วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ประเมินราคาหุ้นด้วย Discounted cash flow




วิธีประเมินราคาหุ้น สูตรหาราคาหุ้น หามูลค่าหุ้น ด้วย Discounted cash flow วิธีที่ 2

วีธีประเมินราคาหุ้น-2
วิธีประเมินราคาหุ้น แบบที่ 2 ที่จะนำเสนอในวันนี้ จะใช้ Discounted cash flow หรือ DCF เป็นการหามูลค่าของสินทรัพย์ ในส่วนของ Income approach ซึ่งปกติแล้ว การหามูลค่าของสินทรัพย์ จะมี 3 ส่วน คือ
1. Cost approach
2. Market approach
3. Income approach
โดย DCF นั้นจะทำการคาดการณ์รายได้ของบริษัท ที่บริษัทที่เราสนใจเข้าไปลงทุน ว่ามีโอกาสที่จะทำได้ใน 5-10 ปีข้างหน้าเป็นเท่าไหร่ แล้วทำการหามูลค่าปัจจุบันด้วย discounted rate ที่เหมาะสม (คือ % เทียบกับอนาคต)
Discounted cash flow จะมีตัวแปรที่ใช้คำนวณหลักๆ คือ
1. มูลค่าของผลตอบแทนในแต่ละปี (CF) ซึ่งมีหลาย model เช่น Net income, Dividend, Free cashflow, etc…
2. discounted rate (i) อันนี้แล้วแต่ model ที่จะใช้ ถ้าเป็น dividend approach model ก็อาจใช้ required return ของ investor เลย แต่ถ้าเป็น net income หรือ free cash flow ต้องใช้ WACC ของกิจการ หรือใช้ Return from risk free investment ก็จะได้อีกความหมายหนึ่ง แต่ถ้าจะเอาลึกๆจริงๆ จะใช้อันไหนก็ได้ แต่ความหมายของ NPV ที่คำนวณได้ก็จะเปลี่ยนไปตาม discounted rate ที่ใช้เอง
3. ระยะเวลาที่จะทำ projection (N ปี) ให้ project ไปเท่าที่เราจะคาดการณ์ได้ก็พอ เพราะไม่งั้นจะยิ่งเดายิ่งมั่วเข้าป่าไป ซึ่ง cash flow หลังจากช่วงที่เรา project ได้ เราก็จะคิดเป็น terminal value อยู่แล้วไม่ต้องห่วงว่าจะไม่เอามารวมในมูลค่ากิจการ
ซึ่งไอ้การเดา เอานี่แหละที่มันจะทำให้เกิดความผิดพลาด ดังนั้นเราจึงต้องเลือกกิจการที่มี DCA – Durable competitive advantage หรือความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะได้คาดการณ์กระแสเงินสดล่วงหน้าได้แม่นยำ
เสร็จแล้วก็หา NPV ซะ จากสูตรไปเปิดในหนังสือที่ไหนก็มี
NPV = Sum of [CFi/(1+i)^n] ; n=1–>N
โดย NPV ที่คำนวณได้ คือมูลค่าของสินทรัพย์ หรือกิจการนั้น
หากเราสามารถซื้อ Asset นี้ได้ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าของมัน
ก็เรียกว่ามี Margin of safety
ซึ่งเหมือนกับแนวคิดเรื่อง Safety factor ในการออกแบบ
และการกำหนด Safety factor ก็ขึ้นกับความมั่นใจในการคำนวณของเรานั่นเอง
สำหรับคุณบัฟเฟต เค้าใช้ Safety factor ประมาณ 2 เท่านะ คือหา NPV ได้เท่าไรก็จะซื้อที่ครึ่งราคา
และเข้าใจว่าเค้าใช้ FCF แต่ละปีแทนค่าใน CFi ในสูตรข้างบน
วิธีการประเมินราคาหุ้นนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี โดยแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ Discounting Model กับRelative Model
1. Discounting Model วิธีการประเมินราคาหุ้นแบบนี้มีวิธีคิดโดยอยู่บนพื้นฐานที่ว่า มูลค่าของหุ้นจะเกิดจากการคิดกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแล้วปรับ ลดมาอยู่ในมูลค่าปัจจุบัน วิธีที่คิดจะได้เห็นกันบ่อยๆก็คือ Dividend discounted model โดยประเมินจากปันผลที่คาดที่ว่าจะได้รับในอนาคต หรือวิธี Discount cash flow โดยหลักมีคิดคล้ายๆกัน คือเอากระแสเงินสดสุทธิที่เป็นอิสระ คือไม่ต้องใช้ลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์เพื่อรักษาสภาพของธุรกิจเอาไว้ แล้วคำนวณมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน
2. Relative Model วิธีนี้จะใช้การประเมินมูลโดยการเปรียบเทียบ พื้นฐานมาจากความคิดที่ว่า ของ 2 สิ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ควรมีมูลค่าใกล้เคียงกัน ของที่มีคุณภาพที่สูงกว่าก็ควรมีมูลค่าสูงกว่า โดยสิ่งที่เอามาวัดเป็นคุณภาพของหุ้นนั้นก็มีใช้กันอยู่หลายอย่าง เช่น p/e, p/bv, p/fcf, p/sales ฯลฯ
จากพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นทั้ง 2 รูปแบบ ก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันพอสมควร
พวก กลุ่ม Discount มีข้อดีคือสามารถพิสูจน์ออกมาเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ชัดเจนทำให้ดูว่ามี ความน่าเชื่อถือสูง แต่กลับมีข้อจำกัดสำคัญอย่างหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องประมาณอนาคตของบริษัทออกมาเป็นตัวเลขเป็นไปเป็นระยะเวลาหลาย ปี ซึ่งการประมาณตัวเลขเหล่านี้ให้ได้ใกล้เคียงความจริงเพียงแค่ปีสองปีก็นับ ว่ายากมากแล้ว ยิ่งเราต้องประมาณออกไปนานเท่าไหร่ โอกาสที่จะคาดการณ์ผิดก็ยิ่งสูงมากขึ้นเรื่อยๆ และวิธีนี้ยังมีเลขอีกตัวที่ต้องใช้คืออัตราส่วนคิดลด หรือ โดยการคิดก็มีหลายแบบอีก บางคนอาจจะใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย หรือ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการในการลงทุน ซึ่งแต่ละคนก็คิดได้ต่างกันไป จากการที่ต้องมีการประมาณตัวเลขผลประกอบการในอนาคต และอัตราส่วนคิดลด ทำให้ราคาที่คำนวณได้จากวิธี Discount นั้นแตกต่างกันมาก คน 2 คนที่มีข้อมูลหุ้นตัวหนึ่งเท่าๆกันอาจจะประเมินราคาออกมาห่างกันเป็นเท่าตัว ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะฉะนั้นการใช้งานจริงก็อาจจะยากเอามากๆ และเสียเวลาคิดนานมากเช่นกันกว่าจะได้คำตอบที่น่าเชื่อถือออกมา บางครั้งวิธีผมมองว่าเป็นวิธีแบบสั่งได้ อยากได้ราคาเป้าหมายเท่าไหร่บอกมา แก้ตัวเลขนิดๆหน่อยราคาเป้าหมายก็เปลี่ยนไปคนละเรื่องแล้ว แต่ผลลัพธ์คือ ปวดหัวเวลาคิด แถมยังเอามาใช้งานจริงไม่ค่อยได้
วิธีการหาราคาหุ้น กลุ่ม Relative นี้มีข้อดีอย่างหนึ่งเลยคือง่าย … ไม่ต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์ซับซ้อนอะไรเลยครับ เพิ่งแค่ บวก ลบ คูณ หาร เป็นก็หาได้ไม่ยาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่มากเช่นกัน คือดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ พิสูจน์ไม่ค่อยได้ นอกจากนี้การประเมินก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับหุ้นบางประเภทอยู่พอสมควร
dcf ใช้สำหรับบริษัทที่สามารถทราบ free cash flow ในระยะยาวๆ ได้
สามารถใช้เป็นราคาที่ควรจะเป็นในระยะยาว เหมาะสำหรับคนที่ลงทุนในหุ้นหลายๆปี การลงทุนเป็นลักษณะ stand alone DCF ยุ่งยากในการคาดคะเนกระแสเงินสดในอนาคต ประมาณว่า ต้องใช้สมมติฐานมาเกี่ยวข้องด้วยแต่ถ้าได้ข้อมูลดี มูลค่าหุ้นที่คำนวณได้น่าจะแม่นยำกว่า DCF จะใช้ได้ดีมากๆเมื่อเราสามารถคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทในระยะยาวได้ค่อน ข้างใกล้เคียง
ข้อเสีย
คำนวณ free cash flow & terminal value ให้ถูกต้องในระยะยาวได้ยาก
การคำนวณยุ่งยากกว่า
ไม่ได้เอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
dcf หากจะใช้ค่าการเติบโตของfcfก็ต้องรู้ว่ากิจการกำลังจะทำอะไรในอนาคต หากใช้ค่าในอดีต ก็เสี่ยงน่าดู ปรกติไม่ค่อยใช้วิธีนี้เท่าไหร่ครับ เพราะมองไกลๆไม่ค่อยเห็น ไม่เหมาะกับ dcf คือ
1. แบงค์ ประกัน การเงิน ให้ใช้ cash flow to equity แทน
