เช้าตรู่ของวันที่ 1 เสาร์แรกของเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะที่อากาศบ้านเรากำลังร้อนจัด บนท้องถนน บริเวณสี่แยกราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียง อัดแน่นไปด้วยเต้นท์และผ้าพลาสติกปูนอนของผู้คนที่มีความรู้สึกอึดอัดขัด ข้อง และเรียกตัวเองว่า “ไพร่” ซึ่งสะท้อนถึงความด้อยอภิสิทธิ์ และขาดแคลนสินทรัพย์ตลอดจนความมั่งคั่งด้วยประการทั้งปวง กำลังเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ฯลฯ
แต่ทว่า ณ อีกมุมหนึ่งของโลก ที่เมืองโอมาฮา เมืองเล็กๆ ในรัฐเนบราสก้า ของสหรัฐอเมริกา บรรดาเศรษฐีและมหาเศรษฐีของโลกจำนวนกว่า 35,000 คน ก็กำลังชุมนุมกันอยู่อย่างเบียดเสียดยัดเยียดเช่นกัน
“ม็อบมหาเศรษฐี” เหล่านี้ มาที่นี่ทุกปีในช่วงเวลานี้ เพราะพวกเขาต้องมาเพื่อตรวจสอบทรัพย์สินและความมั่งคั่งของตัวและครอบครัว ว่าได้สะสมงอกเงยมาเป็นเท่าใดแล้วในขณะนั้น และกำลังจะงอกงามสืบไปอีกสักเท่าใดกันแน่ในอนาคต และด้วยวิธีใด นั่นเพราะพวกเขาพร้อมใจกันฝากฝังให้บุคคลผู้หนึ่งเป็นคนจัดการดูแลให้ อย่างแทบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
Warren Buffet คือบุคคลผู้นั้น
บุคคลผู้เกือบมีสถานะเป็น “เทพ” เชี่ยวชาญในการ “เล่นแร่แปรธาติ” เอาเงินมาต่อเงิน ผ่านกลไกตลาดทุน รู้จักวางตัว รู้จักพูดจา รู้จัก Tell Story เพื่อสร้างตัวคูณให้กับราคาหุ้น จนตัวเองร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก แต่กลับสร้างภาพว่าเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ติดดิน ใจบุญสุญทาน จนเกือบมีสถานะเป็น “ฤาษี” วิธีการแบบนี้ นับว่าน่าสนใจมาก
วิธีการของเขานั้นดูเหมือนง่าย เพียงทุกคนเข้าถือหุ้นใน Holding Company อันหนึ่งที่ชื่อ Berkshire Hathaway Inc. ที่ มีเขาและครอบครัวตลอดจนพรรคพวกของเขาควบคุมอยู่ เสร็จแล้วก็กลับบ้านมานั่งรอให้ราคาหุ้นไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ คอยบวกลบคูณหารว่า Wealth ของตัวจะงอกงามเป็นเท่าใดในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี
แล้วในความเป็นจริง มันก็ดันเป็นเช่นนั้นจริงๆ ราวกับราคาหุ้นมันเสกกันได้ คนที่ลงเงินกับเขาในปี 1964 แล้วยังถืออยู่จนปัจจุบัน ก็คำนวณกันแล้วว่าได้ผลตอบแทนถึง 434,057% (คิดเป็นอัตราผลตอบแทนสะสมต่อปีถึง 20.3%…อันนี้ผมพูดถึง Compounded Annual Gain ของ Per-Share Book Value of Berkshire Hathaway ตั้งแต่ 1965-2009 ซึ่งเขาใช้เป็น Index ในการวัดความเก่งกาจของตัวเอง)
ขณะที่ผมนั่งเขียนต้นฉบับอยู่นี้ คือเช้าตรู่ของวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2553 ราคาหุ้นของ Berkshire Hathaway ปิดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหุ้นละ 115,815 เหรียญฯ สำหรับหุ้นสามัญชั้นหนึ่ง (Class A Stock, ชื่อหุ้นใน NYSE คือ BRKa) และ 77.10 เหรียญฯ สำหรับหุ้นสามัญชั้นสอง (Class B Stock, ชื่อหุ้นใน NYSE คือ BRKb)
เห็นหรือยังครับ ว่าในหมู่เศรษฐีก็ยังแบ่งชนชั้นกันเอง กล่าวคือผู้ถือหุ้นชั้นหนึ่งหรือ “ชั้นเจ้า” จะมี Voting Right หรือ “สิทธิในการออกเสียง” เหนือกว่าผู้ถือหุ้นชั้นสองหรือ “ชั้นไพร่” ถึง 1,500 เท่า เพราะหุ้น Class A สามารถแลกเป็น Class B ได้ 1,500 หุ้น
ท่านผู้อ่านลองคูณเป็นเงินบาทดูสิครับ หุ้น BRKa ตกแล้วราคากว่า 3.8 ล้านบาท ยังงี้ถือแค่เพียงหุ้นเดียว คนแถวบ้านก็พากันเรียก “เศรษฐี” แล้วละครับ
ผมลองคำนวณมูลค่าหุ้นทั้งหมดของ Berkshire Hathaway รวมกันที่เรียกว่า Market Capitalization ก็จะได้ประมาณ 382.01 พันล้านเหรียญฯ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 12.6 ล้านล้านบาท นับว่ามากกว่าขนาดของเศรษฐกิจไทยทั้งประเทศ (GDP ของไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ประมาณ 9.5-10 ล้านล้านบาท)
เห็นหรือยังครับว่าทำไม “ม็อบเศรษฐี” พวกนี้ถึงต้องมาชุมนุมกันที่โอมาฮาทุกปี (อ่านรายงานของคนที่เคยไปชุมนุมที่นั่นแล้วออกมาบอกเล่ากันได้ใน “จาริกแสวงบุญที่โอมาฮา เฝ้าศาสดา วอเรน บัฟเฟต” หน้า 76)
หลายปีมานี้ มีหนังสือจำนวนมาก (รวมทั้ง MBA ด้วย) ได้พยายามอธิบายวิธีการของ Warren Buffet วิธีคิดของเขา วิธีมองหาเพชรในตมของเขา วิธีการเจียรนัยเพชรของเขา วิธีการมองโลกและชีวิตของเขา ตลอดจนเคล็ดลับ เคล็ดวิชา หรือกลเม็ดเด็ดพรายเล็กๆ น้อยๆ ว่าเขารวยขึ้นมาได้ยังไงกัน (วะ) แต่เขามักจะเก็บตัว และ้ถ้าจะพูดก็จะเลือกพูด หรือพูดผ่านคนที่เขาไว้ใจหรือซื้อไว้แล้ว
สิบกว่าปีมาแล้ว ขณะที่เขายังไม่โด่งดังมากขนาดนี้ ผมได้ขอให้ตัวแทนของ Talent Agency ที่มีชื่อเสียงติดต่อกับเขา เพื่อขอให้มาพูดที่เมืองไทย แต่เขาก็เฉยๆ แม้ตัวแทนคนนั้นบอกผมว่าได้ติดต่อผ่านไปยังวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ คนหนึ่งที่มีความสนิทชิดเชื้อเป็นกันเองกับเขา ด้วยซ้ำไป
จนอีกหลายปีต่อมา จึงเพิ่งจะมารู้ว่าเดี๋ยวนี้ “คนนอก” จะไปพบเขาก็ต้องประมูลผ่านทาง eBay อย่างกลุ่มนักธุรกิจจีนกลุ่มหนึ่งที่ชนะประมูลด้วยวงเงินกว่า 10 ล้านบาท เป็นต้น แม้จะว่าเป็นการกุศล ผมก็ว่ามันทะ:-)ๆ ซึ่งเขาก็คงตระหนักเหมือนกัน จึงบอกให้เลิกกิจกรรมแบบนี้เสีย
แต่นั่นก็ทำให้เราเห็นว่าความนิยมในตัวเขานั้นมากเพียงใด โดยเฉพาะในหมู่ประเทศเศรษฐีใหม่ (เมื่อปีที่แล้ว มีเศรษฐีต่างชาติกว่า 800 คน เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway และขอให้เขาเซ็นลายเซ็นให้บนข้าวของคนละ 1 ชิ้น แม้กระนั้นก็ยังต้องใช้เวลาเพื่อการนี้ถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง จนมาปีนี้เขาขอให้เลิก เพราะเหนื่อย)
ผมรู้ดีว่าแฟนๆ บัฟเฟตในเมืองไทยมีแยะ เพราะหลายครั้งที่เราพูดถึงเขาใน MBA นิตยสารฉบับนั้นก็จะขายดีเป็นพิเศษ นั่นจึงเป็นที่มาของเรื่องที่ท่านถืออยู่ในมือ ณ ขณะนี้ ซึ่งเราตั้งใจจะให้ละเอียด Update และลึกซึ้งครอบคลุมที่สุด เท่าที่จะทำได้ในภาคภาษาไทย
ก่อนที่จะลงมือเขียนบทความนี้ ผมก็ได้ตรวจสอบดู Portfolio ของ Berkshire Hathaway อย่างละเอียด ตลอดจนตรวจดูงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินล่าสุด เท่าที่จะมีข้อมูลให้อ้างอิงได้ ทั้งจาก Annual Report ปีล่าสุด และจาก Edgar ไฟล์ของหน่วยงาน ก.ล.ต. (SEC) ของสหรัฐฯ ตลอดจนได้อ่าน Chairman’s Letter ฉบับล่าสุดและ Owner-Related Business Principles ฉบับอัพเดตทั้ง 15 ข้อ อันโด่งดัง ที่บัฟเฟตอ้างว่าเขาเขียนเอง
และที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ ย่อมเป็น Observations ของผมเอง ที่แม้ผู้รู้หลายท่านอาจจะไม่เห็นด้วย แต่ผมก็ยังเชื่อว่า มันจะเพิ่มเติมมุมมองใหม่ๆ ให้กับท่านไม่มากก็น้อย ถ้าท่านเป็นผู้ที่ฝักใฝ่สนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับการ “หาทรัพย์” “ใช้ทรัพย์” “เพิ่มพูนทรัพย์” หรือต้องแบกรับภาระหน้าที่ที่ต้องรักษาไว้ซึ่ง “ความมั่งคั่ง” (Wealth) ของครอบครัวหรือองค์กรของท่าน มิให้เสื่อมค่าลงตามกาลเวลาและอัตราเงินเฟ้อ
คนรวย
เนื่องเพราะผมไม่ใช่คนรวยและมิได้เกิดมารวย เพราะฉะนั้น ความเข้าใจต่อ “ความรวย” สำหรับผม ย่อมได้มาจากการอ่าน สังเกต ศึกษา เรียนรู้ สอบถาม แลกเปลี่ยน คิดหาเหตุผล และจินตนาการเอาเอง
นานมาแล้ว สมัยที่ผมยังหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็น Investment Banker หัวหน้าผมคนหนึ่ง ซึ่งเป็น Banker ที่เก่ง เคยบอกกับผมว่า “คนรวยจริงนั้นต้องรวยด้วย Wealth มิใช่รวยด้วย Income” และ นับแต่นั้น แม้จะฟังดูกำกวมอยู่บ้างในตอนแรก ผมก็ได้ยึดถือเอาคำพูดประโยคดังกล่าวเป็น Core Concept เสมอมา เมื่อต้อง Observe อะไรที่เกี่ยวกับทรัพย์หรือเกี่ยวกับความร่ำรวยหรือความมั่งคั่งของผู้คน
และในฐานะที่ผมเป็นนักข่าวสายธุรกิจ เศรษฐกิจ และการจัดการ ผมย่อมต้องเคยพูดคุยกับคนรวยจำนวนมาก เคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนและการบริหารสินทรัพย์หรือ หนี้สิน ตลอดจนสไตล์การใช้ชีวิตของคนเหล่านั้น ทั้งที่เป็นนักธุรกิจใหญ่ๆ นักการเงิน นักลงทุน นักอุตสาหกรรม นักการเมือง เทคโนแครต หรือ Entrepreneur ที่เก่ง อีกทั้งยังเคยเห็นของมีค่ามาแล้วก็ไม่น้อย ทั้งของสะสม, Luxury Estate, Precious Metals, Arts และ Collectible Items อื่นๆ ที่ผู้คนคิดว่ามันจะสามารถ Store Value ของความมั่งคั่งไว้ได้
สุดท้าย ผมก็พบว่าคำกล่าวนั้นเป็นความจริง เพราะหลายคนที่ผมเคยพบ แม้จะมีรถยนต์จำนวนมาก แต่ก็ใช้ได้จริงทีละคัน แม้จะมีเครื่องเสียงและแผ่นเสียงมีค่าจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ก็ฟังได้จริงทีละชุดและทีละแผ่น แม้จะมีเครื่องเพชรละลานตา แต่ก็ใส่ออกงานได้จริงวันละไม่กี่ชุด ฯลฯ หรือ One at a time และแม้จะมีเงินจำนวนมหาศาล ทว่า 90% ของเงินที่มีอยู่ กลับไม่เคยถูกนำมาใช้กินใช้อยู่ใช้เที่ยวหรือเพื่อการใช้ชีวิตหรือดำรงชีวิต ประจำวันแต่อย่างใด เพราะคนเราจะกินอยู่กันซักเท่าไหร่กันเชียว วันๆ หนึ่ง
ผมสังเกตว่า Bill Gates ตอนที่มาเมืองไทยก็พักอยู่ที่ดุสิตธานี เมื่อคิดดูให้ละเอียดก็จะเห็นว่าดุสิตธานีนั้นอยู่ไม่ไกลไปจากซอยงามดูพลี ที่ฝรั่งขี้นกชอบมาพักกันไม่เท่าไหร่ หรือเมื่อเขาไปภูเก็ต เขาก็เพียงอยู่กันคนละหาดกับบรรดาฝรั่งขี้นกพวกนั้น ผมว่าชีวิตประจำวันก็คงไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ แต่ที่ต่างกันมากมายมหาศาล ย่อมเป็น “เลขศูนย์” หรือ “เลขหลัก..” (000,000,000,000,000…) ที่ต่อท้ายตัวเลขในสมุดเงินฝาก (หรือในบัญชี Net Worth) นั่นแหละ
ซึ่งหลักศูนย์จำนวนมากที่มาต่อท้ายนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถณาของคนทั่วไป เพราะมันสามารถดลบันดาลให้ได้ครอบครองและบริโภคของดี ของหายาก ของแพง ของที่อยากได้ หรือแม้แต่จะให้ทานใครทีละมากๆ ฯลฯ ก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด…นั่นเป็นข้อดึของความรวย
ผมสังเกตว่าคนรวยในโลกเดี๋ยวนี้ รวยกันทีเป็นหลักแสนล้านหรือล้านล้าน มิใช่ร้อยล้านหรือ Millionaire เหมือนเมื่อก่อน และแทบทั้งหมด (ถ้าไม่นับ Royal Family) ย่อมรวยด้วยการถือครองหุ้นในกิจการหรือกลุ่มกิจการของตัวเอง มิได้รวยขึ้นมาด้วยการถือครองที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่น (แม้แต่ Government Bonds หรือ Treasury Bills ก็ตามที) หรือด้วย Stream of Incomes ที่แม้จะมีมาหลายทาง ก็รวมแล้วไม่มีทางเทียบได้กับ Market Capitalization ของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่าง Bill Gates ก็รวยขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นของโลกเพราะถือหุ้น Microsoft ที่ราคาก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีแรก นั่นนับเป็นแกนหลักของความรวยของเขาที่ตอนหลังคืบคลานไปถือสินทรัพย์อย่าง อื่นด้วย หรืออย่าง “มหาเศรษฐีข้ามวัน” รุ่นใหม่จำนวนมาก Yahoo!, Google, eBay, YouTube, Netscape, MySpace, Amazon, Starbuck, Wal-Mart, Murdoch ฯลฯ ที่รวยขึ้นมาจากกิจการไฮเทคหรือแม้แต่พวก Hedge Fund และ Private Equity ที่มักต้องเก็บตัวรวยแบบเงียบๆ ก็ล้วนรวยมาจากมูลค่าหุ้นทั้งนั้นแหละ
นั่นเป็นเพราะหุ้นมันมี “ตัวคูณ”
ระบบทุนนิยมมันอนุญาตให้ตลาดหุ้นสร้าง “ตัวคูณ” ให้กับสินทรัพย์และรายได้ เพื่อให้เกิด “ความมั่งคั่ง” อีกระนาบหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นความมั่งคั่งในระดับ “อภิมหา” หรือ Super Rich
Warren Buffet ก็ใช้วิธีการนี้มาตั้งแต่แรกและใช้มาก่อนใครเพื่อน นั่นเป็นเพราะเขาค้นพบความลับของ “ตัวคูณ” มาตั้งแต่เขายังเรียนหนังสืออยู่กับ Bill Graham ที่โคลัมเบียเมื่อยังเด็ก
ดังนั้น เมื่อเขาได้ของมีค่ามา แม้ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร โรงงาน กิจการ หรือธุรกิจที่มีกำไร กระแสเงินสด และมีศักยภาพแห่งรายได้ เขาย่อมไม่ “กั๊ก” ไว้เอง เขาย่อมใส่เข้าไปใน Berkshier Hathaway หมด เพื่อสร้างตัวคูณให้กับหุ้น Bershire แล้วค่อยรอกินจาก “ยอด” นั้น ซึ่งวิธีนี้สำหรับเขา มันพิสูจน์ให้เห็นตำตาแล้วว่ามันได้โป่งขึ้นเป็นแสนเท่า
เขากล่าวไว้ใน Annual Report ฉบับล่าสุดว่า “In line with Berkshire’s owner-orientation, most of our directors have a major portion of their net worth invested in the company. We eat our own cooking.
