![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
“การประเมินมูลค่าหุ้น” เป็นเครื่องมือที่จะช่วยผู้ลงทุนในการตัดสินใจว่าจะซื้อหรือขายหุ้น ซึ่งเป็นการ เปรียบเทียบระหว่างราคาตลาด ณ ปัจจุบัน กับมูลค่าที่แท้จริงที่ได้จากการประเมิน โดย “ผู้ลงทุนจะตัดสินใจซื้อหรือ ลงทุนในหุ้นใดๆ เมื่อราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ในทางตรงกันข้าม จะตัดสินใจขาย เมื่อราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง” | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรทราบแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหุ้น เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบกับ ราคาตลาด และทำการตัดสินใจว่าจะซื้อหรือขายหุ้นดี ซึ่งในการประเมินมูลค่าหุ้นมีแนวคิดหลักๆ 2 แนวคิด คือ…
| ||||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() |
การหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นภายใต้แนวคิดนี้ เกิดจากความเชื่อที่ว่า… ผู้ลงทุนที่ลงทุนในหุ้นวันนี้ ย่อมคาดหวังผลประโยชน์หรือผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการลงทุนในหุ้น
ดังนั้น ราคาหุ้นที่ผู้ลงทุนยอมจ่ายในวันนี้ จึงเป็นราคาสำหรับสิ่งที่ตนคาดว่าจะได้รับในอนาคต ซึ่งผลตอบแทนภายใต้แนวความคิดนี้ที่ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับก็คือ
“เงินปันผล” แต่กระแสเงินสดดังกล่าวเป็นกระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมูลค่าของเงินในอนาคตย่อมไม่เท่ากับมูลค่าของเงินในปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงต้องเทียบมูลค่าของเงินดังกล่าวให้กลับมาเป็นปัจจุบัน โดยใช้แนวคิด “อัตราคิดลด”
อัตราคิดลด (Discount Rate) เป็นตัวเลขที่ใช้เพื่อแปลงค่าเงินในอนาคตให้
กลับมาเป็นมูลค่า ณ เวลาปัจจุบัน โดยปกติตัวเลขที่ใช้คิดลดสำหรับเงินปันผล ได้แก่ อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนต้องการจากการลงทุนในหุ้นนั้น โดยมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (P0) สามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้ | ![]() | ![]() | ![]() | ||||||||||||||||||||
![]() | ||||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
ภายใต้แนวคิดนี้ มีสมมติฐานที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ บริษัทที่ผู้ลงทุนกำลังจะลงทุนต้องเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ
ต่อไป ไม่มีวันครบกำหนดอายุ (Going Concern) ดังนั้น เงินปันผลที่ผู้ลงทุนคาดว่าจะได้รับ ก็จะได้รับต่อเนื่องไปตราบเท่าที่กิจการนั้นยังคงดำเนินอยู่
อย่างไรก็ตาม การประมาณเงินปันผลในแต่ละปีให้มีความถูกต้องนั้นทำได้ค่อนข้างยาก ในทางปฏิบัติเราจึงมักกำหนดสมมติฐานให้เงินปันผลที่จะได้รับมีจำนวนเท่ากันทุกงวด (Zero Growth Dividend) หรือให้เงินปันผลที่จะได้รับมีการเติบโตเท่ากันทุกๆ ปี (Constant Growth Dividend) ซึ่งสูตรที่ใช้ในการคำนวณก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนี้
| ||||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
ตัวอย่าง หากคาดว่าหุ้น ABC จะจ่ายเงินปันผลงวดละ 1.15 บาท และนาย ก. ต้องการซื้อหุ้นนี้เพื่อลงทุนระยะยาว โดยมีอัตราผลตอบแทนที่ต้องการเท่ากับ 13.4% มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ABC ที่นาย ก. ควรจ่ายเงินซื้อจะเป็นเท่าใด
| ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
นั่นหมายความว่า มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น ABC ในปัจจุบันอยู่ที่ 8.58 บาทต่อหุ้น หากราคาหุ้นในตลาดซื้อขายกัน
อยู่ที่ 8.20 บาท นาย ก. จะตัดสินใจซื้อหุ้น เพราะราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงที่คำนวณได้ ซึ่งเขาคิดว่าเหมาะสมที่จะ ถือครอง และลงทุนในหุ้น ABC
| ||||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
