อายุเพียง 25 ปี ‘ฮง’ เด็กหนุ่มที่พ่อแม่ค้าเสื้อยืดย่านพระราม 2 เล่นหุ้นตั้งแต่เรียนปี 1 ‘ม.กรุงเทพ’ ปั่นเงินจาก ‘หลักแสน’ เพิ่มเป็น ‘หลายสิบล้าน’ ภายใน 7 ปี..ฝันอีก ‘สิบปี’ พอร์ตแตะ 300 ล้านบาท
“ฮง” สถาพร งามเรืองพงศ์ ชื่อนี้แทบไม่เป็นที่รู้จักในวงการตลาดหุ้น แต่ถ้าเอ่ยนามแฝง “ฮงแวลู” (Hongvalue) เซียนหุ้น “วัยรุ่น” รายนี้เป็นที่รู้จักอย่างดีในเว็บบอร์ด Thaivi.com ที่วันนี้เริ่มอัพเกรดตัวเองไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องหุ้นให้กับนักลงทุนกลุ่มเล็กๆ หลังชีวิตการลงทุนตลอด 7 ปีประสบความสำเร็จอย่างงดงามมีพอร์ตลงทุน “หลายสิบล้านบาท”
ตี๋หนุ่มวัยเพียง 25 ปีรายนี้เลือกเดินในอาชีพ “นักเล่นหุ้น” อย่างแน่วแน่ และกำลัง “ป็อปปูล่า” วัดความดังได้จากงานสัมมนาเล็กๆ ที่ฮงและก๊วนเพื่อนร่วมกันแชร์ประสบการณ์ในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ (ซับไพร์ม) ปี 2551 ที่เขาได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงถึง 10 เท่าตัวหากรู้จักเลือกลงทุนหุ้นพื้นฐาน เปิดให้จองที่นั่งเข้าฟังบรรยายเพียงไม่กี่ชั่วโมงมีนักลงทุนรายเล็กรายใหญ่ แห่จองกันเต็ม 230 ที่นั่ง
หลังจบงานสัมมนามีคนตามทวิตเตอร์ของ Hongvalue เพิ่มขึ้นกว่า 100 คน เขายกตัวอย่างหุ้นที่เคยทำเงินเข้ากระเป๋าได้อย่าง “มหาศาล” ในช่วงหลังวิกฤติปี 2551 นั่นคือ หุ้นเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) และหุ้นโพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) (PTL) รวมถึงหุ้นอีกหลายตัวที่ทะยานขึ้นอย่างมาก
ตี๋หนุ่มคุยว่าพอร์ตลงทุนของตัวเองเติบโตก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และเริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวง Value Investor มากขึ้นหลังสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี ขณะเดียวกันถ้าวัดตั้งแต่เริ่มลงทุนปี 2547-2553 ภายในระยะเวลา 7 ปี พอร์ตลงทุนขยายตัวประมาณ 40-50 เท่า
“ฮง” เซียนหุ้นอัจฉริยะรายนี้เป็นลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 3 คน เขาเล่าว่า พี่ชายคนโตปัจจุบันอายุ 33 ปีคนนี้ก็เล่นหุ้นเหมือนกันแต่มูลค่าพอร์ตลงทุนยังไม่ใหญ่ประมาณ 3 ล้านบาท พี่ชายจะเน้นดูเทคนิเคิลมากกว่าปัจจัยพื้นฐาน ส่วนพี่สาวคนรองอายุ 29 ปี เรียนจบแพทย์ ปัจจุบันเดินทางไปศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง สาขาช่องท้อง ที่สหรัฐอเมริกา
ฮงกล่าว่าครอบครัวไม่ได้ร่ำรวยมีฐานะพอกินพอใช้ พ่อแม่ทำธุรกิจผลิตเสื้อยืดขายย่านถนนพระราม 2 มานานกว่า 20 ปี เพิ่งเลิกทำไปเมื่อต้นปี 2554 นี้เอง และหันไปปลูกต้นลีลาวดีขาย ชื่อว่า “สวนลีลาวดีภิรมย์” บนเนื้อที่ 33 ไร่ ย่านบางขุนเทียน
ประสบการณ์เล่นหุ้นครั้งแรกของฮงต้อง “แอบพ่อ” ที่ไม่อยากให้ลูกชายเข้าไปข้องแวะกับตลาดหุ้น โดยเริ่มลงทุนครั้งแรกในชีวิตเมื่อปลายปี 2547 ช่วงนั้นเรียนอยู่ปี 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีเงินลงทุนก้อนแรก 100,000 บาท เป็นเงิน “แต๊ะเอีย” ที่เก็บสะสมมาจากญาติๆให้แต่ละปีรวมกับเงินเก็บ เงินเก็บก้อนนี้ถูกพ่อแม่บังคับให้เอาไปเข้าธนาคารกลัวลูกเอาไปซื้อเกมส์มาเล่น
สำหรับผู้ที่จุดประกายให้ฮงเข้าสู่ตลาดหุ้นไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นเพื่อนสมัยเรียนมัธยมมาด้วยกัน เห็นเพื่อนซื้อหุ้น SHIN ที่ต้นทุนหุ้นละ 26-27 บาท ไปขายตอนราคา 40 บาท ได้กำไรประมาณ 50% ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนจากคำแนะนำของญาติ ทำให้เด็กหนุ่มมีความฝันอยากได้กำไรอย่างเพื่อนคนนั้นบ้าง
แม้วันนี้พอร์ตลงทุนของฮงจะเติบโตขึ้นอย่างมากจากเมื่อ 7 ปีก่อน จากหลัก “แสนบาท” เป็นหลัก “สิบล้านบาท” แต่นั่นยังไม่ใช่เป้าหมาย
“ภายใน 10 ปีข้างหน้า (2554-2563) ผมต้องการมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 300 ล้านบาท เติบโตให้ได้เฉลี่ยปีละ 20% นี่คือเป้าหมายของผม” สถาพร กล่าวกับทีมงาน กรุงเทพธุรกิจ BizWeek โดยมั่นใจว่าตัวเลขนี้ทำได้แน่นอน ทุกวันนี้ฮงเป็นนักลงทุน Full Time หลังค้นพบว่าการเล่นหุ้นเป็นทางเดินชีวิตที่มาถูกทาง
“แม้ผมจะอายุยังน้อยในสายตาใครต่อใคร แต่ก็ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติการเงิน (ซับไพร์ม) มาแล้ว เรียกได้ว่าผ่านมาแล้วทุกบรรยากาศ แล้วก็ทำได้ดีด้วย” เขาไม่ลืม “คุย”
ฮงจัดเป็น “เซียนหุ้นอัจฉริยะ” ที่จับทางตลาดหุ้นออกในเวลาอันรวดเร็ว เขารู้ว่าหุ้นแบบไหนจะขึ้นเยอะ และควรลงทุนสไตล์ไหนถ้าจับถูกตัว
“วันนี้ผมจับจุดถูกรู้ว่าจะลงทุนหุ้นสักหนึ่งตัว ต้องดูอะไรเป็นหลัก ถ้าผมจะพลาดก็ต้องมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเท่านั้น เพราะเหตุการณ์แบบนั้นคงไม่มีใครตั้งตัวขายหุ้นทัน”
การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอายุยังน้อยฮงต้องศึกษาทำการบ้านอย่างหนัก เขาศึกษาแนวทางการวิเคราะห์หุ้นแบบ วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ ปีเตอร์ ลินช์ อย่างแตกฉาน ทั้ง 2 กูรูยังเป็น “ไอดอล” ที่ฮงฝันอยากเป็น
“ผมคิดว่าคำสอนที่สำคัญที่สุด การซื้อหุ้นคือการซื้อธุรกิจ ถ้าซื้อเพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้น รับรองไม่มีทางได้กำไร(รวย)”
ครั้งแรกที่เล่นหุ้นฮงไปเปิดพอร์ตกับบล.ธนชาต ใช้ชื่อตัวเองไม่ได้เพราะยังเด็กเกินไป ต้องใช้ชื่อคุณแม่เป็นคนเปิดพอร์ต เวลาสั่งซื้อขายก็ให้ส่งจดหมายไปที่บ้านญาติเพื่อไม่ให้คุณพ่อรู้ เพราะพ่อมี “อคติ” กับตลาดหุ้นมองว่าการ “เล่นหุ้น” ไม่ต่างอะไรกับ “เล่นการพนัน” ในความเป็นจริงคุณแม่ก็ไม่ชอบให้เล่นหุ้น แต่ทนรบเร้าหาเหตุผลร้อยแปดมาอธิบายไม่ไหว เมื่อเห็นความตั้งใจจริงแม่ก็เลยยอม
“ยอมรับตรงๆ ตอนนั้นไม่รู้เรื่องอะไรเลย ต้องซื้อหุ้นกลุ่มไหน มีวิธีการลงทุนอย่างไร ดูไม่เป็นสักอย่าง ผมเริ่มต้นแสวงหาความรู้ตัวคนเดียว (ชวนเพื่อนแต่เขาไม่ไป) ผมไปนั่งฟังงานสัมมนาฟรีต่างๆ เมื่อก่อนโบรกเกอร์หลายแห่งจะชอบจัดอบรมดูงบการเงินวันเสาร์-อาทิตย์ รู้ว่าที่ไหนมีฟรีผมไปหมด”
เขาเล่าว่า บางงานไม่ให้เข้าเพราะไม่ใช่ลูกค้าเขา ก็ต้องหาเหตุผลสารพัดไปหลอกเจ้าหน้าที่หน้าห้องว่าขอเข้าไปฟังก่อนนะครับ..ถ้าโอเค! เดี๋ยวจะกลับมาเปิดพอร์ตด้วย แต่ก็มีบางงานที่ฮงถูกปฏิเสธกับเหตุผลตื้นๆ แต่เมื่อไปถึงแล้วเขาก็พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้เข้าไปฟังวิทยากรบรรยาย แถมยังเกาะติดนอกรอบไปขุดไปคุ้ยไขข้อข้องใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
“เมื่อก่อนผมเจ็บใจมาก ด้วยความที่เรายังเด็กอายุแค่ 20 ปี เวลาไปถามวิทยากรนอกรอบงานสัมมนาต่างๆ เขาเห็นเราเด็กก็มักไม่ยอมตอบ แต่จะหันไปตอบคำถามคนอื่นที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ตอนนั้นในหัวผมคิดว่าโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม มันทรมานมากช่วงนั้น ไม่รู้จะทำอย่างไร”
ฮงขวนขวายหาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนอ่านมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในใจเขาคิดว่าต้องอ่านหนังสือเยอะๆ ไปงานสัมมนามากๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเอง กว่าเขาจะได้ “วิชา” มาทำกำไรอย่างเป็นล่ำเป็นสันในตลาดหุ้นต้องใช้ความทุ่มเท ฮงยังค้นไม่พบความลับการลงทุน 1 ปีครึ่งผ่านไป การลงทุนของเขาไม่ได้กำไรเลยเพราะยังดูงบการเงินไม่เป็น และอ่านอนาคตธุรกิจไม่ออก ตอนนั้นฮงตัดสินใจซื้อหุ้น TTA ADVANC และ TPC
“เท่าที่จำได้ซื้อหุ้น ADVANC ราคา 95 บาท ขาย 105 บาท และซื้อหุ้น TPC ราคา 210 บาท ขายขาดทุน 190 บาท ส่วนหุ้น TTA จำราคาซื้อขายไม่ได้ เมื่อเริ่มดูงบการเงินเป็นนิดหน่อย พอรู้ว่าต้องเลือกบริษัทที่ไม่เป็นหนี้ และมีกระแสเงินสดเยอะๆ ก็เลยซื้อหุ้น CSL จำเหตุผลที่ซื้อและถือยาว 7-8 เดือนได้ว่าเป็นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลปีละ 4 ครั้ง แถมมีผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงถึง 8-10% ที่สำคัญเห็นว่าอนาคตกำไรจะเติบโตสูง ตอนนั้นซื้อมา 5-6 บาท พอขึ้นมา 9 บาทก็ขาย ถือเป็นหุ้นตัวแรกที่ได้กำไรเป็นเนื้อเป็นหนังจากการลงทุน”
เมื่อเริ่มเห็นผลงาน (กำไร) และความแน่วแน่ที่จะเดินในอาชีพ “นักเล่นหุ้น” แม่จึง “เพิ่มทุน” ให้อีกหลัก “แสนบาท” เพื่อนำไปลงทุนหุ้น CPALL จำนวน 100,000 หุ้น ต้นทุน 7 บาท พอปลายปี 2551 ก็ขายไปที่ราคา 11 บาท เพราะช่วงนั้นเกิดวิกฤติการเงินโลก (ซับไพร์ม) หุ้นทุกตัวลงหมด แต่หุ้น CPALL ไม่สะทกสะท้าน แต่ฮงกลัวเลยตัดทิ้งไปก่อน “ตอนนั้นผมกลัวติดยอดดอยแล้วลงไม่ได้”
หลังจากนั้นก็คิดจะนำเงินไปซื้อหุ้น PS แต่ภาวะเศรษฐกิจช่วงนั้นไม่ดี ฮงวิเคราะห์ว่าหุ้นพฤกษาจะไม่สามารถขายที่อยู่อาศัยได้ สุดท้ายจึงตัดสินใจ “กำเงินสด” เกิน 5 แสนบาทไว้ในมือ
“ที่แม่ตัดสินใจให้เงินเพิ่มเพราะเห็นว่าผมจริงจังมาก เสาร์-อาทิตย์ไม่เคยอยู่บ้านไปอบรมเกี่ยวกับเรื่องหุ้นตลอด อีกเหตุผลหนึ่งแม่มองว่าที่ผมสนใจการลงทุน ทำให้เราเป็นผู้ใหญ่ขึ้นสามารถคุยกับผู้ใหญ่รู้เรื่อง”
