวัติศาสตร์

17.3 Scuttlebutt (ปฏิบัติการสืบเสาะเจาะข้อมูลเพื่อการลงทุนของ “ฟิลลิป ฟิชเชอร์) โดยถามให้มาก, ลองใช้สินค้าดู, เดินห้าง, สำรวจพฤติกรรมมนุษย์

17.4 ถ้าได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ เราควรที่จะเรียนรู้จากการท่องเที่ยวเช่น Trend ในเมืองนอกที่มีโอกาสที่ในเมืองไทยจะเป็นแบบเดียวกันในอนาคต

(สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อคำแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น VI ครับ (โดยคุณ Invisible hand) จาก viewtopic.php?f=35&t=24502 )


18.ข้อคิดที่ฝากไว้ของพี่คเชนท์

18.1 บางทีการเดินขึ้นเขา ความสุขระหว่างทางจะสนุกกว่าเมื่อถึงยอดเขาแล้ว (อย่ากดดันกับเป้าหมายมากเกินไป)

18.2 อิสรภาพทางการเงินไม่ได้หมายความว่าจะไม่ต้องทำงานตลอดไป ถ้าเรายังมีความสุขกับงานที่ทำและสังคมที่ทำงานอยู่แล้ว

18.3 ความสุขในชีวิตอาจจะไม่ได้แปรผันตามจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น หรือ port ที่ใหญ่ขึ้น

18.4 การให้โอกาสคนนั้นสำคัญมากกว่าการให้เงิน ในสังคมของเรานั้นยังมีคนที่ขาดโอกาสอีกมาก

18.5 หน้าที่การสร้างชาติ นั้นอยู่ที่พวกเราทุกคน พวกเราทุกคนนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมให้ดีขึ้น

18.6 “พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหลายในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา”

วัวควายและช้าง เมื่อตายลงแล้วยังเหลือเขาหนังและงาไว้ใช้ประโยชน์ 
ส่วนมนุษย์ เมื่อตายทุกสิ่งในร่างกายสิ้นไป เหลือทิ้งไว้แต่คุณความดีประดับไว้ในโลกหรือความชั่วให้ผู้คนกล่าวขาน



ปล.ถ้ามีข้อมูลที่ผมเข้าใจผิดพลาดหรือเรียบเรียงผิดพลาดต้องขออภัยท่านวิทยากรและเพื่อนๆท่านอื่นด้วยครับและรบกวนพี่ๆเพื่อนๆท่านอื่นช่วยแนะนำผมด้วยครับ

ส่วนความรู้ที่ได้เรียนใน Part อื่นๆ จะลองพยายามรวบรวมความรู้มาฝากเพื่อนๆทุกท่านอีกทีในวันหลังครับ

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์นิเวศน์ ,อาจารย์ไพบูลย์, พี่คเชนท์, พี่ฉัตรชัย, พี่พีรยุทธ์, พี่อนุรักษ์ ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนด้วยครับ และขอขอบคุณพี่ๆทีมงานทุกท่านที่ได้เสียสละเวลามาช่วยในงานนี้ทุกท่านครับไม่ว่าจะเป็นพี่ web, พี่หนิง, พี่หลิน,พี่กุ๊ก และพี่ๆท่านอื่น 
รวมไปถึงขอขอบคุณ web thaivi และคณะกรรมการ web thaivi ทุกท่านด้วยครับที่ทำให้เกิดการอบรมหลักสูตรดีๆนี้ขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผมและเพื่อนๆนักลงทุนเป็นจำนวนมาก 
:bow: 
และยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆนักลงทุนท่านอื่นๆด้วยครับ :) 

earthcu/22 Oct 13

อบรม ThaiVI รุ่นที่4 แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (อ.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร)

เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 4 ในวันที่ 5,6,12,13 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงอยากจะขอสรุปความรู้ที่ได้จากงานครั้งนี้บางส่วนเผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมงานอบรมในครั้งนี้ครับ

วันที่ 5 ตุลาคม 2556 
Part 1 : แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (อ.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร)

1.ภาพใหญ่ถูกมีชัยไปกว่าครึ่ง 
ซึ่งในความหมายของภาพใหญ่คือหุ้นเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด ในขณะที่ภาพเล็กคือการเลือกลงทุนหุ้นให้ถูก
ภาพใหญ่นั้นหุ้นเองจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย10%ทบต้น ในขณะที่ภาพเล็กนั้นถ้าลงทุนหุ้นได้ถูกอาจจะทำให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 20-30% ต่อปี 
ซึ่งจริงๆแล้วแค่เราได้ผลตอบแทนเพียงแค่ 15%ต่อปี ก็จะทำให้ port การลงทุนเพิ่มเป็นเท่าตัวในระยะเวลาแค่ 5 ปี

2.นักลงทุนVI เองมีโอกาสที่จะ Over Confidence เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอาจจะได้ผลตอบแทนที่ดีมากเช่น มากกว่า 50%ต่อปี ซึ่งอาจจะทำให้ Strategy ในการลงทุนเปลี่ยนไป เช่นการที่ใช้เงินกู้ Margin 100% หรือมากกว่านั้น, เปลี่ยนไปเน้นเล่นหุ้นตาม story อย่างเดียว ซึ่งอาจจะทำให้ Port การลงทุนเสียหายหนักได้ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น

