วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

หัวข้อสำหรับมือใหม่


ริ่มจากข้อ 1 ก่อนเลยคือ
1.มีความเชื่อบางอย่างอยู่ก่อนและเลือกเชื่อเฉพาะที่อยากฟัง
ผมจะขยายความต่อว่า
เวลาคนเราเข้ามาในตลาดหุ้นส่วนใหญ่จะมีทัศนคติบางอย่างติดตัวมาจากสังคมสิ่งแวดล้อมรอบข้างเช่น
หุ้นที่ปันผลไม่เยอะไม่น่าเล่น,หุ้นพลังงานผันผวนมากเลยต้องเข้าเร็วออกเร็ว,เล่นหุ้นอย่าถือยาว
มีคำกล่าวจากนักเทรดชื่อดังว่า
“อย่า ทิ้งความเห็นใดๆในตลาดหุ้นเพียงเพราะมันไม่ตรงกับสิ่งที่คุณเคยรับรู้เพราะ สิ่งที่คุณเลือกรับรู้และยึดไว้อาจจะเป็นทัศนคติที่ผิดๆแต่แรกและคุณก็จะปัด ทัศนคติของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จออกไปเพียงเพราะว่ามันไม่ตรงกับสิ่ง ที่คุณเลือกเชื่อแต่แรกทำให้คุณมีแต่ทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในการลงทุน”
ผม คิดว่าคนเราเมื่อมีประสบการณ์ลงทุนมากขึ้นความคิดจะค่อยๆเปลี่ยนไปถ้าเรา อยู่ในตลาดหุ้นไม่นานพอเราจะไม่มีทางรู้ว่าสิ่งที่เรายึดเอาไว้จริงๆแล้วผิด หรือถูก จริงๆแล้วคนที่อยู่ในตลาดหุ้นไม่นานมุมมองต่างๆคงมีโอกาศผิดมากกว่าที่จะถูก ดังนั้นจงเปิดใจให้กว้างเข้าไว้ครับ
ในส่วนของการเลือกเฉพาะที่อยาก ฟังมันเปรียบเสมือนการที่เรามีกล่องหนึ่งใบและมีของอยู่ข้างในถ้าอันไหนไม่ ชอบเราก็ไม่เอาใส่กล่องเราก็โยนทิ้งไปสุดท้ายไม่ว่าเราจะพูดคุยกับใครเราก็ ไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นเพราะเราเลือกรับรู้เฉพาะที่เราอยากฟัง
2.ไม่รู้ว่าหุ้นที่ตัวเองเล่นเหมาะกับสไตล์ของตัวเองหรือไม่
จริงๆแล้วหุ้นแต่ละประเภทจะเหมาะกับนักลงทุนในแต่ละแบบที่ไม่เหมือนกัน สิ่งที่เราต้องคำนึงคือเราต้องคิดถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
-เวลา ในการดูหุ้น ส่วนนึงก็คือคุณเป็น full time หรือ part time ถ้าคุณเล่นมาร์จิ้นกับหุ้นที่เหวี่ยงตัวแรงๆแต่คุณกลับไม่มีเวลาเฝ้าหน้าจอ เกิดอะไรผิดพลาดนิดเดียวตอนเย็นพอคุณเลิกงานแล้วมาดูหุ้นคุณอาจเสีย หายมหาศาล
-คุณเป็นอิสระภาพทางการเงินหรือยัง ถ้าคุณเป็นแล้วผมคิดว่าการเสี่ยงมากๆเพื่อให้พอร์ตโตต่อไปคงสำคัญน้อยกว่า การ conservative เพื่อให้คุณรักษาระดับของการเป็นอิสระภาพทางการเงินเอาไว้ ถ้าคุณถึง financial freedom แล้วผมว่าพอร์ตของคุณน่าจะมีหุ้นปันผลที่รายได้ไม่ถดถอยตามวิกฤติเศรษฐกิจ เอาไว้ และมีหุ้นที่น่าจะโตได้ต่อเนื่องหลายปีโดยความเสี่ยงที่รายได้และกำไรจะลดมี น้อย