Charlie’s family (หมายถึง Charlie Munger มือขวาของเขา–ทักษ์ศิล) has 80% or more of its net worth in Berkshire shares; I have more than 98% In addition, many of my relatives – my sisters and cousins, for example – keep a huge portion of their net worth in Berkshire stock.
Charlie and I feel totally comfortable with this eggs-in-one-basket situation because Berkshire itself owns a wide variety of truly extraordinary businesses……
Charlie and I cannot promise you result. But we can guarantee that your financial fortunes will move in lockstep with ours…(..)…Moreover, when I do something dumb, I want you to be able to derive some solace from the fact that my financial suffering is proportional to yours.” (Berkshire Hathaway Inc., 2009 Annual Report, P.89)
เก๋มะ! คำพูดเนี่ย
ตัวคูณ
เห็นมั้ยครับว่า Buffet คิดไม่เหมือนเศรษฐีไทย ซึ่งร้อยทั้งร้อยมุ่งเน้นแต่เรื่อง Cashflow และ Stream of Income แต่ต่อยอดไปสู่กระบวนทัศน์ของ “ตัวคูณ” ไม่ค่อยเก่ง ยกเว้นคนรุ่น ทักษิณ ชินวัตร สนธิ ลิ้มทองกุล สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง อนันต์ อัศวโภคิณ ฯลฯ เหล่านี้ที่โผล่ขึ้นมาในยุคเงินท่วมประเทศ และอาศัยตัวคูณในตลาดหุ้นต่อยอดให้ตัวเองอย่างโฉ่งฉ่าง โดยที่บางคนก็สำเร็จ บางคนก็ล้มเหลว (ถ้าดูให้ดี จะเห็นว่าเศรษฐีใหม่อย่าง ตัน ภาสกรนที ก็ Breakthrough ขึ้นมาได้เพราะหุ้นเหมือนกัน)
เศรษฐีไทยส่วนใหญ่ ไม่ว่ารุ่นเก่ารุ่นใหม่ แม้ว่าจะเคยลิ้มลองรสชาติของ “ตัวคูณ” กันมาแล้วแทบทุกคน แต่นิสัยพื้นฐานลึกๆ มักจะคล้ายคลึงกัน คือนิยมที่จะรักษาความมั่งคั่งไว้กับที่ดิน อาคาร ทองคำ และเงินฝากธนาคารเสียมากกว่า ยกตัวอย่างเช่นคนในตระกุลเศรษฐีประเภท “ของจริง” ที่สังคมรู้จักกันดี อย่างโสภณพนิชหรือเจียรวนนท์ พวกเขาย่อมเข้าใจมหัศจรรย์ของ “ตัวคูณ” เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ได้ถือเรื่องดังกล่าวเป็น Priority หลักของครอบครัว และไม่ได้หมกมุ่นกับมันเหมือน Buffet (เช่นเดียวกับอีกหลายตระกูลที่รวยมาก่อนหน้านี้ก็เช่นเดียวกัน จนสุดท้ายความมั่งคั่งที่เคยกระจุกตัวอยู่ในตระกูลก็ถูกแบ่งแยกแจกจ่ายกันไป ในหมู่สมาชิกรุ่นต่อมาจนทำให้ตระกูลไม่สามารถสืบทอดความมั่งคั่งต่อไปได้ และต้องกระเด็นออกจากทำเนียบมหาเศรษฐีไปโดยปริยาย)
นั่นอาจเป็นเพราะวิธีคิดแบบคนจีนที่ถึงแม้จะชอบความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เมื่อรวยแล้วก็จะไม่กล้าไปแบบสุดๆ เหมือนฝรั่ง ในเชิงเทคนิคแล้ว “ตัวคูณ” ของราคาหุ้นย่อมมีพื้นฐานมาจากรายได้ กำไร และกระแสเงินสดของกิจการนั่นเอง ทว่า เมื่อถูกนำมาปรุงแต่งอย่างเหมาะสมด้วยมือของผู้ชำนาญแล้ว กำไรหรือกระแสเงินสดหรือ Book Value เพียง 1 บาท สามารถเป็นสปริงบอร์ดให้ราคาหุ้นของกิจการนั้นๆ มีค่าเป็นสิบเป็นร้อยได้ ซึ่งนักลงทุนเรียกมันว่า P/E Ratio บ้าง P/Cashflow บ้าง P/BV บ้าง หรือ P/NPV บ้าง โดยมันจะสูงจะต่ำ ย่อมขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และจิตวิทยาของผู้ลงทุนในขณะนั้น ตลอดจนทัศนคติและความคาดหวังหรือภาพอนาคตของกิจการนั้นๆ ที่ผุดขึ้นในใจผู้ลงทุนในขณะดังกล่าวด้วย
ในกรณีของ Buffet เขาตัดสินใจใช้ Net Worth เป็นตัวตั้ง กล่าวคือใช้ Per-Share Book Value เป็นตัวแสดงถึงความสำเร็จและความมั่งคั่งของ Berkshire เช่นในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุด เขาขึ้นต้นย่อหน้าแรกด้วยประโยคนี้ว่า “ระหว่างปี 2009 ที่ผ่านมา Net Worth ของ Berkshire เพิ่มขึ้นถึง 21.8 พันล้านเหรียญฯ ทำให้ Per-Share Book Value เพิ่มขึ้นถึง 19.8% ต่อหุ้น” นั่นแสดงว่าเขาให้ความสำคัญกับมันเหนือสิ่งอื่นใด
เขาว่า Per-Share Book Value นี่แหละที่เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของ “Intrinsic Value” หรือมูลค่าที่แท้จริงซึ่งเป็นหัวใจของการประเมินค่ากิจการและเงินลงทุนทั้งหมดของเขา ซึ่งเขาเรียนมาจากอาจารย์ Graham อีกทอดหนึ่ง
Buffet เขียนไว้เองว่า “Intrinsic value is an all-important concept that offers the only logical approach to evaluating the relative attractiveness of investment and businesses. Intrinsic value can be defined simply: It is the discounted value of the cash that can be taken out of a business during its remaining life.” (P.92, เส้นใต้นั้นผมขีดเอง)
เห็นหรือยังครับว่าวิธีการมอง “มูลค่า” หรือ “คุณค่า” ของเขามีหลักยังไง จึงไม่แปลกที่ Buffet จะมีความสามารถพิเศษในการ “เล่าเรื่อง” หรือ “Tell Stories” เพราะเขาจำต้องสร้างความคาดหวังให้กับนักลงทุนและตลาดหุ้น เขาต้องสร้างภาพในใจคนเหล่านั้น ให้เห็นว่าวิธีการที่เขาทำอยู่ (ที่สามารถชักชวนเอากิจการดีๆ ภายใต้ผู้บริหารที่เก่งกาจ ที่มีศักยภาพที่จะสร้างกระแสเงินสดจำนวนมากฉีดเข้ามาในพอร์ตของ Berkshire อยู่ตลอดเวลา) จะนำไปสู่การเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้กับ Berkshire Hathaway ในอนาคต
ยิ่งนักลงทุนและตลาดมีความคาดหวังสูงมากเพียงใด ยิ่งภาพที่ผุดขึ้นในใจคนเหล่านั้นเริดหรูเพียงใด “ตัวคูณ” ของหุ้น Berkshire ในปัจจุบันย่อมสูงตามไปด้วย นั่นจึงเป็นที่มาของกระบวนการสร้างภาพให้กับตัวเอง เพราะนักเล่าเรื่องหรือนักเล่านิทานที่จะให้คนเชื่อได้ ย่อมต้องมี “ความน่าเชื่อถือ” เป็นเบื้องแรก
ในรอบ 30 ปีมานี้ Buffet ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตัวเองสูงมาก เขาวางตำแหน่งตัวเองให้ดู “ไม่โลภ” (แม้จะหากินกับเรื่องเงินๆ ทองๆ มาตลอดชีวิต) เพราะเขาเข้าใจโลกสันนิวาศ ว่าถ้าถูกมองเป็นคนโลภมากเสียแล้ว ความน่าเชื่อถือก็จะน้อย พูดอะไร ทำอะไร ก็จะไม่มีน้ำหนัก ดังนั้น เขาจึงต้องแสดงออกคล้ายๆ ฤาษี แม้จะมีเงินทองเป็นล้านล้านบาทก็ตาม ระยะหลังเมื่อแก่มากแล้ว เขายิ่งหันมาเน้นในจุดนี้ ให้เห็นว่าเขาละวางได้จากความโลภทั้งปวง และกลายเป็น “ผู้ให้” หรือ “ผู้ใจบุญ” อย่างยิ่งใหญ่
นั่นเป็นเหตุหนึ่งที่ภายนอกเขาต้องดูเหมือน “ผู้นำลัทธิ” ในอดีต ที่มี “สาวก” คอยติดตามจำนวนมาก (พวกนักการตลาดรู้มานานแล้วว่าวิธีการแบบนี้เป็นการสร้างแบรนด์แบบหนึ่งที่เรียกว่า Cult Branding)
เครื่องมือหลักของเขาในการสร้างภาพก็คือ “สื่อ”
Buffet ใช้สื่อระดับคุณภาพสูงที่เข้าถึงกลุ่มบนสุดของสังคมให้ช่วยอธิบายตัวเขา เขาใช้คนอย่าง Carol Loomis บรรณาธิการอาวุโสที่มีอิทธิพลต่อ Fortune ในรอบ 30 กว่าปีมานี้ คนอย่าง Andrew Ross Sorkin แห่ง New York Times และเข้าถือหุ้นและร่วมเป็นกรรมการของ The Washington Post อันทรงอิทธิพล กับสื่อทีวี เขาก็สนิทสนมกับ Becky Quick แห่ง CNBC และเคยสนิทมากกับ Michael Bloomberg เจ้าพ่อสื่อคนใหม่ของโลก เป็นต้น นอกจากนั้น เขามักให้กิจการที่ Berkshire เข้าไปซื้อแบบเต็มตัว เพิ่มงบโฆษณาแบบไม่อั้น เพื่อสร้างภาพว่าได้เข้ามาร่วมอยู่ในชายคาของเขาแล้วเสมอๆ
เขารู้ว่า “สื่อ” คือความเป็นความตายของเขา เพราะกิจการของเขาเป็นเพียง Holding Company วันๆ เอาแต่ซื้อหุ้นนั้น ขายหุ้นนี้ ระดมทุนจากคนนั้น แล้วมาซื้อกิจการโน้น เทคโอเวอร์กิจการนี้ ฯลฯ มิได้ดำเนินธุรกิจอะไรจริงจัง ถ้าสื่อร่วมกัน “เจาะยาง” เขา ทำให้เขาไม่ Popular ในหมู่ผู้ลงทุนและแวดวงตลาดหุ้น มูลค่าหุ้นของเขาก็จะลดลง หรือขึ้นต่อไปได้ลำบาก
ผมสืบสวนดูจดหมายถึงผู้ถือหุ้นล่าสุดนี้ ก็พบว่า ปี 2009 ที่ผ่านมา เฉพาะตัวเขาเองมีค่าใช้จ่ายในการรักษาความปลอดภัย (Personal and home securitiy services) ถึง 344,490 เหรียญฯ คิดเป็นเงินไทยกว่า 10 ล้านบาท (ฺBerkshire Hathaway INC., Notice of Annual Meeting of Shareholders, P.7)
ผมรู้เลยว่า ตัวเขาเองแล้ว ลึกๆ ก็กลัว เพราะยุคนี้เป็นยุคแห่ง Social Tension คุณจะรวยอยู่ได้ไงท่ามกลางคนจนที่มากขึ้นเรื่อยๆ พวกมหาเศรษฐีถึงต้องพากันตั้งมูลนิธิและกลายเป็น Philantropist กันเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังผูกขาดตัดตอน ขายของแพง และเอารัดเอาเปรียบอยู่เหมือนเดิม (ไม่เชื่อลองดูตัวอย่าง Microsoft ดูสิ)
ในอินเทอร์เน็ต มีเว็บไซต์จำนวนมากที่โจมตี Buffet หาว่าเขาเป็นพวกมือถือสากปากถือศีลบ้าง หรือหาว่าเป็นโจรสลัดก็มี พวกเหล่านี้ ไม่เชื่อว่า “คนดี” “คนไม่โลภ” จะใช้ตลาดหุ้นสร้างความร่ำรวยให้กับตัวเองได้อย่างมากมายมหาศาลขนาดนี้ ความข้อนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วย แต่ผมว่า Buffet เขาแนบเนียนมาก หรือถ้าจะใช้ภาษาสูงกว่านั้นก็ต้องว่า “แยบคาย”
ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบเขากับมหา เศรษฐีไทยดูสักสองสามคน เอาว่าทักษิณคนหนึ่ง ธนินท์คนหนึ่ง และเจริญอีกคนหนึ่ง และลองมองในเชิง “ความโลภ” ดูสิ ท่านลองดูพฤติกรรมของพวกเขาสามคน ทั้งวิธีการหาเงิน วิธีการค้าขาย ความสัมพันธุ์กับคู่ค้าและผู้บริโภค ฯลฯ ก็จะเห็นได้ว่า คนเหล่านี้มีความโลภเป็นเจ้าเรือน บางคนเข้าไปสู่แวดวงอำนาจเพื่อหาเงินหาทอง บางคนเอาเปรียบเกษตรกร (ซึ่งเป็น Supplier สำคัญของธุรกิจตน) และสิ่งแวดล้อมอย่างไ่ม่รู้สึกรู้สา และบางคนก็เอาเปรียบคนดื่มแอลกอฮอล์ (ซึ่งเป็นผู้บริโภคคนสำคัญของตัว) อย่างมากและโจ่งครึ้ม…ข้อนี้ Buffet เหนือชั้นกว่าพวกเขามาก