3.History Repeat การที่ผลตอบแทนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างสูงเช่นประมาณ 40-50% ก็ควรที่นักลงทุนจะต้องระวังไว้เพราะในระยะยาวภาพใหญ่ของหุ้นนั้นจะให้ผลตอบแทนเพียง 10% ซึ่งก็มีโอกาสที่ปีต่อๆไปจะทำให้ผลตอบแทนในการลงทุนลดลงเช่นต่ำกว่า 10% หรืออาจจะผลตอบแทนติดลบ เพื่อให้ภาพใหญ่นั้นกลับมามีผลตอบแทน 6-7% จาก capital gain และ 3%จาก Dividend Yield (รวมเป็นผลตอบแทนเฉลี่ย 10%)

4.ประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้น ถ้าไม่ Take Risk ก็มีโอกาสที่ค่อยๆล้มหายตายจากไปรวมไปถึงเราเองก็อาจต้องตกอยู่ในความเสี่ยงในการออกไปหาอาหารเพราะต้องเจอกับเสือ สิงห์ กระทิง ซึ่งเปรียบเหมือนในตลาดหุ้นคนที่ Take Risk เองก็มีทั้งอยู่รอด, ได้กำไร, ตายไปเช่นกัน
โดยที่นักลงทุนเองนั้นควรที่จะต้องรู้จักปรับตัวอยู่เสมอ เพราะถ้าไม่รู้จักปรับตัวนักลงทุนที่เก่งในวันนี้ก็อาจจะเป็นหมูในอีก 5-10 ปีข้างหน้าถ้าเราไม่พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น

5.จริงๆแล้วผู้บริหารกองทุนหลายท่านก็เป็นคนที่เก่งมาก เพียงแต่ว่าเขาเองมีข้อจำกัดในการลงทุนทำให้ผลตอบแทนอาจจะไม่ดีมาก ซึ่งนักลงทุนรายย่อยเองถ้าไปลงทุนในรูปแบบที่มีข้อจำกัดแบบเดียวกับกองทุน เราเองก็มีโอกาสที่จะแพ้เขา เพราะฉะนั้นเราควรที่จะหาจุด, position ของเรา ที่เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ทำให้เราได้เปรียบ (ต้องรู้ capability ของเรา จากนั้น set strategy in the long run) ซึ่งเราเองก็ควรที่จะเผื่อใจกับโอกาสที่ไม่ประสบความสำเร็จไว้บ้าง เพราะแม้ว่าบางทีใช้วิธีเดียวกันแต่ต่างกันแค่รายละเอียดบางอย่าง ก็อาจจะทำให้บางคนประสบความสำเร็จ, บางคนประสบความล้มเหลว

6.นักลงทุนเองควรที่จะเล่นในเกมของเรา เพราะถ้าไปตามเกมของคนอื่นอาจจะขาดทุน เนื่องจากในบางครั้งนักลงทุนรายใหญ่อาจจะเป็นคนคุมเกมเนื่องจากมีฐานกำลังเงิน, รวมไปถึงอาจจะมี connection กับสื่อบางประเภท รวมไปถึงบาง Broker ได้

7.เวลาลงทุนซื้อหุ้น เราควรจะต้องหาเหตุผลในการซื้อหุ้น รวมไปถึงมองไปยังความเสี่ยงว่าบริษัทมีโอกาสที่จะล้มละลายหรือไม่ 

8.ปัจจุบันเมืองไทยคนเกษียณยังมีจำนวนน้อย ทำให้มีคนที่เข้าตลาดหุ้นยังเยอะ ซึ่งส่งผลทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสขึ้นจาก Demand Supply ในตลาด แต่ถ้าเวลาผ่านไปอีก 10-15 ปีข้างหน้านั้นจำนวนคนไทยประมาณ 25% จะเป็นคนวัยเกษียณทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสที่จะไม่ค่อยปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นนักลงทุนควรที่จะมองหาการลงทุนในประเทศที่ยังมีอัตราการเกิดที่ยังสูงยกตัวอย่างเช่นในประเทศเวียดนามเป็นต้น
โดยยกตัวอย่างเช่นในประเทศอังกฤษนั้นมีอัตราการเกิดน้อยลงเรื่อยๆทำให้ยอดขายในบริษัท Tesco ที่อังกฤษเองนั้นแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย

9.เราเองควรที่จะศึกษาว่า Industry ไหนจะโตและโตนาน และบริษัทไหนที่จะได้ประโยชน์จาก Mega Trend (โดย 1.)มองไปข้างหน้าว่ามั่นใจโตอย่างน้อย 3-5 ปี 2.)มองหาผู้ชนะในอุตสาหกรรม โดยซื้อ ถือ และเก็บหุ้นไว้ในระยะเวลาที่ยาวนาน) โดยที่เราควรที่จะต้องระวังในบางอุตสาหกรรมที่อาจจะโตแต่อาจจะหาผู้ชนะในระยะยาวไม่ได้เช่นกลุ่มการบิน, Banking
สำหรับ Trend ที่น่าสนใจได้แก่ Trend อายุเยอะ, สุขภาพ, Enjoyment เช่นอาหาร , ท่องเที่ยว
นอกจากนั้นเราควรที่จะมองปัจจัยในการแข่งขันว่าใครมีมากสุด แล้วจะส่งผลให้เกิด Positive feedback หรือเปล่า เช่นทำให้เกิด Economy of scale, Brand ดีขึ้น, Cost ต่ำลง โดยที่จะทำให้ดีขึ้นทั้งยอดขาย, Gross Margin และกำไรของบริษัท