ความมุ่งมั่นศึกษางบการเงินอย่างจริงจัง ฮงเริ่มแตกฉานและมั่นใจในตัวเอง เขากำเงินสดไว้ในมือเพียง 2 เดือน ก็นำไปลงทุนต่อในหุ้น AP และ TOP แต่ยังไม่กล้าเล่นเต็มพอร์ต สาเหตุที่เลือกซื้อ TOP เพราะก่อนหน้านั้นไทยออยล์มีกำไรต่ำมากจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงฮวบฮาบ และราคาน้ำมันก็ผกผันกับเงินดอลลาร์ เขาวิเคราะห์ว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนตัวราคาน้ำมันก็น่าจะขึ้น จึงคาดว่ากำไรของบริษัทจะต้องพลิกกลับมาดีขึ้นอย่างมาก
พอก้าวเข้าสู่ไตรมาส 3 ปี 2552 ฮงเข้าเก็บหุ้น CPF ตัวนี้ทำให้เขารวยขึ้นอีกขั้น เขาทุ่มเล่นบัญชีเงินสด 100% และอัดมาร์จิ้นอีก 80% เพราะมองว่า CPF ต้องเป็นหุ้น “ป็อกเด้ง” แน่นอน
“ช่วงนั้นผมอัดมาร์จิ้นซื้อหุ้น CPF เต็มแม็ก เพราะกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2552 ออกมา 3,249 ล้านบาท มากกว่าทั้งปี 2551 ที่มีกำไรสุทธิ 3,128 ล้านบาท ช่วงนั้นผมประเมินว่าทั้งปี 2552 หุ้น CPF น่าจะมีกำไรสุทธิ 9,000 ล้านบาท ถือเป็นการทำนิวไฮครั้งใหม่ (CPF ประกาศกำไรสุทธิปี 2552 จำนวน 10,190 ล้านบาท) ผมมองว่าธุรกิจเกษตรกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นตามเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว”
อีกอย่างตอนนั้นฮงเช็คราคาขายหมูและไก่เฉลี่ยของปี 2552 ไม่ได้น้อยกว่าปี 2551 แต่ต้นทุนอาหารสัตว์อย่างกากถั่วเหลืงกับข้าวโพดลดลง เพราะคนนำไปทำเป็นพลังงานทดแทนพอราคาน้ำมันตกต่ำความต้องการเอาไปทำพลังงานทดแทน (เอทานอล) หายหมด ซึ่ง CPF ก็รู้เลยตุนกากถั่วเหลืงกับข้าวโพดไว้ แบบนี้จะไม่ให้กำไรเยอะได้อย่างไร
เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ฮงขายหุ้น CPF ได้ราคา 9.60 บาท จากต้นทุนที่ซื้อมา 7.80 บาท เพราะราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 5 วันติดกัน เนื่องจากนักลงทุนคิดว่างบไตรมาส 3 ปี 2552 จะขยายตัวต่อเนื่อง ช่วงนั้นโบรกเกอร์เริ่มทยอยออกมาปรับราคาเป้าหมาย CPF แต่ฮงได้กำไรเข้ากระเป๋า 400,000-500,000 บาท มูลค่าพอร์ตลงทุนพุ่งขึ้นเป็น “หลักล้านบาท” แล้ว
“จากนั้นคุณแม่ก็เติมเงิน (เพิ่มทุน) ให้อีกครั้งหลัก “ล้านบาท” คราวนี้มีทุนเยอะทำให้พอร์ตลงทุนขยับเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว หลังจากกำไรหุ้น CPF ก็ไปเข้าหุ้น VNG ตอนนั้นอัดเต็มพอร์ต เพราะเห็นว่างบไตรมาส 4 ปี 2552 มีกำไรต่อหุ้น 0.27 บาท ราคาหุ้นวันนั้น 3 บาท ถ้าวนชัย กรุ๊ป สามารถรักษาระดับกำไรต่อหุ้นได้แบบนี้ เชื่อว่ากำไรต่อหุ้นทั้งปี 2553 จะยืน 1 บาท”
ฮงถือหุ้น VNG แค่ 3 เดือน ขายออกที่ราคา 5 บาท ได้กำไร 70% ทำให้มูลค่าพอร์ตลงทุนของเขาพุ่งขึ้นเป็นหลัก “สิบล้านบาท” เมื่อขายหุ้น VNG เกลี้ยงพอร์ต ก็โยกเงินไปซื้อหุ้น PTL ที่ราคา 7.50 บาท ช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 ทยอยสะสมก่อน 30% ของพอร์ต พอราคาหุ้นขึ้นมา 15 บาท คราวนี้อัดเต็ม 100% ของพอร์ต ใช้มาร์จิ้นซื้ออีก 60% รวมเป็น 160% แล้วไปขายออกในเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ราคา 45 บาท
หุ้นโพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) คือจุดหักเหครั้งสำคัญทำให้ฮงรวยขึ้นมหาศาล “หลายเท่าตัว” พอร์ตของเขาขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น “หลายสิบล้านบาท” ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ฮงบอกกับทีมงานกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่าปัจจุบันมูลค่าพอร์ตของเขาเท่าไร แต่ขอไม่ให้เปิดเผยตัวเลขกับสาธารณะ
หลังจากที่ประสบความสำเร็จได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ฮงบอกว่าจากนั้นก็ซื้ออะไรไปเรื่อยเปื่อย เช่น หุ้น TVO และหุ้น STA ตอนที่ช้อนหุ้น TVO ราคาเฉลี่ย 27-29 บาท เพราะเห็นว่าราคาถั่วเหลืองในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,300 เซ็นต์ต่อบุชเชล ภายในเวลา 2 เดือน แต่ถือหุ้นตัวนี้ไม่ถึง 2 เดือน ก็ขายออกในราคา 31 บาทได้กำไรไม่เท่าไร
ส่วนหุ้น STA ซื้อมา 36 บาท เพราะเห็นว่าราคายางพาราทำจุดสูงสุดใหม่ แต่สุดท้ายก็ยอมขายขาดทุน 35 บาท เพราะราคาหุ้นไม่ขยับตัวตามราคายาง “ตัวไหนถือไว้ดูท่าจะไม่รุ่ง ผมจะขายทิ้ง”
จาก “ไอ้ตี๋หนุ่ม” หน้าละอ่อน ถามใครใครก็เมิน วันนี้กลายเป็น “เซียนฮง” อย่างเต็มภาคภูมิ เจ้าตัวก็เลย “ยืด” ได้ (ขอคุยหน่อย) บอกว่าที่จริงไม่ได้เก่งอะไรมากมาย แค่รู้ว่าเล่นหุ้นแบบไหนแล้วได้กำไร หลังจากเป็นเศรษฐีย่อมๆ ภายในเวลาไม่กี่ปี วันนี้ครอบครัวแฮปปี้มากพ่อแม่เปลี่ยนทัศนคติแล้วว่าการเล่นหุ้น “ไม่ใช่การพนัน” แต่เป็น “การลงทุน” ที่ให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
“ผมจะขอยึดอาชีพนักลงทุนเลี้ยงตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่คิดไปทำงานอย่างอื่น แต่ถ้ามีเงินตามเป้าหมายอาจแบ่งมาลงทุนทำอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า เท่านี้ชีวิตผมก็มีความสุขแล้ว”
เรื่องราวของ “ฮง” เซียนหุ้นอัจฉริยะยังไม่จบ เขามีกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร..? สามารถปั่นเงินจาก “หลักแสน” เป็น “หลายสิบล้านบาท” ได้ อะไรคือความลับการทำกำไรในตลาดหุ้นที่เด็กหนุ่มค้นพบ..สัปดาห์หน้าห้ามพลาด!!
puktiwit
Stock
Menu
Skip to content
Stock
Menu
Skip to content
Stock
Value investor
กลยุทธ์การลงทุน
หุ้นรายตัว
จิตวิทยาการลงทุน
เซียนหุ้น
กฎการลงทุน
สรุปประเด็น
เส้นทางนักลงทุน
Fundamental Analysis
กฎการลงทุน
กลยุทธ์การลงทุน
การประเมินมูลค่าหุ้น
ข้อคิด
ควบรวมกิจการ
งบการเงิน
จิตวิทยาการลงทุน
บทความ
ประวัติศาสตร์
ลูกเล่น
วิกฤติ
สรุปประเด็น
หุ้นปั่น
หุ้นรายตัว
เคล็ดลับ
เซียนหุ้น
เส้นทางนักลงทุน
แนวคิด
Book review
Business
computer
Fundamental Analysis
Hedge funds
Ratio Analysis
Stock
Technical Analysis
Uncategorized
Value investor
WARRANT
Value investor
กลยุทธ์การลงทุน
หุ้นรายตัว
จิตวิทยาการลงทุน
เซียนหุ้น
กฎการลงทุน
สรุปประเด็น
เส้นทางนักลงทุน
Fundamental Analysis
กฎการลงทุน
กลยุทธ์การลงทุน
การประเมินมูลค่าหุ้น
ข้อคิด
ควบรวมกิจการ
งบการเงิน
จิตวิทยาการลงทุน
บทความ
ประวัติศาสตร์
ลูกเล่น
วิกฤติ
สรุปประเด็น
หุ้นปั่น
หุ้นรายตัว
เคล็ดลับ
เซียนหุ้น
เส้นทางนักลงทุน
แนวคิด
Book review
Business
computer
Fundamental Analysis
Hedge funds
Ratio Analysis
Stock
Technical Analysis
Uncategorized
Value investor
WARRANT
Category Archives: เซียนหุ้น
Learn How to Trade like a Pro: วาทะเซียนหุ้น
November 17, 2012
Learn How to Trade like a Pro: วาทะเซียนหุ้น
November 17, 2012
Learn How to Trade like a Pro: วาทะเซียนหุ้น 1
Learn How to Trade like a Pro: วาทะเซียนหุ้น
ทำไม คนกลุ่มเล็กส่วนหนึ่ง ถึงมีความมั่งคั่งเพิ่มพูนขึ้นมาได้ ในขณะที่ มือใหม่มากราย กลับผิดหวังในตลาดหุ้น …………. กว่า 4 ปี ที่ทีมงานของ ThaiDayTrade.com ได้มีโอกาสพูดคุย สัมภาษณ์ และสังเกตสไตล์การเทรดที่แตกต่าง ของเซียนหุ้นหลายท่าน รวมทั้งได้ทำการรวบรวม วาทะเซียนหุ้นทั้งหลาย ที่เป็นเสมือนครูบาอาจารย์ มาจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ พบว่า แนวคิดเหล่านั้นไม่ได้ซับซ้อน แต่เป็นเสมือน เส้นผมบังภูเขา การยึดมั่นในราคา-กำไร-ขาดทุน ทำให้ผู้ที่ยึดติด เสียหายบานปลายตลอดมา
เพื่อให้สมเจตนารมณ์ของครูบาอาจารย์ และ เพื่อส่งเสริมความรู้ภาคปฏิบัติ ให้สังคมรายย่อยมีรากฐานแนวคิดที่แข็งแกร่ง ทีมงานจึงขอนำวาทะเซียนหุ้น ที่ถ่ายทอด ถอดมาจากประสบการณ์จริง มาเผยแพร่ ไว้ ณ ที่นี้ ……….. หากท่านเห็นว่า เป็นประโยชน์ ท่านสามารถสนับสนุน “กรุงเทพธุรกิจ” หนังสือพิมพ์ดี มีคุณภาพ ด้วยการบอกรับเป็นสมาชิก เพื่อเป็นกำลังใจ ให้กับคนทำงาน
****************************************
Learn How to Trade like a Pro: วาทะเซียนหุ้น
เสี่ยแตงโม: ไม่ซื้อดักรอ กลัวรอดักดาน หากมีสัญญาณซื้อ จะใช้สูตร 5-3-2
เริ่มจาก คุณ สมเกียรติ วงศ์คุณทรัพย์ หรือ “เสี่ยแตงโม” เซียนหุ้น หาดใหญ่ จาก ช่างตัดผม ผู้เริ่มต้นด้วยเงินลงทุน 8 หมื่นบาท และในระยะแรก เล่นหุ้นจนเหลือเงิน เพียง 3 หมื่น แล้วขอเงินแม่มาเพิ่มทุนอีก 5 หมื่น จนปัจจุบัน ท่านได้ขึ้นแท่นรายใหญ่พันล้านแห่งวงการหุ้นไทย เจ้าของวาทะ “เล่นหุ้นให้ได้กำไรชัวร์ๆ ต้องซื้อที่ “New High”
(ที่มา: เปิดตัว “เสี่ยแตงโม” เซียนหุ้น “หาดใหญ่” จาก “ช่างตัดผม” ผันสู่.. นักลงทุน “พันล้าน” …… bangkokbiznews.com 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
“แต่ก่อนผมมักจะเข้าไปซื้อหุ้นก่อนแนวโน้มเสมอ เพราะเราคาดว่า ราคามันจะต้องผ่าน New High แน่ๆ …แต่ปรากฏหลายครั้งว่ามันไม่จริง จากบทเรียนครั้งนั้น ผมจึงไม่พูดพร่ำฮัมเพลง ขอเข้าไปซื้อที่ New High สถานเดียว…เพราะมีคติว่า ของดีต้องแพงที่สุด!!”