มีเว็บไซต์นึงว่าเขาเป็นตัวอย่างของพวก Buccaneer of Capitalism ที่คอยปล้นสดมภ์โดยใช้เครื่องมือของระบบทุนนิยม ทั้งๆ ที่กิจการ Berkshire นั้น มิได้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเลย เขาเป็นเพียง “แมงป่องที่ขี่หลังเต่า” เท่านั้นเอง เพราะถ้าไม่มีบริษัทแบบ Berkshire ระบบเศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่กระทบอันใดเลย ดังนั้นคนอย่าง Warren Buffet ก็เป็นแต่เพียง “กาฝาก” เท่านั้นเอง เมื่อลองพิจารณาพอร์ตโฟลิโอของ Bershire แล้ว ผมก็เริ่มเห็นด้วยกับความข้อนี้เช่นกัน
พอร์ตโฟลิโอ
สไตล์ของ Buffet ในการ Form Portfolio นั้นเป็นสไตล์เฉพาะตัว แม้นักลงทุนจำนวนมากจะเอาอย่างเขาในเรื่อง Value Investment แต่ก็คงทำเหมือนเขาเป๊ะไม่ได้ หรือเลียบแบบโดยตรงไม่ได้..และจะไม่มีทางได้ ถ้าดูให้ดีจะเห็นว่าเขาโตมาจากธุรกิจประกัน (ส่วนใหญ่จะเป็นประกันภัย) แม้แต่ตอนนี้ที่เขา Diversify ไปมากแล้ว ก็ยังเห็นร่องรอยว่าเขาพึ่งพาประกันถึงหนึ่งในสาม
ท่านที่เคยดูหนังเรื่อง About Schmidt ก็จะจินตนาการเห็นภาพพจน์ได้ทันทีเลยว่าตัวละครอย่าง Jack Nicholson นั่นแหละที่เป็นลูกน้องของ Buffet และคอยหาเงินหาทองให้กับ Berkshire ด้วยการทุ่มเทชีวิตทั้งชีวิตไปกับการขายประกัน
อีกประมาณหนึ่งในสามก็จะอยู่ในหมวดค้าส่ง บริการ และการผลิต รวมถึงพรมรองพื้น โดยทั้งหมดนี้จะกระจายกันไปกว่า 150 บริษัท (มีทั้งเพชรพลอย ภัตราคาร เสื้อผ้า ของเล่น ลูกอม ขนมหวาน ฯลฯ) ประกันกับกลุ่มการค้าอันนี้จึงเป็น Life & Blood ของเขา ถ้าธุรกิจประกันหรืการค้าในอเมริกาเกิดแย่ เขาก็ย่อมเซไปด้วยอย่างแน่นอน
ผมดูงบดุลของ Bershire ปี 2009 แล้วเห็นว่าสินทรัพย์ในสองหมวดนี้ คิดเป็นกว่า 75% ของสินทรัพย์รวม และเมื่อดู Cashflow ทั้งปี ที่มีเงินสด (รวม Cash Equivalent) ทั้งสิ้น 30,558 ล้านเหรียญฯ แล้ว จะคิดเป็นส่วนที่ถือผ่านบริษัทประกันและบริษัทในกล่มนี้อยู่อยู่ถึง 27,917 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นกว่า 91% ของเงินสดในมือทั้งหมด
และผมก็พยายามแกะดูว่ากระแสเงินสดที่มาจากสองหมวดนี้เป็นเท่าใด แต่ก็ไม่มีข้อมูลมากพอ เพียงแต่ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาจากข้อมูลแวดล้อมก็อาจพอมองเห็นเค้าลาง ได้บ้าง กล่าวคือ Operating Cashflow ของกิจการในพอร์ตทั้งสิ้นเท่ากับ 15,845 ล้านเหรียญฯ จากรายได้รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 112,493 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นส่วนของกิจการประกันและการค้ากับการผลิต 92,780 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นกว่า 82%
ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าธุรกิจประกันและกลุ่มการค้า (ซึ่งกระจายความเสี่ยงได้ดี) มี Contribution ต่อ Bershire มากเพียงใด สังเกตว่าระยะหลัง Buffet มักออกมาแสดงความมั่นใจในความแข็งแกร่งของ Berkshire อยู่เสมอเมื่อเกิดภัยธรรมชาติหรือภัยอื่นขึ้นในโลก ไม่ว่าจะเป็น 9/11, Hurricane Katrina, Hurricane Ike, แผ่นดินไหวใหญ่ในอิตาลี และไฟไหม้ป่าในรัฐ Victoria ของ Australia นั่นเป็นเพราะเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนกระทบกับกิจการที่อยู่ในพอร์ตของเขาเข้า อย่างจัง
การสร้างอาณาจักรธุรกิจโดยอาศัยสถาบันการเงินเป็นแกนหลักแบบ Buffet นี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ใครๆ ในโลกก็ทำกันมาก่อน ทั้งที่เยอรมนี ญี่ปุ่น หรือจักรวรรดิอังกฤษ….มันเป็นการ “กินสองเข้าฮอร์ส” เพราะสถาบันการเงินมันระดมทุนเองได้แบบต้นทุนต่ำ คือนอกจากจะมี Other Peoples Money ให้หยิบยืมไปใช้ก่อนได้แล้ว ยังเป็นเงินประเภท Low Cost of Capital อีกด้วย
ในกรณีของ Berkshire นั้น บัฟเฟตเรียกเงินก้อนนี้ว่า Float คือเบี้ยประกันที่รับมาก่อน (แต่ยังไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย เพราะความเสียหายมันยังไม่เกิด) ซึ่ง ณ สิ้นปี 2009 มีอยู่ถึง 62,000 ล้านเหรียญฯ โดย Buffet ก็ได้ใช้เงินก้อนนี้ประกอบกับเงินกู้และเงินสดในมือ (หรือบางทีก็ออกหุ้นแลกหุ้นในช่วงที่หุ้นของตัวเองราคาแพง) “ลงทุน” และ Takeover คนโน้นคนนี้ ผ่านกลุ่มบริษัทประกันเหล่านั้นอีกทอดหนึ่ง…นั่นแหละที่ผมเรียกว่า “กินสองเข้าฮอร์ส” ละ
ผมเห็นกรณีศึกษาอันหนึ่งในเมืองไทย ที่ใกล้เคียงกับ Buffet Model มากที่สุดก็คือ “กลุ่มเอกธนกิจ” (เรียกติดปากว่า “ฟินวัน”) ที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกรมากภายใต้การนำของ ปิ่น จักกะพาก ซึ่งเริ่มจากบริษัทเงินทุนเล็กๆ แล้วขยายไปสู่หลักทรัพย์ ประกัน อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยอาศัยการ Takeover และเล่นกับ “ตัวคูณ” ในตลาดหลักทรัพยฯ เป็นหลัก แต่ด้วยการขยายตัวเร็วเกินไป และ Diversify ไม่เพียงพอ เมื่อเศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรง กลุ่มจึงพึงทลาย (ผมเห็น ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ซึ่งเคยเป็นลูกน้องใกล้ชิดของปิ่นมาก่อน ก็มาโฆษณาเรื่อง Value Investment อย่างเอิกเกริกเหมือนกันในช่วงหลัง หรือแม้แต่ กรณ์ จาติกวนิช รมว.คลัง เอง ซึ่งก็เป็นทั้งญาติห่างๆ และเป็นทั้งลูกน้องคนสนิทอีกคนหนึ่งของปิ่น ก็เคยพูดเรื่อง Value Investment เช่นเดียวกัน)
Buffet ก็ประกาศอย่างชัดเจนว่าเขาใช้วิธี Mergers & Acquisitions เป็นหลัก โดยเขาได้เขียน Acquisition Criteria ไว้ 6 ข้อ ว่าถ้าใครอยากขายกิจการให้เขาต้องเข้าหลัก 6 ประการนี้เสียก่อนคือ
1. ต้องใหญ่ (ต้องมีกำไรก่อนหักภาษีอย่างต่ำ 75 ล้านเหรียญฯ)
2. ต้องทำกำไรสม่ำเสมอ (ไม่เอาประเภทที่ต้องเอามาฟื้นฟูเยียวยา)
3. ต้องให้ผลตอบแทนการลงทุน (ROE) ดี และใช้หนี้น้อยหรือไม่มีหนี้เลย
4. ต้องมาพร้อมผู้บริหาร
5. ต้องเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน (ถ้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีแยะ เขามักขี้เกียจทำความเข้าใจกับมัน)
6. ต้องบอกราคามาเลย (จะไม่เสียเวลาเจรจาโดยไม่บอกราคามาก่อน)
เขาบอกไว้ชัดเจนเลยว่า วันๆ นึง คนติดต่อขายกิจการให้เขาแยะ ดังนั้นถ้าไม่เข้าหลักหกประการนี้ ก็อย่าโทร.มา หรือถ้าเขาไม่ได้โทร.กลับ ก็แสดงว่าเขาคงไม่สนใจ เพราะธรรมดาเขามักใช้เวลาไม่นานในการพิจารณา บางทีก็เพียงแค่ห้านาทีก็เคยมี และก็อย่าให้เขาต้องไปซื้อแข่งกับใคร เพราะเขาไม่ชอบ “When the phone don’t ring, you’ll know it’s me.” เขากล่าวโดยหยิบยืมจากเนื้อเพลงลูกทุ่งอเมริกัน
ระยะหลังเขาเริ่มคืบคลานเข้าสู่ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและโครงสร้างพื้น ฐาน เช่นรถไฟและท่อส่งน้ำมัน เมื่อ 12 ก.พ. ที่ผ่านมาเขาเพิ่งจะ Takeover กิจการรถไฟขนาดใหญ่เป็นลำดับที่สองของอเมริกาคือ Burlington Northern Santa Fe Corporation (BNSF) ด้วยราคาประมาณ 26,450 ล้านเหรียญฯ โดยใช้หุ้นแลกหุ้น และจ่ายเงินสดอีกประมาณ 15,900 ล้านเหรียญฯ นักวิเคราะห์ต่างคาดเดากันไปต่างๆ นาๆ ว่าบัฟเฟตหวังอะไรจากตรงนี้ บ้างก็ว่าเขารู้ข้อมูลภายในว่ารัฐบาลจะลดภาษีให้กับธุรกิจนี้ บ้างก็ว่ารัฐบาลจะหันมาให้การสนับสนุนการขนส่งโดยราง ฯลฯ เป็นต้น
นอกจากนั้น เขายังขยายเข้าสู่ธุรกิจไฟแนนซ์และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเขาใช้เป็นตัวผ่านในการลงทุนพวกตราสารอนุพันธ์ และ Transaction ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ด้วย แต่ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ลงทุนในตราสารซับไพร์ม แม้จะใช้บริษัทประกันเขียน Contract ประเภท Credit Default Swap กับคู่สัญญาบ้าง ทำให้ในปี 2008 เขาขาดทุนจากตรงนี้ 1,774 ล้านเหรียญฯ แต่ปี 2009 ก็สามารถพลิกมาเป็นกำไรได้ 789 ล้านเหรียญฯ เป็นต้น
ผมจะไม่ขอลงรายละเอียดในพอร์ตโฟลิโอของ Birkshire มากไปกว่านี้ เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นบทความประเภทวิเคราะห์หุ้นไป แต่ผมจะหยิบเอาตัวเลขหรือ Ratio สำคัญๆ ที่ผมคิดว่าจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นวิธีการทำมาหากินของบัฟเฟต มาล้อมกรอบไว้ให้ดูกัน โดยผู้อ่านที่อยากลงลึก ก็สามารถคลิกเข้าไปดูไฟล์ Edgar ของสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ ได้อยู่แล้วที่ http://www.sec.gov
ผู้อ่านต้องอย่าลืมว่า พอร์ตโฟลิโอของ Birkshire นั้นมีสองชั้น คือชั้นในสุด ที่เป็น Core หรือเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจจริง สร้างกระแสเงินสดจริงให้กับ Birkshire (ซึ่งก็มีกลุ่มประกันเป็นหลัก และยังมีกลุ่มการค้าอุตสาหกรรม กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและไฟฟ้า และกลุ่มไฟแนนซ์ล้อมรอบอยู่) และชั้นนอก ที่เป็น Marketable Securities อย่างเช่นหุ้นของ Coke, Wal-Mart, Proctor & Gamble, American Express, ConocoPhillips, Johnson & Johnson, Tesco, Wells Fargo, ฯลฯ รวมถึงพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และหุ้นกู้เอกชน (ซึ่งปีนี้บัฟเฟตเีชียร์ให้ซื้อให้มาก) ตราสารอนุพันธ์ ฯลฯ ซึ่งถือผ่านพอร์ตของบริษัทประกันและบริษัทไฟแนนซ์อีกทอดหนึ่ง
