วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

‘วีไอ’ กับ ‘กำไร’ ที่ได้ตั้งแต่ซื้อ



not4sale
โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช
เป็นที่ทราบกันดีว่า หลักของ VI คือ ซื้อกิจการที่ดี มีคุณภาพ ราคาไม่แพง โดยเมื่อเข้าซื้อแล้ว มักไม่มีกำหนดว่าจะขายหุ้นทิ้งเมื่อไร
ด้วยเหตุนี้ VI หลายท่านคงเคยเจอคำถามจากคนทั่วไปคล้ายๆ กันว่า ถ้าไม่ขายหุ้นแล้วจะได้อะไร”  หรือไม่ก็ “ถ้าไม่ขาย แล้วจะกำไรได้อย่างไร”
ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจก่อนว่า คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า “กำไร” ควรอยู่ในรูปของ “เงินสด” เท่านั้น ถ้ายังไม่ได้เงินสดมาไว้ในมือ คือยังไม่ได้กำไร
ความเชื่อที่ว่า จะ realize กำไรได้ก็ต่อเมื่อได้เงินสด เป็นการ  “สร้างข้อจำกัด” ให้กับตัวเองอย่างมาก
ความฝังใจว่า ไม่ขาย = ไม่ได้เงินสด =ไม่ได้กำไร” เป็นเหตุผลหนึ่งซึ่งทำให้ในตลาด เต็มไปด้วย “นักเก็งกำไร” ที่พร้อมจะขายหุ้นเพื่อให้ได้เงินมาเก็บไว้ แล้วเอาไปซื้อหุ้นตัวต่อไป และต่อๆ ไป ไม่มีจบสิ้น 
ต่างจาก VI ที่ ได้กำไรตั้งแต่ตอนซื้อ”
คำกล่าวว่า “ได้กำไรตั้งแต่ตอนซื้อ” หลายท่านคงเคยได้ยินมาก่อนหน้านี้ แต่แท้ที่จริงแล้ว มันหมายความว่าอย่างไรแน่? หรือเป็นเพียงคำพูดเท่ๆ แต่กินไม่ได้?
อธิบายอย่างนี้ครับ .. คนเป็น VI จะ “เก่ง” หรือ “ไม่เก่ง” นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการ “หามูลค่า” เชิงปริมาณ
หากเรามั่นใจว่า กิจการที่เล็งจะซื้อ ขายอยู่ ณ ราคาต่ำกว่ามูลค่าพอสมควร หรือมี Margin of Safety ค่อนข้างมาก เราก็สมควรที่จะเข้าไปซื้อ
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราประเมินแล้วว่า หุ้นของบริษัท A มีมูลค่าแท้จริงอยู่ที่ 8-10 บาท แต่ราคาขณะนั้นอยู่ที่ 6 บาท
เช่นนี้ การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท A จึงแปลว่า เรากำลังเอา สินทรัพย์ มูลค่า บาท” ในรูปของ “เงินสด” ไปแลกกับ สินทรัพย์มูลค่าอย่างน้อย บาท” ในรูปของ “หุ้นบริษัท A” ถูกต้องไหมครับ?
การนำสินทรัพย์มูลค่า บาท ไปเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์มูลค่าอย่างน้อย บาท ทำให้ “ความมั่งคั่ง” หรือ wealth ของเรา เพิ่มขึ้นอย่างน้อย บาท “ทันที”!! 
ซื้อหมื่นหุ้น ก็รวยขึ้นอย่างน้อย หมื่นบาท ซื้อแสนหุ้น ก็รวยขึ้นอย่างน้อย แสนบาท ซื้อล้านหุ้น ก็รวยขึ้นอย่างน้อย ล้านบาท ตั้งแต่ตอนซื้อ!!