-เป้าหมายทางการลงทุนของคุณ ถ้าคุณเข้าตลาดหุ้นหลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจแล้วคุณคงต้อง การผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากแบงค์ระดับนึงแต่คงไม่จำเป็นต้องเสี่ยงมากเกิน เหตุไม่งั้นเงินที่ได้มาจากการทำธุรกิจอย่างยากลำบากจะพลอยสูญหายไปด้วย ดังนั้นพวกหุ้น commodity ,turnaround คงไม่เหมาะยกเว้นคุณจะอยู่ในตลาดนานมากพอจนเห็น cycle ต่างๆชัดเจนพอสมควรก็เป็นอีกเรื่อง ในอีกมุมนึงถ้าคุณอายุยังน้อยผมเชื่อว่าเกือบทุกคนต้องการเร่งผลตอบแทนการ ซื้อหุ้นปันผลหรือค่อยๆเติบโตคุณจะอึดอัดมากเวลาเห็นหุ้นตัวอื่นๆขึ้นไป เยอะๆโดยที่คุณไ่ม่ได้มีส่วนร่วม ส่วนใหญ่แล้วจะลงเอยด้วยการเล่นหุ้นอย่างไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่
-นัก ลงทุนมือใหม่ควรเลี่ยงหุ้นที่งบการเงินค่อนข้างซับซ้อนมีการถือหุ้นไขว้กัน ไปกันมาเยอะๆ เพราะการแกะงบถ้าไม่แกะให้ลึกจริงๆอาจจะไม่เห็นภาพที่แท้จริงแต่หุ้นบางตัว ขนาดมืออาชีพยังแกะงบแล้วปวดหัวเลยหุ้นแบบนี้มือใหม่พึงหลึกเลี่ยง
3.ประเมินมูลค่าหุ้นโดยพยายามแก้ใหม่ให้ไม่มากหรือน้อยเกินไป
-หลาย ครั้งบางคนจะไม่มั่นใจกับตัวเลข fair value เช่นถ้าเราใส่ตัวเลขเพื่อทำ dcf แล้วได้ตัวเลขราคาเหมาะสมออกมาเยอะๆ แบบว่าเยอะกว่าราคาตลาดเยอะๆ เราจะคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้สิ่งที่เราทำหลายครั้งคือ การเพิ่ม wacc หรืออัตราคิดลดเมื่อเพิ่ม wacc ก็จะทำให้ตัวเลขที่ discount ออกมาเป็น present value ลดลง ผมว่าบางทีเราอาจจะได้เจอหุ้นหลายเด้งถ้าเราคิดว่าคิดแบบ conservative แล้วเราก็ไม่ต้องไปแก้ตัวเลขกำไร หรือลด pe หรือเพิ่ม wacc ลดเงินสด หรอกครับ
ในมุมกลับกันบางครั้งเราอยากซื้อหุ้นบางตัวเพราะคนรอบ ข้างบอกมาแต่เราคำนวนดูแล้วราคาเหมาะสมก็ใกล้เคียงราคาตลาดนี้นาเราก็ใช้ eps เวอร์ขึ้นหน่อย pe สูงอีกนิดแค่นี้เราก็มีข้ออ้างอย่างชอบธรรมในการซื้อหุ้นแล้ว :P ผมเองก็เคยเป็นครับไอ้แบบนี้พูดได้เต็มปากบางทีเรามีเงินสดเพิ่งขายหุ้นบาง ตัวยังหาหุ้นเ้ข้าไม่ได้เพื่อนเราก็เยอะมีคนหวังดีแนะนำหุ้นมาเต็มไปหมดไอ้ เราก็กลัวตกรถเลยหาข้ออ้างซัดไปงั้นแหละ สรุปดอย

4.เล่นแบบ bet หมดหน้าตักโดยไม่มีจุด stop loss
พอ ดีตอนทำเอกสารนี้สอนมือใหม่มีพูดเรื่อง technical แต่เว็บนี้ห้ามโพสเรื่องนี้ ผมจึงขอ adapt เป็นวิธีการ exit ในแบบของ vi แทนแล้วกันนะครับ
