หลายปีก่อนมีโฆษณาทางทีวีเกี่ยวกับความพิเศษของบัตรเครดิตยี่ห้อหนึ่ง เนื้อเรื่องกล่าวถึง คู่รักกำลังเลือกซื้อแหวนเพชรสำหรับงานแต่งงาน เจ้าของร้านได้ช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างการเลือกแหวนเป็นอย่างดี และดูเหมือนว่าแหวนเพชรทุกวงในร้านจะสวยถูกใจคู่บ่าวสาวไปเสียหมด จนไม่รู้จะเลือกวงไหนดี เพื่อตัดปัญหา ในที่สุดเจ้าบ่าวจึงได้หันไปหาเจ้าของร้านพร้อมกับควักบัตรเครดิตยี่ห้อนั้นออกมาจากกระเป๋าแล้วพูดว่า "ทั้งร้านเนี่ย ขายเท่าไหร่?" และได้บอกกับเจ้าของร้านว่านอกจากจะซื้อแหวนแต่งงานแล้ว เขายังอยากจะซื้อกิจการทั้งหมดด้วย! ที่จริงแล้ว ก่อนจะพาว่าที่เจ้าสาวมาซื้อแหวนเพชรในวันนี้ ว่าที่เจ้าบ่าวได้เคยแอบแวะมาคุยกับเจ้าของร้านและได้ทราบว่า กิจการร้านเพชรดำเนินงานไปได้อย่างดีโดยไม่ต้องมีการลงทุนซื้อที่ดินหรืออาคารเป็นของตนเองเลย (เปิดในศูนย์การค้า) การจัดซื้อสินค้าและบริหารงานก็ใช้เงินทุนหมุนเวียนจากสินเชื่อธนาคารทั้งหมด ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่เปิดกิจการมา สามารถสร้างกำไรเป็นเงินสด ๆ 5 บาทต่อหุ้นเท่า ๆ กันทุกปีไม่ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร จากข้อมูลที่ได้รับทราบมานั้น เขาจึงตัดสินใจขอซื้อกิจการจากเจ้าของเดิมต่อหน้าว่าที่เจ้าสาว เพื่อสร้างความประทับใจให้เธอแบบสุด ๆ โดยตั้งเป้าไว้ในใจด้วยว่าการลงทุนครั้งนี้จะต้องได้ผลตอบแทนเท่ากับดอกเบี้ยทบต้น 25% นอกจากนั้นเมื่อซื้อกิจการแล้วเขาจะไม่เข้าไปยุ่มย่ามกับการบริหารงานของเจ้าของเดิม คือยังคงให้เจ้าของเดิมบริหารงานต่อไปในฐานะผู้บริหารมืออาชีพ และคาดแบบอนุรักษ์นิยมสุด ๆ ว่ากิจการจะทำกำไรเป็นเงินสด ๆ อย่างน้อยเท่ากับที่ทำได้ในปัจจุบันนี้ไปเรื่อย ๆ (ไม่มีการเติบโตของกำไร) สมมุติว่าท่านผู้อ่านเป็นว่าที่เจ้าบ่าวที่จะซื้อร้านเพชรแห่งนี้ ท่านจะยินดีจ่ายเงินซื้อกิจการในราคาเท่าไร? จากเรื่องราวข้างต้น ผมรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นได้ดังนี้
- กิจการทำกำไรเป็นเงินสดหุ้นละ 5 บาท มาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา คาดว่าจะเป็นแบบนี้ไปอีกทุก ๆ ปีในอนาคต
- ว่าที่เจ้าบ่าวต้องการผลตอบแทนจากการลงทุน 25% ทบต้น
คำถามที่ตามมามีอยู่ว่า กำไรที่เป็นเงินสดซึ่งกิจการจะได้มาในอนาคตนั้น มีค่าเท่าไหร่เมื่อคิดเป็นมูลค่าในปัจจุบัน จากพื้นฐานเรื่องดอกเบี้ยทบต้น เรารู้แล้วว่า การแปลงมูลค่าเงินที่เกิดขึ้นในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันเมื่อคาดหวังผลตอบแทนทบต้น 25% ทำได้โดยเอาตัวเลขมหัศจรรย์ 1.25 ไปหารมูลค่าเงินในอนาคต ย้อนกลับมากี่ปีก็หารเท่านั้นครั้ง อนาคตยิ่งไกลมากยิ่งหารมากครั้ง ดังตารางข้างล่าง
ปีที่ใน
อนาคต |
กำไรในอนาคต
(บาทต่อหุ้น) |
จำนวนครั้งที่หารด้วย
1.25 (ทบต้น 25%)
|
กำไรคิดกลับมาเป็น
มูลค่าปัจจุบัน (บาทต่อหุ้น) |
1
|
5
|
1
|
4.00
|
2
|
5
|
2
|
3.20
|
3
|
5
|
3
|
2.56
|
4
|
5
|
4
|
2.05
|
5
|
5
|
5
