วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

หลักการของ JESSE LIVER MORE


ขอเปลี่ยนอารมณ์มาคุยเรื่องนักเทรดบ้าง เชื่อว่าแนวเทรดหลายคนคงเคยอ่านตำนวนของ livermore แต่แนวทางพื้นฐานอาจไม่เคยอ่านเลยลองเขียนให้อ่านกัน



นักเทรดหุ้นระดับโลกท่านหนึ่ง ก็คือ JESSE LIVER MORE เห็นว่าหลายๆแนวคิดค่อนข้างน่าสนใจ เลยอยากนำมาเล่าให้เพื่อนๆฟัง แนวคิดที่สำคัญของ JESSE คือ  1. จงรอการ confirm ของตลาดก่อนตัดสินใจ การรอให้ตลาดเลือกข้างอย่างที่คุณคิดแล้วคุณค่อยลงมือ การทำแบบนี้จะเป็นการลดความเสี่ยงของนักเทรดหุ้นได้ เช่นคุณคิดว่า XX เป็นหุ้นที่ดี คุณคิดว่า XX ควรจะมีราคาหุ้นละ 60 บาท ในขณะที่ตอนนั้น XX มีราคาหุ้นละ 40 บาท
ถ้าคุณซื้อ XX ไปที่ 40 บาทและรอให้หุ้นขึ้นไปที่ 60 บาท แบบนี้คือการที่คุณไม่รอให้ตลาด confirm ว่า XX เป็นหุ้นที่น่าสนใจ แต่คุณคิดว่าเดี๋ยวคนในตลาดจะต้องคิดเหมือนคุณ ใครๆก็ต้องมารุมซื้อ XX จน XX ขึ้นไปที่ 60 แต่ปรากฏว่าหลังจากที่คุณซื้อ XX ไปแล้ว 3 เดือน ราคาหุ้นก็ยังอยู่ที่ 40 ต่อไปแทบไม่มีใครเข้ามาซื้อขายเลย แบบนี้เรียกว่าคุณยังไม่ได้รอการ confirm จากตลาด การที่หุ้นจะขึ้นได้ต้องมีคนที่มีเงินเยอะหรือคนส่วนใหญ่ที่คิดว่ามีดีถึงจะมาซื้อหุ้นขึ้นไป แต่การที่คุณคิดของคุณว่าหุ้น XX เป็นหุ้นดี ถ้าคนอื่นในตลาดหุ้นไม่มีใครเห็นด้วยกับคุณเลย ก็เลยไม่มีคนมาซื้อหุ้นต่อจากคุณ ผลก็คือคุณถือหุ้นตัวนี้เท่าไหร่หุ้นก็ไม่ขึ้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า มุมมองของคุณจะไม่มีค่าถ้าไม่มีคนอื่นในตลาดเห็นด้วยกับคุณ ทีนี้แบบไหนถึงเรียกว่าตลาด confirm ก็เช่นหุ้น XX อยู่ที่ 40 บาท แล้วอยู่วันหนึ่งมันขึ้นไปที่ 43 บาท หรือราคาปรับขึ้น 7.5% นี้แสดงว่ามีคนเริ่มสนใจหุ้น XX แล้ว ราคาหุ้นถึงปรับขึ้นไปได้วันเดียวตั้ง 7.5% ทีนี้คุณรอดูต่ออีกวัน XX เปิดมาราคาลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 42.50 (เป็นธรรมดา) ที่หุ้นขึ้นแรงๆวันเดียวแล้วจะมีคนขายทำกำไรออกมา แต่อยู่ๆก็มีคนมากว้านซื้อ XX จนราคาขึ้นไป 44 บาท และมีคนพยายามขายทำกำไร แต่ปรากฏว่าขายยังไงก็ไม่หลุด 44 บาท เพราะพอมีคนโยนซ้ายไปที่ 44 ที่เป็นราคาฝังบิดส์ พอบิดส์ใกล้หมด อยู่ๆมีคนเติมบิดส์ คุณนั่งดูหน้าจออยู่แล้วถึงกับอุทานว่า “โหบิดส์ตลอดเลย โยนยังไงก็ไม่หลุด”  ในตอนนั้นเองคุณเลยตัดสินใจซื้อหุ้น XX ที่ 44 บาท เพราะว่าคุณมองว่าตลาดได้ช่วย  confirm แล้วว่ามีคนสนใจและเห็นค่าของ XX