10.ในบางครั้งอาจเกิดเหตุการณ์ที่หุ้นที่เราถือราคาลงไป 10-20% ในระยะเวลาอันสั้น เราก็อาจจะไปดูสำรวจกิจการอีกทีว่ายอดขายยังดีอยู่ไหม ถ้าธุรกิจยังดำเนินไปได้อย่างปกติอยู่ก็ควรที่เราจะถือหุ้นนั้นต่อ ซึ่งตัวเราควรที่จะมีความเชื่อ (Faith) ถ้ากิจการร่ำรวย เจ้าของกิจการก็จะร่ำรวย เราก็จะรวยตาม

11.พึงระวังหุ้นที่มีระยะเวลาสัมปทาน รวมไปถึงกองทุนพื้นฐานบางกอง เพราะอนาคตไม่แน่นอน รวมไปถึงสักพักก็จะหมดเวลาเปรียบเสมือนการที่เราเซ้งตึกกับการซื้อตึกแถว ในสมัยก่อนนั้นราคาเซ้งอาจจะไม่แตกต่างกับราคาซื้อมากนักเช่น 30-40% แต่พออยู่ไปได้ไม่กี่ปีกลายเป็นว่า ตึกเซ้งนั้นหมดสัญญา ในขณะที่ตึกแถวที่ซื้อนั้นกลับสามารถขายต่อได้ราคางาม

12.ธุรกิจที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานดี vs ธุรกิจ Capital Intensive
ธุรกิจที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานดีนั้นยิ่งนานวัน ยิ่งดี เพราะยิ่งมีเงินสดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ธุรกิจที่ capital intensive นั้นยิ่งทำยิ่งเหนื่อย ยกตัวอย่างเช่น แดนเนรมิต นั้นเจ้าของต้องมีการลงทุนซื้อเครื่องเล่นใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะ คนเล่นเองเล่นไปได้ไม่กี่ครั้งก็เบื่อทำให้ต้องซื้อเครื่องเล่นชนิดใหม่ๆ เพื่อดึงดูดให้คนมาใช้บริการ ซึ่งเครื่องเล่นนึงก็ต้องลงทุนสูงเช่น 20-30 ล้าน เครื่องเล่นก็ล้าสมัยเร็วทำให้ใน book เองยังมีอยู่แม้ว่าอาจจะเก็บเงินจากเครื่องเล่นนั้นแทบไม่ได้ก็ตาม รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงงานก็อาจจะมีลักษณะที่คล้ายๆกันกับ case นี้ เพราะต้องมีการลงทุนใหม่ๆเพื่อให้ maintain สภาพการแข่งขันได้อยู่เป็นระยะๆ ทำให้อาจจะจ่ายเงินปันผลได้ไม่เกิน 50% ของผลกำไร

13.พึงระวังธุรกิจที่เกี่ยวกับ Technology บางบริษัทด้วย เพราะมีโอกาสที่คู่แข่งจะสามารถมาทำแข่งขันหรือทำเลียนแบบได้ (โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่อาจจะไม่มี Competitive Advantage) ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับ Fiber Optic นั้นมีโอกาสที่คู่แข่งจะมาทำธุรกิจนี้ได้ไหม และถ้ามาทำแข่งจริงแล้จะส่งผลยังไง ถ้าเราจะลงทุนในบริษัทเหล่านี้ในระยะยาวก็ควรที่จะคิดพิจารณาในประเด็นพวกนี้ด้วย 

14.Question ทำยังไงไม่ให้มีอคติจากผู้บริหารที่ดูว่าเก่ง
Answer ผู้บริหารอาจจะไม่ได้อยู่กับบริษัทตลอดไป และบางคนอาจจะไม่ได้เก่งจริงๆ ในบางครั้งความสำเร็จอาจจะเกิดจากโชคดีมากกว่าความสามารถของผู้บริหารก็เป็นไปได้ รวมไปถึงคนที่เก่งจริงๆก็อาจจะถูก replacement โดยคนอื่นๆได้ นอกจากนี้แล้วบางครั้งผู้บริหารที่เก่งเมื่อไปอยู่ในบริษัทที่แย่ๆสุดท้ายก็อาจจะกลายเป็นผู้บริหารที่แย่ตามบริษัทก็ได้

15.P/BV นั้นในกรณีที่จะดูอัตราส่วนนี้นั้นควรจะต้องพิจารณาว่าหุ้นที่เราซื้อนั้น เขาใช้ book หรือเปล่า ถ้าใช้ book เยอะๆก็อาจจะต้องพิจารณาเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ P/BV ถ้าสูงเกินไปเช่น เกิน 5 เท่าอาจจะต้องระวัง แต่ในบางธุรกิจที่แทบจะไม่ใช้ book หรือใช้น้อยมากเช่น Se-ed เช่าที่เลยทำให้แทบจะไม่ได้ใช้ book ก็อาจจะไม่ต้องดูในส่วนนี้