จริงๆแล้วในตลาดหุ้นเนี้ยเป็นเรื่องของอารมณ์ก็ ค่อนข้างเยอะหลายครั้งเราอาจจะมองหุ้นบางตัวดีเกินไป หรือบางทีก็ไม่ได้ดีเกินไปหรอกเรามองถูกแล้วเพียงแต่ว่ามันดันมีปัจจัยอะไร บางอย่างที่ทำให้สิ่งที่เราคิดเอาไว้ไม่ได้ตามที่คิด
เช่นเราคิดว่า บริษัท telecom จะได้ license 3g แน่นอนแต่บางคนที่อยู่มานานเขาก็เห็นว่าข่าวพวกนี้ก็บอกจะทำมาตั้ง 4-5 ปีแล้วแต่ก็ไม่สำเร็จซักทีหุ้นบางทีถูกเล่นขึ้นไปรับข่าวว่าน่าจะได้ license แน่นอน สมมุติว่าได้จริงราคาหุ้นอาจไปต่อได้แต่ถ้าไม่ได้หุ้นคงลงแรงแบบนี้พอประกาศ ว่าไม่ได้แล้วข่าวเงียบไปเลยหุ้นก็ลงแรงมากๆอย่างบางตัวลงจาก peak 40% ภายใจไม่กี่อาทิตย์ก็ยังมีเลยแบบนี้เป็นต้น ถ้าใครอัดหมดแล้วเจอแบบนี้คงแย่
หรือ หุ้นตัวเล็กๆใน mai หลายๆตัวที่เล่นว่าเป็น growth story ต่อเนื่องแต่อยู่ๆก็ประกาศเพิ่มทุนตั้ง 50% ของทุนที่มีอยู่จาก 200 ล้านหุ้นเป็น 300 ล้านหุ้น คนที่เล่นก่อนหน้านี้คงไม่มีใครรู้ว่าบริษัทจะเพิ่มทุนมากขนาดนี้ แน่นอนอยู่แล้วตลาดหุ้นมีความไม่แน่นอนตลอดเวลา แต่ถ้าคุณอัดหุ้นตัวนี้เต็มพอร์ตตัวเดียวแล้วเจอแบบนี้คงจุกมากทีเดียว
ข้อ แนะนำของผมคือถ้าคุณจะเล่นตัวเดียวหนักๆคุณควรซื้อถัวเฉลี่ยขาขึ้นจะเหมาะ กว่าซื้อเฉลี่ยขาลง(สำหรับมือใหม่)เหตุผลคืออะไรนะเหรอ เพราะถ้าคุณยังไม่สามารถวิเคราะห์หุ้นได้แตกฉานมากนัก แถมยังชอบอัดไม่กี่ตัวเต็มพอร์ต การซื้อถัวเฉลี่ยขาขึ้นจะช่วยรับมือกับความไม่แน่นอนของตลาดได้อย่าง กรณีบริษัทที่ประกาศเพิ่มทุนที่ว่านี้ สมมุติว่าคุณประเมินราคาที่เหมาะสมใน 3 ปีก่อน (ขอเน้นว่า 3 ปีก่อนไม่ใช่ปัจจุบันผมไม่ได้ใบ้หุ้นนะครับ กรุณาอ่านดีๆ) 18 บาทกรณีที่บริษัทไม่ได้เพิ่มทุนหรือเพิ่มก็ซักไม่เกิน 10% ของทุนเดิม ถ้าคุณถัวเฉลี่ยขาขึ้นอย่างเช่นแบ่งเป็น 3 ไม้จะเอา 100000 หุ้นก็ใช้แบบฐานล่างเยอะสุดก็คือซื้อ
40000หุ้นถ้าขึ้นซัก 5% ก็ซื้อเพิ่มอีกซัก 30000 หุ้นถ้าขึ้นอีกซัก 10% ก็ค่อยซื้อเพิ่มอีกเป็นต้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นจะมี 2 แบบ
1.ถ้า คุณซื้อยังไม่ครบแล้วบริษัทประกาศเพิ่มทุนมากแบบ surprise คุณจะเจ็บตัวน้อยเพราะจำนวนหุ้นไม่ได้เยอะมากอย่างที่ตั้งใจจะซื้อและเมื่อ คุณเห็นว่าราคาเหมาะสมน่าจะต่ำกว่าที่คุณเคยคิดคุณก็ขายหุ้นที่ซื้อออกไปนี้ ออกมาซะ