ไม่งั้นใครจะมาซื้อหุ้นที่ขึ้นตั้งเยอะ แถมมีคนรุมขายใส่ หุ้นก็ไม่ลงอีก คุณก็เลยซื้อ XX เข้าไปในตอนนั้น และหลังจากนั้นไม่นานหุ้นก็ขึ้นไปที่ 60 บาท จริงๆแล้วหลังจากที่คุณซื้อตอน 44 หุ้นอาจจะไม่ขึ้นหรืออาจจะขึ้นเลยก็ได้ แต่สิ่งที่คุณทำคือรอให้หุ้นมีการแสดงออกมาก่อนว่ามีคนต้องการมัน และถ้าสุดท้ายหุ้นไปถึงราคา 60 บาทจริง  การที่คุณซื้อแพงขึ้น 4 บาท จาก 40 เป็น 44 แต่คุณถือหุ้นสั้นกว่าเพราะแบบแรกคุณซื้อไปก็ยังไม่มีใครในตลาดเล่นกันเลย กว่าเขาจะมาเล่นกันคุณต้องรอตั้งหลายเดือนมากๆ สมมุติว่าคุณรอ 3 เดือนแล้วหุ้น XX ค่อยขึ้น แต่อีกคนหนึ่งรอให้ตลาด confirm ก่อนว่าหุ้นมีคนสนใจแล้วค่อยซื้อ คุณอาจจะซื้อแพงกว่านิดหน่อย แต่คุณรอแค่เดือนเศษๆเอง หุ้นที่ขึ้นจาก 44 ไป 60 ดังนั้นถ้าเทียบแล้วคุณได้กำไรมากกว่า เพราะคุณถือหุ้นแต่แล้วหุ้นขึ้นเลย แต่อีกคนต้องรอจนรากแทบงอกกว่าหุ้นจะขึ้น ผมคิดว่านักลงทุนแนวเทคนิคและกลุ่มที่นั่งเฝ้าหน้าจอคงนึกถึงอาการที่ผมอธิบายมาได้เป็นอย่างดี (จบเรื่องแรกแล้วนะครับ) มาลองดูปรัชญาการเทรดหุ้นข้อต่อไปของ JESSE กันดีกว่า
แนวคิดข้อต่อมาของ JESSE LIVER MORE  คือเมื่อคุณเจอสัญญาณร้าย อย่าเถียง อย่าถาม ให้หนี ถ้าทุกอย่างโอเคค่อยกลับมาซื้อใหม่ก็ยังได้ เปรียบเหมือนถ้าคุณเดินอยู่บนรางรถไฟ แล้วคุณเห็นลางๆว่าเหมือนกับมีรถไฟกำลังพุ่งมา สิ่งที่คุณควรทำคืออะไร ระหว่างการกระโดดหนีออกจากรางทันที หรือว่ายืนอยู่บนรางต่อเพื่อดูให้แน่ๆว่ารถไฟมาจริงไหม ผมว่าร้อยละร้อยเลือกที่จะกระโดดออกมาจากรางรถไฟ เพราะถ้าคุณรอดูว่ารถไฟมาจริงไหม คุณอาจจะหนีออกจากรางไม่ทัน ผมเคยพูดคุยกับนักลงทุนหลายท่านในตลาดหุ้น พวกเขาบอกว่าเวลามีสัญญาณแปลกๆ เขาหนีก่อนเลย เท่าที่ผมรู้มา เขาก็แทบไม่เคยขาดทุนหนักๆเลย เพราะมีอะไรไม่ชอบมาพากลพี่แกขายทันที  แต่การหนีออกจากตลาดหุ้นนั้นก็ไม่ควรทำบ่อยเกินไปจนเข้าข่ายกระต่ายตื่นตูม เพราะการซื้อๆขายๆ มีต้นทุน ค่า commission และคนร้อยละ 99% ถ้าขายหุ้นออกมาแล้ว และหุ้นที่ขายออกขึ้นต่อแรงๆ จะไม่อยากซื้อหุ้นกลับ และถ้าหุ้นตัวนั้นดีจริง ราคาหุ้นก็อาจจะไปต่ออีกเยอะทำให้ท่านพลาดโอกาสครั้งสำคัญลงไป  ถ้าเปรียบเทียบแล้วกระต่ายตื่นตูมน่าจะเป็นลักษณะ คนเดินอยู่แล้วเห็นนกบินผ่านก็ตกใจแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกว่ากับอีแค่นกจะกลัวไปทำไมซึ่งกรณีนี้แตกต่างจากการเห็นรถไฟลางๆ ซึ่งเราไม่กลัวไม่ได้เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิต  ผมจะลองยกตัวอย่างในตลาดหุ้นจริงๆ เราจะมีหลักการคร่าวๆอย่างไรในการบอกว่า แบบไหนน่าจะเป็นสัญญาณร้าย แบบไหนน่าจะเป็นแค่นกบินผ่าน (ไม่มีอะไรน่ากลัว)  1. .