16.P/E Ratio ถ้าสูงต้องดูเป็นพิเศษ (ยกเว้นใน case ที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคตสูงก็จะไม่ค่อยดู) แต่จะไปดู Market Cap แทน โดยดูว่าอีก 20-30 ปีข้างหน้า ยังมีโอกาสโตอีกไหม บริษัทนี้จะได้ประโยชน์และได้ Market เท่าไร ยกตัวอย่างเช่น ใน case ธุรกิจที่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านในอดีต ในประเทศอเมริกาเองจะมีสัดส่วนเท่าไรของ GDP เปรียบเทียบกับบ้านเรานั้นสัดส่วนนี้ต่อ GDP ยังน้อยกว่า ทำให้มองว่ามีช่องว่างในการเติบโตมากในอนาคต แล้ว Predict ว่ายอดขายบริษัทควรจะเป็นขนาดไหน เพื่อที่จะดูว่าสุดท้ายกำไรมีโอกาสที่จะได้เท่าไร 

ปล.ถ้ามีข้อมูลที่ผมเข้าใจผิดพลาดหรือเรียบเรียงผิดพลาดต้องขออภัยท่านวิทยากรและเพื่อนๆท่านอื่นด้วยครับและรบกวนพี่ๆเพื่อนๆท่านอื่นช่วยแนะนำผมด้วยครับ

ส่วนความรู้ที่ได้เรียนใน Part อื่นๆ จะลองพยายามรวบรวมความรู้มาฝากเพื่อนๆทุกท่านอีกทีในวันหลังครับ

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์นิเวศน์ ,อาจารย์ไพบูลย์, พี่คเชนท์, พี่ฉัตรชัย, พี่พีรยุทธ์, พี่อนุรักษ์ ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนด้วยครับ และขอขอบคุณพี่ๆทีมงานทุกท่านที่ได้เสียสละเวลามาช่วยในงานนี้ทุกท่านครับไม่ว่าจะเป็นพี่ web, พี่ kongkang, พี่ little wing และพี่ๆท่านอื่น(ถ้าผมจำชื่อผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ) 
รวมไปถึงขอขอบคุณ web thaivi และคณะกรรมการ web thaivi ทุกท่านด้วยครับที่ทำให้เกิดการอบรมหลักสูตรดีๆนี้ขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผมและเพื่อนๆนักลงทุนเป็นจำนวนมาก :bow: 

และยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆนักลงทุนท่านอื่นๆด้วยครับเช่นคุณตุ้ย, คุณโจ, คุณเอ, คุณเจ, คุณชิง,คุณเจษฐ์, พี่ติ๊ก, คุณยิ้ม

earthcu/14 Oct 13

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรื่องวุ่นๆของเงินทุนหมุนเวียน(working capital)


เงินทุนหมุนเวียนถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ มนุษย์เงินเดือนหลายคนลาออกจากงานมาทำธุรกิจมักตกม้าตายตรงขาดเงินทุนหมุนเวียนนี่แหละ เพราะเตรียมเงินมาลงทุนแค่สินทรัพย์ถาวรแต่ไม่ได้เตรียมเงินลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน และเจ้งไปในที่สุด

เงินทุนหมุนเวียนคืออะไร

คนทั่วไปอาจคิดว่าทำธุรกิจก็แค่
  • รายได้ – รายจ่าย = กำไร
แต่เบื้องหลังการถ่ายทำ จะมี “เงินทุนหมุนเวียน” อยู่ก้อนนึงที่มันหมุนไปหมุนมา ตามภาพ
เงินทุนหมุนเวียน
  • เจ้าหนี้การค้า เอาของมาลงที่ร้านก่อนเดี๋ยวค่อยมาเก็บเงิน
  • ของที่กองๆอยู่ในร้านก็คือสินค้าคงเหลือ แบ่งย่อยเป็น
    • วัตถุดิบ
    • งานระหว่างทำ
    • สินค้าสำเร็จรูป
  • ลูกหนี้การค้า คือยอดขายที่ยังเก็บเงินไม่ได้
เงินที่งอกจากวงจรนี้ก็จะนำไปจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของต่อไป
บริหารเงินทุนหมุนเวียนไม่ดีเกิดอะไรขึ้น
ปัญหาที่พบบ่อยๆก็เช่น
  • เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอ ไม่รู้ว่าธุรกิจตัวเองต้องใช้เงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเท่าไร
  • สินค้าคงเหลือ ล้าสมัย เสื่อมสภาพ ขายไม่ออก ต้องตัดจำหน่ายไปด้วยน้ำตา
  • ลูกหนี้การค้าจ่ายช้าหรือเก็บเงินไม่ได้
พอเงินทุนหมุนเวียนมีปัญหาเงินไม่งอก แค่ค่าใช้จ่ายต่างๆรอท่านอยู่ ถ้าไม่จ่ายธุรกิจก็เดินต่อไม่ได้
  • ไม่จ่ายเจ้าหนี้การค้า ก็ไม่มีของ lot ใหม่มาลงหน้าร้าน
  • ไม่จ่ายค่าเช่าที่ เจ้าของที่ก็ไล่ที่
  • ไม่จ่ายเงินเดือนพนักงงาน ลูกน้องก็ลาออก
นักธุรกิจมือใหม่หลายท่านอยากสู้ต่อก็อาศัยเงินกู้ยืมมาหมุนเรื่อยๆ สุดท้ายหนี้ก็พอกพูนจนไม่มีปัญญาจ่ายและลมละลายในที่สุด