” ผมจะซื้อสูตร 5-3-2 จะซื้อ 3 ครั้ง ซื้อครั้งแรก 50% ถ้ามันขึ้นซื้ออีก 30% ถ้าขึ้นอีกซื้ออีก 20% แต่ถ้าซื้อแล้วมันลง จะหยุดซื้อทันที แล้วผมจะรอดู”
”ถ้าซื้อแล้วมีคนขาย แล้วออเดอร์ของผมไม่สามารถทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปได้ แสดงว่าผมเจอ (ตอ) ผู้ที่อยากขายใหญ่กว่าเรา ผมจะถอยทันที ขายทิ้งทุกราคา”
“ผมถือคติว่า…น้ำกำลังเชี่ยว อย่าเอาเรือไปขวาง จำไว้เวลาหุ้นขาลง แม้ขายขาดทุนก็ต้องขาย ต้องยอมเสีย Civic ไปหนึ่งคัน…ไม่งั้น Mercedes-Benz คุณหาย!!
****************************************
เอกยุทธ อัญชัญบุตร: ช่วงหุ้นขาขึ้นผมกล้าไล่ซื้อ แต่หากลง ผมเลิก ขายทุกราคา
คุณ เอกยุทธ อัญชันบุตร หรือ “จอร์จ ตัน” ประธานเครือโอเรียนเต็ลมาร์ท เซียนหุ้น พันล้าน ผู้เชี่ยวชาญตลาดการเงินระหว่างประเทศ ก็ให้ข้อคิดจากประสบการณ์ตรงที่น่าสนใจครับ
(ที่มา: ชั่วโมงเซียน: “จอร์จ ตัน” เซียนเหนือเซียน …… bangkokbiznews.com 24 กันยายน พ.ศ. 2547)
”ผมจะให้น้ำหนักกับ “วอลุ่ม” มากกว่าสัญญาณทุกอย่าง หุ้นไม่มีวอลุ่มผมไม่เล่น ผมไม่ได้ให้ความสำคัญกับเทคนิค”
“ช่วงที่หุ้นกำไรดี ราคากำลังขึ้น ผมจะไล่ราคาตลอด”
“แต่เมื่อใดที่มันเริ่มหันหัวกลับ…ผมเลิก ทุกราคาผมขายหมดจะไม่รอ และไม่เสียดายเงิน 5 สตางค์ 10 สตางค์ ทุกช่องที่มีอยู่จะโยน (ขาย) ทิ้งหมดเลย”
“ผมว่ามันเพ้อเจ้อ” หรือพวกที่ชอบซื้อหุ้น “ถัวเฉลี่ยต้นทุน”
”เล่นหุ้นขาลงซื้อถัวเฉลี่ยไม่ได้…ต้อง Cut Loss ทิ้งอย่างเดียว”
****************************************
เสี่ยไฮ้ส้มตำ: ตัวไหนขึ้น ผมซื้อเต็มพอร์ตแล้วถือยาว 4-5เดือน ตัวไหนซื้อแล้วลง 2-3% ผมไปแล้ว
คุณ ธนกฤต เลิศผาติ หรือ ไฮ้ส้มตำ พ่อค้าส้มตำ เจ้าของร้าน “ไฮ้ ส้มตำคอนแวนต์” ผู้นำกำไร 1 แสนบาท จากการขายส้มตำ มาเป็นทุนประเดิม ในการซื้อขายหุ้นเมื่อปี 2542 จนปัจจุบัน หากตลาดหุ้นดี จะซื้อขายวันละ 30-40 ล้านบาท ท่านก็มีวิธีคิดที่น่าสนใจมากครับ
(ที่มา: วาทะเด็ด…จาก “7 เซียนตัวจริง”…… bangkokbiznews.com 26 มกราคม พ.ศ. 2550)
“ทุกเย็นผมจะต้องดูกราฟว่าตัวไหนมีสัญญาณการสะสม และพื้นฐานของหุ้นเป็นยังไง เสร็จจากนั้น จึงมามองภาวะตลาดโดยรวม ในช่วงนั้นว่าเอื้อต่อการขึ้นของหุ้นตัวนี้หรือไม่ ถ้าทุกอย่างเข้าล็อก จึงเริ่มเข้าไปสะสมหุ้นกับเขา ถ้ามั่นใจจะซื้อทีเดียว 70% แล้วรอ 2-3 วัน …ถ้าหุ้นไม่ขึ้น ผมจะหยุดไว้ก่อน แต่ยังไม่ขาย แต่ถ้าขึ้นก็จะซื้อเข้ามาจนเต็มพอร์ต หรือถ้าซื้อแล้วราคามันปักลงเอาแค่ 2-3% ผมก็ไปแล้ว ไม่ต้องรอให้ขาดทุนกว่านี้”
“ส่วนใหญ่จะถือหุ้นไม่นาน หากหุ้นตัวใดยังมีแนวโน้มสดใสอาจจะถือประมาณ 4-5 เดือน แต่หากเป็นหุ้นรายเล็กหรือรายใหม่จะซื้อมาแล้วขายไปมากกว่า ส่วนใหญ่จะถือเพียง 1 วันหรือไม่ก็ซื้อตอนเช้าแล้วเย็นเทขาย เนื่องจากหุ้นรายเล็กยังใหม่และยังไม่มีความแน่นอนมีความเสี่ยงสูง”
****************************************
เสี่ยป๋อง: บนสวรรค์มีไม่รู้กี่ชั้น ถึงคนว่าแพงแล้ว ถ้าไปต่อผมก็กล้าซื้อ แต่เวลาลงนรกก็มีไม่รู้กี่ขุมเหมือนกัน
คุณ วัชระ แก้วสว่าง หรือ เสี่ยป๋อง นักลงทุนรายใหญ่ระดับพันล้านอีกท่านหนึ่ง ที่คนในวงการต่างยอมรับว่าเป็นอาจารย์ใหญ่
(ที่มา: วาทะเด็ด…จาก “7 เซียนตัวจริง”…… bangkokbiznews.com 26 มกราคม พ.ศ. 2550)
“สำหรับผม ถ้าจะซื้อหุ้น…ต้องดูทรง (กราฟ) ด้วย แม้ราคาจะขึ้นมาแล้ว 30% ถ้ายังพอไปต่อไหว…ก็เล่น ผมถือว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า บนสวรรค์มีไม่รู้ตั้งกี่ชั้น แต่เวลาลงนรกก็มีไม่รู้ตั้งกี่ขุมเช่นกัน จะไม่มีคำว่าถูก ว่าแพงในตลาดหุ้น”
“ยกตัวอย่างหุ้น KK ตอนนั้นราคา 1 บาท เจ้าของหุ้นเทขายก็มีให้เห็น แต่จากนั้นไม่นาน หุ้นก็ขึ้นไปที่ 80 บาท และสามารถลงมาที่ระดับ 14 บาท ก็มีให้เห็น ของแบบนี้เราไม่สามารถฟันธงได้ว่าถูกหรือแพง”
****************************************
หมอ ยง: ต้องเล่นหุ้นขาขึ้น หยุดเล่นหุ้นขาลง จำกัดผลขาดทุนให้ไว
สำหรับ ท.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม หรือ หมอยง แล้ว ถือว่า เป็นแรงบันดาลใจให้ผมเลยครับ คุณหมอเซียนหุ้นพันล้านท่านนี้ เริ่มต้น ในตลาดหุ้นเมื่อปี 2532 ด้วยเงินลงทุน 5 แสนบาท
(ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/road/20020603/mar1.shtml)
“ตอนที่เริ่มสตาร์ทผมลงเงินไป 500,000 บาท ตอนนั้นเลือกหุ้นที่คิดว่ามี “ราคาถูก” ผมจะซื้อหุ้นที่ราคาตกลงมามากๆ เลือกหุ้นที่มีพี/อี เรโชต่ำ และซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพาร์ เพราะเราคิดว่าราคาถูก” คุณหมอเล่าประสบการณ์ให้ฟังครับว่า สิ่งที่คิดว่า “ราคาถูก” และ “ปลอดภัย” เอาเข้าจริง กลับตรงกันข้าม เล่นช่วงแรกเจ๊งมาตลอด จนเหลือเงินอยู่ 180,000 บาท ในที่สุด ได้ข้อสรุปมาว่า “ถ้ามัวแต่ยึดข้อมูลในอดีต สักวันคงหมดตัวแน่!!!”
“หุ้นยิ่งขึ้นต้องยิ่งซื้อ หุ้นยิ่งตกต้องยิ่งขาย” “จงทำตามแนวโน้มตลาด” นี่คือ กฎข้อแรกที่คุณหมอเรียนรู้หลังจากขาดทุนอย่างหนัก
“ผมเห็นคนล้มตายเยอะ ทุกคนที่เจ๊งหุ้นเหมือนกัน คือ ไม่ยอม “Stop Loss” ทำให้ผมเข้าใจว่าถ้าเราจะอยู่ในวงการนี้ได้นาน เราต้องรู้จักวิธีจำกัดความเสี่ยง”
”เล่นหุ้นขาขึ้น หยุดเล่นหุ้นขาลง และต้องชิงตัดขาดทุน เสียแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ตัวเลขขาดทุนจะบานปลาย”
****************************************
เสี่ยยักษ์: จากเริ่มต้นหลักล้านรวยหุ้นเป็นพันล้านได้ แต่ต้องเผื่อใจขาดทุนไว้ซัก10% แบบนี้รวยแน่
สำหรับเซียนหุ้นพันล้านท่านนี้ วิชัย วชิรพงศ์ หรือ เสี่ยยักษ์ ผมจะยกพื้นที่จากนี้ไป ให้ท่านแล้วล่ะครับ ผมได้แนวคิดมาจากท่านมาก และมันเวิร์คจริงๆ
(ที่มา: กูรูหุ้นพันล้าน…วิชัย วชิรพงศ์…… bangkokbiznews.com 13 เมษายน – 19 กรกฎาคม 2550)
“คนบ้านนอกที่มีฐานะธรรมดาๆ ยังสามารถเล่นหุ้นรวยเป็นพันล้านได้ ผมเชื่อว่าพวกคุณทุกคน ก็มีโอกาสรวยระดับร้อยล้านได้ทุกคน…อย่าเพิ่งท้อ”
“ถ้าคุณชนะครั้งใหญ่ได้สักครั้ง ชัยชนะต่อๆ มาจะเป็นของคุณ”
“หุ้นจะเป็นขาขึ้น “ราคา” และ “ปริมาณ” จะต้องเคลื่อนไป ในทิศทางเดียวกัน”
“ผมก็ทำตามตำราเป๊ะ ! พอ Black Monday หุ้นตกหนัก เราก็เข้าไปลุยเลย เลือกซื้อแต่หุ้นค่าพี/อี ต่ำๆ สมัยนั้นก็หุ้นแบงก์ทั้งนั้น ซื้อไปแล้วมันก็ไม่ขึ้น …หุ้นตัวอื่นขึ้น หุ้นเราก็ไม่ขึ้น”
“ประสบการณ์ขาดทุนครั้งแรก เอาเงินมาเล่น 2 ล้านกว่าบาท ขาดทุนไป 5 แสนกว่า นั่งมองคนอื่นกำไร ตัวเองขาดทุน เพราะเล่นแต่หุ้นแบงก์ค่าพี/อี ต่ำๆ สุดท้ายก็รู้ว่าวิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล คนส่วนใหญ่เขาไม่คิดเหมือนเรา ในที่สุดก็ตัดสินใจล้างพอร์ต”
“คุณยังไม่มีประสบการณ์เลย คุณต้องขาดทุนก่อน ในชีวิตจริงต้องเป็นอย่างนั้น นักลงทุนมือใหม่ “ขาดทุน” ถือเป็นเรื่องปกติ”
“ถ้าวันหนึ่งคนอื่นทำงาน 8 ชั่วโมง เราต้องทำงาน 10 ชั่วโมง ต้องกลับมา “ชนะ” ให้ได้”
“เราต้องเริ่มต้นจากการยอมรับความผิดพลาดของเราเอง อย่าไปโทษคนอื่น นำกลับมาแก้ไข เชื่อผม! แล้วคุณจะเล่นหุ้นเก่งขึ้น”
“เราต้องพายเรือตามน้ำ อย่าพายเรือทวนน้ำ”
“เราต้องพยายามอ่านหลักจิตวิทยาของตลาดว่า คนอื่นเขาคิดอย่างไร..? กับหุ้นตัวที่เราจะเล่น อย่าพยายาม “คิดเอง-เออเอง” คนเดียว”
“สมมติว่า ขณะนั้น SET กำลัง “นิยม” หุ้นกลุ่มไหน เราก็ต้องจับตา มองหุ้นกลุ่มนั้น เพราะการ “ฝืนกระแส” จะทำให้เรา “เสี่ยงสูง” ที่จะขาดทุน”
“การเล่นหุ้นฝืนทิศทางตลาด เล่นแล้วมันเหนื่อย !!! เหมือนการขึ้นรถผิดคัน ทำไม! รถคันนี้มันถึงไม่ออกจากท่ารถสักที เรารอแล้วรออีก คันนี้ก็ไป คันนั้นก็ไปก่อน”
“หุ้นเวลาเป็น “ขาลง” เราต้องตัดทิ้ง อย่าถือ และอย่าซื้อถัวเฉลี่ย”
“ทุกคนจะมีจังหวะฟ้าลิขิต…ทุกคนต้องเคยได้รับโอกาสนั้น แต่คุณจะตักตวงมัน ได้หรือเปล่าเท่านั้นเอง”
“วิธีการเล่นหุ้นต่อ 1 รอบ จำไว้เลยนะว่า คุณต้องเตรียม “ขาดทุน” ไว้ 10% ของพอร์ต ของคุณเสมอ…ผมกล้าพูดได้เลยว่า ต่อให้เป็นเซียน เป็นโคตรเซียนแค่ไหนก็ตาม คุณมี 100 ล้าน คุณต้องเตรียมขาดทุนไว้ 10 ล้าน ไว้สำหรับ Cut Loss (ยอมขาดทุน) แน่นอนที่สุด…เชื่อผม!!