นี่แหล่ะครับ คือ “กำไร” … เป็นกำไรจาก “มูลค่า” ที่ไม่ใช่ “เงินสด”
buff-newspaper
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เอง ก็ลงทุนด้วยหลักคิดเช่นนี้ อาทิ ตอนที่เขาเข้าซื้อ ”วอชิงตัน โพสต์” บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่ในปี 1973 
ปู่บัฟฟ์บอกว่า “คุณตลาด” เอา WPC มาขายให้ ด้วยราคาทั้งกิจการเพียง 80 ล้านเหรียญ ทั้งๆ ที่มูลค่าโดยเนื้อแท้ที่ปู่คำนวณได้นั้นสูงถึง 400 ล้านเหรียญ เรียกได้ว่า แค่ “ซื้อ” ก็ได้กำไรอื้อซ่าแล้ว (แต่แกไม่ได้ซื้อทั้งบริษัทนะครับ ซื้อเท่าที่จะหาหุ้นได้)
ที่ทำได้เช่นนี้ เพราะบัฟเฟตต์เป็นคนที่หามูลค่าและอ่านกิจการได้เก่งที่สุดในโลก
อาจกล่าวได้ว่า การ “หามูลค่าหุ้น” เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินความสามารถของ VI  ใครหาเก่ง ก็มีโอกาสได้กำไรเหนาะๆ ตั้งแต่ตอนซื้อ ใครหาไม่เก่ง วัดค่าไม่เป็น ก็ต้องไปอ่านที่คนอื่นเขาเขียนวิเคราะห์ไว้ เหมือนยืมจมูกคนอื่นหายใจ ผิดหรือถูกก็ไม่รู้
(วิธีหามูลค่าหุ้นนั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิธีง่ายๆ หรือวิธีขั้นสูงที่บัฟเฟตต์ใช้อย่าง DCF ซึ่งเราอธิบายไว้แล้วอย่างละเอียดในหนังสือ “ลงทุนอย่าง VI พันธุ์แท้” สนใจลองหาซื้ออ่านกันดูนะครับ)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ท่านที่ยังหามูลค่าไม่เป็นก็ไม่ต้องเสียกำลังใจนะครับ กระซิบนิดหนึ่งว่า ในทางปฏิบัติแล้ว นักลงทุนเก่งๆ เขาไม่ได้ลงทุนตามตัวเลขอย่างเดียวหรอก แต่เขามองกิจการในเชิงคุณภาพประกอบด้วย ซึ่งน่าจะมีน้ำหนักมากกว่าเชิงปริมาณเสียอีก
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างคำว่า “นักเก็งกำไร” กับ “นักลงทุนตัวจริง”
นักเก็งกำไร” มักมุ่งที่จะสร้าง “เงินสด” ส่วน “นักลงทุนตัวจริง” กลับมุ่งที่จะสร้าง “สินทรัพย์” เพื่อให้สินทรัพย์นั้น สร้าง “เงินสด” ให้กับเขา
แม้ว่าเงินสดจะมี “ความวิเศษ” คือการที่มันเป็น “สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน” สามารถเอาไปแลกเป็นอะไรก็ได้ เรียกได้ว่าตัวมันมี “สภาพคล่อง” สูงมาก 
แต่นั่นทำให้ “นักเก็งกำไร” หลงมองเงินสดเป็น “เป้าหมาย” (End) มองว่ามันคือทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าไม่ได้เงินสด ก็ไม่ได้กำไร
ในขณะที่ “นักลงทุนตัวจริง” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “VI พันธุ์แท้” จะมองเงินสดเป็นเพียง “เครื่องมือ” (Mean) เพื่อเอาไปซื้อหุ้นดีๆ อันจะช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ “ยิ่งใหญ่” และ “มั่นคง” กว่า
และเมื่อนั้น เราก็จะมี “เงินสด” ในรูปของ “เงินปันผล” ไว้ใช้ ไม่มีจบสิ้น
การมองข้าม “ผลประโยชน์เล็ก” เพื่อบรรลุ “เป้าหมายใหญ่” นี่เอง คือตัวตัดสินความสำเร็จในการลงทุนครับ!!
———————-
ภาพ วอร์เรน บัฟเฟตต์ จาก   Omaha.com
Credit : Club VI