แล้วธุรกิจของเราต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเท่าไร

ตำราวิชาการทาง finance ช่วยท่านประมาณการเงินทุนหมุนเวียนได้ครับเพียงท่านรู้นสมมติฐานในการทำธุรกิจของท่านดังนี้
  • ระยะเวลาเก็บหนี้ ปกติระยะเวลาเก็บหนี้จะเท่าๆกับของคู่แข่ง
    •  สมมติให้เท่ากับ 60 วัน
  • ระยะเวลาขายสินค้า ให้ท่านเดาว่าควรมีของตุนไว้ในร้านประมาณกี่วันเพื่อให้มีสินค้าพอขาย
    • สมมติให้เท่ากับ 120 วัน
  • ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้การค้า
    • สมมติว่าเราได้เครดิตการค้ามา 90 วัน
  • ประมาณการยอดขายต่อปี ว่าขายได้กี่บาท
    • สมมติว่าขายของได้ 100 บาท
  • อัตรากำไรขั้นต้นของสินค้าที่คุณขายเป็นเท่าไร
    • อัตรากำไรขั้นต้น = (ยอดขาย-ต้นทุนขาย)/ยอดขาย
    • สมมติว่าทำธุรกิจมีอัตรากำไรขั้นต้น = 0.2 หรือ 20%
นำความรู้เรื่องอัตราส่วนทางการเงินมาช่วยคำนวณ ลูกหนี้การค้า, สินค้าคงเหลือ, และเจ้าหนี้การค้าดังนี้
  • ลูกหนี้การค้า = (ระยะเวลาเก็บหนี้ / 360) x ยอดขาย
    = (60/360) x 100  = 16.67 บาท
  • สินค้าคงเหลือ = (ระยะเวลาขายสินค้า/360) x ต้นทุนขาย
    = (ระยะเวลาขายสินค้า/360) x (ยอดขายx(1-อัตรากำไรขั้นต้น))
    = (120/360) x (100 x (1-0.2)) = 26.67 บาท
  • เจ้าหนี้การค้า = (ระยะเวลาชำระหนี้/360) x ต้นทุนขาย
    = (ระยะเวลาขายสินค้า/360) x (ยอดขายx(1-อัตรากำไรขั้นต้น))
    = (90/360) x (100 x (1-0.2)) = 20 บาท
ถ้าขี้เกียจคำนวณก็จิ้มเล่นได้ตามตารางครับ เปลียนสมมติฐานได้ตามสะดวกในช่องสีเหลืองๆ
จะได้ตัวเลขอัตราส่วนที่สำคัญสองตัวคือ
1) เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ

  • เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ – เจ้าหนี้การค้า
    =16.67 + 26.67 – 20 =23.33 บาท
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ จะเป็นตัวบอกว่าถ้าประมาณการยอดขายเท่านี้เท่านั้น ตั้งใช้เงินทุนหมุนเวียนเท่าไร ถ้ามีไม่พอก็เตรียมตัวหมุนเงินหัวปั่นได้เลย
2) อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่อยอดขาย
  • อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่อยอดขาย = เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ/ยอดขาย
    = 23.33 / 100 = 0.23 บาท
เป็นตัวบอกว่า ถ้าจะเพิ่มยอดขาย 1 บาทต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเท่าไร ในอนาคตถ้าเราวางแผนจะเพิ่มยอดยายก็สามารถคำนวณ เงินทุนหมุนเวียนสุทธิได้ง่ายๆ โดย
  • เงินทุนหมุนเวียนสุทธิที่ต้องหาเพิ่ม = ยอดขายที่เพิ่ม x อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่อยอดขาย
แนวทางการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
จะเห็นว่าถ้าธุรกิจไหนต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเยอะ เรื่องกลยุทธ์ธุรกิจอะไรไม่ต้องพูดถึง วันๆไม่ต้องทำอะไรหมุนเงินกันอย่างเดียว ตามตำราท่านว่าวิธีการจัดการดังนี้
  • ใช้ตัวเลขจากการคำนวณเป็นเป้าในการดำเนินการได้ เช่นปล่อยเครดิตการค้า 60  วัน ถ้าเก็บหนี้ได้ตามปกติ ระยะเวลาเก็บเงิน ( 360 x (ลูกหนี้การค้า / ยอดขาย) ) ก็ควรคำนวณออกมาใกล้ๆ 60 วัน
  • ลูกหนี้การค้า
    • ขายเงินสดให้มากขึ้น
    • เรียกเก็บหนี้เร็วขึ้น(ยาก)
    • พยายามอย่าให้มีหนี้เสีย
    • เอาลูกหนี้การค้าไปขายคิดลดกับแบงค์ หรือเจ้าหนี้นอกระบบ เอาเงินไปหมุนก่อน
  • สินค้าคงเหลือ
    • อย่าตุนของไว้เยอะ
    • ดูแลสินค้าคงเหลือไม่ให้หายหรือเสื่อมสภาพ
    • ระบายสินค้าที่ขายไม่ออก
  • เจ้าหนี้การค้า
    • ดึงดิวไว้หน่อย เลื่อนได้เป็นเลือน
  • อัตรากำไร
    • ถ้าไปขายของที่อัตรากำไรขั้นต้นสูงๆได้จะดีมาก
  • หนี้ระยะสั้น
    • พยายามหาแหล่งเงินกู้ไว้เตรียมไว้เยอะๆ เผื่อหมุนไม่ทันได้หยิบยืมได้
By Invest idea
อ่านบทความอื่นๆได้ที่ http://thaiing.wordpress.com

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุป ThaiVI รุ่นที่4 การวิเคราะห์งบการเงิน (อ.ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ)

เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 4 ในวันที่ 5,6,12,13 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงอยากจะขอสรุปความรู้ที่ได้จากงานครั้งนี้บางส่วนเผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมงานอบรมในครั้งนี้ครับ