****************************************
*ที่มาอ้างอิงจาก http://www.thaidaytrade.com/readspecialreport.php?id=1194758860
Posted in กลยุทธ์การลงทุน, เซียนหุ้น, Stock.
เซียนหุ้นอัจฉริยะ ‘สถาพร งามเรืองพงศ์’
November 17, 2012
Posted in กลยุทธ์การลงทุน, เซียนหุ้น, Stock.
เซียนหุ้นอัจฉริยะ ‘สถาพร งามเรืองพงศ์’
November 17, 2012
อายุเพียง 25 ปี ‘ฮง’ เด็กหนุ่มที่พ่อแม่ค้าเสื้อยืดย่านพระราม 2 เล่นหุ้นตั้งแต่เรียนปี 1 ‘ม.กรุงเทพ’ ปั่นเงินจาก ‘หลักแสน’ เพิ่มเป็น ‘หลายสิบล้าน’ ภายใน 7 ปี..ฝันอีก ‘สิบปี’ พอร์ตแตะ 300 ล้านบาท
“ฮง” สถาพร งามเรืองพงศ์ ชื่อนี้แทบไม่เป็นที่รู้จักในวงการตลาดหุ้น แต่ถ้าเอ่ยนามแฝง “ฮงแวลู” (Hongvalue) เซียนหุ้น “วัยรุ่น” รายนี้เป็นที่รู้จักอย่างดีในเว็บบอร์ด Thaivi.com ที่วันนี้เริ่มอัพเกรดตัวเองไปเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องหุ้นให้กับนักลงทุนกลุ่มเล็กๆ หลังชีวิตการลงทุนตลอด 7 ปีประสบความสำเร็จอย่างงดงามมีพอร์ตลงทุน “หลายสิบล้านบาท”
ตี๋หนุ่มวัยเพียง 25 ปีรายนี้เลือกเดินในอาชีพ “นักเล่นหุ้น” อย่างแน่วแน่ และกำลัง “ป็อปปูล่า” วัดความดังได้จากงานสัมมนาเล็กๆ ที่ฮงและก๊วนเพื่อนร่วมกันแชร์ประสบการณ์ในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจ (ซับไพร์ม) ปี 2551 ที่เขาได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงถึง 10 เท่าตัวหากรู้จักเลือกลงทุนหุ้นพื้นฐาน เปิดให้จองที่นั่งเข้าฟังบรรยายเพียงไม่กี่ชั่วโมงมีนักลงทุนรายเล็กรายใหญ่ แห่จองกันเต็ม 230 ที่นั่ง
หลังจบงานสัมมนามีคนตามทวิตเตอร์ของ Hongvalue เพิ่มขึ้นกว่า 100 คน เขายกตัวอย่างหุ้นที่เคยทำเงินเข้ากระเป๋าได้อย่าง “มหาศาล” ในช่วงหลังวิกฤติปี 2551 นั่นคือ หุ้นเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) และหุ้นโพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) (PTL) รวมถึงหุ้นอีกหลายตัวที่ทะยานขึ้นอย่างมาก
ตี๋หนุ่มคุยว่าพอร์ตลงทุนของตัวเองเติบโตก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และเริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวง Value Investor มากขึ้นหลังสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นประมาณ 20 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี ขณะเดียวกันถ้าวัดตั้งแต่เริ่มลงทุนปี 2547-2553 ภายในระยะเวลา 7 ปี พอร์ตลงทุนขยายตัวประมาณ 40-50 เท่า
“ฮง” เซียนหุ้นอัจฉริยะรายนี้เป็นลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 3 คน เขาเล่าว่า พี่ชายคนโตปัจจุบันอายุ 33 ปีคนนี้ก็เล่นหุ้นเหมือนกันแต่มูลค่าพอร์ตลงทุนยังไม่ใหญ่ประมาณ 3 ล้านบาท พี่ชายจะเน้นดูเทคนิเคิลมากกว่าปัจจัยพื้นฐาน ส่วนพี่สาวคนรองอายุ 29 ปี เรียนจบแพทย์ ปัจจุบันเดินทางไปศึกษาต่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง สาขาช่องท้อง ที่สหรัฐอเมริกา
ฮงกล่าว่าครอบครัวไม่ได้ร่ำรวยมีฐานะพอกินพอใช้ พ่อแม่ทำธุรกิจผลิตเสื้อยืดขายย่านถนนพระราม 2 มานานกว่า 20 ปี เพิ่งเลิกทำไปเมื่อต้นปี 2554 นี้เอง และหันไปปลูกต้นลีลาวดีขาย ชื่อว่า “สวนลีลาวดีภิรมย์” บนเนื้อที่ 33 ไร่ ย่านบางขุนเทียน
ประสบการณ์เล่นหุ้นครั้งแรกของฮงต้อง “แอบพ่อ” ที่ไม่อยากให้ลูกชายเข้าไปข้องแวะกับตลาดหุ้น โดยเริ่มลงทุนครั้งแรกในชีวิตเมื่อปลายปี 2547 ช่วงนั้นเรียนอยู่ปี 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีเงินลงทุนก้อนแรก 100,000 บาท เป็นเงิน “แต๊ะเอีย” ที่เก็บสะสมมาจากญาติๆให้แต่ละปีรวมกับเงินเก็บ เงินเก็บก้อนนี้ถูกพ่อแม่บังคับให้เอาไปเข้าธนาคารกลัวลูกเอาไปซื้อเกมส์มาเล่น
สำหรับผู้ที่จุดประกายให้ฮงเข้าสู่ตลาดหุ้นไม่ใช่ใครที่ไหนแต่เป็นเพื่อนสมัยเรียนมัธยมมาด้วยกัน เห็นเพื่อนซื้อหุ้น SHIN ที่ต้นทุนหุ้นละ 26-27 บาท ไปขายตอนราคา 40 บาท ได้กำไรประมาณ 50% ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนจากคำแนะนำของญาติ ทำให้เด็กหนุ่มมีความฝันอยากได้กำไรอย่างเพื่อนคนนั้นบ้าง
แม้วันนี้พอร์ตลงทุนของฮงจะเติบโตขึ้นอย่างมากจากเมื่อ 7 ปีก่อน จากหลัก “แสนบาท” เป็นหลัก “สิบล้านบาท” แต่นั่นยังไม่ใช่เป้าหมาย
“ภายใน 10 ปีข้างหน้า (2554-2563) ผมต้องการมีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 300 ล้านบาท เติบโตให้ได้เฉลี่ยปีละ 20% นี่คือเป้าหมายของผม” สถาพร กล่าวกับทีมงาน กรุงเทพธุรกิจ BizWeek โดยมั่นใจว่าตัวเลขนี้ทำได้แน่นอน ทุกวันนี้ฮงเป็นนักลงทุน Full Time หลังค้นพบว่าการเล่นหุ้นเป็นทางเดินชีวิตที่มาถูกทาง
“แม้ผมจะอายุยังน้อยในสายตาใครต่อใคร แต่ก็ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติการเงิน (ซับไพร์ม) มาแล้ว เรียกได้ว่าผ่านมาแล้วทุกบรรยากาศ แล้วก็ทำได้ดีด้วย” เขาไม่ลืม “คุย”
ฮงจัดเป็น “เซียนหุ้นอัจฉริยะ” ที่จับทางตลาดหุ้นออกในเวลาอันรวดเร็ว เขารู้ว่าหุ้นแบบไหนจะขึ้นเยอะ และควรลงทุนสไตล์ไหนถ้าจับถูกตัว
“วันนี้ผมจับจุดถูกรู้ว่าจะลงทุนหุ้นสักหนึ่งตัว ต้องดูอะไรเป็นหลัก ถ้าผมจะพลาดก็ต้องมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเท่านั้น เพราะเหตุการณ์แบบนั้นคงไม่มีใครตั้งตัวขายหุ้นทัน”
การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอายุยังน้อยฮงต้องศึกษาทำการบ้านอย่างหนัก เขาศึกษาแนวทางการวิเคราะห์หุ้นแบบ วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ ปีเตอร์ ลินช์ อย่างแตกฉาน ทั้ง 2 กูรูยังเป็น “ไอดอล” ที่ฮงฝันอยากเป็น
“ผมคิดว่าคำสอนที่สำคัญที่สุด การซื้อหุ้นคือการซื้อธุรกิจ ถ้าซื้อเพราะคิดว่าราคาหุ้นจะขึ้น รับรองไม่มีทางได้กำไร(รวย)”
ครั้งแรกที่เล่นหุ้นฮงไปเปิดพอร์ตกับบล.ธนชาต ใช้ชื่อตัวเองไม่ได้เพราะยังเด็กเกินไป ต้องใช้ชื่อคุณแม่เป็นคนเปิดพอร์ต เวลาสั่งซื้อขายก็ให้ส่งจดหมายไปที่บ้านญาติเพื่อไม่ให้คุณพ่อรู้ เพราะพ่อมี “อคติ” กับตลาดหุ้นมองว่าการ “เล่นหุ้น” ไม่ต่างอะไรกับ “เล่นการพนัน” ในความเป็นจริงคุณแม่ก็ไม่ชอบให้เล่นหุ้น แต่ทนรบเร้าหาเหตุผลร้อยแปดมาอธิบายไม่ไหว เมื่อเห็นความตั้งใจจริงแม่ก็เลยยอม
“ยอมรับตรงๆ ตอนนั้นไม่รู้เรื่องอะไรเลย ต้องซื้อหุ้นกลุ่มไหน มีวิธีการลงทุนอย่างไร ดูไม่เป็นสักอย่าง ผมเริ่มต้นแสวงหาความรู้ตัวคนเดียว (ชวนเพื่อนแต่เขาไม่ไป) ผมไปนั่งฟังงานสัมมนาฟรีต่างๆ เมื่อก่อนโบรกเกอร์หลายแห่งจะชอบจัดอบรมดูงบการเงินวันเสาร์-อาทิตย์ รู้ว่าที่ไหนมีฟรีผมไปหมด”
เขาเล่าว่า บางงานไม่ให้เข้าเพราะไม่ใช่ลูกค้าเขา ก็ต้องหาเหตุผลสารพัดไปหลอกเจ้าหน้าที่หน้าห้องว่าขอเข้าไปฟังก่อนนะครับ..ถ้าโอเค! เดี๋ยวจะกลับมาเปิดพอร์ตด้วย แต่ก็มีบางงานที่ฮงถูกปฏิเสธกับเหตุผลตื้นๆ แต่เมื่อไปถึงแล้วเขาก็พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้เข้าไปฟังวิทยากรบรรยาย แถมยังเกาะติดนอกรอบไปขุดไปคุ้ยไขข้อข้องใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
“เมื่อก่อนผมเจ็บใจมาก ด้วยความที่เรายังเด็กอายุแค่ 20 ปี เวลาไปถามวิทยากรนอกรอบงานสัมมนาต่างๆ เขาเห็นเราเด็กก็มักไม่ยอมตอบ แต่จะหันไปตอบคำถามคนอื่นที่เป็นผู้ใหญ่กว่า ตอนนั้นในหัวผมคิดว่าโลกนี้ไม่มีความยุติธรรม มันทรมานมากช่วงนั้น ไม่รู้จะทำอย่างไร”
ฮงขวนขวายหาหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนอ่านมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในใจเขาคิดว่าต้องอ่านหนังสือเยอะๆ ไปงานสัมมนามากๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเอง กว่าเขาจะได้ “วิชา” มาทำกำไรอย่างเป็นล่ำเป็นสันในตลาดหุ้นต้องใช้ความทุ่มเท ฮงยังค้นไม่พบความลับการลงทุน 1 ปีครึ่งผ่านไป การลงทุนของเขาไม่ได้กำไรเลยเพราะยังดูงบการเงินไม่เป็น และอ่านอนาคตธุรกิจไม่ออก ตอนนั้นฮงตัดสินใจซื้อหุ้น TTA ADVANC และ TPC
“เท่าที่จำได้ซื้อหุ้น ADVANC ราคา 95 บาท ขาย 105 บาท และซื้อหุ้น TPC ราคา 210 บาท ขายขาดทุน 190 บาท ส่วนหุ้น TTA จำราคาซื้อขายไม่ได้ เมื่อเริ่มดูงบการเงินเป็นนิดหน่อย พอรู้ว่าต้องเลือกบริษัทที่ไม่เป็นหนี้ และมีกระแสเงินสดเยอะๆ ก็เลยซื้อหุ้น CSL จำเหตุผลที่ซื้อและถือยาว 7-8 เดือนได้ว่าเป็นบริษัทที่จ่ายเงินปันผลปีละ 4 ครั้ง แถมมีผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงถึง 8-10% ที่สำคัญเห็นว่าอนาคตกำไรจะเติบโตสูง ตอนนั้นซื้อมา 5-6 บาท พอขึ้นมา 9 บาทก็ขาย ถือเป็นหุ้นตัวแรกที่ได้กำไรเป็นเนื้อเป็นหนังจากการลงทุน”
เมื่อเริ่มเห็นผลงาน (กำไร) และความแน่วแน่ที่จะเดินในอาชีพ “นักเล่นหุ้น” แม่จึง “เพิ่มทุน” ให้อีกหลัก “แสนบาท” เพื่อนำไปลงทุนหุ้น CPALL จำนวน 100,000 หุ้น ต้นทุน 7 บาท พอปลายปี 2551 ก็ขายไปที่ราคา 11 บาท เพราะช่วงนั้นเกิดวิกฤติการเงินโลก (ซับไพร์ม) หุ้นทุกตัวลงหมด แต่หุ้น CPALL ไม่สะทกสะท้าน แต่ฮงกลัวเลยตัดทิ้งไปก่อน “ตอนนั้นผมกลัวติดยอดดอยแล้วลงไม่ได้”
หลังจากนั้นก็คิดจะนำเงินไปซื้อหุ้น PS แต่ภาวะเศรษฐกิจช่วงนั้นไม่ดี ฮงวิเคราะห์ว่าหุ้นพฤกษาจะไม่สามารถขายที่อยู่อาศัยได้ สุดท้ายจึงตัดสินใจ “กำเงินสด” เกิน 5 แสนบาทไว้ในมือ
“ที่แม่ตัดสินใจให้เงินเพิ่มเพราะเห็นว่าผมจริงจังมาก เสาร์-อาทิตย์ไม่เคยอยู่บ้านไปอบรมเกี่ยวกับเรื่องหุ้นตลอด อีกเหตุผลหนึ่งแม่มองว่าที่ผมสนใจการลงทุน ทำให้เราเป็นผู้ใหญ่ขึ้นสามารถคุยกับผู้ใหญ่รู้เรื่อง”
ความมุ่งมั่นศึกษางบการเงินอย่างจริงจัง ฮงเริ่มแตกฉานและมั่นใจในตัวเอง เขากำเงินสดไว้ในมือเพียง 2 เดือน ก็นำไปลงทุนต่อในหุ้น AP และ TOP แต่ยังไม่กล้าเล่นเต็มพอร์ต สาเหตุที่เลือกซื้อ TOP เพราะก่อนหน้านั้นไทยออยล์มีกำไรต่ำมากจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงฮวบฮาบ และราคาน้ำมันก็ผกผันกับเงินดอลลาร์ เขาวิเคราะห์ว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนตัวราคาน้ำมันก็น่าจะขึ้น จึงคาดว่ากำไรของบริษัทจะต้องพลิกกลับมาดีขึ้นอย่างมาก
พอก้าวเข้าสู่ไตรมาส 3 ปี 2552 ฮงเข้าเก็บหุ้น CPF ตัวนี้ทำให้เขารวยขึ้นอีกขั้น เขาทุ่มเล่นบัญชีเงินสด 100% และอัดมาร์จิ้นอีก 80% เพราะมองว่า CPF ต้องเป็นหุ้น “ป็อกเด้ง” แน่นอน
“ช่วงนั้นผมอัดมาร์จิ้นซื้อหุ้น CPF เต็มแม็ก เพราะกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2552 ออกมา 3,249 ล้านบาท มากกว่าทั้งปี 2551 ที่มีกำไรสุทธิ 3,128 ล้านบาท ช่วงนั้นผมประเมินว่าทั้งปี 2552 หุ้น CPF น่าจะมีกำไรสุทธิ 9,000 ล้านบาท ถือเป็นการทำนิวไฮครั้งใหม่ (CPF ประกาศกำไรสุทธิปี 2552 จำนวน 10,190 ล้านบาท) ผมมองว่าธุรกิจเกษตรกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นตามเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว”
อีกอย่างตอนนั้นฮงเช็คราคาขายหมูและไก่เฉลี่ยของปี 2552 ไม่ได้น้อยกว่าปี 2551 แต่ต้นทุนอาหารสัตว์อย่างกากถั่วเหลืงกับข้าวโพดลดลง เพราะคนนำไปทำเป็นพลังงานทดแทนพอราคาน้ำมันตกต่ำความต้องการเอาไปทำพลังงานทดแทน (เอทานอล) หายหมด ซึ่ง CPF ก็รู้เลยตุนกากถั่วเหลืงกับข้าวโพดไว้ แบบนี้จะไม่ให้กำไรเยอะได้อย่างไร
เมื่อผ่านไป 1-2 เดือน ฮงขายหุ้น CPF ได้ราคา 9.60 บาท จากต้นทุนที่ซื้อมา 7.80 บาท เพราะราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 5 วันติดกัน เนื่องจากนักลงทุนคิดว่างบไตรมาส 3 ปี 2552 จะขยายตัวต่อเนื่อง ช่วงนั้นโบรกเกอร์เริ่มทยอยออกมาปรับราคาเป้าหมาย CPF แต่ฮงได้กำไรเข้ากระเป๋า 400,000-500,000 บาท มูลค่าพอร์ตลงทุนพุ่งขึ้นเป็น “หลักล้านบาท” แล้ว
“จากนั้นคุณแม่ก็เติมเงิน (เพิ่มทุน) ให้อีกครั้งหลัก “ล้านบาท” คราวนี้มีทุนเยอะทำให้พอร์ตลงทุนขยับเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว หลังจากกำไรหุ้น CPF ก็ไปเข้าหุ้น VNG ตอนนั้นอัดเต็มพอร์ต เพราะเห็นว่างบไตรมาส 4 ปี 2552 มีกำไรต่อหุ้น 0.27 บาท ราคาหุ้นวันนั้น 3 บาท ถ้าวนชัย กรุ๊ป สามารถรักษาระดับกำไรต่อหุ้นได้แบบนี้ เชื่อว่ากำไรต่อหุ้นทั้งปี 2553 จะยืน 1 บาท”
ฮงถือหุ้น VNG แค่ 3 เดือน ขายออกที่ราคา 5 บาท ได้กำไร 70% ทำให้มูลค่าพอร์ตลงทุนของเขาพุ่งขึ้นเป็นหลัก “สิบล้านบาท” เมื่อขายหุ้น VNG เกลี้ยงพอร์ต ก็โยกเงินไปซื้อหุ้น PTL ที่ราคา 7.50 บาท ช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 ทยอยสะสมก่อน 30% ของพอร์ต พอราคาหุ้นขึ้นมา 15 บาท คราวนี้อัดเต็ม 100% ของพอร์ต ใช้มาร์จิ้นซื้ออีก 60% รวมเป็น 160% แล้วไปขายออกในเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ราคา 45 บาท
หุ้นโพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) คือจุดหักเหครั้งสำคัญทำให้ฮงรวยขึ้นมหาศาล “หลายเท่าตัว” พอร์ตของเขาขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น “หลายสิบล้านบาท” ในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ฮงบอกกับทีมงานกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่าปัจจุบันมูลค่าพอร์ตของเขาเท่าไร แต่ขอไม่ให้เปิดเผยตัวเลขกับสาธารณะ
หลังจากที่ประสบความสำเร็จได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ฮงบอกว่าจากนั้นก็ซื้ออะไรไปเรื่อยเปื่อย เช่น หุ้น TVO และหุ้น STA ตอนที่ช้อนหุ้น TVO ราคาเฉลี่ย 27-29 บาท เพราะเห็นว่าราคาถั่วเหลืองในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,300 เซ็นต์ต่อบุชเชล ภายในเวลา 2 เดือน แต่ถือหุ้นตัวนี้ไม่ถึง 2 เดือน ก็ขายออกในราคา 31 บาทได้กำไรไม่เท่าไร
ส่วนหุ้น STA ซื้อมา 36 บาท เพราะเห็นว่าราคายางพาราทำจุดสูงสุดใหม่ แต่สุดท้ายก็ยอมขายขาดทุน 35 บาท เพราะราคาหุ้นไม่ขยับตัวตามราคายาง “ตัวไหนถือไว้ดูท่าจะไม่รุ่ง ผมจะขายทิ้ง”
จาก “ไอ้ตี๋หนุ่ม” หน้าละอ่อน ถามใครใครก็เมิน วันนี้กลายเป็น “เซียนฮง” อย่างเต็มภาคภูมิ เจ้าตัวก็เลย “ยืด” ได้ (ขอคุยหน่อย) บอกว่าที่จริงไม่ได้เก่งอะไรมากมาย แค่รู้ว่าเล่นหุ้นแบบไหนแล้วได้กำไร หลังจากเป็นเศรษฐีย่อมๆ ภายในเวลาไม่กี่ปี วันนี้ครอบครัวแฮปปี้มากพ่อแม่เปลี่ยนทัศนคติแล้วว่าการเล่นหุ้น “ไม่ใช่การพนัน” แต่เป็น “การลงทุน” ที่ให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า
“ผมจะขอยึดอาชีพนักลงทุนเลี้ยงตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่คิดไปทำงานอย่างอื่น แต่ถ้ามีเงินตามเป้าหมายอาจแบ่งมาลงทุนทำอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า เท่านี้ชีวิตผมก็มีความสุขแล้ว”
เรื่องราวของ “ฮง” เซียนหุ้นอัจฉริยะยังไม่จบ เขามีกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร..? สามารถปั่นเงินจาก “หลักแสน” เป็น “หลายสิบล้านบาท” ได้ อะไรคือความลับการทำกำไรในตลาดหุ้นที่เด็กหนุ่มค้นพบ..สัปดาห์หน้าห้ามพลาด!!