|
1.64
|
6
|
5
|
6
|
1.31
|
7
|
5
|
7
|
1.05
|
8
|
5
|
8
|
0.84
|
9
|
5
|
9
|
0.67
|
10
|
5
|
10
|
0.54
|
11
|
5
|
11
|
0.43
|
12
|
5
|
12
|
0.34
|
13
|
5
|
13
|
0.27
|
14
|
5
|
14
|
0.22
|
15
|
5
|
15
|
0.18
|
16
|
5
|
16
|
0.14
|
17
|
5
|
17
|
0.11
|
18
|
5
|
18
|
0.09
|
19
|
5
|
19
|
0.07
|
20
|
5
|
20
|
0.06
|
21
|
5
|
21
|
0.05
|
22
|
5
|
22
|
0.04
|
23
|
5
|
23
|
0.03
|
24
|
5
|
24
|
0.02
|
25
|
5
|
25
|
0.02
|
26
|
5
|
26
|
0.02
|
27
|
5
|
27
|
0.01
|
28
|
5
|
28
|
0.01
|
29
|
5
|
29
|
0.01
|
30
|
5
|
30
|
0.01
|
31
|
5
|
31
|
0.00
|
ข้อมูลในตารางแสดงว่า มูลค่าของกำไร 5 บาทต่อหุ้นแต่ละปีในอนาคตเมื่อคิดกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันจะมีค่าน้อยลงเรื่อย ๆ ตามจำนวนปีที่ผ่านไป และในที่สุด กำไร 5 บาทต่อหุ้นที่เกิดขึ้นในปีที่ 31 เป็นต้นไป จะมีค่าเท่ากับศูนย์ในปัจจุบัน ดังนั้นผลรวมของกำไรในอนาคตทั้ง 30 ปี (รวมตัวเลขในช่องขวาสุด) จะมีค่าเท่ากับ 19.98 บาทต่อหุ้นในปัจจุบัน ดังนั้นมูลค่ากิจการร้านเพชรที่เป็นธรรมสำหรับว่าที่เจ้าบ่าวรายนี้คือ 19.98 บาทต่อหุ้น คิดเป็นราคาต่อกำไร หรือ P/E เท่ากับ 19.98 บาท / 5 บาท = 4 เท่า ต่อจากนี้การซื้อขายกิจการจะเกิดขึ้นจริง ๆ ได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของเดิมต้องการขายที่ราคาเท่าไหร่ เป็นที่พอใจทั้งสองฝ่ายหรือไม่
จากตัวอย่างการหามูลค่ากิจการร้านเพชรที่ยกมาอธิบายจะเห็นได้ว่ามูลค่าของกิจการที่หาได้จะขึ้นอยู่กับข้อสมมุติหลายประการ ดังนั้นผู้ที่ทำการประเมินมูลค่ากิจการแต่ละคนก็อาจจะมีข้อสมมุติที่แตกต่างกันไปทำให้ได้มูลค่าของกิจการไม่เท่ากัน ผู้ที่มีประสบการณ์มาก ตั้งข้อสมมุติต่าง ๆ ได้ตรงความเป็นจริงของกิจการมากที่สุด ก็จะทราบมูลค่าของกิจการได้แม่นยำตามความเป็นจริงมากกว่าคนอื่น ๆ ตรงนี้แหละครับที่เป็น "ศิลปะแห่งการลงทุน" ซึ่งมีอยู่ในตัวของเซียนหุ้นระดับตำนานทั้งหลายแต่ขาดหายไปจากเราท่านที่นั่งเขียนนั่งอ่านกันอยู่ ณ ที่นี้ แต่ผมเชื่ออย่างสนิทใจครับว่า ความชำนาญที่ว่านี้สามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้ในตัวเพื่อนนักลงทุนทุกคนครับ
เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูงมากในการหามูลค่ากิจการ ดังนั้นเราจะต้องพิจารณาข้อสมมุติต่าง ๆ ว่ามีผลต่อมูลค่าที่แท้จริงของกิจการอย่างไร ปัจจัยที่ต้องดูได้แก่
- กำไรในอนาคตแต่ละปีของหุ้นที่คาดว่าจะทำได้ แนวโน้มการเติบโต หรือการถดถอยของกำไร ซึ่งไม่จำเป็นต้องคงที่เหมือนในตัวอย่างร้านเพชรที่ยกมาแสดงก็ได้ เช่นกำไรต่อหุ้นอาจเติบโตปีละ 10 % ใน 10 ปีแรก แล้วเติบโตเพียง 1 % หลังจากนั้น เป็นต้น