ในแง่ของราคาหุ้นแล้ว หลายคนเวลาหุ้นลงจะเกิดอาการหวั่นใจ แต่เราควรดูว่าหุ้นลงด้วยอาการแบบไหน ถ้าวันก่อนหน้าหุ้นตัวนี้ขึ้นมาประมาณ 10% แล้ววันนั้นหุ้นตัวนี้ราคาย่อลงมา 2 – 3 % แบบนี้ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะการที่หุ้นขึ้นมาวันเดียวแรงๆ ก็มีโอกาสสูงที่วันต่อมาหุ้นจะย่อลงมา เพราะการขึ้นวันเดียว 10% ถือว่าค่อนข้างเยอะพอควร ลงแบบนี้ไม่น่ากลัว เพราะเป็นลักษณะของการ take profit ธรรมดา ถ้าคุณถือหุ้นอยู่แล้วหุ้นขึ้นแรงๆ พออีกวันหนึ่งหุ้นลงเล็กน้อย ถ้าคุณกลัวกับเรื่องแค่นี้ คุณจะรวยหุ้นยากมาก เนื่องจากหุ้นที่จะขึ้นหลายๆเท่าตัวนั้น ระหว่างขึ้นจะต้องมีการปรับฐานตลอด ถ้าคุณแยกไม่ออกว่าอาการแบบไหนเป็นการปรับฐานธรรมดา แบบไหนถือไม่ใช่ปรับฐาน (หุ้นขาลง) คุณก็จะมีปัญหาใหญ่มากกับการเล่นหุ้นทีเดียว ทีนี้การลงของหุ้นที่ความน่ากลัวเป็นอย่างไร การลงที่น่ากลัวจะเป็นการลงแบบอยู่ๆหุ้นลงแรงมากอาจจะ 8 – 10 % และมีวอลุ่มด้วย และอีกวันหุ้นอาจจะเปิดบวกมาประมาณ 2 – 3 % แต่ตอนปิดกลายเป็น 0 % (ไม่บวกไม่ลบ)  อาการแบบนี้ค่อนข้างน่าหวั่นพอสมควร เนื่องจากการที่หุ้นลงแรงระดับ 8 – 10 % แบบมี volume แสดงว่ามีคน bid หุ้นไว้ แต่คนที่ขายหุ้นลงมาเอาหุ้นมาขายเยอะมากทีเดียว และยังขายแบบน่ากลัวด้วย เพราะอยู่ๆทำไมต้องขายหนักขนาดนี้  เขารู้อะไรไม่ดีที่เราไม่รู้หรือเปล่า ถ้าแค่อยากขายทำกำไรจำเป็นต้องขายให้หุ้นร่วงแรงขนาดนี้เลยเหรอ แล้วที่หนักกว่านั้นคืออีกวันต่อมา ทำไมหุ้นไม่ขึ้นกลับมาเลย เปิดบวกเพียงแค่ 2 – 3 %  แต่กลับปิดเสมอตัว  แสดงว่าคนอยากได้หุ้นน้อยมาก เพราะถ้าหุ้นอยู่ในความสนใจของคนหลังจากที่หุ้นลงแรงๆ จะมีคนเข้ามาซื้อหุ้นเพราะเห็นว่าเป็นโอกาสในการซื้อหุ้น ทำให้หุ้นควรกลับขึ้นไปได้แรง แต่ถ้าหลังจากหุ้นลงแรงๆแล้วแทบไม่มีคนซื้อเท่าไหร่เลย หรือที่พูดเป็นภาษาชาวบ้าน ลงแรงแต่ไม่เด้ง แบบนี้ผมคิดว่าเป็นสัญญาณที่ค่อนข้างอันตรายเลย ถ้าหุ้นที่ผมถืออยู่มีตัวไหนที่แสดงอาการแบบนี้  ส่วนใหญ่ผมจะขายออกทันทีเพราะถือแล้วเสียวมาก ถ้าท่านเปิดกราฟราคาหุ้นย้อนหลัง ก็จะเห็นว่าหุ้นที่ลงแรงๆในตอนเริ่ม มักจะมีอาการแบบที่กล่าวมาทั้งนั้น และยังถ้าหุ้นตัวไหนลงแรงในวันที่ตลาดเขียวด้วย แบบนี้สัญญาณร้ายจะยิ่งน่ากลัวมากขึ้นไปอีก