Tags : สถาพร งามเรืองพงศ์
ธุรกิจ : BizWeek
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ธุรกิจ : BizWeek
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
…. สถาพร งามเรืองพงศ์ เซียนหุ้นอัจฉริยะ …
บทความเก่า จาก efinancethai
http://www.efinancethai.net/RSS/Frame_R … sathaporn1
‘ฮง’ นลท.เลือดใหม่ไฟแรง กับแนวทาง Fund Flow ถนนแห่งชัยชนะ
ก้าวแรกของการลงทุนแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน บางคนช้าและบางคนเร็ว แต่สุดท้าย คือ มีเป้าหมายเดียวกันที่ต้องการประสบความสำเร็จในแวดวงตลาดทุน และวันนี้ Management’s Lifestyle จะพาไปร่วมพูดคุยกับนักลงทุนเลือดใหม่ไฟแรง อายุเพียง 24 ปี กับ ’สถาพร งามเรืองพงศ์’ หรือ ‘ฮง’ กับแนวทางวิเคราะห์ Fund Flow หนทางสู่ชัยชนะ
‘ฮง’ เด็กหนุ่มวัย 24 ปี ผู้ที่เคยมีความฝันอยากเป็นนักธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทำบ้านเดี่ยว-คอนโด แต่ด้วยเสน่ห์ของวงการตลาดหุ้นที่เย้ายวนด้วยผลตอบแทน ทำให้เขาเบนเข็มเข้าสู่ถนนแห่งการลงทุน ฮง เริ่มลงทุนเมื่อปี 2547 ตอนเรียนปี 1 ที่ม.กรุงเทพ ด้วยอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น หลังจากเพื่อนได้เล่าประสบการณ์ในตลาดทุนที่ประสบความสำเร็จได้กำไรมาค่อนข้างมาก โดยเพื่อนของเขา ได้ลงทุนในปี 2546 ในกลุ่มสื่อสารอย่าง SHIN-ADVANC ซึ่งตอนนั้นตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะกระทิงดุ แต่ก้าวแรกของการลงทุนของ ฮง กลับไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่วาดฝันไว้ กลายเป็นแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟ เพราะยังศึกษาตลาดไม่ดีพอและขาดประสบการณ์ ทำให้ปีนั้นเขาขาดทุน 10%
สำหรับเงินลงทุนก้อนแรกของ ฮง เริ่มที่ 100,000 บาท จากเงินสะสมของตัวเอง ความล้มเหลวในปีแรกของการลงทุนที่ขาดทุน 10% เพราะการลงทุนที่อิงหนังสือพิมพ์ โดยจะดูเฉพาะที่นักวิเคราะห์เชียร์ และจากการผิดพลาดในการลงทุนครั้งนี้ ทำให้เขากลับมาคิดทบทวนใหม่ และได้รู้ว่าหุ้นที่นักวิเคราะห์เชียร์เป็นหุ้นที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมามากแล้ว
“เพื่อนบอกว่าเล่นหุ้นแล้วง่าย แต่จริงๆ มันไม่ง่าย คือ เวลาเราเข้ามาในตลาดหุ้นใหม่ๆ แล้วได้กำไร มักจะคิดไปเองว่าเก่ง แต่ความเป็นจริงแล้วภายใต้ตลาดฯ ขาขึ้น หุ้นส่วนใหญ่มันขึ้นหมด แต่เราไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่มีการบริหารความเสี่ยงว่า เวลาราคาหุ้นขึ้นเราจะต้องตั้งจุดรักษากำไรไว้เท่าไหร่ ถ้าเกิดว่าราคาหุ้นตัวนี้ประกาศงบออกมา แล้วไม่เป็นอย่างที่คิด ควรขายหุ้นออกไปเท่าไหร่ ตอนเข้ามาใหม่ๆ เราอาจไม่คิดเรื่องนี้เลย อาจจะลุยอย่างเดียว แบบบู้ล้างผลาญ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ”
เขาเล่าว่า หลังจากที่เริ่มเข้ามาคลุกคลีในตลาดหุ้นมากขึ้น มีความรู้สึกว่า เป็นวงการที่มีเสน่ห์ คือ มีความเป็นเป็นอิสระในตัวเอง ถ้าเราคิดว่าภาพเศรษฐกิจไม่ดี เราสามารถขายหุ้นทิ้งได้หมด ไม่เหมือนการทำธุรกิจที่เราไม่สามารถขายธุรกิจของเราได้ง่ายๆ แม้ว่าเราจะรู้ว่า เศรษฐกิจมันจะเป็นขาลง สมัยเรียนเวลาว่างหลังจากการเรียน ก็จะพยายามไขว่คว้าหาความรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งอ่าน Research ไปงานสัมมนาต่างๆ รวมถึง SET IN THE CITY-Money Expo
“ลงทุนมาเกือบ 5 ปีแล้ว ซึ่งตอนนี้เงินลงทุนหลักล้านบาท และคิดว่าอีกสี่ห้าปีจะระดับสิบล้านบาท โดยคิดอย่าง Conservative เพราะว่าปีนี้หุ้นดี ทำให้ได้กำไร 105% ปีก่อนขาดทุน 15% ปีนี้เป็นปีแรกที่ได้ระดับถึง 100% ซึ่งจุดที่ประสบความสำเร็จในแง่ของนักลงทุน อยากได้เงินปันผลปีละประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้เราถือว่าเรา Success แล้ว”
หลังจากที่เรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์มาสักระยะหนึ่ง ทำให้มุมมองการลงทุนของเขา มีมุมมองที่เปลี่ยนไป โดยเน้นลงทุนหุ้นปัจจัยพื้นฐาน โดยดู Fund Flow ของต่างประเทศเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาลงทุน เพราะเชื่อว่าสิ่งที่กำหนดราคาหุ้นไม่ได้มีแค่ปัจจัยพื้นฐาน แต่ขึ้นอยู่กับกระแสเงินที่มีการโยกเข้ามาด้วยที่จะมีผลต่อราคาหุ้น
‘ฮง’ เด็กหนุ่มวัย 24 ปี ผู้ที่เคยมีความฝันอยากเป็นนักธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ทำบ้านเดี่ยว-คอนโด แต่ด้วยเสน่ห์ของวงการตลาดหุ้นที่เย้ายวนด้วยผลตอบแทน ทำให้เขาเบนเข็มเข้าสู่ถนนแห่งการลงทุน ฮง เริ่มลงทุนเมื่อปี 2547 ตอนเรียนปี 1 ที่ม.กรุงเทพ ด้วยอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น หลังจากเพื่อนได้เล่าประสบการณ์ในตลาดทุนที่ประสบความสำเร็จได้กำไรมาค่อนข้างมาก โดยเพื่อนของเขา ได้ลงทุนในปี 2546 ในกลุ่มสื่อสารอย่าง SHIN-ADVANC ซึ่งตอนนั้นตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะกระทิงดุ แต่ก้าวแรกของการลงทุนของ ฮง กลับไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่วาดฝันไว้ กลายเป็นแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟ เพราะยังศึกษาตลาดไม่ดีพอและขาดประสบการณ์ ทำให้ปีนั้นเขาขาดทุน 10%
สำหรับเงินลงทุนก้อนแรกของ ฮง เริ่มที่ 100,000 บาท จากเงินสะสมของตัวเอง ความล้มเหลวในปีแรกของการลงทุนที่ขาดทุน 10% เพราะการลงทุนที่อิงหนังสือพิมพ์ โดยจะดูเฉพาะที่นักวิเคราะห์เชียร์ และจากการผิดพลาดในการลงทุนครั้งนี้ ทำให้เขากลับมาคิดทบทวนใหม่ และได้รู้ว่าหุ้นที่นักวิเคราะห์เชียร์เป็นหุ้นที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นมามากแล้ว
“เพื่อนบอกว่าเล่นหุ้นแล้วง่าย แต่จริงๆ มันไม่ง่าย คือ เวลาเราเข้ามาในตลาดหุ้นใหม่ๆ แล้วได้กำไร มักจะคิดไปเองว่าเก่ง แต่ความเป็นจริงแล้วภายใต้ตลาดฯ ขาขึ้น หุ้นส่วนใหญ่มันขึ้นหมด แต่เราไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่มีการบริหารความเสี่ยงว่า เวลาราคาหุ้นขึ้นเราจะต้องตั้งจุดรักษากำไรไว้เท่าไหร่ ถ้าเกิดว่าราคาหุ้นตัวนี้ประกาศงบออกมา แล้วไม่เป็นอย่างที่คิด ควรขายหุ้นออกไปเท่าไหร่ ตอนเข้ามาใหม่ๆ เราอาจไม่คิดเรื่องนี้เลย อาจจะลุยอย่างเดียว แบบบู้ล้างผลาญ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ”
เขาเล่าว่า หลังจากที่เริ่มเข้ามาคลุกคลีในตลาดหุ้นมากขึ้น มีความรู้สึกว่า เป็นวงการที่มีเสน่ห์ คือ มีความเป็นเป็นอิสระในตัวเอง ถ้าเราคิดว่าภาพเศรษฐกิจไม่ดี เราสามารถขายหุ้นทิ้งได้หมด ไม่เหมือนการทำธุรกิจที่เราไม่สามารถขายธุรกิจของเราได้ง่ายๆ แม้ว่าเราจะรู้ว่า เศรษฐกิจมันจะเป็นขาลง สมัยเรียนเวลาว่างหลังจากการเรียน ก็จะพยายามไขว่คว้าหาความรู้เรื่องการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งอ่าน Research ไปงานสัมมนาต่างๆ รวมถึง SET IN THE CITY-Money Expo
“ลงทุนมาเกือบ 5 ปีแล้ว ซึ่งตอนนี้เงินลงทุนหลักล้านบาท และคิดว่าอีกสี่ห้าปีจะระดับสิบล้านบาท โดยคิดอย่าง Conservative เพราะว่าปีนี้หุ้นดี ทำให้ได้กำไร 105% ปีก่อนขาดทุน 15% ปีนี้เป็นปีแรกที่ได้ระดับถึง 100% ซึ่งจุดที่ประสบความสำเร็จในแง่ของนักลงทุน อยากได้เงินปันผลปีละประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งตรงนี้เราถือว่าเรา Success แล้ว”
หลังจากที่เรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์มาสักระยะหนึ่ง ทำให้มุมมองการลงทุนของเขา มีมุมมองที่เปลี่ยนไป โดยเน้นลงทุนหุ้นปัจจัยพื้นฐาน โดยดู Fund Flow ของต่างประเทศเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาลงทุน เพราะเชื่อว่าสิ่งที่กำหนดราคาหุ้นไม่ได้มีแค่ปัจจัยพื้นฐาน แต่ขึ้นอยู่กับกระแสเงินที่มีการโยกเข้ามาด้วยที่จะมีผลต่อราคาหุ้น
แนวคิดเรื่อง Fund Flow จะเป็นการวิเคราะห์แนวทางการไหลของเงิน ตั้งสมมติว่า ผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้น แสดงว่ามีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตร ก็จะเป็นแนวโน้มที่ดีของหุ้น ซึ่งในปีที่แล้วเขาขายหุ้นที่ดัชนีฯ 590 จุด เพราะตัว LIBOR อัตราการกู้ยืมระหว่างธนาคารพุ่งขึ้น แสดงว่าคนไม่กล้าปล่อยกู้ ก็เลยคิดว่าจะมีปัญหาเงินตรึงตัว แล้วจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยทำให้ปรับตัวลดลง
“ผมคิดว่า ราคาหุ้นมันเป็นการเล่นกับพื้นฐานธุรกิจ กระแสเงินและความคาดหวังของผู้คน ผมเลยคิดว่าวิชา Fund Flow, Finance, จิตวิทยา เป็นส่วนหลักที่ผมใช้ลงทุน ซึ่งการตลาดจะเป็นเรื่องการลงทุนระยะยาว ผมคิดว่า คนที่ใช้การตลาดในการเล่นหุ้นจะเป็นการลงทุนระยะยาวมากกว่า”
เขาบอกว่า กลุ่มที่ชอบพิเศษ คือ กลุ่มอสังหาฯ เพราะต้นปีนี้หุ้นอสังหาฯ ให้เงินปันผลมากกว่า 10% หลายตัว และราคาซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าซาก ซึ่งมันไม่เคยเกิดขึ้นในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ยังชอบกลุ่มพลังงาน ปลายปีก่อนหุ้นโรงกลั่นมีเรื่อง Stock Loss จากราคาน้ำมันดิบมาก แต่ต้นปีราคาน้ำมันเริ่มขึ้นมา ก็เลยเข้าไปซื้อหุ้นโรงกลั่น เพราะคิดว่ากำไรจะพลิกกลับได้
“ผมได้เงินจากครอบครัวที่ให้มาเพิ่มอีก 500,000 บาท เพื่อมาลงทุน หุ้นที่ซื้อตั้งแต่ต้นปี คือ TOP-CPF และก็ให้ Capital Gain มหาศาล ถือเป็นหุ้นที่ภูมิใจที่สุด และสาเหตุที่เลือกซื้อ เพราะปีที่แล้ว TOP มีกำไรต่ำมาก จากราคาน้ำมัน Q4/52 ปรับลดลงเยอะ และราคาน้ำมันก็ผกผันกับเงินดอลลาร์ ซึ่งเราดูว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนตัว ราคาน้ำมันเลยน่าจะขึ้น จึงคาดว่ากำไรของบริษัทน่าจะพลิกกลับมาดีขึ้นอย่างมาก