2.ถ้าคุณซื้อครบนั้นแสดงว่าคุณต้องมีกำไรแล้วถูกไหมเพราะถ้า ไม่กำไรไม้สองกับสามจะไม่ตามมาดังนั้น ถ้าซื้อครบแล้วค่อยเจอข่าวร้ายแบบ surprise หุ้นอาจแค่ลงมาถึงทุนของคุณเท่านั้นเอง
วิธีที่ผมว่ามานี้ อาจดูยุ่งยากแต่มันอาจจะช่วยมือใหม่ที่ชอบอัดหุ้นหนักๆไม่กี่ตัวแล้วยัง วิเคราะห์หุ้นได้ไม่ลึกซึ้งมากในการเอาตัวรอดจากความไม่แน่นอนของตลาดได้
ส่วน คนที่มั่นใจในการวิเคราะห์ของตัวเองว่าถูกแน่นอนก็อาจจะซัดไม้เดียวหมดหรือ ซื้อถัวขาลงก็แล้วแต่เพราะถ้าท่านวิเคราะห์ได้ขาดจริงๆแล้วหุ้นลงเพราะตลาด ไม่มีประสิิืทธิภาพสุดท้ายหุ้นท่านก็จะกลับมาได้ แต่สำหรับผมส่วนตัวผมไม่กล้าซื้อถัวขาลง แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าวิธีนี้ดีหรือไม่ดีนะ
5.ไม่คิดก่อนว่าถ้าราคาขึ้นหรือลงไปเท่าไหร่จะทำอย่างไร
ข้อนี้จริงๆแล้วในเอกสารทำขึ้นมาเพื่อพูดเรื่องเทคนิคแต่ผมคิดว่ามันสามารถประยุกต์มาพูดแบบ vi ด้วยได้เช่นกัน
ขอ นี้ผมขออนุญาติพูดถึงการบริหารพอร์ตที่พี่ yoyo เคยโพสไว้เรื่องการทำ excel เรื่องราคาเป้าหมายของหุ้นแล้วคอยปรับให้พอร์ต undervalue อยู่ตลอดเวลา ถ้าใครเคยอ่านของพี่ yoyo แล้วก็ขอโทษที่ฉายหนังซ้ำ :oops:
สำหรับ คนที่มีหุ้นหลายตัวในพอร์ตการทำให้พอร์ตมีหุ้นที่รวมๆแล้วค่อนข้าง undervalue อยู่ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่เราใช้ประโยชน์จากความไม่มีประสิทธิภาพของตลาดได้ เช่นหุ้น
a เราคิดว่า upside 30%
ิb ก็คิดว่า 30%
เราก็ควรคิด ไว้ก่อนว่าถ้า a ขึ้นมาที่ x บาท a จะเหลือ upside แค่10% ถ้าตอนนั้น b ยังไม่ึขึ้นเราจะขาย a เพื่อไปซื้อ b เพิ่มที่นี้พอร์ตของเราโดยรวมก็จะยัง undervalue (ในสายตาเรา)โดยที่เราได้ take profit หุ้น a ออกมาแล้วด้วยแต่พอร์ตก็ยัง undervalue เจ๋งไหม ถ้าเจ๋งก็ตรบมือให้พี่ yoyo ครับ
ถามว่าเรื่องบริหารพอร์ตแบบนี้มันเกี่ยวอะไรกับหัวข้อที่ผมพูดครับ เกี่ยวตรงที่ว่าถ้าท่านไม่ได้คิดแบบนี้ล่วงหน้าไว้ก่อนเวลาหุ้น a ขึ้นไปท่านก็ไม่ได้ขาย ท่านก็คิดว่า เย้ หุ้นตรูเขียวแล้วขอให้พรุ่งนี้เขียวอีกนะ นะ นะ นะ สรุปก็ไม่ได้ปรับพอร์ตอะไรแบบนี้เป็นต้น
ที่นี้ถ้าคนที่มีหุ้น ตัวเดียวล่ะแบบว่าชอบอัดตัวเดียวล่ะทำไงก็ใช้วิธีแบบที่พี่ picatos เพิ่งโพสเร็วๆนี้ก็คือว่าถ้าปีหน้าคุณมองว่าหุ้นจะทำกำไรได้ระหว่าง(ตัวเลข make ลอยๆนะไม่เกี่ยวกับหุ้นตัวไหนเลย)
1-1.4 pe ต่ำสุดน่าจะได้ซัก8 สูงสุดซัก 12
ถ้าราคาหุ้นถึงโซน 8 บาทคุณอาจจะเริ่มลดลงซัก 15-20%