หลักการข้อต่อมาของ JESSE LIVER MORE คือ ให้เราค้นหาผู้นำหรือ follow leader เขาบอกว่านักลงทุนไม่ควรสนใจหุ้นเป็นจำนวนมากตัวเกินไป เพราะว่านักลงทุนไม่น่าที่จะดูแลหรือเข้าใจพฤติกรรมของหุ้นได้มากพอ เขาบอกว่าดูหุ้นน้อยตัวดีกว่า และถ้าหุ้นที่คุณดูอยู่ไม่กี่ตัว คุณยังไม่สามารถทำเงินจากมันๆได้ คุณก็ไม่สามารถทำเงินจากหุ้นตัวอื่นได้หรอก ผมเองเคยอ่านบทสัมภาษณ์ของเซียนหุ้นในประเทศไทยท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าจะเล่นหุ้นให้รวยต้องมีหุ้นในดวงใจ ใครไม่มีหุ้นในดวงใจรวยยาก ผมคิดว่าสิ่งที่เซียนหุ้นท่านนี้พูด จริงๆแล้วก็เหมือนกับที่ JESSE LIVER MORE บอก จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม หลายคนที่รวยหุ้นขึ้นมาจะมีหุ้นที่สร้างเนื้อสร้างตัวให้กับเขาไม่กี่ตัว ทั้งๆที่ทั้งชีวิตเขาเหล่านั้นเคยเล่นหุ้นไม่รู้กี่ตัว ผมลองคิดเหตุผลดูก็คิดว่าไม่น่าแปลกอะไร เพราะว่าหุ้นที่จะขึ้น 5 – 10 คงไม่ได้มีเยอะและมีบ่อยๆที่หลายคนรวยขึ้นมา ก็เพราะว่าไปจับโดนหุ้นเหล่านี้เข้า แล้วถือทนไปขายได้ราคาดีด้วย หรือหลายคนเล่นมาร์จิ้นอีกต่างหากเลยทำให้เงินลงทุนโตเร็วมาก แต่เนื่องจากหุ้นที่จะขึ้นได้ขนาดนั้นมีค่อนข้างน้อยตัวทำให้ชีวิตนักลงทุนเจอหุ้นเหล่านั้นน้อยเมื่อเทียบกับหุ้นทั่วๆไป ดังนั้น หุ้นตัวอื่นนอกจากหุ้นพวกนั้นก็เลยไม่ค่อยสร้างผลกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับผู้ลงทุนเท่าไหร่ โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าถ้านักลงทุนเลือกหุ้นที่ดูแล้วน่าสนใจออกมาได้ประมาณ 3 – 4 ตัวแล้วก็ติดตามหุ้น 3 – 4 ตัวนั้นเป็นพิเศษทั้งในรูปแบบของพื้นฐานและเทคนิคแล้ว น่าจะดีกว่าการตามหุ้นแบบสะเปะสะปะ 30 – 40 ตัว เพราะการที่เราตามหุ้นทีเดียว 30 – 40 ตัวคงเป็นการยากที่เราจะติดตามได้อย่างใกล้ชิด ไม่เคยมีกฎในตลาดหุ้นว่าคนที่จะรวยหุ้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจหุ้นเยอะๆ ต้องรู้จักหุ้นไม่ต่ำกว่า 100 ตัว ถ้านักลงทุน 2 คน ลงทุนในตลาดหุ้น 5 ปี แล้วเงินลงทุนโต 10 เท่าตัวคงไม่มีปัญหาถ้าคนแรกกำไร 10 เท่าจากหุ้นเพียง 2 ตัวในเวลา 5 ปี แต่อีกคนกำไรจากหุ้น 40 ตัว ผมว่าการทำความเข้าใจและติดตามหุ้นไม่กี่ตัวน่าจะเป็นการง่ายกว่าการตั้งเป้าจะรู้จักหุ้นลึกๆ และเยอะตัว
ผมขอทิ้งท้ายคำพูดสั้นๆ ของ JESSE LIVER MORE เอาไว้อีกสัก 2 – 3 คำพูด เขากล่าวว่า “จงอย่าใช้เวลาไปกับการคาดการณ์ว่าหุ้นจะเป็นยังไง แต่จงคิดว่าถ้าหุ้นไปทางไหนคุณจะทำอะไร” และอีกคำพูดหนึ่งคือ “เมื่อคุณค้นพบทางของตัวเอง เล่นบนวิธีของตัวเอง อดทน และเฝ้ามองสัญญาณอันตราย เมื่อนั้นคุณจะพัฒนาความสามารถในการเทรดของตัวคุณเอง”