เขาเล่าว่า ช่วงแรกของการลงทุนก็ลงทุนตามสไตล์ของตัวเอง แต่หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสรู้จักคุณนรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ (สุมาอี้) ซึ่งนับถือเขาเป็นอาจารย์ โดยกลยุทธ์ของสุมาอี้ คือ จะเน้นลงทุนหุ้นเติบโต ประมาณ 4 – 5 ตัว ตัวละ 20 – 25% ของพอร์ต และไม่สนใจการแกว่งตัวของราคาหุ้นระยะสั้น เพราะหุ้นที่เติบโตระยะสั้นราคาหุ้นจะผันผวน แต่ระยะยาวถ้ามีการกระจายความเสี่ยงหุ้นทั้งพอร์ตจะเติบโต หลักการลงทุนที่ได้รับมาจากเขา ผมชอบอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือ 1. มุมมองใดๆ จะยังไม่มีค่า ถ้ามุมมองในตลาดไม่เห็นด้วยกับคุณ และ 2. ถ้าคิดว่ามีสัญญาณร้าย อย่าเถียง อย่าถาม ให้หนีไว้ก่อน
อีกคนที่นับถือ คือ คุณวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล บล.ทิสโก้ เพราะเขาเคยทำงานกับกองทุนเฮดจ์ฟันด์ แล้วเขาจะมีมุมมองเรื่อง Fund Flow ค่อนข้างดี ซึ่งหนังสือที่เขาเขียนเป็นหนังสือในดวงใจของผม คือ มันนี่เกม นอกจากนี้ผมติดตามเวลาที่เขียน Research หรือเวลาที่เขามีอบรมหรือสัมมนาผมก็จะตามไปฟัง
“การเล่นหุ้นของลูกศิษย์กับอาจารย์จะไม่ค่อยเหมือนกัน โดยอาจารย์จะเน้นเติบโตต่อเนื่อง แต่ผมจะเล่นหุ้นที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์กำไรไว้ต่ำกว่าที่ผมคิด แต่พองบการเงินออกแล้วมีการปรับประมาณการกำไรขึ้น ช่วงที่ปรับประมาณการราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งผมจะไม่ได้สนใจคุณภาพธุรกิจมาก แต่ผมจะสนใจว่าต้นทุนหุ้นที่ผมถืออยู่ คือ คนควรจะคาดหวังมันต่ำ ผมถึงจะมี Downside น้อย และ Upside เยอะ”
“ผมคิดว่า ราคาหุ้นมันเป็นการเล่นกับพื้นฐานธุรกิจ กระแสเงินและความคาดหวังของผู้คน ผมเลยคิดว่าวิชา Fund Flow, Finance, จิตวิทยา เป็นส่วนหลักที่ผมใช้ลงทุน ซึ่งการตลาดจะเป็นเรื่องการลงทุนระยะยาว ผมคิดว่า คนที่ใช้การตลาดในการเล่นหุ้นจะเป็นการลงทุนระยะยาวมากกว่า”
เขาบอกว่า กลุ่มที่ชอบพิเศษ คือ กลุ่มอสังหาฯ เพราะต้นปีนี้หุ้นอสังหาฯ ให้เงินปันผลมากกว่า 10% หลายตัว และราคาซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าซาก ซึ่งมันไม่เคยเกิดขึ้นในรอบ 10 ปี นอกจากนี้ยังชอบกลุ่มพลังงาน ปลายปีก่อนหุ้นโรงกลั่นมีเรื่อง Stock Loss จากราคาน้ำมันดิบมาก แต่ต้นปีราคาน้ำมันเริ่มขึ้นมา ก็เลยเข้าไปซื้อหุ้นโรงกลั่น เพราะคิดว่ากำไรจะพลิกกลับได้
“ผมได้เงินจากครอบครัวที่ให้มาเพิ่มอีก 500,000 บาท เพื่อมาลงทุน หุ้นที่ซื้อตั้งแต่ต้นปี คือ TOP-CPF และก็ให้ Capital Gain มหาศาล ถือเป็นหุ้นที่ภูมิใจที่สุด และสาเหตุที่เลือกซื้อ เพราะปีที่แล้ว TOP มีกำไรต่ำมาก จากราคาน้ำมัน Q4/52 ปรับลดลงเยอะ และราคาน้ำมันก็ผกผันกับเงินดอลลาร์ ซึ่งเราดูว่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนตัว ราคาน้ำมันเลยน่าจะขึ้น จึงคาดว่ากำไรของบริษัทน่าจะพลิกกลับมาดีขึ้นอย่างมาก
เขาเล่าว่า ช่วงแรกของการลงทุนก็ลงทุนตามสไตล์ของตัวเอง แต่หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสรู้จักคุณนรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ (สุมาอี้) ซึ่งนับถือเขาเป็นอาจารย์ โดยกลยุทธ์ของสุมาอี้ คือ จะเน้นลงทุนหุ้นเติบโต ประมาณ 4 – 5 ตัว ตัวละ 20 – 25% ของพอร์ต และไม่สนใจการแกว่งตัวของราคาหุ้นระยะสั้น เพราะหุ้นที่เติบโตระยะสั้นราคาหุ้นจะผันผวน แต่ระยะยาวถ้ามีการกระจายความเสี่ยงหุ้นทั้งพอร์ตจะเติบโต หลักการลงทุนที่ได้รับมาจากเขา ผมชอบอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกคือ 1. มุมมองใดๆ จะยังไม่มีค่า ถ้ามุมมองในตลาดไม่เห็นด้วยกับคุณ และ 2. ถ้าคิดว่ามีสัญญาณร้าย อย่าเถียง อย่าถาม ให้หนีไว้ก่อน
อีกคนที่นับถือ คือ คุณวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล บล.ทิสโก้ เพราะเขาเคยทำงานกับกองทุนเฮดจ์ฟันด์ แล้วเขาจะมีมุมมองเรื่อง Fund Flow ค่อนข้างดี ซึ่งหนังสือที่เขาเขียนเป็นหนังสือในดวงใจของผม คือ มันนี่เกม นอกจากนี้ผมติดตามเวลาที่เขียน Research หรือเวลาที่เขามีอบรมหรือสัมมนาผมก็จะตามไปฟัง
“การเล่นหุ้นของลูกศิษย์กับอาจารย์จะไม่ค่อยเหมือนกัน โดยอาจารย์จะเน้นเติบโตต่อเนื่อง แต่ผมจะเล่นหุ้นที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์กำไรไว้ต่ำกว่าที่ผมคิด แต่พองบการเงินออกแล้วมีการปรับประมาณการกำไรขึ้น ช่วงที่ปรับประมาณการราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งผมจะไม่ได้สนใจคุณภาพธุรกิจมาก แต่ผมจะสนใจว่าต้นทุนหุ้นที่ผมถืออยู่ คือ คนควรจะคาดหวังมันต่ำ ผมถึงจะมี Downside น้อย และ Upside เยอะ”
ฮง ให้มุมมองจากนี้ถึงสิ้นปีว่า Fund Flow น่าจะเริ่มชะลอ เพราะผลตอบแทนของตลาดหุ้นเทียบกับผลตอบแทนของพันธบัตร ตอนนี้อยู่ในระดับที่ไม่จูงใจให้โยกย้ายเม็ดเงินเข้ามา เพราะมันเริ่มน้อย คิดว่าจะมีการขายหุ้นปรับพอร์ตแล้วไปซื้อพันธบัตร ส่วนทิศทางของตลาดหุ้นไทยในปีหน้า น่าจะเล่นยาก เพราะว่าไตรมาส 1 – 2 Book Value ของ SET อยู่ที่ 1 เท่า ซึ่งถูกเท่ากับสมัยต้มยำกุ้ง
แต่ตอนนี้ Book Value เกือบ 2 เท่า และปีหน้าอัตราดอกเบี้ยน่าจะขาขึ้น เพราะเงินเฟ้อเริ่มกลับมา ซึ่งดอกเบี้ยแต่ละที่ต่ำมาก ถ้าดอกเบี้ยขาขึ้น ปกติ P/E ของตลาดหุ้นจะลดลง เพราะมีเงินส่วนหนึ่งออกจากตลาดหุ้น และการอัดฉีดเงินของอเมริกาปีหน้าก็น่าจะหมด ทำให้สภาพคล่องน้อยลง และปีหน้ามีความเสี่ยงว่าจีดีพีจะกลับไปถดถอยอีก คือ ปกติเวลาเกิดวิกฤตรอบก่อนจะติดลบ 3 – 4 ไตรมาส แล้วกลับมาเป็นบวก และจะกลับไปติดลบใหม่อีกครั้ง เรียกว่า Double Dip ซึ่งช่วงที่บวกเพราะกระตุ้นด้วยการอัดฉีดเงิน แต่พอกระตุ้นเยอะแล้วกระสุนหมด กำลังซื้อของคนยังไม่กลับมา จีดีพีก็จะติดลบใหม่ ซึ่งมองว่าเป็นหนึ่งในความเสี่ยงสำหรับปีหน้า
สำหรับปรัชญาในการลงทุนของผมนั้นมองว่า 1. หุ้นทุกตัวจะมีวันของมัน 2. ธุรกิจที่ไม่ดีอาจเป็นการลงทุนที่ดี 3. มุมมองใดๆ จะไม่มีค่าถ้าตลาดไม่เห็นด้วย 4. ถ้าเห็นสัญญาณอันตรายให้หนีทันที 5. ก่อนเข้าซื้อหุ้นต้องตอบให้ได้ว่าคนในตลาดฯ คาดหวังสูงหรือต่ำ ถ้าคนในตลาดคาดหวังสูงจะลงทุนไม่เต็มที่ และอยากแนะนำนักลงทุนมือใหม่ว่าถ้าพอร์ต 1 ล้านบาท ในช่วง 1- 2 ปีให้ลงทุน แค่ 1 แสนบาทก่อน และอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน และอบรมเรื่องหุ้น การประเมินมูลค่าหุ้น จากนั้น จึงค่อยลงทุนเต็มวงเงิน เพราะหากขาดทุนเงินที่ได้คืนมาอาจใช้เวลานาน
สำหรับ ฮง นอกเหนือจากบทบาทนักลงทุนแล้ว เขายังทำหน้าที่ดูแลบริหารงานที่บ้าน ซึ่งทำโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยทำมากว่า 10 ปี ภายใต้แบรนด์ของตัวเองชื่อ BASINI และ NASA จับกลุ่มลูกค้าเป็นเสื้อผ้าผู้ชาย เสื้อยืดโปโล โดยจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ธุรกิจครอบครัวของฮงยังมีธุรกิจขายต้นไม้ลีลาวดี ชื่อสวน ลีลาภิรมย์ อยู่ ซอยเทียนทะเล บางขุนเทียน อีกด้วย ใครสนใจหรืออยากเจอเจ้าตัวก็แวะเวียนไปได้ และเมื่อถามถึงเจ้าของหัวใจ ฮง ตอบว่า ตอนนี้หัวใจยังว่าง ซึ่งสเปกของเขา ชอบผู้หญิงหวานและเรียบร้อย
แม้ว่า ฮง จะอายุน้อย แต่ด้วยความขยันหมั่นเพียร และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ที่สำคัญเขามักเอาความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางชี้นำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งคงต้องจับตาดูว่า หนุ่มผู้นี้ จะเดินทางไปสู่ฝันที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่ และหากใครต้องการคุยกับเขาสามารถไปคุยได้ที่ Blog http://hongvalue.wordpress.com/
แต่ตอนนี้ Book Value เกือบ 2 เท่า และปีหน้าอัตราดอกเบี้ยน่าจะขาขึ้น เพราะเงินเฟ้อเริ่มกลับมา ซึ่งดอกเบี้ยแต่ละที่ต่ำมาก ถ้าดอกเบี้ยขาขึ้น ปกติ P/E ของตลาดหุ้นจะลดลง เพราะมีเงินส่วนหนึ่งออกจากตลาดหุ้น และการอัดฉีดเงินของอเมริกาปีหน้าก็น่าจะหมด ทำให้สภาพคล่องน้อยลง และปีหน้ามีความเสี่ยงว่าจีดีพีจะกลับไปถดถอยอีก คือ ปกติเวลาเกิดวิกฤตรอบก่อนจะติดลบ 3 – 4 ไตรมาส แล้วกลับมาเป็นบวก และจะกลับไปติดลบใหม่อีกครั้ง เรียกว่า Double Dip ซึ่งช่วงที่บวกเพราะกระตุ้นด้วยการอัดฉีดเงิน แต่พอกระตุ้นเยอะแล้วกระสุนหมด กำลังซื้อของคนยังไม่กลับมา จีดีพีก็จะติดลบใหม่ ซึ่งมองว่าเป็นหนึ่งในความเสี่ยงสำหรับปีหน้า
สำหรับปรัชญาในการลงทุนของผมนั้นมองว่า 1. หุ้นทุกตัวจะมีวันของมัน 2. ธุรกิจที่ไม่ดีอาจเป็นการลงทุนที่ดี 3. มุมมองใดๆ จะไม่มีค่าถ้าตลาดไม่เห็นด้วย 4. ถ้าเห็นสัญญาณอันตรายให้หนีทันที 5. ก่อนเข้าซื้อหุ้นต้องตอบให้ได้ว่าคนในตลาดฯ คาดหวังสูงหรือต่ำ ถ้าคนในตลาดคาดหวังสูงจะลงทุนไม่เต็มที่ และอยากแนะนำนักลงทุนมือใหม่ว่าถ้าพอร์ต 1 ล้านบาท ในช่วง 1- 2 ปีให้ลงทุน แค่ 1 แสนบาทก่อน และอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน และอบรมเรื่องหุ้น การประเมินมูลค่าหุ้น จากนั้น จึงค่อยลงทุนเต็มวงเงิน เพราะหากขาดทุนเงินที่ได้คืนมาอาจใช้เวลานาน