แต่ถ้าถึงโซน 16.8 (1.4×12) คุณก็ขายที่ยังเหลือให้หมด
สิ่งที่คุณควรทำคือตั้ง alert ในมือถือหรือบอกมาร์เก็ตติ้งว่าถ้าราคาเท่านั้นเท่านี้ให้โทรมาบอกหน่อยจะขายเท่านุ่นเท่านี้ก็ว่ากันไป
ส่วน ถ้าคุณถามว่าแล้วถ้าอัดตัวเดียวแล้วมันตกเลยล่ะทำไงก็จะกลับไปข้อที่ 4 ที่ผมโพสเมื่อกี้ว่าถ้าคุณมือใหม่ก็ซื้อถัวขาขึ้น ถ้ามือเก่าก็แล้วแต่คุณเลย
แบบนี้เป็นต้น
6.เหตุผลที่ใช้ซื้อกับขายคนละเหตุผล
เช่น ซื้อหุ้นแบบ nav เพราะประเมิณว่ามีสินทรัพย์มากและน่าจะ unlock แต่ปรากฏว่าพอไม่ unlock ก็หันมาบอกว่า แต่หุ้นเขาก็ยังดีนะปีหน้าน่าจะเริ่มปันผลได้แล้วนะ แถมปีนี้ยอดขายโตตั้ง 5% สุดยอดเลยนะตัวเอง บริษัทที่ปีหน้า(คาดว่าจะปันผลได้)กับยอดขายโตขนาดนี้หาไม่ได้อีกแล้วนะ เรื่องประมาณนี้พอเคยเจอกับตัวจริงๆนะครับ คือถ้าตอนคุณซื้อคุณคิดว่าราคาจะขึ้นเพราะอะไรแต่พอเรื่องนั้นมันไม่เกิด ขึ้นแล้วคุณก็หันไปพูดประเด็นอื่นแทนก็เข้าข่ายนี้ครับ
ข้อ 7 ก็คือนักลงทุนที่ดูงบส่วนใหญ่ชอบจะดูบรรทัดสุดท้ายแต่ผมว่าแนวคิดแบบนี้ไม่ปลอดภัยผมจะให้ดูอะไรบางอย่าง

งงไหม บริษัทอะไรค่าเสื่อมลดลงตั้งเกือบครึ่งแนะไม่มีสินทรัพย์ไว้ดำเนินธุรกิจ แล้วหรืออย่างไร บางคนอ่านแล้วก็ผ่านไปไม่ได้สังเกตุอะไรไปสนตรงที่กำไรมันโตเยอะ แต่จริงๆแล้วถ้าเขาได้กำไรเท่าไหร่คุณจะหักกำไรของเขาออกด้วยตัวเลข 43 ล้านตัวเลขนี้มาจากไหนก็มาจากรูปนี้

ก็คือจริงๆแล้วมีการใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ซึ่งทำให้ค่าเสื่อมลดลง(คิดว่าอายุ การใช้งานนานขึ้นค่าเสื่อมต่อปีก็เลยลดลง)ซึ่งค่าเสื่อมลดทำให้กำไรเพิ่ม ขึ้นแต่ถ้าเราเทียบกับปี 2552 ซึ่งไม่ได้ใช้เกณฑ์แบบนี้ตัวเลขที่ได้จะไม่สามารถเทียบกันได้ตรงๆเราเลยต้อง ปรับเล็กน้อย

เนื้อหา่ส่วนสุดท้าย
การจะคัดเลือกหุ้นว่าเป็น super stock หรือหุ้นเกรดไหนนั้นส่วนนึงที่เราจะนำมาใช้ก็คือเกณฑ์สามตัวนี้ครับ
(แนวคิดดั้งเดิมของพี่ invisible hand นะครับ)
1.market growth
2.market share
3.net margin
บริษัทที่ระดับโคตรเทพจะมีครบหมดแต่จริงๆแล้วผมว่าแค่สองก็เยี่ยมแล้วล่ะ
ผม ยกตัวอย่างถ้านักลงทุนมือใหม่เห็นบริษัทแห่งนึงมี pe ที่แพงเช่น 15-20 เท่าแล้วจะบอกว่านั้นเป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุนแบบนี้ก็อาจจะตกรถได้