ตัวอย่าง บริษัท XYZ จ่ายเงินปันผลในปีที่ผ่านมาเท่ากับ 2 บาทต่อหุ้น และคาดว่ามีอัตราเติบโตของเงินปันผลจ่าย
เท่ากับ 8% ต่อปีตลอดไป หากนาย ข. ต้องการอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนขั้นต่ำเท่ากับ 10% มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น XYZ ที่นาย ข. ควรจ่ายเงินซื้อจะเป็นเท่าใด | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
จากกรณีตัวอย่างต่างๆ ข้างต้นจะเห็นว่า… การประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้วิธี Dividend Discount Model เป็นวิธีที่สำคัญและสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายกรณี ขึ้นอยู่กับสมมติฐานหรือความเห็นเกี่ยวกับการเติบโตของบริษัท
ในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนต้องใช้วิจารณญาณในการพิจารณา
โมเดลคิดลดเงินปันผล (DDM) เป็นการมองไปในอนาคตที่ยาวไกลมากๆ สมมติฐานของเราจึงควรสะท้อนมุมมองนี้ด้วย เราต้องมองให้ออกว่าในระยะยาวมากๆ เมื่อธุรกิจถึงจุดอิ่มตัวแล้ว กำไรของบริษัทก็คงจะเติบโตได้พอๆ กับเศรษฐกิจโดยรวม (เช่น 3-4%) และอัตราผลตอบแทนคาดหวัง หรือค่า r ก็คงจะสูงกว่าหุ้นกู้ไม่มากนัก (เช่น 8-10%)
ด้วยมุมมองแบบนี้ จะเห็นได้ว่าวิธี DDM เหมาะกับการประเมินหุ้นที่มีผลประกอบการสม่ำเสมอ แต่ถ้าเป็นหุ้นเติบโตอาจจะประเมินได้ไม่แม่นยำนัก ดังนั้น เวลานำไปใช้ อย่าลืมคำนึงถึงข้อจำกัดตรงนี้ด้วย
| ||||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() | ||||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() |
การหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นภายใต้แนวคิดนี้ เกิดจากความเชื่อที่ว่า... ผู้ลงทุนควร
จ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นเป็นกี่เท่าของตัวแปรทางบัญชีต่างๆ เช่น กำไรต่อหุ้น มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ยอดขายต่อหุ้น หรือกระแสเงินสดต่อหุ้น เป็นต้น
ในที่นี้จะขออธิบายเฉพาะตัวแปร “กำไรต่อหุ้น” และ “มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น”เท่านั้น เนื่องจากเป็นตัวแปรที่ผู้ลงทุนนิยมนำมาใช้อ้างอิงในการลงทุนในหุ้นอยู่เป็นประจำ อีกทั้งยังสามารถหาได้ง่ายจากงบการเงินทั่วไป
| ![]() | ![]() | ![]() | ||||||||||||||||||||
![]() | ||||||||||||||||||||||||
อัตราส่วนนี้คำนวณจาก “ราคาตลาดของหุ้น” หารด้วย “กำไรสุทธิต่อหุ้น” โดยหลักการคำนวณอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า... ผู้ลงทุนจะยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นเป็นกี่เท่าของกำไรต่อหุ้น หรือกล่าวโดยสรุป คือ หุ้นตัวนั้นจะใช้เวลากี่ปีที่ผลตอบแทนหรือกำไรที่บริษัททำได้ จะรวมกันเท่ากับเงินทั้งหมดที่ใช้ซื้อหุ้นไป ดังนั้น หุ้นที่มี P/E ต่ำ ย่อมดีกว่าหุ้นที่มี P/E สูงๆ อย่างไม่ต้องสงสัย | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
ตัวอย่าง บริษัท GTO มีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 1.5 บาท โดยราคาตลาดของหุ้น GTO ณ ปัจจุบัน เท่ากับ 20 บาท
ดังนั้น ค่า P/E Ratio ของหุ้น GTO จะเท่ากับ 13.33 เท่า (20 / 1.5)
ผู้ลงทุนสามารถใช้ P/E Ratio ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ โดยนำค่า P/E Ratio ที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับ
ค่า P/E Ratio ที่เป็นมาตรฐานอ้างอิง (Benchmark P/E) เช่น P/E ของบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาด P/E ของบริษัทคู่แข่ง หรือ P/E ของอุตสาหกรรม โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้ | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ||||||||||||||||||||
จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ ซึ่งคำนวณค่า P/E Ratio ได้ 13.33 เท่า สมมติ Benchmark P/E เท่ากับ 10 เท่า
ผู้ลงทุนควรซื้อหรือขายหุ้น GTO?