สำหรับ ฮง นอกเหนือจากบทบาทนักลงทุนแล้ว เขายังทำหน้าที่ดูแลบริหารงานที่บ้าน ซึ่งทำโรงงานเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยทำมากว่า 10 ปี ภายใต้แบรนด์ของตัวเองชื่อ BASINI และ NASA จับกลุ่มลูกค้าเป็นเสื้อผ้าผู้ชาย เสื้อยืดโปโล โดยจำหน่ายภายในประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ธุรกิจครอบครัวของฮงยังมีธุรกิจขายต้นไม้ลีลาวดี ชื่อสวน ลีลาภิรมย์ อยู่ ซอยเทียนทะเล บางขุนเทียน อีกด้วย ใครสนใจหรืออยากเจอเจ้าตัวก็แวะเวียนไปได้ และเมื่อถามถึงเจ้าของหัวใจ ฮง ตอบว่า ตอนนี้หัวใจยังว่าง ซึ่งสเปกของเขา ชอบผู้หญิงหวานและเรียบร้อย
แม้ว่า ฮง จะอายุน้อย แต่ด้วยความขยันหมั่นเพียร และไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ที่สำคัญเขามักเอาความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนในการปรับปรุงแก้ไข เพื่อเป็นแนวทางชี้นำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งคงต้องจับตาดูว่า หนุ่มผู้นี้ จะเดินทางไปสู่ฝันที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่ และหากใครต้องการคุยกับเขาสามารถไปคุยได้ที่ Blog http://hongvalue.wordpress.com/
ทฤษฎีลงทุน 10 เด้ง ‘สถาพร งามเรืองพงศ์’ เซียนหุ้นวัย 25 ปี
เจาะลึกเทคนิคลงทุน ‘เซียนหุ้นวัยเบญจเพส’ เจ้าของพอร์ตหลายสิบล้านบาท ‘ฮง’ สถาพร งามเรืองพงศ์ เล่นหุ้นให้ ‘รวย’ ต้องดูพื้นฐาน 70% เทคนิค 30%
เริ่มเล่นหุ้นตอนเรียนปี 1 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ “แอบพ่อ-โอ๋แม่” ทุบกระปุกเงินเก็บแตะเอีย 100,000 บาท หว่านล้อมให้แม่ไปเปิดบัญชีเล่นหุ้นให้ที่ บล.ธนชาต ใช้ชื่อตัวเองไม่ได้เพราะยังเด็กเกินไป เวลาสั่งซื้อขายหุ้นก็ให้ส่งจดหมายไปที่บ้านญาติเพราะกลัวพ่อรู้ พ่อมี “อคติ” กับตลาดหุ้น มองว่าการเล่นหุ้นไม่ต่างอะไรกับ “เล่นการพนัน”
เด็กหนุ่มฮงในวัยเพียง 19-20 ปี ใช้วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ออกตระเวนไปแสวงหาความรู้ตามตลาดหลักทรัพย์ และโบรกเกอร์ต่างๆ รู้ว่าที่ไหนมี “สัมมนาฟรี” เด็กหนุ่มเป็นต้องขวนขวายไปฟัง บางครั้งต้องหาวิธีหลอกล่อเจ้าหน้าที่สารพัดเพราะไม่ใช่ลูกค้าของโบรกเกอร์นั้น
ครั้นระหว่างพักทานอาหารว่างและหลังงานสัมมนาเลิก เด็กฮงก็จะวิ่งไปเกาะติดวิทยากรขุดคุ้ยถามประเด็นที่ตนสงสัย แต่บ่อยครั้งที่เด็กฮง “ถูกมองข้าม” วิทยากรบางคนเห็นหน้าละอ่อนยังเป็นเด็กก็ไม่ยอมตอบคำถามไม่ให้ความสำคัญ จนเขาพูดกับตัวเองว่า “โลกนี้ไม่มีความยุติธรรม” แม้จะทรมานกับสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ให้ความสำคัญกับไอ้ตี๋จอมเซ้าซี้ แต่ฮงก็พยายามหาความรู้จากหนังสือ และเว็บไซต์ต่างๆ เพิ่มเติมจนแม่เห็นความตั้งใจจริง
จากเงิน “หลักแสน” พอร์ตของเด็กฮงก็ค่อยๆ งอกเงยอย่างรวดเร็ว แม่จึงเติมทุนให้แต่ก็ไม่ได้มากมาย ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี (อายุ 19-25 ปี) “ฮง” สถาพร งามเรืองพงศ์ กลายเป็น “เซียนหุ้นวัยรุ่น” ชื่อดังมีพอร์ตใหญ่ “หลายสิบล้านบาท” พ่อของฮงที่มีอาชีพค้าเสื้อยืดย่านพระราม 2 วันนี้ยอมรับในตัว “ลูกชายคนเล็ก” ของครอบครัวคนนี้ ครอบครัวของเขาเพิ่งเปลี่ยนอาชีพไปปลูกต้นลีลาวดีขายบนเนื้อที่ 33 ไร่ ย่านบางขุนเทียนชื่อสวน “ลีลาวดีภิรมย์”
ฮงคุยว่าเงินลงทุนของเขาเพิ่มขึ้นราวๆ 20 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ปี (2552-2553) ขณะที่พอร์ตลงทุนขยายตัวประมาณ 40-50 เท่า ภายในเวลา 7 ปี (2547-2553) หลังประสบความสำเร็จอย่างแรงฮงพัฒนาตัวเองไปเป็น “วิทยากร” เล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการลงทุน มีนักลงทุน “รุ่นพี่-รุ่นอา” จองที่นั่งเข้าฟังจำนวนมาก อีกทั้งนามแฝง Hongvalue ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างดีใน “เว็บบอร์ด” แวลูอินเวสเตอร์
แม้ฮงแฝงตัวกลมกลืนกับแวลูอินเวสเตอร์ (VI) แต่เขาก็นิยามตัวเองเป็น “ลูกครึ่ง Value Investor”
“ผมจะลงทุนกึ่งแวลู จะผสมผสานระหว่างปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งต่างจากนักลงทุน Value ทั่วไป แต่วันนี้มีนักลงทุน VI รุ่นใหม่ยึดแนวทางนี้เพิ่มขึ้น เพราะพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลดีมาก”
“ผมจะลงทุนกึ่งแวลู จะผสมผสานระหว่างปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค ซึ่งต่างจากนักลงทุน Value ทั่วไป แต่วันนี้มีนักลงทุน VI รุ่นใหม่ยึดแนวทางนี้เพิ่มขึ้น เพราะพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลดีมาก”
ฮงกล่าวว่า การจะซื้อหุ้นสักหนึ่งตัว นักลงทุนควรต้องดูทั้งปัจจัยพื้นฐานและกราฟเทคนิคควบคู่กันไป เพราะการดูกราฟย้อนหลังจะทำให้เห็น Demand และ Supply ของหุ้นในอดีต ที่สำคัญจะเห็นจุด “นิวไฮ” ของหุ้นด้วย
“สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เหมือนนักลงทุนหุ้นคุณค่าทั่วไปคือ ผมยอมรับการขาดทุนได้บ้าง แต่ถ้าเป็นนักลงทุน VI แท้ๆ ต้องไม่มีคำว่า Cut Loss (ตัดขาดทุน) แต่ผมคิดแบบนั้นไม่ได้ตราบใดที่ยังชื่นชอบการเล่นหุ้นคอมมูนิตี้ (สินค้าโภคภัณฑ์) ที่สำคัญนักลงทุน VI จะไม่ดูกราฟดูปัจจัยพื้นฐานอย่างเดียว เขามองว่าดูกราฟเหมือนมองกระจกหลัง มันเกิดขึ้นไปแล้ว ไม่สามารถสะท้อนธุรกิจในปัจจุบันหรือในอนาคตได้”
สำหรับเทคนิคการลงทุนฮงจะเน้นดูปัจจัยพื้นฐาน 70% อีก 30% จะดูเทคนิเคิล และกราฟหุ้นย้อนหลัง หลายครั้งเขาบอกว่ากราฟหุ้น “ช่วยชีวิต” ไว้ ทำให้ไม่ต้อง “ขายหมู” (ขายถูก) ให้คนอื่น โดยเขายอมลงทุนเสียเงินปีละ 20,000 บาท ติดตั้งโปรแกรม APEX เพื่อดูกราฟราคาหุ้นโดยเฉพาะ
ยกตัวอย่างผลดีจากการดูกราฟ เช่น ราคาหุ้นทำนิวไฮ 10 บาท อยู่ดีๆ ลงมา 8-9 บาท แล้วซื้อขาย 8-9 บาทนานพอสมควร อยู่ๆ ก็วิ่งขึ้นไป 10 บาท โดยมีวอลุ่มเข้ามาเยอะมาก เหตุการณ์ลักษณะนี้ทำให้คิดได้ว่าบริษัทนี้ต้องมีอะไรเปลี่ยนแปลง “ผมก็จะเริ่มตรวจสอบข้อมูลทันที” บางครั้งฮงเริ่มแกะรอยจากหุ้นที่มี “วอลุ่มผิดสังเกต” จากนั้นก็จะคัดเลือกหุ้นที่ “สวย” (ผลประกอบการดีที่สุด) เข้าพอร์ต
สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเลือกหุ้นที่ “เพิ่งทำจุดสูงสุดใหม่ของกำไร” และต้องอ่านเกมต่อไปว่า “ไตรมาสที่เหลือ” ของปีนั้นๆ ต้องสามารถรักษากำไรสุทธิระดับนี้ (ดี) ได้ต่อเนื่อง ขั้นตอนจากนั้น ต้องเลือกหุ้นที่สามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลประมาณ 6-7% ต่อปี และข้อสุดท้าย ต้องเลือกหุ้นที่ซื้อขายต่ำกว่า P/E ของกลุ่ม…เหล่านี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นของหุ้นที่จะสร้างผลตอบแทนได้สูงจากการลงทุน
เมื่อได้หุ้นที่เข้าข่ายกำไรสุทธิทำจุดสูงสุดใหม่ จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ และค่า P/E ไม่สูง (ราคาหุ้นยังไม่แพง) ได้แล้ว ฮงก็จะเริ่มปฏิบัติการวิเคราะห์เจาะลึก “งบการเงิน” ทันที โดยเน้นหนักไปที่ “กระแสเงินสด” ของกิจการ พยายามดูย้อนหลังให้ได้มากที่สุด
โดยเฉพาะในส่วนของความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดของกิจการ (EBITDA) ต้องมีตัวเลขใกล้เคียงกับกำไรสุทธิ ขณะที่อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ต้องไม่เกิน 1 เท่า และควรเป็นหนี้สิน (หมุนเวียน) ที่ไม่มีดอกเบี้ย
เท่านั้นยังวางใจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ฮงจะทำการวิเคราะห์ “โครงสร้างธุรกิจ” ผลิตภัณฑ์ตัวไหนที่ทำกำไรให้บริษัท รวมทั้งอ่านบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เขียนถึงหุ้นตัวนี้ รวมทั้งค้นหาบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารมาอ่านเพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นที่จะวางเดิมพันราคาต้อง “วิ่ง” ชัวร์!
เท่านั้นยังวางใจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ฮงจะทำการวิเคราะห์ “โครงสร้างธุรกิจ” ผลิตภัณฑ์ตัวไหนที่ทำกำไรให้บริษัท รวมทั้งอ่านบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ต่างๆ ที่เขียนถึงหุ้นตัวนี้ รวมทั้งค้นหาบทสัมภาษณ์ของผู้บริหารมาอ่านเพื่อให้แน่ใจว่าหุ้นที่จะวางเดิมพันราคาต้อง “วิ่ง” ชัวร์!
“ผมจะอ่านบทวิเคราะห์ต่างๆ ที่โบรกเกอร์ส่งมาในอีเมล์ทุกเช้า รวมถึงอ่านบทสัมภาษณ์ผู้บริหารเพื่อให้เห็นทิศทางของบริษัท ส่วนใหญ่จะใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนเพียง 2 วัน”
เมื่อหาข้อมูลครบถ้วนแล้วก็จะเริ่มทำ “ประมาณการผลประกอบการล่วงหน้า” เพื่อประเมินราคาที่เหมาะสมในอนาคต สำหรับวิธีการเข้าเก็บหุ้นจะใช้สูตร 30:30:30:10 ซื้อแล้วหุ้นขึ้นถึงซื้อ “สเต็ปที่สอง” “สเต็ปที่สาม” และ “สเต็ปที่สี่”
หมายความว่าซื้อครั้งแรก 30% สเต็ปที่สอง (อีก 30%) จะซื้อเพิ่มก็ต่อเมื่อราคาหุ้นขยับตัวเพิ่มขึ้น 7-8% ถ้าซื้อ 30% แรกแล้วราคาไม่ขึ้นก็จะรอไปก่อน “ยังไม่ซื้อ” ตรงกันข้ามถ้าซื้อแล้ว 30% ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 8% ก็จะ Cut Loss (ตัดขายขาดทุน) ทิ้งทันที ถ้าทิ้งไว้นานเดี๋ยว “ออก(ของ)ไม่ได้”
เซียนหุ้นอัจฉริยะ : cpf สถาพร 30 30 30 10 : ฮง เซียนหุ้นอัจฉริยะ : ฮง สถาพร งามเรืองพงศ์ stop loss : ฮง สถาพร : : เวบเล่นหุ้น สถาพร กราฟ : ฮงกับหุ้น : ฮ ง เซียน หุ้น อัจฉริยะ : อัจฉริยะ พันล้าน :หมายความว่าซื้อครั้งแรก 30% สเต็ปที่สอง (อีก 30%) จะซื้อเพิ่มก็ต่อเมื่อราคาหุ้นขยับตัวเพิ่มขึ้น 7-8% ถ้าซื้อ 30% แรกแล้วราคาไม่ขึ้นก็จะรอไปก่อน “ยังไม่ซื้อ” ตรงกันข้ามถ้าซื้อแล้ว 30% ราคาหุ้นปรับตัวลดลง 8% ก็จะ Cut Loss (ตัดขายขาดทุน) ทิ้งทันที ถ้าทิ้งไว้นานเดี๋ยว “ออก(ของ)ไม่ได้”