วันที่ 6 ตุลาคม 2556 
Part 3 : การวิเคราะห์งบการเงิน (อ.ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ)

1.ก่อนเริ่มวิเคราะห์งบการเงิน นักลงทุนควรที่จะเข้าใจในกิจการ (เช่นจากรายงาน 56-1) รวมไปถึงเข้าใจในอุตสาหกรรม ในแง่สภาพการแข่งขัน, ปัจจัยสำคัญในการแข่งขันรวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม


2.ข้อจำกัดของงบการเงิน
2.1 การจัดสรรรายได้และค่าใช้จ่ายสำหรับรอบระยะเวลาหนึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบุคคล เช่นการตีราคาสินค้าคงเหลือ, การคิดค่าเสื่อมราคา, การแยกรายการที่เกิดขึ้นระหว่างปีว่าเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนั้น
2.2 จำนวนที่ปรากฏในงบแสดงฐานะทางการเงินไม่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริง
2.3 งบการเงินไม่สามารถแสดงปัจจัยที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่นชื่อเสียงของธุรกิจ, ความเชื่อถือจากเจ้าหนี้ , ลักษณะของผู้บริหาร


3.ประเด็นที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควรจะต้องให้ความสนใจในการอ่านงบการเงินคือลูกหนี้การค้าสุทธิ โดยเฉพาะถ้าเจอบริษัทที่มีลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระ(เช่นมากกว่า 3-6 เดือน หรือ มากกว่า6-12 เดือน)เป็นปริมาณที่สูงถ้าเทียบกับลูกหนี้การค้าสุทธิทั้งหมดเพราะมีโอกาสที่ลูกหนี้การค้าก้อนนี้จะทำให้บริษัทนี้ต้องตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมาก
ซึ่งในอดีตก็เคยมี case เหตุการณ์ที่บริษัทแสดงลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระเป็นจำนวนมากแล้วทำให้ปีต่อๆมา บริษัทนี้ต้องตั้งค่าเผื่อสำรองหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากจนบริษัทมีผลขาดทุนสุทธิจำนวนมากและท้ายที่สุดทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงจนติดลบได้


4.สินค้าคงเหลือ 
การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือนั้นต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า
ซึ่งในบางครั้งอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่บางบริษัทมีการเพิ่มของสินค้าคงเหลือเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่ผู้บริหารมองว่าราคาของวัตถุดิบมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทำให้ทำการกู้เงินระยะสั้นมาเพื่อ stock สินค้าไว้ ในกรณีนี้อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงเป็นจำนวนมากได้ ถ้าเหตุการณ์ไม่เป็นไปตามที่ผู้บริหารคาดการณ์ไว้ ซึ่งในอดีตก็เคยเกิดเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับบางบริษัท


5.การจัดประเภทเงินลงทุน

5.1 ถือเพื่อลงทุน
1.)หลักทรัพย์เพื่อค้า : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนโดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะขายในอนาคตอันใกล้
โดยจะลงบัญชีโดยราคาตลาด ณ วันปิดบัญชี และรับรู้กำไรหรือขาดทุนในงบกำไรขาดทุน 
2.)หลักทรัพย์เผื่อขาย : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน ซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า
โดยจะลงบัญชีโดยราคาตลาด ณ วันปิดบัญชี และรับรู้กำไรหรือขาดทุนในส่วนของเจ้าของ
3.)เงินลงทุนทั่วไป : เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน (ลงบัญชีตามราคาทุน)

5.2 ถือเพื่อมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการ
1.)เงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยถือหุ้นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50% (ลงบัญชีตามราคาทุน)
2.)เงินลงทุนในบริษัทย่อยโดยถือหุ้นตั้งแต่ 50%ขึ้นไป (ลงบัญชีตามราคาทุน)


6.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน หรือ อาคาร หรือที่ดินและอาคาร) ที่ถือครอง เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสองอย่าง โดยทั้งนี้ไม่ได้มีไว้เพื่อ
1.)ใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ หรือ 
2.)ขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ

โดยวิธีการวัดมูลค่า อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นมี 2 วิธี
1.)ราคาทุน : จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่กิจการจ่ายไป หรือมูลค่ายุติธรรม ของสิ่งตอบแทนอื่นที่กิจการมอบให้เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ ณ เวลาที่ได้สินทรัพย์นั้นมา หรือ ณ เวลาที่ก่อสร้างสินทรัพย์นั้น
2.)มูลค่ายุติธรรม : จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
ซึ่งจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมคือ กิจการที่เลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม ต้องวัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดด้วยวิธีมูลค่ายุติธรรม และหากกิจการใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องใช้ต่อเนื่องจนกว่าจะมีการจำหน่าย 

สำหรับข้อแตกต่างระหว่างวิธีทุนและวิธีมูลค่ายุติธรรม
วิธีทุน : 1.)มีค่าเสื่อมราคา 2.)บันทึกมูลค่าโดยนำราคาทุน-ค่าเสื่อมราคาสะสม 3.)ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนจะรับรู้ค่าใช้จ่ายจากค่าเสื่อมราคา
วิธีมูลค่ายุติธรรม : 1.)ไม่คิดค่าเสื่อมราคา 2.)บันทึกมูลค่าโดยปรับมูลค่า ทุกรอบบัญชี 3.)ผลกระทบต่องบกำไรขาดทุนจะรับรู้ผลกำไร/ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า 