ที่ Buffet ชอบโม้ว่าหุ้นตัวเองซื้อแล้วไม่ขาย ย่อมเป็นหุ้นในกลุ่ม Core นั่นเอง ส่วนหุ้นในกลุ่มหลัง ย่อมต้องซื้อเข้าขายออกเป็นธรรมดา ตามประสานักเล่นหุ้น…ท่านผู้อ่านหลายคนมักเข้าใจประเด็นนี้ผิด คือไปเข้าใจว่า Value Investment นั้นต้องถือยาว และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์เลยแม้แต่น้อย…ผิดครับ เพราะในพอร์ตของ Bershire นั้น มีทั้ง Credit Default Contracts, Equty Index Put Option Contracts, และ ฯลฯ
เราได้อะไรจากการศึกษาบัฟเฟต
สำหรับผม สิ่งที่ผมได้จากการศึกษาบัฟเฟตมิใช่สไตล์หรือหลักการลงทุนของเขา เพราะผมคิดว่ามัน Unique มากเกินไปจนยากที่ใครจะเลียนแบบได้ ทว่า สิ่งที่สะกิดใจผม กลับเป็นสไตล์การจัดการของเขาเอง
ผมว่า Buffet นอกจากจะเป็นนักลงทุนที่เก่ง เป็นพวกตามีแวว ที่รู้จักแสวงหาเพชรในตม (Undervalued Assets) รู้จักเจรียนัยเพชร รู้จัก Tell Story รู้จักสร้างภาพ และเล่นกับจิตวิทยามวลชนแล้ว เขายังเป็นนักบริหารที่เก่ง
ความข้อนี้คนมักไม่มองกัน
สไตล์การลงทุนของเขา มีลักษณะของ “การสร้างอาณาจักร” เขา เหมือนเจงกิสข่านที่คอยยกทัพไปตีเมืองเพื่อเอามาเป็นเมืองขึ้น แต่เขาจะให้ลูกน้องอยู่รักษาเมือง หรือบริหารเมืองนั้น และเขาก็จะเดินทัพเพื่อตีเมืองต่อไปที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
การจะทำการแบบนี้สำเร็จ เขาจำเป็นต้องมีแม่ทัพ และเจ้าเมืองที่มีฝีมือจำนวนมาก ที่จะคอยดูแลรักษาเมืองเหล่านั้นไว้ให้อุดมสมบูรณ์ และให้ราษฎรช่วยกันทำมาหากินจนมีผลผลิตเหลือแบ่งปันมาถึงส่วนกลาง การจะทำแบบนี้ได้ เขาต้องรู้จักใช้คน ต้องตามีแวว รู้ว่าใครมีข้อดีข้อเสียอะไร จะพัฒนาคนอย่างไร และต้องกล้า “ลงทุนในคน”
วิธีการลงทุนในคนของบัฟเฟต คือ “กล้าให้ใจ”
เขาจะ Trust ผู้บริหารและให้บริหารกิจการในพอร์ตโฟลิโอทั้งหมดของเขาอย่างอิสระ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก นอกจากกิจการนั้นขาดทุนหรือมีปัญหาจริงๆ
การ Trust คน นี้เป็นจุดแข็งของเขาที่หาได้ยากยิ่งในหมู่ฝรั่ง นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าเขาเติบโตมากับธุรกิจประกันก็ได้ เพราะรากฐานของธุรกิจประกันนั้นต้องอาศัย Trust สูงมาก
ผมมีเพื่อนคนหนึ่งที่พ่อของเขาเคยเป็นเด็กรับใช้คุณชิน โสภณพนิช มาก่อน แล้วพอโตขึ้นมาหน่อย เมื่อคุณชินทำบริษัทประกันภัย ก็ให้คนๆ นี้ เป็นผู้นำเงินสดใส่กระเป๋าไปให้กับคนที่ถูกไฟไหม้และทำประกันไว้กับคุณชิน เสมอๆ และต่อมาคนผู้นี้ ก็ได้เป็นผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของบริษัทกรุงเทพประกันภัย…หรืออย่าง พนักงานขายกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพื่อนฝูงญาติมิตรกับคนซื้อประกันแทบทั้งนั้น ถึงจะขายสำเร็จ เพราะธุรกิจแบบนี้ มันต้องอาศัย Trust สูงมาก มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ความสำเร็จของ Buffet ย่อมมาจากการที่เขาสามารถเผื่อแผ่ Trust หรือความใจกว้างของเขา ให้ขยายพรมแดนออกจากธุรกิจประกัน ไปสู่ธุรกิจอื่นในพอร์ตของเขาได้อย่างน่าชม
อีกอย่าง เขามักเชื้อเชิญบรรดาเจ้าของกิจการที่ทำกิจการของตัวอยู่แล้ว ให้เข้ามาอยู่ในกลุ่ม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่เขาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว และเจ้าของกิจการเหล่านั้น แทนที่จะอยู่กันแบบโดดๆ ก็มาร่วมใต้ชายคาของบัฟเฟตดีกว่า เพราะจะได้ประโยชน์ในเชิง “ตัวคูณ” เนื่องเพราะตลาดให้ความเชื่อถือบัฟเฟตและ Berkshire Hathaway มากกว่า
ดังนั้น เราจะเห็นว่าบรรดากรรมการและผู้บริหารในอาณาจักรของบัฟเฟตนั้น ถือหุ้น Bershire อยู่ถึง 37% ในส่วนของหุ้น Class A และ 17.4% ในส่วนของหุ้น Class B แต่ถ้านั่นเป็น Carrot แล้วเขาใช้ Management Control วิธีไหนกับผู้บริหารเหล่านั้น
ผมพบว่า แม้เขาจะไม่นิยมใช้วิธีการประเมินผลโดยอาศัยราคาหุ้นหรือผลประกอบการรายไตร มาศของแต่ละบริษัทมาเป็นเกณฑ์ แต่เขาก็ยังต้องดู Bottom Line ประกอบ เพราะในหลายกรณีเขาก็ต้องปลดผู้บริหารที่ทำบริษัทขาดทุนต่อเนื่องออกไป แม้แต่กรณีผู้บริหารของ Coke ในอดีตที่แก้ปัญหา Contamination ได้ไม่ดีจนหุ้นตกระเนระนาด และยอดขายหายวับไปกับตา ก็ปรากฏว่าเขาเองที่เป็นคนไปเจรจาให้ลาออกไป เป็นต้น นอกจากนั้น เขายังคงถือสิทธิขาดในการกำหนดผลตอบแทนของผู้บริหารทุกคนในกลุ่ม
ข้อนี้แหละที่เป็น “ไม้ตาย” ของเขา ที่เขาจะไม่ยอมปล่อย เพราะเขาจะใช้การกำหนดผลตอบแทนนี้เป็นการส่งสัญญาณและเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร อันนี้นับว่าเขาเหมือน ประธานเหมาเจ๋อตง ที่แม้จะลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ก็ยังคงนั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการทหารฯ อยู่จนวันตาย เพราะประธานเหมา เชื่อว่า “อำนาจ มาจากปากกระบอกปืน” และสำหรับหลักการในการกำหนดผลตอบแทนผู้บริหารนั้น เขาก็เขียนไว้ชัดเจนในจดหมายเชิญประชุมผู้ถือหุ้นเลยว่า “SUBJECTIVE”
อย่างปีที่แล้ว เขาได้ให้ผลตอบแทนกับ CFO คือนาย Marc D. Hamburg สูงที่สุด โดยให้นายคนนี้ได้ไปทั้งสิ้น 874,750 เหรียญฯ โดยที่เขาเขียนไว้ในจดหมายฯ เลยว่าคณะกรรมการได้ให้อำนาจเขาคนเีดียว และดุลพินิจของเขาก็คือ “SUBJECTIVE” (นายคนนี้ได้ผลตอบแทนมากกว่าเขาเองที่ได้ 175,000 เหรียญฯ และ Charlie Munger ที่ได้เพียง 100,000 เหรียญฯ ในปี 2009) ผมสังเกตอีกข้อหนึ่งว่า แม้เขาจะใช้วิธีหรือสไตล์แบบ Subjective แต่กลับเกิดความผิดพลาดน้อยมาก…ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ข้อนี้ผมให้เครดิตเขามาก ว่าเขาเป็นคนที่มี “อคติ” น้อย
Alfred Sloan ซึ่งผมคิดว่าเขาเป็นผู้บริหารที่เก่งและเชี่ยวชาญเรื่อง Management มาก เคยกล่าวไว้ในทำนองว่า ผู้บริหารที่ดีต้องปราศจาก Bias เพราะพวกเขาไม่มีหน้าที่ที่จะต้องรักใครหรือเกลียดใครเป็นพิเศษ ไม่มีหน้าที่ต้องแค้นเคืองใคร ข้องใจใคร สนิทกับใคร หรือเลือกข้างใคร…พวกเขาย่อมต้องดูที่ Performance เป็นเกณฑ์ แม้มันจะฟังไร้หัวใจไปหน่อย แต่ผู้นำที่เก่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเช่นนั้น
warren buffet
images.jpg (6.36 KiB) Viewed 341 times
images.jpg (6.36 KiB) Viewed 341 times
เช้าตรู่ของวันที่ 1 เสาร์แรกของเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ขณะที่อากาศบ้านเรากำลังร้อนจัด บนท้องถนน บริเวณสี่แยกราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียง อัดแน่นไปด้วยเต้นท์และผ้าพลาสติกปูนอนของผู้คนที่มีความรู้สึกอึดอัดขัด ข้อง และเรียกตัวเองว่า “ไพร่” ซึ่งสะท้อนถึงความด้อยอภิสิทธิ์ และขาดแคลนสินทรัพย์ตลอดจนความมั่งคั่งด้วยประการทั้งปวง กำลังเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ฯลฯ
แต่ทว่า ณ อีกมุมหนึ่งของโลก ที่เมืองโอมาฮา เมืองเล็กๆ ในรัฐเนบราสก้า ของสหรัฐอเมริกา บรรดาเศรษฐีและมหาเศรษฐีของโลกจำนวนกว่า 35,000 คน ก็กำลังชุมนุมกันอยู่อย่างเบียดเสียดยัดเยียดเช่นกัน
“ม็อบมหาเศรษฐี” เหล่านี้ มาที่นี่ทุกปีในช่วงเวลานี้ เพราะพวกเขาต้องมาเพื่อตรวจสอบทรัพย์สินและความมั่งคั่งของตัวและครอบครัว ว่าได้สะสมงอกเงยมาเป็นเท่าใดแล้วในขณะนั้น และกำลังจะงอกงามสืบไปอีกสักเท่าใดกันแน่ในอนาคต และด้วยวิธีใด นั่นเพราะพวกเขาพร้อมใจกันฝากฝังให้บุคคลผู้หนึ่งเป็นคนจัดการดูแลให้ อย่างแทบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
Warren Buffet คือบุคคลผู้นั้น
บุคคลผู้เกือบมีสถานะเป็น “เทพ” เชี่ยวชาญในการ “เล่นแร่แปรธาติ” เอาเงินมาต่อเงิน ผ่านกลไกตลาดทุน รู้จักวางตัว รู้จักพูดจา รู้จัก Tell Story เพื่อสร้างตัวคูณให้กับราคาหุ้น จนตัวเองร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก แต่กลับสร้างภาพว่าเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ติดดิน ใจบุญสุญทาน จนเกือบมีสถานะเป็น “ฤาษี” วิธีการแบบนี้ นับว่าน่าสนใจมาก
วิธีการของเขานั้นดูเหมือนง่าย เพียงทุกคนเข้าถือหุ้นใน Holding Company อันหนึ่งที่ชื่อ Berkshire Hathaway Inc. ที่ มีเขาและครอบครัวตลอดจนพรรคพวกของเขาควบคุมอยู่ เสร็จแล้วก็กลับบ้านมานั่งรอให้ราคาหุ้นไต่ขึ้นไปเรื่อยๆ คอยบวกลบคูณหารว่า Wealth ของตัวจะงอกงามเป็นเท่าใดในแต่ละวัน แต่ละเดือน แต่ละปี
แล้วในความเป็นจริง มันก็ดันเป็นเช่นนั้นจริงๆ ราวกับราคาหุ้นมันเสกกันได้ คนที่ลงเงินกับเขาในปี 1964 แล้วยังถืออยู่จนปัจจุบัน ก็คำนวณกันแล้วว่าได้ผลตอบแทนถึง 434,057% (คิดเป็นอัตราผลตอบแทนสะสมต่อปีถึง 20.3%…อันนี้ผมพูดถึง Compounded Annual Gain ของ Per-Share Book Value of Berkshire Hathaway ตั้งแต่ 1965-2009 ซึ่งเขาใช้เป็น Index ในการวัดความเก่งกาจของตัวเอง)
ขณะที่ผมนั่งเขียนต้นฉบับอยู่นี้ คือเช้าตรู่ของวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2553 ราคาหุ้นของ Berkshire Hathaway ปิดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหุ้นละ 115,815 เหรียญฯ สำหรับหุ้นสามัญชั้นหนึ่ง (Class A Stock, ชื่อหุ้นใน NYSE คือ BRKa) และ 77.10 เหรียญฯ สำหรับหุ้นสามัญชั้นสอง (Class B Stock, ชื่อหุ้นใน NYSE คือ BRKb)