2. พวก conglomarate หรือ holding company เพราะถือหุ้นบริษัทเยอะไป ขี้เกียจคิดเลข
PE ใช้กำหนดราคาเป้าหมายในระยะสั้น การคำนวณเป็นลักษณะเปรียบเทียบ
คำนวณง่าย และ เข้าใจความหมายได้ง่าย
เอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาคิดด้วย
ปัญหาคือ ระวังอย่าไปติดกับ E ปัจจุบัน หรือ E ที่ผ่านมา
กับอีกตัวคือ บางอุตสาหกรรมหรือ บริษัท ถึงแม้จะทำ E ได้ดี
แต่ Cash ที่ได้กับต้องไปลงทุนเพิ่มในทรัพย์สิน เช่น เครื่องจักร
ซึ่งมีโอกาสล้าสมัย เสื่อมค่ามาก ทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในงบดุลนั้น
อาจแฝงเอาความด้อยค่าไว้อยู่มากก็ได้
ต้องพิจารณาอุตสาหกรรมและหุ้นแต่ละตัวไป
p/e ก็ต้องดูคุณภาพของeที่กลายเป็นเงินสดจริง การใช้ค่าตัวคูณก็ต้องประเมินจากความสามารถในการทำกำไรในอนาคต แสดงว่าต้องเข้าใจในธุรกิจก่อนทั้งนั้น
ข้อเสีย
กำหนด pe ที่เหมาะสมได้ยาก (มีหลายแบบให้เลือก เช่นใช้อุตสาหกรรมเดียวกันมาเฉลี่ย หรือ กำหนดเอาตามคุณภาพบริษัท)
ไม่ได้ดูระยะยาว ดูแค่ปีต่อปี
สามารถ mid lead the price ได้ถ้าใช้ pe ของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ตัวอย่างการนำไปใช้
การหา FCF เพื่อดูว่าแต่ละปี บริษัทมีเงินสดสุทธิที่แท้จริงที่บริษัทสามารถนำไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ กับผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะการจ่ายปันผล หรือ การลงทุนในอนาคต ได้ปีละเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งก็เป็นตัวบอกถึงคุณภาพของกำไรด้วย เพราะบางบริษัท มีกำไรสูง แต่ FCF ต่ำเพราะว่าต้องใช้การลงทุนมากเพื่อเพิ่ม growth แต่บางบริษัทสามารถเพิ่ม growth ได้โดยไม่ต้องลงทุนมาก ยกตัวอย่าง 2 บริษัท
บริษัทแรก มีกำไรปีละ 500 ล้านบาท ค่าเสื่อม 400 ล้าน แต่ต้องลงทุน 200 ล้านบาท เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และต้องลงทุนเพิ่มอีก 1500 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ( ยอดขาย ) ในปีต่อไปอีก 15%
FCF = 500+400-200-1500 = -800 ล้านบาท
บริษัท 2 มีกำไรปีละ 500 ล้าน ค่าเสื่อม 50 ล้าน ต้องลงทุน 50 ล้านเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และลงทุน 100 ล้านเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ( ยอดขาย ) ในปีต่อไปอีก 15%
FCF = 500 + 50 -50 – 100 = 400 ล้านบาท
ดังนั้น จะเห็นว่า บริษัท 1 และ 2 มีกำไรสุทธิเท่ากัน แต่มี FCF ต่างกันมาก เพราะแม้ว่าทั้ง 2 บริษัทจะมีการลงทุนเพื่อเพิ่มยอดขาย 15% ในปีหน้าเหมือนกันแต่จำนวนเงินลงทุนต่างกันมากเมื่อเทียบกับกำไรที่เท่ากัน ดังนั้นหากหุ้นทั้ง 2 ตัวมี p/e เท่ากัน เราควรซื้อหุ้นตัวที่ 2 อย่างแน่นอนครับ และโดยทั่วไปหุ้นตัวที่ 2มักจะมี p/e สูงกว่าตัวที่ 1 พอสมควร แต่นักลงทุนมักจะรู้สึกว่าหุ้นตัวที่ 2 เป็นหุ้นแพง และตัวที่ 1 เป็นหุ้นที่ถูก และอาจจะติดกับดับ value trap ได้ครับเพราะหุ้นตัวที่ 1 เป็นหุ้นที่มีคุณภาพกำไรต่ำครับ ลองสังเกตได้ว่า หุ้นอิเลคทรอนิกส์ หรือยานยนต์ บางตัวมีลักษณะคล้ายๆ หุ้นตัวแรกครับ
วิธีคำนวณ หุ้น ราคาพื้นฐาน : วิธี ประเมิน มูลค่า หุ้น : free cash flow to firm กับ free cash flow : วิธีคำนวณราคาพื้นฐานหุ้น : วิธีคำนวณหา price/cash flow ratios : วิธีคิดมูลค่าหุ้น : วิธีดูหุ้น คำนวณรายได้ : วิธีประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ วิธี free cash flow : สูตร equity npv และ project npv : สูตร ประเมินมูลค่าบริษัท :