คำตอบ คือ ผู้ลงทุนไม่ควรซื้อหุ้น GTO เพราะราคาตลาดในปัจจุบันแพงเกินมูลค่าที่แท้จริง หรือในกรณีที่ผู้ลงทุนมีหุ้น GTO อยู่แล้วก็ควรจะขายออกไป
อัตราส่วนนี้คำนวณจาก “ราคาตลาดของหุ้น” หารด้วย “มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น” โดย P/BV จะบอกให้ผู้ลงทุน ทราบว่า… ราคาหุ้น ณ ขณะนั้น สูงเป็นกี่เท่าของมูลค่าทางบัญชีของหุ้นดังกล่าว ดังนั้น ยิ่งเราซื้อหุ้นได้ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมากเท่าไหร่ (P/BV ต่ำ) ก็หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท ซึ่งตามตำราทั่วๆ ไปก็จะบอกว่า P/BV ยิ่งต่ำยิ่งดี | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||||
ตัวอย่าง หากราคาตลาดของหุ้น GTO ณ ปัจจุบัน เท่ากับ 20 บาท ในขณะที่มูลค่าทางบัญชีของหุ้น GTO อยู่ที่
10 บาท ดังนั้น ค่า P/BV Ratio ของหุ้น GTO จะเท่ากับ 2 เท่า (20 / 10)
เช่นเดียวกับการใช้ P/E Ratio นั่นคือ ผู้ลงทุนต้องนำค่า P/BV Ratio ที่คำนวณได้ไปเปรียบเทียบกับค่า P/BV Ratio
ที่เป็นมาตรฐานอ้างอิง (Benchmark P/BV) เช่น P/BV ของบริษัทที่เป็นผู้นำในตลาด P/BV ของบริษัทคู่แข่ง หรือ P/BV ของอุตสาหกรรม โดยมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้ | ![]() | |||||||||||||||||||||||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | |||||||||||||||||||||
กล่าวโดยสรุป ในการตัดสินใจลงทุนซื้อหรือขายหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในระดับมหภาค ข้อมูลในระดับอุตสาหกรรม และข้อมูลของบริษัท แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประกอบในการ“ประเมินมูลค่าหุ้น” ของบริษัท ซึ่งบริษัทที่มีฐานะทางการเงินและมีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีอาจไม่ใช่บริษัทที่
น่าลงทุนเสมอไป ขึ้นอยู่กับ “ราคาหุ้น” ที่ผู้ลงทุนจะเข้าไปลงทุนในแต่ละขณะด้วยว่ามีความเหมาะสมและคุ้มค่าต่อ เงินลงทุนเพียงใด
ดังนั้น “การประเมินมูลค่าหุ้น” จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการหามูลค่าที่แท้จริง (Intrinsic Value) หรือมูลค่าของหุ้นที่ควรจะเป็น ซึ่งจะนำมาเปรียบเทียบกับราคาตลาดของหุ้น (Market Price) เพื่อพิจารณาว่าหุ้นนั้น Overvalue หรือ Undervalue
ถ้าหุ้นนั้น “Overvalue” หมายความว่า ราคาตลาดของหุ้นนั้นสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่ประเมินได้ ในกรณีนี้ ผู้ลงทุน
“ไม่ควรซื้อ” หุ้นนั้น หรือถ้าถือครองหุ้นนั้นอยู่ในมือก็ “ควรขาย” เนื่องจากราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง ในทางตรงกันข้าม ถ้าหุ้นนั้น “Undervalue” หมายความว่า ราคาตลาดของหุ้นนั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นที่ประเมินได้ ในกรณีนี้ผู้ลงทุนก็อาจ “ซื้อ” หุ้นนั้น |