เห็นหรือยังครับ ว่าในหมู่เศรษฐีก็ยังแบ่งชนชั้นกันเอง กล่าวคือผู้ถือหุ้นชั้นหนึ่งหรือ “ชั้นเจ้า” จะมี Voting Right หรือ “สิทธิในการออกเสียง” เหนือกว่าผู้ถือหุ้นชั้นสองหรือ “ชั้นไพร่” ถึง 1,500 เท่า เพราะหุ้น Class A สามารถแลกเป็น Class B ได้ 1,500 หุ้น
ท่านผู้อ่านลองคูณเป็นเงินบาทดูสิครับ หุ้น BRKa ตกแล้วราคากว่า 3.8 ล้านบาท ยังงี้ถือแค่เพียงหุ้นเดียว คนแถวบ้านก็พากันเรียก “เศรษฐี” แล้วละครับ
ผมลองคำนวณมูลค่าหุ้นทั้งหมดของ Berkshire Hathaway รวมกันที่เรียกว่า Market Capitalization ก็จะได้ประมาณ 382.01 พันล้านเหรียญฯ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 12.6 ล้านล้านบาท นับว่ามากกว่าขนาดของเศรษฐกิจไทยทั้งประเทศ (GDP ของไทยปีนี้คาดว่าจะอยู่ประมาณ 9.5-10 ล้านล้านบาท)
เห็นหรือยังครับว่าทำไม “ม็อบเศรษฐี” พวกนี้ถึงต้องมาชุมนุมกันที่โอมาฮาทุกปี (อ่านรายงานของคนที่เคยไปชุมนุมที่นั่นแล้วออกมาบอกเล่ากันได้ใน “จาริกแสวงบุญที่โอมาฮา เฝ้าศาสดา วอเรน บัฟเฟต” หน้า 76)
หลายปีมานี้ มีหนังสือจำนวนมาก (รวมทั้ง MBA ด้วย) ได้พยายามอธิบายวิธีการของ Warren Buffet วิธีคิดของเขา วิธีมองหาเพชรในตมของเขา วิธีการเจียรนัยเพชรของเขา วิธีการมองโลกและชีวิตของเขา ตลอดจนเคล็ดลับ เคล็ดวิชา หรือกลเม็ดเด็ดพรายเล็กๆ น้อยๆ ว่าเขารวยขึ้นมาได้ยังไงกัน (วะ) แต่เขามักจะเก็บตัว และ้ถ้าจะพูดก็จะเลือกพูด หรือพูดผ่านคนที่เขาไว้ใจหรือซื้อไว้แล้ว
สิบกว่าปีมาแล้ว ขณะที่เขายังไม่โด่งดังมากขนาดนี้ ผมได้ขอให้ตัวแทนของ Talent Agency ที่มีชื่อเสียงติดต่อกับเขา เพื่อขอให้มาพูดที่เมืองไทย แต่เขาก็เฉยๆ แม้ตัวแทนคนนั้นบอกผมว่าได้ติดต่อผ่านไปยังวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ คนหนึ่งที่มีความสนิทชิดเชื้อเป็นกันเองกับเขา ด้วยซ้ำไป
จนอีกหลายปีต่อมา จึงเพิ่งจะมารู้ว่าเดี๋ยวนี้ “คนนอก” จะไปพบเขาก็ต้องประมูลผ่านทาง eBay อย่างกลุ่มนักธุรกิจจีนกลุ่มหนึ่งที่ชนะประมูลด้วยวงเงินกว่า 10 ล้านบาท เป็นต้น แม้จะว่าเป็นการกุศล ผมก็ว่ามันทะ:-)ๆ ซึ่งเขาก็คงตระหนักเหมือนกัน จึงบอกให้เลิกกิจกรรมแบบนี้เสีย
แต่นั่นก็ทำให้เราเห็นว่าความนิยมในตัวเขานั้นมากเพียงใด โดยเฉพาะในหมู่ประเทศเศรษฐีใหม่ (เมื่อปีที่แล้ว มีเศรษฐีต่างชาติกว่า 800 คน เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway และขอให้เขาเซ็นลายเซ็นให้บนข้าวของคนละ 1 ชิ้น แม้กระนั้นก็ยังต้องใช้เวลาเพื่อการนี้ถึง 2 ชั่วโมงครึ่ง จนมาปีนี้เขาขอให้เลิก เพราะเหนื่อย)
ผมรู้ดีว่าแฟนๆ บัฟเฟตในเมืองไทยมีแยะ เพราะหลายครั้งที่เราพูดถึงเขาใน MBA นิตยสารฉบับนั้นก็จะขายดีเป็นพิเศษ นั่นจึงเป็นที่มาของเรื่องที่ท่านถืออยู่ในมือ ณ ขณะนี้ ซึ่งเราตั้งใจจะให้ละเอียด Update และลึกซึ้งครอบคลุมที่สุด เท่าที่จะทำได้ในภาคภาษาไทย
ก่อนที่จะลงมือเขียนบทความนี้ ผมก็ได้ตรวจสอบดู Portfolio ของ Berkshire Hathaway อย่างละเอียด ตลอดจนตรวจดูงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงินล่าสุด เท่าที่จะมีข้อมูลให้อ้างอิงได้ ทั้งจาก Annual Report ปีล่าสุด และจาก Edgar ไฟล์ของหน่วยงาน ก.ล.ต. (SEC) ของสหรัฐฯ ตลอดจนได้อ่าน Chairman’s Letter ฉบับล่าสุดและ Owner-Related Business Principles ฉบับอัพเดตทั้ง 15 ข้อ อันโด่งดัง ที่บัฟเฟตอ้างว่าเขาเขียนเอง
และที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ ย่อมเป็น Observations ของผมเอง ที่แม้ผู้รู้หลายท่านอาจจะไม่เห็นด้วย แต่ผมก็ยังเชื่อว่า มันจะเพิ่มเติมมุมมองใหม่ๆ ให้กับท่านไม่มากก็น้อย ถ้าท่านเป็นผู้ที่ฝักใฝ่สนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับการ “หาทรัพย์” “ใช้ทรัพย์” “เพิ่มพูนทรัพย์” หรือต้องแบกรับภาระหน้าที่ที่ต้องรักษาไว้ซึ่ง “ความมั่งคั่ง” (Wealth) ของครอบครัวหรือองค์กรของท่าน มิให้เสื่อมค่าลงตามกาลเวลาและอัตราเงินเฟ้อ
คนรวย
เนื่องเพราะผมไม่ใช่คนรวยและมิได้เกิดมารวย เพราะฉะนั้น ความเข้าใจต่อ “ความรวย” สำหรับผม ย่อมได้มาจากการอ่าน สังเกต ศึกษา เรียนรู้ สอบถาม แลกเปลี่ยน คิดหาเหตุผล และจินตนาการเอาเอง
นานมาแล้ว สมัยที่ผมยังหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็น Investment Banker หัวหน้าผมคนหนึ่ง ซึ่งเป็น Banker ที่เก่ง เคยบอกกับผมว่า “คนรวยจริงนั้นต้องรวยด้วย Wealth มิใช่รวยด้วย Income” และ นับแต่นั้น แม้จะฟังดูกำกวมอยู่บ้างในตอนแรก ผมก็ได้ยึดถือเอาคำพูดประโยคดังกล่าวเป็น Core Concept เสมอมา เมื่อต้อง Observe อะไรที่เกี่ยวกับทรัพย์หรือเกี่ยวกับความร่ำรวยหรือความมั่งคั่งของผู้คน
และในฐานะที่ผมเป็นนักข่าวสายธุรกิจ เศรษฐกิจ และการจัดการ ผมย่อมต้องเคยพูดคุยกับคนรวยจำนวนมาก เคยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนและการบริหารสินทรัพย์หรือ หนี้สิน ตลอดจนสไตล์การใช้ชีวิตของคนเหล่านั้น ทั้งที่เป็นนักธุรกิจใหญ่ๆ นักการเงิน นักลงทุน นักอุตสาหกรรม นักการเมือง เทคโนแครต หรือ Entrepreneur ที่เก่ง อีกทั้งยังเคยเห็นของมีค่ามาแล้วก็ไม่น้อย ทั้งของสะสม, Luxury Estate, Precious Metals, Arts และ Collectible Items อื่นๆ ที่ผู้คนคิดว่ามันจะสามารถ Store Value ของความมั่งคั่งไว้ได้
สุดท้าย ผมก็พบว่าคำกล่าวนั้นเป็นความจริง เพราะหลายคนที่ผมเคยพบ แม้จะมีรถยนต์จำนวนมาก แต่ก็ใช้ได้จริงทีละคัน แม้จะมีเครื่องเสียงและแผ่นเสียงมีค่าจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ก็ฟังได้จริงทีละชุดและทีละแผ่น แม้จะมีเครื่องเพชรละลานตา แต่ก็ใส่ออกงานได้จริงวันละไม่กี่ชุด ฯลฯ หรือ One at a time และแม้จะมีเงินจำนวนมหาศาล ทว่า 90% ของเงินที่มีอยู่ กลับไม่เคยถูกนำมาใช้กินใช้อยู่ใช้เที่ยวหรือเพื่อการใช้ชีวิตหรือดำรงชีวิต ประจำวันแต่อย่างใด เพราะคนเราจะกินอยู่กันซักเท่าไหร่กันเชียว วันๆ หนึ่ง
ผมสังเกตว่า Bill Gates ตอนที่มาเมืองไทยก็พักอยู่ที่ดุสิตธานี เมื่อคิดดูให้ละเอียดก็จะเห็นว่าดุสิตธานีนั้นอยู่ไม่ไกลไปจากซอยงามดูพลี ที่ฝรั่งขี้นกชอบมาพักกันไม่เท่าไหร่ หรือเมื่อเขาไปภูเก็ต เขาก็เพียงอยู่กันคนละหาดกับบรรดาฝรั่งขี้นกพวกนั้น ผมว่าชีวิตประจำวันก็คงไม่ต่างกันมากเท่าไหร่ แต่ที่ต่างกันมากมายมหาศาล ย่อมเป็น “เลขศูนย์” หรือ “เลขหลัก..” (000,000,000,000,000…) ที่ต่อท้ายตัวเลขในสมุดเงินฝาก (หรือในบัญชี Net Worth) นั่นแหละ
ซึ่งหลักศูนย์จำนวนมากที่มาต่อท้ายนี้ เป็นสิ่งที่พึงปรารถณาของคนทั่วไป เพราะมันสามารถดลบันดาลให้ได้ครอบครองและบริโภคของดี ของหายาก ของแพง ของที่อยากได้ หรือแม้แต่จะให้ทานใครทีละมากๆ ฯลฯ ก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด…นั่นเป็นข้อดึของความรวย
ผมสังเกตว่าคนรวยในโลกเดี๋ยวนี้ รวยกันทีเป็นหลักแสนล้านหรือล้านล้าน มิใช่ร้อยล้านหรือ Millionaire เหมือนเมื่อก่อน และแทบทั้งหมด (ถ้าไม่นับ Royal Family) ย่อมรวยด้วยการถือครองหุ้นในกิจการหรือกลุ่มกิจการของตัวเอง มิได้รวยขึ้นมาด้วยการถือครองที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่น (แม้แต่ Government Bonds หรือ Treasury Bills ก็ตามที) หรือด้วย Stream of Incomes ที่แม้จะมีมาหลายทาง ก็รวมแล้วไม่มีทางเทียบได้กับ Market Capitalization ของหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
อย่าง Bill Gates ก็รวยขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นของโลกเพราะถือหุ้น Microsoft ที่ราคาก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีแรก นั่นนับเป็นแกนหลักของความรวยของเขาที่ตอนหลังคืบคลานไปถือสินทรัพย์อย่าง อื่นด้วย หรืออย่าง “มหาเศรษฐีข้ามวัน” รุ่นใหม่จำนวนมาก Yahoo!, Google, eBay, YouTube, Netscape, MySpace, Amazon, Starbuck, Wal-Mart, Murdoch ฯลฯ ที่รวยขึ้นมาจากกิจการไฮเทคหรือแม้แต่พวก Hedge Fund และ Private Equity ที่มักต้องเก็บตัวรวยแบบเงียบๆ ก็ล้วนรวยมาจากมูลค่าหุ้นทั้งนั้นแหละ
นั่นเป็นเพราะหุ้นมันมี “ตัวคูณ”
ระบบทุนนิยมมันอนุญาตให้ตลาดหุ้นสร้าง “ตัวคูณ” ให้กับสินทรัพย์และรายได้ เพื่อให้เกิด “ความมั่งคั่ง” อีกระนาบหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นความมั่งคั่งในระดับ “อภิมหา” หรือ Super Rich
Warren Buffet ก็ใช้วิธีการนี้มาตั้งแต่แรกและใช้มาก่อนใครเพื่อน นั่นเป็นเพราะเขาค้นพบความลับของ “ตัวคูณ” มาตั้งแต่เขายังเรียนหนังสืออยู่กับ Bill Graham ที่โคลัมเบียเมื่อยังเด็ก
ดังนั้น เมื่อเขาได้ของมีค่ามา แม้ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร โรงงาน กิจการ หรือธุรกิจที่มีกำไร กระแสเงินสด และมีศักยภาพแห่งรายได้ เขาย่อมไม่ “กั๊ก” ไว้เอง เขาย่อมใส่เข้าไปใน Berkshier Hathaway หมด เพื่อสร้างตัวคูณให้กับหุ้น Bershire แล้วค่อยรอกินจาก “ยอด” นั้น ซึ่งวิธีนี้สำหรับเขา มันพิสูจน์ให้เห็นตำตาแล้วว่ามันได้โป่งขึ้นเป็นแสนเท่า
เขากล่าวไว้ใน Annual Report ฉบับล่าสุดว่า “In line with Berkshire’s owner-orientation, most of our directors have a major portion of their net worth invested in the company. We eat our own cooking.