กรณี หุ้น cpall นั้น ผมคิดว่าเขาเป็นหุ้น market growth เพิ่มและ net margin เพิ่มส่วน market share คงจะเพิ่มได้เล็กน้อย(อันนี้ท่านไหนไม่เห็นด้วยก็เชิญมา discuss กันนะครับ) ผมเองเคยซื้อ cpall ในสมัยก่อนตอนประมาณ 8 บาทแต่ขายหมูไปนานมากแล้วถ้าถามผมว่าทำไมบริษัทนี้ตอน 8-10 บาท อาจารย์นิเวศน์ถึงลงทุน ผมว่าหลายๆคนที่เคยไปฟังในงาน meeting ปี 2007 คงได้ยินเหตุผลกันหมดครับ แต่นี้ปี 2011 ลองฉายหนังซ้ำให้มือใหม่คงจะดีครับ
ตอน นั้นเนี้ย cpall น่าจะมีสาขาประมาณ 4000 กว่าๆซึ่งเขาจะขยายปีละ 500 สาขาซึ่งถ้าเทียบกับต่างประเทศเช่นญี่ปุ่นแล้ว cpall น่าจะขยายสาขาไปได้อีกหลายปีจนสาขาเกือบๆ 1 หมื่น ถึงตอนนั้นอาจจะเริ่มตันๆแต่เราคงเห็นแนวโน้มว่ามันโตได้หลายปี ถ้าผมจำไม่ผิด d.r. นิเวศน์ เคยบอกว่า cpall ช่วงนั้นมีการบริหารจัดการที่ดีขึ้นมากและเขาสังเกตุว่ามีคนเข้าร้านมากขึ้น เรื่อยๆ และ cpall เองเนี้ยถึงแม้จะมีการขยายสาขามากมายแต่ sss หรือ same store sale growth ก็ยังมีซึ่งนั้นเป็นการสะท้อนว่าตลาดไม่ได้ตันบริษัทไม่ได้เอาแต่ขยายสาขา แล้วไม่สร้างมูลค่า
หรืออย่างกรณี bgh ผมคิดว่าก็เป็นหุ้นคล้ายกับ cpall ก็คือ market growth ,net margin เพิ่ม ผมไม่ได้ตาม bgh ละเอียดมากแต่สมัยก่อนจำได้ว่าเขาเอาแต่ take over แล้วก็ d/e ค่อนข้างสูง แต่พี่ ih เคยเล่าว่า health care cost/ gdp ต่อหัวของประเทศเจริญแ้ล้วถือว่าสูงกว่าของไทยมาก และแบรนของ bh bgh ก็เป็นระดับโลก ถ้าผมจำไม่ผิด bh เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเมืองไทยที่ได้ใบอนุญาติอะไรซักอย่างเนี้ยแหละ ซึ่งทำให้ถือว่าเป็นแบรน go inter และตอนหลังๆ bgh ก็ได้ใบที่่ว่านี้ด้วย และเมื่อถึงจุดนึง margin ของ bgh ก็กระโดดขึ้นมา อะไรทำนองนี้ผมว่าอย่าง bgh cpall เราคงไม่สามารถมองด้วยมุมธรรมดาได้ส่วนนึงเราอาจต้องมองว่ากลุ่มที่เล่นหุ้น พวกนี้ไม่ใช่รายย่อยแต่เป็นกองทุนกับต่างชาติซึ่งเขาคงไม่มองแบบเราเขาคงมอง เทียบกับราคาของภูมิภาคเป็นต้น
หรือถ้ายกตัวอย่างหุ้นมือถือในอดีต อย่าง advanc สมัยก่อนที่จะมี structural change ที่ทำให้คนเข้าถึงมือถือได้มากเพราะมีการปลดล็อค อีมี่ ราคาของมือถือลดลงมากและกลุ่มรากหญ้าและวัยรุ่นสามารถเข้าถึงมือถือได้ในตอน นั้น advanc ถือเป็นหุ้น super high market growth ,high market share,improve net margin ซึ่งกำไรของบริษัทก็ขึ้นเร็วมากๆจนเริ่มอิ่มตัวตามยอด penetration rate แบบนี้เป็นต้น ถ้าเราดูจะเห็นว่าราคาหุ้นของ advanc ไม่ไปไหนมานานแล้วตามความเห็นของผมคือ market มันไม่ค่อยโตแล้วทุกวันนี้ใครๆก็ใช้มือถือหมดแล้ว market share ก็สูงแล้วแต่เริ่มโดนคู่แข่งพยายามแย่งแชร์