7.การขายสินค้า กิจการต้องรับรู้รายได้จากการขายสินค้า เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1) กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้รับซื้อแล้ว
2.)กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึงกระทำ หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม
3.)กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ ได้อย่างน่าเชื่อถือ
4.)มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ ของรายการบัญชีนั้น
5.)กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ 

โดยกรณีศึกษาของเรื่องนี้นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทหนึ่งในอดีตที่อาศัยช่องโหว่ในการบันทึกบัญชีรับรู้รายได้จากการขายสินค้าที่ฝากไว้กับร้านค้าซึ่งถือเป็นการให้เครดิตร้านค้าที่นำสินค้านี้ไปขาย ทว่าบริษัทนี้นั้นกลับบันทึกบัญชีดังกล่าวเป็น “การขายสินค้าเงินสด” ทั้งๆที่ยังไม่ได้รับเงินเข้ามาส่งผลให้บริษัทนี้มีผลการดำเนินงานที่ดีเกินความเป็นจริง ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว 


8.ประเภทของกำไร
กำไรขั้นต้น (Gross Profit) = ยอดขาย-ต้นทุนขาย
กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Margin) = กำไรขั้นต้น-ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (EBIT) = กำไรจากการดำเนินงาน +รายได้อื่น
กำไรสุทธิ (Net Profit) = EBIT-ค่าใช้จ่ายทางการเงิน-ภาษี
EBITDA = EBIT+ค่าเสื่อมราคา+ค่าใช้จ่ายตัดจ่าย


9.Profit is an opinion.Cash is fact.
Operating Cash Flow is more accurate than Net Profit.
โดยกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมดำเนินงาน จะเป็นข้อบ่งชี้ที่สำคัญที่แสดงถึงความสามารถในการดำเนินงานของกิจการในการก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่เพียงพอเพื่อจ่ายชำระเงินกู้ยืม เพื่อการดำเนินการของกิจการ เพื่อจ่ายเงินปันผล และเพื่อการลงทุนใหม่ๆ โดยไม่ต้องพึ่งพา การจัดหาเงินจากแหล่งเงินภายนอก


10.งบกระแสเงินสดบอกวงจรชีวิตของกิจการ
งบกระแสเงินสดนั้นจะเป็นงบที่แสดงการได้รับเงินสดและการใช้จ่ายเงินสดของกิจการ 

งบกระแสเงินสดนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามกิจกรรมต่างๆของกิจการ ประกอบด้วย 

1.) กิจกรรมดำเนินงาน จะเป็นรายการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามปรกติของกิจการ ดังนั้นรายการนี้จะสามารถบอกเราได้ว่ากิจการนั้นดำเนินธุรกิจแล้วมีเงินสดรับมากกว่าจ่าย หรือว่าจ่ายมากกว่ารับ 

2.) กิจกรรมการลงทุน จะเป็นรายการที่เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ทั้งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตรต่างๆ และรายการที่ขายสินทรัพย์ทั้ง 2 ประเภท 

3.)กิจกรรมเกี่ยวกับการเงิน ทั้งการเพิ่มทุนจดทะเบียน การกู้ยืม/ชำระหนี้เงินกู้ยืม การจ่ายเงินปันผล 

ดังนั้นการวิเคราะห์งบกระแสเงินสดจะสามารถบอกเราได้ว่า สถานะของบริษัทนั้นอยู่ในประเภทใด 

1.) ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมทางการเงิน เช่น การเพิ่มทุน การกู้ยืม และบริษัทมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมการลงทุน แสดงว่าบริษัทยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น การดำเนินงานยังไม่สามารถหาเงินสดได้เพียงพอในการขยายการลงทุนที่ยังคงมากอยู่ 

2.)ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมการลงทุน แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะการเติบโต ธุรกิจของบริษัทสามารถหาเงินสดได้แล้ว แต่ยังคงมีภาระที่จะขยายการลงทุนอยู่ 

3.) ถ้าบริษัทมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมทางการเงิน เช่น ชำระหนี้เงินกู้ แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะที่โตเต็มที่ ไม่มีภาระที่จะขยายการลงทุนเพิ่มเติม 

4.) บริษัทจะมีเงินสดรับจากกิจกรรมดำเนินงาน และมีเงินสดจ่ายในกิจกรรมทางการเงิน คือ การจ่ายเงินปันผล แสดงว่าบริษัทอยู่ในสถานะ ห่านทองคำครับ คือบริษัทสามารถหาเงินสดจากการดำเนินงานได้ อีกทั้งยังไม่มีภาระการใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นการขยายการลงทุนหรือการชำระหนี้เงินกู้ บริษัทจึงมีเงินสดเหลือที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น 
(ที่มาจาก viewtopic.php?f=35&t=1096 งบกระแสเงินสดสามารถบอกวงจรชีวิตของบริษัท by P’Chatchai)


11. Big Bath 
หมายถึงเหตุการณ์ที่มีการชำระงบการเงินครั้งใหญ่โดยบริษัททำการบันทึกเอาสิ่งต่างๆที่ไม่ดีโยนมันทิ้งในงบการเงินงวดปัจจุบันซึ่งจะส่งผลทำให้งบการเงินในงวดนี้เกิดการขาดทุนอย่างหนัก แล้วหลังจากนั้นจะมีแต่สิ่งดีๆเข้ามาสู่งบการเงินในงวดต่อไป โดยมักจะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นในช่วงเปลี่ยนผู้บริหารหรือเจ้าของ