Charlie’s family (หมายถึง Charlie Munger มือขวาของเขา–ทักษ์ศิล) has 80% or more of its net worth in Berkshire shares; I have more than 98% In addition, many of my relatives – my sisters and cousins, for example – keep a huge portion of their net worth in Berkshire stock.
Charlie and I feel totally comfortable with this eggs-in-one-basket situation because Berkshire itself owns a wide variety of truly extraordinary businesses……
Charlie and I cannot promise you result. But we can guarantee that your financial fortunes will move in lockstep with ours…(..)…Moreover, when I do something dumb, I want you to be able to derive some solace from the fact that my financial suffering is proportional to yours.” (Berkshire Hathaway Inc., 2009 Annual Report, P.89)
เก๋มะ! คำพูดเนี่ย
ตัวคูณ
เห็นมั้ยครับว่า Buffet คิดไม่เหมือนเศรษฐีไทย ซึ่งร้อยทั้งร้อยมุ่งเน้นแต่เรื่อง Cashflow และ Stream of Income แต่ต่อยอดไปสู่กระบวนทัศน์ของ “ตัวคูณ” ไม่ค่อยเก่ง ยกเว้นคนรุ่น ทักษิณ ชินวัตร สนธิ ลิ้มทองกุล สวัสดิ์ หอรุ่งเรือง อนันต์ อัศวโภคิณ ฯลฯ เหล่านี้ที่โผล่ขึ้นมาในยุคเงินท่วมประเทศ และอาศัยตัวคูณในตลาดหุ้นต่อยอดให้ตัวเองอย่างโฉ่งฉ่าง โดยที่บางคนก็สำเร็จ บางคนก็ล้มเหลว (ถ้าดูให้ดี จะเห็นว่าเศรษฐีใหม่อย่าง ตัน ภาสกรนที ก็ Breakthrough ขึ้นมาได้เพราะหุ้นเหมือนกัน)
เศรษฐีไทยส่วนใหญ่ ไม่ว่ารุ่นเก่ารุ่นใหม่ แม้ว่าจะเคยลิ้มลองรสชาติของ “ตัวคูณ” กันมาแล้วแทบทุกคน แต่นิสัยพื้นฐานลึกๆ มักจะคล้ายคลึงกัน คือนิยมที่จะรักษาความมั่งคั่งไว้กับที่ดิน อาคาร ทองคำ และเงินฝากธนาคารเสียมากกว่า ยกตัวอย่างเช่นคนในตระกุลเศรษฐีประเภท “ของจริง” ที่สังคมรู้จักกันดี อย่างโสภณพนิชหรือเจียรวนนท์ พวกเขาย่อมเข้าใจมหัศจรรย์ของ “ตัวคูณ” เป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ได้ถือเรื่องดังกล่าวเป็น Priority หลักของครอบครัว และไม่ได้หมกมุ่นกับมันเหมือน Buffet (เช่นเดียวกับอีกหลายตระกูลที่รวยมาก่อนหน้านี้ก็เช่นเดียวกัน จนสุดท้ายความมั่งคั่งที่เคยกระจุกตัวอยู่ในตระกูลก็ถูกแบ่งแยกแจกจ่ายกันไป ในหมู่สมาชิกรุ่นต่อมาจนทำให้ตระกูลไม่สามารถสืบทอดความมั่งคั่งต่อไปได้ และต้องกระเด็นออกจากทำเนียบมหาเศรษฐีไปโดยปริยาย)
นั่นอาจเป็นเพราะวิธีคิดแบบคนจีนที่ถึงแม้จะชอบความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่เมื่อรวยแล้วก็จะไม่กล้าไปแบบสุดๆ เหมือนฝรั่ง ในเชิงเทคนิคแล้ว “ตัวคูณ” ของราคาหุ้นย่อมมีพื้นฐานมาจากรายได้ กำไร และกระแสเงินสดของกิจการนั่นเอง ทว่า เมื่อถูกนำมาปรุงแต่งอย่างเหมาะสมด้วยมือของผู้ชำนาญแล้ว กำไรหรือกระแสเงินสดหรือ Book Value เพียง 1 บาท สามารถเป็นสปริงบอร์ดให้ราคาหุ้นของกิจการนั้นๆ มีค่าเป็นสิบเป็นร้อยได้ ซึ่งนักลงทุนเรียกมันว่า P/E Ratio บ้าง P/Cashflow บ้าง P/BV บ้าง หรือ P/NPV บ้าง โดยมันจะสูงจะต่ำ ย่อมขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และจิตวิทยาของผู้ลงทุนในขณะนั้น ตลอดจนทัศนคติและความคาดหวังหรือภาพอนาคตของกิจการนั้นๆ ที่ผุดขึ้นในใจผู้ลงทุนในขณะดังกล่าวด้วย
ในกรณีของ Buffet เขาตัดสินใจใช้ Net Worth เป็นตัวตั้ง กล่าวคือใช้ Per-Share Book Value เป็นตัวแสดงถึงความสำเร็จและความมั่งคั่งของ Berkshire เช่นในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นครั้งล่าสุด เขาขึ้นต้นย่อหน้าแรกด้วยประโยคนี้ว่า “ระหว่างปี 2009 ที่ผ่านมา Net Worth ของ Berkshire เพิ่มขึ้นถึง 21.8 พันล้านเหรียญฯ ทำให้ Per-Share Book Value เพิ่มขึ้นถึง 19.8% ต่อหุ้น” นั่นแสดงว่าเขาให้ความสำคัญกับมันเหนือสิ่งอื่นใด
เขาว่า Per-Share Book Value นี่แหละที่เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของ “Intrinsic Value” หรือมูลค่าที่แท้จริงซึ่งเป็นหัวใจของการประเมินค่ากิจการและเงินลงทุนทั้งหมดของเขา ซึ่งเขาเรียนมาจากอาจารย์ Graham อีกทอดหนึ่ง
Buffet เขียนไว้เองว่า “Intrinsic value is an all-important concept that offers the only logical approach to evaluating the relative attractiveness of investment and businesses. Intrinsic value can be defined simply: It is the discounted value of the cash that can be taken out of a business during its remaining life.” (P.92, เส้นใต้นั้นผมขีดเอง)
เห็นหรือยังครับว่าวิธีการมอง “มูลค่า” หรือ “คุณค่า” ของเขามีหลักยังไง จึงไม่แปลกที่ Buffet จะมีความสามารถพิเศษในการ “เล่าเรื่อง” หรือ “Tell Stories” เพราะเขาจำต้องสร้างความคาดหวังให้กับนักลงทุนและตลาดหุ้น เขาต้องสร้างภาพในใจคนเหล่านั้น ให้เห็นว่าวิธีการที่เขาทำอยู่ (ที่สามารถชักชวนเอากิจการดีๆ ภายใต้ผู้บริหารที่เก่งกาจ ที่มีศักยภาพที่จะสร้างกระแสเงินสดจำนวนมากฉีดเข้ามาในพอร์ตของ Berkshire อยู่ตลอดเวลา) จะนำไปสู่การเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้กับ Berkshire Hathaway ในอนาคต
ยิ่งนักลงทุนและตลาดมีความคาดหวังสูงมากเพียงใด ยิ่งภาพที่ผุดขึ้นในใจคนเหล่านั้นเริดหรูเพียงใด “ตัวคูณ” ของหุ้น Berkshire ในปัจจุบันย่อมสูงตามไปด้วย นั่นจึงเป็นที่มาของกระบวนการสร้างภาพให้กับตัวเอง เพราะนักเล่าเรื่องหรือนักเล่านิทานที่จะให้คนเชื่อได้ ย่อมต้องมี “ความน่าเชื่อถือ” เป็นเบื้องแรก
ในรอบ 30 ปีมานี้ Buffet ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของตัวเองสูงมาก เขาวางตำแหน่งตัวเองให้ดู “ไม่โลภ” (แม้จะหากินกับเรื่องเงินๆ ทองๆ มาตลอดชีวิต) เพราะเขาเข้าใจโลกสันนิวาศ ว่าถ้าถูกมองเป็นคนโลภมากเสียแล้ว ความน่าเชื่อถือก็จะน้อย พูดอะไร ทำอะไร ก็จะไม่มีน้ำหนัก ดังนั้น เขาจึงต้องแสดงออกคล้ายๆ ฤาษี แม้จะมีเงินทองเป็นล้านล้านบาทก็ตาม ระยะหลังเมื่อแก่มากแล้ว เขายิ่งหันมาเน้นในจุดนี้ ให้เห็นว่าเขาละวางได้จากความโลภทั้งปวง และกลายเป็น “ผู้ให้” หรือ “ผู้ใจบุญ” อย่างยิ่งใหญ่
นั่นเป็นเหตุหนึ่งที่ภายนอกเขาต้องดูเหมือน “ผู้นำลัทธิ” ในอดีต ที่มี “สาวก” คอยติดตามจำนวนมาก (พวกนักการตลาดรู้มานานแล้วว่าวิธีการแบบนี้เป็นการสร้างแบรนด์แบบหนึ่งที่เรียกว่า Cult Branding)
เครื่องมือหลักของเขาในการสร้างภาพก็คือ “สื่อ”
Buffet ใช้สื่อระดับคุณภาพสูงที่เข้าถึงกลุ่มบนสุดของสังคมให้ช่วยอธิบายตัวเขา เขาใช้คนอย่าง Carol Loomis บรรณาธิการอาวุโสที่มีอิทธิพลต่อ Fortune ในรอบ 30 กว่าปีมานี้ คนอย่าง Andrew Ross Sorkin แห่ง New York Times และเข้าถือหุ้นและร่วมเป็นกรรมการของ The Washington Post อันทรงอิทธิพล กับสื่อทีวี เขาก็สนิทสนมกับ Becky Quick แห่ง CNBC และเคยสนิทมากกับ Michael Bloomberg เจ้าพ่อสื่อคนใหม่ของโลก เป็นต้น นอกจากนั้น เขามักให้กิจการที่ Berkshire เข้าไปซื้อแบบเต็มตัว เพิ่มงบโฆษณาแบบไม่อั้น เพื่อสร้างภาพว่าได้เข้ามาร่วมอยู่ในชายคาของเขาแล้วเสมอๆ
เขารู้ว่า “สื่อ” คือความเป็นความตายของเขา เพราะกิจการของเขาเป็นเพียง Holding Company วันๆ เอาแต่ซื้อหุ้นนั้น ขายหุ้นนี้ ระดมทุนจากคนนั้น แล้วมาซื้อกิจการโน้น เทคโอเวอร์กิจการนี้ ฯลฯ มิได้ดำเนินธุรกิจอะไรจริงจัง ถ้าสื่อร่วมกัน “เจาะยาง” เขา ทำให้เขาไม่ Popular ในหมู่ผู้ลงทุนและแวดวงตลาดหุ้น มูลค่าหุ้นของเขาก็จะลดลง หรือขึ้นต่อไปได้ลำบาก
ผมสืบสวนดูจดหมายถึงผู้ถือหุ้นล่าสุดนี้ ก็พบว่า ปี 2009 ที่ผ่านมา เฉพาะตัวเขาเองมีค่าใช้จ่ายในการรักษาความปลอดภัย (Personal and home securitiy services) ถึง 344,490 เหรียญฯ คิดเป็นเงินไทยกว่า 10 ล้านบาท (ฺBerkshire Hathaway INC., Notice of Annual Meeting of Shareholders, P.7)
ผมรู้เลยว่า ตัวเขาเองแล้ว ลึกๆ ก็กลัว เพราะยุคนี้เป็นยุคแห่ง Social Tension คุณจะรวยอยู่ได้ไงท่ามกลางคนจนที่มากขึ้นเรื่อยๆ พวกมหาเศรษฐีถึงต้องพากันตั้งมูลนิธิและกลายเป็น Philantropist กันเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด แต่อีกด้านหนึ่งก็ยังผูกขาดตัดตอน ขายของแพง และเอารัดเอาเปรียบอยู่เหมือนเดิม (ไม่เชื่อลองดูตัวอย่าง Microsoft ดูสิ)
ในอินเทอร์เน็ต มีเว็บไซต์จำนวนมากที่โจมตี Buffet หาว่าเขาเป็นพวกมือถือสากปากถือศีลบ้าง หรือหาว่าเป็นโจรสลัดก็มี พวกเหล่านี้ ไม่เชื่อว่า “คนดี” “คนไม่โลภ” จะใช้ตลาดหุ้นสร้างความร่ำรวยให้กับตัวเองได้อย่างมากมายมหาศาลขนาดนี้ ความข้อนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วย แต่ผมว่า Buffet เขาแนบเนียนมาก หรือถ้าจะใช้ภาษาสูงกว่านั้นก็ต้องว่า “แยบคาย”
ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบเขากับมหา เศรษฐีไทยดูสักสองสามคน เอาว่าทักษิณคนหนึ่ง ธนินท์คนหนึ่ง และเจริญอีกคนหนึ่ง และลองมองในเชิง “ความโลภ” ดูสิ ท่านลองดูพฤติกรรมของพวกเขาสามคน ทั้งวิธีการหาเงิน วิธีการค้าขาย ความสัมพันธุ์กับคู่ค้าและผู้บริโภค ฯลฯ ก็จะเห็นได้ว่า คนเหล่านี้มีความโลภเป็นเจ้าเรือน บางคนเข้าไปสู่แวดวงอำนาจเพื่อหาเงินหาทอง บางคนเอาเปรียบเกษตรกร (ซึ่งเป็น Supplier สำคัญของธุรกิจตน) และสิ่งแวดล้อมอย่างไ่ม่รู้สึกรู้สา และบางคนก็เอาเปรียบคนดื่มแอลกอฮอล์ (ซึ่งเป็นผู้บริโภคคนสำคัญของตัว) อย่างมากและโจ่งครึ้ม…ข้อนี้ Buffet เหนือชั้นกว่าพวกเขามาก