ประเด็นของ high market growth นั้นถือเป็นเรื่องดีมากเพราะเมื่อ market growth โตทุกคนก็ enjoy ไม่จำเป็นต้องหันมาฟาดฟันกันเองแต่เมื่อ market เริ่มไม่โตคนอยากโตก็ต้องแย่งแชร์เพิ่มก็หันมาอัดกันเอง ถ้าจำได้มีอยู่ช่วงนึงมีการลดค่าโทรเหลือนาทีละ 0.25 ด้วยซ้ำประมาณ 4-5 ปีก่อนซึ่งถ้า market growth เราคงไม่ค่อยเห็นภาพแบบนี้ดังนั้นท่านต้องดูว่าหุ้นที่ถืออยู่นั้นเป็นหุ้น ที่ market growth ไหมถ้ายัง growth แล้ว improve net margin ได้อันนั้นเป็นหุ้นที่น่าลงทุนถ้าราคาไม่แพงเวอร์เกินไป
อย่าง หุ้นอสังหริมทรัพย์เราอาจต้องลองคิดดูว่าดอกเบี้ยประกาศขึ้นเรื่อยๆแบบนี้ market จะ growth ได้ไหม ถ้าได้ตัวไหนน่าจะมี margin ที่ดีขึ้นหรือรักษาระดับได้บ้าง หรือตัวไหนเริ่มมีการเจาะตลาดใหม่ๆที่จะเพิ่มแชร์ได้บ้าง แบบนี้เป็นต้น ถ้าเราต้องการไปประยุกต์ใช้ ผมเองก็ไม่ได้ตามหุ้นกลุ่มนี้มานานแล้วไม่แน่ใจเหมือนกัน
อย่าง cawow เนี้ยผมว่าถ้าจำกันได้เข้าเมืองไทยแรกๆนี้ดูเทพนะ ดูเหมือนว่าแบรนมีระดับมากจำได้ว่าผู้บริหารเคยบอกว่่าในประเทศอื่นๆค่าใช้ จ่ายทาง fitness จะสูงกว่าในเมืองไทยตอนนั้นมากแล้วเป็นไงตอนนี้ดูไม่จืด ผมว่าถึงคนจะเล่นฟิตเนสมากขึ้นจริงก็เถอะแต่การที่บริษัทใช้แบบ ขายตลอดชีิวิต ผมว่าหุ้นมันก็ไม่น่าลงทุนเพราะว่ามันบันทึกรายได้เข้าไปเลยแล้วปีอื่นๆล่ะ เราต้องมีภาระการใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากค่าเสื่อมของอุปกรณ์ต่างๆที่ลูกค้่าคน เก่าๆมาเล่นแล้วเสียหายเหรอ แล้วเงินใหม่ๆที่เข้ามาล่ะ อะไรแบบนี้ ผมว่าบางทีไอ้ market ที่ดูเหมือนจะ growth แต่ถ้าบริหารไม่ถูกที่ควรจะทำจะเป็นหุ้นมันก็ไม่ดีหรอก
ดังนั้นจะดี กว่าถ้า high market growth,good management ไม่ใช่ high market growth ,bad management ซึ่งผมว่าบริหารดีไหมเนี้ยก็คงติดตามไม่ยากจากตัวเลข sg&a ,margin เป็นต้น
อีกเรื่องนึงที่พี่ ih เคยพูดไว้คือ
1.low operating risk can have high financial risk
2.high business risk should have low financial risk
หลาย คนที่เป็นมือใหม่อาจจะวิเคราะห์หุ้นโดยงบการเงินเป็นสำคัญแต่ว่าจริงๆแล้ว มันก็มีบางอย่างที่เราต้องเจาะจงลงไปเพิ่มในตัวรายละเอียดเช่น