- อัตราผลตอบแทนการลงทุนที่ต้องการ ถ้าเราต้องการผลตอบแทนสูง ตัวเลขมหัศจรรย์ที่ใช้หารมูลค่าอนาคตมาเป็นปัจจุบันก็จะมากขึ้น ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป มูลค่ากำไรที่คิดเป็นปัจจุบันแล้วจะลดลงอย่างรวดเร็ว ผลรวมของทุกปีในอนาคตจึงได้เป็นมูลค่ากิจการที่น้อยลง (เก็บกินได้สั้นลง) ตารางต่อไปนี้แสดงการเปลี่ยนแปลงมูลค่ากิจการร้านเพชรแห่งนี้ตามสมมุติฐานเดิมของว่าที่เจ้าบ่าว แต่ลองเปลี่ยนอัตราผลตอบแทนทบต้นที่เขาพอใจเป็นค่าต่าง ๆ ซึ่งจะพบว่ามูลค่าของกิจการที่เป็นธรรมสำหรับว่าที่เจ้าบ่าวเป็นไปได้ตั้งแต่ 6.25 บาทต่อหุ้นถ้าเขาพอใจผลตอบแทนการลงทุน 80 % ทบต้น ไปจนถึง 49.95 บาทต่อหุ้นถ้าเขาพอใจผลตอบแทนการลงทุนที่ 10 % ทบต้น ตารางข้างล่างจะทำให้เพื่อนนักลงทุนเห็นภาพได้ดีขึ้น
สรุป
ว่าที่เจ้าบ่าวมีสมมุติฐานว่า กิจการไม่มีสินทรัพย์อื่นใดนอกจากสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนที่ก่อให้เกิดกำไรหุ้นละ 5 บาท ไปทุกปีในอนาคต หากเขาต้องการผลตอบแทนการลงทุนทบต้นในอัตราต่าง ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นดังนี้
ว่าที่เจ้าบ่าวมีสมมุติฐานว่า กิจการไม่มีสินทรัพย์อื่นใดนอกจากสินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนที่ก่อให้เกิดกำไรหุ้นละ 5 บาท ไปทุกปีในอนาคต หากเขาต้องการผลตอบแทนการลงทุนทบต้นในอัตราต่าง ๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นดังนี้
- ผลตอบแทนทบต้น 10% หากลงทุน 72 ปี กำไรรวมเป็นมูลค่าปัจจุบันได้ 49.95 บาท
- ผลตอบแทนทบต้น 20% หากลงทุน 37 ปี กำไรรวมเป็นมูลค่าปัจจุบันได้ 25.00 บาท
- ผลตอบแทนทบต้น 40% หากลงทุน 20 ปี กำไรรวมเป็นมูลค่าปัจจุบันได้ 12.50 บาท
- ผลตอบแทนทบต้น 80% หากลงทุน 11 ปี กำไรรวมเป็นมูลค่าปัจจุบันได้ 6.25 บาท
ในชีวิตจริง เพื่อนนักลงทุนควรใช้ผลตอบแทนที่คาดหวังที่สมเหตุสมผลด้วยกล่าวคือ ถ้าการลงทุนร้านเพชรแห่งนี้ให้ผลตอบแทนทบต้นสูงถึง 25% เจ้าของเดิมคงไม่ยอมขายให้เราเป็นแน่ ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นประจำปี 1986 วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ระบุว่าเขาและหุ้นส่วนใช้ตัวเลข 9 % ในการหามูลค่าของกิจการที่จะเข้าลงทุน ซึ่งผมเดาว่าน่าจะเป็นผลรวมของดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐกับอัตราเงินเฟ้อ หมายความว่าให้ผลตอบแทนที่ได้ัคืนมาเพียงพอที่จะเอาชนะเงินเฟ้อได้และในขณะเดียวกันก็แข่งขันได้กับการลงทุนในตราสารหนี้ของรัฐบาล (ปัจจุบันไม่รู้บัฟเฟตต์ใช้เท่าไร เพราะตัวเลขดังกล่าวเขาบอกไว้ตั้งแต่ปี 1986 แต่น่าจะยังคงใช้ค่าประมาณนี้) ผมตรวจสอบผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่เว็บของ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (thaibma.or.th) พบว่าผลตอบแทนสูงสุดต่ำกว่า 5 % เล็กน้อย และเมื่อดูภาวะเศรษฐกิจจากเว็บของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (bot.or.th) พบว่าเงินเฟ้ออยู่ต่ำกว่า 4 % เล็กน้อย รวมคร่าว ๆ ประมาณ 9 % อย่างที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ใช้พอดีซึ่งในบ้านเราน่าจะใช้ได้เช่นเดียวกันครับ
ที่มา http://thailandstockinvestment.blogspot.com/2011_06_01_archive.html