มีเว็บไซต์นึงว่าเขาเป็นตัวอย่างของพวก Buccaneer of Capitalism ที่คอยปล้นสดมภ์โดยใช้เครื่องมือของระบบทุนนิยม ทั้งๆ ที่กิจการ Berkshire นั้น มิได้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเลย เขาเป็นเพียง “แมงป่องที่ขี่หลังเต่า” เท่านั้นเอง เพราะถ้าไม่มีบริษัทแบบ Berkshire ระบบเศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่กระทบอันใดเลย ดังนั้นคนอย่าง Warren Buffet ก็เป็นแต่เพียง “กาฝาก” เท่านั้นเอง เมื่อลองพิจารณาพอร์ตโฟลิโอของ Bershire แล้ว ผมก็เริ่มเห็นด้วยกับความข้อนี้เช่นกัน
พอร์ตโฟลิโอ
สไตล์ของ Buffet ในการ Form Portfolio นั้นเป็นสไตล์เฉพาะตัว แม้นักลงทุนจำนวนมากจะเอาอย่างเขาในเรื่อง Value Investment แต่ก็คงทำเหมือนเขาเป๊ะไม่ได้ หรือเลียบแบบโดยตรงไม่ได้..และจะไม่มีทางได้ ถ้าดูให้ดีจะเห็นว่าเขาโตมาจากธุรกิจประกัน (ส่วนใหญ่จะเป็นประกันภัย) แม้แต่ตอนนี้ที่เขา Diversify ไปมากแล้ว ก็ยังเห็นร่องรอยว่าเขาพึ่งพาประกันถึงหนึ่งในสาม
ท่านที่เคยดูหนังเรื่อง About Schmidt ก็จะจินตนาการเห็นภาพพจน์ได้ทันทีเลยว่าตัวละครอย่าง Jack Nicholson นั่นแหละที่เป็นลูกน้องของ Buffet และคอยหาเงินหาทองให้กับ Berkshire ด้วยการทุ่มเทชีวิตทั้งชีวิตไปกับการขายประกัน
อีกประมาณหนึ่งในสามก็จะอยู่ในหมวดค้าส่ง บริการ และการผลิต รวมถึงพรมรองพื้น โดยทั้งหมดนี้จะกระจายกันไปกว่า 150 บริษัท (มีทั้งเพชรพลอย ภัตราคาร เสื้อผ้า ของเล่น ลูกอม ขนมหวาน ฯลฯ) ประกันกับกลุ่มการค้าอันนี้จึงเป็น Life & Blood ของเขา ถ้าธุรกิจประกันหรืการค้าในอเมริกาเกิดแย่ เขาก็ย่อมเซไปด้วยอย่างแน่นอน
ผมดูงบดุลของ Bershire ปี 2009 แล้วเห็นว่าสินทรัพย์ในสองหมวดนี้ คิดเป็นกว่า 75% ของสินทรัพย์รวม และเมื่อดู Cashflow ทั้งปี ที่มีเงินสด (รวม Cash Equivalent) ทั้งสิ้น 30,558 ล้านเหรียญฯ แล้ว จะคิดเป็นส่วนที่ถือผ่านบริษัทประกันและบริษัทในกล่มนี้อยู่อยู่ถึง 27,917 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นกว่า 91% ของเงินสดในมือทั้งหมด
และผมก็พยายามแกะดูว่ากระแสเงินสดที่มาจากสองหมวดนี้เป็นเท่าใด แต่ก็ไม่มีข้อมูลมากพอ เพียงแต่ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาเอาจากข้อมูลแวดล้อมก็อาจพอมองเห็นเค้าลาง ได้บ้าง กล่าวคือ Operating Cashflow ของกิจการในพอร์ตทั้งสิ้นเท่ากับ 15,845 ล้านเหรียญฯ จากรายได้รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 112,493 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นส่วนของกิจการประกันและการค้ากับการผลิต 92,780 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นกว่า 82%
ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วว่าธุรกิจประกันและกลุ่มการค้า (ซึ่งกระจายความเสี่ยงได้ดี) มี Contribution ต่อ Bershire มากเพียงใด สังเกตว่าระยะหลัง Buffet มักออกมาแสดงความมั่นใจในความแข็งแกร่งของ Berkshire อยู่เสมอเมื่อเกิดภัยธรรมชาติหรือภัยอื่นขึ้นในโลก ไม่ว่าจะเป็น 9/11, Hurricane Katrina, Hurricane Ike, แผ่นดินไหวใหญ่ในอิตาลี และไฟไหม้ป่าในรัฐ Victoria ของ Australia นั่นเป็นเพราะเหตุการณ์เหล่านี้ล้วนกระทบกับกิจการที่อยู่ในพอร์ตของเขาเข้า อย่างจัง
การสร้างอาณาจักรธุรกิจโดยอาศัยสถาบันการเงินเป็นแกนหลักแบบ Buffet นี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ใครๆ ในโลกก็ทำกันมาก่อน ทั้งที่เยอรมนี ญี่ปุ่น หรือจักรวรรดิอังกฤษ….มันเป็นการ “กินสองเข้าฮอร์ส” เพราะสถาบันการเงินมันระดมทุนเองได้แบบต้นทุนต่ำ คือนอกจากจะมี Other Peoples Money ให้หยิบยืมไปใช้ก่อนได้แล้ว ยังเป็นเงินประเภท Low Cost of Capital อีกด้วย
ในกรณีของ Berkshire นั้น บัฟเฟตเรียกเงินก้อนนี้ว่า Float คือเบี้ยประกันที่รับมาก่อน (แต่ยังไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย เพราะความเสียหายมันยังไม่เกิด) ซึ่ง ณ สิ้นปี 2009 มีอยู่ถึง 62,000 ล้านเหรียญฯ โดย Buffet ก็ได้ใช้เงินก้อนนี้ประกอบกับเงินกู้และเงินสดในมือ (หรือบางทีก็ออกหุ้นแลกหุ้นในช่วงที่หุ้นของตัวเองราคาแพง) “ลงทุน” และ Takeover คนโน้นคนนี้ ผ่านกลุ่มบริษัทประกันเหล่านั้นอีกทอดหนึ่ง…นั่นแหละที่ผมเรียกว่า “กินสองเข้าฮอร์ส” ละ
ผมเห็นกรณีศึกษาอันหนึ่งในเมืองไทย ที่ใกล้เคียงกับ Buffet Model มากที่สุดก็คือ “กลุ่มเอกธนกิจ” (เรียกติดปากว่า “ฟินวัน”) ที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่เกรียงไกรมากภายใต้การนำของ ปิ่น จักกะพาก ซึ่งเริ่มจากบริษัทเงินทุนเล็กๆ แล้วขยายไปสู่หลักทรัพย์ ประกัน อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยอาศัยการ Takeover และเล่นกับ “ตัวคูณ” ในตลาดหลักทรัพยฯ เป็นหลัก แต่ด้วยการขยายตัวเร็วเกินไป และ Diversify ไม่เพียงพอ เมื่อเศรษฐกิจไทยหดตัวอย่างรุนแรง กลุ่มจึงพึงทลาย (ผมเห็น ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ซึ่งเคยเป็นลูกน้องใกล้ชิดของปิ่นมาก่อน ก็มาโฆษณาเรื่อง Value Investment อย่างเอิกเกริกเหมือนกันในช่วงหลัง หรือแม้แต่ กรณ์ จาติกวนิช รมว.คลัง เอง ซึ่งก็เป็นทั้งญาติห่างๆ และเป็นทั้งลูกน้องคนสนิทอีกคนหนึ่งของปิ่น ก็เคยพูดเรื่อง Value Investment เช่นเดียวกัน)
Buffet ก็ประกาศอย่างชัดเจนว่าเขาใช้วิธี Mergers & Acquisitions เป็นหลัก โดยเขาได้เขียน Acquisition Criteria ไว้ 6 ข้อ ว่าถ้าใครอยากขายกิจการให้เขาต้องเข้าหลัก 6 ประการนี้เสียก่อนคือ
1. ต้องใหญ่ (ต้องมีกำไรก่อนหักภาษีอย่างต่ำ 75 ล้านเหรียญฯ)
2. ต้องทำกำไรสม่ำเสมอ (ไม่เอาประเภทที่ต้องเอามาฟื้นฟูเยียวยา)
3. ต้องให้ผลตอบแทนการลงทุน (ROE) ดี และใช้หนี้น้อยหรือไม่มีหนี้เลย
4. ต้องมาพร้อมผู้บริหาร
5. ต้องเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน (ถ้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีแยะ เขามักขี้เกียจทำความเข้าใจกับมัน)
6. ต้องบอกราคามาเลย (จะไม่เสียเวลาเจรจาโดยไม่บอกราคามาก่อน)
เขาบอกไว้ชัดเจนเลยว่า วันๆ นึง คนติดต่อขายกิจการให้เขาแยะ ดังนั้นถ้าไม่เข้าหลักหกประการนี้ ก็อย่าโทร.มา หรือถ้าเขาไม่ได้โทร.กลับ ก็แสดงว่าเขาคงไม่สนใจ เพราะธรรมดาเขามักใช้เวลาไม่นานในการพิจารณา บางทีก็เพียงแค่ห้านาทีก็เคยมี และก็อย่าให้เขาต้องไปซื้อแข่งกับใคร เพราะเขาไม่ชอบ “When the phone don’t ring, you’ll know it’s me.” เขากล่าวโดยหยิบยืมจากเนื้อเพลงลูกทุ่งอเมริกัน
ระยะหลังเขาเริ่มคืบคลานเข้าสู่ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและโครงสร้างพื้น ฐาน เช่นรถไฟและท่อส่งน้ำมัน เมื่อ 12 ก.พ. ที่ผ่านมาเขาเพิ่งจะ Takeover กิจการรถไฟขนาดใหญ่เป็นลำดับที่สองของอเมริกาคือ Burlington Northern Santa Fe Corporation (BNSF) ด้วยราคาประมาณ 26,450 ล้านเหรียญฯ โดยใช้หุ้นแลกหุ้น และจ่ายเงินสดอีกประมาณ 15,900 ล้านเหรียญฯ นักวิเคราะห์ต่างคาดเดากันไปต่างๆ นาๆ ว่าบัฟเฟตหวังอะไรจากตรงนี้ บ้างก็ว่าเขารู้ข้อมูลภายในว่ารัฐบาลจะลดภาษีให้กับธุรกิจนี้ บ้างก็ว่ารัฐบาลจะหันมาให้การสนับสนุนการขนส่งโดยราง ฯลฯ เป็นต้น
นอกจากนั้น เขายังขยายเข้าสู่ธุรกิจไฟแนนซ์และสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเขาใช้เป็นตัวผ่านในการลงทุนพวกตราสารอนุพันธ์ และ Transaction ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ด้วย แต่ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ลงทุนในตราสารซับไพร์ม แม้จะใช้บริษัทประกันเขียน Contract ประเภท Credit Default Swap กับคู่สัญญาบ้าง ทำให้ในปี 2008 เขาขาดทุนจากตรงนี้ 1,774 ล้านเหรียญฯ แต่ปี 2009 ก็สามารถพลิกมาเป็นกำไรได้ 789 ล้านเหรียญฯ เป็นต้น
ผมจะไม่ขอลงรายละเอียดในพอร์ตโฟลิโอของ Birkshire มากไปกว่านี้ เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นบทความประเภทวิเคราะห์หุ้นไป แต่ผมจะหยิบเอาตัวเลขหรือ Ratio สำคัญๆ ที่ผมคิดว่าจะทำให้ผู้อ่านมองเห็นวิธีการทำมาหากินของบัฟเฟต มาล้อมกรอบไว้ให้ดูกัน โดยผู้อ่านที่อยากลงลึก ก็สามารถคลิกเข้าไปดูไฟล์ Edgar ของสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ ได้อยู่แล้วที่ http://www.sec.gov
ผู้อ่านต้องอย่าลืมว่า พอร์ตโฟลิโอของ Birkshire นั้นมีสองชั้น คือชั้นในสุด ที่เป็น Core หรือเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจจริง สร้างกระแสเงินสดจริงให้กับ Birkshire (ซึ่งก็มีกลุ่มประกันเป็นหลัก และยังมีกลุ่มการค้าอุตสาหกรรม กลุ่มโครงสร้างพื้นฐานและไฟฟ้า และกลุ่มไฟแนนซ์ล้อมรอบอยู่) และชั้นนอก ที่เป็น Marketable Securities อย่างเช่นหุ้นของ Coke, Wal-Mart, Proctor & Gamble, American Express, ConocoPhillips, Johnson & Johnson, Tesco, Wells Fargo, ฯลฯ รวมถึงพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และหุ้นกู้เอกชน (ซึ่งปีนี้บัฟเฟตเีชียร์ให้ซื้อให้มาก) ตราสารอนุพันธ์ ฯลฯ ซึ่งถือผ่านพอร์ตของบริษัทประกันและบริษัทไฟแนนซ์อีกทอดหนึ่ง
ที่ Buffet ชอบโม้ว่าหุ้นตัวเองซื้อแล้วไม่ขาย ย่อมเป็นหุ้นในกลุ่ม Core นั่นเอง ส่วนหุ้นในกลุ่มหลัง ย่อมต้องซื้อเข้าขายออกเป็นธรรมดา ตามประสานักเล่นหุ้น…ท่านผู้อ่านหลายคนมักเข้าใจประเด็นนี้ผิด คือไปเข้าใจว่า Value Investment นั้นต้องถือยาว และไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์เลยแม้แต่น้อย…ผิดครับ เพราะในพอร์ตของ Bershire นั้น มีทั้ง Credit Default Contracts, Equty Index Put Option Contracts, และ ฯลฯ
เราได้อะไรจากการศึกษาบัฟเฟต
สำหรับผม สิ่งที่ผมได้จากการศึกษาบัฟเฟตมิใช่สไตล์หรือหลักการลงทุนของเขา เพราะผมคิดว่ามัน Unique มากเกินไปจนยากที่ใครจะเลียนแบบได้ ทว่า สิ่งที่สะกิดใจผม กลับเป็นสไตล์การจัดการของเขาเอง