ถ้า เป็นบริษัทอสังหริมทรัพย์แต่ละตัวก็จะมี operating risk ที่แตกต่างกันเช่นหุ้น ps lpn ที่เจาะตลาดล่างซึ่งเป็น real demand ของคนที่ต้องการบ้านก็คงจะมี operating risk ที่ไม่สูงมากถ้าเทียบกับตลาดบนที่เวลาเศรษฐกิจไม่ดีก็ชะลอกำลังซื้อได้ มากกว่าเช่นพวก lh qh แต่ยกเว้นบนแบบโคตรๆเช่น sc ที่ปี 2008 ยอดขายก็ไม่ drop อันนั้นผมว่าคือมันกลุ่มรวยเวอร์จนไม่ได้แคร์อะไรอยู๋แล้ว
ดัง นั้นถ้าเรามองแบบนี้หุ้นแต่ละตัวอาจจะสามารถมี balance sheet ที่ไม่เหมือนกันเพราะตัวที่คงทนต่อการตกต่ำของเศรษฐกิจได้มากกว่าก็สามารถ ที่จะมี financial risk ได้สูงกว่า สามารถมีได้ไม่ได้หมายถึงว่าควรมีนะครับ
และ นอกจากนี้การวิเคราห์ ยังสามารถมองไปที่เรื่องของ account recievable ได้ด้วยเช่นหุ้นสองตัวขายของคล้ายๆกันตัวนี้ขายเงินสด ตัวนึงขายเงินเชื่อ เมื่อเศรษฐกิจดีก็ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาแต่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำยอดขายลดจะทำ ให้หุ้นที่รับเงินเชื่อเริ่มมีปัญหาหนี้เสียซึ่งมันก็ดูเป็น high operating risk
ส่วนหุ้นที่มี low operating risk น่าจะอยู่ในหุ้นแบบที่มี market growth และขายสินค้าที่ไม่ sensitive ต่อภาวะเศรษฐกิจรับไม่ขายเชื่อ มากเกินไป หุ้นพวกนี้ถ้าจะมี d/e สูงขึ้นมาหน่อยก็คงจะไม่เสียหายอะไร เช่นค้าปลีก หรือโรงพบาบาล บางตัว
ถ้าบางบริษัทที่อยู่ใน market growth ที่ดีและไม่ค่อยขายเชื่อแต่มีลูกค้าน้อยรายมีการพึ่งพิงรายได้หลักๆจากไม่ กี่เจ้า แบบนี้ผมว่าก็เป็น high operating risk เหมือนกันเพราะไม่รู้ระเบิดเวลาจะออกมาเมื่อไหร่สมัยก่อนก็มีหุ้นบางตัวที่ เจอปัญหาแบบนี้มาแล้ว
ที่นี้พูดถึงเรื่องการใช้มาร์จิ้น จริงๆแล้วผมก็ไม่ได้แนะนำให้ใครใช้มาร์จิ้นแต่ว่าถ้าอยากใช้จริงๆก็ควรใช้ กับหุ้น low operating risk เพราะการที่เรา leverage เข้าไปจะช่วยให้ return สูงขึ้นได้ ถึงแม้ความเสี่ยงจะสูงขึ้นด้วย แต่ก็ยังดีกว่าที่เราไปใช้มาร์จิ้นกับหุ้น high operating risk เพราะถ้าเกิดผิดพลาดอะไรขึ้นมานั้นหมายความว่าเราอาจจะเสียหายหนักมากๆ เพราะชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า high operating risk แล้วเรายังจะไป leverage มันเพิ่มเข้าไปอีกทำไม
เออ ประมาณไปล่ะกันเน้อไม่รู้จะเขียนอะไรแล้ว เห็นมีคนมาบอกว่าชอบๆๆๆ ผมก็มาเขียนให้เพิ่มอีกแต่ตอนนี้สงสัยจะหมดมุขจริงๆแล้ว
Credit http://hongvalue.wordpress.com