มีคำกล่าวหนึ่งที่นักเก็งกำไร MARK DOUGLAS ได้กล่าวไว้ซึ่งผมคิดว่าเป็นคำกล่าวที่สุดยอดมาก เขากล่าวว่า “หากว่านักเล่นหุ้นคนใด ไม่สามารถที่จะลบความรู้สึกกระเทือนใจจากการสูญเสียกำไรบางส่วนกลับไปสู่ตลาดแล้วล่ะก็ เขาก็ไม่สามารถเรียกว่านักเล่นหุ้นที่ดีได้ – Mark Douglas” ผมคิดว่าคำกล่าวนี้ค่อนข้างสำคัญมาก ถ้าลองถามว่านักลงทุนที่จะได้กำไรจากหุ้นตัวไหนเยอะๆ ระหว่างทาง นักลงทุนจะต้องเจอกับการแกว่งของราคาหุ้นทั้งนั้น เซียนหุ้นที่ประสบความสำเร็จสูงมากคนหนึ่ง เขาเคยบอกว่าหลักการขายหุ้นของเขาคือ ขายเมื่อ rebound แต่ไม่มี new high  ถ้าให้พูดให้เห็นภาพ ก็คือ สมมุติหุ้นตัวหนึ่งอยู่ราคา 100 บาท ขึ้นไป 120 บาทและร่วงลงมา 114 และอีกไม่นานหุ้นก็ขึ้นเลย 120 บาท อันนี้คือพฤติกรรมหุ้นขาขึ้นเพราะขึ้นแรง ย่อไม่นานมี new high แล้วหุ้นก็ทำรูปแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงราคา 250 บาท พอถึง 250 บาทหุ้นร่วงลงมา 230 แล้วหุ้นขึ้นกลับไปแค่ 242 บาท แล้วลงมาหลุด 230 บาท แบบนี้คือตอนหุ้นลงไป 230 แล้วเด้งกลับขึ้นมา 242 หุ้นไม่สามารถทำ new high ได้ด้วยการทะลุ 250 แต่หุ้นลงมาหลุด 230 แบบนี้ค่อนข้างชัดว่าหุ้นตัวนี้ได้เปลี่ยนพฤติกรรมการเทรดไปแล้ว จากที่ปรับฐานแล้ว new high เปลี่ยนเป็น rebound แต่ไม่มี new high ถามว่าเรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับคำพูดของ MARK DOUGLAS เกี่ยวมากเลยทีเดียว การที่เราจะขายหุ้นให้ได้กำไรเยอะมากๆ ในมุมของนักเทรดหุ้นสาย trend follow เราจะต้องปล่อยให้หุ้นวิ่งให้ไกลที่สุด หุ้นที่แสดงความแข็งแกร่งออกมา เราจะต้องถือหุ้นตราบเท่าที่มันยังเป็นหุ้นแข็งแกร่ง และขายเมื่อหุ้นเริ่มแสดงพฤติกรรมว่า มันเริ่มไม่แข็งแกร่งอีกต่อไป การทำแบบนี้จะทำให้เวลานักลงทุนซื้อหุ้นถูกตัว นักลงทุนจะได้กำไรเยอะมากพอก่อนแล้วค่อยขายหุ้น ต่างจากนักลงทุนที่มองไม่ออกว่าหุ้นที่ตัวเองถืออยู่นั้นกำลังแสดงความแข็งแกร่งออกมาอย่างเห็นได้ชัด การรับขายหุ้นที่แสดงความแข็งแกร่งออกมา อาจทำให้นักลงทุนได้กำไรเพียงแค่ 10 – 15 % ในขณะที่คนที่ถือหุ้นต่อมีโอกาสทำกำไร 100%