ผมว่า Buffet นอกจากจะเป็นนักลงทุนที่เก่ง เป็นพวกตามีแวว ที่รู้จักแสวงหาเพชรในตม (Undervalued Assets) รู้จักเจรียนัยเพชร รู้จัก Tell Story รู้จักสร้างภาพ และเล่นกับจิตวิทยามวลชนแล้ว เขายังเป็นนักบริหารที่เก่ง
ความข้อนี้คนมักไม่มองกัน
สไตล์การลงทุนของเขา มีลักษณะของ “การสร้างอาณาจักร” เขา เหมือนเจงกิสข่านที่คอยยกทัพไปตีเมืองเพื่อเอามาเป็นเมืองขึ้น แต่เขาจะให้ลูกน้องอยู่รักษาเมือง หรือบริหารเมืองนั้น และเขาก็จะเดินทัพเพื่อตีเมืองต่อไปที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
การจะทำการแบบนี้สำเร็จ เขาจำเป็นต้องมีแม่ทัพ และเจ้าเมืองที่มีฝีมือจำนวนมาก ที่จะคอยดูแลรักษาเมืองเหล่านั้นไว้ให้อุดมสมบูรณ์ และให้ราษฎรช่วยกันทำมาหากินจนมีผลผลิตเหลือแบ่งปันมาถึงส่วนกลาง การจะทำแบบนี้ได้ เขาต้องรู้จักใช้คน ต้องตามีแวว รู้ว่าใครมีข้อดีข้อเสียอะไร จะพัฒนาคนอย่างไร และต้องกล้า “ลงทุนในคน”
วิธีการลงทุนในคนของบัฟเฟต คือ “กล้าให้ใจ”
เขาจะ Trust ผู้บริหารและให้บริหารกิจการในพอร์ตโฟลิโอทั้งหมดของเขาอย่างอิสระ ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากนัก นอกจากกิจการนั้นขาดทุนหรือมีปัญหาจริงๆ
การ Trust คน นี้เป็นจุดแข็งของเขาที่หาได้ยากยิ่งในหมู่ฝรั่ง นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าเขาเติบโตมากับธุรกิจประกันก็ได้ เพราะรากฐานของธุรกิจประกันนั้นต้องอาศัย Trust สูงมาก
ผมมีเพื่อนคนหนึ่งที่พ่อของเขาเคยเป็นเด็กรับใช้คุณชิน โสภณพนิช มาก่อน แล้วพอโตขึ้นมาหน่อย เมื่อคุณชินทำบริษัทประกันภัย ก็ให้คนๆ นี้ เป็นผู้นำเงินสดใส่กระเป๋าไปให้กับคนที่ถูกไฟไหม้และทำประกันไว้กับคุณชิน เสมอๆ และต่อมาคนผู้นี้ ก็ได้เป็นผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของบริษัทกรุงเทพประกันภัย…หรืออย่าง พนักงานขายกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพื่อนฝูงญาติมิตรกับคนซื้อประกันแทบทั้งนั้น ถึงจะขายสำเร็จ เพราะธุรกิจแบบนี้ มันต้องอาศัย Trust สูงมาก มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
ความสำเร็จของ Buffet ย่อมมาจากการที่เขาสามารถเผื่อแผ่ Trust หรือความใจกว้างของเขา ให้ขยายพรมแดนออกจากธุรกิจประกัน ไปสู่ธุรกิจอื่นในพอร์ตของเขาได้อย่างน่าชม
อีกอย่าง เขามักเชื้อเชิญบรรดาเจ้าของกิจการที่ทำกิจการของตัวอยู่แล้ว ให้เข้ามาอยู่ในกลุ่ม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่เขาต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยว และเจ้าของกิจการเหล่านั้น แทนที่จะอยู่กันแบบโดดๆ ก็มาร่วมใต้ชายคาของบัฟเฟตดีกว่า เพราะจะได้ประโยชน์ในเชิง “ตัวคูณ” เนื่องเพราะตลาดให้ความเชื่อถือบัฟเฟตและ Berkshire Hathaway มากกว่า
ดังนั้น เราจะเห็นว่าบรรดากรรมการและผู้บริหารในอาณาจักรของบัฟเฟตนั้น ถือหุ้น Bershire อยู่ถึง 37% ในส่วนของหุ้น Class A และ 17.4% ในส่วนของหุ้น Class B แต่ถ้านั่นเป็น Carrot แล้วเขาใช้ Management Control วิธีไหนกับผู้บริหารเหล่านั้น
ผมพบว่า แม้เขาจะไม่นิยมใช้วิธีการประเมินผลโดยอาศัยราคาหุ้นหรือผลประกอบการรายไตร มาศของแต่ละบริษัทมาเป็นเกณฑ์ แต่เขาก็ยังต้องดู Bottom Line ประกอบ เพราะในหลายกรณีเขาก็ต้องปลดผู้บริหารที่ทำบริษัทขาดทุนต่อเนื่องออกไป แม้แต่กรณีผู้บริหารของ Coke ในอดีตที่แก้ปัญหา Contamination ได้ไม่ดีจนหุ้นตกระเนระนาด และยอดขายหายวับไปกับตา ก็ปรากฏว่าเขาเองที่เป็นคนไปเจรจาให้ลาออกไป เป็นต้น นอกจากนั้น เขายังคงถือสิทธิขาดในการกำหนดผลตอบแทนของผู้บริหารทุกคนในกลุ่ม
ข้อนี้แหละที่เป็น “ไม้ตาย” ของเขา ที่เขาจะไม่ยอมปล่อย เพราะเขาจะใช้การกำหนดผลตอบแทนนี้เป็นการส่งสัญญาณและเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหาร อันนี้นับว่าเขาเหมือน ประธานเหมาเจ๋อตง ที่แม้จะลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน แต่ก็ยังคงนั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการทหารฯ อยู่จนวันตาย เพราะประธานเหมา เชื่อว่า “อำนาจ มาจากปากกระบอกปืน” และสำหรับหลักการในการกำหนดผลตอบแทนผู้บริหารนั้น เขาก็เขียนไว้ชัดเจนในจดหมายเชิญประชุมผู้ถือหุ้นเลยว่า “SUBJECTIVE”
อย่างปีที่แล้ว เขาได้ให้ผลตอบแทนกับ CFO คือนาย Marc D. Hamburg สูงที่สุด โดยให้นายคนนี้ได้ไปทั้งสิ้น 874,750 เหรียญฯ โดยที่เขาเขียนไว้ในจดหมายฯ เลยว่าคณะกรรมการได้ให้อำนาจเขาคนเีดียว และดุลพินิจของเขาก็คือ “SUBJECTIVE” (นายคนนี้ได้ผลตอบแทนมากกว่าเขาเองที่ได้ 175,000 เหรียญฯ และ Charlie Munger ที่ได้เพียง 100,000 เหรียญฯ ในปี 2009) ผมสังเกตอีกข้อหนึ่งว่า แม้เขาจะใช้วิธีหรือสไตล์แบบ Subjective แต่กลับเกิดความผิดพลาดน้อยมาก…ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ข้อนี้ผมให้เครดิตเขามาก ว่าเขาเป็นคนที่มี “อคติ” น้อย
Alfred Sloan ซึ่งผมคิดว่าเขาเป็นผู้บริหารที่เก่งและเชี่ยวชาญเรื่อง Management มาก เคยกล่าวไว้ในทำนองว่า ผู้บริหารที่ดีต้องปราศจาก Bias เพราะพวกเขาไม่มีหน้าที่ที่จะต้องรักใครหรือเกลียดใครเป็นพิเศษ ไม่มีหน้าที่ต้องแค้นเคืองใคร ข้องใจใคร สนิทกับใคร หรือเลือกข้างใคร…พวกเขาย่อมต้องดูที่ Performance เป็นเกณฑ์ แม้มันจะฟังไร้หัวใจไปหน่อย แต่ผู้นำที่เก่งส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเช่นนั้น
นอกจากนี้ Buffet ยังใช้สไตล์บริหารเครือข่ายธุรกิจของเขาด้วยโครงสร้างแบบ “จักรวรรดิ” หรือ Empire โดยเขาจะคงอำนาจในการตัดสินใจทางการเงินและการลงทุนทุกอย่างไว้ที่ตัวเอง คือถ้าจะพูดภาษาการจัดการ ก็ต้องว่าเขา Centralize ในเชิงการเงิน แต่ De-centralize ในเชิงบริหาร เหมือนกับเจ้าเมืองที่มีอำนาจสิทธิขาดในเมืองของตัวเอง แต่ถ้าจะสร้างกองทัพ จะไปรบทัพจับศึกกับใคร ก็ต้องมาขอส่วนกลางเสียก่อน
บัฟเฟตยอมให้ผู้จัดการของแต่ละกิจการมีอำนาจตัดสินใจอย่างอิสระในเรื่องที่ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจวันต่อวัน ยกเว้นการที่จะต้องลงทุนเพิ่ม เช่นถ้าจะสร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักร ซื้อหุ้น ซื้อพันธบัตร ซื้อกิจการ ฯลฯ ต้องให้เขาเป็นคนตัดสินใจ และเขายังออกกฎเกณฑ์ให้ส่งคืนเงินกำไรให้กับส่วนกลางทุกปี
มองดูผิวเผินก็เหมือนระบบ “กงสี” ที่ทุกคนต่างช่วยกันทำมาหากิน ได้มาเท่าไหร่ก็ให้เป็นส่วนรวมเพื่อให้ส่วนรวมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ แล้วทุกคนก็ค่อยมากินมาใช้ร่วมกันจากกองกลางนี้อีกที ต่างกันก็เพียงกงสีของบัฟเฟตมันมี “ตัวคูณ” อย่างที่กล่าวมาแล้ว
สไตล์การบริหารแบบนี้ ทำให้เขาใช้คนจำนวนน้อยที่ส่วนกลาง เพราะเขาใช้เพียง 21 คนในสำนักงานใหญ่ เพื่อบริหารอาณาจักรกว่า 12 ล้านล้านบาท และมีพนักงานทั้งเครือกว่า 257,000 คน แต่เขาก็ต้องมีระบบควบคุมทางการเงินที่ทรงประสิทธิภาพ จึงไม่แปลกที่เขาต้องจ่ายให้กับ Deloitte & Touche LLP ซึ่ง ช่วยตรวจบัญชีและเก็บข้อมูลการเงินของทั้งเครือเป็นเงินถึง 26.7 ล้านเหรียญฯ หรือเทียบเป็นประมาณ 881 ล้านบาทในปีที่ผ่านมาเพียงปีเดียว (โอ้ว! แม่เจ้า)
สุดท้ายนี้ ผมใคร่ขอเตือนสติท่านผู้อ่านที่ต้องบริหารสินทรัพย์ของตนและครอบครัว หรือขององค์กร หรือแม้แต่ผู้ที่สนใจในเชิงการลงทุน ที่คิดจะเอาอย่าง Warren Buffet ให้คิดใคร่ครวญให้ดี โดยเฉพาะในเรื่องของ “ความเสี่ยง”
การที่บัฟเฟตกล้าเอา Wealth ของตัวเองถึง 98% ไว้ใน Berkshire Hathaway นั้น นับเป็นเรื่องที่ใจถึงและ Overconfidence มาก ถึงแม้ระบบการเมือง เศรษฐกิจ และตลาดทุน ของสหรัฐอเมริกาจะเข้มแข็ง แข็งแกร่ง เกินกว่าจะพังทลายลงได้ง่ายๆ ทว่า การทำแบบนั้นก็ยังเสี่ยงมากอยู่ดี ในสายตาของผม
ท่านผู้อ่านที่ติดตามวิกฤติซัพไพร์มมาบ้าง คงจะรู้ว่าราคาหุ้นของ Citicorp นั้นรูดลงมาจาก 60 เหรียญฯ มาอยู่ที่ 1 เหรียญฯ ทั้งๆ ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ใส่เงินเพิ่มทุนเข้าไปถึง 50,000 ล้านเหรียญฯ และค้ำประกันเงินกู้ให้อีก 450,000 ล้านเหรียญฯ
ผมคำนวณดูแล้วว่าผู้ถือหุ้นของ Citicorp จนลงเกือบ 300,000 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณเกือบ 10 ล้านล้านบาท…นั่นคือ Market Cap. ที่หายวับไปกับตา
ณ วันที่ผมกำลังเขียนต้นฉบับมาถึงบรรทัดนี้ หุ้นของ Citicorp ซื้อขายกันที่ 3.98 เหรียญฯ โดยตอนแรกผมก็กะว่าจะบอกให้เพื่อนที่ชอบลงทุนซื้อไว้สักเล็กน้อย แต่พอได้ยินว่า บรรดาผู้บริหารธนาคารแห่งนั้นพากันรับโบนัสกันอื้อซ่า ผมก็หมดศรัทธา
ถามว่า เรื่องทำนองนี้จะเกิดขึ้นกับ Bershire Hathaway ได้ไหม…ไม่มีใครตอบได้…แต่ Citicorp ก็เคยเป็นธนาคารที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกร มิใช่หรือ?
ผมไม่แปลกใจ ที่บัฟเฟตจะเขียนย้ำอยู่เสมอว่า เขายังคงแข็งแรง ยังบริหารได้ และยังแฮปปี้ที่จะทำงานต่อไป แม้จะอายุอานามจะปาเข้าไปกว่า 79 ปีแล้ว และเขาก็ต้องตะโกนให้ได้ยินดังๆ อยู่เสมอว่า Berkshire Hathaway นั้นไม่ขาดแคลนผู้บริหาร และต้องมีตัวตายตัวแทน โดยเขาได้คิดเรื่องการสืบทอดไว้แล้วอย่างรอบคอบ นั่นเป็นเพราะ ตัวเขาเองก็ตระหนักดีว่า “ความเสี่ยง” ของเขาอยู่ที่ใด
ทักษ์ศิล ฉัตรแก้ว
20 กรกฎาคม 2553
20 กรกฎาคม 2553
หมายเหตุ: ท่านผู้อ่านที่สนใจจะอ่าน “จดหมายจากประธานฯ” หรือ Chairman’s Letter ฉบับล่าสุด ที่บัฟเฟตเขียนเองถึงผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway ก็สามารถคลิกเข้าไปอ่านฉบับเต็ม และแปลเป็นไทยแล้ว โดยคุณปรียาพร ศรีงิ้วราย ได้ในเว็บไซต์ของนิตยสาร MBA ที่ http://www.mbamagazine.net/
บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสาร MBA ฉบับเดือนสิงหาคม 2553