(ปล.ผมลองไปหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมทำให้ได้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมกับอีก 1 เรื่อง คือ Cooking Jar Reserve
Cookie Jar Reserve เลือกที่จะ ประมาณการต้นทุนให้สูงในงวดปัจจุบันในรูปของการตั้งสำรองต่างเพื่อจะได้ให้ งวดต่อๆไปมีค่าใช้จ่ายน้อยลง วิธีการนี้จะมีการตั้งสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่งแน่นอนจะทำให้กำไรในงวดที่ตั้งสำรองลดลงทันที จากนั้นอาจมีการดึงการตั้งสำรองกลับในแต่ละงวดเพื่อเพิ่มกำไร
นิยมทำกันคือ
- ประมาณการคืนสินค้า/รับประกัน สินค้า
- ประมาณการตัดหนี้ สูญ
- ประมาณการสินค้า เสื่อมคุณภาพ
- ประมาณการค่าใช้ จ่ายในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- ประมาณการ%ที่งานเสร็จตามสัญญาก่อสร้างระยะยาว

ที่มาจาก http://www.thaivi.com/2010/02/426/ (Creative Accounting 2 Earning Management by P’มนตรี) )


12.การตกแต่งงบการเงิน

12.1การตกแต่งงบกำไรขาดทุน
1.)รับรู้ รายได้เร็วเกินไป
2.)รับรู้ รายได้มากเกินจริง
3.)เพิ่มผลการดำเนินงาน จากรายได้พิเศษ
4.)บันทึก ค่าใช้จ่ายเป็นสินทรัพย์

12.2การตกแต่งงบกระแสเงินสด
1.)บันทึกกระแสเงินรับจากกิจกรรมจัดหาเงิน เป็นกิจกรรมดำเนินงาน
2.)บันทึกกระแสเงินจ่ายจากกิจกรรมดำเนินงาน เป็นกิจกรรมลงทุน
3.)เพิ่มกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน โดยรายได้พิเศษ
4.)เพิ่มกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน โดยการขายสินทรัพย์


13.สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน

13.1 รายงานของผู้สอบบัญชีที่ยาวผิดปกติ มีการเอ่ยถึง ความไม่แน่นอนต่างๆ ที่มีสาระสำคัญมีการออกรายงานที่ช้ากว่าปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้สอบบัญชี 

13.2 การเปลี่ยนแปลงในนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชี ไปสู่นโยบายที่หละหลวมมากขึ้น 

13.3 บัญชีลูกหนี้การค้า หรือรายได้ค้างรับ
-ลูกหนี้การค้า หรือรายได้ค้างรับ ค้างชำระเกินกำหนดค่อนข้างมาก
-บัญชีลูกหนี้การค้า หรือ รายได้ค้างรับ มียอดสูงขึ้น ในขณะที่ยอดขายไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อน
-การพึ่งพิงอยู่กับลูกค้าน้อยราย

13.4 สินค้าคงเหลือ
-สินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดขายไม่เปลี่ยนแปลง
-การเปลี่ยนแปลงวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ

13.5 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด โอนจากสินทรัพย์หมุนเวียนไปเป็น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

13.6 สินทรัพย์ถาวร
-เครื่องจักร และเทคโนโลยีที่ล้าสมัย
-ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงที่สูง
-การคิดค่าเสื่อมราคาที่ต่ำไป
-การเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา
-การขยายระยะเวลาการตัดค่าเสื่อมราคา
-การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากบัญชีเป็นจำนวนมาก

13.7 ประมาณการหนี้สิน แสดงไว้ต่ำเกินไป

13.8 ยอดเงินกู้ยืมระยะสั้นสูงขึ้นอย่างผิดปกติ

13.9 การลดลงในอัตรากำไรขั้นต้น 



ปล.ถ้ามีข้อมูลที่ผมเข้าใจผิดพลาดหรือเรียบเรียงผิดพลาดต้องขออภัยท่านวิทยากรและเพื่อนๆท่านอื่นด้วยครับและรบกวนพี่ๆเพื่อนๆท่านอื่นช่วยแนะนำผมด้วยครับ

ส่วนความรู้ที่ได้เรียนใน Part อื่นๆ จะลองพยายามรวบรวมความรู้มาฝากเพื่อนๆทุกท่านอีกทีในวันหลังครับ

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์นิเวศน์ ,อาจารย์ไพบูลย์, พี่คเชนท์, พี่ฉัตรชัย, พี่พีรยุทธ์, พี่อนุรักษ์ ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนด้วยครับ และขอขอบคุณพี่ๆทีมงานทุกท่านที่ได้เสียสละเวลามาช่วยในงานนี้ทุกท่านครับไม่ว่าจะเป็นพี่ web, พี่หนิง, พี่หลิน,พี่กุ๊ก และพี่ๆท่านอื่น 
รวมไปถึงขอขอบคุณ web thaivi และคณะกรรมการ web thaivi ทุกท่านด้วยครับที่ทำให้เกิดการอบรมหลักสูตรดีๆนี้ขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผมและเพื่อนๆนักลงทุนเป็นจำนวนมาก :bow: 

และยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆนักลงทุนท่านอื่นๆด้วยครับ :D 

earthcu/29 Oct 13