หรือมากกว่า แต่คนที่จะใช้แนวคิดแบบนี้จะต้องเข้าใจว่า คุณจะไม่มีทางขายได้จุดสูงสุดเพราะว่าเวลาหุ้นขึ้นแรงๆ คุณจะต้องยังไม่ขาย เนื่องจากหุ้นยังแสดงออกว่ามันแข็งแกร่ง แต่เมื่อหุ้นเริ่มไปไม่ไหวและร่วงลงมา โดยอาการตอนที่หุ้นลงแสดงออกว่ามันไม่แข็งแกร่งเหมือนเดิมแล้ว คุณค่อยขายสั่งวิธีนี้ คุณจะต้องยอมกำไรลดลงบ้าง เพื่อดูว่าหุ้นได้เปลี่ยนพฤติกรรมไปแล้ว แต่โดยรวมแล้วคุณขายหุ้นได้ต่ำกว่าจุดสูงสุดไม่มาก แล้วคุณจะลดอาการขายหมู (ขายเร็วเกินไป) ได้ค่อนข้างมาก การที่คุณเสียใจเมื่อกำไรบางส่วนของคุณลดลงไป จะทำให้คุณอยากขายหุ้นตอนหุ้นขึ้นแรงๆ และทำให้คุณอดที่จะได้กำไรตัวใหญ่ ดังนั้น MARK DOUGLAS ถึงได้พูดว่า นักลงทุนที่ดีต้องไม่เสียใจที่กำไรลดลงมา นักลงทุนควรคิดว่าการที่ยอมกำไรลดบ้างต่างหากที่ทำให้รวยกว่าการพยายามรักษากำไรเอาไว้ทุกบาททุกสตางค์ จริงๆแล้วเรื่องของความแข็งแกร่งนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญของเหล่าเทรดเดอร์เลยทีเดียว  JESSE LIVER MORE เคยกล่าวว่า ถ้ามีคนมาบอกเขาว่าหุ้นตัวไหนน่าสนใจ  สิ่งที่เขาจะทำคือเขาจะยืมหุ้นมาช็อต (ยืมหุ้นคนอื่นมาขายก่อน โดยที่ตัวเองยังไม่มีหุ้น แล้วเดี๋ยวค่อยซื้อหุ้นนำไปคืนคนที่ยืมมา) เขาจะ
ช็อตหุ้นจำนวนมากเพื่อดูว่าหุ้นแข็งแกร่งหรือไม่ ถ้าขายตั้งเยอะแต่หุ้นไม่ลงแสดงว่าหุ้นมีความต้องการมาก JESSE จะปิดช็อต (ซื้อหุ้นคืน) และทำการซื้อหุ้นตัวนั้นทันที เพราะเขาได้ข้อมูลมาแล้วว่าหุ้นตัวนี้แข็งแกร่ง การขาดทุนเพียงไม่กี่ช่อง และค่า commission ถือว่าถูกสำหรับ JESSE เมื่อเทียบกับการทดสอบว่าหุ้นแข้งแกร่งไหม นอกจากนี้นักเทรดที่ทำงานได้สูงมากยังบอกอีกว่า ให้คุณพุ่งความสนใจไปที่ตลาดหุ้นไม่ใช่เงินในพอร์ต ผมคิดว่านี่เป็นคำแนะนำที่ดีมาก การที่คุณมัวแต่สนใจเงินในพอร์ตของคุณ จะทำให้คุณไขว้เขวออกจากสิ่งที่ควรทำในตลาดหุ้น อย่างเช่นถ้าหุ้นที่คุณถืออยู่เริ่มแสดงออกว่าไม่แข็งแกร่งอีกต่อไป แต่ตัวคุณยังรู้สึกว่าอยากได้กำไรมากกว่านี้ อยากให้พอร์ตลงทุนโตกว่านี้ก่อนค่อยขาย ซึ่งนั่นจะทำให้คุณหลงประเด็น ถ้าหุ้นของคุณเริ่มมีสัญญาณอันตราย คุณก็ควรจะขาย ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับว่าเงินในพอร์ตของคุณมีเงินลงทุนเท่าไหร่ ในมุมกลับกัน การที่คุณเพิ่งขาดทุนติดๆกันมา 2 – 3 ครั้ง อาจทำให้คุณกลัวที่จะเสียเงินอีก พอคุณเจอหุ้นน่าซื้อคุณกลับไม่กล้าซื้อ เพราะคุณกลัวว่าจะขาดทุนเพิ่มอีก ทำให้คุณพลาดโอกาสทำเงินไป จะเห็นได้ว่าถ้านักลงทุนทุ่มสมาธิไปที่ตลาดหุ้นแทนที่จะเป็นเรื่องเงินในพอร์ตตัวเอง นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะทำผลงานได้ดีกว่า
Credit http://hongvalue.wordpress.com