สรุปกลยุทธ์การขายหุ้นของ Philip A. Fisher
สรุปกลยุทธ์การขายหุ้นของ Philip A. Fisher
วัตถุประสงค์ของการขายหุ้นเพียงประการเดียว ที่มีแรงจูงใจในการขายหุ้น ก็คือ ขายอย่างไรให้ได้กำไรสูงที่สุด จากเม็ดเงินที่นักลงทุนได้ลงทุนลงไป
โดยมีเหตุผล 3 ข้อ ในการขายหุ้น
1) ขายเมื่อ… ตรวจพบอย่างชัดเจนว่า เกิดการซื้อที่ผิดพลาด และมีหลักฐานชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่า ข้อมูลพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทนั้นแย่กว่าที่คิดไว้ในตอนแรก ไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนก็ตามต้องตัดใจขายทันที อย่ารอโดยหวังว่า ราคาที่มันลงไป จะกลับคืนมาเท่าทุนที่ซื้อ นักลงทุนต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับความผิดพลาดในการตัดสินใจของตนเอง และรอไปเรื่อยๆไม่กล้าที่จะขาย จนในที่สุด ความเสียหายอย่างหนักก็เกิดขึ้น
จงขายแล้ว เก็บความผิดพลาด ไว้เป็นบทเรียน….
2) ขายเมื่อ… บริษัทเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เข้ากฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 15ข้อ คือ
2.1) บริษัทไม่มีสินค้าหรือบริการที่มีศักยภาพอย่างเพียงพอ ที่จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของยอดขายเป็นเวลาอย่างน้อยหลายๆปี
2.2) บริษัทหมดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง
2.3) ประสิทธิภาพของงานวิจัยและพัฒนาของบริษัทด้อยลงอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับขนาดของบริษัทและบริษัทของคู่แข่งหรือบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
2.4) บริษัทมีศักยภาพของหน่วยงานขายที่ย่ำแย่ลงกว่าค่าเฉลี่ย และไม่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง
2.5) บริษัทมีกำไรต่อยอดขายไม่คุ้มค่า และด้อยลงกว่าบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทคู่แข่ง
2.6) บริษัทไม่มีแผนการอะไร เพื่อรักษาหรือทำกำไรต่อยอดขายให้สูงขึ้น
2.7) บริษัทมีแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่โดดเด่น หรือสหภาพแรงงานสัมพันธ์แย่ลง ก่อให้เกิดการหยุดงานหรือประท้วง
2. บริษัทที่ความสัมพันธ์ของผู้บริหารในองค์กรแย่ลง หรือมีความขัดแย้งกันในบริษัท
2.9) บริษัทมีฝ่ายบริหารไม่เพียงพอ หรือไม่มีการพัฒนาผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง
2.10) ระบบการวิเคราะห์ต้นทุนและการควบคุมทางบัญชีของบริษัทไม่ดี และส่อไปในที่ทางแย่ลง
2.11) บริษัทสูญเสียความโดดเด่นในคุณลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรม เช่น
- กิจกรรมที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการค้าปลีก คือ ระดับของทักษะที่บริษัทมีในการจัดการเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ และการจัดการและควบคุมการหมุนเวียนของสต็อกสินค้า
- การวิเคราะห์กิจการและการติดตามเร่งรัดหนี้สิน เป็นคุณสมบัติเด่นของกลุ่มธนาคาร
- การวิเคราะห์กิจการและการติดตามเร่งรัดหนี้สิน เป็นคุณสมบัติเด่นของกลุ่มธนาคาร
2.12) บริษัทมีภาพระยะสั้น และระยะยาวเกี่ยวกับกำไรของบริษัทที่ไม่ชัดเจน
2.13) การเจริญเติบโตของบริษัทต้องการเงินจากผู้ถือหุ้นหรือไม่ หากต้องเพิ่มทุนจะไปมีผล Dilution Effect มากน้อยอย่างไร
2.14) เมื่อพบว่าผู้บริหารเปิดเผยเมื่อกิจการดี แต่หมกเม็ดเมื่อกิจการมี ปัญหา
2.15) บริษัทมีฝ่ายจัดการที่ไม่โปร่งใส
3) ขายเมื่อ… พบว่าการลงทุนในบริษัทอื่นน่าสนใจกว่า, มีอนาคตกว่าและมั่นใจว่า ให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